อินเทลมีทีท่าแสดงให้เห็นชัดเจนว่าต้องการทิ้งซีพียูสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ x86 ออกไปให้หมด ในตลาดบน Itanium ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม IA-64 ถูกลดความสำคัญลงไปมาก ส่วนตลาดพกพาและอุปกรณ์ฝังตัว อินเทลได้ขายกิจการส่วน XScale ให้กับ Marvell Technology Group ในราคา 600 ล้านเหรียญไปเรียบร้อยแล้ว
XScale เป็นซีพียูตระกูล ARM ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในพีดีเอ พ็อกเก็ตพีซี สมาร์ทโฟนรวมไปถึงไอพ็อด หลังการขายกิจการครั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายค่ายจึงตั้งข้อสังเกตว่า อินเทลอาจพัฒนา Core ให้มาจับตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อชดเชยช่องว่างที่หายไป
เห็นมีคนรอจะซื้อ Conroe/Merom ก็เลยเอามาฝาก
อินเทลได้คัดเลือกนักข่าวบางกลุ่มมาทดสอบ Conroe หรือชื่อจริง Core 2 Duo E6700 (2.66GHz) โดยได้รันเบนช์มาร์คเทียบกับ Athlon 64 FX-60 (2.8GHz) โดยที่ฝั่งอินเทลใช้แรม DDR2 ส่วนฝั่ง AMD นั้นไม่ใช้ครับ
ผลทดสอบก็ไม่น่าแปลกใจ Core 2 Duo ชนะ Athlon 64 FX-60 ทุกการทดสอบ ผมกะๆ ด้วยสายตาก็ชนะเฉลี่ยประมาณ 15-20% บวกลบ แต่รู้สึกว่าโลโก้ Core 2 Duo นี่ห่วยกว่า Core Duo อีกแฮะ
ที่มา - Hot Hardware
ปีที่แล้วมาจนถึงปีนี้ AMD กิจการดีเยี่ยม ส่วนแบ่งตลาดพุ่งเกิน 20% ในรอบสี่ปี และสุดท้าย Dell ก็ยอมใช้ AMD ตามกระแสโลก อินเทลต้องทำอะไรซักอย่าง
อะไรซักอย่างนี้ก็คือลดราคาครับ Pentium ตัวเก่าๆ จะเอามาดัมพ์ในราคาลด 60% ส่วนพวก Core Duo จะลดประมาณ 15% และเริ่มมิดไนต์เซลส์กัน 23 กรกฎาคมนี้ ฝั่ง AMD ก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะลดราคาสู้เหมือนกัน ถึงแม้จะลดไม่รุนแรงขนาดอินเทลก็ตาม
อย่าลดมากจนซิลิคอนขาดตลาด เหมือนโอเปอเรเตอร์มือถือแถวนี้นะ
ที่มา - Bloomblerg
เวลามีข่าวซีพียูแต่ละที ตัวที่เป็นข่าวมักจะเป็นซีพียูรุ่นตัวละสี่หมื่นที่เราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยได้จับกันเท่าใหร่ แต่ข่าวนี้คงใกล้ตัวกันมากขึ้น กับการเสนอ Roadmap ครั้งล่าสุดของอินเทลที่มีซีพียูปริศนาโผล่มาในตาราง โดยใช้ชื่อว่า Conroe-L โดยไม่ได้บอกข้อมูลอะไรมากมายนัก นอกจากว่ามันมีเป็นซีพียูคอร์เดี่ยว และจะเริ่มวางตลาดในช่วงไตรมาสที่สองของปีหน้า โดยอาจจะเป็นจุดจบของสถาปัตยกรรม Netburst ที่กำลังถูกดันมาอยู่ในรุ่นราคาถูกลงเรื่อยๆ
เจ้า Yonah หรือ Core Duo ออกมาได้ซักพักและก็มีโน้ตบุ๊คขายเกลื่อนแล้ว แต่เวอร์ชันบนเดสก์ท็อปเพิ่งจะตามมาครับ ปรากฎว่าตี Athlon ซะเกือบทุกการทดสอบ
Core Duo รุ่นสำหรับเดสก์ท็อปที่ทดสอบในข่าวนี้ใช้รุ่น TM2600 คล็อกจริง 2.16GHz แต่ได้โอเวอร์คล็อกไปที่ 2.6GHz ใช้กับบอร์ดที่มีชิปเซต Intel 975X/ICH7R เอาไปปะทะกับ Athlon 64 ตัวท็อปคือ FX-60 ผลที่ได้คือ TM2600 รุ่นคล็อกแล้วเฉือน FX-60 ไปนิดๆ ในเกือบทุกการทดสอบ ส่วนรุ่นที่ไม่ได้คล็อกก็มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ FX-55 เลย
อินเทลกลับมาคราวนี้น่ากลัวมาก Core 2 Duo จะขนาดไหนกันเชียว
ช่วงหลังอินเทลประสบความสำเร็จกับตลาดโน้ตบุ๊กค่อนข้างสูง แม้จะเพลี่ยงพล้ำตลาดเซิร์ฟเวอร์ให้เอเอ็มดีไปเยอะเอาการก็ตามที โดยเฉพาะ Core Duo ที่กินตลาดไปเยอะมากในช่วงหลัง ล่าสุดอินเทลคิดจะใช้ชื่อทีประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดโน้ตบุ๊ก พาเอาตลาดเดสก์ทอปตามไปด้วย ทำให้อินเทลเลือกใช้ชื่อ Core 2 Duo สำหรับชิป Conroe ที่กำลังจะออกมา
เสียงตอบรับในช่วงแรกนี้เท่าที่ดูๆ ออกจะแง่ลบซะเยอะเหมือนกัน เพราะสร้างความสับสนให้ผู้ใช้พอสมควร โดยเฉพาะเลขรุ่นที่เป็นตัวเลข 4xxx ไปจนถึง 7xxx ทำให้ดูชิป Core Duo ที่มีเลขรุ่น 2xxx ดูด้อยลงไปถนัดใจแม้คุณจะใช้รุ่นใหญ่สุด
Paul Otellini ซีอีโอของ Intel ได้ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่าที่ส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือต่ำกว่า 80% นั้นเกิดจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง สู้ทางคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุชื่อแต่คุณก็รู้ว่าใคร)
AMD ใช้ Opteron เป็นเรือธง และผูกมิตรในตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างดี รวมถึงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่อยากให้เกิดการผูกขาดมากเกินไป จึงพยายามใช้ AMD ด้วยในช่วงหลังๆ นี้
กลยุทธใหม่ของ Intel คือขายแพลตฟอร์ม (เช่น Centrino, Viiv หรือ vPro) แทนซีพียูเดี่ยวๆ และช่วงกลางปีก็เตรียมยิงอาวุธชุดใหญ่อีกรอบ คือ Woodcrest (Server - มิถุนา), Conroe (Desktop - กรกฎา) และ Merom (Mobile - สิงหา)
ถัดจาก Centrino (Mobile) และ Viiv (Multimedia) อินเทลได้เปิดตัวแพลทฟอร์มใหม่สำหรับธุรกิจชื่อว่า vPro (ดูโลโก้ได้)
vPro จะคล้ายๆ กับ Centrino ตรงที่ใช้ส่วนประกอบของอินเทลเกือบทั้งหมด ที่มาแน่คือซีพียูตระกูล Core Duo รวมถึงชิปเซ็ตและระบบเน็ตเวิร์คต่างๆ ส่วนของใหม่มี 2 อย่างคือ Intel AMT (Active Management Technology) เอาไว้ตรวจสอบและซ่อมแซมระบบได้เมื่อมีปัญหา แม้แต่เมื่อยามปิดเครื่องก็ยังเข้าไปจัดการได้ อีกอย่างคือ Intel VT (Virtualization Technology) ไว้รันเซอร์วิสต่างๆ ที่แยกขาดจากระบบปฏิบัติการ
ต้องแยกให้ดีๆ ว่ามันจะมี Intel Core ที่เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับชื่อซีพียู (เช่น Core Duo และ Core Solo) กับ Core ที่เป็นชื่อของ microarchitecture รุ่นใหม่ของอินเทล อันนี้เราสนใจตัวหลัง
Hannibal นักเขียนเรื่องซีพียูคนดังของ Ars Technica ได้เขียนบทความวิเคราะห์อย่างละเอียด (มาก) ของเจ้า Core microarchitecture นี้กับตัวอื่นๆ ของอินเทล เช่น P6 หรือ NetBurst ย้ำว่ามันละเอียดจริงๆ ชนิดต้องพลิกตำรา Computer Architecture อ่านตามเลย
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อรายงานว่าบริษัท Asustek Computer ได้ชนะประมูลการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ iBook ในรุ่นต่อไปแล้ว โดยเครื่องรุ่นดังกล่าวจะมีขนาดจอภาพที่ 13.3 นิ้วและใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล โดยคาดว่าจะวางจำหน่ายในช่วงเดือนมิถุายนนี้
แหล่งข่าวระบุว่าจะมีการผลิตในช่วงเริ่มต้นเตรียมการไว้ถึง 1.2 ล้านเครื่อง ทาง Asustek จะเริ่มส่งมอบเครื่องให้ทางแอปเปิลในเดือนหน้าเพื่อเตรียมจำหน่าย โดยมีการสั่งซื้อจอภาพจากสามบริษัทคือ AU Optronics Corp, Chi Mei Optoelectronics Corp, และ LG Philips
ถ้าออกมาเครื่องละสามหมื่นนี่ คนที่เพิ่งซื้อ G4 จากงานคอมไปจะเป็นไงหว่า?
ผมคิดว่าคนอ่าน Blognone น่าจะรู้กันหมดแล้วว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมโครงการ One Laptop Per Child ที่ริเริ่มโดย MIT ดังนั้นคงไม่เขียนถึงเยอะ เนื่องจากโครงการนี้เป็นที่กล่าวขวัญมาก แต่ใช้ซีพียู AMD และลินุกซ์ ทำให้ได้รับเสียงวิจารณ์จากอินเทลและไมโครซอฟท์อย่างมาก
ไมโครซอฟท์บอกว่ามือถือเหมาะกว่า และเปิดตัว Ultramobile PC เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (ที่แพงไปหน่อย)
ส่วนอินเทลเคยบอกว่า OLPC จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ และวันนี้ได้เปิดตัวคู่แข่งโดยตรงที่ชื่อ Community PC
อินเทลได้เปิดตัวโพรเซสเซอร์ Pentium 965 Extreme Edition ซึ่งจะมีความเร็วสูงถึง 3.73 GHz ซึ่งจะเป็นโพรเซสเซอร์ที่มีความเร็วที่สูงที่สุดในตระกูล Pentium (ผลการทดสอบสามารถดูได้ที่ Tom's Hardware) โพรเซสเซอร์ตัวนี้จะใช้การผลิตที่ 65 นาโนเมตร และจะยังใช้ Core Presler ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core และในแต่ละ Core นั้นจะมีระบบ Hyperthreading ซึ่งจะทำให้แต่ละ Core ทำงานได้ 2 งานพร้อมกัน จึงทำโพรเซสเซอร์ตัวนี้ทำงานได้ถึง 4 งานพร้อมๆกัน (
คิดหัวข้อข่าวนี้ไม่ออก เอาเป็นว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่องาน Intel Developer Forum เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อนาย John Rattner CTO ของอินเทลขึ้นพูดในงาน มีการนำเสนอถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน
การนำเสนอนี้ผ่านไปโดยไม่มีอะไร จนกระทั่งนาย Nebojsa Novakovic ผู้ไม่ได้เข้าร่วมงาน มาอ่านสไลด์ที่ดาวน์โหลดมา แล้วพบว่าภาพเมนบอร์ดในสไลด์นั้นใช้ชิปเอเอ็มดี!!!!
หลังข่าวนี้ออกมาไม่กี่ชั่วโมง อินเทลก็ถอนสไลด์นี้ออกจากเว็บไปเรียบร้อยแล้ว แต่หน้าเจ้าปัญหานี้ยังหาดูได้จากที่มาของข่าวนี้
ไม่รู้จะบอกความนัยอะไรรึเปล่า?
ชื่อเรียกมันสับสน ทำความเข้าใจกันดีๆ นะครับ
สถาปัตยกรรมของซีพียู ฝรั่งใช้คำว่า architecture ตัวอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ x86, x86-64, PowerPC, SPARC เนี่ยเป็นคนละสถาปัตยกรรมกัน
แล้วก็ยังมีสถาปัตยกรรมย่อย ผมไม่รู้ว่ามีคำแปลมั้ย แต่ภาษาอังกฤษคือ microarchitecture อย่างในสาย x86 เอง ก็มีสาย P6 (ตั้งแต่สมัย Pentium Pro มาถึง PIII) และสายของ P4 เป็นต้น ความหมายก็คือทำได้งานแบบ x86 เหมือนกัน แต่การเรียงระบบภายในคนละแบบ
Itanium เงียบไปมากในช่วงหลัง เนื่องจากโดนซีพียูสาย x86-64 ของเอเอ็มดีและอินเทลเองตีอย่างหนัก ไหนๆ ก็ลงทุนไปตั้งเยอะแล้ว จะให้ทิ้งไปดื้อๆ ก็ไม่ใช่เรื่อง อินเทลและพันธมิตร Itanium (ชื่อเต็มๆ คือ Itanium Solutions Alliance มีสมาชิกอย่างเช่น NEC, SGI) จึงได้ลงขันกันช่วยพัฒนาโปรแกรมสำคัญๆ ให้ทำงานกับ Itanium ได้ดีขึ้น โดยงานนี้โปรแกรมสำคัญที่ว่าคือ GCC ซึ่งทางพันธมิตรได้ประกาศในงาน IDF ว่าจะสนับสนุนเงินจำนวน 10 ล้านเหรียญในช่วง 5 ปีถัดจากนี้จนถึงปี 2010
ที่มา - ZDNet UK
ใครที่ซื้ออินเทลแมคโดยแอบหวังว่าจะเอาวินโดวส์มาใช้ในรุ่นวิสต้า วันนี้ไมโครซอฟท์มีการเปิดเผยออกมาแล้วว่าในวิสต้าจะไม่มีการรองรับ EFI ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถบูตวินโดว์บนอินเทลแมคได้จนวันนี้
ไมโครซอฟท์เคยระุบุว่าวินโดวส์ วิสต้าจะรองรับ EFI แต่การประกาศวันนี้เป็นการระบุว่าวินโดวส์วิสต้าจะไม่รองรับ EFI จนกว่า Longhorn Server จะวางตลาด ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะรองรับในวิสต้าทุกตัว หรือจะรองรับเพียงเฉพาะ Longhorn Server เท่านั้น
อย่างนี้คงต้องเป็นลูกค้าเอเซอร์ไปอีกนานแฮะ...
ที่งาน Intel Developer Forum 2006 อินเทลได้โชว์ผลเบนช์มาร์คของ Conroe โค้ดเนมของซีพียูในตระกูล Core ตัวถัดไปสำหรับเดสก์ท็อป สเปกของสองเครื่องคือ Conroe 2.67 GHz (FSB 1067MHz) บอร์ด 975X กับ Athlon FX-60 คล็อกไปที่ 2.8 GHz บนบอร์ด DFI RD480 โดยต่างกันที่แรม ฝั่งเครื่องเอเอ็มดีใช้ DDR400 ส่วนอินเทลใช้ DDR2-667 ขนาด 1 GB เท่ากัน
ผลที่ได้ก็ไม่มีอะไรน่าแปลกใจ Conroe ชนะขาดครับ (อย่าลืมว่านี่คืองาน IDF และเครื่องเหล่านี้ อินเทลเป็นคนเซ็ต) แนะนำว่าให้รอใกล้ๆ ออกแล้วดูผลเบนช์จากค่ายเป็นกลางอีกที Conroe มีกำหนดออกกลางปี
จากข่าวเก่า Skype จับมือกับอินเทล ออกโปรแกรมให้คุยพร้อมกัน 10 คนได้บนชิปอินเทลเท่านั้น ถ้าเป็นเอเอ็มดีจะได้แค่ห้า
ตอนนี้ Skype เวอร์ชันนั้นโดนแกะให้ใช้กับซีพียูอะไรก็ได้แล้ว ผลงานการแครกเป็นของ Maxxus แครกเกอร์คนที่แกะ Mac OS X มาลงพีซีได้ (ข่าวเก่า)
เด็กๆ อย่าเลียนแบบนะครับ มีเวลาว่างไปรับจ้างทำเว็บ/เขียนโปรแกรม สร้างสรรค์กว่า
ที่มา - Slashdot
อยู่ดีๆ ค่าย VoIP ยักษ์ใหญ่อย่าง Skype ก็ไปทำข้อตกลงกับอินเทลที่จะเป็นพันธมิตรกัน ด้วยการเปิดให้ซอฟต์แวร์ของตนรองรับการประชุมเสียงบนเครื่องที่ใช้ชิปอินเทลพร้อมกันได้สิบคน แต่เมื่อใช้ชิปของผู้ผลิตรายอื่นๆ แล้วความสามารถนี้จะเหลือเพียงครึ่งเดียว
อินเทลและ Skype ทำข้อตกลงนี้เพื่อโปรโมทแพลตฟอร์ม VIIV ของอินเทลที่สร้างขึ้ินเพื่อมัลติมีเดีย แต่อย่างไรก็ตามชิปของอินเทลไม่ได้มีข้อได้เปรียบอย่างแท้จริงในการใช้งาน VoIP แต่อย่างใด โดยซอฟต์แวร์ของ Skype จะใช้การตรวจสอบค่าหมายเลขประจำตัวของซีพียูเพื่อยืนยันว่าเป็นชิปของอินเทล
หลังจากโดนเอเอ็มดีทิ้งค่อนข้างห่างในตลาดชิปหลายคอร์ ซึ่งเป็นสมรภูมิใหม่ที่จะมาฟาดฟันกันแทนสัญญาณนาฬิกา อินเทลก็เตรียมเปิดตัวชิป quad-core (4 คอร์) สองตัวภายในปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปีหน้า คือ Clovertown สำหรับตลาดล่าง และ Tigerton สำหรับตลาดบน เมื่อเอามาต่อกันแบบมัลติโปรเซสเซอร์ 2 ตัว ก็จะได้การทำงานเสมือนซีพียู 8 ตัวเชียว
หลังจากเปลี่ยนโลโก้ และคำขวัญบริษัทแล้ว อินเทลก็เดินหน้าสร้างแบรนด์เต็มตัว ล่าสุดก็จ้าง Mariah Carey มาเป็นพรีเซนเตอร์ โดยโฆษณาชุดแรกจะเริ่มออกอากาศในช่วงงานแกรมมี่อวอร์ดในปีนี้
การรีแบรนด์ฺครั้งนี้ของอินเทลมีการเตรียมงบโฆษณากันขนาดมหาศาลถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับสมัยเซนทริโนที่ใช้เงินไป 300 ล้านดอลลาร์ (เท่านั้น...)
ต่างประเทศเป็นไงไม่รู้แต่ผมว่าโฆษณาในไทยนี่ ของ DTAC ดีกว่าของอินเทลเยอะ
ได้เปรียบเรื่องความขาว.......
ที่มา - TG Daily
นักข่าวของรอยเตอร์ไปสัมภาษณ์ไมเคิล เดลล์ที่งาน World Economic Forum คำถามคือ Dell จะขายเครื่องที่ใช้ซีพียูของเอเอ็มดีหรือไม่ และคำตอบคือ "Sure"
และคำขยายความต่อมาคือ "We do not have an exclusive relationship with Intel." หมายความว่า Dell ไม่ได้มีข้อตกลงกับอินเทลว่าต้องขายเฉพาะชิปอินเทลเท่านั้น
ซีพียูของเอเอ็มดีมาแรงมากในตลาดเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักอย่างหนึ่งของ Dell การขายแต่อินเทลอย่างเดียวทำให้ Dell เสียเปรียบคู่แข่ง (Sun, HP, IBM) ที่มีชิปเอเอ็มดีขายมาตั้งนานแล้ว
บั๊กซ่อนเร้นที่มีการพบมานานแล้วของ ACPI ไดร์วเวอร์ในวินโดว์ทำให้วินโดวในทุกวันนี้ เมื่อใช้กับ Intel Core Duo พร้อมๆ กับอุปกรณ์ใดๆ ที่ใช้ USB 2.0 จะทำให้เกิดการกินพลังงานเกินปรกติจนทำให้เวลาการใช้งานลดลงอย่างมาก ที่สำคัญคือบั๊กนี้มีการพบมากว่าครึ่งปีแล้ว แต่ยังไม่มีการแก้ไขใดๆ และยืนยันแล้วว่าจะพบอาการของบั๊กนี้ต่อเมื่อใช้กับ Intel Core Duo เท่านั้น
รอ iBook Duo.....
ที่มา - TGDaily
อินเทลเปิดตัวชิปทดสอบที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตแบบ 45 นาโนเมตร โดยเป็นชิป SRAM ที่มีจำนวนทรานซิสเตอร์ใกล้เคียงกับชิปทดสอบในปี 2000 ที่ผลิตแบบ 130 นาโนเมตร ขนาดของชิปใหม่คือ 0.346 ตารางไมครอน เมื่อเทียบกับของเก่า 2.45 ตารางไมครอน
ชิป 45 นาโนเมตรจะเริ่มกระบวนการผลิตจริงได้ครึ่งหลังของปี 2007 เทคโนโลยีด้านการผลิตของอินเทลก้าวล้ำกว่าเอเอ็มดีมาก อินเทลเริ่มขาย 65 นาโนเมตร และไปถึงขั้นเปิดตัว 45 นาโนเมตร ส่วนชิปขนาด 65 นาโนเมตรของเอเอ็มดีจะเริ่มวางจำหน่ายในครึ่งหลังของปี 2006 นี้
อินเทลคาดว่าจะไปถึง 32 นาโนเมตรในปี 2009 ส่วนหลังจากนั้นน่าจะเป็น 22 นาโนเมตรในปี 2011
หลังจาก Blognone รายงานว่าอินเทลแมคจะไม่สามารถรันวินโดว์ เนื่องจากติดเทคโนโลยีอย่าง EFI ของอินเทล
แต่งานนี้อาจจะไม่เป็นจริงเมื่ออินเทลเองมีการให้โหลด Compatibility Support Module (CSM) ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ระบบปฏิบัติการที่ต้องการใ้ช้ไบออสสามารถทำงานบนเครื่อง EFI ได้ด้วย ซึ่งก็น่าจะรวมถึงวินโดว์เอ็กซ์พีด้วย
งานนี้คำถามเลยกลายเป็นเรื่องของเมื่อใหร่ที่เหล่าแฮกเกอร์จะไปซื้ออินเทลแมคมาลงวินโดว์โชว์กัน อดใจรอได้อีกไม่นาน
กว่าจะเข้าบ้านเราอาจจะมี Dual-Boot ให้เสร็จเลย...