OpenAI เปิดให้ทดลองคุยกับแชทบ็อต ChatGPT ที่ใช้เอนจิน GPT เวอร์ชัน 3.5 ที่ปรับปรุงเพิ่มขึ้นจาก GPT-3 ที่เปิดตัวในปี 2021
ความสามารถของ ChatGPT เน้นไปที่การสนทนาโต้ตอบ ตอบคำถาม และสามารถยอมรับความผิดพลาดในสิ่งที่ตัวเองสุนทนาได้ ตัวอย่างที่ OpenAI นำมาโชว์คือการใช้ ChatGPT ช่วยหาบั๊กในโค้ดโปรแกรมตัวอย่าง
Mira Murati ซีทีโอของ OpenAI บอกว่าจุดเด่นของ ChatGPT ที่ต่างจากโมเดลสนทนาโต้ตอบตัวอื่นๆ คือการยอมรับได้ว่าไม่รู้ ไม่เข้าใจ หรือตอบผิดพลาดไป ไม่ได้พยายามตอบทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนกับโมเดลรุ่นก่อนหน้า
Open AI เปิด API ของ DALL·E เป็น public beta ให้นักพัฒนาแอปพลิเคชันสามารถติดตั้ง DALL·E ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างภาพขึ้นมาตามคำบรรยายลงในแอปพลิเคชันและผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมาเองได้โดยตรงแล้ว
บริษัทเผยว่ามีการดึง API ของ DALL·E ไปใช้งานบ้างแล้วเช่น เช่น Microsoft ที่ใช้ DALL·E ในแอปออกแบบที่ชื่อว่า Designer รวมทั้งติดตั้งใน Bing และ Microsoft Edge นอกจากนี้ยังมีบริษัทแฟชัน CALA ที่นำ AI ไปใช้เพื่อสร้างแบบเสื้อผ้าด้วยการพิพม์ตัวอักษร รวมทั้ง Mixtiles ที่เป็นเว็บไซต์ที่ให้คนเข้ามาสร้างภาพจาก AI
ที่มา: OpenAI
สำหรับช่างภาพผู้ขายงานผ่านเว็บภาพสต็อคต่างๆ คงพอจะคาดเดาได้ว่าไม่ช้าก็เร็วน่าจะมีภาพที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลายมาร่วมแข่งขันในตลาดด้วย ซึ่งวันนั้นก็กำลังจะมาถึงแล้วเมื่อ Shutterstock ประกาศความร่วมมือกับ OpenAI เปิดทางให้นำเอาภาพที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ DALL-E มาลงขายบนแพลตฟอร์มได้โดยตรงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ทั้งนี้ Shutterstock ยังคงห้ามขายภาพที่สร้างจากปัญญาประดิษฐ์ตัวอื่นที่ไม่ใช่ DALL-E ของ OpenAI
มีรายงานว่า ไมโครซอฟท์เริ่มเจรจาเพื่อลงทุนเพิ่มเติมใน OpenAI บริษัทที่เน้นงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยหวังการนำเทคโนโลยีมาใช้กับผลิตภัณฑ์บริษัท ซึ่ง OpenAI ก็มีแผนเตรียมเปิดระดมทุนรอบใหม่อยู่แล้ว
ไมโครซอฟท์ลงทุนใน OpenAI ไปครั้งแรกในปี 2019 ด้วยเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งหลังจากนั้น Azure ก็ทำข้อตกลงให้ใช้สิทธิ GPT-3 ได้เพียงรายเดียว และน่าจะได้เทคโนโลยีใหม่ในอนาคตมาเสริมอีก
OpenAI ประกาศยกเลิกระบบรอคิวหรือ waitlist สำหรับสมัครใช้งานบริการ DALL·E ปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างภาพขึ้นมาตามคำบรรยาย หลังเปิดให้บริการในสถานะเบต้าแต่ต้องรอคิวตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีผลทันที ผู้ใช้งานที่สนใจแต่ยังไม่ได้สมัครสามารถสมัครได้ที่นี่
DALL·E เปิดตัวมาตั้งแต่มกราคม 2021 และมีการปรับปรุงประสิทธิภาพมาโดยตลอด รวมทั้งมีคู่แข่งรายใหม่ที่ให้บริการลักษณะเดียวกันอย่าง Midjourney และ Stable Diffusion ที่ได้รับความนิยมสูง จึงคาดว่าเป็นเหตุผลให้ DALL·E เร่งเปิดใช้งานสำหรับผู้ใช้ทุกคนนั่นเอง
OpenAI ประกาศปล่อยโมเดลปัญญาประดิษฐ์ Whisper ที่สามารถแปลงเสียงเป็นข้อความ พร้อมๆ กับแปลข้อความเป็นภาษาอังกฤษ โมเดลที่ปล่อยออกมามี 4 ขนาด ตั้งแต่ 39 ล้านพารามิเตอร์ไปจนถึง 1,550 ล้านพารามิเตอร์
จุดเด่นของ Whisper คือรองรับภาษาจำนวนมาก แม้จะมีความแม่นยำต่างกันไป ภาษาที่มีความผิดพลาดต่ำสุด เช่น สเปน, อิตาลี, อังกฤษ, และโปรตุเกส (อัตราการผิดพลาด WER ต่ำกว่า 5.0) ขณะที่ภาษาไทยมี WER ที่ 13.2 และภาษาเกาหลีมี WER ที่ 15.2 ภาษาในอาเซียนอื่นๆ ยังมีอัตราการผิดพลาดค่อนข้างสูง เช่น ลาวอยู่ที่ 101.6, เมียนมาร์อยู่ที่ 124.5
ตัวโครงการปล่อยออกมาเป็น command line ให้ใช้งานแปลงไฟล์ MP3 เป็นข้อความ หรือจะใช้งานผ่าน Python ก็ได้
ชุมชนงานศิลปะออนไลน์บางกลุ่ม เช่น Newgrounds, Inkblot Art, และ Fur Affinity แบนรูปภาพที่สร้างจาก AI อย่าง Midjourney, Stable Diffusion หรือ DALL-E
อย่าง Fur Affinity ประกาศว่าไม่อนุญาตให้โพสต์ภาพที่สร้างจาก AI เพราะ “ไม่มีคุณค่าทางศิลปะ” (lacked artistic merit) ส่วน Newgrounds ได้ออกแนวทางใหม่ที่ไม่อนุญาตให้สร้างภาพใหม่จากผู้ให้บริการวาดภาพจาก AI รุ่นใหม่ ๆ ที่รวมถึง Midjourney, DALL-E และ Craiyon รวมถึงเว็บไซต์อย่าง ArtBreeder นอกจากนี้ InkBlot แพลตฟอร์มงานศิลปะที่ได้รับการสนับสนุนจาก แหล่งระดมทุน Kickstarter ก็ไม่ยอมรับงานศิลปะที่สร้างจาก AI ด้วยเช่นกัน
OpenAI ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Outpaiting ฟีเจอร์วาดภาพของ DALL·E โดยคาดเดาจากภาพเดิม ทำให้สามารถขยายภาพเป็นสัดส่วนที่ต้องการได้อย่างสมจริง พร้อมกับคงรูปแบบภาพเดิมเอาไว้ครบถ้วน
ก่อนหน้านี้ DALL·E มีฟีเจอร์ Inpainting สำหรับการเติมส่วนที่ขาดหายไปในภาพได้อยู่แล้ว แต่ Outpainting ทำให้สามารถขยายภาพไปได้เรื่อยๆ เท่าที่ต้องการ
ก่อนหน้านี้ OpenAI เปิดให้ใช้งาน DALL·E เชิงพาณิชย์แล้ว พร้อมกับเก็บค่าใช้งานหลังใช้เกินเครดิตฟรี แต่การใช้งานก็ยังต้องรอคิวอยู่ และตอนนี้ก็ยังต้องรอคิวเข้าใช้งานกันนานนับเดือน
ที่มา - OpenAI Blog
OpenAI ประกาศปรับสถานะบริการ DALL·E ปัญญาประดิษฐ์สร้างภาพตามคำบรรยายเข้าสู่สถานะเบต้า พร้อมใช้งานจริงยิ่งขึ้น โดยความเปลี่ยนแปลงหลักๆ เทียบกับตอนนี้คือ กระบวนการสมัครขอใช้งานจะง่ายขึ้น, ผู้ใช้สามารถนำภาพไปใช้งานเชิงการค้าได้, และมีขายเครดิตเพิ่มเติม
OpenAI เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์แปลงข้อความเป็นภาพ สามารถสร้างภาพโดยระบุวัตถุในภาพ, ลักษณะของวัตถุต่างๆ, และสไตล์ของภาพโดยรวม เช่น "ภาพสีน้ำนักบินอวกาศเล่นบาสกับแมว" (ภาพตัวอย่างใต้ข่าว) นอกจากการสร้างภาพจากข้อความเปล่าๆ แล้ว DALL·E 2 ยังสามารถรับภาพและแปลงเป็นภาพใหม่ๆขึ้นมา
OpenAI สร้าง DALL·E มาตั้งแต่ปี 2021 เวอร์ชั่นใหม่นี้ภาพที่ได้สมจริงขึ้น และเอาท์พุตของภาพยังละเอียดขึ้นสี่เท่าตัว
บริษัทวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ OpenAI เปิดตัวระบบ AI DALL·E 2 ซึ่งเป็นเวอร์ชันอัพเกรดจากเวอร์ชันแรกที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว สามารถสร้างภาพถ่ายหรือภาพวาดขึ้นจาก input ที่เป็นข้อมูลคำบรรยาย (text description)
คุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มมาใน DALL·E 2 คือสามารถแก้ไขภาพต้นฉบับ โดยใส่วัตถุแทรกเข้าไปในภาพตามคำบรรยาย และกำหนดตำแหน่งของวัตถุนั้นได้ (ตัวอย่างด้านล่างคือใส่หมาคอร์กี้ เข้าไปในภาพ) หรือนำภาพวาดต้นฉบับเดิม มาดัดแปลงรูปแบบที่คล้ายกับต้นฉบับเดิม (variation)
OpenAI ประกาศเพิ่มความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ GPT-3 จากเดิมที่สามารถเติมข้อความต่อท้ายจากข้อความที่ผู้ใช้ใส่ไปให้สามารถอ่านข้อความเดิมของผู้ใช้แล้วปรับเปลี่ยนได้ด้วย
ตัวอย่างของฟีเจอร์นี้คือการใช้ GPT-3 เขียนโค้ด จากเดิมที่ต้องเขียนบรรยายคุณสมบัติของฟังก์ชั่นแล้วให้ GPT-3 เติมโค้ด ในเวอร์ชั่นใหม่จะสามารถสั่งให้แปลงโค้ดเป็นอย่างที่ต้องการ เช่น เปลี่ยนภาษาโปรแกรม
สำหรับการเขียนภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่การเขียนภาษาโปรแกรม GPT-3 สามารถอ่านเนื้อหารอบๆ ที่ผู้ใช้ใส่เข้ามาแล้วปรับเปลี่ยนเนื้อหาที่เติมให้ ให้ลงตัวกับบริบท
ผู้ที่ทดสอบ GPT-3 สามารถใช้งานเวอร์ชั่นใหม่ได้แล้ว
ที่มา - OpenAI
OpenAI พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ออกมาหลายตัว และ GPT-3 ก็เป็นตัวที่มีศักยภาพที่จะทำมาให้บริการเชิงพาณิชย์มากที่สุด อย่างไรก็ตามมีความกังวลเป็นวงกว้างว่าคนร้ายอาจจะใช้ GPT-3 ในด้านลบ เช่น การสร้างข่าวปลอม จนกระทั่งทาง OpenAI เปิดให้บริการ API ของ GPT-3 แบบจำกัดตลอดมา วันนี้ทางบริษัทก็ออกมาระบุว่าได้เพิ่มมาตรการตรวจสอบจนมั่นใจจะให้บริการเป็นการทั่วไปแล้ว
มาตรการของ OpenAI มีหลายอย่าง ตั้งแต่การปรับโมเดลให้ทำตามคำสั่งได้ตรงไปตรงมา, ตอบคำถามตามความจริง, และมีกระบวนการสำหรับทีมงานตรวจสอบการใช้งานว่าผิดเงื่อนไขหรือไม่
ไมโครซอฟท์เปิดบริการ Azure OpenAI Service บริการปัญญาประดิษฐ์อาศัยโมเดล GPT-3 ที่ OpenAI เคยให้บริการวงปิดมาแล้วตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยตัวบริการจริงๆ แล้วเหมือนเดิมแต่ทำงานร่วมกับ Azure ได้แนบแน่นมากขึ้น เช่นอยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Azure เอง และกำหนดเงื่อนไขได้แบบเดียวกับบริการคลาวด์อื่นๆ รวมถึงการใช้งานในเน็ตเวิร์คภายในของบริษัท
ไมโครซอฟท์ได้สิทธิ์ใช้งานโมเดล GPT-3 แต่เพียงผู้เดียวมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และก่อนหน้านี้ก็นำมาใช้งานกับบริการของไมโครซอฟท์เอง ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ก็เคยนำ GPT-3 มาใช้งานแปลงคำพูดปกติกลายเป็นโค้ด
OpenAI เปิดตัว Triton 1.0 ภาษาโปรแกรมที่ออปติไมซ์โค้ดสำหรับทำงานบนชิปกราฟิกโดยอัตโนมัติ โดยได้การทดสอบคูณเมทริกซ์ประสิทธิภาพเทียบกับไลบรารีที่ออปติไมซ์มาเฉพาะอย่าง cuBLAS ของ NVIDIA เอง
ตัวภาษา Triton คล้ายกับไพธอนอย่างมาก แต่กระบวนการทำงานภายในออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกับชิปกราฟิกโดยเฉพาะ เนื่องจากชิปกราฟิกนั้นต้องการการออปติไมซ์หลายอย่างเพื่อให้โค้ดทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ได้แก่ การย้ายข้อมูลทีละมากๆ เข้าออกจากแรมนอกชิป (DRAM เช่น GDDR ที่เราเห็นในสเปคของการ์ดกราฟิก) จากนั้นต้องวางข้อมูลลง SRAM ของแต่ละคอร์โดยแย่งข้อมูลใช้งานกันให้น้อย ใช้หน่วยความจำส่วนเดิมให้มากๆ และเรียงการประมวลผลตามพฤติกรรมของคอร์กราฟิก รวมถึงการใช้งานชุดคำสั่งพิเศษสำหรับการประมวลผลเฉพาะทาง
Wojciech Zaremba ผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI เปิดเผยว่าบริษัทยุบทีมหุ่นยนต์ไปแล้ว แม้ว่าเมื่อปี 2019 จะสามารถสาธิตหุ่นยนต์แก้ปัญหารูบิก ได้อย่างน่าทึ่ง แต่การทำงานโดเมนอื่นๆ หาข้อมูลอื่นได้ง่ายกว่า
หุ่นยนต์แก้ปัญหารูบิกของ OpenAI อาศัยแนวทาง unsupervised โดยตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ถูกฝึกในโลกจำลองก่อนจะนำปัญญาประดิษฐ์มารันในหุ่นยนต์จริง แม้ผลที่ได้จะน่าทึ่งแต่อัตราการแก้ปัญหาสำเร็จอยู่ที่ 20% เท่านั้น
ทางโฆษกของ OpenAI ระบุว่าทีมวิจัยหุ่นยนต์ถูกยุบไปตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2020 ไปพร้อมๆ กับโครงการอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
GitHub ร่วมมือกับ OpenAI สร้างบริการ GitHub Copilot บริการช่วยเขียนโปรแกรมโดยอ่านทำความเข้าใจจากคอมเมนต์, ชื่อฟังก์ชั่น, หรือแม้แต่ตัวอย่างโค้ดก่อนหน้า
ปัญญาประดิษฐ์ของ OpenAI ตัวเดิมอย่าง GPT-2 เคยเขียนโค้ดได้บางส่วนมาแล้วแม้ไม่ได้ฝึกมาโดยเฉพาะ รอบนี้ทาง GitHub ใช้ปัญญาประดิษฐ์ OpenAI Codex ที่ระบุว่ามีความสามารถมากกว่า GPT-3 และฝึกด้วยซอร์สโค้ดโปรแกรมเป็นหลัก โดยรวมใช้ซอร์สโค้ดกว่าหมื่นล้านบรรทัด ทำให้มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมสูงขึ้น
OpenAI บริษัทวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มี Elon Musk เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง (แต่ตอนนี้ไม่เกี่ยวข้องแล้ว) และมีไมโครซอฟท์ให้การสนับสนุน เปิดตัว DALL·E โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาจาก GPT-3 ซึ่งสามารถสร้างสรรค์รูปภาพ จากตัวหนังสืออธิบายรายละเอียดของภาพ (text caption)
สัปดาห์ที่แล้ว ไมโครซอฟท์ประกาศไลเซนส์ GPT-3 โมเดลภาษาธรรมชาติของ OpenAI แบบเอ็กคลูซีฟ ซึ่งก็ทำให้ Elon Musk ที่มีส่วนร่วมก่อตั้ง OpenAI (ทุกวันนี้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว) ออกมาแซะว่ามันตรงข้ามกับคำว่า "open" เลยและ OpenAI เหมือนถูกไมโครซอฟท์ยึดไปแล้ว
โฆษกไมโครซอฟท์เปิดเผยกับ The Verge ว่าความเอ็กคลูซีฟคือได้สิทธิเข้าถึงโค้ดของ GPT-3 ขณะที่ Kevin Scott ซีทีโอของไมโครซอฟท์ยืนยันเหมือนกับ OpenAI ว่ายังเปิดให้ผู้ใช้งานที่ใช้อยู่แล้วและผู้ใช้ใหม่ในอนาคตเข้าถึง GPT-3 ผ่าน API ได้เช่นเดิม
ไมโครซอฟท์ประกาศข้อตกลงกับ OpenAI ทำให้ได้สิทธิ์ใช้งาน GPT-3 แต่เพียงผู้เดียว (exclusive license) เปิดทางให้ไมโครซอฟท์สามารถสร้างบริการปัญญาประดิษฐ์รูปแบบใหม่ๆ บน Azure
GPT-3 เป็นโมเดลปัญญาประดิษฐ์ขนาดยักษ์มีพารามิเตอร์มากถึง 175,000 ล้านพารามิเตอร์ เทียบกับ GPT-2 ที่มีขนาด 1,500 ล้านพารามิเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วปัญญาประดิษฐ์กลุ่ม GPT เป็นการสร้างโมเดล deep learning เพื่อ "ทำนายคำถัดไป" เท่านั้น แต่เมื่อใส่ข้อความเช่น หัวข้อข่าว GPT ก็สามารถเติมคำไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นบทความขึ้นมาได้ หรือแม้แต่การถามตอบก็สามารถทำนายคำตอบจากคำถามได้เช่นกัน
OpenAI เปิดให้นักวิจัยทดสอบปัญญาประดิษฐ์ GPT-3 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่เป็นการทดสอบแบบวงปิด ล่าสุด Liam Porr นักศึกษาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก UC Berkeley ก็สาธิตให้เห็นว่า GPT-3 สามารถเขียนบทความแนะนำในเชิงปรับปรุงตัวเอง (self-help) และพัฒนาประสิทธิภาพ (productivity) ได้ดี เพราะบทความสองแบบนี้ไม่ต้องต้องการตรรกะนัก
OpenAI บริษัทวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประกาศเปิดบริการเชิงการค้าตัวแรก เป็น API สำหรับประมวลข้อความโดยอาศัยโมเดล GPT-3 เปิดทางให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชั่นที่พูดคุยในภาษาธรรมชาติเหมือนคุยกับมนุษย์ได้ โดยตัวปัญญาประดิษฐ์เปิดให้รันบนโมเดลที่ฝึกไว้ก่อนแล้ว แต่ผู้ใช้สามารถ "โปรแกรม" เพิ่มเติมได้ด้วยการใส่ตัวอย่างให้โมเดล โดยทาง OpenAI ระบุว่าจะใช้ตัวอย่างไม่มากนักขึ้นกับความซับซ้อนของงาน
ทาง OpenAI เคยระบุว่าไม่แจกพารามิเตอร์ของ GPT-2 เพราะอาจถูกใช้ไปในทางอันตราย เช่นการสร้างข่าวปลอม ในการเปิด API ครั้งนี้ทาง OpenAI ก็ยังยืนยันแนวทางเดิมโดยระบุว่าหากมีการใช้ไปในทางอันตรายหรือใช้ส่งสแปมก็จะตัดบริการ
OpenAI บริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่ไม่เน้นผลกำไรที่ก่อตั้งในปี 2015 มีผลงานเด่นๆ ต่อเนื่อง ออกมาประกาศว่าจะพยายามพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ใหม่ๆ โดยใช้ PyTorch เป็นไลบรารีมาตรฐานแทนที่จะพิจารณาเป็นรายโครงการเหมือนที่ผ่านมา
โครงการเด่นๆ ของ OpenAI ที่ผ่านมา อย่าง GPT-2 ปัญญาประดิษฐ์ทำนายคำที่ใช้สร้างแชตบอตหรือตัวช่วยเขียนโปรแกรมนั้นใช้ Tensorflow ในการพัฒนา
OpenAI บริษัทพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่ก่อตั้งโดย Elon Musk สาธิตเทคนิคการฝึกปัญญาประดิษฐ์เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ในโลกความเป็นจริง โดยสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนสูง ผ่านการสร้างโจทย์ให้หุ่นยนต์มือเดียวต้องแก้ปัญหารูบิก
โมเดลปัญญาประดิษฐ์จะถูกฝึกในซอฟต์แวร์จำลองหุ่นยนต์เท่านั้น เท่าให้สามารถบอกปัญญาประดิษฐ์ได้ว่าแก้ปัญหาลูกรูบิกสำเร็จหรือยัง แต่อาศัยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปแต่ละรอบ (domain randomization) เพื่อให้โมเดลปัญญาประดิษฐ์ทนทานต่อความไม่แน่นอนในโลกความเป็นจริง โดยการวิจัยครั้งนี้ทาง OpenAI สร้างสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเรียกว่าเทคนิค Automatic Domain Randomization (ADR)
ทีมนักวิจัยของ OpenAI เผยแพร่งานล่าสุด เพื่อทดสอบว่า AI จะสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้มากแค่ไหนหากอยู่ในสภาพการแข่งขันบนโลกเสมือน โดยอาศัยการเรียนรู้สองส่วน คือ multi-agent learning ซึ่งพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการแข่งขันกับคนอื่น และ reinforcement learning จากการลองผิดลองถูกจนเข้าใจมากขึ้น
วิธีการทดสอบนั้นทีม OpenAI สร้างเกมซ่อนหา (hide and seek) ในโลกเสมือนที่มีกำแพง และอุปกรณ์หลายชนิด สามารถเคลื่อนย้ายได้เพื่อบังพื้นที่ มีตัวทดสอบ (agent) แบ่งออกเป็นสองทีม กำหนดกติกาคือ ฝ่ายซ่อนต้องพยายามหลบให้ได้ ส่วนฝ่ายหาต้องหาอีกฝ่ายให้เจอ จึงจะได้รางวัลหรือถูกลงโทษ และไม่มีการสอนกติกาอื่นเพิ่มเติมเพื่อให้เรียนรู้เองเรื่อย ๆ