เมื่อวานนี้ (17 กันยายน) อินเทลจัดงาน Intel Tech Update #2 เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ของอินเทลที่เปิดตัวไปในงาน Indel Developer Forum 2012 (IDF2012) ที่จัดขึ้นในเมืองซานฟรานซิสโก
บางส่วนของเทคโนโลยีใหม่จากอินเทลนั้นมีข่าวใน Blognone เป็นที่เรียบร้อยแล้วได้แก่
ในงาน IDF 2012 อินเทลอัพเดตข้อมูลชิปโค้ดเนม Haswell สำหรับอัลตร้าบุ๊ก ชิปรุ่นประหยัดพลังงานรหัส Shark Bay ที่คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงต้นปี 2013
ชิปในรหัส Shark Bay นอกจากจะรองรับการทำงานร่วมกับ SSD แล้วยังเพิ่มการรองรับฮาร์ดดิสก์ไฮบริดที่มีทั้งชิปแฟลช และจานหมุนในลูกเดียวกัน (ถ้านึกภาพไม่ออก ลองดู Seagate Momentus XT) ซึ่งอินเทลได้ออกซอฟต์แวร์ Rapid Storage Technology 12.5 ที่เพิ่มประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์จำพวกไฮบริดได้ราว 30%
นอกจากนี้อินเทลยังบอกว่าได้ทำงานร่วมกับ WD และ Seagate เพื่อพัฒนาให้ชิปรหัส Shark Bay รองรับการทำงานร่วมกับฮาร์ดดิสก์ไฮบริด ซึ่งน่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะลดต้นทุนของอัลตร้าบุ๊กให้ต่ำลงได้อีกครับ
ที่งาน IDF อินเทลสาธิตการทำงานของ WiGig ระบบส่งข้อมูลไร้สายที่ทำงานที่ความถี่ 60GHz ที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตแบบเดียวกับคลื่น 2.4GHz และ 5GHz
WiGig Alliance จะมีงานแสดงสินค้าในปีหน้า ในตอนนั้นเราคงได้เห็นสินค้าหลายยี่ห้อเริ่มออกมาแสดงความพร้อมกัน แต่ตอนนี้อินเทลที่แสดงสินค้าได้ก่อนก็ได้เปรียบที่น่าจะส่งชิปตัวอย่างให้ผู้ผลิตได้ก่อนเช่นเดียวกัน
ที่มา - ComputerWorld
ที่งาน IDF 2012 อินเทลโชว์ต้นแบบของระบบส่งสัญญาณวิทยุ (transceiver) สำหรับ Wi-Fi ที่สร้างด้วยระบบดิจิทัลล้วนๆ ไม่มีแอนะล็อกแม้แต่น้อย
ถึงแม้ว่าการส่งสัญญาณวิทยุในปัจจุบันมีส่วนที่เป็นดิจิทัลอยู่มากแล้ว แต่ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความถี่ของสัญญาณ (เช่น phase modulation, frequency synthesis, RF power amplification) ยังเป็นแอนะล็อกอยู่ และเป็นปัญหาต่อการผลิตอุปกรณ์ขนาดเล็ก เพราะชิ้นส่วนพวกนี้ไม่สามารถเล็กลงได้กว่านี้อีกแล้ว
ใกล้ถึงเวลาเปิดตัว Windows 8 ข้อมูลของชิป Atom ตัวที่จะใช้ในแท็บเล็ตรัน Windows 8 โดยเฉพาะในรหัส "Clover Trail" ก็เริ่มมีข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดในงาน IDF 2012 อินเทลออกมายืนยันแล้วว่าระบบปฏิบัติการ Linux จะใช้งานบน Atom รุ่นใหม่นี้ไม่ได้แล้ว
อินเทลไม่ได้บอกเหตุผลว่าทำไม Clover Trail ถึงจะใช้กับ Linux ไม่ได้ แต่หลายฝ่ายคาดกันว่าเพราะอินเทลพัฒนาชิปตัวนี้โดยอิงกับ Windows 8 จึงยัดซอฟต์แวร์หลายๆ ตัวลงไปในชิปเพื่อให้รองรับฟีเจอร์ของตัวระบบปฏิบัติการได้ดีขึ้น อย่างที่เคยมีข่าวว่า Clover Trail กับ Windows 8 จะเป็นการจับคู่กันระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์อย่างยอดเยี่ยม
วันที่สองของ IDF 2012 อินเทลประกาศแนวทางซอฟต์แวร์ของบริษัทด้วยการประกาศลงทุนกับ HTML5 ต่อเนื่อง โดย River Trail หรือ Parallel JS ที่อินเทลพัฒนาให้จาวาสคริปต์สามารถทำงานแบบขนานผ่าน OpenCL ได้จะรวมเข้าเป็นฟีเจอร์พื้นฐานของไฟร์ฟอกซ์ในที่สุด (ไม่ระบุกำหนดเวลา)
อินเทลประกาศว่าตอนนี้กำลังสร้างเครื่องมือให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นผ่าน HTML5 เพื่อรันได้บนหลายแพลตฟอร์ม แต่จะเปิดตัวจริงในไตรมาสที่สี่ของปีนี้
ทางฝั่ง McAfee ก็ขึ้นเวทีนี้เพื่อเปิดตัวระบบป้องกันการขโมย McAfee Anti Theft สำหรับการป้องกันข้อมูลในกรณีเครื่องสูญหาย
อินเทลเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของชิปฝั่งองค์กร อินเทลประกาศว่ากระบวนการพัฒนาชิปชั้นสูงอย่างตระกูล E7 นั้นใช้เวลานานกว่าชิปทั่วไป ทำให้ต้องข้าม Sandy Bridge ไปเลย กลายเป็น Ivy Bridge-EX แทน โดยจะออกในปีหน้าพร้อมๆ กับ Ivy Bridge-EP ที่เป็นตระกูล E5
ฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาพร้อมกับ E5/E7 รุ่นใหม่คือ APICv (Advanced Programmable Interrupt Controller) ที่ใช้ประสานงานอินเตอร์รัปต์ระหว่างซ๊อกเก็ตลดค่าโอเวอร์เฮดในการจัดการเครื่องเสมือนลง
ตัว E7 นั้นจะเปลี่ยนซ๊อกเก็ตใหม่หมด และ "อาจจะ" เป็นซ๊อกเก็ตที่ Kittson ชิปตระกูลไอทาเนียมของอินเทลมาใช้งานร่วมกัน
สถาปัตยกรรม Core รุ่นที่สี่หรือ Haswell เป็นซีพียูที่จะวางตลาดในปีหน้าจากที่เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนกันมาก่อนหน้านี้ รอบนี้อินเทลแสดงจุดขายว่า Haswell จะเป็นชิปตัวแรกที่ออกแบบเพื่อแท็บเล็ตจนถึงเซิร์ฟเวอร์ เพราะตัวฟีเจอร์ของสถาปัตยกรรมที่เปิดให้ชิปแต่ละรุ่นปรับแต่งส่วนประกอบต่างกันได้
สำหรับฟีเจอร์สำคัญที่อินเทลเปิดตัวในงาน IDF
อินเทลหนุน ultrabook แบบสุดตัว ล่าสุดในงาน IDF2012 ที่ปักกิ่ง อินเทลก็ก้าวไปอีกขั้น โดยเสนอ "แบตเตอรี่" ขนาดมาตรฐานสำหรับ ultrabook ที่ต้องเน้นความบางเป็นพิเศษ
อินเทลต้องการแก้ปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ที่มีขนาดแตกต่างกันในโน้ตบุ๊กแต่ละยี่ห้อ เป็นผลให้ราคาแพงและออกแบบแบตเตอรี่ให้ใช้ร่วมกันได้ยาก
แบตเตอรี่แบบมาตรฐานที่อินเทลเสนอ มีขนาด 60x80 มิลลิเมตร และเสนอให้ใช้เซลล์แบตเตอรี่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร เล็กกว่าเซลล์ที่ใช้ในแบตโน้ตบุ๊กทั่วไป (18 มิลลิเมตร)
ตอนนี้ทุกอย่างยังเป็นเพียงข้อเสนอของอินเทล ต้องรอดูว่าบรรดาผู้ผลิต ultrabook ทั้งหลายจะยินดีเข้าร่วมโครงการด้วยหรือไม่
อินเทลโชว์แท็บเล็ตต้นแบบที่รัน Windows 8 ในงาน IDF2012 ที่ปักกิ่ง เบื้องต้นอินเทลจะรองรับแท็บเล็ต Windows 8 สองขนาด (ดูตัวอย่างได้จากวิดีโอท้ายข่าว อยู่ช่วงท้ายๆ)
แท็บเล็ตทั้งสองรุ่นจะใช้ซีพียู Atom "Clover Trail" Z2760 สเปกอื่นๆ ที่อินเทลกำหนดคือน้ำหนักไม่เกิน 1.5 ปอนด์ (6.8 ขีด), หนาไม่เกิน 9 มิลลิเมตร, แบตเตอรี่อย่างต่ำ 9 ชั่วโมง, สแตนด์บายได้นาน 30 วัน, เชื่อมต่อได้ผ่าน 3G/4G, Wi-Fi Direct และ NFC
ส่วนสเปกที่ไมโครซอฟท์ประกาศเอาไว้ แต่อินเทลไม่ได้พูดถึงคือ หน้าจอละเอียด 1366x768, รองรับระดับสี 32 บิต, กล้องถ่ายวิดีโอ 720p, Bluetooth 4.0, GPS
ในงาน Intel Developer Forum 2012 ที่ปักกิ่ง มีคนตาดีไปเจอโน้ตบุ๊ก Chromebook จากซัมซุงที่ใช้ซีพียู Sandy Bridge (Core i รุ่นปัจจุบัน) ตั้งโชว์อยู่ที่บูตของกูเกิลภายในงานด้วย
ข่าวนี้ช่วยยืนยันข่าว หรือว่าฮาร์ดแวร์ Chrome OS รุ่นหน้าจะใช้ Ivy Bridge? ได้เป็นอย่างดี (เพียงแต่ยังเป็นแค่ Sandy Bridge ไม่ใช่ Ivy Bridge)
โน้ตบุ๊กตัวนี้ยังหน้าตาเหมือน Chromebook ของซัมซุงรุ่นเดิม สิ่งที่เปลี่ยนคือซีพียู และการบูตเครื่องที่เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก (ดูวิดีโอประกอบ) ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการ Coreboot ที่กูเกิลไปร่วมพัฒนาด้วยนั่นเอง
ถ้ายังจำข่าว เอเอ็มดีเข้าซื้อ SeaMicro บริษัททำเซิร์ฟเวอร์แบบใช้ซีพียูจำนวนมาก กันได้ เดิมทีบริษัท SeaMicro ทำเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กที่ใช้ซีพียู