Ars Technica มีบทความแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ของ IPv6 แนะนำให้อ่านถ้าคุณเคยเห็นชื่อ IPv6 ผ่านๆ แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่ามันคืออะไร
หัวข้อ
ข้อมูลทั้งหมดเคยลงในบทความอื่นๆ มาเยอะแล้ว เพียงแต่อันนี้ไม่ยาวมาก แถมอ่านง่าย มีภาพประกอบชัดเจน
ที่มา - Ars Technica
My Yahoo หนึ่งในบริการของ Yahoo! ที่ให้บริการรวมข้อมูลและบริการต่างๆ แบบส่วนตัว โดยผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลได้ จะทำการปรับปรุงในเร็วๆ นี้ (บริการดังกล่าวเปิดให้บริการมาตั้งแต่ กรกฎาคม 1996)
โดย CEO Terry Semel กล่าวใน Morgan Stanley Technology Conference ว่า "ในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ คุณจะเห็นความเปลี่ยนแปลงใหม่ของ My Yahoo"
ที่มา - MacWorld
คนอ่านเว็บนี้จำนวนมากคงเคยเล่น Google Map กันมาบ้างแล้ว และคงเห็นว่าภาพถ่ายดาวเทียมที่ความชัดระดับเห็นหลังคาบ้านนี้มันน่าทึ่งขนาดไหน แต่ที่คนส่วนมากไม่รู้คือนอกจากการซูมสิบกว่าระดับที่กูเกิลให้เราคลิกแล้ว ยังมีการซูมในระดับที่ละเอียดกว่านั้นอยู่ใน Google Map ด้วย ล่าสุดมีผู้พบบริเวณที่สามารถซูมได้ถึงระดับ 23 ที่สามารถเห็นอูฐเต็มๆ ตัว และแทบจะจำหน้าของคนที่ยืนแหงนหน้ามองฟ้าอยู่ได้
รายงานจากบริษัทวิจัยทางการตลาด 3 แห่งออกมาให้ผลตรงกันว่า ตลาดเสิร์ชเอนจินในปี 2006 มีกูเกิลเพียงรายเดียวที่เติบโต ส่วนคู่แข่งรายอื่นถูกกูเกิลกินตลาดกันถ้วนหน้า
ถ้าเอาข้อมูลล่าสุด (มกราคม 2007) ส่วนแบ่งตลาดของกูเกิล, ยาฮู, ไมโครซอฟท์อยู่ที่ 53.7, 22.7 และ 10.6 ตามลำดับ อันนี้ผมอ้างข้อมูลของ Nielsen ถ้าใช้ของ ComScore ตัวเลขจะอยู่ที่ 47.5, 28.1 และ 8.75
คนที่อาการหนักสุดคือไมโครซอฟท์ ส่วนแบ่งตลาดเมื่อเดือนมกราคม 2006 อยู่ที่ประมาณ 11-12% ถ้าเอาข้อมูลของ ComScore ที่ลดลงมาเหลือ 8.75% แปลว่าเงินมากมายที่ลงทุนไปใน Windows Live Search ไม่เกิดผลอะไรเลย สำหรับยาฮูตัวเลขทรงตัวไม่เพิ่มไม่ลด กลุ่มผู้ใช้พอร์ทัลของยาฮูก็ยังเหนียวแน่นไม่เปลี่ยนใจไปไหน
อโดบีได้ประกาศออกมาว่าจะออก Photoshop online edition ที่เป็นการเอา Adobe Photoshop Elements มาลดความสามารถ และเอามาให้บริการตกแต่งภาพ บนอินเทอร์เน็ต โดยใช้ Flex platform ของอโดบี ภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ โดยทางอโดบีจะเปิดให้บริการฟรี และหารายได้จากการโฆษณา เหมือนกับบริการต่างๆ ของกูเกิล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อโดบี ลงมาในตลาดออนไลน์แอพพลิเคชัน เพราะกลัวว่า กูเกิลจะออกบริการแบบนี้มาก่อนนั่นเอง
ที่มา - ZDNet
หลังจากที่กูเกิลได้ออก Google Apps ที่เป็นการรวมบริการ Gmail, Google Talk, Google Calendar, Page Creator และ Start Page ไว้ด้วยกันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และองค์กรที่มีโดเมนเนมเป็นของตัวเอง มาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว วันนี้กูเกิลได้ประกาศแล้วว่าจะออก Google Apps Premier edition ที่เป็นการเพิ่ม Google Docs & Spreadsheets เข้ามา พร้อมกับเพิ่มเนื้อที่ของ Gmail เป็น 10 GB รับประกัน 99.9% uptime มี API สำหรับผนวกบริการเข้ากับระบบขององค์กร รายละเอียดทั้งหมดอ่านได้ที่นี่
มีเรื่องสนุกๆ ในอินเทอร์เน็ตให้ติดตามอีกแล้ว เมื่อนาย Aaron Staton วางแผนที่จะเดินทางไปสำนักงานใหญ่ของกูเกิลที่แคลิฟอร์เนีย เพื่อนำเสนอไอเดียดีๆ ของเค้าให้กูเกิล เผื่อว่ากูเกิลอาจจะสนใจก็ได้ หรือไม่แน่เค้าอาจจะได้เข้ามาทำงานที่กูเกิลก็เป็นได้ ..
แต่ปัญหาคือเค้าไม่ได้นัดใครไว้ กูเกิลก็ไม่รู้จักนายคนนี้ .. แผนของเค้าคือเดินเข้าไปที่สำนักงาน แล้วขอเข้าพบใครซักคนเพื่อนนำเสนองาน .. ถ้าถูกปฎิเสธ เขาก็จะรออยู่ที่นั่นจนกว่าจะได้พบ .. และจะตื้อไปทุกวันๆ จนกว่าจะสำเร็จ
ติดตามภารกิจสุดห่ามของนายคนนี้ได้ที่เว็บข้างล่าง .. เมืองไทยน่าจะมีใครลองบ้างนะ ท่าทางน่าสนุกดี
ที่มา - Can Google Hear Me .com
ข่าวนี้น่าสนใจสำหรับผมและ mk เนื่องจากเมื่อคืน mk มาบอกผมว่าจำนวนคนอ่าน feed ของเว็บกระโดดขึ้นไปสองเท่าในเวลาไม่กี่ชั่วโมง เหตุผลที่ได้รับคือทางกูเกิลนั้นยอมรายงานจำนวนผู้อ่าน feed ผ่านทาง HTTP Request ที่กูเกิลส่งไปยังผู้ให้บริการแล้ว
การรองรับการแจ้งจำนวนผู้อ่านเป็นสิ่งที่กูเกิลตามหลังผู้ให้บริการรายอื่นๆ เช่น Bloglines มาโดยตลอด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็ไม่มีผลอะไรกับผู้อ่านทั่วไป แต่ผู้ผลิต feed ทั้งหลายกลับไม่ค่อยชอบใจเนื่องจากไม่สามารถติดตามได้ว่าในตอนนี้มีคนอ่าน feed ของตนเท่าใหร่
การระบุจำนวนผู้อ่านนั้นจะใส่มาในช่อง User-Agent ของ HTTP Request ให้ผู้ให้บริการทั้งหมดสามารถนำตัวเลขไปวิเคราะห์ได้ ในรูปแบบดังนี้
นิตยสาร Linux Format ของประเทศอังกฤษฉบับเดือนมกราคม 2007 ได้ทำการทดสอบ CMS ที่เป็นที่นิยมคือ Drupal, Joomla, Mambo, Midgard, Plone และ Typo3 ปรากฎว่า Drupal ได้คะแนนที่ 9/10 สูงสุด ในการทดสอบ
ทีมทดสอบของ Linux Format ได้ให้ความเห็นว่า Drupal นั้นผสมผสานของ user interface ที่มึประสิทธิภาพในการใช้งาน และ Module ที่มีให้เลือกหลากหลาย มีระบบควบคุม Forum และ Comment ที่มีประสิทธิภาพ และคุณสมบัติอื่นๆ ครบตามมาตรฐานของ CMS
ที่มา: นิตยสาร Linux Format
เมื่อคืนวานที่ผ่านมา DNS Root Server ซึ่งอาจถือในได้ว่าเป็นศูนย์กลางของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้ถูกโจมตีด้วยการเข้าใช้งานอย่างหนัก ทำให้เซิร์ฟเวอร์บางตัวไม่สามารถตอบการ Query จากเครื่องทั่วโลก การโจมตีนี้เกิดขึ้นนานถึง 12 ชั่วโมง และนับเป็นการโจมตีที่หนักที่สุดนับแต่ปี 2002
ปัจจุบันนี้ระบบ DNS ทั้งลูกมีศูนย์กลางอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์จำนวน 13 ชุดโดยมีชื่อเรียกเป็นตัวอักษรตั้งแต่ A ถึง M จากการโจมตีเมื่อคืนที่ผ่านมานี้ทำให้เครื่อง G และ L ที่ดูเหมือนจะถูกโจมตีหนักที่สุด ไม่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง นอกจากนี้เครื่อง M และ F ก็ถูกโจมตีในแบบเดียวกัน แต่สามารถแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ถัดจากประเด็น .xxx อันลือลั่น ICANN ก็วางแผนถึงการยกเลิดโดเมนจำนวนมากของอดีตประเทศ การจัดสินใจในครั้งนี้กำลังกระทบเว็บจำนวนมาก เพราะโดเมนที่กำลังจะถูกยกเลิกนั้นเช่น .su ของอดีตสหภาพโซเวียต, .dd ของเยอรมันตะวันออก, .yu ของยูโกสลาเวีย
โดเมนเหล่านี้หลายๆ โดเมนก็ไม่ได้มีการใช้งานจริงอยู่แล้วในทางปฎิบัติเช่น .dd แต่อีกหลายโดเมนกลับยังคงมีการใช้งานอยู่มากเช่น .su ซึ่งค่อนข้างแน่ว่าการตัดสินใจนี้จะเป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันอีกมาก
ICANN ระบุว่ากระบวนการยกเลิกโดเมนเหล่านี้จะใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งปี เพื่อให้ผู้ใช้มีโอกาสปรับเปลี่ยนเว็บของตน
กระทรวงการต่างประเทศแห่งสวีเดน ได้ทำการเปิดบริการบนอินเทอร์เน็ตในชื่อว่า Second Life โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็น ช่องทางในการเผยแพร่วัฒนธรรม, ข้อมูลการท่องเที่ยว, ความรู้-ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเทศสวีเดน โดยมีกลุุ่มเป้าหมายเป็น นักท่องเที่ยว หรือ นักศึกษา รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่นด้วย
ลักษณะของบริการก็จะเป็นการสร้างโลกเสมือนจริง ที่ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รวมไปถึงสามารถที่จะสร้างบ้าน หรือ ธุรกิจของตนได้ในโลกเสมือนจริง ถึงขนาดมีสกุลของตัวเอง ซึ่งลักษณะนี้เราอาจจะเห็นอยู่ทั่วไปแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ทางการมาให้การสนับสนุน และให้บริการเอง
สนใจอยากเป็นพลเมืองสวีเดน (แบบดิจิทัล) ก็ไปลองกันได้ที่ www.secondlife.com
ขณะที่เกมออนไลน์กำลังบูมอย่างหยุดไม่อยู่ สิ่งที่มาคู่กับเกมออนไลน์ทั่วโลกคือการซื้อขายสินค้าในเกมที่มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างในบ้านเราเองก็คงได้เห็นกันอยู่เนืองๆ แต่วันนี้ทาง eBay เว็บประมูลสินค้าอันดับหนึ่งของโลกก็ประกาศนโยบายชัดเจนที่จะห้ามซื้อขายสินค้าเช่นนี้บน eBay โดยทาง eBay กำลังเริ่มถอดสินค้าเหล่านี้ออกจากหน้าเว็บ
สาเหตุของการตัดสินใจนี้เนื่องจากทาง eBay ต้องการหลีกเลี่ยงความยุ่งยากทางกฏหมายที่อาจจะตามมา เนื่องจากสินค้าเสมือนเหล่านี้ไม่มีกฏหมายใดๆ รองรับเป็นทางการ
บ้านเราผมเห็นน้องๆ หลายคนทำธุรกิจนี้จนผมต้องอิจฉารายได้เอาเหมือนกันนะ
ที่มา - SlashDot
ถึงแม้ว่า Blognone จะมีนโยบายชัดเจนในการสนับสนุนการใช้งาน Firefox แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีข่าวของ IE7 คู่แข่งสำคัญ
Tony Chor, Group Program Manager เขียนลง IEBlog ว่าเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา IE7 ได้ถูกติดตั้งไปถึง 100 ล้านครั้งแล้ว ซึ่งถ้าดูตามสถิติของ Firefox แล้วถือว่า IE7 ใช้เวลาน้อยกว่า Firefox อยู่โข (ความเห็นผมเอง)
แต่เหนืออื่นใด Tony ได้บอกอีกว่า จากการตรวจสอบจำนวนการใช้งาน เว็บเบราเซอร์ของ WebSideStory พบว่า IE7 มีส่วนแบ่งตลาดในอเมริกาถึง 25% เป็นรองจาก IE6 ซึ่งหลังจากวินโดวส์ วิสต้า ออกวางจำหน่ายก็จะทำให้ส่วนแบ่งของ IE7 เพิ่มขึ้นไปอีก (แหงสิ)
DNVW.com (Domain Name Values Weekly site) ได้จัดการโหวดว่าการซื้อขาย Domain Name ในปี 2006 รายการไหนที่ยอดเยี่ยมที่สุด 20 อันดับ การลงคะแนนไม่ได้ถือเอามูลค่าการซื้อขายสูงสุดเป็นเกณฑ์นะครับ แต่ใช้เกณฑ์ว่ารายการซื้อขายใดที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวแก่ผู้ซื้อ (4 ปีขึ้นไป) มากที่สุดครับ ผลก็คือ
หลังจากก่อนหน้านี้ มีพยายามบังคับให้ blogger ทุกคนต้องลงทะเบียนกับทางการในหลายประเทศ ล่าสุดรัฐบาลเกาหลี ผ่านร่างกฏหมายที่บังคับให้ ผู้ใช้ต้องลงทะเบียนด้วยชื่อจริง สำหรับเว็บไซต์ที่มีคนเข้าชมมากกว่าวันละ 100,000 คน นอกจากบรรดา web portal ทั้งหลายแล้ว ยังรวมไปถึงเว็บไซต์ของหน่วยงานของรัฐด้วยเช่นกัน
ถ้าไม่ปฏิบัติตาม กระทรวงสารสนเทศสามารถบังคับให้เจ้าของเว็บไซต์แก้ปัญหา และมีค่าปรับสูงถึง 30 ล้านวอน (ประมาณ 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่แน่ใจว่าทำไมมันถึงสูงจัง 32,000 เหรียญสหรัฐ)
ร่างฉบับนี้เคยแก้มาครั้งนึงแล้ว โดยครั้งแรกได้กำหนดไว้สำหรับ portal ที่มีคนเข้ามากกว่า 300,000 คนต่อวัน และ 200,000 คนต่อวันสำหรับเว็บไซต์ของสื่อ
เป็นความพยายามที่เกิดขึ้นมานานแล้วของ ICANN ที่จะจัดระเบียบของเว็บไซด์โดยการกำหนดโดเมนเนมต่างๆขึ้นมา และโดเมนที่ถูกดองมานานตั้งแต่การเสนอเมื่อปี 2000 ก็คือ .XXX ที่ใช้เพื่อเว็บสำหรับผู้ใหญ่ หรือมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเยาวชน กำลังถูกนำมาถกเถียงกันอีกครั้ง
ถ้าหากใครได้คอยติดตามว่าประเทศของเรานั้นมี bandwidth ของอินเทอร์เน็ตเข้าออกประเทศเท่าไหร่แล้วนั้นจะสังเกตได้ว่า ประเทศไทยมี bandwidth ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดมา โดยช่วงหลัง ๆ นี้จะใหญ่ขึ้นเป็นพิเศษ
ณ วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยมี International Bandwidth ทั้งหมด 11154.176 Mbps เข้า/ออกประเทศครับ มาดูของปีที่ผ่าน ๆ มากัน...
- 1 มิถุนายน 2549: 9199.703 Mbps - 1 มกราคม 2549: 7910.871 Mbps - 1 มิถุนายน 2548: 5524.223 Mbps - 1 มกราคม 2548: 3354.625 Mbps - 1 มิถุนายน 2547: 2397.875 Mbps - 1 มกราคม 2547: 1435.875 Mbps - 2 มกราคม 2546: 1170.875 Mbps
ผลจากแผ่นดินไหวที่ไต้หวันนอกจากบ้านเราจะต้องทนกับเน็ตช้าเป็นเต่าแล้ว ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักๆ เช่นจีนนั้นส่งผลอย่างต่อเนื่องคือเว็บกว่าหมื่นเว็บต้องเสียสิทธิในชื่อโดเมนของเว็บตนไป เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปแก้ไขและต่ออายุโดเมนเว็บได้เนื่องจากการเชื่อมต่อที่เสียหาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกรณีเช่นนี้บริษัทให้บริการโดเมนทั้งหลายมักไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แต่สำนักข่าวซินหัวรายงานว่ากรณีเช่นนี้อาจจะมีการชดเชยให้กับลูกค้า โดยยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ผมว่าต่อโดเมนเผื่อๆ ไว้สักปีล่วงหน้าก็ดีเหมือนกันนะ
เกิดเรื่องเซอร์ไพรส์สุดๆในงานประกาศรางวัลโฆษณายอดเยี่ยม สิงโตทองคำ คานส์ 2006 (Cannes Lion) ในหมวดสื่อไซเบอร์ เมื่อแคมเปญ Stillfree จากบริษัท Marc Echo Enterprise ขึ้นรับรางวัลชนะเลิศ ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้ค่าคิดงาน หรือต้นทุนในการโปรโมทหรือลงโฆษณาเลยซักแดงเดียวจาก คลิปฉาว ที่ส่งต่อกันไปทั่วอินเทอร์เน็ต แซงหน้าบริษัทโฆษณาอื่นๆที่คิดงานกันแทบเป็นแทบตาย ..
หลังจากขึ้นปีใหม่ได้แค่วันเดียว ปรากฎว่าเนื้อที่ของ Gmail ไม่มีการเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ไปดูที่หน้าหลักของ Gmail ตอนนี้จะเห็นว่าเนื้อที่ี่หยุดอยู่ที่ 2800 MB ไม่มีการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้ว ไม่รู้ว่ากูเกิลลืมใส่โค้ดให้มันเพิ่มเนื้อที่ หรือจงใจไม่ให้เพิ่มขึ้นอีกแล้ว ย้อนไปดูประวัติของ Gmail เริ่มจากเปิดให้บริการในวันที่ 1 เมษายน 2004 ด้วยเนื้อที่ 1 GB และเพิ่มเนื้อที่เป็น 2 GB พร้อมกับเพิ่มขึ้นวันละ 0.33 MB ในวันที่ 1 เมษายน 2005 และจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2007 ได้หยุดเพิ่มเนื้อที่แล้ว
ประเด็นหนึ่งที่เราเคยได้ยินกันมาในช่วงที่ GMail ออกมาใหม่ๆ คือประเด็นความเป็นส่วนตัวเนื่องจากกูเกิลมีการใช้ข้อมูลในเนื้อเมลเพื่อแสดงโฆษณา ตอนนี้ไมโครซอฟท์กำลังพยายามเจาะตลาดโฆษณาซึ่งมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งนี้ ด้วยการนำข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งผู้ใช้ Hotmail ได้กรอกไว้เมื่อสมัครสมาชิกเพื่อเลือกโฆษณาให้ตรงเป้าหมาย และการใช้วิธีการนี้มีผลต่อบริการจำนวนมากของไมโครซอฟท์
ตัวอย่างการใช้ข้อมูลเหล่านี้ เช่นเมื่อผู้ใช้ค้นหาผ่านทาง Microsoft Live Search ด้วยคำว่า "รถ" เว็บของไมโครซอฟท์จะตรวจสอบว่าผู้ค้นหาเป็นผู้ใช้ Hotmail หรือไม่ หากใช่ก็จะตรวจสอบถึงเพศ อายุ และข้อมูลอื่นๆ เพื่อแสดงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุด
บริษัทวิเคราะห์ตลาด ComScore Networks เผยผลการสำรวจว่า ยอดผู้เข้าชม Google ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 9.1% จากปีก่อน นับเป็นจำนวน 475.7 ล้านคนต่อเดือน เมื่อเทียบกับ 475.3 ล้านคนของ Yahoo! ทำให้ Google แซง Yahoo! ในเรื่องยอดผู้เข้าชมได้เป็นครั้งแรก และส่งผลให้ Google ขึ้นมาเป็นเว็บอันดับสอง
หลายคนอาจสงสัยว่าอันดับหนึ่งคืออะไร คำตอบคือ Microsoft (อันเนื่องมาจาก IE) มียอดเข้าชม 501.7 ล้านคนต่อเดือน
ตัวเลขของเว็บอื่นๆ MySpace 130.4 ล้าน, YouTube 107.9 ล้าน
ที่มา - Bloomberg
Jimmy Wales ผู้ก่อตั้งวิกิพีเดีย ได้วางแผนปล่อยเสิร์ชเอ็นจินที่มีชื่อว่า Wikiasari ออกมาภายในปี 2007 โดยเป้าหมายคือ เพื่อมาแข่งกับกูเกิลที่ Jimmy Wales บอกว่าใช้ได้ดีในการค้นหาหลายๆสิ่ง แต่บางทีก็ค้นหาได้สิ่งที่ไร้ประโยชน์มาด้วย โดยเค้าให้ลองค้นคำว่า ‘Tampa hotels’ ในกูเกิลดู แล้วจะพบว่าไม่มีสิ่งที่ต้องการเลย (ลองดูแล้วจะรู้ว่าเป็นอย่างทีเขาพูดหรือไม่) โดย wikiasari จะเป็นการใช้ประโยชน์จากผู้ใช้ เข้ามาช่วยตัดสินว่าหน้าที่ค้นได้ มีประโยชน์หรือไม่ ซึ่งจะทำให้ได้ผลการค้นหาที่ตรงความต้องการมากที่สุด
บริษัทด้านความปลอดภัย IronPort ได้วิเคราะห์ตัวเลขของอีเมลสแปมระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2006 ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณสแปมเพิ่มขึ้นถึง 35%
สถิติเดิมคือ 31 พันล้านฉบับต่อวันในเดือนตุลาคม 2005 และใช้เวลา 1 ปีเพิ่มมาเป็น 63 ล้านฉบับในเดือนตุลาคม 2006 แต่พอข้ามมาอีกเดือน มันขึ้นมาเป็น 85 ล้านฉบับต่อวัน โดยขึ้นเยอะสุดระหว่างวันที่ 13-22 และ 26-28 ซึ่งช่วงกลางเดือนนั้นมีการปล่อยสแปมปริมาณมหาศาลที่ทำให้ระบบฟิลเตอร์เป็นง่อย ส่งผลให้มีสแปมหลุดเข้ามาอีกจำนวนมาก