บริษัท Abit อดีตผู้ผลิตเมนบอร์ดชื่อดังซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักโอเวอร์คล็อค ช่วงหลังมีปัญหาด้านการบริหารทำให้ต้องขายกิจการให้บริษัท Universal Scientific Industrial ในปี 2006
แต่หลังจากเปลี่ยนเจ้าของแล้ว กิจการในส่วนของ Abit ก็ยังไม่กระเตื้องนัก เมื่อต้นปีนี้ทาง USI ได้ประกาศว่า Abit จะเลิกทำเมนบอร์ด และหันไปโฟกัสที่อุปกรณ์อื่นๆ อย่างพวก MID หรือกรอบรูปดิจิทัลแทน แต่ล่าสุดแผนการเปลี่ยนเป็นการปิดกิจการ Abit ทั้งหมดในวันที่ 31 ธันวาคม 2008 นี้
ที่มา - X-bit Labs
บริษัท Fujitsu ยอมรับว่ากำลังอยู่ในช่วงเจรจาเพื่อขายธุรกิจส่วนการผลิตฮาร์ดดิสก์ โดยอาจจะขายให้กับ Western Digital เนื่องจากบริษัทประสบปัญหาจากการไม่ทำกำไรในธุรกิจส่วนนี้ ซึ่งรวมแล้วคิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามทาง Western Digital ยังไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆขณะนี้
นอกจากนี้ Fujitsu เองก็ยังเตรียมขายธุรกิจฮาร์ดแวร์อีกตัวคือ Fujitsu Siemens Computers ในส่วนที่ทำการจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ค้าปลีก โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ยุโรป โดยคาดหมายว่า Lenovo จะเป็นผู้เข้ามาซื้อกิจการนี้ไป แต่เช่นเดียวกัน Lenovo ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นใดๆขณะนี้
Eee Box - Nettop จาก Asustek ไม่ได้ขายดีตามที่คาดได้หลังจากเปิดตัวมาได้ราว 4 เดือน ทางบริษัทจึงออก Eee Box รุ่นใหม่ ที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม โดย
Asustek คาดว่าจะสามารถขาย Eee Box ได้ราว 100,000 ถึง 200,000 เครื่อง ภายในปี 2008 และจะขายได้เกิน 1 ล้านเครื่องภายในปี 2009 ขณะที่ Intel ประมาณการไว้ว่ายอดขาย Nettop จะเกิน 60 ล้านชุด ภายในปี 2011
มีใครซื้อ Eee Box มาลองบ้างหรือยัง ?
คนอ่าน Blognone คงรู้จักซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สกันเป็นอย่างดี คราวนี้มารู้จักฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สกันบ้าง ฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สคือฮาร์ดแวร์ที่เปิดเผยสเปก เฟิร์มแวร์ หมายเลขชิ้นส่วนประกอบ ไฟล์ CAD เอกสารประกอบ ฯลฯ โดยผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างฮาร์ดแวร์แบบเดียวกันด้วยตัวเองได้ (ถ้ามีเครื่องมือนะ)
ตัวอย่างฮาร์ดแวร์โอเพนซอร์สที่ดังที่สุดคือ OpenMoko FreeRunner ซึ่งเป็นโทรศัพท์มือถือของบริษัท FIC จากไต้หวัน บริษัท FIC ได้เปิดเผยสเปกและไฟล์ที่ใช้ออกแบบ FreeRunner ทั้งหมด นั่นแปลว่าถ้ามีบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในไทยสนใจ ก็สามารถผลิตเครื่องแบบเดียวกันได้ทันที และวางขายได้อย่างไม่ผิดลิขสิทธิ์ (แต่เรื่องแบรนด์ก็คงต้องเปลี่ยนเป็นของตัวเองนะครับ)
ย้อนข่าวเก่า CTO ของ OLPC ออกไปตั้งบริษัท ตอนนี้ Mary Lou Jepsen อดีต CTO ของโครงการ OLPC และผู้คิดค้นจอภาพที่ใช้ใน OLPC XO-1 (อ่านได้ใต้แสงอาทิตย์จ้า ต้นทุนถูกกว่าจอปกติ 1/3 ใช้พลังงานต่ำกว่า 1/10) เปิดเผยแล้วว่าเธอกำลังทำอะไรอยู่
บริษัท Pixel Qi ซึ่งเพิ่งเปิดสำนักงานในซานฟรานซิสโกและไต้หวัน กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านจอภาพที่ใช้พลังงานต่ำอยู่ โดยต้องการจะจับฐานลูกค้ากลุ่มอุปกรณ์พกพาชนิดใหม่ๆ ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่รู้ทำไมวันนี้ข่าวเกี่ยวกับแรมเยอะมาก เลยขอรวบสามข่าวเข้าเป็นข่าวเดียวกันนะครับ
ข่าวแรกคือชิป GDDR5 จากบริษัท Hynix ที่บ้านเราคงเห็นกันตามห้างไอทีเยอะพอสมควร ชิปรุ่นใหม่ที่เปิดตัวนี้มีขนาด 1 กิกะบิต ให้ความเร็วในการส่งข้อมูล 7 กิกะบิตต่อวินาที เทียบกับชิปที่เร็วที่สุดในตลาดทุกวันนี้ที่ทำได้เพียง 5 กิกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น
แม้จะเปิดตัวแล้ว แต่ของจะเริ่มส่งมอบได้ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2009 และหลังจากนั้นอีกสักพักการ์ดจอจึงเริ่มวางตลาดกัน
ที่มา - Tech-On
ถึงแม้ว่า AMD จะมาช้าในตลาด netbook/ultraportable (ข่าวเก่า: เอเอ็มดีเตรียมส่ง Conesus ลงตลาด netbook) แต่บทจะมาก็มาพร้อมกันเป็นชุด นอกจาก Conesus ที่เป็นตัวซีพียูแล้ว AMD ยังเปิดเผยข้อมูลของแพลตฟอร์ม Yukon กับ Congo สำหรับตลาดนี้ด้วยเช่นกัน
Congo เป็นแพลตฟอร์มที่จับตลาดบน (ของ netbook/ultraportable) ประกอบด้วย
Yukon เป็นแพลตฟอร์มระดับรองลงมา
ก่อนที่จะออกโน้ตบุคใหม่ทั้งชุด แอปเปิลได้ทำการแก้ไขข้อมูล Tech Note ว่ากราฟฟิคการ์ดบนใน MacBook Pro บางเครื่องมีปัญหาจริง ๆ
จากข้อมูลนั้น เครื่องบางเครื่องจะมีปัญหา โดยจากที่แอปเปิลได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า MacBook Pro พร้อมกับชิป NVIDIA GeForce 8600M GT นั้นมีปัญหาจริง หากผู้ใช้พบว่าการ์ดจอมีปัญหา แอปเปิลจะทำการซ่อมให้ฟรีภายในสองปีหลังจากซื้อเครื่องแล้ว ไม่ว่าเครื่องจะหมดประกันแล้วก็ตาม
อาการที่เกิดขึ้นนั้นคือเมื่อภาพบนหน้าจอนั้นล้ม ไม่แสดงผลตามปกติ หรือไม่มีภาพบนจอภาพ LCD หรือบนจอต่อภายนอกเลยแต่อย่างใด ไม่ว่าเปิดคอมพิวเตอร์แล้วก็ตาม
นินเทนโดออกเครื่องเล่นเกมตัวใหม่ DSi ซึ่งเป็นรุ่นอัพเกรดของ Nintendo DS
นินเทนโดเรียก DSi ว่าเป็น "แพลตฟอร์มที่สาม" ของบริษัท (นอกเหนือไปจาก Wii และ DS) ซึ่งแปลว่าไม่ได้มาแทน DS โดยตรง แต่ครั้งก่อนๆ ตอนที่ยังมี GBA และออก DS ก็พูดแบบนี้เหมือนกัน
TSMC บริษัทรับผลิตชิปให้กับบริษัทออกแบบจำนวนมากที่ไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองได้ประกาศเปิดสายการผลิตล่าสุดในเทคโนโลยี 28 นาโนเมตร และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบชิปชุดแรกได้ในไตรมาสแรกปี 2010
สายการผลิตนี้เปิดตัวทั้งแบบ high-k metal gate (HKMG) และ siligon oxynitride (SiON) โดยเมื่อมีการออกแบบด้วยความละเอียดใหม่นี้แล้ว ชิปที่ได้จะมีความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว, ความเร็วเพิ่มขึ้นร้อยละ 50, และประหยัดพลังงานลงร้อยละ 30-50
เราคงไม่ได้เห็นชิปแปะตราของ TSMC เองเท่าใหร่นัก แต่ลูกค้าของ TSMC นั้นมีตั้งแต่ NVIDIA, ATI, และบริษัทออกแบบไอซีชื่อดังๆ อีกจำนวนมาก
ที่มา - Tech-On
เมื่อพูดถึง Transmeta คนที่รู้จักคงนึกถึงชิปประหยัดไฟรุ่นแรกๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด หรือไม่ก็เป็นที่ทำงานเดิมของ Linus Torvalds แต่หลังจากประสบปัญหาด้านธุรกิจ ต้องเลิกผลิตชิปแล้วหันมาขายเทคโนโลยีอยู่ระยะหนึ่ง ตอนนี้ Transmeta ท่าทางจะไปไม่รอด ประกาศหาผู้ซื้อกิจการซะแล้ว
ในข่าวเดียวกัน Transmeta ยังประกาศสัญญาขายเทคโนโลยีของตัวเองให้กับอินเทล โดยอินเทลจะจ่ายเงินให้ Transmeta ปีละ 20 ล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2009-2013 และจะได้สิทธิบัตรของ Transmeta ไปจนถึงปี 2017
นอกจากอินเทลแล้ว Transmeta ยังเคยขายเทคโนโลยีให้กับ NVIDIA และ AMD ก็มีหุ้นจำนวนหนึ่งใน Transmeta ด้วย
คนแถวนี้มีใครเคยมี Crusoe บ้างไหมครับ?
Larry Ellison ซีอีโอของออราเคิลประกาศในงาน Oracle OpenWorld 2008 ว่าออราเคิลจับมือกับ HP ขายฮาร์ดแวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลในแบรนด์ HP Oracle Database Machine
HP Oracle Database Machine เป็นชุดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ฮาร์ดแวร์จาก HP ตามชื่อ แต่ปรับแต่งให้มีประสิทธิภาพกับซอฟต์แวร์ของออราเคิลอย่างเต็มที่ ในชุดมีส่วนประกอบดังนี้
อินเทลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ Xeon แบบ Quad-Core รุ่นใหม่ที่ไม่ใช้สารฮาโลเจน (halogen) ในกระบวนการผลิตชิป ทั้งนี้ อินเทลปล่อย Xeon ชุดใหม่ออกมาพร้อมกัน 4 รุ่นด้วยกันคือ L5430, X5470, X5492, และ X5270 โดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาตั้งแต่ 2.66 GHz จนถึง 3.5 GHz สำหรับชิปรุ่นแรกของอินเทลที่ปลอดสารฮาโลเจนคือชิป Atom ที่เพิ่งออกสู่ตลาดเมื่อต้นปีนี้เอง และอินเทลยังเคยตั้งเป้าไว้ว่าจะไม่ใช้สารฮาโลเจนสำหรับการผลิตชิปทุกรุ่นภายในปีนี้ให้ได้
สินค้าใหม่ของอินเทลนอกจากซีพียูแล้ว เทคโนโลยีด้านหน่วยความจำก็เป็นตัวชูโรงของอินทเลมาค่อนข้างนาน จึงไม่น่าแปลกใจเท่าใหร่ที่ทางอินเทลจะลงมาเล่นในตลาด SSD ด้วยตัวเอง
การเปิด SSD ของอินเทลนี้เปิดตัวพร้อมๆ กันสองแบบคือ X25-M และ X18-M ตามขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วตามลำดับ โดยรุ่นแรกที่จะส่งมอบคือรุ่น 80 GB ที่ขนาด 2.5 นิ้ว ราคา 595 ดอลลาร์ นับว่าแพงพอสมควรเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นๆ ในตลาด แต่ทางอินเทลก็โฆษณาว่าภายใน SSD ของตนนั้นตัวชิปหน่วยความจำสามารถทำงานได้พร้อมกันสิบช่องทาง (แปลว่าอะไร???) และยังมีเฟิร์มแวร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ทำให้เราอาจจะได้เห็นมาตรฐานความเร็วใหม่ของ SSD รุ่นนี้เมื่อมีการส่งมอบจริงๆ
เป็นภาพหลุดที่เปิดเผยโดยเว็บไซต์ PCWatch ของญี่ปุ่น มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายอัน ทั้งโรดแมปด้านซีพียูและชิปเซ็ตของอินเทล แนวโน้มขนาดของ die ว่าจะเล็กลงไปขนาดไหน และสถาปัตยกรรมภายในของ Nehalem รุ่นต่างๆ ด้วย
เป็นบทความใน New York Times พูดอนาคตของจอสัมผัส หลังจากการจุดกระแสของ iPhone
บทความนี้มีสัมภาษณ์บริษัทที่ผลิตจอสัมผัสหลายรายในวงการ บริษัท N-trig ในอิสราเอลซึ่งเคยขายจอสัมผัสให้กับ Dell เพื่อใช้ใน Latitude XT แต่ไม่สามารถขายให้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์เจ้าอื่นได้ เล่าว่าหลังจากสตีฟ จ็อบส์ เปิดตัว iPhone เมื่อต้นปี 2007 บริษัทเหล่านั้นก็โทรกลับมาหาเขา ล่าสุดในงาน Intel Developer Forum อินเทลได้โชว์คอมพิวเตอร์ต้นแบบชื่อ UrbanMax ซึ่งมีจอจาก N-trig ด้วย
จับตลาด 4 กลุ่มดังนี้
nVidia ได้จ่ายเงินจำนวน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับเทคโนโลยีต่างๆ จาก Transmeta ซึ่งได้แก่เทคโนโลยีประหยัดพลังงานสำหรับ CPU - LongRun และ LongRun 2 อีกทั้งเทคโนโลยีด้านการประมวลผลอื่นๆ ของ Transmeta ด้วย
ปัจจุบัน Transmeta นั้นเป็นบริษัทที่ค้นคว้าเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานและขายเทคโนโลยีเหล่านั้นแก่บริษัทอื่นๆ Transmeta เคยออกผลิตภัณฑ์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้พลังงานต่ำในชื่อ Crusoe และ Efficeon ซึ่งสามารถรันโปรแกรมบนสถาปัตยกรรม x86 ผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า code-morphing โดยชิปทั้งสองตัวใช้สถาปัตยกรรมที่เรียกว่า Very Long Instruction Word (VLIW) ครับ
ได้ยินกันหนาหูเพิ่มขึ้นเรื่อยๆครับ สำหรับ Open Computing Language (OpenCL) ซึ่งตอนนี้ทาง Raja Koduri, CTO ของ ATI เดิม, ได้ออกมาบอกว่า AMD จะยกเลิกการพัฒนาแพลตฟอร์ม GPGPU เดิมของตนเองที่ชื่อ Close-to-Metal เพื่อไปทุ่มการพัฒนาสำหรับ DirectX 11 และ OpenCL แทน ซึ่งน่าจะกลายเป็นมาตรฐานในอนาคต คุณ Koduri ยังได้พูดถึงทิศทางของตลาดซอฟต์แวร์ที่มีหลายบริษัทกำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ประโยชน์จากความสามารถของ GPU อยู่ อย่างเช่น CyberLink, ImageScan, RapidMind, RougeWave, CAPS ซึ่งเขาคิดว่า การเปลี่ยนมาพัฒนาบน OpenCL นี่ น่าจะเข้าถึงได้ง่ายกว่าเพราะใช้มาตรฐานเดียวกัน
AMD อัพเดตโร้ดแมพซีพียูใหม่สำหรับปี 2010 โดยเปิดตัวซ็อกเกตสำหรับซีพียูแบบ 8 คอร์ โค้ดเนม Sao Paolo และซีพียูแบบ 12 คอร์ โค้ดเนม Magny-Cours โดยซีพียูทั้งสองตัวจะเป็นซีพียูแบบ MCM (Multi-Chip Modules) ซึ่งเหมือนกันกับซีพียู Core 2 Quad ของอินเทลในปัจจุบัน โดย Sao Paolo นั้นจะใช้ die ของซีพียู Shanghai และ Magny-Cours นั้นจะใช้ die ของซีพียู 6 คอร์ Istunbul 2 ตัวเชื่อมต่อกัน
Tom's Hardware เคยทดสอบ Solid-state drive (ต่อไปจะเรียก SSD) โดยผลทดสอบเก่าระบุว่า SSD ไม่ประหยัดแบตเตอรี่ เพราะตอนที่ idle SSD กินไฟมากกว่าฮาร์ดดิสก์ ข่าวเก่า
Tom's Hardware ทดสอบฮาร์ดดิสก์ vs SSD อีกครั้ง เรื่องความประหยัดแบตเตอรี่ โดยเอา SSD รุ่นใหม่ขึ้นมาทดสอบ
ผลสรุปว่า SSD รุ่นใหม่อย่าง OCZ’s SATA II (อิงกับ SSD ของ Samsung) กินไฟน้อยกว่าในช่วง idle และประสิทธิภาพสูงกว่าฮาร์ดดิสก์อย่างชัดเจน
ที่มา - tomshardware.com
หลายๆท่านคงมีปัญหาในการเลือกชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างตัวเมนบอร์ดกับกราฟิกการ์ด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชิปเซ็ตที่รองรับได้ (โดยเฉพาะการใช้งาน multi-GPU) แต่ตอนนี้คาดว่าปัญหานี้อาจหมดไปในอนาคตจากเทคโนโลยี Hydra ของบริษัท LucidLogix Technology ซึ่งตัว Hydra Engine นี้ จะทำหน้าเป็นเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างชิปเซ็ตใดๆ และกราฟิกการ์ดใดๆ (ไม่เกี่ยงยี่ห้อ) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้
อาจารย์ผมเคยว่าไว้ว่า "มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่บริโภคทรัพยากรไม่จำกัด" หนึ่งในทรัพยากรนั้นคงเป็นพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ที่ดูเหมือนว่าเรากำลังก้าวเข้าไปสู่การใช้งานฮาร์ดดิสก์ระดับเทราไบต์กันเป็นเรื่องปรกติกันแล้ว เมื่อ Seagate ได้เปิดตัว Barracuda 7200.11 ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.5 เทราไบต์ ทำให้ทาง Seagate เป็นบริษัทผลิตฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุต่อลูกสูงที่สุดในโลกตอนนี้
ก่อนหน้านี้ขีดจำกัดของความจุฮาร์ดดิสก์อยู่ในระดับ 1 เทราไบต์ โดยคู่แข่งของ Seagate ทั้ง Hitachi และ Western Digital นั้นก็ล้วนมีฮาร์ดดิสก์ในระดับเดียวกันทั้งสิ้น
ในช่วงที่กระแส SSD (solid state drive) กำลังเริ่มมาแรงอย่างตอนนี้ หนึ่งในคำโฆษณาของโน้ตบุ๊กที่ใช้ SSD คือประหยัดพลังงานกว่ารุ่นที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ เนื่องจาก SSD ไม่มีส่วนที่เคลื่อนไหวเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า
Tom's Hardware เว็บไซต์ฮาร์ดแวร์ชื่อดังได้ทำการทดสอบ SSD ในท้องตลาดหลายรุ่น และพบว่ามันไม่จริง SSD กลับเปลืองแบตเตอรี่มากกว่าฮาร์ดดิสก์ด้วยซ้ำ (ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่าน-เขียนข้อมูลจะดีกว่าฮาร์ดดิสก์ก็ตาม)
NVIDIA ออกแถลงข่าวในวันนี้ยอมรับว่ามีสินค้าจำนวนมาก "อย่างมีนัยสำคัญ" ที่ส่งมอบให้ลูกค้าไปแล้วนั้น ทำงาน "ล้มเหลวบ่อยกว่าอัตราปรกติ" โดยขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าชิปตัวใดบ้างที่พบกับปัญหานี้ และอาการของมันคืออะไร แต่ในเบื้องต้นทาง NVIDIA ได้ส่งมอบไดร์เวอร์ตัวใหม่ที่จะทำให้พัดลมทำงานเร็วกว่าเดิมเพื่อช่วยลดอุณภูมิของเครื่องลงให้กับผู้ผลิตการ์ดแล้ว
NVIDIA เตรียมเงินสำหรับการแก้ปัญหานี้ตั้งแต่การซ่อมไปจนถึงการเปลี่ยนสินค้าใหม่เป็นเงิน 150 ถึง 200 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้หุ้นของ NVIDIA ร่วงลงทันทีร้อยละ 24 ไปอยู่ที่ 13.56 ดอลลาร์ต่อหุ้น
ถ้าใครใช้การ์ด NVIDIA อาจจะต้องตามข่าวนี้ดีๆ ครับ เผื่อจะได้การ์ดใหม่มาเล่น