Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตัวใหม่ครับ เป็นสิ่งที่คล้ายๆ กับเลขโรมัน VIIV ซึ่งเป็นเลขที่ไม่มีอยู่จริง ในเว็บก็คาดเดาไปต่างๆ นานา แต่ผมคิดว่ามันน่าจะเป็น Pentium VI Dual Core ครับผม (VI กับ IV ในกระจก) จาก Ars Technica

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลเปิดตัวเทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลซ์เซชั่นของตัวเองในชื่อว่า Vanderpool โดยคาดว่าจะมีการนำไปผลิตลงชิปในปี 2006 ที่จะถึงนี้

เทคโนโลยีเวอร์ช่วลไลซ์เซชั่นคือการออกแบบซีพียูให้รองรับระบบปฏิบัติการได้หลายตัวพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยให้เราสามารถรักษาความปลอดภัยได้ดีขึ้น เช่นหากระบบปฏิบัติการชุดหนึ่งทำหน้าที่เป็นเซอร์เวอร์อยู่ด้านหลัง อีกตัวหนึ่งใช้ท่องเน็ตอยู่ ในกรณีที่ต้วแรกตายไป ก็สามารถปิดเพียงระบบเดียวเพื่อแก้ไขได้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ผมเขียนเรื่องสงครามสถาปัตยกรรม 64 บิตยุคหน้ามาหลายรอบ อินเทลนั้นใช้สถาปัตยกรรม IA64 ใน Itanium2 ส่วนเอเอ็มดีสนับสนุน x86-64 จุดแตกต่างของสองค่ายคือ IA64 ไม่สนับสนุนของเก่า x86 (32 บิต) ส่วน x86-64 กลับเป็นส่วนขยายของ x86 ทำให้เอเอ็มดีชนะค่อนข้างชัดเจน สุดท้ายอินเทลก็ต้องยอมหันมาใช้ x86-64 และรวมโลก 64 ยุคหน้าให้เป็นหนึ่งเดียวไม่แตกแยกกัน แต่อินเทลซะอย่างไม่ยอมเสียฟอร์มง่ายๆ ฮะ ตอนแรกเอามาใส่ใน Xeon รหัส Nocona ก่อน ในชื่อใหม่ว่า EMT64 (Extended Memory 64 Technology) และล่าสุดจะนำมาใส่ใน Pentium 4

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

มีแหล่งข่าวจากบริษัท HP ระบุว่าช่วงนี้อินเทลกำลังผลิตชิปป้อนสู่ตลาดไม่ทันครับ

เรื่องผลิตของไม่ทันถือเป็นความเสียหายครับ เพราะหมายถึงคู่แข่งจะได้ตลาดจากเราไปโดยไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ได้คิดว่าของขายดีจนผลิตไม่ทันแล้วดีแต่อย่างใด

ไม่มีความเห็นจากตัวแทนอินเทลแต่อย่างใด ในตอนนี้ผมจึงยังถือว่าอาจจะเป็นข่าวลือ แต่พรุ่งนี้น่าจะมีแถลงจากอินเทลออกมา

ที่มา Intel won't comment on CPU shortage claim

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

แรงงานด้านไอทีตกเป็นอินเดียไปจนฉุดไม่อยู่แล้วครับ ล่าสุดอินเทลก็มีการแถลงว่ากำลังพิจารณาเพิ่มทุนวิจัยในอินเดียอยู่

ปัจจุบันอินเทลมีศูนย์วิจัยในอินเดียอยู่แล้ว แต่ไม่น่าจะใหญ่มาก เพราะลงทุนไปเพียง 40 ล้านดอลล่าห์เท่านั้น เทียบกับรายได้ปีที่แล้วของอินเทลมูลค่ากว่าสามหมื่นล้านดอลล่าห์

การเพิ่มศูนย์วิจัยในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการวิจัยขั้นสูง โดยเฉพาะการพัฒนาชิปเซ็ตเพื่อใช้งานในโปรเซสเซอร์เซนตริโน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลแสดงความเป็นผู้นำในโลกพีซีอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัวมาตรฐาน BTX ที่เป็นมาตรฐานการออกแบบเช่นเดียวกับ ATX ทีี่ออกมาตั้งแต่ปี 1995

นับจากที่ไอบีเอ็มเคยเป็นผู้นำในตลาดพีซี โดยเป็นคนออกมาตรฐานการออกแบบเช่น AT ในยุดหลังๆ นี้อินเทลก็ประกาศความเป็นผู้นำอย่างต่อเนื่องด้วยการประกาศมาตรฐาน ATX ที่ทำให้คนประกอบเครื่องรู้ดีว่าสะดวกขึ้นเยอะ จากที่เมื่อก่อนต้องมาดูว่าจะใส่การ์ดไหนช่องไหนดี

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลประกาศแผนเลิกผลิตและขายชิปที่ใช้เทคโนโลยี 130 นาโนเมตรแล้วในวันนี้ โดยมีกำหนดวันคือ 17 มิถุนายน ปีหน้า

ชิปที่อยู่ในข่ายถูกยกเลิกได้แก่ เพนเทียมโฟร์ 2.80 3.00 3.20 และ 3.40 กิกะเฮิร์ตตามลำดับ โดยทั้งหมดใช้เทคโนโลยีซ๊อกเก็ต 478 อยู่ และยังมียอดขายที่สูงพอควรด้วย

โดยอินเทลประกาศว่าในไตรมาศแรกของปีหน้าจะเริ่มจำกัดการสั่งซื้อชิปที่อยู่ในข่ายดังกล่าวออกไปเรื่อยๆ

อินเทลภูมิใจกับเทคโนโลยี 90 นาโนเมตรของตนเองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้อินเทลสามารถลดต้นทุนต่อชิปลงไปได้ พร้อมกับได้ชิปที่ทำงานได้เร็วขึ้น กินพลังงานน้อยลงอีกด้วย

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สำหรับ Windows 2003 Cluster Edition ครับ จะสนับสนุนแค่เพียง Opteron กับ Xeon เท่านั้น เนื่องจากความนิยมใน Itanium 2 ซึ่งตกลงมาก (หลังจากอินเทลยอมทิ้ง IA64 มาใช้ x86-64 ตาม AMD) และการที่ HP พันธมิตรหลักประกาศเลิกขายเซิร์ฟเวอร์ Itanium 2 ก็มีส่วนเช่นกัน Windows 2003 Cluster Edition จะเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่รุกเข้ามาในตลาด HPC ของไมโครซอพท์ กำหนดออกครึ่งแรกของปีหน้าครับ จาก The Street

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลประกาศว่าชิปเซ็ต Lakeport มีรวมเอาไวไฟเข้าไว้ในตัวด้วย เรื่องนี้สร้างความงงงันให้กับหลายสำนัก เนื่องจากอินเทลมีการเปลี่ยนแผนการใส่ไวไฟเข้าไปในเครื่องเดสทอปมาสองสามรอบแล้ว

แต่สุดท้ายแล้วยังไงเราได้เห็นไวไฟเป็นอุปกรณ์มาตรฐานบนเดสทอปในมีนี้แน่ๆ

ที่มา Intel flip-flops on WiFi in the chipset

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทล ผู้ผลิตโปรเซสเซอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศเตรียมการใช้นาโนเทคโนโลยีเป็นยุคต่อไปในการผลิตโปรเซสเซอร์

แผนดังกล่าวในตอนนี้ยังอยู่ในระดับคร่าวๆ แต่อินเทลระบุว่าในปี 2010 อินเทลน่าจะรู้แล้วว่าจะใช้อะไรมาแทนเทคโนโลยีซีมอสที่อินเทล และผู้ผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่

อินเทลประกาศถึงแผนการใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรในปี 2007 ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวก็เริ่มมีการใช้เทคโนโลี "เกตออกไซต์" แทนเกตต์ซิลิกอนตามปรกติแล้ว โดยคาดกว่าเทคโนโลยีนี้น่าจะทำให้อินเทลก้าวไปถึงระดับ 22 นาโนเมตรได้ในปี 2011 ถึุงปี 2012

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ช่วงนี้ไม่รู้เป็นอะไร อินเทลออกข่าวยกเลิกโครงการบ่อยเหลือเกิน ในวันนี้ก็ยกเลิกไปอีกโครงการแล้วครับ คือโครงการ LCoS ที่ว่ากันว่าจะมาเป็นคู่แข่งของ DLP

การยกเลิกโครงการนี้ คนที่ดีใจเป็นนักหนาคงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก เท็กซัสอินสตรูเมนต์ ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตร DLP อันลือชื่อ

เทคโนโลยี LCoS เป็นการรวมแนวคิดของ LCD ที่ใช้การกรองแสงผ่านตัวชิป เข้ากับแนวคิดของการใช้กระจกสะท้อนแสงแบบ DLP โดย LCoS จะใช้ผลึกเหลวมากรองแสงที่จะสะท้อนจากกระจก ทำให้ได้ข้อดีหลายอย่าง เช่นภาพที่นุ่มนวลกว่า สว่างกว่า ฯลฯ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลประกาศยกเลิกเพนเทียม 4 ความเร็ว 4GHz ตามที่เคยประกาศไว้แล้ว โดยเป็นการผลักดันของ Paul Otellini ประธานคนปัจจุบัน ที่ต้องการให้อินเทลมุ่งไปในทางอื่นนอกจากความเร็วของสัญญาณนาฬิกา โดยจะเปลี่ยนแผนไปเพิ่มแคชเป็น 2MB แทน GHz ส่วนปีหน้าอินเทลจะมุ่งสู่ดูอัลคอร์แล้ว ข่าวจาก CNET

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทลประกาศว่าจะเปิดวิทยาลัยซอฟท์แวร์ในเมืองบังกะลอ ประเทศอินเดียในวันนี้ โดยวิทยาลัยดังกล่าวจะมุ่งเน้นเนื้อหาด้านซอฟท์แวร์แบติดตามตัว และซอฟท์แวร์เพื่อการคำนวณประสิทธิภาพสูง โดยผู้สอนจะมาจากทางทางอินเทลเองทั้งหมด

ปัจจุบันอินเดียนับว่าเป็นแหล่งอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยมีบริษัทที่ได้รับมาตรฐาน CMMI-5 ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดมากที่สุดในโลก

ที่มา Developer Pipeline

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หลังจาก AMD เคยเสนอแนวคิดเรื่อง No Execute (NX) ซึ่งเป็นบิตพิเศษในซีพียูที่ใช้ป้องกันไวรัสหรือเวิร์ม ที่ใช้เทคนิค Buffer Overun ตอนนี้ถึงคราวอินเทลบ้างแล้ว โดยอินเทลเรียกว่า Execute Disable Bit หรือ EDB (จะเรียกให้ต่างกันไปทำไมก็ไม่รู้เนาะ) ซึ่งซีพียูชุดแรกที่จะมีความสามารถนี้คือเพนเทียม 4 ตระกูล 500 และเซเลรอนตระกูล 300 โดยเพนเทียม 4 700 และ Xeon จะเป็นชุดถัดๆไป ตอนนี้วินโดว์ XP SP2 ก็สนับสนุนความสามารถนี้แล้ว หวังว่าอนาคตไวรัสคงจะลดความรุนแรงลงจากฟีเจอร์นี้นะครับ จาก Ars Technica

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Andy Grove หนึ่งในสามผู้ก่อตั้งบริษัทอินเทล ผู้ครองตลาดไมโครโปรเซสเซอร์ส่วนใหญ่ของโลกได้ประกาศเตรียมการเกษียญอายุในปีหน้านี้แล้ว

การลาวงการครั้งนี้ นับเป็นข่าวสะเทือนวงการทีเดียว นับจากที่กอร์ดอน มัวร์ เจ้าของกฏของมัวร์ที่ประกาศถึงแนวโน้มการพัฒนาของวงการเซมิคอนดักเตอร์ไว้ล่วงหน้า ได้ลาวงการไปก่อนหน้านี้แล้ว

แอนดี้ โกรฟ นั้นถือได้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการคอมพิวเตอร์ไว้อย่างมหาศาล แนวคิดด้านเทคนิคที่รวมกับแนวคิดด้านการตลาดที่ลงตัว นำพาอินเทลมาเป็นผู้นำในวงการเซมิคอนดักเตอร์ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

วันโลกจารึกครับ เมื่อมีนักโอเวอร์คล๊อกสามารถดันซีพียู P4 3.2 GHz ขึ้นไปที่ 6.0 GHz ได้สำเร็จ โดยใช้ไนโตรเจนเหลว!!! คราวนี้นักโอเวอร์คล๊อกบ้านเราคงทำตามได้ยากหน่อย เพราะไนโตรเจนเหลวนั้นไม่ได้หาซื้อกันง่ายๆเลย

โดยกลุ่มที่ทำการนี้สำเร็จนั้นเรียกตัวเองว่ากลุ่ม Akiba โดยมีการประกาศข่าวนี้ไว้ที่เว็บบอร์ดXtremeSystems

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

จากที่ Blognone เคยเสนอเรื่อง Intel Nocona ไปแล้ว ตอนนี้แนวโน้มชัดเจนขึ้นมาก เมื่อ HP ได้หยุดขายเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Intel Itanium 2 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม IA64 และเปลี่ยนมาใช้ Intel Itanium Nocona ที่เป็นสถาปัตยกรรม x86-64 (แบบเดียวกับใน Athlon64 และ Opteron) แทน IA64 คงถึงคราวเคราะห์เลิกใช้ไปในที่สุดครับ อย่างไรก็ตามด้วยความเป็นพันธมิตรเหนียวแน่นกับ Intel ทำให้ HP ขายแต่ Nocona ไม่ขาย Opteron ครับ ข่าวจาก X-Bit Labs

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Blognone นำเสนอข่าว Intel โชว์ Dual Core Processor ที่งาน Intel Developer Forum ไปแล้ว แต่ท่าทางมันจะไม่จริงแล้วครับ เมื่อมีนักวิเคราะห์ออกมาบอกว่า มันอาจเป็นแค่ P4 สองตัวแปะติดกันก็ไ้ด้

สาเหตุมาจาก AMD เปิดตัว Dual Core ตัดหน้าไปแล้วน่ะเอง นาย Nathan Brookwood แห่ง Insight 64 บอกว่ามันเป็นไปได้สามทาง อย่างแรกคือของจริง อย่างที่สองคือ P4 สองตัวในแพกเกจเดียวกัน และอย่างสุดท้ายคือ อินเทลสร้างบอร์ดที่ใช้ชิปเชต 915 สำหรับ Dual Processor (คนละเรื่องกับ Dual Core)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ไม่รู้มีใครสังเกตรึเปล่าว่า Pentium 4 ติดอยู่ที่ 3 กิกะเฮิร์ตกว่าๆ มานานแล้ว ใช้แล้วครับ ต่อไป ตัวเลขความเร็วสัญญาณนาฬิกาไม่ใช่ประเด็นอีกแล้ว

หลังจากเอเอ็มดีปล่อย Athlon ที่ทำงานได้เร็วกว่ามา สามสี่ปีให้หลังก็เกิดสงครามที่เรียกว่า สงความสัญญาณนาฬิกา (Clock Race) เอเอ็มดีสู้ไม่ค่อยได้ ก็เอาเลข PR ออกมาสู้ และประกาศว่า ซีพียูดีไม่ดี ไม่ได้ดูที่คล็อกนะ ส่วนอินเทลก็ไม่สนใจ อัดสปีดต่อไป เพราะรู้ดีว่าผู้บริโภคจำนวนมาก ยังยึดติดกับเลขเมกะเฮิร์ตอยู่ ทำให้เป็นที่ถกเถียงกันเสมอมาระหว่างสาวกของทั้งคู่ (ผมเดิมสาวกเอเอ็มดี ตอนนี้สาวกไอบีเอ็มแทนครับ อิๆ)

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

วันนี้เป็นวันแรกของงาน IDF (Intel Developer Forum) อินเทลก็ทำตามที่ตัวเองสัญญาไว้ตั้งแต่อาทิตย์ทีแล้วครับ คือเอา Dual-Core Processor ออกมาโชว์กันเสียที หลังจากถูก AMD แซงไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ที่เอามาโชว์ในงานนี้ก็คือ Montecito มีมีแกนซีพียูถึงสองแกน และมีแคชระดับสามฝังในตัวถึง 24 เมกกะไบต์!!! และมีเทคโนโลยีฝังในตัวเพิ่มเติมอีกสองอย่างคือ Foxton ที่เป็นระบบจัดการพลังงานและ Pellston ที่เป็นตัวแก้ไขข้อมูลในแคชในกรณีที่เกิดความผิดพลาด

สำหรับรายละเอียดของเทคโนโลยีทั้งสองนั้นทางอินเทลยังไม่ได้เปิดเผยแต่อย่างใด

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

วันนี้จะขอแนะนำหนังสือกันสักเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพี่เบิ้มแห่งวงการ IT ที่เราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อันดรูว์ โกรฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Intel บริษัทผู้ผชิตไมโครโพรเซสเซอร์อันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสมอ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะพัดเอาสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามมันด้วย แต่ในโลกของ IT กระแสเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้รุนแรงกว่าโลกในยุคใดๆ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างใรในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เสียหน้าไปไม่น้อยครับ ที่อาทิตย์ที่แล้วโดนเอเอ็มดีชิงธงโชว์ดูอัลคอร์ไปก่อน งานนี้อินเทลเลยประกาศว่ามีดีจะโชว์เหมือนกัน

ข่าวนี้ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไร เพราะเหมือนว่าอินเทลจะมาแถลงคั่นเวลาเท่านั้นเอง เรียกว่ากู้หน้ากันหน่อยว่างั้นเถอะ

แต่ทั้งสองค่ายนั้นยังโชว์กันนิดหน่อยๆเท่านั้น ประมาณว่าเอามารันให้ดู ในตอนนี้ผมยังเห็นเห็นว่ามีสำนักข่าวไหนได้รับของทดสอบเอามาทดสอบความเร็วให้ประจักษ์กับตากันเลย แต่ไม่ต้องรีบร้อนดูหรอกครับ เพราะกว่าจะวางขายอย่างเร็วคงเป็นกลางปีหน้าโน่น ที่สำคัญออกมาใหม่ๆ มันจะแพง ชนิดซื้อไม่ลงแน่นอน

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เพิ่งมีโอกาสได้เล่น intel Xeon ตัวใหม่ คือตัวที่มีรหัสว่า Nocona และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากตัวหนึ่ง ที่จะทำให้เราได้ก้าวเข้าสู่โลก 64 บิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ต้องเท้าความก่อนว่า การประมวลผลแบบ 64 บิตนี้จำเป็นจะต้องคอมไพล์โปรแกรมเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่บนระบบ 32 บิตกันใหม่ทั้งหมด เพราะอ้างแอดเดรสความยาวไม่เท่ากัน ปริมาณโปรแกรม 32 บิตที่มีทุกวันนี้ก็มหาศาลจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการคอมไพล์ใหม่ทั้งหมด

Pages