Initial Public Offering
Xiaomi รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2018 ซึ่งตัวเลขมาจากเอกสารไฟลิ่งที่ Xiaomi รายงานประกอบการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นจีนด้วยกฎเกณฑ์ CDR มีรายได้รวม 34,400 ล้านหยวน คิดเป็นรายได้จากการขายสมาร์ทโฟน 23,200 ล้านหยวน เติบโต 88% หากเทียบกับไตรมาส 1/2017 และขาดทุนสุทธิราว 7 พันล้านหยวน
ตัวเลขนี้มีการเติบโตค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับยอดขายทั้งปี 2017 อยู่ที่ 114,600 ล้านหยวน อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงขาดทุนสะสมอยู่ และได้รายงานกลยุทธ์ระยะยาวในเอกสารไอพีโอว่า Xiaomi ตั้งเป้าจะมีกำไรสุทธิหลังหักภาษีแล้ว ในธุรกิจฮาร์ดแวร์ ไม่เกิน 5% ของยอดขาย
มีรายงานว่า Meituan Dianping สตาร์ทอัพที่เน้นให้บริการแบบ O2O (Online-to-Offline) รายใหญ่ในจีน เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกง เร็วที่สุดในเดือนกันยายนปีนี้ ซึ่งประเมินว่าบริษัทจะมีมูลค่าหลังไอพีโอราว 60,000 ล้านดอลลาร์ จากมูลค่ากิจการปัจจุบันที่อยู่ราว 30,000 ล้านดอลลาร์ หลังการเพิ่มทุนครั้งล่าสุดในปีที่แล้ว
Meituan Dianping มาเป็นข่าวครั้งล่าสุดหลายเดือนก่อน หลังเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของแอปแชร์จักรยาน Mobike ด้วยมูลค่าถึง 2,700 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาเติมเต็มบริการ O2O ทั้งหมดในเครือ
Adyen บริษัทผู้ให้บริการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินจากเนเธอร์แลนด์เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว ซึ่งทางบริษัทเตรียมระดมทุน 922-947 ล้านยูโร หรือประมาณ 1-1.1 พันล้านดอลลาร์ในวันที่ 5-12 มิถุนายนนี้ ก่อนที่จะเปิดให้เทรดหุ้นผ่าน Euronext Amsterdam ในวันที่ 13 มิถุนายนนี้ในชื่อ ADYEN
Adyen วางแผนขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 4,189,102 หุ้นราคาตั้งแต่ 220-240 ยูโรต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็น 12.7% ของหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท โดยถ้าขายหุ้นเพิ่มทุนได้หมดจะทำให้บริษัทมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 6.5-7.1 พันล้านยูโร
ธุรกิจของ Adyen คือการให้บริการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการใช้จ่ายเงินแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีคู่แข่งสำคัญคือ PayPal และ Stripe
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า Foxconn บริษัทรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ในโลก ซึ่งหลายคนรู้จักจากการเป็นบริษัทประกอบ iPhone ให้แอปเปิล จะนำบริษัทลูก Foxconn Industrial Internet เข้าตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ล่าสุดบริษัทได้ยื่นเอกสารทางการเงิน โดยมีข้อมูลน่าสนใจคือคือ 3 ยักษ์ใหญ่ไอทีจีน ต่างร่วมลงทุนในบริษัทนี้ด้วย
โดยเอกสารระบุว่า Baidu, Alibaba และ Tencent 3 ยักษ์บริษัทไอทีของจีน หรือที่หลายคนเรียกรวมว่า BAT ต่างเป็นผู้ลงทุนใน Foxconn Industrial Internet จะได้หุ้นไอพีโอไปเท่ากันรายละ 21.78 ล้านหุ้น มูลค่าราว 47 ล้านดอลลาร์ต่อบริษัท คิดอัตราส่วนเป็น 3-4% และยังมีกองทุนสำคัญอีกหลายรายที่ได้รับการจัดสรรหุ้นไอพีโอนี้ โดยหุ้นกลุ่มนี้จะถูกควบคุมห้ามขายเป็นเวลา 3 ปี
PluralSight สตาร์ทอัพสาย EdTech ที่ให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ด้านเทคโนโลยี เน้นขายลูกค้าระดับองค์กร ได้นำหุ้นของบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้วเมื่อคืนนี้ โดยมีหุ้นไอพีโอ 20.7 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 15 ดอลลาร์ ระดมทุนเพิ่มได้รวม 310 ล้านดอลลาร์ โดยราคาหุ้นในวันแรกปรับเพิ่มขึ้น 35%
ผลประกอบการของ PluralSight ในปี 2017 มีรายได้ 166.8 ล้านดอลลาร์ และขาดทุน 96.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาด
Avast บริษัทซอฟต์แวร์ความปลอดภัยชื่อดังจากสาธารณรัฐเช็ก ขายหุ้น IPO เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนแล้ว
Avast มีอายุ 30 ปีแล้ว บริษัทก่อตั้งในปี 1988 โดยสองผู้ก่อตั้งชาวเช็ก Eduard Kučera และ Pavel Baudiš จากนั้นก็ค่อยๆ เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ ช่วงปี 2000 บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องตัดสินใจเปลี่ยนโมเดลให้ใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสฟรี (หาเงินแบบ freemium) ทำให้ฐานผู้ใช้เติบโตอย่างก้าวกระโดด แถมก่อนหน้านี้เพิ่งซื้อกิจการเพื่อนร่วมชาติ AVG ในปี 2016
Ping An Healthcare and Technology ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพ Ping An Good Doctor ได้ไอพีโอเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงแล้ว ระดมทุนทั้งหมด 1.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาหุ้นไอพีโออยู่ที่ 54.8 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้น เริ่มเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยใช้รหัส 1833
วันที่ Ping An Healthcare and Technology เข้าเทรดเป็นครั้งแรกมี ราคาปิดท้ายวันอยู่ที่ 54.8 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อหุ้นเท่ากับราคาไอพีโอ ทำให้บริษัทมีมูลค่าตามราคาตลาดที่ 5.85 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง ถือเป็นหุ้นที่มีการเทรดมากสุดอันดับนสามเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่วนคู่แข่งอย่าง Alibaba Health Information Technology มีมูลค่าอยู่ที่ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง
Xiaomi ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงแล้ว ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่รายแรกที่จดทะเบียนเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงด้วยระเบียบใหม่ ที่อนุญาตให้สามารถจดทะเบียนหุ้นหลายคลาสได้ (ซึ่งเป็นสาเหตุว่าทำไม บริษัทจีนหลายแห่ง จึงเข้าตลาดหุ้นที่อเมริกา)
ในเอกสารยังเปิดเผยรายละเอียดทางการเงินของ Xiaomi เป็นครั้งแรก โดยในปี 2017 บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 67.5% จากปี 2016 อยู่ที่ 1.15 แสนล้านหยวน ขณะที่สุทธิแล้วขาดทุน 4.39 หมื่นล้านหยวน เทียบกับปี 2016 ที่ยังมีกำไร
วันนี้เป็นวันที่มีบริษัทด้านเทคโนโลยีองค์กรเข้าไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ถึงสองแห่ง คือ DocuSign และ Smartsheet
บริษัทแรกคือ DocuSign ผู้ให้บริการเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้กำหนดราคาไอพีโออยู่ที่ 29 ดอลลาร์ต่อหุ้น สามารถระดมทุนได้ทั้งหมด 629 ล้านดอลลาร์ โดยหุ้นของบริษัทได้เข้าเทรดในตลาด Nasdaq อย่างเป็นทางการแล้ว ใช้สัญลักษณ์ DOCU มีราคาเปิดอยู่ที่ 37.75 ดอลลาร์ สูงกว่าราคาไอพีโอถึง 30%
Pivotal บริษัทด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ ได้นำหุ้นบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กไปแล้วเมื่อคืน ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ ตัวย่อในการซื้อขายคือ PVTL โดยราคาหุ้นวันแรกปิดที่ 15.40 ดอลลาร์ต่อหุ้น เพิ่มขึ้นจากราคาไอพีโอ 15 ดอลลาร์ เล็กน้อย หรือประมาณ 5%
ผลิตภัณฑ์หลักของ Pivotal คือแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอพพลิเคชันบนคลาวด์ Pivotal Cloud Foundry นอกจากนี้ยังมีบริการวางแผนเชิงกลยุทธ์ Pivotal Labs ด้วย ซึ่งรายได้ของบริษัทมาจากสองส่วนนี้ใกล้เคียงกัน
ช่วงนี้สตาร์ทอัพกลุ่มหนึ่งที่มาแรงคือสายเทคโนโลยีการศึกษา หรือ EdTech โดยล่าสุด Pluralsight สตาร์ทอัพด้านนี้ก็ได้ยื่นเอกสารไฟลิ่งเพื่อเตรียมนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq แล้ว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม
ข้อมูลทางการเงินของ Pluralsight นั้นมีการเติบโตมาโดยตลอด ปี 2017 มีรายได้รวม 166.8 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2016 ที่ 131.8 ล้านดอลลาร์ และปี 2015 ที่ 108.4 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามบรรทัดสุดท้ายยังคงขาดทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ปี 2017 นั้นขาดทุนถึง 96.5 ล้านดอลลาร์
Pluralsight ให้บริการคอร์สการศึกษาออนไลน์ เน้นไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวกับข้อง อาทิ ไอที, การจัดการข้อมูล และความปลอดภัย เน้นขายลูกค้าระดับองค์กรเป็นหลัก
หนึ่งในสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากิจการสูงของโลก Xiaomi ในที่สุดก็เตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นแล้ว โดยสื่อท้องถิ่นรายงานว่าบริษัทได้เริ่มว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน และจะยื่นเอกสารไฟลิ่งเร็วที่สุดในเดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง
มูลค่ากิจการของ Xiaomi หลังไอพีโอยังไม่ชัดเจน โดยมีตัวเลขที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 65,000 จนถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 2-3 ล้านล้านบาทเลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับราคาหุ้นและปริมาณที่จะเสนอขาย
นักวิเคราะห์คาดว่า Xiaomi อาจเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ระดมทุนได้สูงสุดในการเข้าตลาดหุ้นนับตั้งแต่ Alibaba เมื่อปี 2014 ที่ระดมทุนไปกว่า 25,000 ล้านดอลลาร์
เมื่อคืนนี้ Spotify ได้นำหุ้นบริษัทเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยตัวย่อ SPOT ซึ่ง Spotify ใช้วิธีนำหุ้นตลาดแบบโดยตรง (Direct Listing) ตามที่เคยรายงานก่อนหน้านี้ มีการตัดขั้นตอนการตั้งราคาไอพีโอหุ้น ทำให้ไม่มีเงื่อนไขต่างๆ แบบหุ้นอื่นเวลาเข้าตลาดหุ้น
ถ้าอธิบายง่ายๆ ให้เห็นภาพ แทนที่ Spotify จะออกหุ้นเพิ่มทุน นำหุ้นนั้นโรดโชว์จำหน่าย Spotify กลับเลือกเอาหุ้นทั้งหมดของบริษัท เข้าไปในตลาดหุ้น โดยไม่มีการเพิ่มทุนใดๆ เลย ผลคือผู้ถือหุ้นดั้งเดิมสามารถนำหุ้นออกมาขายได้ทันที ไม่ติด Silent Period
Baidu ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจินของจีนได้นำบริการวิดีโอสตรีมมิ่ง iQiyi เข้าไอพีโอในตลาดหลักทรัพย์เป็นที่เรียบร้อย โดยระดมทุน 2.25 พันล้านดอลลาร์ ถือเป็นการระดมทุนใหญ่สุดในรอบสองปีของบริษัทไอทีจีน โดยหากนับบริษัทไอทีจีนทั้งหมดที่เข้าระดมทุนในอเมริกาแล้ว การระดมทุนครั้งนี้มีมูลค่าเป็นอันดับสองรองเพียง Alibaba ที่ระดมทุน 21.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2014
iQiyi เปิดให้บริการมา 8 ปี ซึ่งในปี 2017 นั้น Baidu เผยว่า iQiyi มีผู้ใช้บริการรวมแล้ว 487 ล้านคน มีรายได้ทั้งหมด 17.38 พันล้านหยวน สูงกว่าปีก่อนหน้า 55% และขาดทุนทั้งหมด 3.74 พันล้านหยวน การระดมทุนครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินให้ iQiyi สามารถแข่งขันกับรายใหญ่อย่าง Youku Tudou ซึ่งอยู่ภายใต้ Alibaba ได้ดียิ่งขึ้น
DocuSign บริการเซ็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-signature ได้ยื่นเอกสาร S-1 กับกลต.สหรัฐฯ เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าสู่ตลาดหุ้นแล้ว โดยคาดว่าน่าจะเริ่มเข้าตลาดในช่วงเดือนเมษายนนี้ แต่ยังไม่ได้เผยราคาไอพีโอออกมาอย่างเป็นทางการ
สำหรับข้อมูลผลประกอบการของ DocuSign ในปีที่แล้วบริษัทมีรายได้ 381.5 ล้านดอลลาร์ เพิ่มจากปีก่อนหน้า 250.5 ล้านดอลลาร์ แต่ยังขาดทุนอยู่ 115.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่ 122.6 ล้านดอลลาร์ โดยปัจจุบันมี Sigma Partners เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทที่ 12.9% ตามมาด้วย Ignition Partners ที่ 11.7% และ Frazier Technology Ventures ที่ 7.2%
Pivotal บริษัทด้านแพลตฟอร์มคลาวด์ที่แยกตัวออกมาจาก Dell EMC และ VMware ยื่นเอกสารจดทะเบียนเพื่อเตรียมขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
เมื่อคืนนี้ Dropbox เข้าขายหุ้น IPO ในตลาด Nasdaq ตามที่เคยประกาศไว้ ถือเป็นความสำเร็จของบริษัทสตาร์ตอัพชื่อดังอีกราย ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเข้าตลาดหลักทรัพย์มานานหลายปีแล้ว
หุ้นของ Dropbox (ตัวย่อ DBX) ได้รับการตอบรับอย่างดีในการขายหุ้นวันแรก ราคาสูงสุดอยู่ที่ 31 ดอลลาร์ต่อหุ้น สูงจากราคาเปิดขาย 21 ดอลลาร์ถึง 48% ทำให้บริษัทมีมูลค่าตามราคาหุ้น (market cap) ที่ 11.9 พันล้านดอลลาร์
ปีที่แล้ว Dropbox มีรายได้ 1.1 พันล้านดอลลาร์ แต่ในภาพรวมยังขาดทุน บริษัทมีผู้ใช้งานทั้งหมด 500 ล้านบัญชี และมีบัญชีแบบจ่ายเงิน 11 ล้านบัญชี
Dropbox รายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการไอพีโอเพื่อเข้าตลาดหุ้นเพิ่มเติมในเอกสาร S-1 ที่ยื่นไปแล้วก่อนหน้านี้ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาของหุ้นไอพีโอ และการขายหุ้นให้ Salesforce
หุ้น Dropbox นั้นจะใช้ตัวย่อว่า DBX ซื้อขายในตลาด Nasdaq ซึ่งหุ้นเพิ่มทุนจะออกจำหน่ายในราคา 16-18 ดอลลาร์ต่อหุ้นทั้งหมด 36 ล้านหุ้น เพื่อระดมทุน 648 ล้านดอลลาร์ ซึ่งด้วยราคาไอพีโอนี้จะทำให้ Dropbox มีมูลค่าประมาณ 7-8 พันล้านดอลลาร์ นับเป็นการไอพีโอหุ้นเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่การไอพีโอ Snap เมื่อปีที่แล้ว
Foxconn บริษัทรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ยื่นเอกสารไอพีโอเพื่อนำบริษัทลูกเข้าซื้อขายที่ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ของจีน ซึ่งเอกสารผ่านการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว
บริษัทลูกที่จะเข้าตลาดหุ้นนี้คือ Foxconn Industrial Internet ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, บริการคลาวด์ และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ซึ่ง Foxconn ระบุว่าเงินเพิ่มทุนนี้จะนำไปใช้ลงทุนในโครงการใหม่ๆ อาทิ โรงงานอัจฉริยะ, บริการคลาวด์ และผลิตภัณฑ์ 5G
Foxconn Industrial Internet จะไอพีโอเพิ่มทุนราว 27,000 ล้านหยวน หรือ 4.3 พันล้านดอลลาร์ ถือเป็นไอพีโอที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 3 ปี ของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้
Spotify บริการฟังเพลงสตรีมมิ่ง ได้เปิดเผยไฟลิ่งเพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กแล้ว ตามที่มีรายงานก่อนหน้านี้ โดยจะใช้ตัวย่อในการซื้อขายคือ SPOT คาดว่าจะสามารถเพิ่มทุนได้อีก 1 พันล้านดอลลาร์จากการเข้าตลาดหุ้น
ปัจจุบัน Spotify มีผู้ถือหุ้นหลักได้แก่ ซีอีโอ Daniel Ek (25.7%), Tencent (7.5%), กองทุน Tiger Global (6.9%) และ Sony Music (5.7%) รายได้หลักของ Spotify มาจากภูมิภาคยุโรป (Spotify มาจากสวีเดน) ตอนนี้ให้บริการแล้วใน 61 ประเทศ มีผู้ใช้งาน 159 ล้านคน และเป็นผู้ใช้งานแบบเสียเงิน 71 ล้านคน การใช้งานเฉลี่ย 25 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน ปีที่ผ่านมารายได้รวม 5 พันล้านดอลลาร์ และขาดทุน 1.46 พันล้านดอลลาร์
มีข่าวมาหลายต่อหลายครั้ง ในที่สุด Dropbox ก็เปิดเผยเอกสารไฟลิ่ง S-1 เพื่อเตรียมไอพีโอเข้าตลาดหุ้นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยหุ้น Dropbox จะทำการซื้อขายในตลาด Nasdaq ด้วยตัวย่อ DBX มีการระดมทุนราว 500 ล้านดอลลาร์ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยจำนวนหุ้นและราคาต่อหุ้น ทำให้ตอนนี้ยังไม่ทราบมูลค่ากิจการที่จะเข้าตลาดหุ้น
Huami บริษัทผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สวมใส่อิเล็กทรอนิกส์ ได้นำหุ้นบริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ด้วยตัวย่อ HMI ซึ่งเป็นการไอพีโอเพิ่มทุน 110 ล้านดอลลาร์ ในราคาหุ้นละ 11 ดอลลาร์ โดยวันแรกหุ้นปิดการซื้อขายที่ราคา 11.25 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากภาพรวมตลาดหุ้นอเมริกามีแรงขายค่อนข้างมาก
หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ Huami แต่บริษัทคือผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาและผลิตสินค้าอุปกรณ์สวมใส่ให้ Xiaomi โดยมีสินค้าเด่นอย่าง Amazfit Watch นาฬิกาอัจฉริยะของ Xiaomi และ Mi Band
Huami บอกว่าขายอุปกรณ์ไปแล้วรวมกว่า 45 ล้านชิ้น และจากการจัดอันดับของ IDC ก็ถือเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์สวมใส่รายใหญ่ที่สุดของโลก (ภายใต้แบรนด์ Xiaomi)
Netgear บริษัทอุปกรณ์เครือข่ายชื่อดัง ประกาศแผนการแยกธุรกิจกล้องวงจรปิดแบรนด์ Arlo ออกมาเป็นอีกบริษัท และนำเข้าตลาดหลักทรัพย์
บริษัทใหม่จะมีชื่อว่า Arlo Technologies โดย Netgear จะถือหุ้นประมาณ 80% ส่วนอีก 20% จะขายหุ้นต่อสาธารณะ (IPO) เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ กระบวนการ IPO น่าจะเสร็จภายในครึ่งหลังของปี 2018
Arlo เป็นแบรนด์กล้องวงจรปิดยุคใหม่ที่ควบคุมด้วยแอพ และมีฟีเจอร์ด้านซอฟต์แวร์ช่วยตรวจสอบผู้บุกรุก ช่วงหลัง Arlo ยังขยายสายผลิตภัณฑ์จากกล้อง มายังอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆ สำหรับบ้านยุคสมาร์ทโฮมด้วย เช่น ไฟ Arlo Security Light ที่ติดไว้นอกบ้านเพื่อส่องไฟดูความเคลื่อนไหวผิดปกติ
ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าเดลล์กำลังพิจารณากลยุทธ์องค์กรครั้งสำคัญ ล่าสุด CNBC อ้างแหล่งข่าวเผยว่าเดลล์อาจใช้วิธีการควบรวมกิจการแบบย้อนศร โดยการให้ VMware เข้ามาซื้อกิจการเดลล์ทั้งหมด เพื่อเป็นการนำบริษัทกลับเข้าตลาดหุ้นทางอ้อม
ปัจจุบันเดลล์ถือหุ้น VMware อยู่ 80% ซึ่งได้มาจากตอนที่เดลล์ซื้อ EMC ขณะที่ตอนนี้มี VMware เพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่อยู่ในตลาดหุ้น วิธีการให้ VMware ซื้อบริษัทแม่ที่กล่าวมา โดยออกหุ้นใหม่แลกกับหุ้นเดลล์ จึงทำให้เดลล์ทั้งบริษัทสามารถกลับเข้าตลาดหุ้นได้ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนไอพีโอแบบเดิมอีกครั้ง
มีรายงานว่า Xiaomi ได้เริ่มพูดคุยกับสถาบันการเงินหลัก อาทิ CLSA, Goldman Sachs และ Morgan Stanley เพื่อเตรียมนำบริษัทไอพีโอเข้าตลาดหุ้น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2018 นี้ โดยมูลค่ากิจการอาจสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ และน่าจะเป็นไอพีโอบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดของปีนี้
ยังไม่มีการยืนยันว่า Xiaomi จะนำหุ้นจดทะเบียนที่ตลาดหุ้นใด แต่คาดกันว่าน่าจะเป็นตลาดหุ้นฮ่องกง
ช่วงปี 2015-2016 Xiaomi มีส่วนแบ่งตลาดและยอดขายที่ลดลง แต่เมื่อปีที่แล้วบริษัทกลับมายึดตลาดได้อีกครั้ง จากการปรับกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะการบุกตลาดขนาดใหญ่อย่างอินเดียที่ได้ผลดี