นาย Andreas Pleschek open source and Linux technical sales ที่ดูแลยุโรปตะวันออก จากไอบีเอ็มประเทศเยอรมันนี ประกาศในงาน LinuxForum 2006 ครับ
เค้าบอกว่า
"ไอบีเอ็มจะยกเลิกสัญญากับไมโครซอฟท์สำหรับเครื่อง desktop ของพนักงานไอบีเอ็มเอง ในเดือนตุลาคมปีนี้ซึ่งหมายความว่า ไอบีเอ็มจะไม่เปลี่ยนเป็น Vista สำหรับเครื่องตั้งโต๊ะของตนเอง ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นไป(version อื่นๆยังใช้ต่อไปนะ) และพนักงานไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปใช้ IBM Workplace ซึ่งเป็น Red Hat-based แทน"
มีคำถามตามมาว่าเฉพาะไอบีเอ็มเยอรมันนีหรือว่าทั่วโลก
หลังจาก Novell ออก XGL มาให้ชาวลินุกซ์ได้ตื่นเต้นกันว่า อนาคตเดสก์ท็อปเราจะสดใสอยู่พักนึง ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแล้วครับ
เนื่องจากว่าฝั่ง Red Hat/Fedora ได้ออกมาหนุนโครงการแบบเดียวกันชื่อ AIGLX (ย่อมาจาก Accelerated Indirect GL X) ซึ่งผมแนะนำให้ดูวิดีโอสั้นๆ ตามลิงก์นี้ก่อน จะรู้ว่ามันเหมือน XGL แค่ไหน
หลังจากรอมานานถึง 10 ปี วินโดวส์ก็ครองตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นอันดับหนึ่งแซงจากยูนิกซ์มาได้สมใจไมโครซอฟท์ โดยตลอดปี 2005 ที่ผ่านมา ไอดีซีรายงานว่ายอดขายวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ 17.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยูนิกซ์อยู่ที่ 17.5 พันล้านดอลลาร์
ทั้งที่มีการคาดการว่าวินโดวส์จะขึ้นแท่นที่หนึ่งได้ก่อนหน้านี้มานานแล้ว แต่วินโดวส์ก็บุกตลาดได้ช้ากว่าที่คาดอยู่มาก ด้วยอุปสรรคหลายประการ เช่นเรื่องของความปลอดภัย ที่บริษัทต่างๆ ยังไม่ให้ความเชื่อถือนักในช่วงแรก
จากข่าวเก่า วิดีโอเดโม XGL เพิ่มเติม (แบบชัดๆ)
Blognone บน Xgl ครับผม (ใช้ Ubuntu Dapper flight 3 กับ GeForce 4MX 440) ลื่นปื้ด
สำหรับคนที่อยากลองขั้นตอนมีตามนี้ครับ
เกาหลีใต้เตรียมโครงการนำร่อง 1 เมืองและ 1 มหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนมาใช้โอเพนซอร์สเป็นเทคโนโลยีหลัก โดยกระทรวง Information and Communication (ประมาณ ICT บ้านเรา)จะเป็นโต้โผ และต้องการเป้า 5% ของเดสก์ท็อป และ 40% ของเซิร์ฟเวอร์จะต้องใช้โอเพนซอร์สในปี 2010
เมืองและมหาลัยที่สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ในช่วงนี้ และจะคัดเลือกกันปลายเดือนมีนา เกาหลีเองได้เริ่มใช้โอเพนซอร์สในภาครัฐไปบ้างแล้ว เช่น Korea Post หรือกระทรวง Planning and Budget
ที่มา - The Korea Times
ช่วงหลังสถานการณ์ฝั่ง PalmOS ค่อนข้างย่ำแย่ PalmOS 6 Cobalt ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เลย และพี่น้องรักอย่าง Palm (เฉยๆ ที่ทำฮาร์ดแวร์) ก็เริ่มปันใจไปใช้ Windows Mobile ใน Treo 700w แล้ว ผมเองไม่เคยใช้ Palm แต่เท่าที่ลองของเพื่อนดู มีคำถามประเภท "ไอ้นี่ก็ทำไม่ได้เหรอ" เยอะเหมือนกัน
ทางรอดของ PalmSource คือย้าย API ของ Cobalt ไปไว้บนแพลตฟอร์มที่อนาคตไกลกว่าอย่างลินุกซ์ หลังจากประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2004 ตอนนี้มันเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในชื่อ Access Linux Platform (ALP)
จากข่าวเก่าที่ผ่านมาเรื่อง วิดีโอเดโม Novell Linux Desktop 10 มีการโชว์การทำงานของ XGL ไปแล้ว โดย Miguel de Icaza บอกให้ติดตามตอนต่อไปในเร็ววัน
ตอนนี้ Novell ปล่อยซอร์สโค้ดออกมาให้นักพัฒนาได้เล่นกันแล้วทั้งส่วนของ XGL และ composition manager ที่มีชื่อเรียกว่า Compiz รวมทั้งมีไฟล์วิดีโอให้ดูกับแบบชัดๆ ด้วย
เรื่องนี้ผมหยิบมาจาก Slashdot ที่มีหัวข้อคุยกัน เมื่อ Novell ได้จัดทำโพลขึ้นมา ว่าด้วยเรื่องผู้ใช้ลีนุกซ์ต้องการแอพลิเคชั่นใดบนแพลตฟอร์มอื่นให้แปลงมาลงในลีนุกซ์บ้าง
์โนเวลล์โชว์วิดีโอเดโมของ Novell Linux Desktop 10 ที่ปารีส โดยสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ XGL ซึ่งเป็นส่วนขยายของ X-Window ให้ใช้ OpenGL เข้าช่วยในการประมวลผล (แบบเดียวกับ Mac OS X หรือ Vista) ซึ่งในวิดีโอนี้มีโชว์เอฟเฟกต์ 3D หลายอย่าง แนะนำให้ลองดูกันครับ น่าประทับใจมาก เราจะได้ใช้เดสก์ทอปใสๆ หมุนๆ กันแล้ว (ถ้าเน็ตช้าลองโหลดอันที่ 3 กับ 4 ก็พอ)
ข่าวเก่าที่เกี่ยวข้อง ไลนัส ทอร์วัลด์ไม่อยากใช้ GPL 3 กับเคอร์เนล
นักพัฒนาเคอร์เนลคนสำคัญอีกคนคือ Alan Cox (ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Red Hat) กลับออกมาสวนทางไลนัสโดยบอกว่าเห็นด้วยกับ GPL 3 เนื่องจากข้อดีหลายเรื่อง GPL 3 มีหลายจุดที่เปลี่ยนเงื่อนไขจากทำหรือไม่ทำก็ได้ใน GPL 2 มาเป็นบังคับใช้แทน ในเรื่อง DRM ที่ไลนัสเป็นห่วงนั้น Alan Cox มองว่าไม่มีปัญหากับเคอร์เนลลินุกซ์แต่อย่างใด เพราะ DRM จะไปเกี่ยวกับแอพพลิเคชันมากกว่า
หลังจากที่ GPLv3 ออกมาก็สร้างข้อวิจารณ์มากมาย ตั้งแต่เรื่องความเข้ากันได้กับ GPLv2 ไปจนถึงเรื่องที่ว่ามีโครงการไหนควรย้ายไปใช้ GPLv3 บ้าง ล่าสุดไลนัส โทรวัล ผู้ดูแลเคอร์เนลก็เขียนอีเมลแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่าเขาสำหรับลินุกซ์แล้ว ลิขสิทธิ์โดยปริยายของมันคือ GPLv2 เท่านั้น โดยหากมีใครต้องการใช้ GPLv3 ก็อาจจะใช้ได้โดยต้องระบุไว้ในส่วนนั้นๆ เอาเอง โดยตัวแกนของลินุกซ์จะยังคงใช้ GPLv2 ต่อไป
เรื่องนี้อาจจะเป็นการชี้นำถึงการนำ GPLv3 ไปใช้ในอนาคต เพราะหลายๆ โครงการก็มีแนวโน้มว่าจะใช้ลิขสิทธิ์แบบเดียวกับลินุกซ์เป็นหลัก
โดยส่วนตัวแม้จะชอบ GPLv3 ในหลายๆ จุดแต่ผมว่ามันแข็งไปหน่อย
ช่วงสิ้นปีเรามีการจัดอันดับหลายต่อหลายอย่างกันไปแล้ว หลังจากผ่านพ้นปีไป ลองมาดูสรุปบั๊กที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมากันดีกว่า
ไม่รู้ไปโกรธอะไรกันมาระหว่างไลนัส และทีมงาน Gnome ที่อยู่ดีๆ ก็ทะเลาะกันแรงพอควรใน เมลลิ่งลิสต์ของ Gnome โดยไลนัสระบุว่าส่วนตัวของเขาแล้่วแนะนำให้คนใช้ KDE เพราะ Gnome ขาดฟีเจอร์ที่จำเป็นและขาดความยืดหยุ่น แถมด้วยประโยคเด็ด
Gnome seems to be developed by interface nazis, where consistently the excuse for not doign something is not "it's too complicated to do", but "it would confuse users".
[ดูเหมือนว่า Gnome จะถูกพัฒนาจากนาซีด้านอินเทอร์เฟซ ที่ให้เหตุผลที่จะไม่ทำอะไรบางอย่างด้วยเหตุผลว่า "มันทำให้คนใช้สับสน" แทนที่จะเป็น "มันยุ่งยากเกินไป"]
McAfee รายงานถึงไวรัส Linux/Slapper ที่วิ่งไปในระบบปฏิบัติการจำพวกยูนิกซ์ เช่น ลินุกซ์ และ BSD โดยไวรัสตัวนี้ทำงานผ่านทางพอร์ต 80 ที่ใช้ให้บริการเว็บ อาศัยช่องโหว่ของโปรแกรมจำพวก CMS ทั้งหลายทำให้สามารถทำสำเนาตัวเองไปยังเครื่องปลายทางได้ ในตอนนี้ยังไม่พบอันตรายใดๆ แต่คาดว่าอาจจะมีการนำปรับไปใช้โจมตีเว็บไซต์ได้ในอนาคต
ถ้าใครกลัวจะโดนตอนนี้ปิด XML-RPC ไปก่อนปลอดภัยกว่า หรืออัพเดตซอฟท์แวร์ CMS ทั้งหลายก็ได้ครับ เพราะไวรัสตัวนี้อาศัยช่องโหว่เก่าๆ ใน CMS ที่มักจะได้รับการอัพเดตไปหมดแล้ว แต่ผู้ใช้มักไม่ระวังกัน
ข่าวเก่า: ไมโครซอฟท์ขู่จะหยุดขายวินโดวส์ในเกาหลี หลังจากรัฐบาลเกาหลีมีคำสั่งให้เลิกรวม Windows Media และ Messenger ในวินโดวส์
Linspire (Lindows เดิม)ใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ ยื่นข้อเสนอให้ประธานาธิบดี Roh Moo-hyun จ่ายเงิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ (200 ล้านบาทไทยโดยประมาณ) แลกกับสิทธิ์ในการใช้งานระบบปฏิบัติการ Linspire ของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในประเทศ
ข่าวมีรายละเอียดแค่นี้ ไม่ได้บอกเงื่อนไขในการใช้งาน ระยะเวลา การสนับสนุนหลังการขายแต่อย่างใด เพียงแต่มันก็กดดันไมโครซอฟท์ได้ดีไม่น้อยครับ เชื่อเหอะที่บอกว่าถอนน่ะ แค่ขู่
idsoftware ได้เปิดให้ดาวน์โหลด Quake IV เวอร์ชันลินุกซ์แล้ว โดยมีทั้งตัวเกม และเซิร์ฟเวอร์สำหรับเล่น multiplayer
สำหรับตัวเกมเปิดให้ดาวน์โหลดแก่คนทั่วไป แต่คุณต้องใช้ไฟล์และ CD Key จากรุ่นบนวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ติดตั้งพร้อมใช้ได้เลยไม่ต้องทำอะไรพิเศษ แต่อ่านสเปกเครื่องแล้วผมเมินดีกว่าครับ ต้อง GeForce 3 Ti หรือ Radeon 9800 ขึ้นไปเท่านั้น!
Doom III ก็มีเช่นกัน
ข่าวใหญ่รอบสัปดาห์นี้คือลิงก์จาก The Inquirer มีใจความว่าบริษัทในออสเตรเลียถูกเก็บเงินค่าใช้เครื่องหมายการค้า (trademark) คำว่า Linux รายละ 5 พันเหรียญ โดยงานนี้เป็นความต้องการของลินุส ทอร์วัลด์เอง ไม่ใช่โจ๊ก April Fool หรือเรื่องน่าจะหลอกแบบตอน SCO ซะด้วย
ทำให้ชาวโอเพนซอร์สทั้งหลายต่างงง ไม่เชื่อ รวมไปถึงโกรธก็มี ว่าทำไมลินุสกลับคำแล้วเหรอ เป็นต้น
ไม่รู้ว่ามีใครรออยู่รึเปล่ากับ Mandriva 2006 ซึ่งตอนนี้ก็ปล่อยออกมาให้ลองกันแบบเงียบๆแล้ว เวอร์ชันนี้มี kernel เวอร์ชัน 2.6.12 KDE เวอร์ชัน 3.4.1 Gnome 2.10.2 และอื่นๆ
เท่าที่ดูแฟนๆ Mandrake ในเมืองไทยน่าจะเยอะ ก็เอาไปลองดูกันได้ ไม่่รู้เดี๋ยวนี้จะยังมี mirror ในไทยอยู่รึเปล่า อันนี้เป็น screenshot สนใจก็ลองทัศนากันได้
เล่าข่าวเดิมย่อๆ บริษัท SCO ผู้ถือสิทธิ์ของ Unix ได้ออกมาฟ้อง IBM ว่าแอบเอาโค้ดของ Unix ของ SCO ไปใส่ไว้ในเคอร์เนลของลินุกซ์ ในช่วงที่บริษัททั้งคู่ทำงานร่วมกัน ในภายหลังก็ได้กลายมาเป็น SCO ไปไซโคบริษัทต่างๆ ที่ใช้ลินุกซ์ว่า คุณต้องจ่ายเงินให้ SCO ด้วย ซึ่งตอนนี้เรื่องอยู่ในชั้นศาล
ทุกคนมีสิทธิ์ดูโค้ดของลินุกซ์ (เพราะเป็นโอเพนซอร์ส) แต่ไม่มีใครเคยเห็นโค้ดของ SCO Unix ดังนั้นไม่มีใครรู้ว่ามันจริงไม่จริง ต้องรอเปิดเผยในศาล
ไมโครซอฟท์เหล่าพันธมิตรงงไปพักใหญ่ เมื่องานประชุมพันธมิตรของไมโครซอฟท์กลับมีการสาธิตแลปแบบลงมือทำในการใช้งานลินุกซ์รวมอยู่ด้วย
การสัมมนาในหัวข้อ "Linux and Open Source: Understanding the Competitive Challenge," โดยนายดอน จอห์นสัน จากบริษัทเทคสตรีม เป็นการสาธิตการใช้งานลินุกซ์และข้อเปรียบเทียบต่างๆ ระหว่างวินโดว์และลินุกซ์
งานนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าวินโดว์ดูดีกว่าตลอดงาน...
ไม่ว่าเครื่องเกมตัวไหนออกมา ต้องมีข่าวเกี่ยวกับการนำเอาลินุกซ์ไปรันทั้งนั้นเลยครับ ทั้งแบบเจ้าของค่ายสนับสนุนเอง (PS2) หรือแบบแฮกเอาตามมีตามเกิด แต่มันก็ทำให้บรรดาแฟนๆ ทั้งหลายตื่นเต้นกันได้เรื่อยๆ
ล่าสุดถึงคิวของเกมมือถืออย่าง Nintendo DS รายละเอียดดูเอาที่เว็บ DSLinux กันดีกว่า ที่ผมตื่นเต้นคือ อาศัยการที่ DS มีสองจอ และเป็นจอแบบ touchscreen จอนึง ทำให้ทีม DSLinux สามารถใส่คีย์บอร์ดแบบ touchscreen ลงไปได้แล้ว (ถ้านึกไม่ออกก็คล้ายๆ กับบน Palm หรือ PocketPC น่ะครับ)
รอคิวของ PSP บ้าง
Michael Robertson อดีตผู้ก่อตั้ง MP3.com และ CEO ของ Linspire (หรือที่เราเคยได้ยินในชื่อ Lindows) ได้ยุติบทบาทในการบริหารงาน Linspire แล้ว โดยเขาให้เหตุผลว่าต้องแบ่งเวลาไปดูแลอีก 2 บริษัทในครอบครอง คือ Mp3tunes.com และ Sipphone.com
โดย Robertson จะขยับขึ้นมาเป็นประธานที่ให้คำปรึกษากลยุทธกับ Linspire และงานบริหารจะเป็นหน้าที่ของ Kevin Carmony ผู้ก่อตั้ง Lindows ตั้งแต่เริ่มแทน
นาย Daniel Robbins คนริเริ่มโครงการ Gentoo Linux ได้รับงานที่ไมโครซอฟท์แล้ว โดยเค้าบอกว่า งานของเค้าคือช่วยให้ไมโครซอฟท์เข้าใจโลกโอเพ่นซอร์สมากขึ้น "helping Microsoft to understand Open Source and community-based projects" โดยการบริหารจัดการและการพัฒนา Gentoo นั้น Robbins ได้โอนให้ Gentoo Foundation ตั้งนานแล้ว และกำลังโอนสิทธิ์ต่างๆ เช่น โลโก้ของ Gentoo หรือลิขสิทธิ์ของ ebuild ให้กับ Gentoo Foundation เช่นกัน
ผมเป็นคนหนึ่งในไม่รู้กี่คนที่อยากใช้ลินุกซ์เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ แต่ติดว่าพอลงแล้ว มักมีอุปกรณ์หลายๆ ตัวใช้งานไม่ได้ เช่นไวร์เลสแลน หรือการ์ดจอ แต่วันนี้เรื่องอย่างนี้อาจจะเปลี่ยนไปเมื่อเอชพีมีการแจกลินุกซ์อย่างเป็นทางการแล้ว โดยดิสโทรที่เอชพีแจกคือ Ubuntu รุ่นพิเศษที่ปรับให้ใช้งานกับเครื่องเอชพีได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการ์ดแลน บลูทูธ อินฟราเรด หรือ IEEE1394
โดยรายการนี้ยังเป็นการทำตลาดแบบเงียบๆ โดยเอชพียังไม่ได้ลง Ubuntu รุ่นพิเศษนี้ไปกับเครื่องแต่อย่างใด แต่ลูกค้าสามารถขอซีดีดังกล่าวได้ฟรี พร้อมกับบริการซัพพอร์ตออนไลน์จากทางเอชพี
ไลนัส ทอวัลลด์ ได้ออกเครื่องมือหรือทูลตัวใหม่เอาไว้จัดการกับ project Linux ของเขา ชื่อว่า "Git" ซึ่งเดิมทีไลนัสได้ใช้ระบบการจัดการที่ชื่อว่า "BitKeeper"(เป็นของบริษัท BitMover)และได้หยุดใช้ไปเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากเริ่มล้าสมัย เทคนิคที่ใช้ในการ update e-mail ที่ค่อนข้างช้าสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่จะ contribute ไปยัง project การเปลี่ยนมาใช้ Git นั้นจะทำให้โครงการ Linux มีระบบหรือกลไกที่อัติโนมัติในการควบคุมขั้นตอนการ update และ track changes เนื่องจาก Git เป็น opensource software ที่ไลนัสได้แนวคิดที่จะพัฒนา source code management system ที่เหมาะสมกับงานของตัวเองมากกว่า