IDC เคยเผยรายงานยอดส่งมอบอุปกรณ์สวมใส่ประจำไตรมาส 3 ปี 2016 Fitbit ครองอันดับหนึ่ง มาถึงไตรมาส 4 Fitbit ก็ยังครองที่หนึ่งอยู่ โตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 16.9% ตามมาด้วย Xiaomi และ Apple
Fitbit ได้ส่วนแบ่งการตลาดไตรมาสล่าสุดไป 19.2% IDC วิเคราะห์ว่า Fitbit เน้นขายอุปกรณ์ที่สหรัฐฯเป็นหลัก ซึ่งเป็นตลาดที่โตสูงมากในแง่ของอุปกรณ์ประเภทนี้ ส่วน Xiaomi ได้ส่วนแบ่งไป 15.2% ใช้จุดขายราคาไม่แพง แต่ก็โตในตลาดจีนเท่านั้น ยังขาดความเชี่ยวชาญในการตีตลาดต่างประเทศ Apple ได้ส่วนแบ่ง 13.6% ถือเป็นตัวเลขที่ดีหลังจาก Apple ปล่อย Watch Series 2 ออกมาในราคาถูกลง
ตลาดโทรศัพท์มือถือในอินเดียยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจาก IDC ล่าสุดชี้ว่าปีที่ผ่านมา มียอดส่งมอบสมาร์ทโฟนในอินเดียสูงสุดทำสถิติถึง 109.1 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ 102.7 ล้านเครื่อง หลังเทรนด์ผู้ใช้ในอินเดียเริ่มเปลี่ยนผ่านจากฟีเจอร์โฟนแบบฝาพับมาเป็นสมาร์ทโฟนมากขึ้น
อย่างไรก็ตามฟีเจอร์โฟนแบบฝาพับก็ยังคงครองตลาดอินเดียอยู่เช่นเดิม โดยมียอดส่งมอบสูงถึง 136.1 ล้านเครื่องซึ่งผิดไปจากที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า สมาร์ทโฟนจะมีส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นในปีที่แล้ว
สำหรับส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนของแบรนด์ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ซัมซุงที่ส่วนแบ่ง 24.8%, ตามมาด้วย Lenovo ร่วมกับ Moto ที่ 14.8%, Micromax ที่ 8.8%, Reliance Jio ที่ 7.7% และ Xiaomi ที่เข้ามาติดท็อป 5 ครั้งแรกที่ 6.6%
บริษัทวิจัย IDC และ Gartner เปิดเผยผลการสำรวจตลาดพีซี โดยในภาพรวม IDC ระบุว่ายอดส่งมอบในไตรมาสที่ 4 ปี 2016 อยู่ที่ 70.2 ล้านเครื่อง ลดลง 1.5% จากปีก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนว่ายอดขายพีซีเริ่มเข้าสู่จุดคงที่แล้ว หลังจากพีซีอยู่ในขาลงตั้งแต่ปี 2012 ส่วนภาพรวมตลอดปี 2016 ยอดส่งมอบอยู่ที่ 260 ล้านเครื่อง ลดลง 5.7%
สำหรับส่วนแบ่งการตลาดแยกตามผู้ผลิต Lenovo ยังเป็นเบอร์หนึ่ง แต่ที่น่าสนใจคือยอดส่งมอบเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส โดยมีอันดับ 2-5 คือ HP, Dell, Apple และ Asus ตามลำดับ ซึ่งสำหรับแอปเปิลนั้น ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจากอันดับ 5 มาอยู่ที่ 4 จากปัจจัยสำคัญคือการออก MacBook Pro รุ่นใหม่
IDC เปิดเผยรายงานยอดส่งมอบอุปกรณ์สวมใส่ประจำไตรมาส 3 ทั้งหมด 23 ล้านเครื่อง โตขึ้นจากปีที่แล้ว 3.1% โดยสัดส่วนกว่า 85% เป็นของ Fitness Tracker ที่เติบโตขึ้นเป็นตัวเลขถึง 2 หลัก
นักวิเคราะห์ของ IDC ให้เหตุผลที่ Fitness Tracker ครองตลาดว่ามาจากการออกรุ่นใหม่เรื่อยๆ ช่วยให้ขยายฐานผู้ใช้ ประกอบกับช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา มีคนออกกำลังกายกันมากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือความเรียบง่าย ที่บริษัทผู้ผลิต Fitness Tracker ส่วนใหญ่ออกผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายและตอบโจทย์สุขภาพ ไม่เน้นแฟชันเหมือนอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและฟังก์ชันการใช้งานมาทีหลัง
IDC รายงานตลาดสินค้าไอทีโลกองค์กรไตรมาสที่สามของปีนี้ พบว่าตลาดเซิร์ฟเวอร์หดตัวหนัก ตลาดสตอเรจหดตัวลงเล็กน้อย มีเพียงตลาดเน็ตเวิร์คที่ยังขยายตัวอย่างช้าๆ
ตลาดเซิร์ฟเวอร์ไตรมาสล่าสุดหดตัวถึง 7% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว มูลค่ารวมเหลือ 12,498.2 ล้านดอลลาร์ ไอบีเอ็มได้รับผลกระทบหนักที่สุด มูลค่าลดลงถึง 32.9% ตามมาด้วย HPE ลดลง 12.1% Dell ลดลง 8.7% และ Lenovo ลดลง 7.4%
สำหรับตลาดสตอเรจแม้จะลดลงไม่รุนแรงเท่าเซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ 3.2% เหลือมูลค่ารวม 8,832.7 ล้านดอลาร์ แต่ผู้ค้ารายสำคัญก็ได้รับผลกระทบโดยถ้วนหน้า Dell หนักที่สุดด้วยมูลค่าลดลง 12.6% ไอบีเอ็มลดลง 11.4% NetApp ลดลง 9.8% และ HPE ลดลง 8.1%
IDC คาดการณ์ว่ายอดส่งมอบสมาร์ทโฟนในปีนี้จะสูงถึงกว่า 1.45 พันล้านเครื่อง เติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว (YoY) 0.6% ขณะที่นับเฉพาะสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G มีถึง 1.17 พันล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 21.3% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากตลาดเกิดใหม่ (emerging market) ในแถบเอเชียแปซิฟิกเสียส่วนใหญ่
Melissa Chau ผู้อำนวยการฝ่าวิจัยของ IDC เผยว่ายอดส่งมอบสมาร์ทโฟน 4G ที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างอินเดีย ที่ค่าบริการและสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ค่อนข้างแพงนั้น เกิดจากการท้าทายของโอเปอเรเตอร์เจ้าใหม่ๆ ที่แจกซิม 4G ฟรี พร้อมทำสมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ราคาถูกของตัวเองออกมาตีตลาดมากขึ้น
IDC เปิดเผยรายงานยอดส่งมอบแท็บเล็ตประจำไตรมาสที่ผ่านมาปรากฎว่า ยอดส่งมอบแท็บเล็ตทั่วโลกอยู่ที่ 43 ล้านเครื่อง ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ 50.5 ล้านเครื่อง ลดลง 14.7% ซึ่งนับเป็นไตรมาสที่ 8 ติดต่อกันที่ยอดส่งมอบลดลงเมื่อเทียบแบบ YoY
บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดยังคงเป็นแอปเปิลและซัมซุงเจ้าเดิม โดยแอปเปิลมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 21.5% ลดลงจากปีที่แล้ว 6.2% ส่วนซัมซุงมีส่วนแบ่งอยู่ที่ 15.1% ลดลง 19.3% ตามมาด้วย Amazon ที่ปกติจะเข้ามาติด Top 5 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยส่วนแบ่ง 7.3% เพิ่มขึ้นถึง 319% ซึ่ง IDC ระบุว่ามาจากช่วง Prime Day Sale ที่ลดราคา Fire Tablet ถึง 30%
IDC เผยข้อมูลยอดส่งมอบและส่วนแบ่งการตลาดของสมาร์ทโฟนทั่วโลก ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาปรากฎว่า ซัมซุงส่งมอบไป 72.5 ล้านเครื่อง กินส่วนแบ่งอยู่ที่ 20% ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 13.5% ขณะที่แอปเปิลขาย iPhone ไปได้ 45.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งอยู่ที่ 12.5% ลดลงมา 5.3%
ตรงกันข้ามกับผู้ผลิตจากจีนทั้ง Huawei, Oppo และ Vivo โดย Huawei ส่งมอบไปได้ 33.6 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งอยู่ที่ 9.3% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสามปีที่แล้ว 23%, Oppo ขายได้ 25.3 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่ง 7% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 121.6% และ Vivo ที่ขายไปได้ 21.2 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งอยู่ที่ 5.8% เพิ่มขึ้น 102.5%
IDC เผยตัวเลขยอดขนส่งสมาร์ทวอทช์ ตกลงไป 51.6% ในไตรมาสสามของปีนี้ ถือเป็นข่าวร้ายของผู้ผลิตที่ตั้งใจหมายมั่นปั้นมือทำออกมาตีตลาด โดยเฉพาะ Apple ที่แม้จะครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุด ยอดขนส่งก็ยังตกฮวบถึง 71.6%
ส่วนแบ่งการตลาดของ Apple มี 41.3% แต่ยอดขนส่งในไตรมาสล่าสุดมี 1.1 ล้าน เครื่อง เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2015 มี 3.9 ล้านเครื่อง แต่ยังมีแบรนด์หนึ่งที่มาแรง คือ Garmin ที่เน้นเรื่องสุขภาพและฟิตเนส มียอดขายเพิ่มขึ้นมาก 324% โดย IDC เห็นว่า Apple ควรโฟกัสที่สุขภาพมากกว่าเรื่องแฟชั่น
IDC เปิดเผยยอดส่งมอบอุปกรณ์สวมใส่ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 22.5 ล้านชิ้น เติบโตจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 26.1% โดยทาง Fitbit ยังคงครองตลาดเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย Xiaomi, แอปเปิล, Garmin และ Lifesense
Fitbit ครองตลาดในไตรมาสล่าสุดด้วยส่วนแบ่ง 25.4% เติบโตจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วถึง 28.7% ขณะที่ Xiaomi เติบโต 2.5% ส่วนแบ่งอยู่ที่ 14% ส่วนแอปเปิลเป็นรายเดียวที่ยอดส่งมอบลดลงจากไตรมาสสองของปีที่แล้วถึง 56.7% และมีส่วนแบ่งอยู่เพียง 7% เท่านั้น ตรงกันข้ามกับ Garmin ที่เติบโตขึ้นมาถึง 106.7% ส่วนแบ่งอยู่ที่ 6.9%
ตามที่เคยรายงานไปแล้วว่าตลาดแท็บเล็ตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด IDC ออกมาคาดการณ์ว่า ตลาดแท็บเล็ตจะกลับมาคืนฟอร์มในปี 2018 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020 โดยคาดว่าจะมียอดขนส่ง 194.2 ล้านเครื่อง ส่วนโน้ตบุ๊กถอดจอได้จะยังคงขโมยซีนจากพีซีต่อไป
โน้ตบุ๊กถอดจอได้ หรือแท็บเล็ตติดคีย์บอร์ด เป็นสินค้าที่น่าจับตามองหลังจากนี้ ซึ่งทาง IDC คาดการณ์ว่า สินค้าระบบ Windows และ iOS จะครองตลาดเพิ่มมากขึ้นเพราะมีระบบที่เสถียรมั่นคง และยังมี Google ที่กำลังตีตื้นขึ้นมาติดๆ
ที่มา - IDC
ปีนี้คงไม่ใช่ปีที่ดีนักของ Xiaomi เพราะยอดขายสมาร์ทโฟนจีนไตรมาสล่าสุดโดย IDC ระบุว่ายอดขายของ Xiaomi ในจีนตกลงอย่างหนัก จาก 17.1 ล้านเครื่องในไตรมาสที่สองของปี 2015 ลงมาเหลือ 10.5 ล้านเครื่องในปีนี้ (ลดลง 38% จากเดิม) และทำให้ Xiaomi ตกมาเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอันดับสี่แล้ว
แชมป์เป็นของ Huawei ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น โดยประสบความสำเร็จจากการโปรโมทเทคโนโลยีกล้อง Leica เข้ามาในมือถือ ส่วนอันดับสอง Oppo ก็มียอดขายเพิ่ม หลังเน้นเรื่องระบบชาร์จเร็ว อันดับสามคือ Vivo
ตลาดแท็บเล็ตตกลงมาได้ระยะหนึ่งแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ไตรมาส ล่าสุดขาลงยังดำเนินต่อไปอีก 12.3% ในไตรมาส 2 ปี 2016 ยอดส่งสินค้าลดลง 38.7 ล้านหน่วย ซึ่งยอดนี้รวมตั้งแต่แท็บเล็ตแบบดั้งเดิมไปจนถึงแท็บเล็ตติดกับคีย์บอร์ดถอดออกได้ หรือตัว detachable ซึ่งแชมป์ยังคงเป็น Apple ตามด้วย Samsung อันดับ 3 เป็น Lenovo อันดับ 4 เป็น Huawei ส่วน Amazon เป็นลำดับที่ 5 ในขณะที่แท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์ครองตลาด 65% ตามด้วย iOS 26% ส่วน Windows 9%
ตลาดอุปกรณ์สวมใส่ดูจะยังคงมีอนาคตสดใสไปอีกหลายปี IDC คาดการณ์ว่าปีนี้ ยอดส่งมอบอุปกรณ์สวมใส่อาจสูงถึงกว่า 101.9 ล้านชิ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 29% และคาดว่าตลาดอุปกรณ์สวมใส่จะยังคงเติบโตขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าอีกประมาณ 20% โดยยอดส่งมอบในปี 2020 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 213.6 ล้านชิ้น
อุปกรณ์สวมใส่บนข้อมือด้านสุขภาพ อย่างของ FitBit และ Jawbone ปัจจุบันครองส่วนแบ่งได้มากกว่า 50% ขณะที่อีกราว 40% ตกลงเป็นนาฬิกาอัจฉริยะ แต่ IDC คาดว่าในภาย 2020 สัดส่วนดังกล่าวจะสลับกัน นาฬิกาอัจฉริยะจะขึ้นมาครองส่วนแบ่งตลาดที่ราว 52% ขณะที่อุปกรณ์ด้านสุขภาพจะลดลงไปอยู่ที่ราว 28.5%
IDC เปิดเผยข้อมูลของตลาดอุปกรณ์สวมใส่ในอินเดียในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ที่ขายไปได้แล้วกว่า 400,000 ชิ้น โดยกว่า 88% เป็นสัดส่วนของอุปกรณ์ด้านสุขภาพ (Fitness Tracker)
บริษัทที่มีส่วนแบ่งมากที่สุดในช่วงไตรมาสแรกคือ Xiaomi ที่ 27% ตามมาด้วย GOQii บริษัทที่ทำฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพจากแคลิฟอร์เนียที่ 18% และ Fitbit ที่ 6%
สาเหตุสำคัญที่ตลาดนี้ของอินเดียเติบโตมากขึ้น มาจากกระแสการรักสุขภาพที่เพิ่มขึ้น, การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนในอินเดีย และราคาของอุปกรณ์สวมใส่ด้านสุขภาพที่ถูกลงเรื่อยๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตีตลาดก็หนีไม่พ้น Mi Band ของ Xiaomi
ที่มา - Business Insider
IDC ออกรายงานส่วนแบ่งตลาดสวิตช์ (สำหรับ Ethernet หรือ Layer 2/3) และเราเตอร์สำหรับองค์กรและผู้ให้บริการ (service provider) ในไตรมาสแรกของปี 2016 สภาพตลาดสวิตช์รวมโตขึ้น 1.4% และเราเตอร์โตขึ้น 3.3% จากปีที่แล้ว
เจ้าตลาดสวิตช์ยังเป็น Cisco ที่นำห่างด้วยส่วนแบ่งตลาด 59% (ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อย) ตามด้วย HPE ครองส่วนแบ่ง 9.7%, อันดับที่เหลือคือ Arista, Huawei, Juniper ตามลำดับ ถ้านับเฉพาะตลาดสวิตช์แบบ 10Gb ผู้นำตลาดคือ Cisco ส่วนแบ่ง 55.7%
สำหรับตลาดเราเตอร์ Cisco ก็ยังเป็นเจ้าตลาดด้วยส่วนแบ่ง 48.8% ครับ
IDC ออกรายงานประเมินยอดขายอุปกรณ์กลุ่มสตอเรจสำหรับองค์กร (enterprise storage) ประจำไตรมาสแรกของปี 2016 พบว่า Hewlett Packard Enterprise (HPE) มาแรง ขึ้นมาเทียบชั้นกับ EMC เจ้าตลาดเดิมได้แล้ว
IDC ประเมินว่า HPE ขายอุปกรณ์สตอเรจได้ 1.42 พันล้านดอลลาร์ ครองส่วนแบ่งตลาด 17.3% มากกว่า EMC ที่ขายได้ 1.39 พันล้านดอลลาร์ (ส่วนแบ่ง 16.4%) อยู่เล็กน้อย แต่ทางสถิติแล้วถือว่าต่างกันไม่มาก จึงถือว่าเป็นอันดับ 1 ร่วมกัน
อันดับสามคือ Dell ครองส่วนแบ่งตลาด 10.3%, อันดับสี่ NetApp ครองส่วนแบ่งตลาด 7.9% และอันดับห้าร่วมคือ Hitachi (6.3%) กับ IBM (5.8%) ถ้านับเฉพาะในกลุ่มท็อป บริษัทที่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นคือ HPE, Dell, NetApp
ทิศทางของตลาดแท็บเล็ตมียอดขายตกลงอย่างชัดเจน และตัวเลขพยากรณ์ล่าสุดของ IDC ก็ระบุว่ายอดขายในปี 2016 จะลดลงจากยอดในปี 2015 อีก 9.6% แถมยังไม่มีทีท่าว่าจะกลับมาโตขึ้น จนกว่าจะถึงปี 2018 ที่ IDC คาดว่าจะกลับมาเติบโตอีกเล็กน้อย แต่ก็ไม่มีทางกลับมาโตเท่าช่วงก่อนปี 2015 ได้อีกแล้ว
IDC บอกว่าสภาพตลาดแท็บเล็ตจะคล้ายกับตลาดพีซีช่วงก่อนหน้านี้ แต่ผู้ผลิตแท็บเล็ตก็เริ่มปรับตัวจากการขายแท็บเล็ตแบบดั้งเดิม (slate tablet) มาเป็นการขายแท็บเล็ตลูกผสมโน้ตบุ๊ก (detachable tablet) แทน แม้แต่แอปเปิลก็ยังลงมาเล่นตลาดนี้ และปีนี้เราเริ่มเห็นสินค้ากลุ่มนี้ออกสู่ตลาดกันมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยถูกลง ตอนนี้แท็บเล็ตแบบ detachable มีส่วนแบ่ง 16% ของตลาดแท็บเล็ตทั้งหมด แต่สัดส่วนจะเพิ่มเป็น 31% ในปี 2020
รายงานตลาดเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกจากทั้ง IDC และ Gartner แสดงข้อมูลตรงกันว่าตลาดนี้กำลังหยุดชะงักลงจากรอบการอัพเกรดที่หยุดไปแล้ว
ในแง่รายได้ IDC ระบุว่ารายได้รวมลดลง 3.6% ขณะที่ Gartner ระบุว่าลดลง 2.3% ในแง่ยอดส่งมอบ IDC ละบุว่าลดลง 3% แต่ Gartner ระบุว่าเพิ่มขึ้น 1.7% ผู้ผลิตสี่อันดับแรกจากรายงานทั้งสองแห่ง ได้แก่ HPE อันดับหนึ่ง, Dell อันดับสอง, IBM อันดับสาม ส่วนที่สี่และห้านั้น Lenovo และ Cisco ใกล้เคียงกัน ในจำนวนนี้ IBM มีรายได้ลดลงอย่างหนักเพราะขายกิจการ x86 ให้กับ Lenovo ไป ขณะที่ปีที่แล้วมีเมนเฟรม z13 เพิ่งเปิดตัว
บริษัทวิจัยตลาด IDC ออกมาพยากรณ์ยอดขายสมาร์ทโฟนตลอดทั้งปี 2016 ว่าจะอยู่ที่ 1.48 พันล้านเครื่อง เติบโตเพียง 3.1% จากปีก่อนเท่านั้น ถือว่าอัตราการเติบโตลดลงมากเมื่อเทียบกับปี 2015 ที่โต 10.5% และปี 2014 ที่โต 27.8%
ปัจจัยที่ทำให้ยอดขายสมาร์ทโฟนเติบโตช้าคือ ตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และจีน เริ่มอิ่มตัวแล้ว มิหนำซ้ำในบางประเทศอย่างญี่ปุ่นและแคนาดา ยอดขายจะติดลบ ขายได้น้อยกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำ
IDC ประเมินส่วนแบ่งตลาดมือถือที่ขายในปี 2016 ว่า Android จะขายได้ 1.2 พันล้านเครื่อง ชิงส่วนแบ่งตลาด 83.7%, iOS 226.8 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 15.3% (แถมยอดขายน้อยลงจากปีที่แล้ว 2% ด้วยซ้ำ), Windows Phone 11.2 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่ง 0.8% (ขายได้น้อยลงมาก -61.6% จากปีก่อน)
บริษัทวิจัยตลาด IDC ออกมาเปิดเผยตัวเลขยอดส่งมอบซีพีในไตรมาสแรกของปีนี้ (1Q16) ที่มียอดส่งมอบ 60.6 ล้านเครื่อง ลดลง 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยระบุว่าปัจจัยในตลาดผู้บริโภคทั่วไปมาจากความต้องการที่น้อยลง ส่วนในตลาดองค์กรการอัพเกรดไป Windows 10 ยังอยู่ในขั้นทดลอง ทำให้การซื้อเครื่องใหม่ลดลง ยังไม่นับรวมถึงปัจจัยภายนอกเช่น อัตราแลกเปลี่ยนและสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงสินค้าคงคลังด้วย
IDC บริษัทด้านการวิจัยตลาด ออกมาเปิดเผยตัวเลขประมาณการของตลาดอุปกรณ์แบบไอทีสวมใส่ของสิ้นไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ โดยระบุว่ามียอดส่งมอบอุปกรณ์เพิ่มขึ้นถึง 19.7 ล้านชิ้น เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 67.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทที่ยังมียอดขายดีที่สุดคือ Fitbit โดยมียอดส่งมอบอุปกรณ์ถึง 4.8 ล้านชิ้น คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 24.5% ตามมาด้วย Xiaomi ที่ 3.7 ล้านชิ้น คิดเป็น 19% ส่วน Apple รั้งอันดับ 3 ที่ 1.5 ล้านชิ้น คิดเป็น 7.5%
บริษัทวิจัยตลาด IDC ออกรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนโลกประจำไตรมาส 1/2016 โดยรวมแล้วตลาดสมาร์ทโฟนแทบไม่โตขึ้นจากปีก่อน ยอดขายรวม 334.9 ล้านเครื่อง โตเพียง 0.2% ถือเป็นอัตราการเติบโตต่ำสุดตั้งแต่เก็บสถิติยอดขายสมาร์ทโฟนมาเลย
อันดับหนึ่งยังเป็นซัมซุง ยอดขายและส่วนแบ่งตลาด 24.5% เกือบเท่าปีก่อน, แอปเปิลอันดับสอง ยอดขายหายไปสิบล้านเครื่อง (จาก 61.2 ล้านเครื่องเหลือ 51.2 ล้านเครื่อง ตกลงถึง 16.3%) ส่วนแบ่งตลาด 15.3%, อันดับสาม Huawei ยอดขาย 27.5 ล้านเครื่อง เติบโต 58.4% ครองส่วนแบ่งตลาด 8.2%
บริษัทวิจัย IDC ออกมาพยากรณ์ว่า "แท็บเล็ตแบบมีคีย์บอร์ด" (detachable) จะเติบโตมากขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า จากปี 2015 มีสัดส่วน 5% ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก (Western Europe) ทั้งหมด จะเพิ่มเป็น 20% ในปี 2020 โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะรัน Windows 10
IDC มองว่าพีซีแบบดั้งเดิมจะมียอดขายหดตัวลงเรื่อยๆ ส่วนอุปกรณ์แบบ detachable จะเติบโตเฉลี่ย 30% ทุกปี ปัจจัยหนุนที่สำคัญคือบริษัทหลายรายร่วมบุกเข้าตลาดนี้กันมากขึ้น และผู้บริโภคจะต้องการอุปกรณ์ที่มีคีย์บอร์ดมากขึ้น กลุ่มผู้ใช้ระดับโปรยังจะเลือกอุปกรณ์กลุ่มนี้มาแทนโน้ตบุ๊กด้วย
IDC ประเมินว่า Windows 10 จะไม่ช่วยผลักดันให้คนเปลี่ยนพีซีเร็วขึ้น แต่จะช่วยเร่งให้คนหันมาใช้อุปกรณ์พกพาแบบใหม่ๆ กันมากขึ้นแทน
IDC ออกมาประเมินยอดขายแท็บเล็ตโลกปี 2016 ว่าจะขายได้ 195 ล้านเครื่อง ลดลง 5.9% จากปี 2015
อย่างไรก็ตาม ตลาดใหม่ที่กำลังเติบโตคือตลาดแท็บเล็ตแบบไฮบริด (detachable tablet) ที่จะเติบโตจาก 16.6 ล้านเครื่องในปี 2015 เป็น 63.8 ล้านเครื่องในปี 2020 ตัวอย่างสัญญาณที่เด่นชัดคือเราเริ่มเห็นผู้ผลิตหน้าใหม่ๆ อย่าง Alcatel และ Huawei เริ่มบุกเข้ามาในตลาดนี้แล้ว
IDC มองว่าระบบปฏิบัติการเจ้าตลาดนี้คือ Windows 10 ซึ่งตอนนี้มีส่วนแบ่งตลาด 53.3% ตามด้วย iOS 28.5% และ Android 18.2% เหตุผลสำคัญคือ Windows เป็นระบบปฏิบัติการเดียวที่ครบเครื่องทั้งด้านจอสัมผัสและอินพุตแบบของเดิม ในขณะที่แอปเปิลไม่รองรับจอสัมผัสบน OS X และฝั่งกูเกิลยังแยก Android กับ Chrome OS จากกันอยู่