ช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2019 ที่ผ่านมา ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว "บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล" (K-eSavings) ผ่านแอป K PLUS ที่สามารถเปิดบัญชีโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาธนาคาร แต่ต้องยืนยันตัวตนที่จุด K Check ID ตามสาขาธนาคารกสิกรไทย
ล่าสุด ทางธนาคารเผยว่าจะขยายฐานลูกค้าบัญชี K-eSavings ให้ถึง 2.6 ล้านบัญชี จากปัจจุบันที่มี 180,000 บัญชี และจะเพิ่มจุดยืนยันตัวตน K Check ID ให้ครอบคลุม 1 แสนจุดทั่วประเทศ โดยจะสามารถยืนยันตัวตนผ่านจุดที่ตั้งครอบคลุมทั้งเคแบงก์ เซอร์วิส, ตู้เอทีเอ็ม, สาขาธนาคาร พร้อมเตรียมเปิดให้บริการร่วมกับพันธมิตร เช่น บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์, มินิบิ๊กซี, และที่ทำการไปรษณีย์ไทย
ช่วงนี้แวดวงธนาคารบ้านเรามีความเคลื่อนไหวน่าสนใจ โดยเฉพาะฝั่งงานด้านดิจิทัล-นวัตกรรม ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยเพิ่งประกาศตั้งบริษัทลูกอีก 2 แห่งคือ KAITAI Technology ที่ประเทศจีน และ KASIKORN X ที่เน้นสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นอกเหนือจากที่กลุ่มบริษัท KBTG ทำอยู่
Blognone มีโอกาสพูดคุยกับ “คุณกระทิง” เรืองโรจน์ พูนผล ประธานของ KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ประกาศตัวว่าจะไปนั่งเป็นประธานของ KAITAI Technology ในประเทศจีนด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ถึงความจำเป็นของธนาคารกสิกรไทยในการตั้งบริษัทใหม่เพิ่มอีก
นายเรืองโรจน์ พูนผล หรือ "กระทิง" ประธานของกสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ประกาศตั้งบริษัทลูก Kasikorn X หรือตัวย่อ KX
Kasikorn X มีภารกิจสร้าง Fintech Unicorn รายแรกของประเทศไทยให้ได้ โดยใช้โมเดลธุรกิจที่โตแบบก้าวกระโดด (S-Curve) เพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับเครือธนาคารกสิกรไทย
KX จะมีการดำเนินงานที่เป็นอิสระจากธนาคารกสิกรไทย และ KBTG โดยมีวัฒนธรรมองค์กรและรูปแบบการจ่ายผลตอบแทนพนักงานเหมือนกับสตาร์ตอัพ
นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศในงานแถลงวิสัยทัศน์ประจำปี 2020 ว่าธนาคารกสิกรไทยกำลังอยู่ระหว่างขอจัดตั้ง บริษัท ไคไต้ เทคโนโลยี จำกัด (KAITAI Technology Company Limited) ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน
เป้าหมายของ KAITAI Technology คือพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนธุรกิจของธนาคารกสิกรไทยในประเทศจีน และนำนวัตกรรมกลับมาใช้กับธนาคารกสิกรไทยในประเทศไทยด้วย
เหตุผลที่เลือกเมืองเซินเจิ้นเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นแหล่งศูนย์รวมเทคโนโลยีของประเทศจีน ตามวิสัยทัศน์ Greater Bay Area ของรัฐบาลจีนที่ต้องการผลักดันพื้นที่ตรงนี้เป็นซิลิคอนวัลเลย์แห่งเอเชีย
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ประกาศข้อมูลการทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคารกสิกรไทย ว่าลดลงอย่างชัดเจนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (เทียบตัวเลขปี 2017 กับ 2019)
ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกัน ธุรกรรมผ่านแอพ K PLUS เพิ่มจาก 2,900 ล้านครั้งในปี 2017 เพิ่มเป็น 8,500 ล้านครั้งในปี 2019 อัตราการเติบโตของธุรกรรมจากสาขาไปยังช่องทางดิจิทัลโตขึ้น 198%
ก่อนหน้านี้แอป K PLUS ของธนาคารกสิกรไทยบนแอนดรอยด์จะขอสิทธิการเข้าถึง (permission) ที่ดูไม่เป็นจำเป็นอย่างสิทธิ Phone ที่จำเป็นต้องให้สิทธิไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเข้าใช้งานแอปได้ แม้กระทั่งให้สิทธิไปก่อนแล้วมาปิดในภายหลังก็ไม่ได้เช่นกัน
ล่าสุดผมค้นพบว่าเราสามารถปิดการเข้าถึงสิทธิของแอป K PLUS ทั้งหมดโดยที่ยังคงสามารถใช้งานตัวแอปได้ตามปกติแล้ว ขณะที่คู่แข่งอย่าง SCB สามารถทำได้มานานแล้ว
ทั้งนี้สิทธิ Phone บนแอนดรอยด์เป็นการอนุญาตให้แอปเข้าถึงความสามารถในการโทรเข้าโทรออก, เขียนและอ่านบันทึกการโทรเข้าออก (call log) ไปจนถึงเลข IMEI ของเครื่อง
ธนาคารกสิกรไทยออกมาเตือนผู้ใช้งาน KPLUS ให้อัพเดตระบบปฎิบัติการเป็นเวอร์ชันล่าสุด เป็นระบบปฏิบัติการ iOS ตั้งแต่ 10.0 ขึ้นไป และ Android ตั้งแต่ 6.0 ขึ้นไป
ซึ่งผู้ใช้ KPLUS ที่ใช้อุปกรณ์ iOS ต่ำกว่า 10.0 ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2563 เป็นต้นไป จะยังสามารถใช้งานต่อไปได้ แต่จะไม่สามารถอัปเดตเวอร์ชัน K PLUS ใหม่ได้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ที่จะออกมาในอนาคตได้
ส่วนคนที่ใช้ K PLUS อุปกรณ์ Android ที่ต่ำกว่า 6.0 ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2563 เป็นต้นไปจะไม่สามารถใช้งาน K PLUS ได้เลย
KBTG จัดงาน Internal Hackathon แข่งขันเฟ้นหามือดีเฉพาะคนในองค์กรครั้งใหญ่ครั้งแรก เพื่อส่งเสริม “Open Innovation Culture” ให้พนักงานจากทุกแผนกทั้งองค์กรได้มีร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่ธนาคาร ทาง Blognone มีโอกาสได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ และพบว่าแม้จะเป็นการแข่งขันภายใน ความตื่นเต้นของการแข่งขันไม่แพ้ hackathon ภายนอก ที่สำคัญยังได้ไอเดียสดใหม่ จากคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ในระยะหลังมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ใน KBTG
งานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ Eat your own dog food, Eat your own APIs เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระในการสร้าง Innovation โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทางธนาคารได้มีการพัฒนาภายใน (Deep Tech อาทิ Facial Recognition และ OCR) ผ่านรูปแบบ API Platform และในขณะเดียวกันก็เป็นการทดสอบเทคโนโลยีกันในองค์กร เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนนำออกไปใช้จริง
KBTG หรือ KASIKORN Business-Technology Group ประกาศความร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC ในสังกัด สวทช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดตัวโครงการ Thai NLP ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีประมวลผลภาษาธรรมชาติของภาษาไทย โดยเปิดเป็น Open API และตั้งเป้าสร้างและพัฒนาระบบนิเวศน์ ไปจนถึงชุมชนของ NLP ภาษาไทยขึ้นมาเอง โดยมีคุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทยมาเป็นประธานในการเปิดตัว NLP
จบลงไปแล้วสำหรับงาน TechJam 2019 โดย KBTG กับเวทีการแข่งขันเฟ้นหาตัวจริงด้านเทคโนโลยีและการออกแบบ ปีนี้เป็นการเฟ้าหาผู้รู้จริงทั้งด้าน Coding, Data และ Design ผู้ชนะได้เงินรางวัล 1 แสนบาทพร้อมบินดูงานเทคโนโลยีระดับโลกที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ และยังมีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ KBTG ในการร่วมสร้างอนาคตให้ขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิทัล
ธนาคารเป็นภาคส่วนที่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวต่อ Digital Transformation มากที่สุด ในกรณีของธนาคารกสิกรไทยถึงกับตั้ง KBTG (Kasikorn Business Technology Group) ขึ้นมาเป็นกลุ่มบริษัทเพื่อสนับสนุนงานด้านเทคโนโลยีให้กับธนาคาร
บทบาทของ KBTG ไม่ได้มีเพียงดูแลและพัฒนาเทคโนโลยีให้กับธนาคารเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำทั้งในด้านวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ให้กับธนาคารกสิกรและนำพาธนาคารไปสู่โมเดลทางธุรกิจใหม่ ๆ ผ่านเทคโนโลยีด้วย
Kasikorn LINE เปิดตัวแบรนด์ LINE BK นำโดย ธนา โพธิกำจร อดีต Head of Digital Banking ของ SCB ผู้พัฒนา SCB Easy มานำทัพเป็นซีอีโอ
Kasikorn LINE เป็นการก่อตั้งระหว่างบริษัทร่วมทุนของธนาคารกสิกรไทย ลงทุนผ่านบริษัท กสิกร วิชั่น และ LINE Corp. ลงทุนผ่านบริษัท LINE Financial เป้าหมายคือผลักดันโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่และบริการสินเชื่อส่วนบุคคลผ่านช่องทางดิจิทัล
ทางบริษัทระบุว่าบริการใหม่ภายใต้ LINE BK จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2020
จากข่าว K PLUS รองรับการจ่ายเงินผ่าน QR ในญี่ปุ่นและสิงคโปร์เป็นเงินบาทแล้ว เผอิญผมอยู่ที่สิงคโปร์พอดี เลยถือโอกาสไปลองจ่ายของจริงเลยว่าเป็นอย่างไร
การจ่ายเงินของ K PLUS ทำผ่านเครือข่ายจ่ายเงิน Via ซึ่งผลักดันโดย Singtel ร่วมกับพันธมิตรในหลายประเทศ พันธมิตรในไทยคือ AIS, Rabbit Line Pay, KBank และ SCB
ก่อนหน้านี้ AIS (ภายใต้พันธมิตร Rabbit Line Pay) รองรับการจ่ายเงินด้วย Via ไปแล้ว แต่ต้องดาวน์โหลดแอพ Global Pay มาใช้งาน (อ่านรีวิวการใช้โดยคุณ geekjuggler) แต่กรณีของ KBank สะดวกกว่าตรงที่ใช้จากแอพ K PLUS ได้โดยไม่ต้องโหลดแอพเพิ่ม
K PLUS ปล่อยอัพเดตเวอร์ชันล่าสุด ทำให้รองรับการจ่ายเงินผ่าน QR Code ในสิงคโปร์และญี่ปุ่นแล้ว ผ่านเครือข่าย VIA และ Smart Code ตามลำดับ โดยจะแสดงอัตราแลกเปลี่ยน (น่าจะวันที่ทำรายการ) ให้เลยทันทีก่อนชำระเงิน ไม่มีค่าธรรมเนียม ไม่มีขั้นต่ำ และวงเงินสูงสุด 100,000 บาทต่อวัน
ร้านค้าที่รับชำระจะต้องมีสัญลักษณ์ K PLUS หรือ VIA เครือข่ายเดียวกับที่ AIS ไปเป็นพาร์ทเนอร์ ในสิงคโปร์ เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นที่จะต้องมีสัญลักษณื Smart Code (เป็นตัว S สีน้ำตาลพิกเซลแตก ๆ)
ที่มา - Kasikorn Bank
ธนากสิกรไทยประกาศความร่วมมือกับ YouTrip สตาร์ทอัพฟินเทคจากสิงคโปร์เปิดตัวกระเป๋าเงินดิจิทัล (wallet) สำหรับโอนและแลกเงินต่างประเทศ มาพร้อมบัตรคอนแทคเลสของมาสเตอร์การ์ดให้ฟรี ลักษณะเดียวกับบัตร Planet SCB โดยไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ เลยไม่ว่าจะเปิดบัตร ค่าธรรมเนียมรายปีหรือค่าธรรมเนียมอัตราแลกเปลี่ยน 2.5%
YouTrip รองรับสกุลเงินทั้งหมด 150 สกุลเงินทั่วโลก โดยสามารถแลกเงินเอาไว้ในกระเป๋าเงินล่วงหน้าได้ 9 สกุลเงินได้แก่ JPY, SGD, HKD, USD, EUR, GBP, AUD, CHF, CAD (ถ้าไม่ได้แลกล่วงหน้าหรือเป็นสกุลเงินที่ไม่ใช่ 9 สกุลเงินนี้ YouTrip จะตัดจากเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนแบบเรียลไทม์) แสดงรายการใช้จ่ายผ่านแอปและสั่งล็อกบัตรได้ผ่านแอป
ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่น YouTrip พร้อมกับบัตร Mastercard ในการใช้จ่ายได้มากว่า 150 สกุลเงินทั่วโลกโดยไม่มีค่าธรรมเนียม 2.5% ในการใช้จ่ายเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ไม่มีค่าธรรมเนียมสมัครบัตร และค่าธรรมเนียมรายปี และฟรีค่าธรรมเนียมกดเอทีเอ็มต่างประเทศจนถึง 31 มกราคม 2563
KBTG ประกาศจัดงาน TechJam 2019 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้ว โดยธีมในปีนี้คือ Deep Jam ที่โจทย์และการแข่งขันจะเน้นการแก้ปัญหา แก้โจทย์ วัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันแบบเข้มข้นมากขึ้นและลดความเป็นเกมโชว์อย่างปีที่แล้วลง
ธนาคารกสิกรไทยเปิดตัวเครื่องแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอัตโนมัติ (Automated Currency Exchange Machine) ที่เปิดให้ผู้เดินทางแลกเงินได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชั่วโมง
ตู้รองรับแลกเงินบาทเป็น 3 สกุล คือ ดอลลาร์สหรัฐฯ, ยูโร, และเยน ส่วนเงินต่างชาติสามารถแลกเป็นบาทได้ 12 สกุล ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐฯ, ยูโร, ปอนด์, ดอลลาร์ออสเตรเลีย, ดอลลาร์สิงคโปร์, หยวน, ดอลลาร์ฮ่องกง, วอนเกาหลีใต้, ดอลลาร์ไต้หวัน, เยน, ริงกิต, และฟรังสวิสเซอร์แลนด์ ทางธนาคารระบุว่าเรทแลกนั้นถูกกว่าธนาคารหรือร้านแลกเงิน
ตอนนี้เปิดให้บริการที่สนามบินสุวรรณภูมิ ชั้น B1 บริเวณสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ สามารถแลกได้ครั้งละ 30,000 บาท และไม่เกิน 99,999 บาทต่อคนต่อวัน
ในงาน Blognone Tomorrow 2019 มีเซคชั่นที่พูดถึง DesignOps (Design Operations) ซึ่งเป็นคำที่เราจะได้ยินกันบ่อยขึ้นในวงการเทคโนโลยี ผู้ที่มาให้ความรู้คือ คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล ดีไซเนอร์จาก KBTG ผู้ผลักดันกระบวนการทำงาน DesignOps เข้ามาปรับใช้ใน KBTG ในหัวข้อ Keeping Up with the Dev Cycle by Way of Agile Design operation
คำนิยามของ DesignOps คือกระบวนการ, ทีม, แผนก ที่เชื่อมการทำงานระหว่างทีมดีไซเนอร์ และทีมนักพัฒนาให้สามารถทำงานด้วยกันอย่างกลมกลืน มีกระบวนการที่ชัดเจน และลดขั้นตอนยุ่งยากรวมถึงความผิดพลาดต่างๆ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณสรรพวิชญ์ เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการ DesignOps อย่างละเอียด รวมถึงประสบการณ์ของ KBTG หลังนำกระบวนการ DesignOps มาปรับใช้แล้ว เกิดผลอย่างไรบ้าง
ธนาคารกสิกรเปิดตัวบัตรเดบิต JOURNEY สำหรับผู้ที่ใช้จ่ายต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีจุดเด่นที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ถูกกว่าเรตอื่น เช่น เงินดอลลาร์สหรัฐฯ วันนี้อยู่ที่ 30.38006 บาทเท่านั้น เทียบกับร้านแลกเงินที่ 30.55 บาท
ก่อนหน้านี้บัตรเดบิตสำหรับใช้จ่ายต่างประเทศ เช่น บัตร Krungthai Travel Card และ Planet SCB (ของ SCB ไม่แลกล่วงหน้าได้ แต่เรตจะแพงขึ้นเล็กน้อย) นั้นต้องแลกเงินไว้ล่วงหน้าผ่านแอป หรือบัตร TMB All Free นั้นแม้จะไม่ต้องแลกล่วงหน้าแต่ก็แพงกว่าร้านแลกเงินเล็กน้อย
ธนาคารกสิกรไทยประกาศความร่วมมือกับ Shopee ในการนำเสนอโซลูชันการเงินให้กับเจ้าของร้านค้าบน Shopee ให้สามารถกู้เงินผ่านธนาคารกสิกร (MADFUND) ได้ง่าย ๆ ไม่ต้องยื่นเอกสาร ไม่ต้องมีหลักประกัน แค่คัดกรองจากข้อมูลรายได้และพฤติกรรมการขายอื่น ๆ เท่านั้น
ผู้ค้าสามารถสมัครขอเงินกู้ได้ผ่าน K PLUS วงเงินสูงสุด 600,000 บาท รวมถึงจะมีตัวช่วยจากธนาคารในแง่การทำธุรกิจด้วย เช่น คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการ หลักสูตร พื้นที่ให้คำปรึกษา และอบรม สัมมนา ดีลส่วนลดพิเศษที่จะช่วยให้การทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น เป็นต้น
จากความร่วมมือนี้นอกจากฝั่งร้านค้าแล้ว ผู้ใช้งานที่ซื้อของผ่าน Shopee ยังได้รับโปรโมชันพิเศษหากชำระผ่านบัตรเครดิตกสิกรด้วย
ที่มา - จดหมายประชาสัมพันธ์
สรุปความจากการบรรยายหัวข้อ MLOps: Productionizing Machine Learning at Scale โดยคุณทัศพล อธิอภิญญา Advanced Machine Learning Engineer จากบริษัท กสิกร บิสซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG
คุณทัศพลเคยเป็นวิศวกรคนไทยในสหรัฐอเมริกามาก่อน เคยทำงานกับ HortonWorks, VMware และร่วมทีม Siri ใน Apple ที่สำนักงานใหญ่ (อ่านบทสัมภาษณ์คุณทัศพล สมัยทำงานที่ HortonWorks)
จากปัญหาที่ Huawei Mate 30 ไม่ได้มาพร้อม GMS ทำให้ปัญหาที่เกิดไม่ได้มีเพียงการไม่มีแอปสำคัญ ๆ จาก Google ใช้เท่านั้น แอปสำคัญอื่น ๆ อย่างแอปธนาคารที่หาไม่ได้จาก AppGallery ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคของการใช้ Mate 30
ล่าสุดธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารแรกที่ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า สามารถดาวน์โหลด K PLUS ได้จาก AppGallery ของ Huawei และติดตั้งใน Mate 30 ได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
จากข่าวเก่าเมื่อปลายปี 2017 ธนาคารกสิกรไทยเปิดทดสอบแอพ K PLUS Beacon ผู้พิการทางสายตาทำธุรกรรมได้ผ่านมือถือ แต่ล่าสุดทางธนาคารก็ได้ประกาศยุติการให้บริการ K PLUS Beacon แล้ว
ธนาคารขอแจ้งยกเลิกบริการ K PLUS Beacon (ธนาคารบนมือถือกสิกรไทยสำหรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น) ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป โดยท่านสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน K PLUS โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ธนาคารกสิกรไทยต้องขออภัยเป็นอย่างสูงในความไม่สะดวกในครั้งนี้
เมื่อคืนที่ผ่านมาทางธนาคารกสิกรไทยอัพเดตแอป K PLUS เป็นรุ่น 5.3.2 ที่รองรับ Android 10 ได้ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ตัวแอปมีปัญหาเล็กน้อยนั่นคือหากติดตั้งไว้ก่อนอัพเดตแอนดรอยด์จะไม่สามารถใช้งานได้ แม้แอปจะไม่แครชก็ตาม
ทางแก้คือต้องสั่ง Clear storage บนแอนดรอยด์ และกลับเข้าไปเซ็ตอัพแอปใหม่อีกครั้ง โดยการตั้งค่าของตัวแอปจะหายไป
การเซ็ตอัพแอปใหม่ต้องการหมายเลขบัญชี, หมายเลขบัตรประชาชน, และ PIN ของแอป K PLUS