แอปพลิเคชัน หมอชนะ ประกาศยุติให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2565 เป็นต้นไป หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563 โดยถูกวางเป็นแอปฯ เก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่
แอปหมอชนะ แอปสำหรับติดตามไทม์ไลน์โควิดจากการไปสถานที่ต่างๆ ของผู้ใช้ ลงทะเบียนในการขอรับฉีดวัคซีน COVID-19 และอื่นๆ ไม่สามารถใช้งานได้ มีการรายงานในโพสต์ของเพจ หมอแล็บแพนด้า ตั้งแต่ช่วง 10.30 น. ของวันนี้
ผู้เขียนทดสอบบน iOS 14.5 เวลา 16.33 น. ยังไม่สามารถใช้งานได้ และค้างอยู่ที่หน้าโลโก้สีฟ้าก่อนจะแครชไป รวมถึงมีคอมเม้นต์จากผู้ใช้ฝั่ง Android และเพื่อนผู้เขียนที่ทดสอบบน Android ระบุว่าใช้งานไม่ได้เช่นกัน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA ในฐานะองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ดูแลแอพ "หมอชนะ" หลังทีมงานอาสาสมัครถอนตัว ออกมาประกาศแนวทางว่าจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการ DGA ระบว่าที่ผ่านมา "หมอชนะ" เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มอาสาสมัครภาคเอกชน แต่ในเดือนมกราคม 2564 รัฐบาลเล็งเห็นประโยชน์ของแอพนี้ จึงเชิญชวนให้ประชาชนมาดาวน์โหลด อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกภาครัฐยังจำกัดรูปแบบการใช้งานเพื่อ "ควบคุมและสอบสวนโรค" เพียงอย่างเดียวก่อน ยังไม่ได้กำหนดขั้นตอนหาผู้เกี่ยวข้องเรื่องกำหนดสี เพราะต้องระวังไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบหากกำหนดสีพลาด
ทีมพัฒนาแอพ "หมอชนะ" ซึ่งเป็นอาสาสมัครภาคเอกชนที่ใช้ชื่อกลุ่มว่า Code for Public ประกาศส่งมอบสิทธิการดูแลซอร์สโค้ดและกระบวนการพัฒนาทั้งหมดให้ "รัฐบาล" (ในโพสต์นี้ไม่ระบุชัดว่าเป็นหน่วยงานใด ผู้รับผิดชอบหลักก่อนหน้านี้คือ DGA) แต่ทีมงานเดิมจะ fork โครงการออกเป็นชื่อใหม่ว่า SQUID
ตอนนี้ซอร์สโค้ด, repository เดิม, และเฟซบุ๊ก "หมอชนะ" ถูกส่งมอบให้รัฐบาลแล้วเมื่อวานนี้ (15 มกราคม 2564) โดยทีม Code for Public ระบุว่าจะแก้บั๊กรอบสุดท้ายให้ภายใน 2 สัปดาห์ แต่จะนำขึ้นอัพเดตในแอพเวอร์ชันแจกจ่ายบน store หรือไม่ ขึ้นกับแนวทางของหน่วยงานภาครัฐ
วันนี้นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิทัลฯ และ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้แถลงข่าวร่วมกับโอเปอเรเตอร์ทุกราย คือ AIS, dtac, TrueMove H, 3BB และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือประชาชนระหว่างการระบาดของโรค COVID-19 รอบใหม่
ผลการหารือมีด้วยกัน 3 ข้อ คือผู้ให้บริการเน็ตบ้านจะปรับความเร็วอินเทอร์เน็ตเพิ่มไม่ต่ำกว่า 100/100Mbps สำหรับผู้ที่ใช้ไฟเบอร์ และปรับความเร็วให้สูงสุดที่อุปกรณ์จะรับได้ในกลุ่มผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเก่าเช่น xDSL โดยจะเพิ่มความเร็วให้เป็นเวลา 2 เดือน
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงข่าวความคืบหน้าประจำวันที่ 8 มกราคม พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 205 ราย และยังมีแถลงเพิ่มถึงประเด็นแอปพลิเคชั่นหมอชนะ ตัวเลขวันที่ 7 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 3.69 ล้านราย
โดยตัวเลขดาวน์โหลดเมื่อวันที่ 5 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 1.5 ล้านราย, วันที่ 6 ม.ค. มียอดดาวน์โหลด 1.65 ล้านราย จนกระทั่งวันที่ 7 ม.ค. ที่มีประเด็นร้อนแรงเรื่องถ้าไม่พบผู้ป่วยไม่ดาวน์โหลดแอปจะมีความผิด มียอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้นเป็น 3.69 ล้านราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุถึงกระแสทางลบเรื่องจะดำเนินคดีความกับผู้ไม่ดาวน์โหลด ซึ่งภายหลังได้มีการชี้แจงเพิ่มแล้วว่าจะไม่ถูกดำเนินคดี เขาบอกด้วยว่ารู้สึกดีใจที่เห็นยอดดาวน์โหลดภายในวันเดียวเพิ่มขึ้น 2 ล้านครั้ง จากเมื่อวานที่รู้สึกเสียใจกับกระแสด้านลบหมอชนะ วันนี้ก็รู้สึกดีใจขึ้นมาทันที ขอบคุณพี่น้องประชาชนที่เข้าใจและปฏิบัติตามในช่วงวิกฤตอย่างนี้
หลังการระบาดรอบใหม่ของโรค COVID-19 ในประเทศไทย ภาครัฐได้ย้ำให้ประชาชนติดตั้งแอพหมอชนะเพื่อติดตามตำแหน่งของผู้ใช้และแจ้งเตือนหากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง โดยในการระบาดรอบนี้ได้มีผู้ใช้จำนวนมากตั้งคำถามว่าเพราะอะไรแอพหมอชนะจึงไม่เลือกใช้ Apple/Google Exposure Notification API ซึ่งเป็น API ที่ Apple กับ Google จับมือกันพัฒนาออกมาให้รัฐบาลทุกประเทศใช้
ศบค. แถลงข่าวถึงประกาศฉบับที่ 17 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินโดยระบุถึงมาตรการเพิ่มเติมจากเดิมคือการสนับสนุนการติดตั้งและใช้แอปพลิเคชั่นหมอชนะ โดยในการแถลงข่าวโฆษกศบค. ระบุว่าผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้วไม่ได้ติดตั้งแอปหมอชนะจะถือว่าทำผิดจากประกาศนี้
ข้อความในตัวประกาศไม่ได้บังคับให้ติดตั้งโดยตรง แต่บอกเพียงว่า "รัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนติดตั้งและใช้ระบบแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งเป็นการพัฒนาและประสานความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ"
ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ออกมาตรการควบคุมโรคตามความรุนแรงของแต่ละพื้นที่ในวันนี้โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุด (พื้นที่สีแดง) และพิ้นที่ควบคุม (พื้นที่สีส้ม) นั้นเพิ่มมาตรการติดตั้งแอปพลิเคชั่นหมอชนะเพิ่มเติมจากการสแกนไทยชนะก่อนหน้านี้
ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ นักวิชาการด้านสารสนเทศสุขภาพ และยังเป็นรองคณบดีฝ่ายปฏิบัติการ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสเฟซบุ๊กถึงความเห็นต่อแอปหมอชนะ ที่เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา โดยที่ผ่านมา นพ.นวนรรน ได้เข้าไปให้ความเห็นกับทีมงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญการจัดการความเป็นส่วนตัวข้อมูลสุขภาพ (health information privacy specialist) ได้ถอนตัวจากโครงการเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังพบว่ามีหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเตรียมบังคับตรวจสอบลงแอปหมอชนะ โดยจะตรวจ QR ตามจุดคัดกรองหากไม่สามารถแสดง QR ได้ก็จะไม่ให้เข้าพื้นที่
ความคืบหน้าต่อจากข่าว ทีม Code for Public ร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลไทยเตรียมปล่อยแอปติดตามการเข้าใกล้ผู้ป่วย COVID-19 วันนี้แอพตัวนี้เปิดตัวแล้วในชื่อว่า หมอชนะ
"หมอชนะ" เป็นระบบเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อประเมินความเสี่ยงได้ว่า ในบริเวณนั้นมีผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่
ตอนนี้แอพเปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน App Store และ Play Store