อินเทล (Intel) ผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของโลกกำลังพัฒนาอุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถดักจับพลังงานที่อยู่รอบตัวมัน
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ อีโค-เทค (eco-tech products) ของอินเทล ประกอบด้วย อุปกรณ์เซนเซอร์ขนาดชิพที่สามารถตรวจจับคุณภาพอากาศได้ขณะที่นำไปติดตั้งในกล่องเล็กๆบนตัวกวาดถนน และเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งสามารถทำการประจุไฟฟ้าให้กับตัวเองใหม่ได้ (rechargeable) ด้วยพลังงานที่เก็บได้จากสิ่งแวดล้อม
ทั้งๆที่คดีของ Psystar ยังไม่จบก็มีเ้จ้าใหม่ขยับเข้ามาถล่มค่ายผลไม้ไม่เต็มลูกด้วย OpeniMac จากประเทศอาเจนติน่า ทำนองเดียวกับ Psystar ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ทั่วไปตามท้องตลาดและใช้ OS X เป็นระบบปฏิบัติการ ทำให้เครื่องทำออกมาขายแรงกว่าของของ Apple เปิดตัวอย่างไม่กลัวเกรง เริ่มต้นที่ 2.53GHz ราคา $990 (หรือ $1,330 ถ้าซื้อพร้อมจอ LG 19 นิ้ว), ชุดมาตรฐานติดตั้งหน่วยความจำหลัก 2GB , ฮาร์ดดิสก์ 320GB , ATI Radeon HD PRO 256MB. แต่ถ้านั่นยังไม่พอก็ยังมี OpeniMacPRO ที่พร้อมจะรองรับความต้องการของคุณด้วย 3.0GHz พร้อมจอ 20 นิ้ว กับ หน่วยความจำหลักอีก 2GB
คราวนี้ไม่ทราบว่า Apple จะสงสัยอีกไหมว่าใครอยู่เบื้องหลัง
แล้วจะมีบริษัทไหนในไทยร่วมวงแทะแอปเปิ้ลไหมครับ
อินเทล (Intel) เปิดตัวนิตยสารนำเสนอข้อมูลด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในชื่อ Intel Visual Adrenaline โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์
เนื้อหาจะครอบคุลมเรื่องการใช้ multi-threading และ code optimization ในการเรนเดอร์ภาพกราฟิกส์ในเกมและโปรแกรม และข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการพัฒนา
นิตยสาร Intel Visual Adrenaline เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีในรูปแบบ PDF และออกเผยแพร่เป็นรายไตรมาส (3 เดือน)
ที่มา - Intel Software Dispatch ผ่าน Develop
ถึงแม้ว่าอินเทลจะเป็นผู้ผลักดันตลาด netbook คนสำคัญ และยอดขายอันร้อนแรงในขณะนี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความสำเร็จ แต่ตอนนี้มันอาจไม่เป็นอย่างนั้นอีกต่อไปแล้ว
Stu Pann รองประธานฝ่ายขายและการตลาดของอินเทล ยกประเด็นนี้ในงานประชุมด้าน supply chain ว่าอินเทลกำลังปรับ "มุมมอง" ของบริษัทต่อตลาด netbook โดยมันจะต่างไปจากเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา
ซีพียูที่ร้อนแรงที่สุดในปีนี้คงต้องยกให้ Intel Atom ที่เปิดตลาด netbook อย่างรุนแรง แต่ถ้าคนอยู่ในวงการวิจัยหรือกระทั่งคนที่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากๆ แล้วคงแอบหวังที่จะเอา Atom ไปใช้ในเซิร์ฟเวอร์กันอยู่ เพราะการปล่อยความร้อนที่ตำเอาเสียเหลือเกิน และเจ้าแรกที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์รุ่นต่อไปด้วยแนวคิดนี้จริงๆ ก็คือ SGI ที่เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ขนาด 3U ที่อัดซีพียู Atom ไว้ถึง 180 ตัว
ชื่อรหัสของโครงการนี้คือ Project Molecule (เอาอะตอมมาเรียงกันต้องเป็นโมเลกุลสิ) โดยทำเมนบอร์ดแบบพิเศษที่มีขนาดเล็กมาก แล้วใส่กล่องเป็นบล็อกเรียงกันไป
วันนี้ตอนบ่าย (18 พ.ย.) ทางอินเทลประเทศไทยได้จัดงานเปิดตัว Core i7 ซึ่งเป็นซีพียูรุ่นใหม่ของอินเทล (ถัดจากตระกูล Core 2 จะมองว่ามันเป็น Core 3 ก็พอได้ครับ) ที่เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ผมได้รับเชิญไปงานนี้ด้วยในฐานะสื่อมวลชน ตัวแทน Blognone เลยเก็บบรรยากาศมาฝากกันนิดหน่อยครับ
รายละเอียดของ Core i7 หรือตามชื่อสถาปัตยกรรมย่อยคือ Nehalem นั้นผมเชื่อว่าผู้อ่าน Blognone คงรู้กันอยู่พอสมควรแล้ว และบางคนคงเคยไปเห็นของจริงในงาน Intel Blogger Day 2008 มาบ้างแล้วด้วย ดังนั้นขอสรุปรายละเอียดแบบคร่าวๆ เลยละกัน
งานนี้เปิดตัวซีพียูชุด Core i7 ทั้งหมดสามรุ่น
อินเทลเปิดตัวชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ภายใต้ผลิตภัณฑ์ Intel Compiler Professional Editions ซึ่งรวมเอาคอมไพเลอร์ชุดใหม่อย่าง C++ Compiler 11.0 และ Fortran Compiler 11.0 พร้อมด้วยไลบรารีสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการประมวลผลสมรรถนะสูง ได้แก่ Math Kernel Library 10.1, Threading Building Blocks 2.1 และ Integrated Performance Primitives 6.0 โดยคอมไพล์เลอร์และไลบรารีชุดนี้สนับสนุนสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ทั้งแบบ 32 และ 64 บิต และระบบปฏิบัติการ Linux, Windows, และ Mac OS
แม้ว่าชาว Blognone จะได้ไปเห็น Core i7 ตัวจริงกันมาแล้ว แต่เรื่องน่าคาญใจสำหรับหลายๆ คนคงเป็นเรื่องที่ไม่มี Benchmark ให้ดูเลยแม้แต่ตัวเดียว ทำให้ไม่รู้ว่าที่ว่าแรงๆ นี่มันแรงกว่าเดิมแค่ไหน
แต่ผลจากนิตยสาร PC World ประจำเดือนพฤศจิกายนก็หลุดออกมาแล้ว และผลที่ได้ก็นับว่าน่าประทับใจพอสมควร โดย Core i7 ทุกตัวมีประสิทธิภาพเหนือกว่า หรืออย่างน้อยๆ ก็เท่ากันกับ Core 2 Extreme QX9770 ซึ่งเป็นรุ่นสูงสุดในตอนนี้
อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือความเร็วของหน่วยความจำที่สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้มากถึง 12 กิกะไบต์ต่อวินาที และมี latency เพียง 34.3 นาโนวินาที เป็นผลมาจากการรวมชุดควบคุมหน่วยความจำเข้าไปไว้ในตัวชิปเลย
ตอนนี้น่าจะเป็นตอนจบของซีรี่ย์ IDF 2008 Taipei ล่ะครับ ส่วนสุดท้ายนี้เป็นช่วงที่ผมลงไปเดินในส่วนนิทรรศการที่มีพันธมิตรจำนวนมากมาร่วมออกบูต ที่เด่นๆ คงมีเรื่องของ USB 3.0, Wireless USB, และ MID (อีกแล้ว)
ความจริงแล้วผมจะเขียนข่าวนี้ในรายงานสรุปตอนที่สอง แต่พอมาเช็คข่าววันนี้แล้วปรากฏว่าคนพูดกันเรื่องนี้เยอะมาก ในฐานะที่ไปนั่งฟังมากับตัวเลยเอามาเล่าให้ฟังกันแบบอินไซด์กว่าเว็บอื่น
เรื่องที่ต้องยอมรับในตอนนี้คือ MID ที่อินเทลพยายามผลักดันแบบสุดตัวนั้นกำลังจะไปทับตลาดกับ Smartphone ทั้ง iPhone และ Android อย่างช่วยไม่ได้ คำถามว่าอะไรเป็นจุดเด่นของ MID เหนือกว่าโทรศัพท์เหล่านั้น คำตอบที่ได้คือ "full Internet experience"
พอดีคุณ pawinpawin ขอมาเมื่อตอนเย็นว่ามีเปิดตัว MID ใหม่ๆ แต่พอไม่มีใครเอามาให้ดูผมก็ไม่รู้จะไปหามาเล่นยังไง ปรากฏว่าตอนเย็นมีงานผู้บริหารของอินเทลเลี้ยงข้าวนักข่าว ผมนั่งกินๆ กับบล็อกเกอร์เกาหลี กินไปกินมาผู้บริหารอินเทลก็เอา MID มายื่นให้สองตัว...
ข่าวร้ายคืองานนี้ต้องแบ่งๆ กันเล่น ผมเลยถ่ายวีดีโอมาให้ดูได้นิดเดียว
ในวัน Intel Blogger Day 2008 หลายๆ คนคงรู้กันแล้วนะครับว่าผมกำลังเดินทางมาไต้หวันเพื่อเข้าร่วมงาน Intel Developer Forum ในปีนี้ ปรกติแล้วงานนี้จะเป็นงานเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ สำคัญๆ ของทางอินเทลเช่นที่ผ่านมาก็คือ Nahalem และ Larabee ที่เปิดตัวในงานเดียวกันแต่เป็นรอบของทางสหรัฐฯ
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาถ้าใครได้ไปงาน Intel Blogger Day จะมีตัวเลขหนึ่งที่ได้รู้กันคือกูเกิลนั้นเป็นผู้ใช้ซีพียูในเซิร์ฟเวอร์ของตัวเองอันดับประมาณ 4 ถึง 5 ของโลกเทียบกับผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์เช่น HP, IBM, Dell ฯลฯ (ตัวเลขที่แน่นอนเป็นความลับ) คำถามเล็กๆ คือด้วยปริมาณขนาดนี้ กูเกิลได้สิทธิอะไรจากอินเทลเป็นพิเศษหรือไม่
คำตอบอย่างไม่เป็นทางการในวันนี้คือชิปที่ทางอินเทลส่งมอบให้กับกูเกิลนั้น สามารถทนความร้อนได้สูงกว่าปรกติประมาณ 5 องศาเซสเซียสโดยไม่มีปัญหาอะไร และด้วยฟีเจอร์นี้กูเกิลสามารถประหยัดค่าไฟเพื่อการทำความเย็นไปได้ปีละหลายล้านดอลลาร์ ทำให้ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลนั้นทำงานอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียสแทนที่จะเป็น 22 องศาเช่นศูนย์ข้อมูลทั่วไป
AppleInsider ได้ออกมายืนยันว่าแอปเปิลได้ทำการเปลี่ยนมาใช้ชิปเซตของ Nvidia อย่างแน่นอนแล้ว
โดยแอปเปิลได้เลือกใช้แพลตฟอร์ม MCP79 จาก Nvidia ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับ Centrino 2 (Montevina) จากอินเทลมาก โดยทั้งคู่สนับสนุน Front Side Bus ความเร็ว 1066MHz, หน่วยความจำ DDR3 และ PCI Express 2.0
ข้อดีที่เลือกใช้ Nvidia แทนในครั้งนี้คือ:
แม้ว่าซีพียู Atom จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงหลัง แต่ด้วยการเปิดตัวเมนบอร์ดเฉพาะ Mini-ITX ที่ขนาดค่อนข้างใหญ่สำหรับโลกคอมพิวเตอร์ฝังตัว (Embedded) และการกินไฟ 27 วัตต์อาจจะไม่น้อยพอ
ช่องว่างนี้เป็นตลาดให้ VIA ยังคงครองในส่วนของ Nano-ITX ได้ตลอดมา แต่ล่าสุดบริษัท PortWell ก็เปิดตัวบอร์ด NANO-8044 ที่มีขนาดเล็กและกินไฟน้อยกว่า
ตัวซีพียูนั้นเป็นตัวเดียวกับที่เราได้เห็นกันใน Netbook และเมนบอร์ด Mini-ITX ทั่วไป แต่ NANO-8044 นั้นใช้แพลตฟอร์ม Menlow (Atom + ชิปเซ็ต Poulsbo) ที่เน้นขนาดและการประหยัดไฟเป็นหลัก ส่วนชิปเซ็ตที่เราเห็นๆ กันทุกวันนี้มักเป็น Diamondville ที่มีขนาดใหญ่กว่า และออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็นหลักก่อนการประหยัดพลังงาน
หลังจากการประกาศแยกบริษัทเอเอ็มดีออกเป็นสองบริษัทแบ่งหน้าที่กันระหว่างการออกแบบและการผลิตได้ไม่กี่ชั่วโมง ทางอินเทลก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่าการแยกบริษัทครั้งนี้อาจจะเป็นการละเมิดข้อตกลงการใช้งานสิทธิบัตรที่อินเทลขายสิทธิให้กับเอเอ็มดีไว้ก่อนหน้านี้
เอเอ็มดีจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิในการใช้งานชุดคำสั่ง x86 ไว้นานนับสิบปีแล้ว
ส่วนทางเอเอ็มดีก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงการสวนกลับทันทีเช่นกันว่าบริษัทเชื่อมั่นว่าการแยกบริษัทครั้งนี้ไม่มีการละเมิดสัญญากับทางอินเทลแน่นอน โดยให้คำมั่นว่าเอเอ็มดีเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของทางอินเทลมาตลอด และหวังว่าทางอินเทลจะเคารพในเอเอ็มดีในแบบเดียวกัน
เมื่อหลายปีก่อนนั้น คอมพิวเตอร์มีความเร็วเริ่มที่ 1 เมกะเฮิร์ต (เครื่อง Apple II+) ต่อมาไอบีเอ็มสร้าง PC XT เริ่มที่ 4.77 เมกะเฮิร์ต ในยุคถัดมา PC AT ก็เร็วขึ้นอีกเป็น 6 เมกะเฮิร์ต ขณะนี้ เราใช้เครื่องที่ซีพียูเร็วราว 2-3 กิกะเฮิร์ตกันอยู่ ทุกครั้งที่คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นผู้ใช้ก็จะได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่รวดเร็วอยู่พักหนึ่งก่อนที่บริษัทจะออกโปรแกรมใหม่ๆ ที่เพิ่มความสามารถ แต่กินแรงเครื่องจนช้าเท่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่มีใครห่วงมากนักเพราะสักพัก ซีพียูใหม่ๆก็เพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาอีก ทำให้เครื่องเร็วขึ้นเอง ผู้ใช้แค่เก็บเงินไว้เปลี่ยนเครื่องใหม่ๆเป็นระยะก็พอ ในหลายปีที่ผ่านมา วิธีการเพิ่มสัญญาณนาฬิกาแบบเดิมเริ่มไม่ได้ผล ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ความร้อนที่เพิ่มขึ้น ได้กลายเป็นขีดจำกัดที่ยังไม่สามารถ
โลกอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความเชื่อใจกันนับแต่วันแรก เราคงจำกันได้กับวันที่เราเคย finger ว่าใครออนไลน์บนเครื่องไหนกันบ้าง เพราะยุคแรกของอินเทอร์เน็ตนั้นมันเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยเป็นหลัก
ช่วงหลายสัปดาห์มานี้ทางอินเทลได้ติดต่อผมว่ากำลังจัดงาน Intel Blogger Day 2008 เพื่อเป็นโอกาสที่จะพบปะกับบล็อกเกอร์ทั้งหลายเช่นใน Blognone (ใครไม่มีบล็อกมั่ง?) ตอนนี้งานก็เป็นรูปร่างพอควรแล้วครับ
- จัดที่ไหน? ร้านอาหารพาชิโน่ สยามสแควร์ (ระหว่างสยามสแควร์ซอย 4 และ ซอย 5 ด้านหลังโรงหนังสยาม)
- วันที่ 11 ตุลาคม 2551 เวลา 13.30-16.00
- ลงทะเบียน? หลังจากนอนคิดอยู่หลายตลบ เอาเป็นว่าใครจะไปมาลงชื่อไว้ในข่าวนี้ล่ะแล้วกันครับ ผมจะมาแจ้งยอดไปเรื่อยๆ
- จำนวนจำกัด? มีที่นั่งอยู่ 50 ที่นั่ง ก็น่าจะพอดีๆ นะ เอาว่ารีบลงทะเบียนแล้วกัน
ไปทำไม?
สองยักษ์ใหญ่ Oracle และ Intel ประกาศร่วมมือกันลุยตลาดการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computinig) ทั้งนี้ Intel ส่งผลิตภัณฑ์ Intel Paralell Studio สำหรับการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการประมวลผลแบบขนานและโปรเซสเซอร์ตระกูล Intel เพื่อการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล ส่วนทาง Oracle ชูผลิตภัณฑ์ Oracle Database 11g และโซลูชัน Oracle Fusion Middleware กับ Enterprise Manager ร่วมลุยตลาดพร้อมกับ Intel
ข่าวล่าสุด Oracle ยังได้ร่วมมือกับ Amazon ผู้นำตลาด Cloud Computing รายใหญ่ เพื่อเปิดทางให้ลูกค้าสามารถติดตั้งผลิตภัณฑ์ของ Oracle บนบริการ Amazon EC2 และส่งผลิตภัณฑ์สำหรับสำรองข้อมูลบน Amazon S3
อินเทลออก Atom 330 ซึ่งเป็นดูอัลคอร์ + HyperThread มาแล้ว
Atom 330 จะต่อยอดมาจาก Atom 230 ตัวเดิมซึ่งเป็นคอร์เดียวแต่มี HT สำหรับประสิทธิภาพนั้นยังไม่มีเบนช์มาร์คออกมาครับ Atom 330 เป็นซีพียูรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับ nettop (หรือจะนำไปใช้กับ desktop ก็ได้) ซึ่งคาดว่าอินเทลจะออก Atom 370 รุ่นสำหรับ netbook ตามมาในไม่ช้า ดังนั้นตลาด netbook จะยังใช้ Atom 270 ตัวปัจจุบันไปจนถึงปลายปี
ระหว่างที่ 370 ยังไม่ออก ก็ต้องจับตาดูว่าคู่แข่งอย่าง VIA และ AMD จะออกซีพียูของตัวเองมาชิงตลาดได้ทันหรือไม่
ส่วนเมนบอร์ดของ Atom 330 จะเป็นรุ่นใหม่คือ D945GCLF2 (เวลาไปซื้อจะเรียกยังไงถูกเนี่ย) เพิ่มฟีเจอร์มานิดหน่อย เช่น สนับสนุน DDR2-667 และ Gigabit Ethernet เป็นต้น
เรื่องราวมันเกิดเพราะเมื่อสิบสามวันที่แล้วทางอินเทลได้เปิดตัว Intel SSD และด้วยความอยากเล่นเอง ผมเลยเมลไปถามทางอินเทลว่าพอจะมีของทดสอบให้เล่นไหม
คำตอบที่ได้คือของมาสัปดาห์นี้... และตอนนี้มันก็มาอยู่ในมือผมแล้วครับ
คำถามประจำวันนี้เลยเป็นว่า สมาชิก Blognone ทุกท่านอยากรู้อะไรเกี่ยวกับมันบ้างครับ ผมจะพยายามลองทุกอย่างเท่าที่จะลองได้แล้วมารายงานทุกท่านกันเรื่อยๆ ในข่าวนี้
ว่าแล้วก็เริ่มเลยครับ
อินเทลประกาศเปิดตัว Xeon ในตระกูล 74xx อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวานนี้ ด้วยจำนวนคอร์บนชิปหกคอร์ทำให้ซีพียูรุ่นนี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า ตระกูล 73xx อยู่ประมาณร้อยละ 50 (เพราะของเดิมมีสี่คอร์)
ที่น่าสนใจคือการใช้พลังงานของ Xeon 7400 นี้จะต่ำกว่าตระกูล 7300 อยู่ร้อยละ 10 และยังคงทำงานร่วมกับเมนบอร์ดเดิมได้ ส่วนแคชนั้นค่อนข้างใหญ่เหมือนเช่นซีพียูของอินเทลตัวอื่นๆ แบ่งเป็นสามระดับคือ L1 96KB, L2 8MB, และ L3 16MB
ใจเย็นๆ หากคิดจะซื้อมาเปลี่ยน เพราะราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 856 ดอลลาร์สำหรับรุ่นถูกสุดและขึ้นไปได้ถึง 2729 หรือประมาณแปดหมื่นบาท เฉพาะซีพียูอย่างเดียว