ปกติแล้วเรามักคุ้นเคยกับลินุกซ์ในฐานะของ "ระบบปฏิบัติการ" แต่ล่าสุด ลินุกซ์กำลังจะก้าวข้ามพรมแดนไปอยู่ในเฟิร์มแวร์ตอนบูตเครื่องก่อนเข้าสู่ระบบปฏิบัติการด้วย
มูลนิธิ Linux Foundation เพิ่งเปิดตัวโครงการ LinuxBoot เพื่อนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้ในเฟิร์มแวร์ของเซิร์ฟเวอร์ ปกติแล้ว เฟิร์มแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยโค้ดหลายส่วน เช่น ส่วนที่บูตฮาร์ดแวร์ในช่วงแรก (hardware init - UEFI PEI) และส่วนที่เริ่มการทำงานของหน่วยความจำ (memory initialized) ซึ่ง LinuxBoot จะเข้ามาทำหน้าที่แทนโค้ดส่วนหลัง (UEFI DXE)
Linux Foundation เปิดตัวโครงการ EdgeX Foundry สร้างความเข้ากันได้ของคอมพิวเตอร์ชายขอบ (edge node) ในระบบ IoT
EdgeX ระบุว่าแพลตฟอร์มจะไม่ขึ้นกับชิ้นส่วนใดเป็นพิเศษ โดยทำงานได้ทั้ง ARM และ x86, รองรับระบบปฎิบัติการหลากหลาย, และรอบรอบ micro service ที่พัฒนาบนภาษาต่างๆ
แต่ EdgeX จะกำหนดบริการมาตรฐาน Core Services กำหนดวิธีการเข้าถึงข้อมูล, การติดตั้งบริการใหม่ๆ, การจัดการอุปกรณ์ปลายทาง, และการจัดการความปลอดภัย
ตอนนี้บริษัทที่เข้าร่วมกับ EdgeX แล้ว เช่น AMD, Dell, Canonical, Linaro
ท่าทีที่เปิดกว้างของไมโครซอฟท์ และสนับสนุนซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สอย่างชัดเจนในช่วงหลัง ส่งผลให้ Jim Zemlin ผู้อำนวยการของมูลนิธิ Linux Foundation ให้สัมภาษณ์ว่า ไมโครซอฟท์เปลี่ยนไปแล้วจริงๆ
Zemlin บอกว่าการเข้าร่วม Linux Foundation ของไมโครซอฟท์ถือเป็นผลบวกต่อวงการโอเพนซอร์สในภาพรวม เขายอมรับว่าฝั่งโอเพนซอร์สมักมีแนวคิดแบบขบฎ ต่อต้านองค์กรขนาดใหญ่ แต่การพาตัวเองเข้าสู่กระแสหลักให้คนทั่วไปรู้จัก ฝั่งโอเพนซอร์สก็ต้องเปิดใจกว้าง หาคนเข้าร่วมให้มากที่สุดเช่นกัน
Microsoft ได้ประกาศเข้าเป็นสมาชิกของ The Linux Foundation โดยเป็นสมาชิกระดับ Platinum ซึ่งเป็นสมาชิกที่จ่ายเงินแพงที่สุด
Jim Zemlin ซึ่งดำรงตำแหน่ง Executive Director ของ The Linux Foundation ได้กล่าวว่า Microsoft ได้ขยายการใช้งานและการมีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์ส โดยบริษัทแสดงความสนใจในการเป็นผู้สนับสนุน Linux และโอเพ่นซอร์ส รวมถึงเป็นสมาชิกที่ active กับโครงการหลายอย่าง การเป็นสมาชิกนั้นถือเป็นก้าวสำคัญของ Microsoft รวมถึงชุมชนโอเพ่นซอร์สด้วย ซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จากการขยายความร่วมมือ
หลังเปิดตัว Automotive Grade Linux ไปตั้งแต่ปี 2014 ปีนี้ Linux Foundation ได้ออก AGL เวอร์ชัน 2.0 แล้ว
ตัวอย่างฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่การรองรับหน้าจอและระบบควบคุมหน้าจอสัมผัสที่เบาะหลัง, ระบบ Audio Routing รองรับทั้งของ Tizen และ GENIVI รวมถึงมี build environment และ test infrastructure ใหม่
นอกจากฟีเจอร์แล้ว AGL 2.0 ยังรองรับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ด้วยอย่างของ NXP, DragonBoard ของ Qualcomm, Vayu EVM และ Raspberry Pi
Linux Foundation ประกาศโครงการระบบปฏิบัติการ Zephyr สำหรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะ โดยจะใช้งานกับคอมพิวเตอร์ที่ขนาดเล็กมากๆ หน่วยความจำน้อยกว่าที่จะรันลินุกซ์ได้ ตัวเคอร์เนลลินุกซ์นั้นใช้หน่วยความจำอย่างน้อย 200 KB และพื้นที่เก็บข้อมูลอีก 1 MB ขณะที่ Zepyr จะต้องการพื้นที่เพียง 8 KB เท่านั้น
ความแตกต่างของ Zephyr กับลินุกซ์อื่นๆ นอกจากทรัพยากร ได้แก่ การใช้พื้นที่หน่วยความจำเป็นผืนเดียว ไม่แยกกันแต่ละโปรเซสออกจากกัน, เคอร์เนลคอนฟิกได้จากตอนคอมไพล์, กระบวนการตรวจสอบไม่มากนัก และบางส่วนจะทำงานในโหมดดีบักเท่านั้น
บริษัทไอทีชั้นนำอย่าง IBM, Intel, Cisco และสถาบันการเงินชั้นนำอย่าง J.P.Morgan, MUFG, ANZ Bank, London Stock Exchange Group ประกาศรวมตัวตั้ง Open Ledger Project ซึ่งเป็นโครงการสร้างเทคโนโลยี blockchain ที่สามารถใช้งานได้ในระดับสูง (enterprise grade) อย่างเป็นทางการ
เหตุผลสำคัญในการก่อตั้งโครงการนี้ (แยกออกมาจากโครงการอย่าง Bitcoin ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแนวคิด blockchain) คือการรวมการวิจัยและการค้นคว้าด้าน blockchain ของบริษัทเหล่านี้ที่กระจัดกระจาย มารวมกันเป็นโครงการเดียว เพื่อสร้าง blockchain ที่ใช้งานในระดับองค์กร และเปิดซอร์สให้องค์กรอื่นๆ สามารถเข้ามาใช้งานได้ด้วย
กองทุน Core Infrastructure Initiative (CII) เกิดมาหลังบั๊ก Heartbleed เมื่อปีที่แล้ว โดยกองทุนจะสนับสนุนโครงการสำคัญๆ ด้านความปลอดภัยให้มีนักพัฒนามากเพียงพอ ตอนนี้กองทุนมีเงินค่อนข้างเหลือเฟือ โดยยอดล่าสุดอยู่ที่ 5.5 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทให้คำสัญญาว่าจะจ่ายเงินต่างกันไปในระยะเวลาสามปีข้างหน้า ตอนนี้ทางกองทุนก็เริ่มสนับสนุนโครงการใหม่ๆ เพิ่มเติม โดยรอบนี้ประกาศออกมาสามโครงการ
ความขัดแย้งระหว่าง Joyent บริษัทพัฒนา Node.js และกลุ่มชุมชนภายนอกที่แยกออกไปเป็นโครงการ io.js ทำให้ทาง Joyent ต้องปรับตัวกลับมาสร้างองค์กรกลาง ล่าสุดทาง Linux Foundation รับเอา Node.js Foundation เข้ามาเป็นโครงการภายใต้ความดูแลแล้ว และทาง io.js ก็ตอบรับว่าจะกลับมาเข้ามาพัฒนาร่วมกัน
Jim Zemlin ผู้บริหารของ The Linux Foundation ตำแหน่ง Executive Director ได้ออกมากล่าวผ่าน blog เกี่ยวกับการที่ Apple เปิดภาษา Swift
เขากล่าวว่านี่เป็นก้าวที่ฉลาดของ Apple การโอเพ่นซอร์สภาษา จะทำให้การเติบโตไปได้กว้างไกลขึ้น เพราะว่าการโอเพ่นซอร์สภาษา Swift จะทำให้นักพัฒนาสามารถใช้งานบนแพลตฟอร์มใดก็ได้ Apple ก็จะได้ประโยชน์จากครั้งนี้เช่นกัน
เมื่อโอเพ่นซอร์สภาษา จะเกิดการร่วมมือระหว่างนักเขียนโค้ด สามารถแบ่งปันความคิด, รายงานบั๊ก และใช้งานภาษาบนแพลตฟอร์มของพวกเขาเองได้ ซึ่งจะทำให้ภาษานี้เติบโตไปได้กว้างไกลยิ่งขึ้น
โครงการ Let's Encrypt ประกาศเปิดให้บริการรับรองตัวตนฟรี เพื่อสนับสนุนให้เว็บทั่วโลกเข้ารหัส ตอนนี้ใกล้ถึงเวลาเปิดบริการจริง (ประกาศไว้กลางปี 2015) ทาง The Linux Foundation ก็ประกาศเข้ามาช่วยดูแลโครงการให้
ทาง The Linux Foundation จะเข้ามาช่วยดูแลงานธุรการให้ ตั้งแต่การระดมทุน, การเงิน, สัญญา, การจัดซื้อ, และทรัพยากรบุคคล ขณะที่โครงการ Let's Encrypt จะเป็นโครงการลูกที่ได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากภายนอก (independently funded)
แนวทางนี้ทำให้เงินที่บริจาคเข้า Let's Encrypt จะเข้าไปพัฒนาซอฟต์แวร์และเตรียมโครงสร้างสำหรับการสร้าง CA โดยตรง แทนที่จะเสียเงินกับงานธุรการไปบางส่วน
The Linux Foundation องค์กรดูแลการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์รายงานผลการพัฒนาประจำปี ครอบคลุมระยะเวลาพัฒนาจากรุ่น 3.11 ถึง 3.18
สิบบริษัทแรกที่ส่งโค้ดเข้ามายังลินุกซ์มากที่สุด ได้แก่ อินเทล, เรดแฮท, Linaro, ซัมซุง, ไอบีเอ็ม, SUSE, Texas Instruments, Vision Engraving Systems, กูเกิล, และ Renesas โดยอินเทลขึ้นมาที่หนึ่งจากการส่งโค้ดรวม 10,000 ชุด แนวโน้มอีกอย่างหนึ่งคือนักพัฒนาที่ได้รับค่าจ้างจากบริษัทเพื่อให้ส่งโค้ดเข้ามามีสัดส่วนสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยตอนนี้มากกว่า 80% ของนักพัฒนาได้รับค่าจ้างจากบริษัท
โครงการ Cloud Foundry เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆ PaaS แบบโอเพนซอร์สที่ริเริ่มโดย VMware มาตั้งแต่ปี 2011 และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่อย่าง EMC Pivotal, HP และ IBM
มูลนิธิ Linux Foundation ร่วมกับพาร์ทเนอร์หลายราย เปิดตัวโครงการ Dronecode เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับ "โดรน" และอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles หรือ UAV)
บริษัทที่เป็นแกนหลักของโครงการนี้คือ 3D Robotics บริษัทโดรนของ Chris Anderson อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Wired โดยมีบริษัทโดรนรายอื่นๆ รวมถึงบริษัทไอทีอย่าง Intel, Qualcomm, Baidu ร่วมเป็นสมาชิก
Linux Foundation มูลนิธิผู้ดูแลโครงการเคอร์เนลลินุกซ์ประกาศใบรับรองของตัวเองสองแบบ คือ Linux Foundation Certified System Administrator (LFCS) และ Linux Foundation Certified Engineer (LFCE) เป็นการสอบแบบออนไลน์ทั้งหมด
ผู้สอบต้องมีเบราว์เซอร์, ไมโครโฟน, และเว็บแคมสำหรับเข้าสอบ แต่ไม่ต้องเดินทางไปห้องสอบด้วยตัวเอง ส่วนการสอบนั้นสามารถเลือกใช้ลินุกซ์ได้สามตระกูล คือ CentOS, OpenSUSE, และ Ubuntu ที่สำคัญคือจะไม่มีข้อสอบแบบตัวเลือก ผู้สอบจะต้องพิมพ์คำสั่งได้จริงเท่านั้น
ปีนี้เราเห็นแพลตฟอร์มสำหรับ connected car ออกสู่ตลาดกันเยอะมาก ทั้ง Apple CarPlay, Android Auto, QNX Car, Windows in the Car รวมถึงแพลตฟอร์มเฉพาะค่ายอย่าง Ford Sync หรือ Toyota Entune ที่ออกมาได้สักระยะแล้ว
ฝั่งโลกโอเพนซอร์สเองที่ซุ่มทำเรื่องนี้มานาน ภายใต้การนำของ Linux Foundation ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว Automotive Grade Linux (AGL) รุ่นแรกกับเขาบ้าง
ปัญหา Heartbleed ส่งผลสะเทือนอย่างรุนแรงไปทั่วโลกไอที แต่สุดท้ายแล้ว เว็บไซต์และหน่วยงานจำนวนมากก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจาก OpenSSL อยู่ดี
ปัญหาอย่างหนึ่งของ OpenSSL คือมีงบประมาณและทรัพยากรน้อยมาก ปัจจุบันมูลนิธิ OpenSSL Software Foundation ได้รับเงินบริจาคเพียงปีละ 2,000 ดอลลาร์ และมีพนักงานทำงานเต็มเวลาเพียงคนเดียว
บริษัทซอฟต์แวร์ที่เริ่มมีผลประโยชน์ในลินุกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ มีช่องทางการเข้ามาร่วมตัดสินใจในลินุกซ์ คือการเข้าเป็นสมาชิก The Linux Foundation รอบล่าสุดตอนนี้มีสามองค์กรสำคัญเข้าเป็นสมาชิกในรอบเดียว
บริษัทแรกคือ Cloudius ที่ก่อตั้งโดยผู้สร้าง KVM และได้รับการยอมรับในลินุกซ์อย่างรวดเร็ว ต่อมาคือ HSA Foundation ที่ก่อตั้งโดยเอเอ็มดี ทำเรื่องการประมวลผลบนชิปกราฟิก, และสุดท้ายคือ Valve ที่เพิ่งเข้ามามีบทบาทในลินุกซ์ช่วงหลัง จากการเปิดตัว SteamOS
รอบนี้ส่วนที่น่าจับตาที่สุดคงเป็น Valve ที่ไม่มีบทบาทในโลกโอเพนซอร์สที่เราเห็นได้ทั่วไปนัก แต่หลังจาก Steam เข้ามารองรับลินุกซ์และเปิดตัว SteamOS ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นว่า Valve เอาจริงกับลินุกซ์อย่างมาก
ผู้อ่าน Blognone คงรู้จักโครงการ Xen ซอฟต์แวร์ด้าน virtualization แบบโอเพนซอร์สบนลินุกซ์
Xen เริ่มพัฒนาโดยบริษัท XenSource และถูก Citrix ซื้อกิจการเมื่อปี 2007 ตัวโครงการอยู่ภายใต้การดูแลของ Citrix เรื่อยมา แต่ล่าสุด Citrix ก็ยกโครงการนี้ให้องค์กรกลางที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง Linux Foundation มาดูแลแทนแล้ว
UEFI หรือระบบการบูตคอมพิวเตอร์แบบปลอดภัย เป็นเฟิร์มแวร์ที่มาแทน BIOS เดิมเพื่อให้การบูตเข้าระบบปฏิบัติการปลอดภัยมากขึ้น (ไม่โดนไฮแจ็คระหว่างทาง) แต่ก็ต้องแลกมาด้วยอิสระที่ลดลงในการติดตั้งระบบปฏิบัติการทางเลือกต่างๆ เพราะผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ต้อง sign เฟิร์มแวร์ด้วยคีย์จากไมโครซอฟท์
ปัญหานี้เป็นที่ถกเถียงกันมานานในโลกของลินุกซ์ ซึ่งทางแก้จบลงด้วย Linux Foundation เข้ามาเป็น "คนกลาง" ทำระบบ pre-bootloader กลางขึ้นมา โดยทาง Linux Foundation จะเป็นผู้ขอรับคีย์จากไมโครซอฟท์เองเพื่อให้ pre-bootloader ตัวนี้บูตขึ้นบนเครื่องที่มี UEFI ฝังอยู่ จากนั้นค่อยเป็นหน้าที่ของดิสโทรลินุกซ์ต่างๆ ที่จะบูตต่อจาก pre-bootloader อีกทีหนึ่ง
สืบเนื่องจากข่าว เคอร์เนล 3.4 จะได้รับการดูแลนาน 2 ปี ล่าสุดทาง Linux Foundation ในฐานะองค์กรกลางที่ดูแลลินุกซ์ ออกมาประกาศโครงการ Long Term Support Initiative (LTSI) หรือการสร้าง "ลินุกซ์กลาง" ที่มีอายุสนับสนุนนานเป็นพิเศษ (2 ปีเท่ากับ Ubuntu LTS) แล้ว
เคอร์เนลอายุยาว 2 ปีช่วยให้ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ ทำงานง่ายขึ้นในการทดสอบระบบ เพราะเวอร์ชันของซอฟต์แวร์จะนิ่งมาก โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่ง เช่น Qualcomm, Panasonic, NEC, LG, Samsung, Sony, Toshiba
ในงาน LinuxCon Europe เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ณ เมืองบาเซโลน่า ประเทศสเปน ทาง Linux Foundation ประกาศว่าบริษัท Hewlett Packard หรือ HP ได้อัพเกรดจากสมาชิกระดับทอง (gold member) เป็นสมาชิกระดับ platinum ซึ่งเป็นสมาชิกระดับสูงสุด โดยทาง HP ได้จ่ายค่าสมาชิกมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ HP จะได้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการของ Linux Foundation
ปัญหาที่ Windows 8 จะเปลี่ยนจากไบออสมาเป็น UEFI ที่มี "ฟีเจอร์" รักษาความปลอดภัยอย่างเต็มรูปแบบนับแต่การบูตเครื่อง ทำให้ไมโครซอฟท์ควบคุมว่าซอฟต์แวร์ใดบ้างจะสามารถบูตบนเครื่องที่ใช้ UEFI ได้ทั้งหมด ทางฝั่งลินุกซ์เองพยายามเจรจากับไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้มาตลอด ก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้ผู้ใช้สามารถปิด UEFI ได้ แต่แผนใหม่ของทาง Linux Foundation อาจจะเป็นทางสายกลางของปัญหานี้
ภายใต้แผนการนี้ ทาง Linux Foundation จะสร้าง "pre-bootloader" ขึ้นมาหนึ่งตัว เพื่อขอรับการรับรองจากไมโครซอฟท์ ทำให้มันสามารถบูตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ UEFI โดยเตือนว่า bootloader ที่กำลังทำงานนี้จะไม่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง หากผู้ใช้ยืนยันที่จะใช้งานต่อไป ก็จะสามารถติดตั้งลินุกซ์ได้
หนึ่งในตลาดที่ Tizen (และ MeeGo) หวังจะบุกตลาดมาตลอดคือตลาดความบันเทิงและข้อมูลในรถยนต์ (In-Vehicle-Infotainment) ล่าสุดบริษัทกลุ่มผู้สนับสนุน Tizen ก็ร่วมมือกับกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ก่อตั้งกลุ่ม Automotive Grade Linux Workgroup (AGL) เพื่อร่วมมือกันพัฒนาลินุกซ์สำหรับรถยนต์แล้ว
กลุ่มบริษัทผู้พัฒนา Tizen เดิมนั้นได้แก่ อินเทล, ซัมซุง, และบริษัทอื่นๆ ส่วนบริษัทรถยนต์ที่เข้าร่วมกลุ่มนี้ได้แก่ จากัวร์, นิสสัน, และโตโยต้า
Linux Foundation องค์กรกลางที่ดูแลภาพรวมของลินุกซ์ ประกาศว่าซัมซุงที่เดิมทีเป็นสมาชิกระดับ silver ที่เป็นระดับต่ำสุด ขออัพเกรดสมาชิกภาพเป็นสมาชิกระดับสูงสุดคือ platinum member แล้ว
การสมัครเป็นสมาชิกระดับ platinum ต้องจ่ายเงิน 500,000 ดอลลาร์ต่อปี สิ่งแลกเปลี่ยนคือสมาชิกระดับ platinum จะมีเก้าอี้ในบอร์ดบริหารของ Linux Foundation สามารถร่วมประชุมเพื่อกำหนดทิศทางของลินุกซ์ในภาพรวมได้ด้วย คาดว่าเป็นเพราะซัมซุงใช้ลินุกซ์อย่างมากในมือถือของตัวเองระยะหลังๆ (ทั้ง Android, Bada, Tizen) เลยอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับลินุกซ์มากขึ้น