อ่านหัวข่้าวแล้วอย่าเพิ่งนึกถึงหนังกาโม่ เรื่องของเรื่องคือความเร็วคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้นั้น เรื่องหนึ่งที่เป็นข้อจำกัดกันอย่างมากคือ การสื่อสารข้อมูลระหว่างชิปที่มักเป็นจุดที่ช้าเสมอๆ และทำให้เอเอ็มดีได้เปรียบอินเทลไปพักใหญ่ เนื่องจากทำความเร็วได้ดีกว่า เพราะย้ายเอา MMU เข้าไปวางไว้ในชิปเดียวกับตัว CPU เลย
อ่านไม่ผิดครับ Quadro แปลว่าข้างในมี 4 core
Tom's Hardware ได้รับชิปรุ่นทดสอบก่อนผลิตจริง ตอนนี้มันยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ ถึงแม้เราจะเรียกกันเล่นๆ ว่า Quadro ให้เห็นภาพ แต่มีข่าวแว่วมาว่าอินเทลจะทำตลาดในชื่อ Core 2 Extreme มากกว่า
รายละเอียดทางเทคนิคคือมันไม่ได้ 4 core บน 1 die จริง แต่เป็น 4 core บน 2 die แต่ละ die แยกหน่วยความจำกัน (เหมือนกับเอา dual core 2 อันมาต่อกันเฉยๆ) เนื่องจากปัญหาด้านขนาดของ die แต่ในอนาคตเมื่ออินเทลไปถึงขั้นสามารถผลิตที่ 32 นาโนเมตรได้แล้ว ปัญหาด้านนี้คงหมดไป
CSI คืออะไร (ไม่ใช่ Crime Scene Investigation นะ) ดูในข่าวเก่า อินเทลเชื่อมั่น CSI เหนือกว่า HyperTransport
หลังจากตามหลังในตลาดเซิร์ฟเวอร์มาพักใหญ่ เพราะ HyperTransport ของ AMD มีอัตราการส่งข้อมูลสูงกว่ามาก อินเทลก็เตรียมปรับทัพใหม่โดยส่งเทคโนโลยีสองตัว
โดยอินเทลตั้งชื่อแบรนด์ของ 2 ตัวนี้รวมกันไว้ว่า Direct Connect Architecture
จากข่าวเก่า อินเทลโอเพนซอร์สไดรเวอร์ชิปกราฟิก ซึ่งทำให้ชาวบ้านสรรเสริญอินเทลกันทั่วหน้า แต่เอาเข้าจริงแล้ว ไม่ทุกโมดูลของไดรเวอร์ที่โอเพนซอร์ส โดย Keith Packard ได้ตอบประเด็นเรื่องนี้ในเมลลิ่งลิสต์ของเคอร์เนลว่า สิ่งที่ไม่ได้ให้ซอร์สมาด้วย (มีแต่ไบนารี) คือส่วนที่เรียกว่า Macrovision ซึ่งอินเทลติดปัญหาเรื่องความลับทางการค้า อย่างไรก็ตามตัวไดรเวอร์สามารถทำงานได้อย่างปกติ ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการเรียกใช้โมดูลนี้
ปฏิกิริยาของชุมชนแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ฝ่ายแรกโกรธที่อินเทลโกหก ส่วนอีกฝั่งบอกว่าเข้าใจเงื่อนไขของอินเทล และเปิดแค่นี้ก็ดีถมเถแล้ว
ในสมัยที่อินเทลเริ่มทำ Centrino ในช่วงแรกๆ สิ่งที่โดนบ่นมากคือไดรเวอร์สำหรับลินุกซ์นั้นออกยากเย็นเสียเหลือเกิน แต่การเปิดตัวไดรเวอร์ล่าสุดของอินเทลให้เป็นโอเพนซอร์สโดยใช้ไลเซนส์ GPL ในส่วนของเคอร์เนล และไลเซนส์ MIT ในส่วนของ X.Org
ชิปเซ็ตทีี่่เปิดซอร์สไดรเวอร์นี้เป็นชิปเซ็ตตระกูล 965 ที่รองรับ Core 2 Duo ที่กำลังเริ่มวางตลาดในตอนนี้ การโอเพนซอร์สไดรเวอร์เช่นนี้จะทำให้ลินุกซ์หลายๆ ตัวสามารถรองรับชิปเหล่านี้ได้ทันที และสามารถดึงประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ออกมาได้เต็มที่
แม้จะมี Core2 มาสกัดดาวรุ่งในตลาดคอมซูมเมอร์ไว้ได้ชะงัก แต่อินเทลยังคงต้องทำการบ้านอีกเยอะ เมื่อสรุปผลส่วนแบ่งตลาดในไตรมาสที่สองที่ผ่านมา พบว่าเอเอ็มดียังคงเติบโตแบบก้าวกระโดด มาหยุดที่ร้อยละ 25.9 เติบโตขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วที่อยู่ที่ร้อยละ 16.2
งานนี้อินเทลต้องหวังว่า Xeon ตัวใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรม Core จะช่วยดึงส่วนแบ่งให้กลับมาคงเดิมได้ต่อไป
เราอ่านข่าวความแรงของ Core 2 Duo กันมาเป็นเดือน วันนี้ออกจริงๆ แล้วครับ ออกมา 10 รุ่นพร้อมกันเลยทีเดียว
อินเทลแถลงข่าวที่สำนักงานใหญ่ที่เมือง Santa Clara ว่าจะออกซีพียูชุด Core 2 โดยแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ดังนี้
หลังอินเทลออก Core 2 Duo มาได้ไม่กี่วัน AMD ได้โต้กลับด้วย "4x4" ซึ่งเป็นระบบซีพียูรวม 4 คอร์ (ดูอัลคอร์ 2 ตัว) เพื่อโปรโมทประสิทธิภาพรวมที่สูงกว่า Core 2 Duo (ข่าวเก่า)
อินเทลเลยต้องแก้เกมโดยเลื่อนเจ้า "Kentsfield" ซึ่งเป็นระบบ 4 คอร์แบบเดียวกันให้ออกเร็วขึ้นเป็นปลายปีนี้ จากแผนเดิมกลางปีหน้า
ว่าจะไม่ยุ่งกับสงครามศาสนาแล้วเชียว แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว...
เขา (ผู้รีวิวอิสระ) ว่า Intel Core 2 Duo เร็วจริงอย่างเขา (อินเทล) ว่า เร็วกว่า Athlon FX-62 ทีนี้อะไรต่อไปล่ะ
ที่มา - zdnet
ส่วน benchmark อันนี้ อาจไม่ได้บอกอะไรมาก เพราะขึ้นกับ utilization ด้วย เพียงแต่เคยเห็น Core 2 Duo 6600 ขึ้นไปอยู่ที่ 1300 averge credit/CPU ในขณะที่ใช้ Core Duo 1.83 GHz (iMac) อันสุดๆได้เกือบ 720 credit (หรือ 360 credit/CPU)
การบุกล้ำส่วนแบ่างตลาดของเอเอ็มดีส่งผลอย่างชัดเจนต่ออินเทลขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตัวเลขผลกำไรไตรมาสที่ผ่านมาของอินเทลต่ำลงกว่าไตรมาสที่แล้วถึง 38 เปอร์เซนต์ ทำให้มีการประกาศเลย์ออฟพนักงานในส่วนการจัดการถึงพันตำแหน่ง ซึ่งอินเทลเชื่อว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง หนึ่งพันล้านดอลลาร์ต่อปี
ด้วยตัวเลขพนักงานถึงหนึ่งแสนคน การเลย์ออฟหนักงานออกไปหนึ่งเปอร์เซนต์จึงดูเหมือนเป็นจำนวนเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามมีการคาดการกันว่าจะมีการเลย์ออฟอย่างต่อเนื่อง จากพนักงานหลายๆ ฝ่าย ซึ่งอาจจะมีตัวเลขการเลย์ออฟรวมถึงหนึ่งหมื่นตำแหน่งภายในหกเดือนข้างหน้า
หลังจากออก Core Duo ทั้งสามรุ่นมาตั้งแต่ต้นปี อินเทลก็ไม่ได้โชว์ของใหม่ให้ชื่นชมกันเท่าใหร่ ตอนนี้ก็ตอบกระแสเรียกร้องของคนกระเป๋าหนักกันแล้วด้วย T2700 ที่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.33 GHz
ราคาตัวละ 600 ดอลลาร์ที่หน้าโรงงาน (ขั้นต่ำพันตัว) ราคาเครื่องคงไม่ต้องมองให้เสียเวลา
ว่าแต่ T2300 ราคาจะตกลงมากันบ้างมั๊ยนี่
ที่มา - Engadget
อินเทลมีทีท่าแสดงให้เห็นชัดเจนว่าต้องการทิ้งซีพียูสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ x86 ออกไปให้หมด ในตลาดบน Itanium ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม IA-64 ถูกลดความสำคัญลงไปมาก ส่วนตลาดพกพาและอุปกรณ์ฝังตัว อินเทลได้ขายกิจการส่วน XScale ให้กับ Marvell Technology Group ในราคา 600 ล้านเหรียญไปเรียบร้อยแล้ว
XScale เป็นซีพียูตระกูล ARM ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในพีดีเอ พ็อกเก็ตพีซี สมาร์ทโฟนรวมไปถึงไอพ็อด หลังการขายกิจการครั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายค่ายจึงตั้งข้อสังเกตว่า อินเทลอาจพัฒนา Core ให้มาจับตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อชดเชยช่องว่างที่หายไป
เห็นมีคนรอจะซื้อ Conroe/Merom ก็เลยเอามาฝาก
อินเทลได้คัดเลือกนักข่าวบางกลุ่มมาทดสอบ Conroe หรือชื่อจริง Core 2 Duo E6700 (2.66GHz) โดยได้รันเบนช์มาร์คเทียบกับ Athlon 64 FX-60 (2.8GHz) โดยที่ฝั่งอินเทลใช้แรม DDR2 ส่วนฝั่ง AMD นั้นไม่ใช้ครับ
ผลทดสอบก็ไม่น่าแปลกใจ Core 2 Duo ชนะ Athlon 64 FX-60 ทุกการทดสอบ ผมกะๆ ด้วยสายตาก็ชนะเฉลี่ยประมาณ 15-20% บวกลบ แต่รู้สึกว่าโลโก้ Core 2 Duo นี่ห่วยกว่า Core Duo อีกแฮะ
ที่มา - Hot Hardware
ปีที่แล้วมาจนถึงปีนี้ AMD กิจการดีเยี่ยม ส่วนแบ่งตลาดพุ่งเกิน 20% ในรอบสี่ปี และสุดท้าย Dell ก็ยอมใช้ AMD ตามกระแสโลก อินเทลต้องทำอะไรซักอย่าง
อะไรซักอย่างนี้ก็คือลดราคาครับ Pentium ตัวเก่าๆ จะเอามาดัมพ์ในราคาลด 60% ส่วนพวก Core Duo จะลดประมาณ 15% และเริ่มมิดไนต์เซลส์กัน 23 กรกฎาคมนี้ ฝั่ง AMD ก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะลดราคาสู้เหมือนกัน ถึงแม้จะลดไม่รุนแรงขนาดอินเทลก็ตาม
อย่าลดมากจนซิลิคอนขาดตลาด เหมือนโอเปอเรเตอร์มือถือแถวนี้นะ
ที่มา - Bloomblerg
เวลามีข่าวซีพียูแต่ละที ตัวที่เป็นข่าวมักจะเป็นซีพียูรุ่นตัวละสี่หมื่นที่เราๆ ท่านๆ ไม่ค่อยได้จับกันเท่าใหร่ แต่ข่าวนี้คงใกล้ตัวกันมากขึ้น กับการเสนอ Roadmap ครั้งล่าสุดของอินเทลที่มีซีพียูปริศนาโผล่มาในตาราง โดยใช้ชื่อว่า Conroe-L โดยไม่ได้บอกข้อมูลอะไรมากมายนัก นอกจากว่ามันมีเป็นซีพียูคอร์เดี่ยว และจะเริ่มวางตลาดในช่วงไตรมาสที่สองของปีหน้า โดยอาจจะเป็นจุดจบของสถาปัตยกรรม Netburst ที่กำลังถูกดันมาอยู่ในรุ่นราคาถูกลงเรื่อยๆ
เจ้า Yonah หรือ Core Duo ออกมาได้ซักพักและก็มีโน้ตบุ๊คขายเกลื่อนแล้ว แต่เวอร์ชันบนเดสก์ท็อปเพิ่งจะตามมาครับ ปรากฎว่าตี Athlon ซะเกือบทุกการทดสอบ
Core Duo รุ่นสำหรับเดสก์ท็อปที่ทดสอบในข่าวนี้ใช้รุ่น TM2600 คล็อกจริง 2.16GHz แต่ได้โอเวอร์คล็อกไปที่ 2.6GHz ใช้กับบอร์ดที่มีชิปเซต Intel 975X/ICH7R เอาไปปะทะกับ Athlon 64 ตัวท็อปคือ FX-60 ผลที่ได้คือ TM2600 รุ่นคล็อกแล้วเฉือน FX-60 ไปนิดๆ ในเกือบทุกการทดสอบ ส่วนรุ่นที่ไม่ได้คล็อกก็มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ FX-55 เลย
อินเทลกลับมาคราวนี้น่ากลัวมาก Core 2 Duo จะขนาดไหนกันเชียว
ช่วงหลังอินเทลประสบความสำเร็จกับตลาดโน้ตบุ๊กค่อนข้างสูง แม้จะเพลี่ยงพล้ำตลาดเซิร์ฟเวอร์ให้เอเอ็มดีไปเยอะเอาการก็ตามที โดยเฉพาะ Core Duo ที่กินตลาดไปเยอะมากในช่วงหลัง ล่าสุดอินเทลคิดจะใช้ชื่อทีประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดโน้ตบุ๊ก พาเอาตลาดเดสก์ทอปตามไปด้วย ทำให้อินเทลเลือกใช้ชื่อ Core 2 Duo สำหรับชิป Conroe ที่กำลังจะออกมา
เสียงตอบรับในช่วงแรกนี้เท่าที่ดูๆ ออกจะแง่ลบซะเยอะเหมือนกัน เพราะสร้างความสับสนให้ผู้ใช้พอสมควร โดยเฉพาะเลขรุ่นที่เป็นตัวเลข 4xxx ไปจนถึง 7xxx ทำให้ดูชิป Core Duo ที่มีเลขรุ่น 2xxx ดูด้อยลงไปถนัดใจแม้คุณจะใช้รุ่นใหญ่สุด
Paul Otellini ซีอีโอของ Intel ได้ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่าที่ส่วนแบ่งตลาดลดลงเหลือต่ำกว่า 80% นั้นเกิดจากผลิตภัณฑ์ของตัวเอง สู้ทางคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุชื่อแต่คุณก็รู้ว่าใคร)
AMD ใช้ Opteron เป็นเรือธง และผูกมิตรในตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างดี รวมถึงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ไม่อยากให้เกิดการผูกขาดมากเกินไป จึงพยายามใช้ AMD ด้วยในช่วงหลังๆ นี้
กลยุทธใหม่ของ Intel คือขายแพลตฟอร์ม (เช่น Centrino, Viiv หรือ vPro) แทนซีพียูเดี่ยวๆ และช่วงกลางปีก็เตรียมยิงอาวุธชุดใหญ่อีกรอบ คือ Woodcrest (Server - มิถุนา), Conroe (Desktop - กรกฎา) และ Merom (Mobile - สิงหา)
ถัดจาก Centrino (Mobile) และ Viiv (Multimedia) อินเทลได้เปิดตัวแพลทฟอร์มใหม่สำหรับธุรกิจชื่อว่า vPro (ดูโลโก้ได้)
vPro จะคล้ายๆ กับ Centrino ตรงที่ใช้ส่วนประกอบของอินเทลเกือบทั้งหมด ที่มาแน่คือซีพียูตระกูล Core Duo รวมถึงชิปเซ็ตและระบบเน็ตเวิร์คต่างๆ ส่วนของใหม่มี 2 อย่างคือ Intel AMT (Active Management Technology) เอาไว้ตรวจสอบและซ่อมแซมระบบได้เมื่อมีปัญหา แม้แต่เมื่อยามปิดเครื่องก็ยังเข้าไปจัดการได้ อีกอย่างคือ Intel VT (Virtualization Technology) ไว้รันเซอร์วิสต่างๆ ที่แยกขาดจากระบบปฏิบัติการ
ต้องแยกให้ดีๆ ว่ามันจะมี Intel Core ที่เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับชื่อซีพียู (เช่น Core Duo และ Core Solo) กับ Core ที่เป็นชื่อของ microarchitecture รุ่นใหม่ของอินเทล อันนี้เราสนใจตัวหลัง
Hannibal นักเขียนเรื่องซีพียูคนดังของ Ars Technica ได้เขียนบทความวิเคราะห์อย่างละเอียด (มาก) ของเจ้า Core microarchitecture นี้กับตัวอื่นๆ ของอินเทล เช่น P6 หรือ NetBurst ย้ำว่ามันละเอียดจริงๆ ชนิดต้องพลิกตำรา Computer Architecture อ่านตามเลย
แหล่งข่าวไม่เปิดเผยชื่อรายงานว่าบริษัท Asustek Computer ได้ชนะประมูลการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ iBook ในรุ่นต่อไปแล้ว โดยเครื่องรุ่นดังกล่าวจะมีขนาดจอภาพที่ 13.3 นิ้วและใช้หน่วยประมวลผลจากอินเทล โดยคาดว่าจะวางจำหน่ายในช่วงเดือนมิถุายนนี้
แหล่งข่าวระบุว่าจะมีการผลิตในช่วงเริ่มต้นเตรียมการไว้ถึง 1.2 ล้านเครื่อง ทาง Asustek จะเริ่มส่งมอบเครื่องให้ทางแอปเปิลในเดือนหน้าเพื่อเตรียมจำหน่าย โดยมีการสั่งซื้อจอภาพจากสามบริษัทคือ AU Optronics Corp, Chi Mei Optoelectronics Corp, และ LG Philips
ถ้าออกมาเครื่องละสามหมื่นนี่ คนที่เพิ่งซื้อ G4 จากงานคอมไปจะเป็นไงหว่า?
ผมคิดว่าคนอ่าน Blognone น่าจะรู้กันหมดแล้วว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่วมโครงการ One Laptop Per Child ที่ริเริ่มโดย MIT ดังนั้นคงไม่เขียนถึงเยอะ เนื่องจากโครงการนี้เป็นที่กล่าวขวัญมาก แต่ใช้ซีพียู AMD และลินุกซ์ ทำให้ได้รับเสียงวิจารณ์จากอินเทลและไมโครซอฟท์อย่างมาก
ไมโครซอฟท์บอกว่ามือถือเหมาะกว่า และเปิดตัว Ultramobile PC เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง (ที่แพงไปหน่อย)
ส่วนอินเทลเคยบอกว่า OLPC จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ และวันนี้ได้เปิดตัวคู่แข่งโดยตรงที่ชื่อ Community PC
อินเทลได้เปิดตัวโพรเซสเซอร์ Pentium 965 Extreme Edition ซึ่งจะมีความเร็วสูงถึง 3.73 GHz ซึ่งจะเป็นโพรเซสเซอร์ที่มีความเร็วที่สูงที่สุดในตระกูล Pentium (ผลการทดสอบสามารถดูได้ที่ Tom's Hardware) โพรเซสเซอร์ตัวนี้จะใช้การผลิตที่ 65 นาโนเมตร และจะยังใช้ Core Presler ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Dual Core และในแต่ละ Core นั้นจะมีระบบ Hyperthreading ซึ่งจะทำให้แต่ละ Core ทำงานได้ 2 งานพร้อมกัน จึงทำโพรเซสเซอร์ตัวนี้ทำงานได้ถึง 4 งานพร้อมๆกัน (
คิดหัวข้อข่าวนี้ไม่ออก เอาเป็นว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่องาน Intel Developer Forum เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อนาย John Rattner CTO ของอินเทลขึ้นพูดในงาน มีการนำเสนอถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงาน
การนำเสนอนี้ผ่านไปโดยไม่มีอะไร จนกระทั่งนาย Nebojsa Novakovic ผู้ไม่ได้เข้าร่วมงาน มาอ่านสไลด์ที่ดาวน์โหลดมา แล้วพบว่าภาพเมนบอร์ดในสไลด์นั้นใช้ชิปเอเอ็มดี!!!!
หลังข่าวนี้ออกมาไม่กี่ชั่วโมง อินเทลก็ถอนสไลด์นี้ออกจากเว็บไปเรียบร้อยแล้ว แต่หน้าเจ้าปัญหานี้ยังหาดูได้จากที่มาของข่าวนี้
ไม่รู้จะบอกความนัยอะไรรึเปล่า?
ชื่อเรียกมันสับสน ทำความเข้าใจกันดีๆ นะครับ
สถาปัตยกรรมของซีพียู ฝรั่งใช้คำว่า architecture ตัวอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ x86, x86-64, PowerPC, SPARC เนี่ยเป็นคนละสถาปัตยกรรมกัน
แล้วก็ยังมีสถาปัตยกรรมย่อย ผมไม่รู้ว่ามีคำแปลมั้ย แต่ภาษาอังกฤษคือ microarchitecture อย่างในสาย x86 เอง ก็มีสาย P6 (ตั้งแต่สมัย Pentium Pro มาถึง PIII) และสายของ P4 เป็นต้น ความหมายก็คือทำได้งานแบบ x86 เหมือนกัน แต่การเรียงระบบภายในคนละแบบ