OpenAI ปิดท้ายการประกาศฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ใหม่ในแคมเปญ 12 วัน 12 อย่าง ด้วยการเปิดตัวโมเดล AI ที่คิดเป็นขั้นตัวใหม่ o3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันถัดมาจาก o1
ถึงตรงนี้อาจมีคำถาม (หรือไม่มี) ว่าทำไม OpenAI ไม่ตั้งชื่อโมเดลใหม่นี้ว่า o2?
Sam Altman ซีอีโอ OpenAI อธิบายในช่วงต้นของการประกาศชื่อโมเดลนี้แบบตรงไปตรงมาว่าเพราะ o2 จะซ้ำกับชื่อแบรนด์ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักร O2 ซึ่งการข้ามเลข 2 ก็เพื่อเคารพต่อเพื่อน ๆ ที่ Telefónica บริษัทแม่ของ O2
Fortune รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวใน OpenAI บอกว่าบริษัทได้จัดการประชุมพนักงาน และพูดถึงการเปลี่ยนโลโก้และชุดตัวอักษร (Typeface) ของ OpenAI แบบใหม่ โดยโลโก้เหลือเพียงตัวอักษร O เท่านั้น
รายงานบอกว่าพนักงานหลายคนไม่เห็นด้วยกับโลโก้ใหม่นี้ โดยมองว่าโลโก้ปัจจุบันที่เป็นรูปดอกไม้หกแฉกนั้นเหมาะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามโลโก้ใหม่นี้ยังมีสถานะแบบร่างเป็นข้อเสนอเท่านั้น ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนได้อีกครั้ง
การเปลี่ยนโลโก้ใหม่ของ OpenAI เป็นส่วนหนึ่งในแผนการเพิ่มทุนรอบใหม่ และการปรับโครงสร้างองค์กรที่มีรายงานออกมาก่อนหน้านี้
ทีมดีไซน์ของไมโครซอฟท์ เผยเบื้องหลังการเลือกชุดสี (color palette) ชุดใหม่ของบริษัท เนื่องจากชุดสีเดิมใช้สีค่อนข้างพื้นฐาน เลือกสีให้ครบทุกด้านของวงล้อสี (color wheel) ถึงแม้สีดูสดใส (colorful) แต่ก็ไม่มีเอกลักษณ์ประจำตัวนัก โดยเฉพาะไมโครซอฟท์ในยุคปัจจุบันที่มีลูกค้าทั่วโลกเป็นจำนวนมาก มีความหลากหลายอย่างสูง
แนวทางของไมโครซอฟท์ไม่ทิ้งชุดสีเดิม แต่ปรับบางส่วนใหม่ให้สะท้อนคุณค่าขององค์กร โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญภายนอกคือ Pantone และ Franklin Till มาให้มุมมองที่รอบด้านขึ้น
ชุดสีใหม่ของไมโครซอฟท์ ตั้งเป้าว่าต้องสะท้อนคุณค่า 3 ประการคือ
มีการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่แอปเปิลไม่ได้ประกาศในคีย์โน้ตงาน WWDC24 โดยบริการล็อกอินยืนยันตัวตน Apple ID จะเปลี่ยนชื่อเป็น Apple Account
แอปเปิลออกแถลงการณ์เกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ในระบบปฏิบัติการที่จะออกมาปีนี้ โดยตอนหนึ่งบอกว่า ในการออกอัปเดต iOS 18, iPadOS18, macOS Sequoia, และ watchOS 11 บริการ Apple ID จะเปลี่ยนชื่อเป็น Apple Account เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันในการใช้งานบริการต่าง ๆ ของแอปเปิลทั้งหมด
มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องชื่อเล็ก ๆ จากงาน Google I/O 2024 โดยเทคโนโลยี Chromecast built-in ได้ถูกรีแบรนด์อีกครั้งกลับไปเป็นชื่อเดิมคือ Google Cast
เรื่องนี้ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งตอนแรกกูเกิลต้องการแยกแบรนด์ Chromecast ที่เป็นเทคโนโลยีการส่งคอนเทนต์ขึ้นจอ เลยแยกชื่อ Chromecast สำหรับฮาร์ดแวร์ของกูเกิล และ Google Cast เพื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตสมาร์ททีวีนำไปใส่ได้ แต่พอปลายปี กูเกิลก็เปลี่ยนชื่อเทคโนโลยี Google Cast มาเป็น Chromecast built-in ที่ใช้อยู่จนปัจจุบัน
กูเกิลเปิดตัวโมเดล AI ที่ชื่อ Gemini มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ปัจจุบัน Gemini กลายเป็นเอ็นจินหลักของ Google AI แต่เรื่องหนึ่งที่กูเกิลไม่เคยบอกคือทำไมจึงเลือกใช้ชื่อ Gemini ที่เป็นกลุ่มดาวคนคู่ และหมายถึงราศีเมถุนใน 12 ราศี มาเป็นคำเรียก AI ของบริษัท
กูเกิลบอกว่าเรื่องนี้ต้องให้ทีมปัญญาประดิษฐ์ DeepMind ที่เป็นคนที่เลือกใช้ชื่อนี้มาอธิบาย คำตอบคือเดิมทีโครงการ AI นี้จะใช้ชื่อว่า Titan (แล้วจะซ้ำกับแอปเปิล) โดยเป็นชื่อดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ แต่ทีมงานดูไม่ชอบเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามการเลือกชื่อ Titan มาก่อน ทำให้ธีมการตั้งชื่อถูกตีกรอบให้อยู่ในดวงดาวและจักรวาล
เราทราบดีว่าโซเชียลตัวหนังสือของ Meta ที่หวังแข่งขันกับ X นั้น ตั้งชื่อว่า Threads แต่ล่าสุด Adam Mosseri หัวหน้าทีม Instagram ที่รับผิดชอบ Threads ด้วย ออกมาเปิดเผยว่ามีชื่ออื่นที่ถูกพิจารณานำมาตั้งเป็นชื่อของแพลตฟอร์มนี้ด้วย
เขาบอกว่าชื่อที่เป็นอันดับสองและเกือบถูกนำมาใช้คือ Epigram ซึ่งที่มาชื่อนี้น่าจะเพื่อสะท้อนว่าทีมพัฒนาคือทีม Instagram เขายังบอกว่าโค้ดเนมที่เรียกกันภายในทีม Instagram ช่วงแรกคือ Textagram ซึ่งดูจะชัดเจนและตรงมาก ก็เลยไม่ได้นำมาพิจารณาเลย
ไมโครซอฟท์ประกาศรีแบรนด์ Bing Chat บริการแชทบอตที่เปิดตัวไปเมื่อต้นปี โดยจะไปใช้อีกชื่อที่ไมโครซอฟท์พยายามผลักดันอยู่แล้วคือ Copilot และมาพร้อม URL ใหม่ copilot.microsoft.com
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงมีผลกับบริการ Bing Chat Enterprise ด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเป็น Copilot Pro ขณะที่บริการ Bing ยังสามารถทำงานร่วมกันระหว่างระบบเสิร์ชเดิมผสมผสานกับระบบแชทได้
CNBC สัมภาษณ์พิเศษ Linda Yaccarino ซีอีโอ X ซึ่งมารับไม้ต่อจาก Elon Musk ในหลายประเด็น ทั้งอำนาจหน้าที่ ซึ่งหลายคนสงสัยว่าใครกำกับดูแลบริษัทกันแน่ ไปจนถึงการตัดสินใจรีแบรนด์ Twitter มาเป็น X
Yaccarino บอกว่าไอเดียเรื่อง X ที่ต้องการเป็น Everything App มีมานานแล้ว ในตอนที่บริษัทประกาศว่าตนจะมารับตำแหน่งซีอีโอในเดือนมิถุนายน ภารกิจหนึ่งก็คือการร่วมมือกับ Elon เพื่อเปลี่ยน Twitter มาสู่ X
Twitter ได้รีแบรนด์จากนกสีฟ้ามาเป็นอักษร X สีดำ แต่ Elon Musk ก็ยังไม่ได้บอกเล่าที่มาที่ไปมากนัก ล่าสุดเขาได้ทวีตตอบ Jon Erlichman พิธีกรของ Bloomberg TV ถึงเหตุผลของการรีแบรนด์นี้
Musk บอกว่าเขาใช้บริษัท X Corp ที่มีเป้าหมายสร้างแอปใช้งานได้กับทุกเรื่องในชีวิตประจำทุกวันหรือ Everything App มาซื้อกิจการ Twitter เพื่อต้องการสร้างพื้นที่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การทำให้สองอย่างนี้ไปด้วยกันได้จึงต้องเปลี่ยนชื่อ
Martin Grasser หนึ่งในผู้ร่วมออกแบบโลโก้นกสีฟ้าของ Twitter ซึ่งใช้มานานกว่า 11 ปี บอกเล่ารายละเอียดที่มาของงานออกแบบนี้ เพื่อเป็นการอำลาหลังจาก Elon Musk ประกาศรีแบรนด์ชื่อใหม่จาก Twitter เป็น X ซึ่งโลโก้นกสีฟ้านี้ก็จะถูกหยุดใช้งานตามด้วย
เขาบอกว่าทีมออกแบบโลโก้ Twitter ตอนนั้นมี 3 คนคือ Grasser เอง, Todd Waterbury (ปัจจุบันเป็นหัวหน้าฝ่ายสร้างสรรค์ที่ Target) และศิลปิน Angy Che โจทย์ที่ได้มามีสั้น ๆ เพียง ต้องการโลโก้นกตัวใหม่ ที่ดูดีแบบโลโก้ Apple หรือ Nike
ช่วงแรกของการออกแบบ ทีมได้วาดภาพนกหลายพันภาพ เพื่อทำความเข้าใจสัดส่วนที่ถูกต้อง รวมทั้งภาพนกขณะบินในรูปแบบต่าง ๆ ส่วนโลโก้ที่เห็นปัจจุบัน สร้างขึ้นจากการนำวงกลมมาวางซ้อนตัดกันให้เป็นนก
มีรายงานเล็กน้อยหลายประเด็น จากการประกาศรีแบรนด์ Twitter มาเป็น X ของ Elon Musk เจ้าของ Twitter ปัจจุบัน เพราะตอนนี้การเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น แอป Twitter ก็ยังเป็นโลโก้นกสีฟ้า, URL หลักก็ยังเป็น Twitter.com ว่าแล้วทิศทางต่อไปคืออย่างไร
โดย Elon Musk ตอบทวีตในหลายประเด็น เช่น Sawyer Merritt ตั้งคำถามว่าคำว่าทวีต (tweet) ควรเรียกว่าอะไรต่อจาก เขาก็ตอบว่า "x" ส่วน MKBHD เมื่อบอกว่า เขาจะเรียกแพลตฟอร์มนี้ว่า Twitter ต่อไป Musk ก็มาตอบว่า "คงอีกไม่นาน" (Not for long)
Twitter เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการรีแบรนด์ ตามที่ซีทีโอและเจ้าของ Elon Musk ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ โดยตอนนี้ทั้งบัญชีหลักของ Twitter หน้าหลักของ Twitter.com เริ่มทยอยใช้โลโก้ใหม่ที่เป็นเครื่องหมาย X แทนแล้ว โดยส่วนของแอปก็คาดว่าจะถูกเปลี่ยนเป็นโลโก้ X เร็ว ๆ นี้
X เป็นชื่อโครงการที่ Elon Musk พูดถึงมานานแล้วในการสร้าง Everything App ในช่วงที่เขาประกาศซื้อกิจการ Twitter ทั้งนี้ Musk เป็นเจ้าของโดเมน X.com มานานแล้ว ซึ่งต่อมาถูกโอนเป็นของ PayPal ผ่านการควบรวมกิจการ และเขาก็ได้ซื้อโดเมนนี้กลับในปี 2017
Wired รายงานว่า Apple ได้ยื่นฟ้องบริษัท Fruit Union Suisse ที่สวิตเซอร์แลนด์ มีอายุมากถึง 111 ปี เพราะใช้โลโก้รูปแอปเปิลสีแดงมีสัญลักษณ์บวกอยู่ภายในแอปเปิล โดยทาง Apple อ้างว่าต้องการครอบครองสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าหาก Apple ชนะคดีขึ้นมาจะมีผลให้ Fruit Union Suisse ถูกบังคับให้เปลี่ยนโลโก้
Logitech ประกาศการเปลี่ยนแปลงของแบรนด์ในเครือ ได้แก่ ASTRO, Blue Microphones และ Logitech for Creators โดยทั้งสามแบรนด์จะย้ายมาอยู่ภายใต้แบรนด์หลัก Logitech G เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารทำการตลาด และรวมสินค้าไว้ในที่เดียว มีผลตั้งแต่ 7 กรกฎาคม เป็นต้นไป
Logitech ซื้อกิจการ ASTRO มาในปี 2017 และซื้อกิจการ Blue Microphones ในปี 2018 โดยที่ผ่านมาแต่ละแบรนด์แยกทำการตลาดเอง เนื่องจากมีไลน์สินค้าเฉพาะกลุ่ม
มีรายงานว่าอินเทลอาจเปลี่ยนคำเรียกรุ่นซีพียู มีผลตั้งแต่ซีพียู Meteor Lake (14th Gen) เป็นต้นไป จากเดิมอินเทลเรียกรุ่นซีพียูกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปเป็น Core i3, i5, i7 และ i9 ที่คุ้นเคย โดยจะเปลี่ยนเป็น Core Ultra แทน
รายงานดังกล่าวมาจากข้อมูลผลทดสอบซีพียูใหม่ของอินเทลซึ่งระบุชื่อรุ่นว่า Core Ultra 5 1003H ซึ่งเปลี่ยนจากคำว่า i5 เป็น Ultra 5 แทน
ถึงแม้ข่าวดังกล่าวยังเป็นการคาดเดาไม่มีคำยืนยัน แต่หลังรายงานนี้ออกมา Bernard Fernandes หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรของอินเทลก็ออกมาทวีตเองว่าอินเทลกำลังรีแบรนด์ซีพียูตระกูล Meteor Lake เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยรายละเอียดทั้งหมดจะออกมาในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เรื่องนี้ก็น่าจะมีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง
Nokia บริษัทแม่ (ไม่ใช่ HMD Global ที่ทำมือถือ) เปิดตัวโลโก้ใหม่ที่งาน MWC Barcelona 2023 เพื่อสะท้อนทิศทางใหม่ของบริษัท หลังผ่านช่วง "รีเซ็ต" เปลี่ยนผ่านมาเน้นตลาด B2B เสร็จแล้ว และกำลังเข้าสู่ช่วง "สเกล" กลับมาขยายธุรกิจใหม่
ยุทธศาสตร์ใหม่ของ Nokia ยังเน้นขยายส่วนแบ่งตลาดอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับ ISP และ Enterprise ที่มีอยู่เดิม แต่จะมองหาธุรกิจใหม่ๆ นอกเหนือจากอุปกรณ์มือถือ (beyond mobile devices) จากฐานทรัพย์สินทางปัญญาและงานวิจัยของตัวเอง รวมถึงเพิ่มโมเดลธุรกิจแบบ as-a-Service มากขึ้นด้วย
เราเห็นไมโครซอฟท์รีแบรนด์ Office 365 มาเป้น Microsoft 365 ตั้งแต่ปี 2020 แต่ล่าสุดไมโครซอฟท์กำลังไปไกลกว่านั้น ถึงขั้นจะเลิกใช้แบรนด์ "Office" ไปเลย และเปลี่ยนมาเป็น Microsoft 365 แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลเฉพาะตัวแบรนด์คำว่า Office เท่านั้น ไม่มีผลต่อแอพในชุดอย่าง Word, Excel, PowerPoint ที่ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
สิ่งที่จับต้องได้ที่สุดคือแอพ Office ทั้งบนมือถือ, บนวินโดวส์ และเว็บแอพ Office.com จะถูกรีแบรนด์ใหม่เป็นแอพชื่อ Microsoft 365 แทน พร้อมโลโก้ใหม่เป็นวงหกเหลี่ยมสีม่วง แทนตัว O สีส้มแดงที่เราคุ้นเคยกันมานาน
ข่าวลือการตั้งชื่อรุ่นของ iPhone 14 นั้นมีออกมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งบอกว่ารุ่นทั่วไปจะเรียก iPhone 14 สำหรับจอ 6.1 นิ้ว และ iPhone 14 Max สำหรับจอใหญ่ 6.7 นิ้ว แต่สุดท้ายแอปเปิลก็ประกาศชื่อว่า iPhone 14 Plus แทน
อย่างไรก็ตามมีข้อมูลที่สนับสนุนว่า เดิมแอปเปิลจะใช้ชื่อ iPhone 14 Max จริง ๆ โดยมีผู้พบว่าในหน้า Support ที่แนะนำวิธีการระบุรุ่น iPhone เนื้อหาส่วน iPhone 14 Plus รูปประกอบชื่อใช้ตั้งชื่อไฟล์มีคำว่า iphone-14-max และยังไม่ได้แก้ไข ขณะที่รูปประกอบของรุ่นอื่นตั้งชื่อตรง
Chrome OS ระบบปฏิบัติการของกูเกิลสำหรับอุปกรณ์ Chromebook ได้รีแบรนด์ใหม่แบบเล็กน้อยจริง ๆ โดยเปลี่ยนการสะกดชื่อจาก Chrome OS เว้นวรรค มาเป็น ChromeOS ที่พิมพ์ติดกันยาว ซึ่งหัวหน้าฝ่ายการตลาดของกูเกิลยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงนี้
การเปลี่ยนแปลงนี้คงไม่ได้มีผลใด ๆ ในแง่ฟังก์ชันการใช้งาน แต่สะท้อนว่าแนวทางเรียกชื่อที่ตามด้วยคำว่า OS กำลังไปในทิศทางพิมพ์ติดกันยาวไม่เว้นวรรค ซึ่งถ้ายกตัวอย่างก็คงหนีไม่พ้น ...OS ทั้งหลายของแอปเปิล
ส่วนระบบปฏิบัติการอื่นของกูเกิลนั้น ยังมีวิธีสะกดที่ต่างกันออกไป เช่น Wear OS เว้นวรรค ส่วน Fuchsia หรือ Android ยังเรียกชื่อสั้น ๆ ไม่มี OS ต่อท้าย
Instagram ประกาศรีเฟรชแบรนด์ โดยปรับทั้งสีโลโก้ ที่มีคนสังเกตเห็นก่อนหน้านี้ ตลอดจน visual identity ในด้านอื่น ซึ่ง Instagram บอกว่าการปรับปรุงนี้เพื่อให้สะท้อนแบรนด์และชุมชนผู้ใช้งานมากขึ้น
เริ่มจากสีพื้นของโลโก้ใหม่ Instagram ที่ทำให้สว่างขึ้น ตัวเฉดสีจัดเรียงผ่านกระบวนการ 3D Modeling ทำให้มีมิติด้านลึกด้วย เฉดสีใหม่นี้จะถูกนำไปใช้สำหรับงานประชาสัมพันธ์แบรนด์ทั้งหมด
App Annie บริษัทวิจัยตลาดแอปมือถือ ประกาศรีแบรนด์บริษัทเป็น Data.ai โดยอธิบายเป็นการรวมกันของข้อมูลทั้งด้านลูกค้า ภาพรวมตลาด และประมวลผลด้วย AI
ที่ผ่านมา App Annie ให้บริการผลิตภัณฑ์ข้อมูลสำหรับนักพัฒนาแอป ผู้เผยแพร่แอป ตลอดจนผู้ลงโฆษณา ในการวัดผลและดูข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแอปมือถือ ซึ่งจากการรีแบรนด์ครั้งนี้ก็สะท้อนว่าบริษัทต้องการขยายบริการไปให้มากขึ้นในทุกช่องทางดิจิทัล
Ted Krantz ซีอีโอ Data.ai กล่าวว่าเครื่องมือของบริษัทที่ผ่านมาได้กำหนดมาตรฐานวัดผลในตลาดแอปมือถือ ซึ่งตอนนี้บริษัทต้องการขยายไปสู่พื้นที่อื่น ไม่ว่าจะเป็น เว็บ อุปกรณ์พกพา วิดีโอออนไลน์ และเว็บสตรีมมิ่ง
เฟซบุ๊กประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ว่าจะเป็นบริษัทสำหรับให้บริการโลกเสมือน (metaverse) ที่มีบริการอื่นๆ นอกจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก โดย Mark Zuckerberg ระบุว่าคำว่า meta มาจากภาษากรีกที่แปลว่า "ไกลไปกว่า" (beyond) และบริษัทเฟซบุ๊กเองก็กำลังไปไกลกว่าข้อจำกัดของหน้าจอ หรือข้อจำกัดของระยะทาง
แนวทางการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta ยังแปลว่าบริการอื่นๆ ไม่ต้องผูกกับเฟซบุ๊กเสมอไป บริการใหม่ๆ หลังจากนี้จะไม่ต้องการบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อใช้งาน
ตอนนี้เฟซบุ๊กจดโดเมน meta.com ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ทำอะไรนอกจาก redirect เข้าไปยังเฟซบุ๊กเฉยๆ
SurveyMonkey บริษัทผู้ให้บริการจัดทำแบบสำรวจในช่องทางออนไลน์ ประกาศรีแบรนด์โดยใช้ชื่อใหม่เป็น Momentive เพื่อสะท้อนภาพธุรกิจของบริษัท ที่เน้นโซลูชันด้านบริหารประสบการณ์ของลูกค้ามากขึ้น
ซีอีโอ Zander Lurie กล่าวว่าบริษัทอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์การสำรวจความคิดเห็นมานาน 20 ปี ในปีที่ผ่านมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น บริษัทพบว่าลูกค้าองค์กรต่าง ๆ มีความต้องการซอฟต์แวร์ Agile ที่ช่วยให้เข้าใจผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน (Stakeholder) ที่รวดเร็ว และบริหารประสบการณ์ของทุกฝ่ายได้ดีมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์หลักภายใต้ Momentive ประกอบด้วย GetFeedback เครื่องมือบริหารประสบการณ์ลูกค้า, SurveyMonkey เครื่องมือสำรวจความคิดเห็น และโซลูชันสำหรับจัดการ Insight ของแบรนด์
Discord ประกาศฉลองครบรอบ 6 ปี ด้วยการปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่ ซึ่งสัญลักษณ์ปัจจุบันเป็นคาแรกเตอร์ที่ Discord เรียกชื่อว่า Clyde โดยปรับเปลี่ยนรูปร่างให้ดูเรียบง่ายมากขึ้น รวมทั้งนำ Clyde ออกจากกล่องคำพูด ที่เรียกว่า Home ออก ทำให้เกิดความสมมาตรและนำไปต่อยอดในงานออกแบบได้มากกว่าเดิม
นอกจากคาแรกเตอร์ที่เปลี่ยนไป ฟอนต์ของ Discord ก็ปรับรูปแบบด้วยเช่นกัน รวมทั้งสีพื้นหลังที่เรียกว่าสี Blurple ก็ปรับเฉดให้สว่างสดใสมากขึ้น (จาก 7289DA เป็น 5865F2)
Discord บอกว่าฟังก์ชันการทำงานทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม แต่ผู้ใช้งานอาจรู้สึกว่าสีโลโก้ดูสว่างตามากขึ้น