LINE ประเทศญี่ปุ่นเพิ่มฟีเจอร์การแจ้งเตือนภัยพิบัติโดยใช้ข้อมูลข่าวจาก Yahoo! ผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าสถานที่ที่อยากให้ระบบแจ้งเตือนได้ เช่นเมืองที่พ่อแม่อยู่อาศัย สำนักงาน ผู้ใช้งานต้องสมัครรับบริการแจ้งเตือนผ่าน Disaster Prevention Bulletin
ข่าวความเคลื่อนไหวบริษัทเทคโนโลยีฝั่งเอเชียในช่วงนี้คือ การควบรวมระหว่าง LINE กับ Yahoo! Japan กลายเป็นบริษัทใหม่ Z Holdings ที่เพิ่งเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม (ล่าช้ากว่าแผนเดิม 6 เดือนเพราะกระบวนการอนุมัติที่ล่าช้าจาก COVID)
หลังประกาศข่าว ผู้บริหารของ Z Holdings ได้ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times เผยแผนการในอนาคตดังนี้
Z Holdings บริษัทโฮลดิ้งเจ้าของ Yahoo! Japan และ LINE Corporation แถลงควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์แล้วในวันนี้ หลังจากประกาศดีลนี้เมื่อช่วงปลายปี 2019
ผลจากการควบรวมนี้ทำให้บริษัทใหม่ Z Holdings มีบริการบนอินเทอร์เน็ตมากกว่า 200 บริการ มีจำนวนผู้ใช้งานรวมมากกว่า 300 ล้านคน และขึ้นมาเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่แห่งหนึ่งของญี่ปุ่น
ธุรกิจหลักของ Yahoo! Japan และ LINE ทั้งบริการเสิร์ช, เว็บพอร์ทัล, โฆษณา และแอปแชต จะยังคงให้บริการต่อไปตามเดิม โดยเพิ่มการโฟกัสใน 4 ธุรกิจใหม่ได้แก่
LINE เวอร์ชั่นใหม่ 10.21.0 อัพเดตให้สามารถใช้เป็น Widget บน iOS 14 ได้แล้ว ปักหมุดแชทหรือกลุ่มแชทที่คุยบ่อยได้บน Widget โดย Widget ของ LINE มีสองรูปแบบ คือแบบเล็ก แสดงห้องแชทห้องเดียว แบบใหญ่ แสดงห้องแชท 4 ห้อง หรือเลือกให้แสดงห้องแชทสองห้องได้ โดยจะมีไอคอนโทรออกและพิมพ์แชทอยู่บน Widget ด้วย
ทีมปัญญาประดิษฐ์ CLOVA ของ LINE ประกาศเปิดฟอนต์ลายมือให้ผู้ใช้เปลี่ยนฟอนต์หน้าจอ LINE ไปใช้งานได้ โดยฟอนต์นี้มีความพิเศษคือมันสร้างขึ้นมาจากปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพ ที่ใช้ตัวอักษรลายมือจริงๆ เพียง 250 ตัวอักษรเท่านั้น แต่สามารถออกแบบฟอนต์รวมกว่า 10,000 ตัวอักษรออกมาได้
ทีม CLOVA ใช้โมเดลแบบ pix2pix สร้างฟอนต์ลายมือเฉพาะของผู้ใช้ โดยทีมงานระบุว่าการใช้งานจริงอาจจะใช้ในภาพยนต์, โฆษณา, หรือโลโก้บริษัท เพื่อให้ความรู้สึกอบอุ่นจากการใช้ลายมือแทนตัวพิมพ์ นอกจากนี้แล้วทาง CLOVA ยังใช้โมเดลสร้างฟอนต์ไปสร้างข้อความเพื่อฝึกปัญญาประดิษฐ์ในการทำ OCR อีกต่อหนึ่ง เพื่อปรับปรุงความแม่นยำของบริการให้อ่านลายมือได้ดีขึ้น
วันนี้ผู้ใช้งานพบว่าแอปพลิเคชั่น LINE ไม่สามารถใช้งานได้ ทั้งมือถือและ PC ส่งข้อความไม่ได้โดยระบบแสดงข้อความว่า Unable to send messages เมื่อดูจากเว็บไซต์ DownDetector พบว่ามีจุดแดงที่ประเทศญี่ปุ่น, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และได้รับผลกระทบบ้างที่สหรัฐฯ ล่าสุดกลับมาใช้งานได้แล้ว
การล่มครั้งนี้เริ่มมีการรายงานตั้งแต่ช่วงเที่ยงครึ่งที่ผ่านมา รวมระยะเวลาล่มประมาณ 20-30 นาที
LINE รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 จำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือนเฉพาะ 4 ประเทศหลัก (MAUs) เพิ่มขึ้นเป็น 167 ล้านบัญชี โดยเป็นผู้ใช้ในญี่ปุ่น 86 ล้านบัญชี และในไทย 47 ล้านบัญชี มีอัตราส่วน DAU/MAU ที่ 80% สะท้อนพฤติกรรมที่มีผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวันสูง
รายได้รวมเพิ่มขึ้น 12.4% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 62,894 ล้านเยน รายได้จากนอกประเทศญี่ปุ่นคิดเป็น 27% ของรายได้รวม รายได้จากธุรกิจโฆษณาเพิ่มขึ้น 16.3% เป็น 35,551 ล้านเยน คอนเทนต์เพิ่มขึ้น 0.5% เป็น 17,961 ล้านเยน (+5.3%)
ส่วนธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์เพิ่มขึ้น 27.8% เป็น 9,479 ล้านเยน โดย LINE Pay มีผู้ใช้งาน 5.64 ล้านบัญชี เฉพาะญี่ปุ่น 2.63 ล้านบัญชี มูลค่าการใช้จ่ายผ่านระบบ (GMV) 4.59 แสนล้านเยน
LINE BK บริการการเงินที่ร่วมทุนระหว่าง LINE และธนาคารกสิกรไทย ตั้งแต่ปลายปี 2018 เปิดตัวแล้ว
ชื่อ LINE BK มาจากคำว่า LINE Bank แต่เนื่องจากว่าไม่ได้เป็นธนาคารจริงๆ (บริการทั้งหมดอยู่บนไลเซนส์ธนาคารของธนาคารกสิกรไทย) จึงใช้คำว่า LINE BK
จุดเด่นของ LINE BK คือการผสานแพลตฟอร์มแชทของ LINE ที่มีผู้ใช้ 47 ล้านคน กับฐานลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยที่มี 16 ล้านคน ทำให้เราสามารถทำธุรกรรมการเงิน เช่น เปิดบัญชี โอนเงิน ได้จากหน้าแชทโดยตรง แต่ LINE BK ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดด้านการใช้งานออฟไลน์ เพราะสามารถถอนเงินได้ตู้ ATM ของธนาคารกสิกรไทย และใช้เครือข่ายสาขา-ตู้ ATM ของธนาคารกสิกรได้ด้วย
LINE ประเทศญี่ปุ่น เผยในงาน LINE DAY 2020 ว่า LINE Pay จะสามารถรองรับ Apple Pay ได้ ภายในสิ้นปีนี้ เท่ากับว่าผู้ใช้งาน iPhone หรือ Apple Watch สามารถแตะจ่ายในจุดรับจ่ายที่รองรับการจ่ายผ่าน LINE Pay ได้
ปัจจุบัน LINE ในประเทศญี่ปุ่นสามารถรองรับ Google Pay, QR Code และ Visa LINE Pay จนถึงตอนนี้มีร้านค้าในญี่ปุ่นที่รับจ่าย LINE Pay มากกว่า 3.3 ล้านแห่ง และยังมีร้านค้าสมาชิกทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศที่รับจ่าย Visa LINE Pay ได้กว่า 61 ล้านแห่ง เป้าหมายของ LINE คือสร้างช่องทางรับจ่ายทั่วโลก 90 ล้านแห่ง
ทุกวันนี้ผู้ใช้บริการ LINEMAN ต้องโหลดแอปพลิเคชั่นแยกเพิ่มต่างหากเพื่อใช้สั่งอาหาร ล่าสุด LINEMAN อัพเดตใหม่ เพิ่มมินิแอปเข้าไปในแอป LINE หลัก ให้ใช้สั่งอาหารได้ไม่ต้องโหลดแอปเพิ่ม
LINE MAN MINI App จะอยู่ในหน้า Hone ของ LINE เห็นเป็นไอคอน LINEMAN สำหรับผู้ใช้งานที่เคยใช้แอป LINEMAN และมีประวัติร้านอาหารที่เคยสั่ง ข้อมูลก็จะซิงค์กันด้วยเวลาใช้งาน LINE MAN MINI App ยังรองรับเฉพาะการจ่ายด้วยเงินสด
บริการแชทบอทขุนทองของธนาคารกสิกรไทยประกาศเพิ่มฟีเจอร์หารบิลรายเดือน นับเป็นฟีเจอร์ที่คล้ายกับแอป PartyHaan (ปาร์ตี้หาร) ของทางฝั่ง SCB
ฟีเจอร์นี้จะเปิดให้สมาชิกจับกลุ่มหารค่าบริการรายเดือนร่วมกัน โดยติดตามว่าใครจ่ายเงินในเดือนไหนแล้วบ้าง หากขาดจ่ายไปขุนทองจะทบยอดเดือนต่อไปอัตโนมัติ กระบวนการจ่ายเงินไม่จำเป็นต้องใช้ธนาคารกสิกรไทยแต่ใช้แอปธนาคารใดก็ได้ สามารถส่งสลิปจากแอปเพื่อให้ขุนทองยืนยันการจ่ายเงินอัตโนมัติ
ทางธนาคารกสิกรไทยระบุว่าตอนนี้มีผู้ใช้ขุนทองแล้วกว่าสองแสนราย และคาดว่าจะมีผู้ใช้รวมเกินหกแสนรายภายในสิ้นปีนี้
LINE รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 รายได้รวมเพิ่มขึ้น 5.3% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 58,378 ล้านเยน แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจโฆษณา 31,862 ล้านเยน (+3.9%) คอนเทนต์ 18,664 ล้านเยน (+5.3%) และธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์ 7,852 ล้านเยน (+11.7%)
จำนวนผู้ใช้งานใน 4 ประเทศตลาดหลักมี 166 ล้านบัญชี เป็นผู้ใช้งานในญี่ปุ่น 84 ล้านบัญชี ส่วนไต้หวัน, ไทย, อินโดนีเซีย เป็น 21, 47 และ 13 ล้านบัญชีตามลำดับ
ที่มา: LINE
LINE เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ Effect Stickers ผู้ใช้งานสร้างแบคกราวด์แชทเคลื่อนไหวได้แบบแอนิเมชั่น โดยที่เราสามารถกำหนดคำได้เอง ช่วยให้การส่งสติกเกอร์ในแชทมีชีวิตชีวาและสนุกสนานยิ่งขึ้น สามารถดูตัวอย่างได้ที่วิดีโอสั้นด้านล่าง
ผู้ใช้งานสามารถดูพรีวิว Effect Stickers ก่อนส่งได้ โดยเมื่อทำการส่งแล้วง ตัว Effect Stickers จะอยู่หลังแชทเลย ไม่บังข้อความแชท Effect Stickers สามารถใช้งานได้ทั้งมือถือ iOS และแอนดรอยด์ โดยต้องเป็น LINE เวอร์ชั่น 10.11.0 รวมถึงแอปบนเดสก์ทอป
LINE เปลี่ยนแปลงหน้าตาการใช้งานใหม่ในแท็บหน้าหลัก ยกเลิกแท็บย่อย เน้นบริการต่างๆ ของ LINE ให้เห็นชัดมากขึ้น
ในหน้าหลัก ได้นำบริการต่างๆ มาจัดเรียงใหม่ ยกเลิกแท็ปย่อย และจัดกลุ่มฟีเจอร์การเข้าใช้งานบริการต่างๆ ขึ้นมาแสดงให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นได้ในหน้าเดียว เพียงแค่เลื่อนหน้าจอขึ้นลง โดยด้านบนสุดของหน้าหลักยังคงเป็นพื้นที่สำหรับการจัดการโปรไฟล์ส่วนตัวและเข้า LINE Keep ที่เก็บไฟล์และข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้เหมือนเดิม
เมนูในหน้าหลัก ประกอบด้วย
LINE ประเทศไทยร่วมกับ Tellscore เอเจนซี่สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ในประเทศไทย เปิดตัว Influencer Commerce หรือแพลตฟอร์มการตลาดใหม่ เป็นสื่อกลางให้แบรนด์เจออินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะกับแบรนด์ตัวเอง ซึ่งจะให้บริการภายใต้ LINE IDOL ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
LINE IDOL คือช่องทางสื่อสารของดารา ศิลปิน และอินฟลูเอนเซอร์ ได้ใกล้ชิดกับแฟนคลับมากขึ้นด้วยการ Add Friend ผ่าน LINE Official Account ซึ่งจากการร่วมมือกับ Tellscore จะสามารถขยายขอบเขตของ LINE IDOL ให้ครอบคลุมอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นและจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่คนดังที่มี ผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไป จนถึงระดับ เฉพาะกลุ่มที่มีผู้ติดตาม 500 คนขึ้นไป
เวลานัดทานข้าวกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ ๆ แล้วต้องหาคนจัดการหลังทานเสร็จ เพื่อหารเงินค่าข้าว คิดเงินรายหัว พิจารณาว่าใครจ่ายเท่าไหร่ ใครกินมากกินน้อย จนบางครั้งเครื่องคิดเลขอาจไม่พอใช้ หลายคนต้องหันไปพึ่ง Excel เพื่อแก้ปัญหานี้ไปเลย
ปัญหานี้กำลังจะหมดไปด้วยขุนทอง (KhunThong) แชทบอทจาก KBTG ใน LINE ที่ช่วยเป็นเหรัญญิกให้คนทั้งกลุ่ม ทำได้ทั้งหารค่าข้าวแบบหารเท่าและหารไม่เท่า เช็คให้ว่าใครยังไม่จ่าย แล้วคอยตามทวงให้เสร็จสรรพ
ใครที่กังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ตัวแชทบอทการันตีว่าไม่อ่านแชท ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่วนบุคคล (PDPA) และเป็นบริการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
LINE เพิ่มฟีเจอร์ Silent messaging สามารถเลือกส่งข้อความโดยไม่ขึ้นแจ้งเตือนที่ฝั่งผู้รับ แม้ว่าผู้รับจะเปิดการแจ้งเตือนของแชทดังกล่าวไว้
Silent messaging สามารถใช้ได้กับข้อความ สติกเกอร์ รูปภาพ และวิดีโอ ใช้ได้ทั้งในแชทส่วนตัวหรือแบบกลุ่ม โดยวิธีการส่งจะต้องแตะค้างที่ปุ่มส่ง จากนั้นจะมี pop-up ขึ้นให้เลือก Send silently
สามารถเปิดใช้ได้ใน Settings > LINE Labs ทั้งใน Android และ iOS
หลังจากทาง LINE ได้เปิดฟีเจอร์ Explore และผู้ใช้จำนวนมากพบว่าส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ที่เปิดขึ้นมาด้วยคือการแสดงการติดตามบัญชีทางการ (official account) ทั้งหมด จนหลายคนกังวลกับความเป็นส่วนตัวในการใช้ LINE เมื่อวานนี้ทาง LINE ก็ออกมาประกาศว่าจะปิดฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้ทุกคนภายในวันนี้
ผู้ใช้ยังคงปิดฟีเจอร์ได้ด้วยตัวเอง แต่หากยังไม่ปิด หลังจากวันนี้ไปเราก็น่าจะกดดูการติดตามของผู้ใช้อื่นไม่ได้แล้ว
ช่วงเวลาที่เปิดฟีเจอร์ Explore นี้มีหลายคนรายงานว่าฟีเจอร์นี้เปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้นเฉพาะผู้ใช้ในประเทศไทยเท่านั้น โดยผู้ใช้ประเทศอื่นๆ อย่างญี่ปุ่นกลับเป็นเพียงเมนูให้เลือกเปิดเฉยๆ เท่านั้น ไม่ได้เปิดเป็นค่าเริ่มต้นแต่อย่างใด
ในระยะหลัง LINE เพิ่มฟังก์ชันและบริการภายในแอปเข้ามามากมาย ("เป็นทุกอย่างนอกจากแอปแชทที่ดี") ล่าสุด LINE อัพเดตให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งแท็บหน้าโฮม บสามารถเลือกฟังก์ชันหรือบริการที่ใช้งานประจำ ขึ้นมาไว้ที่บริเวณพื้นที่ใต้โปรไฟล์ผู้ใช้งานแล้ว
เดิมแถบใต้โปรไฟล์ผู้ใช้ในหน้าโฮมจะมีแท็บ Friends, Official Account, Services, Sticker และ Theme แต่แบบใหม่จะเปลี่ยนเป็นแนวตั้ง ไล่ไปตั้งแต่ Favourite, OpenChat Request List, Group, Friends และ Services ซึ่ง Services เปิดให้ผู้ใช้เลือกบริการที่ใช้ประจำขึ้นมาปักไว้ในพื้นที่ตรงนี้ได้สูงสุด 8 บริการ โดยแท็บ OpenChat, Sticker และ Theme จะย้ายมาอยู่ใต้ Services ส่วน Official Account จะอยู่ในแท็บ Friends
ที่มา - LINE
LINE เปิดฟีเจอร์ Explore มาตั้งแต่สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยพยายามเปลี่ยนแอปแชตให้เป็นแอปสังคมออนไลน์ แต่ล่าสุดผู้ใช้หลายคนก็พบว่า LINE จะถือว่าการ Add บัญชีทางการทั้งหลายเป็นการ follow Timeline ไปพร้อมกัน และ LINE ก็เปิดเผยข้อมูลการติดตามนี้ให้คนอื่นเห็นได้ด้วย โดยผู้ใช้ต้องไปปิดเอาเอง
ทาง LINE เลือกที่จะแจ้งวิธีปิดข้อมูลนี้ผ่านทางหน้า timeline โดยตอนนี้หลายคนน่าจะเห็นเป็นโพสแรก
LINE เปิดตัวบริการ LINE POD (Play on Desktop) แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ที่รวมเกมของทั้งบนพีซีและมือถือ โดยเปิดให้บริการในไทย, ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเก๊า, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และพม่า เชื่อมต่อกับแค่ LINE ID
เบื้องต้นเกมที่มีบน LINE POD ได้แก่ Free Style เกมสตรีทบาส, Game of Thrones Winter is Coming เกมแนววางแผลกลยุทธ และมีเกมเอ็กคลูซีฟอย่าง ArcheAge เกมแนว MMORPG, Hunters' Arena: Legend เกมแนว Action RPG ผสมกับ Battle Royale และ Rebirth Online เกม MMORPG แนว Openworld เกมทั้งหมดเล่นฟรี แต่มีระบบซื้อขายภายในเกม
Huawei ประกาศเพิ่ม LINE ลงในร้านขายแอพ AppGallery ของตัวเองแล้ว ช่วยให้คนที่ซื้อสมาร์ทโฟน Huawei รุ่นใหม่ๆ ที่ไม่มี Google Mobile Services และ Google Play Store (เช่น Mate 30 หรือ P40) สามารถดาวน์โหลด LINE ได้อย่างเป็นทางการ
LINE ออกอัพเดตแอปเวอร์ชัน 10.6.5 ทั้งบน iOS และ Android เพิ่มคุณสมบัติใหม่สำหรับการโทรคุยเป็นกลุ่มทั้งแบบเสียงและแบบวิดีโอ
โดย 2 ฟีเจอร์ใหม่ ได้แก่ การคุยเป็นกลุ่มสามารถแชร์ลิงก์ YouTube และรับชมวิดีโอพร้อมกันผ่านการสนทนากลุ่มได้ ส่วนอีกฟีเจอร์ สามารถแชร์หน้าจอสมาร์ทโฟนระหว่างการคุยแบบวิดีโอได้ (ก่อนหน้านี้ทำได้เฉพาะบนคอมพิวเตอร์)
ที่มา: LINE
LINE รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2020 รายได้รวม 58,968 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 6.6% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และขาดทุนสุทธิ 10,574 ล้านเยน ในไตรมาสนี้รายได้มาจากญี่ปุ่นคิดเป็น 73% ของรายได้รวม
จำนวนผู้ใช้งานแบบเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) ใน 4 ตลาดหลัก เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนเป็น 165 ล้านบัญชี โดยญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 84 ล้านบัญชี ไทยเพิ่มเป็น 46 ล้านบัญชี ส่วนไต้หวันคงที่ 21 ล้านบัญชี และอินโดนีเซียลดลงเป็น 14 ล้านบัญชี
โฆษณาเป็นรายได้หลักของ LINE ยังคงเติบโต ไตรมาสนี้มีรายได้ 33,044 ล้านเยน ส่วนกลุ่มธุรกิจกลยุทธ์ (LINE Pay, Shopping GO, LINE Delima) รายได้ลดลงเล็กน้อยเป็น 7,114 ล้านเยน
จากเว็บธนาคารปลอม, SMS ปลอมไปจนถึงเพจเฟซบุ๊กปลอม วันนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ออกมาแจ้งเตือนว่ามีการใช้งาน LINE ธนาคารไทยพาณิชย์ปลอมที่ตั้งชื่อเหมือนของจริงและจะทักไปหาเหยื่อก่อนและหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว
บัญชี LINE ปลอมมี 2 บัญชี อันแรกใช้ชื่อว่า SCB Connect เหมือนกับบัญชีจริง เพียงแต่เป็นบัญชีทั่วไปที่สามารถเพิ่มเพื่อนได้ และบัญชีคือ SCB EASY ที่เป็น LINE Official Account ทว่าเป็นแบบบัญชีฟรี ไม่ใช่บัญชีพรีเมียม