เรื่องนี้ยังยืดเยื้อไม่จบเมื่อทางรัฐแมสซาชูเซ็ตส์ออกมาให้สัมภาษย์ว่า การที่ไมโครซอฟท์ฺยอมเปิดไฟล์ฟอร์แมตของตนให้กับ ECMA นั้นจะทำใ้ห้ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์เข้าข่ายมาตรฐานเปิดที่ยอมรับได้กับทางรัฐ และอาจจะพิจารณาใช้ไมโครซอฟท์ต่อไป
เรื่องนี้เดือดร้อนถึงทางซันที่วิ่งโร่ส่งจดหมายถึงรัฐเป็นการใหญ่ว่าไฟล์ของไมโครซอฟท์นั้น เพียงกำลังจะเปิดเท่านั้น และทางรัฐไม่ควรไปยอมรับกับของที่ยังไม่ออกมา ซึ่งต่างจาก OpenDocument ที่มีหลายเจ้าเริ่มผลิตซอฟท์แวร์ออกมารองรับกันแล้ว
มันยังไม่จบ....
หากใครตามข่าวคราวอยู่บ้าง คงจำได้ลางๆ ว่าไมโครซอฟท์เคยประกาศไว้ว่าจะกระโดดเข้าสู่งานประมวลผลขั้นสูงอย่างเต็มตัว ซึ่งแต่เดิมถูกครอบครองโดยระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และตอนนี้ก็ได้ย้ายกลายมาเป็น Linux แทน ตอนแรกไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่าจะต้องเสร็จภายในปีนี้ แต่จนแล้วจนรอดก็เป็นโรคเลื่อนเหมือนเช่นเคย ตอนนี้จึงเพิ่งจะคลอดเบต้า 2 ออกมา โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Compute Cluster Server 2003 ล่าสุดอีกความพยายามหนึ่งของไมโครซอฟท์ก็คือ การดึงมือหนึ่งทางด้านการออกแบบซุปเปอร์คอมพ์ Bruton Smith มาร่วมทีม
หลังจากมีการประชุมวิชาการด้านการใช้งานดิจิทัลที่กรุงเวียนนา จนได้เอกสารสรุปที่ชื่อว่า Vienna Conclusions ไมโครซอฟท์ก็ออกมาขอให้ทาง UN แก้ไขข้อความในเอกสารเพื่อลบส่วนที่แสดงถีงการใช้งานฟรีซอฟท์แวร์ออกไป จากประโยคที่ว่า
"Increasingly, revenue is generated not by selling content and digital works, as they can be freely distributed at almost no cost, but by offering services on top of them. The success of the free software model is one example,"
โดยแก้ไขเป็น
หลังจาก Microsoft ออกมาเปิดตัวฟอร์แมตใหม่ (.docx) ของตัวเอง เพื่อมาเปรียบมวยกับ OpenDocument Format (.odt) วันนี้แวะนำบทความจาก GROKLAW เปรียบเทียบฟอรแมตของสองค่ายนี้ให้ดูกัน
สรุปสั้นๆ คือ ODF นั้นถ้าให้คนอ่านจะสามารถอ่านได้ (readability) ดีกว่า ส่วน MS XML นั้นจะอยู่ในรูปที่ normalize มากกว่า (normalize ภาษาไทย คืออะไร?)
ODF แปลงเป็น XHTML ได้ง่ายกว่า แหงละ เพราะแทบจะแปลงได้ตรงๆ เลย
มีรายงานถึงตัวเลขที่เ็ป็นไปได้ถึงการขาดทุนของไมโครซอฟท์ต่อ XBox 360 ทุกๆ เครื่องที่ขายไป โดยรายงานระบุว่า ราคาเฉพาะตัวเครื่องนั้นน่าจะอยู่ที่ประมาณ 470 ดอลลาห์ ขณะที่อุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอนโทรลเลอร์ สายไฟ และอแปเตอร์นั้น รวมๆ กันแล้วน่าจะอยู่ที่ประมาณ 55 ดอลลาห์ ขณะที่ไมโครซอฟท์ขายในราคาเพียง 399 ดอลลาห์
วัฒนธรรมการขายขาดทุนเป็นเรื่องปรกติในวงการนี้ เครื่อง PS3 ของโซนี่นั้นน่าจะขาดทุนหนักกว่าไมโครซอฟท์เสียอีกเนื่องจากสเปคที่สูงกว่า โดยคาดกันว่าต้นทุนของ PS3 นั้นอาจจะทะลุไปถึง 600 ดอลลาห์ โดยทุกรายต่างหวังส่วนแบ่งจากเกมมากกว่าที่จะหวังกำไรจากตัวเครื่องกัน
หลังจากชิงตัดหน้าผู้ผลิตรายอื่นๆ ไปไ้ด้หลายเดือน และวางขายไปเพียงวันเดียว ผู้ใช้ XBox 360 ออกมาโอดครวญกันระงมถึงความไม่เสถียรของเครื่องคอลโซลพันธุ์ใหม่่นี้ โดยมีตั้งแต่บูตแล้วค้าง ไปจนถึงเล่นเกมไปสักแป้บก็ค้าง เข้าบริการ XBox Live แล้วค้างก็มี
งานนี้ใครรอเจ้าเครื่องนี้อยู่ไม่รู้ แต่ผมขอบายล่ะครับ
ที่มา - Slashdot
รายงานรูรั่วล่าสุดของบราวเซอร์ Internet Explorer มีอันตรายในพอที่จะเปิดช่องให้แฮกเกอร์เรียกโปรแกรมใดๆ ในเครื่องของเหยื่อได้ โดยรู้รั่วนี้ได้รับการยืนยันจากบริษัท FrSIRT ที่แสดงตัวอย่างไฟล์ HTML ที่สามารถเรียกโปรแกรมเครื่องคิดเลขของวินโดว์ขึ้นมาใช้งานได้ และคาดว่าในไม่ช้าจะมีเว็บดัดแปลงที่สร้างความเสียหายอย่างหนักออกมาอีกจำนวนมาก
ล่าสุดบั๊กนี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากไมโครซอฟท์ แต่ในเครื่อง Windows 2000 และ 2003 ที่เปิด Enhaced Security Configuration เอาไว้จะไม่ได้รับผลจากช่องโหว่นี้
เพื่อแก้ปัญหาชื่ออีเมลขาดแคลน เพราะหลังๆ ถ้าใครคิดจะสมัคร Hotmail, Yahooหรือ GMail คงเจอปัญหาชื่อซ้ำ เปลี่ยนจนเบื่อแล้วยังไม่ได้สมัคร ไมโครซอฟท์เลยทำใจดีเปิดบริการฟรีอีเมลให้เว็บของคุณฟรีๆ แต่แลกด้วยการติดโฆษณาจากไมโครซอฟท์นะ
โดยบริการ Windows Live Custom Domains นี้อนุญาตให้ใช้ได้ 20 คนต่อ 1 โดเมน ที่ความจุ 250 MB ต่อคน (ฮอทเมลเมืองไทยยัง 2 MB อยู่เลย) เป็นบริการผ่านเว็บเมล สามารใช้บริการจากเว็บไมโครซอท์ต่างๆพวก MSN Messenger, MSN Spaces สรุปว่าก็ Hotmail ดีดีนี่เองเพียงแต่คราวนี้เป็นชื่อโดเมนของคุณเลย
เพื่อตอบโต้การรุกคืบเข้ามาของมาตรฐานเปิดอย่าง OpenDocument ไมโครซอฟท์กำลังจะประกาศอย่างเป็นทางการในวันนี้ถึงการส่งมาตรฐานไมโครซอฟท์ออฟฟิศ เข้าสู่ ECMA ซึ่งจะทำให้มีการเปิดเผยข้อมูลในฟอร์แมตของไมโครซอฟท์ออฟฟิศ ซึ่งนำไปสู่การสร้างโปรแกรมที่เข้ากันได้กับไมโครซอฟท์ออฟฟิศในอนาคต
ไมโครซอฟท์เปิดเผยข้อมูลบางส่วนในไฟล์ฟอร์แมตของตนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่นี่เป็นการเปิดแบบครบถ้วนเป็นครั้งแรก โดยคาดว่าภายในปีหน้าเอกสารทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์
ที่มา - Financial Times
BentUser วันนี้มาร่วมรำลึกถึงอดีต ผลิตภัณฑ์ที่ว่ากันว่าแย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไมโครซอฟท์
ถ้าใครรู้จักกับ Microsoft Agent ที่เป็นยักษ์จินี่, เจ้าคลิปหนีบกระดาษ แล้วก็เจ้าหมาน้อยในช่อง Search ล่ะก็ มันมาจาก BOB นี่เอง
ดูแต่รูปก็สนุกแล้วครับ
Office 12 ออกเบต้าแรกให้กับคนที่ลงทะเบียนในวงจำกัดลองใช้กันแล้ว รีวิวแนะนำให้อ่านจาก PC Magazine หรือถ้าคิดว่ามันยาวก็นั่งดู slide show ของ screenshot ดูก็ได้ครับ
ของใหม่ใน Office 12 มี 4 อย่างหลักๆ คือ
ตอนนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายพาเหรดกันออกมาแจกของฟรีกันเต็มไปหมด
ผมเคยอ่านที่ไหนไม่รู้ว่า การใช้งาน 64 บิตจะเริ่มจากเกมก่อน ตามมาด้วยเซิร์ฟเวอร์ และปิดท้ายด้วยเดสก์ท็อป เราผ่านยุคของซีพียูสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ เช่น Athlon 64 FX หรือ Pentium Extreme Edition มาได้ซักพักแล้ว คราวนี้ถึงคิวของเซิร์ฟเวอร์ครับ
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศว่า ผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้จะมีแต่รุ่น 64 บิตเท่านั้น
ไมโครซอฟท์ได้ฤกษ์ออก SQL Server 2005 โค้ดเนม Yukon หลังจากล่าช้ามากว่าสองปี โดยหวังว่า SQL 2005 จะช่วยให้บริษัทตามทันออราเคิลกับไอบีเอ็ม (DB2) ได้ในตลาดองค์กร ฟีเจอร์ใหม่ๆ อย่างเช่น full-text search, native storage, XML querying เป็นต้น อ่านเอาเองจากหน้าผลิตภัณฑ์ของ Microsoft SQL Server
มีรุ่นทดลองใช้ 180 วัน และ SQL Server 2005 Express Edition ที่ใช้งานได้ฟรี
เป็นที่รู้กันดีว่ากระแสไอพ็อดทำให้คนจำนวนมากหันไปใช้เครื่องแมคแทนวินโดว์กันเยอะพอควร แต่ัเลขที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือก็เพิ่งจะออกมาในวันนี้ โดยบริษัท Needham & Co. โดยระบุว่าจากการประมาณการ มีผู้ย้ายจากแพลตฟอร์มวินโดว์ไปหาเครื่องแมคถึงหนึ่งล้านคน ในสามไตรมาสที่ผ่านมา
ตัวเลขประมาณการก่อนหน้านี้มีตัวเลขเพียงห้าแสนคน แต่นักวิเคราะห์ระบุว่าตัวเลขดังกล่าว เป็นตัวเลขที่ประเมิณจากผู้ใช้ไอพ็อดที่ย้ายไปใช้แมค แต่จากการทำวิจัยครั้งใหม่ พบว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ไอพ็อดก็มีอัตราการย้ายไปใช้แมคที่สูงมากเช่นกัน
ไมโครซอฟท์ต้องทำการบ้านอีกหนักเลยงานนี้
หลังจากปล่อยให้กูเกิลนำหน้าไประยะหนึ่ง ตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็ออกมาแถลงการณ์ การติดต่อช่วยเหลือหอสมุดอังกฤษ ที่จะแสกนหนังสือจำนวนกว่าแสนเล่ม หรือ 25 ล้านหน้า โดยไมโครซอฟท์จะออกเงินก้อนแรกให้กับหอสมุดอังกฤษเป็นเงิน 2.5 ล้านดอลลาร์เป็นการเริ่มต้น
ถึงชั่วโมงนี้สงครามการแย่งชิงข้อมูลหนังสือก็แตกออกเป็นสามฝ่ายแล้ว คือ กูเกิล ยาฮูที่มาในรูปของ Open Content Alliance และรายล่าสุด ไมโครซอฟท์
ถึงนาทีนี้คงต้องบอกว่าวินโดว์กับกูเกิลกำลังจะเป็นคู่อาฆาตกันเต็มตัวจริงๆ แล้ว เมื่อไมโครซอฟท์ประกาศบริการชุดใหม่คือ Windows Live และ Office Live
Windows Live คือ ชุดของบริการที่รวมเอาบริการออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน ตั้งแต่ อีเมล Bookmark สแกนไวรัส ไปจนถึงบริการเซิร์ช
ส่วน Office Live คือ บริการที่เราๆ ท่านๆ ถามถึงกันมานาน คือ ออฟฟิศแบบออนไลน์ ที่กูเกิลถูกคาดหวังให้สร้างขึ้นมา ในตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็เตรียมออกบริการนี้ในต้นปีหน้าแล้ว
หลังจากข่าวเรื่อง OpenDocument กลบข่าวอื่นๆ ไปหมด ตอนนี้มีความอัพเดตล่าสุดของ Office 12 คือ สนับสนุนฟอร์แมต XPS (XML Paper Specification) หรือชื่อเดิมว่า Metro ซึ่งอธิบายง่ายๆ ว่ามันเป็นฟอร์แมตที่ไมโครซอฟท์ออกมาแข่งกับ PDF ตรงๆ
XPS เป็นฟอร์แมตที่สำคัญใน Vista ยังไงย่อมต้องมีใน Office 12 อยู่แล้ว เพียงแต่นี่เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการเท่านั้นเองครับ
สรุปว่าตอนนี้ Office 12 สนับสนุนฟอร์แมตดังนี้
คงจำกันได้ว่าสมัยวินโดว์ 95 ออกใหม่ๆ ความสามารถที่ไมโครซอฟท์ทำมาอวดอย่างหนึ่งคือ ชอร์ตคัต (Short Cut) ที่ทำให้ผู้ใช้เรียกไฟล์ที่อยู่ที่อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องก็อปมาวาง โดยคนเล่นยูนิกซ์มีใช้กันมานานนม
แต่ชอร์ตคัตก็ยังต่างจากลิงก์ในยูนิกซ์ เพราะมันใช้ได้เพียงการคลิกผ่านทางวินโดว์เพื่อความสะดวกของผู้ใช้เท่านั้น ขณะที่ลิงก์นั้นโปรแกรมต่างๆ จะมองเหมือนว่าไฟล์นั้นมาอยู่ตรงนั้นจริงๆ เลย
ล่าสุดไมโครซอฟท์ก็ประกาศออกมาแล้วว่าจะมีการเพิ่มความสามารถนี้ลงไปใน NTFS รุ่นต่อไปที่จะมากับวิสต้าด้วย
ก่อนหน้านี้ก็มีเชลล์ ตอนนี้มีลิงก์ ใครจะรู้ ต่อไปอาจจะเป็น VFS......
ไมโครซอฟท์ออกมาประกาศไล่ล่านักส่งสแปมกันอย่างจริงจัง โดยล่าสุดมุ่งเป้าไปที่ 13 กลุ่มนักส่งสแปมหลัก โดยเตรียมดำเนินคดีต่อไป งานนี้กลยุทธ์หลักคือการตามล่าหา ซอมบี หรือคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสแล้วเปิดโิิอกาสให้นักส่งสแปมเข้าควบคุมเครื่องได้ ด้วยวิธีนี้ทำให้การหาต้นตอของเครื่องส่งทำได้อย่างยากลำบาก
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการการค้าของสหรัฐก็มีท่าทีในเรื่องนี้ไปก่อนแล้ว ด้วยการขอความร่วมมือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ช่วยกันดูแลเครื่องของลูกค้าของตน
ไม่รู้มีใครสังเกตกันบ้างหรือเปล่า ว่ากำแพง 4GHz ยังไม่มีใครข้ามไปได้เสียที ทั้งๆ ที่เราเหยียบ 2GHz กันมาหลายปีแล้ว และอีกเรื่องคือขนาดของการผลิตที่เหมือนจะคงที่ที่ 90 นาโนเมตรเช่นกัน
สองอย่างข้างต้น (ขนาดในการผลิต และความเร็วสัญญาณนาฬิกา) เหมือนเป็นกำแพงที่โลกซีพียูติดอยู่ แต่ในขณะที่กฎของมัวร์ (ความหนาแน่นของทรานซิสเตอร์จะดับเบิ้ลทุก 18 เดือน) ยังเป็นจริงอยู่ สิ่งที่ผู้ผลิตเอามาชดเชยก็คือ การเบิ้ลซีพียูเข้าไปอีกตัว ที่เราคุ้นกันดีในชื่อ "ดูอัลคอร์" น่ะเอง
หมายเหตุ: หนึ่งตัวหลายคอร์ กับซีพียูหลายตัว มันคนละเรื่องกันนะครับ
หลังจากถูกตรวจสอบจากคณะกรรมการการค้าของเกาหลี ไมโครซอฟท์ก็ออกมาประกาศท่าทีแข็งกร้าวในการแถลงผลประกอบการเมื่อวานนี้ โดยทางการเกาหลีระบุว่าการที่ไมโครซอฟท์ใส่โปรแกรมอย่าง Windows Messenger และ Windows Media Player รวมไปในวินโดว์นั้นเป็นการไม่เป็นธรรมกับคู่แข่งรายอื่นๆ โดยมีแนวโน้มว่าเกาหลีจะสั่งให้ไมโครซอฟท์ถอนโปรแกรมทั้งสองออกจากวินโดว์
สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า ไมโครซอฟท์โต้ตอบด้วยการแถลงการณ์ว่า การบังคับให้ไมโครซอฟท์ต้องถอดโปรแกรมทั้งสองออกจากวินโดว์อาจจะทำให้ ไมโครซอฟท์ต้องเลื่อนการวางตลาดวินโดว์ในเกาหลีออกไป จนกระทั่งอาจจะถอนวินโดว์ออกจากตลาดเกาหลีไปเลยก็เป็นได้
ไมโครซอฟท์ส่ง Visual Studio 2005 (Whidbey) และ SQL Server 2005 (Yukon) เข้าสู่กระบวนการผลิตแล้ว สมาชิก MSDN น่าจะเข้าไปดาวน์โหลดได้ก่อนภายในสัปดาห์นี้ ส่วนงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการจะจัดขึ้นวันที่ 7 พ.ย. โปรแกรมสำคัญอีกตัวในสายเซิร์ฟเวอร์คือ BizTalk Server 2006 ที่จะออกปีหน้าก็ใกล้ออก Community Technology Preview (CTP) เช่นกัน (eWeek)
อีกข่าวของไมโครซอฟท์เหมือนกัน คือ .NET Framework 2.0 ตัวจริงออกแล้วครับ รายละเอียดดูได้ในเว็บของ .NET
เรายังตามติดกับสถานการณ์ Open Document Format กันอย่างต่อเนื่อง
ผู้ผลิตโปรแกรมชุดออฟฟิศมีไม่เยอะครับ รายใหญ่มีไมโครซอฟท์, OOo, ปลาดาว (อุ๊บส์) รายย่อยหน่อยก็มีจาก KDE, Gnome ทุกรายมีท่าทีต่อ OpenDocument อย่างชัดเจน เหลือแต่ Corel เจ้าของ WordPerfect ที่ยังกั๊กๆ อยู่
บนยูนิกซ์ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถทำได้ด้วย command line interface (CLI) เราสร้างโปรแกรมแบบ GUI บน CLI ส่วนบนวินโดวส์ โปรแกรมเป็น GUI มาตั้งแต่แรก ในขณะเดียวกันให้ CLI ห่วยๆ มาตัวนึงใน DOS prompt ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาชาติเศษ
คำนิยามข้างต้นกำลังจะเปลี่ยนไปด้วย Microsoft Command Shell (MSH)