LastPass ออกรายงานสรุปการสอบสวนกรณีถูกแฮ็กระบบเมื่อปลายเดือนสิงหาคม โดยระบุว่าจ้างบริษัท Mandiant ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบความปลอดภัยมาช่วย
Uber ออกมาชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม หลังมีข่าวว่าถูกแฮ็ก ทำให้เข้าถึงระบบภายในของบริษัทได้หลายตัว
โดย Uber บอกว่ายังไม่พบหลักฐาน ว่ามีข้อมูลผู้ใช้งานที่สำคัญหลุดออกไป เช่น ประวัติการเดินทาง, ปัจจุบันบริการทั้งหมดสามารถใช้งานได้ตามปกติ ส่วนระบบเครื่องมือภายในที่ปิดการใช้งานไปเมื่อวาน ตอนนี้กลับมาใช้งานตามเดิมแล้ว
Uber บอกจะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเมื่อมีความคืบหน้า โดยเบื้องต้นได้ดำเนินการในขั้นตอนทางกฎหมายแล้ว
ที่มา: Uber
มีแฮ็กเกอร์รายหนึ่งประกาศว่าแฮ็กระบบของ Uber ได้ และเข้าถึงระบบภายในจำนวนมาก เช่น อีเมล Google Workspace, Slack, ซอฟต์แวร์ความปลอดภัย, คอนโซล AWS, VMware ESXi เป็นต้น ตอนนี้ขอบเขตความเสียหายยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลของลูกค้า-คนขับ แต่คาดว่าน่าจะโดนเยอะเลยทีเดียว
แฮ็กเกอร์รายนี้ที่อ้างว่าตัวเองมีอายุ 18 ปี ให้สัมภาษณ์กับ The New York Times ว่าใช้วิธี social engineering หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีของบริษัท ชักจูงจนได้รหัสผ่านจากพนักงาน และสามารถเจาะเข้าระบบ VPN ภายในได้ (ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าผ่าน 2FA อย่างไร หรือไม่มี 2FA ป้องกันเลย)
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ช่อง YouTube ของรัฐบาลเกาหลีใต้และหน่วยงานรัฐอื่นๆ รวม 3 ช่องถูกแฮค โดยช่องหลักของรัฐบาลถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "SpaceX Invest"
ช่อง YouTube หลักของรัฐบาลเกาหลีใต้ "대한민국 정부" ถูกแฮคในช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 3 กันยายนผ่านมา ก่อนที่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมจะทราบเรื่องจากการเห็นคนโพสต์ข้อความออนไลน์พร้อมภาพประกอบว่าช่องดังกล่าวในขณะที่แพร่ภาพคลิปสัมภาษณ์ Elon Musk หลังจากนั้นไม่นานทางกระทรวงวัฒนธรรมก็สามารถกู้สิทธิ์ควบคุมช่องกลับคืนมาได้ในช่วงเช้าวันเดียวกัน
เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์รถติดหนักในบริเวณ Kutuzovsky ของ Moscow จากสาเหตุมีรถแท็กซี่จำนวนมากหลายสิบันมุ่งหน้าไปรับผู้โดยสารในบริเวณดังกล่าวในเวลาเดียวกัน
ในเวลาต่อมา Yandex Taxi ผู้ให้บริการแอปเรียกแท็กซี่ออกแถลงการณ์ผ่าน TASS สื่อของรัสเซีย อธิบายว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่ระบบโดนแฮค โดยแฮคเกอร์ได้ทำการเรียกรถแท็กซี่ในระบบที่สามารถเรียกได้ขณะนั้นให้ไปรับผู้โดยสารที่จุดเดียวกันในเวลาเดียวกัน โดย Yandex Taxi ระบุว่าตอนนี้บริษัทได้ปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะคล้ายกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตแล้ว
มีรายงานจากสำนักข่าวรัสเซีย @runews ว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนแฮ็กระบบของแอพเรียกรถ Yandex Taxi และสั่งให้แท็กซี่ที่ว่างอยู่ตอนนั้นไปรวมตัวกันที่ถนน Kutuzovsky Prospekt กลางกรุงมอสโก และเกิดภาวะจราจรติดขัดบริเวณนั้น
โฆษกของ Yandex ยืนยันการแฮ็กระบบครั้งนี้จริง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าถูกโจมตีได้อย่างไร บอกแค่ว่าภาวะการจราจรคลี่คลายภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง
เหตุการณ์นี้อาจคล้ายๆ กับภาพยนตร์ The Fate of the Furious (Fast and Furious ภาค 8) ที่ตัวละครในหนังสร้างภาวะรถติดในนครนิวยอร์กด้วยการแฮ็กระบบรถยนต์ แต่กรณีการแฮ็ก Yandex ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดจากแอพเรียกรถลักษณะนี้
Georgi Gerganov นักวิจัยความปลอดภัยได้โพสต์คลิปวิดีโอสาธิตการดักจับข้อความที่ถูกพิมพ์โดยอาศัยเพียงการดักฟังเสียงกดแป้นพิมพ์เท่านั้น
Gerganov ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า Keytap3 ที่ทำการถอดรหัสข้อความแบบเรียลไทม์จากเสียงกดแป้นพิมพ์ที่มันจับเสียงได้ ตัวอย่างที่เขาสาธิตนั้นอาศัยเพียงไมโครโฟนของสมาร์ทโฟนธรรมดาก็ดีเพียงพอสำหรับการทำงานของ Keytap3 แล้ว
เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับแฮคเกอร์ในปัจจุบันนี้มีความก้าวหน้าไปมากจนถึงขนาดที่หลายอย่างดูเผินๆ ก็เหมือนเป็นข้าวของเครื่องใช้ธรรมดาที่ไม่น่าจะมีฟังก์ชันอันตรายแอบแฝง แต่สาย USB ที่ชื่อ O.MG Cable นี้อาจต้องทำให้เปลี่ยนความคิดใหม่และระวังมากขึ้นก่อนจะคว้าสาย USB ของใครมาเสียบคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
บริการจัดการรหัสผ่านยอดนิยม LastPass ประกาศว่าถูกแฮ็กระบบผ่านบัญชีของพนักงานฝ่ายพัฒนาซอฟต์แวร์รายหนึ่ง ข้อมูลที่ถูกเข้าถึงได้มีซอร์สโค้ดและเอกสารทางเทคนิค แต่ข้อมูลรหัสผ่านของผู้ใช้ยังปลอดภัยเพราะอยู่คนละส่วนกัน
LastPass ยังอธิบายวิธีการเก็บรหัสผ่านของผู้ใช้ ว่าเก็บรหัสผ่านที่เข้ารหัสแล้ว (encrypted passwords) ส่วนรหัสผ่านหลักหรือ Master Password ในการปลดล็อคอยู่ที่ผู้ใช้ และแม้แต่ LastPass เองก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้เช่นกัน (zero knowledge architecture) กรณีนี้ผู้ใช้จึงไม่ต้องทำอะไร และ LassPass ก็ไม่บังคับให้รีเซ็ตรหัสผ่านหลักแต่อย่างใด
ที่มา - LastPass
Plex โปรแกรมสำหรับทำ Media Server เพื่อใช้งานเอง รายงานพบการเจอข้อมูลรั่วไหลเมื่อวานนี้ (23 สิงหาคม) ที่ผ่านมา
ทาง Plex ไม่ได้อธิบายว่าแฮคเกอร์โจมตีด้วยวิธีใด แต่ระบุว่ามีข้อมูลของผู้ใช้เพียงบางส่วน ได้แก่อีเมล์ ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านที่ผ่านการเข้ารหัส และข้อมูลที่หลุดเพียงผู้ใช้บางกลุ่มเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ทาง Plex ยังคงแนะนำให้รีบเปลี่ยนรหัสผ่านทันที และเปิดใช้งาน Two-Factor Authentication เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
SentinelOne ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มความปลอดภัยระดับองค์กรรายงานถีงสภาพตลาดช่องทางเข้าถึงระบบ (initial access) ที่อาจจะเป็นรหัสผ่านของคนในองค์กร, รหัส VPN, หรือ remote acess รูปแบบต่างๆ ว่ามีราคาถูกลงมาก เนื่องจากปริมาณช่องทางที่แฮกเกอร์พบมีมากกว่าความต้องการ
ตลาดขายช่องทางเข้าถึงระบบเหล่านี้ มักระบุประเภทขององค์กรเป้าหมาย จำแนกตามประเทศ, รายได้, ประเภทขององค์กรว่าเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน โดยกระบวนการซื้อขายอาจจะขายนั้นผู้ซื้อจะต้องฝากเงินมาวางไว้กับตัวกลางก่อนบางรายอาจจะจูงใจลูกค้าด้วยการให้ผ่อนจ่ายตามช่วงเวลาใช้งานไป ช่องโหว่ที่แฮกได้ง่ายโดยแฮกเกอร์อาจจะสแกนอินเทอร์เน็ตแล้วพบทางเข้าก็จะขายกันในราคาถูก
Signal แอปแชตเข้ารหัสรายงานถึงผลกระทบจากเหตุแฮก Twilio ที่ Signal ใช้บริการส่ง SMS อยู่ด้วย ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าดูหมายเลขของผู้ใช้ Signal ได้ทั้งหมด 1,900 คน
ผลกระทบจากเหตุครั้งนี้ทำให้แฮกเกอร์รู้ว่าหมายเลขใดใช้งาน Signal อยู่บ้าง และแฮกเกอร์อาจจะดักข้อความยืนยันการลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ได้ โดยในจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 1,900 คนนี้ พบว่าแฮกเกอร์พยายามค้นหาหมายเลขของเหยื่ออย่างเจาะจง 3 ราย และมีเหยื่อรายหนึ่งระบุว่าแฮกเกอร์ลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ใหม่
จากกรณี Twilio รายงานถูกแฮ็ก สาเหตุมาจากพนักงานถูกโจมตี Phishing แบบตั้งใจเจาะ ทางบริษัท Twilio รายงานว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ตั้งใจโจมตีแบบ phishing ไปยังองค์กรอีกหลายแห่งด้วย
Cloudflare เป็นองค์กรอีกแห่งที่ออกมาเปิดเผยว่าพบการโจมตีแบบเดียวกัน พนักงานได้ข้อความ SMS หน้าตาแบบเดียวกันเพื่อหลอกให้กดลิงก์ แต่กรณีของ Cloudflare ดักการโจมตีเอาไว้ได้เพราะบังคับพนักงานทุกคนต้องใช้คีย์ยืนยันตัวตนแบบฮาร์ดแวร์ทำ MFA อีกชั้น
Cisco Talos ทีมงานด้านความปลอดภัยของซิสโก้รายงานถึงเหตุการณ์ที่บริษัทเองถูกเจาะระบบเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยพนักงานรายหนึ่งถูกแฮกบัญชีกูเกิล และพนักงานเก็บรหัสผ่านเอาไว้ในบัญชีกูเกิลทำให้คนร้ายซิงก์เอาบัญชีบริษัทออกไปได้ด้วย แต่เนื่องจากระบบภายในต้องอาศัยการเชื่อมต่อ VPN ที่ต้องล็อกอินแบบสองชั้น คนร้ายจึงพยายามให้หลอกให้เหยื่อกดยอมรับการล็อกอินจากแอปในเครื่อง โดยอาศัยการโทรปลอมตัวเป็นพนักงานด้วยกัน (voice phishing - vishing)
เมื่อคนร้ายล็อกอิน VPN ได้สำเร็จ จึงพยายามล็อกอินเครื่องในองค์กร และสามารถเจาะเซิร์ฟเวอร์ Citrix ได้สำเร็จ และล็อกอินเข้า domain controller ได้ในที่สุด หลังจากนั้นก็สร้างบัญชีผู้ดูแลระบบทิ้งไว้ในเครื่อง
Cisco Talos หน่วยความปลอดภัยของ Cisco ยืนยันการโจมตีว่าระบบของ Cisco เองถูกเจาะในวันที่ 24 พฤษภาคม 2022
การสอบสวนพบว่าล็อกอินของพนักงานรายหนึ่งถูกขโมย จากการที่บัญชีกูเกิลส่วนตัวถูกเจาะได้ (ล็อกอิน Cisco เซฟเก็บไว้ในเบราว์เซอร์เลยโดนเอาไปด้วย) จากนั้นแฮ็กเกอร์พยายามทำ voice phishing (ปลอมตัวโทรไปหลอก บ้างก็เรียก vishing) เพื่อหลอกให้พนักงานรายนี้กดลิงก์ยืนยัน MFA (multi-factor authentication) ปลอมที่ถูกส่งจากแฮ็กเกอร์ ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึง VPN ของผู้ใช้คนนี้ได้
หลังเข้า VPN ได้แล้ว แฮ็กเกอร์พยายามเข้าถึงสิทธิแอดมินที่เข้าระบบได้หลากหลายขึ้น ทำให้ทีมความปลอดภัยของ Cisco ตรวจพบความผิดปกติและเข้ามาสืบสวนจนพบการเจาะระบบครั้งนี้
นักวิจัยสาธิตการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถไปควบคุมการทำงานของแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอส้มผัสได้ราวกับว่ามี "นิ้วล่องหน" ไปแตะสัมผัสหน้าจอเพื่อใช้งานอุปกรณ์นั้นๆ อยู่จริง
การสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าวทำได้โดยการปล่อยสัญญาณออกจากแผงเสาอากาศที่ถูกติดตั้งซุกซ่อนไว้ในตำแหน่งใกล้หน้าจอของอุปกรณ์เป้าหมาย ซึ่งเทคนิคการโจมตีเพื่อแฮคอุปกรณ์ที่ว่านี้เรียกว่า Intentional Electromagnetic Interference (IEMI) attack
7-11 ในเดนมาร์กถูกโจมตีไซเบอร์จนกระทั่งต้องสั่งปิดทุกสาขาในประเทศ โดยยังไม่รู้กำหนดว่าจะกลับมาเปิดได้เมื่อใด บน Reddit มีข้อความของผู้ใช้ที่อ้างว่าเป็นพนักงาน 7-11 ในสาขา ระบุว่าเครื่องแคชเชียร์ใช้งานไม่ได้จึงต้องปิดร้าน
ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่าการโจมตีเป็นรูปแบบใด แม้ที่ผ่านมาการโจมตีรุนแรงเป็นวงกว้างแบบนี้มักจะเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ล็อกทั้งเซิร์ฟเวอร์และเครื่องคิดเงินจนใช้งานไม่ได้
ที่มา - Bleeping Computer
Twilio บริษัทที่ให้บริการ API ส่งข้อความ SMS, โทรศัพท์อัตโนมัติ และแชท ประกาศข่าวว่าระบบถูกเจาะเมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา และมีบัญชีของลูกค้าบางส่วนถูกเข้าถึงได้
Twilio อธิบายว่าถูกโจมตีด้วยการ phishing พนักงานของบริษัทอย่างจงใจ ทำให้ข้อมูลการล็อกอินเข้าระบบของพนักงานรั่วไหล และถูกแฮ็กเกอร์ใช้เป็นช่องทางเข้าระบบได้ รูปแบบการโจมตีที่พบคือการส่ง SMS ไปยังหมายเลขของพนักงานเพื่อหลอกให้คลิกลิงก์ (ปลอม) ตามภาพ
Twilio บอกว่าได้แจ้งไปยังลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว และจะพยายามเข้มงวดกับพนักงานไม่ให้โดนหลอก phishing ได้ง่าย ซึ่งตอนนี้พบเจอการโจมตีแบบเดียวกันกับพนักงานของบริษัทใหญ่ๆ ในสหรัฐด้วย
กระทรวงกลาโหมไต้หวัน รายการการโจมตีไซเบอร์ด้วยการยิง DDoS ถล่มเว็บไซต์ของกระทรวงเมื่อช่วงดึกของวันที่ 3 สิงหาคม ส่วนเว็บไซต์ของทำเนียบประธานาธิบดีไต้หวันก็โดนโจมตีด้วยเช่นกัน
Audrey Tang รัฐมนตรีดิจิทัลของไต้หวัน ให้ข้อมูลว่าปริมาณการโจมตีเว็บไซต์ของรัฐบาล ในช่วงที่ Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา ไปเยือนไต้หวันระหว่างวันที่ 2-3 สิงหาคม อยู่ที่ 15,000 gigabits สูงกว่าปกติ 23 เท่า
กลุ่มแฮ็กเกอร์ APT 27 ที่เชื่อกันว่ารัฐบาลจีนอยู่เบื้องหลัง ออกมาประกาศว่าเป็นผู้โจมตีไซเบอร์ต่อไต้หวัน เพื่อประท้วง Nancy Pelosi ที่ท้าทายคำเตือนของรัฐบาลจีน
รัฐบาลสเปนแถลงข่าวระบุว่าโทรศัพท์ของ Pedro Sánchez นายกรัฐมนตรี และ Margarita Robles รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถูกเจาะด้วยมัลแวร์ Pegasus ของ NSO Group ในช่วงปี 2021 และคนร้ายสามารถดึงข้อมูลออกไปจากโทรศัพท์ได้สำเร็จ ตอนนี้กำลังสอบโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่รัฐบาลอื่นๆ เพิ่มเติม
เมื่อปี 2021 ทาง NSO Group ถูกโจมตีจากสื่อหลายสำนักเพราะพบว่ามัลแวร์ Pegasus ถูกใช้กับกลุ่มนักข่าวและนักสิทธิมนุษยชน แต่บริษัทก็ออกมายืนยันว่าตรวจสอบและไม่พบการใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง แถลงของ NSO Group สับสนในตัว เพราะระบุว่าบริษัทไม่รู้ว่าลูกค้าซื้อ Pegasus ไปแฮกใครบ้าง แต่บริษัทก็ออกมาระบุว่าหน่วยงานที่ซื้อไปใช้มัลแวร์เพื่อหยุดกลุ่มก่อการร้าย
Bored Ape Yacht Club หรือ BAYC แจ้งเตือนว่าบัญชี Instagram ถูกแฮก และนำไปโพสแจก airdrop ฟรีเพื่อหลอกเหยื่อเข้าเว็บปลอม โดยรวมคาดว่ามี NFT ถูกขโมยจากการแฮกครั้งนี้ 13 ชิ้น รวมมูลค่า 3 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 100 ล้านบาท
รายการ NFT ที่ถูกขโมยไป ได้แก่ Bored Apes 4 ตัว, Mutant Apes 6 ตัว, Bored Ape Kennel Club อีก 3 ตัว และอาจจะมี NFT ชุดอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
ทาง Yuga Labs ระบุว่ากำลังติดต่อผู้ใช้ที่ถูกแฮกครั้งนี้
ที่มา - The Register
Beanstalk โปรโตคอลเหรียญ stablecoin แบบผูกค่ากับเงินดอลลาร์ถูกโจมตีแบบ flash loan เพื่อสั่งสูบเงินออกจากระบบได้สำเร็จ คนร้ายได้ Ethereum ออกไปทั้งหมด 24,830 ETH หรือมูลค่าประมาณ 2,700 ล้านบาท
ช่องโหว่การโจมตีครั้งนี้อาศัยการทำ flash loan โทเค็นเพื่อโหวตให้ Beanstalk รันโค้ดอัพเกรดระบบของคนร้าย โดยปกติแล้ว Beanstalk ป้องกันการโจมตีโดยต้องรอระยะเวลาหนึ่งก่อนจะยอมรับข้อเสนอรันโค้ดใหม่ แต่ตัวโปรโตคอลกลับเปิดให้โหวตข้อเสนอที่เปิดไว้ล่วงหน้าได้ ทำให้คนร้ายโหวตและรันโค้ดได้ทันที คนร้ายวาง contract สำหรับดูดเงินออกไว้ล่วงหน้า และเมื่อถึงเวลาลงมือก็เรียกฟังก์ชั่น emergencyCommit
ดึง Ethereum ออกไป
เมื่อต้นเดือนนี้ (1 เมษายน) Jay Chou นักร้อง-นักแสดงชื่อดังจากไต้หวัน ประกาศว่า NFT ภาพ Bored Ape Yacht Club (BAYC) ที่เขาซื้อเก็บสะสมไว้ถูกขโมยไป โดยคาดว่าเป็นการโจมตีแบบ phishing
หลังจากนั้น บริษัทความปลอดภัย Check Point Research เข้าไปตรวจสอบและพบว่าช่องทางการขโมย NFT ของ Jay Chou เกิดจากช่องโหว่ของตลาดซื้อขาย Rarible ที่ Chou ใช้บริการ ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้ช่องโหว่นี้หลอกทำ phishing แล้วขโมย token สิทธิความเป็นเจ้าของได้
Europol แถลงถึงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสอบสวนใน สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, สวีเดน, โปรตุเกส, เยอรมนี, และโรมาเนีย ในการจับกุมผู้ดูแลเว็บไซต์ RaidForum ที่เป็นตลาดซื้อขายข้อมูลหลุดรายใหญ่ และเหตุการณ์ข้อมูลหลุดในไทยช่วงหลังก็เผยแพร่ผ่านเว็บนี้เรื่อยๆ
RaidForum เปิดบริการตั้งแต่ปี 2015 และตอนนี้มีบัญชีผู้ใช้บนเว็บมากกว่าห้าแสนบัญชี ที่ผ่านมาเว็บนี้เป็นแหล่งซื้อขายข้อมูลที่แฮกมาได้จากหน่วยงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง องค์กรในไทยเองก็เคยถูกโจมตีและข้อมูลหลุดออกมาผ่านเว็บไซต์นี้หลายครั้ง ภายในเว็บไซต์มีคนทำหน้าที่หลากหลาย ทั้งบริการฟอกเงิน, ผู้ใช้ที่เสนอขายข้อมูล, และผู้เสนอซื้อข้อมูล
ตำรวจอังกฤษตั้งข้อหาวัยรุ่น 2 คน ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมไซเบอร์ของกลุ่มแฮ็กเกอร์ LAPSUS$
เมื่อปลายเดือนมีนาคม ตำรวจอังกฤษจับวัยรุ่น 7 คนที่อาจเกี่ยวข้องกับ LAPSUS$ และล่าสุดตั้งข้อหาวัยรุ่นอายุ 16 ปีและ 17 ปีตามลำดับ (ไม่เปิดเผยชื่อเพราะเป็นผู้เยาว์) โดยวัยรุ่นทั้งสองคนได้ประกันตัวแล้ว
จากข้อมูลก่อนหน้านี้ แก๊งแฮ็กเกอร์ LAPSUS$ มีสมาชิกอยู่ในอังกฤษและอเมริกาใต้ ถึงแม้สมาชิกในอังกฤษอาจถูกจับกุม (และ LAPSUS$ ประกาศ "พักร้อน") แต่ไม่กี่วันมานี้ LAPSUS$ ยังปล่อยข้อมูลที่ได้มาจาก Globant บริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ใหญ่ ซึ่ง Globant ก็ออกมายอมรับว่าถูกแฮ็กจริง