องค์การนาซ่า (Nasa) ประกาศความร่วมมือกับกูเกิล (Google) ในการใช้สื่อ เทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่างๆของกูเกิลเพื่อนำเสนอข้อมูล ผลวิจัย และโปรเจ็คต่างๆสู่ชาวโลก (ขนาดนั้น)
Flickr ประกาศผ่าน feed ของตัวเองว่าได้เพิ่มปริมาณการอัพโหลดต่อเดือนของผู้ใช้ประเภทฟรี จากเดิมที่จำกัดอยู่ที่ 20MB เป็น 100MB!
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ประเภทฟรียังคงถูกจำกัดปริมาณของรูปที่จะแสดงอยู่ที่ 200 รูป และสร้าง Photoset ได้เพียง 3 photosets
ข้อมูลจาก feed เดียวกัน Flickr ได้ทำระบบมอบของขวัญแก่คนรู้จักเป็น บัญชีผู้ใช้แบบ Pro ซึ่งผู้ใช้ Flickr สามารถซื้อรหัสจากเว็บไซต์ แล้วก็พิมพ์รหัสนั้นออกมา หรือส่งเป็นอีเมล์ให้กับคนที่เราต้องการ ถือเป็นระบบที่ทำไว้รองรับเทศกาล การมอบของขวัญที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่ช้า
ทั้ง Google และ Yahoo ต่างก็มีทูลบาร์ของตัวเองบน IE7 ซึ่งทั้งสองค่ายต่างก็รวมเอาฟังก์ชั่นการใช้งานเว็บของตัวเองใส่ลงไป คนละค่าย หน้าตาก็คนละอย่างกัน
แต่เมื่อเร็วๆนี้ มีคนสังเกตเห็นว่าหน้าที่เปิดให้ดาวน์โหลดทูลบาร์ของ Google เหมือนกับหน้าดาวน์โหลดของ Yahoo อย่างกับลอกกันมา น่าสังเกตว่ากระทั่งรูปตัวอย่างของ IE7 ที่ใช้ในหน้าดาวน์โหลดของทั้งสองค่ายก็เกือบจะเป็นรูปเดียวกัน รูปของ Yahoo ทางด้านมุมซ้ายจะมีตัว Y! สีแดงโดดเด่น แต่ทางฝั่ง Google กลับทิ้งว่างไว้และ(คล้ายว่า)ได้ทำการ "เบลอ" สัญลักษณ์ Y! ออกไป ในตอนนี้หน้าเว็บได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ใครที่อยากดูภาพหน้าจอสามารถกดเข้าไปดูได้ที่ลิงก์ด้านล่างครับ
เจอใน Slashdot นึกถึงกระทู้เรื่อง IP เลยหยิบมาฝากครับ
คนวาดการ์ตูนชุด xkcd (อาจเคยเห็นอันนี้กันมาบ้าง) ได้วาดแผนที่อินเทอร์เน็ต (จริงๆ คือแผนที่ของ IPv4) โดยเรียงตามชุดของ IP เป็นกลุ่ม ถ้าตอนเรียนใครเคยสงสัยแบบผมว่า IP Class A ที่เค้าว่ามันเปลืองเนี่ย มีหน่วยงานไหนได้ไปบ้าง ดูในแผนที่นี้ก็คงพอนึกภาพออก
แผนที่นี้มีขั้นตอนไม่ธรรมดา เค้าใช้อัลกอริทึม fractal mapping คำนวณออกมาก่อน แล้วค่อยมาวาดด้วยมือตามหลังอีกทีหนึ่ง รายละเอียดอ่านในบล็อกของ xkcd
กูเกิลได้ออกเสิร์ชเอ็นจินตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Search Mash ออกมาซุ่มทดสอบได้ประมาณเดือนนึง โดยเสิร์ชเอ็นจินตัวนี้ มีความแตกต่างจากเดิมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น หน้าเว็บที่ออกแบบใหม่ อัลกอริธึมใหม่ การนำ AJAX มาใช้ ผลการค้นหารูปภาพ บล็อก วิดีโอ และวิกิพีเดีย แทนที่ adword...
ไม่แน่นะ ถ้าเสิร์ชเอ็นจินตัวนี้มีการตอบรับที่ดี อาจจะถูกนำมาแทนที่ เสิร์ชเอ็นจินตัวปัจจุบันก็ได้
ที่มา: The NeoSmart Files
เกือบทุกท่านที่อ่านเว็บนี้คงรู้จักกับ YouTube และ Google Video กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แม้การดูวีดีโอผ่านเว็บแบบเว็บทั้งสองเว็บนี้จะค่อนข้างสะดวก แต่ปัญหาที่หลายๆ คนอาจจะรำคาญคือการดาวน์โหลดที่ค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้ไม่เหมาะกับการดูผ่านเน็ตความเร็วต่ำ อีกทั้งคุณภาพวีดีโอที่ได้ยังค่อนข้างจำกัด
แต่อนาคตอันใกล้เราอาจจะได้ดูรายการโทรทัศน์จากต่างประเทศในคุณภาพระดับ HD กันเป็นเรื่องปรกติ เมื่อทาง Azureus ผู้ผลิตโปรแกรมลูกข่าย BitTorrent ที่ได้รับความนิยมสูงสุดโปรแกรมหนึ่งได้ออกบริการ Zudeo ที่ให้บริการอัพโหลดวีดีโอแบบความละเอียดเต็มเท่าที่ผู้อัพโหลดต้องการ
ข่าวเก่า: วิเคราะห์ พรบ. นี้ที่ BioLawCom.de
อินเทอร์เน็ต คงเป็นสื่อเสรี ที่ไม่เสรีอีกต่อไป เมื่อผลสำรวจจาก Business Week ในเรื่องของประเทศที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก 13 ประเทศ ซึ่งผู้ชนะเลิศได้แก่ .. แท่น แท๊น
อันดับหนึ่ง ได้แก่ พม่า ประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่เอง โดยรัฐบาลพม่าลงทุนใช้โปรแกรมดักจับหน้า screen shot ของผู้ใช้เน็ตค่าเฟ่ ทุกๆ 5 นาที และยังมีการใช้ซอฟต์แวร์บล๊อกเว๊บที่ทางรัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสมทันทีที่พบเห็น .. เรียกได้ว่า จับตาดู และบล็อกแบบทันทีทันใด
ด้วยลักษณะสังคมไซเบอร์ทุกวันนี้ ถ้าคุณเขียนเรื่องอะไรที่น่าสนใจขึ้นมาสักเรื่อง ข่าวของคุณจะถูกส่งต่อ เขียนวิจารณ์ วิเคราะห์ ตลอดจนก๊อปปี้ไปลงบล็อกอื่นๆ อย่างรวดเร็ว ปัญหาคือข้อมูลที่คุณนำมาอาจจะผิดพลาด หรือยิ่งแย่กว่านั้นคือมันทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจริงในแคลิฟอร์เนียเมื่อ Dr. Stephen Barrett ยื่นฟ้อง Ilena Rosenthal ในฐานนี้โพสข้อความหมิ่นประมาทลงใน newsgroup โดยข้อความที่โพสต์นั้นเป็นข้อความที่นำมาจากที่อื่น หลังจากฟ้องกับครบทุกศาล เมื่อวานนี้ศาลฏีกาก็มีคำตัดสินออกมาแล้วว่าในกรณีนี้จำเลยไม่มีความผิด ที่ผิดคือคนโพสต์คนแรกต่างหาก
เห็นชื่องานแล้วไม่ต้องงงกัน เพราะงานนี้ไม่ได้จัดกันเล่นๆขำๆ แต่งานนี้มีการจัดสัมนากว่า 115 งาน ใน 35 ประเทศทั่วโลก และปีที่แล้วมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 8,000 คน !!
จุดประสงค์ของงานนี้คือต้องการให้ผู้คนบนโลกตระหนักถึงการใช้งานในอุปกรณ์ สิ่งของ เครื่องใช้รอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ คอมพิวเตอร์ มือถือ รถยนต์ ไปจนถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ว่ากันว่าเป็นงานที่ผู้ใช้จะได้เรียกร้อง ส่วนผู้สร้างจะได้ตระหนักถึงความต้องการ และความง่ายในการใช้งานของสินค้าของพวกเค้า
แสบสันที่สุดคงจะเป็นที่มีคนมา post ไว้ถึง เหตุผล 15 ข้อที่ทำไม hotmail ถึงห่วย อ่านดูแล้วก็ฮาดีเหมือนกัน
คนอ่านเว็บนี้อาจจะเคยได้ยินบรรดา Web 2.0 ทั้งหลายที่กำลังเบ่งบานกันอย่างไม่หยุดหย่อน กระแสการลงทุนนับสิบล้านเหรียญให้กับบริษัทที่ให้บริการเฉพาะด้านที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะทำกำไรเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บิลล์ เกตต์ ผู้ก่อตั้งบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไมโครซอฟท์ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในกรุงบรัสเซลว่า มี่เว็บเช่น YouTube นับร้อยในอินเทอร์เน็ต และเว็บเหล่านี้ไม่ได้มีแนวทางการทำกำไรที่ชัดเจนแต่อย่างใด
เขายังระบุว่า กาทำเว็บทุกวันนี้กลับไปเหมือนสมัยฟองสบู่ครั้งก่อน ที่ทุกคนทำเว็บเพื่อสร้างทราฟฟิกเป็นหลักมากกว่าจะทำกำไรกันจริงๆ
แม้จะเป็นฟองสบู่ แต่ตอนนี้ Web 2.0 ก็ทำให้ผมทำงานจาก Ubuntu ได้โดยไม่รู้สึกขาดอะไรไปเท่าใหร่จริงๆ นะ
โลกธุรกิจอาจจะตื่นตัวกันมากขึ้นเมื่อผู้ให้บริการส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่าง Akamai ได้ร่วมกับ Jupiter Research เพื่อทำการสำรวจผู้ซื้อของผ่านเว็บจำนวน 1058 คนได้ข้อสรุปว่าเว็บที่โหลดช้านั้นมีผลโดยตรงต่อมุมมองที่ไม่ดีต่อแบรนด์ของเว็บนั้นๆ, ส่วนเว็บที่ทำความเร็วได้สูงๆ จะทำให้ผู้ใช้กลับเข้ามาในเว็บได้มากกว่า และผู้ใช้จะรอเว็บให้เรนเดอร์เป็นเวลาเพียงสี่วินาทีเท่านั้น
แม้ชาวโอเพนซฮร์สจะไม่ค่อยชอบหน้าบริษัทอย่างอโดบีกันสักเท่าใหร่ วันนี้ทางอโดบีก็ได้ประกาศความร่วมมือกับทางทาง Mozilla Foundation เพื่อให้มีการนำซอร์สโค้ดส่วนของ ActionScript ใน Flash Player ของทางอโดบีเองมาใช้งานในโครงการของทาง Mozilla ในอนาคต ผลที่ได้คือการเปิดโครงการ Tamarin ซึ่งเป็นคอมไพล์เลอร์สำหรับ ECMAScript Edition 4 ที่เตรียมการรวมตัวเข้ากับ Spider Monkey ที่เป็นเอนจินจาวาสคริปต์ของทาง Mozilla ในรุ่นต่อไป
หลายๆ คนอาจจะรู้ดีว่า Flash นั้นทำงานเร็วกว่าจาวาสคริปต์อยู่หลายช่วงตัว เนื่องจากเทคโนโลยี JIT Compiler ของทางอโดบีนั้นค่อนข้างล้ำหน้าไปมาก ตรงนี้เป็นสัญญาณที่ดีว่าหากโครงการ Tamarin ถูกนำมาใช้งานจริงเมื่อใหร่ เว็บ Ajax ทั้งหลายอาจจะทำงานเร็วกว่านี้อีกหลายเท่า
ประเด็นเรื่องของไอพีดูเหมือนจะใกล้ตัวเราขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นเช่นการฟ้องจากหลักฐานด้านไอพีเริ่มมาจากตั้งแต่การฟ้องร้องจาก RIAA ในสหรัฐที่ไล่ฟ้องผู้ใช้ตามบ้านที่ดาวน์โหลดเพลงผ่านเครือข่ายบริการแชร์ไฟล์จำนวนมาก จนมาถึงการบุกจับค้นที่ผิดพลาดเมื่อไม่นานมานี้
คดีในต่างประเทศที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือคดีของ Holger Voss ที่ถูกฟ้องเนื่องจากการแสดงความเห็นในอินเทอร์เน็ต ผลจากคดีนั้นทำให้มีการฟ้องร้องผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ไม่ปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้บริการ และในวันนี้คดีดังกล่าวก็มาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อศาลฏีกาเยอรมันประกาศคำตัดสินว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไม่มีสิทธิเก็บไฟล์ log โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
หลังจากที่ยอดจำหน่ายหนังสือพิมพ์กระดาษลดลงเรื่อย เพราะคนหันไปอ่านสื่อบนอินเทอร์เน็ตกันหมด บริษัทกานเน็ต (Gannett) ผู้พิมพ์นสพ. USA Today และหนังสือพิมพ์อื่น ๆ 90 ฉบับในอเมริกา เริ่มปรับตัว โดยหันหน้าหาพลังจากฝูงชน หรือคราวด์ซอสซิง (crowdsourcing)
บริษัทกานเน็ตได้ปรับโครงสร้างของห้องข่าวใหม่โดยมีเป้าหมายเพื่อเน้นเนื้อหาที่ผู้ใช้ส่งเข้ามามากขึ้น และขอใช้พลังจากฝูงชน (ผู้อ่าน) ในการเป็นผู้ตรวจสอบหรือเป็นผู้แจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ตัวอย่างที่ได้ผลได้แก่งานประเภทสืบเสาะปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เป็นต้น นอกจากนี้เมื่อผู้อ่านได้เข้ามามีส่วนในการสืบเสาะข่าวแล้ว พวกเขาก็ยิ่งอยากอ่านข่าวที่เขียนขึ้นมามากขึ้นด้วย
การประชุมเรื่องอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ หรือ The Internet Governance Forum จบลงเมื่อวานนี้ด้วยความหวัง และการพูดคุยถึงประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เรื่องของการปิดกั้นข่าวสารในอินเทอร์เน็ต (ลิ่วได้พูดไว้บ้างแล้ว) เรื่องของการทำให้อินเทอร์เน็ตใช้ได้สะดวกขึ้นกับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ และเรื่องของการบริหารจัดการอินเทอร์เน็ต
สำหรับประเด็นสุดท้ายมีคนตั้งคำถามถึงสหรัฐที่มีบทบาทและอำนาจอย่างสูงในการจัดการและดูแลอินเทอร์เน็ต ในองค์กรอย่างเช่น ICANN
แม้จะมีข่าวการเติบโตของการใช้ Firefox เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยผลการสำรวจล่าสุด ในสหรัฐอเมริกานั้นมียอดผู้ใช้เป็นร้อยละ 15 ไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อวานที่ผ่านมา ตัวเลขในเมืองไทยก็ผ่านแนวต้านแรกมาได้ นั่นคือแนวต้านร้อยละ 3
แม้ตัวเลขนี้อาจจะดูไม่หวือหวา แต่แนวโน้มก็แสดงการขยายตัวของกลุ่มผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี เพียงแค่การเติบโตในอัตรานี้ไปเรื่อยๆ เราอาจจะได้เห็นเลขสองหลักในไทยกันได้ภายในปลายปีหน้า
ตัวเลขดังกล่าวทาง Truehits ได้นับรวมบราวเซอร์ในตระกูล Gecko ทั้งหมด ซึ่งประเด็นก็ไม่ต่างกันเพราะบราวเซอร์ในตระกูลนี้ใช้ Render Engine ที่พยายามพัฒนาเข้ากับมาตรฐาน W3C กันอย่างหนักเหมือนๆ กัน
หลังจากก่อตั้งวิกิพีเดียมาจนเติบโตกลายเป็นสื่อที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของโลก Jimmy Wales ก็ลงจากตำแหน่งประธาร Board of Trustees ตามการประกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน โดยมี Florence Nibart-Devouard ขึ้นมารับตำแหน่งแทนที่ อย่างไรก็ตาม Jimmy Wales ยังคงในตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ และยังคงทำงานร่วมกับทาง Wikimedia ต่อไป
Florence ทำงานในบอร์ดของทาง Wikimedia มาตั้งแต่ปี 2004 โดยเธอเป็นชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด และเป็นผู้ที่สนับสนุนให้วิกิพีเดียมีหลากหลายภาษา
หลังจากเราพูดถึงเรื่องของการทดสอบ ACID2 กันมาพักใหญ่ๆ สำหรับ CSS2 ที่บราวเซอร์จำนวนมากเริ่มจะผ่านการทดสอบกันไปแล้ว (ยกเว้น You know who....) ตอนนี้ก็เข้าสู่ช่วงการทดสอบการรองรับ CSS3 กันแล้ว โดยทางเว็บ CSS3.info ได้ออกชุดทดสอบจำนวน 578 กรณีเพื่อทดสอบความเข้ากันได้กับ CSS3 เฉพาะในส่วนของ Selector ซึ่งจะซับซ้อนขึ้นมาก
ผลการทดสอบคือ Konqueror นั้นทำได้ดีที่สุด โดยยังมีส่วนที่รองรับไม่สมบูรณ์เพียง 6 หมวดจาก 43 หมวด ส่วนที่สองคือ Fiefox 1.5 ที่ตามมาห่างๆ ด้วยมีหมวดที่ไม่รองรับอยู่ 7 หมวด และหมวดที่มีบั๊กอีก 10 หมวด
วันนี้ Yahoo! ได้เปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด Internet Explorer 7 เวอร์ชั่นล่าสุด แต่ว่าจะเป็นเวอร์ชั่นของ Yahoo! โดยที่จะมี Yahoo! Toolbar แถมมาด้วย
ไมโครซอฟต์คาดว่าจะเปิดตัว IE7 อย่างเปิดทางการในวันนี้ แต่ในเวปไซต์ของไมโครซอฟต์ก็ยังไม่มี IE7 ตัว Final ให้ดาวน์โหลดแต่อย่างใด
ที่มา - Neowin.net
ปล. ถ้าไม่อยากได้ Yahoo! Toolbar ก็ใช้ WinRAR แตกไฟล์ ie7setup_mail.exe ที่เราโหลดมา แล้วเปิดแค่ IE7-Setup.exe ครับผม
การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจภายในโลกของเกมออนไลน์ ทำให้สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีรายได้จากเกมออนไลน์แล้ว
Dan Miller นักเศรษฐศาสตร์ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการชุดนี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ทีมงานกำลังศึกษาประเด็นทางด้านเศรษฐกิจเสมือนจริงหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาษี, การแลกเปลี่ยนไอเท็ม, ทรัพย์สินภายในเกม เขายังบอกอีกด้วยว่าปัจจุบันในเมื่อนักเล่นเกมสามารถมีทรัพย์สินและรายได้ภายในเกมได้ จึงต้องหาวิธีที่จะเก็บภาษีจากทรัพย์สินเสมือนเหล่านี้ด้วย
เกมที่ถูกสนใจที่สุดคงไม่พ้น Second Life ซึ่งผู้เล่นสามารถขายของให้กันได้โดยตรง (หน่วยเงินเป็น L$ - Linden Dollar) ถัดมาก็คือ World of Warcraft ซึ่งมีผู้เล่นจำนวนมหาศาลในสหรัฐ
เมื่อสองปีก่อนสมัยก่อตั้ง Blognone ใหม่ๆ ผมจำได้ว่าแหล่งข่าวที่ถูกอ้างอิงถึงมากๆ คือ C|Net ที่นับว่าเป็นเว็บข่าวทีแข่งแกร่งที่สุดในยุคนั้นแล้ว
แต่ในวันนี้เว็บบลอคขนาดเล็กที่กระจายตัวไปทั่วอินเทอร์เน็ต และ Social Network เช่น Digg กำลังทำให้ C|Net หมดอำนาจจากอินเทอร์เน็ตไปทีละน้อย จนการวัคจำนวนการเข้าชมครั้งล่าสุดให้ผลที่น่าตกใจ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีการเข้าชม C|Net เพียง 616 ล้านครั้งเท่านั้น เทียบกับ 1.37 พันล้านครั้งในช่วงเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
การลดลงนี้แสดงความน่าวิตกในอนาคตของบริษัทแห่งนี้ แม้จะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา
แต่เมืองไทยนี่ยังไม่ค่อยเห็นเว็บใหญ่ๆ หายไปจากตลาด เพราะโดนเว็บอื่นกลืน ยกเว้นที่ทีมงานเลิกทำกันไปเอง
อธิบายก่อนว่า Second Life เป็นเกมออนไลน์แบบชุมชนเสมือน (อธิบายสั้นๆ ก็คล้าย The Sims ออนไลน์ล่ะครับ) เกมนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมในหมู่ประชากรอินเทอร์เน็ตพอสมควร กลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้ใหญ่ๆ หน่อยต่างออกไปจากเกมออนไลน์ที่นิยมในบ้านเรา
ข่าวมีอยู่ว่า Sun Microsystems ได้ร่วมมือกับ Second Life ในการจัดกิจกรรมของ Sun ภายในโลกของ Second Life โดย Sun ให้เหตุผลว่างาน JavaOne แต่ละปีมีคนเข้าร่วมประมาณ 22,000 คนซึ่งดูแลได้ไม่ทั่วถึง จึงหวังว่าสังคมเสมือนจริงใน Second Life จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้จาวาได้ดียิ่งขึ้น
รัฐบาลสิงคโปร์สนับสนุนการประชาชนได้ใช้งานอินเทอร์เนทความเร็วสูงเป็นอย่างมาก ล่าสุด นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาประกาศว่า ภายในปี 2007 จะผลักดันให้มีบริการ Free broadband internet ให้ทั่วเกาะ
ทั้งนี้บริการนี้มีชื่อว่า Wireless@SG มี 3 ISP ร่วมให้บริการ อันได้แก่ Qmax Communication, iCell และ SingTel โดย QMax และ iCell จะเปิดบริการฟรี 2 ปี ส่วน SingTel เปิดบริการฟรี 3 ปี (แต่หลังจากผ่านระยะเวลานั้นไปแล้ว ในข่าวไม่ได้ระบุว่าจะเป็นยังไงต่อ) พื้นที่ที่ให้บริการ ก็เป็นศูนย์การค้า, ศูนย์ประชุม/จัดนิทรรศการแสดงสินค้า, สวนสาธารณะ, ย่านธุรกิจสำคัญๆ