Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล อธิบายแนวโน้มธุรกิจชิปในการแถลงผลประกอบการไตรมาส 1/2024 ดังนี้
อินเทลเปิดซอร์สโค้ด Intel NPU Acceleration Library ไลบรารีภาษา Python สำหรับเรียกใช้งาน Neural Processing Unit (NPU) ในซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของอินเทล นับตั้งแต่ Core Ultra (Meteor Lake) เป็นต้นไป
โลกปี 2024 เราคงจะได้ยินการพูดถึงชิป NPU กันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ผลิตซีพียูทั้งอินเทลและเอเอ็มดีต่างเริ่มใส่ NPU เข้ามาแล้ว ผนวกกับการดันคำว่า AI PC ของไมโครซอฟท์ในฝั่งการตลาดต่างๆ
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กระดับล่างแบรนด์ Core (ไม่ใช่ Core Ultra) Series 1 โดยใช้สถาปัตยกรรม Meteor Lake (มีผสม P+E Core) เปิดตัวเฉพาะชิปรหัส U กินไฟต่ำ 15-55 วัตต์ เน้นจับกลุ่มโน้ตบุ๊กสายบางเบา (thin-and-light) ราคาถูกกว่ากลุ่ม Core Ultra ที่มีชิปรหัส U ด้วยเช่นกัน
Core Series-1 ใช้ระบบเลขรุ่น 3 หลักแบบเดียวกับ Core Ultra มีให้เลือก 3 รุ่นย่อยคือ
อินเทลเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ Core Ultra หรือโค้ดเนม Meteor Lake ที่เคยประกาศข่าวไว้ก่อนหน้านี้ นอกจากการปรับแบรนด์ใหม่ครั้งใหญ่ในรอบหลายปี ยังใส่ชิป NPU สำหรับเร่งการประมวลผล AI และเป็นชิปรุ่นแรกที่ใช้กระบวนการ Intel 4 (EUV) รุ่นใหม่ล่าสุดของอินเทลด้วย
Core Ultra ยังใช้เลขห้อยหลัง 5, 7, 9 แบบเดียวกับที่เราคุ้นเคย และมีตัวอักษรห้อยบอกการใช้พลังงานคือ H (28 วัตต์หรือสูงกว่า) ใช้จีพียู Arc กับ U (15 วัตต์หรือต่ำกว่า) ใช้จีพียู Intel Graphics สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเลขประจำรุ่นซีพียูลดลงมาเหลือ 3 หลัก แทนระบบเลข 4 หลักแบบเดิม
อินเทลเผยรายละเอียดของซีพียูโน้ตบุ๊กรุ่นถัดไป รหัส Meteor Lake หรือชื่อแบรนด์ใหม่ Intel Core Ultra ว่าจะเริ่มวางขาย 14 ธันวาคม 2023
ข้อมูลหลายอย่างของ Meteor Lake เป็นสิ่งที่เคยประกาศมาก่อนแล้ว แต่อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมบ้าง เช่น
เมื่อไม่กี่วันมานี้ อินเทลเพิ่งประกาศทิศทางใหม่ของซีพียูแบรนด์ Core ว่าจะเลิกนับเจนในชื่อเรียกแล้ว (แต่ยังไม่ในเลขรุ่น) โดยจะเริ่มใช้ในซีพียูโค้ดเนม Meteor Lake ที่จะเปิดตัวภายในปีนี้
แต่ล่าสุดมีข่าวลือมาจากช่องไอทีจีน Golden Pig Upgrade บนแพลตฟอร์ม Bilibili ว่าอินเทลจะยังออกซีพียู 14th Gen มาด้วยเช่นกัน โดยจะเป็นซีพียูแกน Raptor Lake Refresh ที่อัพเดตจาก 13th Gen Raptor Lake ที่วางขายในปัจจุบัน
อินเทลประกาศว่าซีพียูรุ่นต่อไปที่ชื่อรหัสว่า Meteor Lake จะใช้แบรนด์ใหม่ คือ Intel Core Ultra และอินเทลวางแบรนด์นี้สำหรับซีพียูกลุ่มไคลเอนต์กลุ่มสูงสุด ขณะรุ่นอื่นๆ จะใช้แบรนด์ Intel Core ต่อไปเหมือนเดิม ตรงกับข่าวลือก่อนหน้านี้
จุดที่อาจจะสับสนสักหน่อยคือระบบตัวเลข 3/5/7/9 นั้นยังคงมีอยู่ต่อไปแต่ตัดตัว i ออกจากชื่อแบรนด์ Intel Core Ultra เองก็มีเลขต่อท้าย 3/5/7/9 ต่อท้ายแบบเดียวกับ Intel Core คงต้องรอดูในระยะยาวว่าอินเทลจะแบ่งสินค้าอย่างไรว่าตัวไหนจะได้ใช้แบรนด์ Ultra บ้าง หรือตัวเลข 9 จะกันไว้สำหรับ Ultra เท่านั้นหรือไม่
อินเทลเปิดเผยว่าซีพียูรุ่นหน้ารหัส Meteor Lake ที่จะวางขายช่วงปลายปีนี้ (อาจเรียกเป็น Core 14th Gen หรือรีเซ็ตแบรนด์เป็น Core Ultra และนับเลขใหม่) จะมีชิปประมวลผล AI ที่เรียกว่า neural VPU มาอยู่ใน SoC ด้วย ถือเป็นซีพียูรุ่นแรกของอินเทลที่มีฟีเจอร์นี้ (เป็นเทคโนโลยีของ Movidius ที่อินเทลซื้อมาตั้งแต่ปี 2016)
มีรายงานว่าอินเทลอาจเปลี่ยนคำเรียกรุ่นซีพียู มีผลตั้งแต่ซีพียู Meteor Lake (14th Gen) เป็นต้นไป จากเดิมอินเทลเรียกรุ่นซีพียูกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปเป็น Core i3, i5, i7 และ i9 ที่คุ้นเคย โดยจะเปลี่ยนเป็น Core Ultra แทน
รายงานดังกล่าวมาจากข้อมูลผลทดสอบซีพียูใหม่ของอินเทลซึ่งระบุชื่อรุ่นว่า Core Ultra 5 1003H ซึ่งเปลี่ยนจากคำว่า i5 เป็น Ultra 5 แทน
ถึงแม้ข่าวดังกล่าวยังเป็นการคาดเดาไม่มีคำยืนยัน แต่หลังรายงานนี้ออกมา Bernard Fernandes หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของอินเทลก็ออกมาทวีตเองว่าอินเทลกำลังรีแบรนด์ซีพียูตระกูล Meteor Lake เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยรายละเอียดทั้งหมดจะออกมาในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เรื่องนี้ก็น่าจะมีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง
อินเทลประกาศรายละเอียดเพิ่มเติมของซีพียูรุ่นถัดๆ ไป ได้แก่ Meteor Lake, Arrow Lake, Lunar Lake ที่จะออกในปี 2023-2024 (ปลายปีนี้จะมี Raptor Lake ที่นับเป็น Core 13th Gen ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ Alder Lake ที่ออกช่วงต้นปี)
Meteor Lake (น่าจะนับเป็น 14th Gen) จะเป็นชิปรุ่นแรกของอินเทลที่ใช้ดีไซน์แบบ tile-based นำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อกันบนชิปตัวเดียวด้วยเทคโนโลยีแพ็กเกจ 3D stacking ที่เรียกว่า Foveros (อ่านรายละเอียดเรื่อง Foveros)
อินเทลเปิดแผนออกซีพียูสำหรับกลุ่มพีซีต่อจาก Alder Lake ที่เปิดตัวไปในงาน CES เมื่อต้นปีที่ผ่านมา คือ Raptor Lake ที่กำลังส่งมอบภายในปลายปี 2022 นี้
นอกจากประเด็น IDM 2.0 อินเทลเตรียมเปิดรับงานผลิตชิปจากลูกค้าภายนอก Pat Gelsinger ซีอีโอของอินเทล ยังอัพเดตความคืบหน้าของการผลิตระดับ 7 นาโนเมตรด้วย
Gelsinger ยอมรับว่าปัญหา 10 นาโนเมตรที่เรื้อรังมานาน ทำให้แผน 7 นาโนเมตรโดนผลกระทบไปด้วย สิ่งที่เขาทำคือปรับปรุงแผน 7 นาโนเมตรใหม่ให้เรียบง่ายขึ้น, ร่วมมือกับ ASML ผู้ผลิตเครื่องยิงแสงแบบ EUV เพื่อใช้เทคโนโลยี EUV เพิ่มมากขึ้นอีก