PayPal เพิ่มฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ใช้งานในสหรัฐฯ โดยจะเปิดให้โอนคริปโตเข้าหรือออกจากบัญชี PayPal กับวอลเล็ตหรือเว็บไซต์ซื้อขายเหรียญที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เรียกร้องกันมาค่อนข้างมากในหมู่ผู้ใช้งานคริปโตบน PayPal
วิธีโอนคริปโตจาก PayPal ก็เหมือนกับระบบทั่วไป คือผู้ใช้จะต้องกรอกแอดเดรสปลายทางที่ต้องการโอนเหรียญไป ซึ่งมีเงื่อนไขว่าผู้ใช้จะต้องผ่านการยืนยันตัวตนก่อนจึงจะโอนเหรียญได้ ส่วนวิธีการรับเหรียญก็เพียงแค่ส่งแอดเดรสและรอฝั่งต้นทางโอนเหรียญมา
ส่วนค่าธรรมเนียม PayPal ระบุว่ากรณีโอนออกนอก PayPal ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเหรียญของแต่ละเชน แต่ถ้าเป็นการโอนระหว่างบัญชี PayPal ด้วยกันจะไม่มีค่าธรรมเนียมส่วนนี้
PayPal รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2022 มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์ม (TPV - Total Payment Volume) เพิ่มขึ้น 13% เป็น 322,981 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นรายได้ของบริษัท 6,483 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% และมีกำไรสุทธิ 509 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานใหม่ในไตรมาส 2.4 ล้านบัญชี มีจำนวนรวม 429 ล้านบัญชี
John Rainey ซีเอฟโอ PyaPal กล่าวว่าช่วงเวลาที่ผ่านมาเขาภูมิใจที่มีส่วนร่วมให้ PayPal เติบโตและขยายแพลตฟอร์มไปในทุกทิศทาง ทั้งนี้ Rainey จะลาออกเพื่อไปรับตำแหน่งซีเอฟโอที่ Walmart ในเดือนพฤษภาคม
ที่มา: PayPal
PayPal ประกาศแนวทางช่วยเหลือคนในยูเครนเพิ่มเติม ในเรื่องการส่งเงินไปให้คนยูเครน ดังนี้
ที่มา - PayPal
PayPal ประเทศไทย ออกแถลงการณ์ต่อสื่อ หลังจากหารือแนวทางร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (เนื้อหาโดยสรุปเหมือนกัน แต่อันนี้มาจากฝั่ง PayPal เอง) มีข้อสรุปดังนี้
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน เชิญธนาคารแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาประชุมเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง PayPal
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ลงข่าวอย่างเป็นทางการบนหน้าเว็บไซต์ ว่า PayPal จะเลื่อนกำหนดการปิดระบบวอลเล็ทในไทย 7 มีนาคม ตามแผนเดิม ออกไปก่อน เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้งานในระยะสั้น
โฆษกของ PayPal ยืนยันกับ Reuters ว่าปิดรับผู้ใช้ใหม่ในรัสเซีย และบล็อคการเข้าถึงจากสถาบันการเงินในรัสเซียบางราย ตามคำสั่งแซงค์ชันของรัฐบาลสหรัฐ
ที่ผ่านมา PayPal ให้บริการในรัสเซียเฉพาะการโอนเงินข้ามประเทศเท่านั้น (ไม่มีการจ่ายเงินในประเทศ) ดังนั้นผู้ใช้ PayPal เดิมในรัสเซียยังสามารถใช้รับหรือจ่ายเงินต่างประเทศได้อยู่
หลังจาก PayPal เตรียมเปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการแล้วเพิ่มเงื่อนไขการยืนยันตัวคนแบบ Know Your Business (KYB) จนทำให้ผู้ใช้จำนวนมากเกิดความวุ่นวายว่าต้องไปจะทะเบียนเป็นองค์กรธุรกิจจึงสามารถรับเงินได้
วันนี้ในการประชุมคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงินที่ประชุมร่วมกันทั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), PayPal, และตัวแทนผู้ใช้ PayPal ก็ได้ผลสรุปว่าหลังจากนี้น่าจะใช้บัญชีบุคคลธรรมดารับเงินได้หลังจากยืนยันตัวบุคคลเรียบร้อยแล้ว โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมกรรมาธิการ จึงต้องรอประกาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
จากกรณี PayPal จะเปิดรับผู้ใช้ใหม่ในไทยและผู้ใช้งานเก่าต้องยืนยันตัวตนภายใน 18 ก.พ. 65 แต่กลับลำเลื่อนเปิดรับบัญชีใหม่ไม่มีกำหนด และจะปิดระบบวอลเล็ตในไทยจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ทางแบงก์ชาติไม่นิ่งนอนใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหารือและหาทางช่วยเหลือผู้ใช้งานกรณีที่ PayPal ประเทศไทยหยุดให้บริการชั่วคราว
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข่าว ธปท. ฉบับที่ 8/2565 แสดงถึงความกังวลและเร่งหารือร่วมกันระหว่างสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. และ PayPal ประเทศไทย เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ใช้งานและรายย่อยในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบในช่วงเปลี่ยนผ่าน
จากประกาศของ PayPal ประเทศไทย ที่จะเปิดรับผู้ใช้ใหม่อีกครั้ง โดยให้ผู้ใช้เก่าต้องยืนยันตัวตนภายใน 18 ก.พ. 65 (รายละเอียดเพิ่มเติมจากคำแถลงของ PayPal ที่ส่งให้ Blognone)
ล่าสุด PayPal แจ้งว่าขอเลื่อนเวลาการเปิดรับผู้ใช้ใหม่ออกไปอย่างไม่มีกำหนด (ทั้งฝั่งผู้บริโภคและฝั่งธุรกิจ) โดยกำหนดการใหม่ "คาดว่าเป็นเดือนมีนาคม 2565" และให้รอประกาศเพิ่มเติมอีกครั้ง
ส่วนบัญชี PayPal เดิมที่มีอยู่แล้ว มีกำหนดเส้นตาย 7 มีนาคม 2565 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
PayPal รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ปริมาณการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 23% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 339,530 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นรายได้ของ PayPal 6,918 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13% และมีกำไรสุทธิ 801 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานรวม 426 ล้านบัญชี เป็นบัญชีใหม่ 9.8 ล้านบัญชี โดย 3.2 ล้านบัญชีมาจาก Paidy ที่ PayPal ซื้อกิจการมา ตัวเลขนี้น้อยกว่าที่บริษัทประเมินไว้ โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากมี 4.5 ล้านบัญชีที่บริษัทต้องลบออก เพราะเป็นการสมัครที่ไม่ถูกต้อง เพื่อรับผลประโยชน์จากแคมเปญการตลาดของบริษัท
ข่าวนี้เริ่มจากนักพัฒนาแอป Steve Moser ได้ค้นพบข้อมูลในแอป PayPal บน iPhone ระบุถึง PayPal Coin ซึ่งน่าจะเป็น Stablecoin ที่ผูกมูลค่ากับเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหมายความว่าบริษัทอาจเตรียมสร้างเงินคริปโตของตนเองออกมา
ต่อมาโฆษกของ PayPal ยืนยันข้อมูลนี้โดยบอกว่า บริษัทกำลังศึกษาการออก Stablecoin และหากบริษัทต้องการออกเหรียญนี้จริง ๆ ก็จะหารือกับหน่วยงานกำกับดูแลให้เรียบร้อยก่อน
ช่วงที่ผ่านมา PayPal ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้บริการจ่าย-รับเงิน มีความสนใจในตลาดเงินคริปโตมาต่อเนื่อง เช่นการเพิ่มตัวเลือกซื้อเงินคริปโตผ่านบัญชี PayPal ในหลายสกุล
จากข่าว Paypal เตรียมเปิดรับผู้ใช้ใหม่ในไทยอีกครั้ง ผู้ใช้เก่าต้องยืนยันตัวตนก่อน 18 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้งานหลายข้อ ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานทั้งบัญชีส่วนตัวและบัญชีธุรกิจ
Blognone ได้สอบถามไปยังโฆษกของบริษัท PayPal ทางอีเมลถึงรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ และได้รับการชี้แจงดังนี้ (แถลงการณ์ของ PayPal อยู่ด้านล่าง)
PayPal รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 3 ปี 2021 มีปริมาณการใช้จ่ายเงินในระบบ (TPV - Total Payment Volume) 309,910 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 26% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน คิดเป็นรายได้ 6,182 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13% และเป็นกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 1,087 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้น 13.3 ล้านบัญชี มีจำนวนลูกค้ารวม 416 ล้านบัญชี จำนวนธุรกรรม 4.9 พันล้านครั้ง ข้อมูลในตัวเลข TPV นั้น PayPal บอกว่ามาจากส่วน Merchant เพิ่มขึ้น 31% ซึ่งคิดเป็น 97% ของ TPV รวม ส่วน eBay ซึ่งเป็นเจ้าของ PayPal เดิมนั้น TPV ลดลง 45% จึงคิดเป็นเพียง 3% ของ TPV รวม ขณะที่ TPV ที่เกิดจากการจ่ายผ่านแอป Venmo เพิ่มขึ้น 36% เป็นราว 60 พันล้านดอลลาร์
จากที่ PayPal ประกาศปิดรับสมัครผู้ใช้งานใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 ผู้ใช้งานเก่ายังคงใช้งานบัญชีได้ตามปกติ ทาง PayPal ประกาศเตรียมตัวกลับมาเปิดบริการในประเทศใหม่อีกครั้ง พร้อมเงื่อนไขที่สอดคล้องกับกฎหมายในประเทศไทยมากขึ้น กระทบถึงผู้ใช้งานเก่าด้วย
ผู้ใช้งานเก่าที่สมัครบัญชีก่อนวันที่ 7 มีนาคม 2564 ต้องดำเนินการยืนยันตัวตน และยอมรับเงื่อนไขใหม่ของทาง PayPal ประเทศไทย และบัญชี PayPal ที่สมัครแบบธุรกิจต้องยืนยันตัวตน Know your Business (KYB) ตามมาตรฐานของ PayPal ที่กำหนด สามารถดูขั้นตอนของบัญชีธุรกิจได้ตามที่มาท้ายข่าวครับ
PayPal ออกแถลงการณ์ปฏิเสธ หลังมีข่าวลือว่าบริษัทสนใจซื้อกิจการ Pinterest โดยบอกว่าไม่มีการเสนอซื้อกิจการในเวลานี้ (at this time)
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า PayPal ได้เจรจาขอซื้อหุ้นทั้งหมดของ Pinterest ที่ 70 ดอลลาร์ต่อหุ้นโดยหากตัดส่วนหุ้นบุริมสิทธิคลาส B ออกไป จะทำให้มูลค่าของดีลอยู่ที่ราว 39,000 ล้านดอลลาร์
ที่มา: PayPal
CNBC รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Pinterest อยู่ในระหว่างขั้นตอนการเจรจา เพื่อขายกิจการให้ PayPal โดยตัวเลขนั้นมีสำนักข่าว Bloomberg ที่ระบุว่าอยู่ราว 70 ดอลลาร์ต่อหุ้น ซึ่งจะทำให้มูลค่ากิจการ Pinterest ในดีลนี้อยู่ที่ 39,000 ล้านดอลลาร์
ตัวแทนของทั้ง Pinterest และ PayPal ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
แหล่งข่าวของ CNBC บอกว่า การเติบโตของ Shopify ที่ขยายจากอีคอมเมิร์ซมาสู่ระบบฟินเทคของตนเอง ทำให้ PayPal ต้องมองหากิจการที่จะซื้อเข้ามาเติมส่วนอีคอมเมิร์ซ จึงมาจบที่ Pinterest นั่นเอง
ที่มา: CNBC
PayPal ประกาศบรรลุข้อตกลงเพื่อซื้อกิจการ Paidy แพลตฟอร์มการเงินจากญี่ปุ่น สำหรับการซื้อก่อนจ่ายทีหลัง (Buy now, pay later - BNPL) ที่มูลค่า 3 แสนล้านเยน หรือราว 8.9 หมื่นล้านบาท โดยจ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก คาดว่าดีลจะเสร็จสิ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 โดย Paidy จะยังดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์เดิมต่อไป
Paidy เป็นบริการจ่ายเงินสำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ในแบรนด์ 3-Pay ที่ให้ผู้ซื้อสามารถแบ่งจ่ายรายเดือนได้ โดยนำบิลไปจ่ายที่ร้านสะดวกซื้อหรือโอนผ่านบัญชีธนาคาร มีการจัดระบบให้คะแนนเครดิตผู้ใช้งาน รวมทั้งการันตีการจ่ายเงินให้กับทางร้านค้า วิธีการของ BNPL ทำให้ผู้ซื้อสบายใจในการจับจ่ายออนไลน์มากขึ้น เพิ่มยอดซื้อ และความถี่ในการซื้อ
PayPal รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มีปริมาณการใช้จ่ายเงินในระบบ (TPV - Total Payment Volume) 310,992 ล้านดอลลาร์ เพิ่มเติม 40% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน เป็นรายได้ของ PayPal สุทธิ 6,238 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19% และมีกำไรสุทธิตามบัญชี GAAP 1,184 ล้านดอลลาร์
จำนวนผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้น 11.4 ล้านบัญชี ทำให้สิ้นไตรมาสมีจำนวนผู้ใช้งานรวม 403 ล้านบัญชี และมีจำนวนธุรกรรม 4.7 พันล้านครั้ง
Dan Schulman ซีอีโอ PayPal กล่าวว่าผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านยังคงแข็งแกร่ง สะท้อนว่า PayPal มีบทบาทสำคัญท่ามกลางการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
Venmo แอประบบชำระเงินภายใต้ PayPal ให้บัญชีผู้ใช้งานทั่วไปขายของบนแพลตฟอร์มได้ โดยบริษัทเก็บค่าธรรมเนียม 1.9% นโยบายมีผล 20 กรกฎาคมนี้
PayPal ประกาศซื้อกิจการ Happy Returns ผู้ให้บริการโซลูชันสำหรับการคืนสินค้า ให้กับร้านค้าออนไลน์ โดยไม่ได้เปิดเผยมูลค่าของดีลดังกล่าว แต่ Happy Returns ในช่วงที่ผ่านมาได้เงินเพิ่มทุนไปแล้วราว 25 ล้านดอลลาร์
Happy Returns เป็นบริการจัดการขั้นตอนคืนสินค้าสำหรับร้านออนไลน์ ซึ่งเป็นกระบวนการจัดส่งสินค้าแบบย้อนกลับที่มีต้นทุนสูง โดยผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง Amazon หรือ Walmart ต่างมีจุดคืนสินค้าผ่านหน้าร้านของตน (กรณี Amazon คือ Whole Foods) ทำให้มีต้นทุนการดำเนินงานส่วนนี้ต่ำกว่า โซลูชันของ Happy Returns จึงเข้ามาช่วยร้านค้าออนไลน์ส่วนนี้ ผ่านจุดคืนสินค้ามากกว่า 2,600 แห่งทั่วอเมริกา
Hannah Qiu ซีอีโอของ PayPal ในจีนกล่าวกับ CNBC ว่า บริษัทมีแผนจะเปิดตัววอลเลตในจีน แต่แทนที่จะแข่งขันกับผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Alipay และ WeChat Pay โดยตรง PayPal จะเน้นไปที่การชำระเงินข้ามพรมแดนมากกว่า
Qiu บอกเพิ่มเติมว่า ธุรกิจในอนาคตส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ในตลาดต่างประเทศของ PayPal มีผู้ใช้มากกว่า 377 ล้านคนและผู้ใช้ในองค์กรมากกว่า 20 ล้านคน
PayPal ประกาศปิดให้บริการรับ-จ่ายเงิน สำหรับลูกค้าและร้านค้าในประเทศอินเดีย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2021 โดยระบุว่า PayPal จะยังคงให้บริการสำหรับการจ่ายเงินออนไลน์ข้ามประเทศต่อไป รวมทั้งพนักงานในอินเดียจะย้ายไปดูแลส่วนธุรกิจอื่นแทน
บริการรับ-จ่ายเงินของ PayPal ในอินเดีย มีร้านค้าที่เป็นพาร์ทเนอร์มากกว่า 360,000 ราย รวมทั้งบริการออนไลน์อย่าง BookMyShow, MakeMyTrip และแอปสั่งอาหาร Swiggy มีการจ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์มในปีที่ผ่านมามากกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์
PayPal รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 ปริมาณการใช้จ่ายเงินในระบบ (Total Payment Volume - TPV) รวม 277,072 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 39% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน คิดเป็นรายได้ 6,116 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 23% มีกำไรสุทธิแบบบัญชี GAAP 1,567 ล้านดอลลาร์
จำนวนบัญชี PayPal ที่เปิดใหม่ เพิ่มขึ้น 16.0 ล้านบัญชี ทำให้จำนวนบัญชีรวมเพิ่มขึ้นเป็น 377 ล้านบัญชี โดยมีจำนวนธุรกรรม 4.4 พันล้านครั้ง
ซีอีโอ Dan Schulman กล่าวว่า PayPal ทำสถิติใหม่ในปี 2020 จากการที่ธุรกิจทุกกลุ่มทุกขนาดปรับสู่ดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และ PayPal ก็ได้ออกสินค้าบริการใหม่มากกว่าที่เคยมีมาเช่นกัน
PayPal รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2020 มีปริมาณการใช้จ่ายเงินผ่านแพลตฟอร์ม (Total Payment Volume - TPV) เพิ่มขึ้นถึง 38% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 246,691 ล้านดอลลาร์ และบันทึกเป็นรายได้ 5,459 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 25% ซึ่งเป็นสถิติใหม่สูงสุดในประวัติศาสตร์บริษัท กำไรสุทธิ 1,021 ล้านดอลลาร์
PayPal มีจำนวนบัญชีเปิดใหม่ 15.2 ล้านบัญชี ทำให้จำนวนบัญชีรวมเมื่อสิ้นสุดไตรมาสเพิ่มขึ้นเป็น 361 ล้านบัญชี มีจำนวนธุรกรรมรวม 4 พันล้านครั้ง
เฟซบุ๊กประกาศตั้งส่วนงานใหม่ที่มีชื่อเล่นภายในว่า F2 (มาจาก Facebook Financial) เพื่อดูแลและพัฒนาธุรกิจด้านการเงิน เพย์เมนท์ และด้านคอมเมิร์ซ โดยแต่งตั้ง David Marcus หนึ่งในผู้ร่วมพัฒนา Libra และอดีตประธาน PayPal Holdings ให้มาดูแล F2
ภารกิจแรก ๆ ของ Marcus และ F2 ตอนนี้คือผลักดันบริการเพย์เมนท์ของ WhatsApp ในอินเดียและบราซิล นอกจากนี้เฟซบุ๊กยังดึงตัว Stephane Kasriel อดีตผู้บริหาร PayPal มาดูแล Facebook Pay ด้วย
หลังจากนี้เฟซบุ๊กน่าจะเริ่มจริงจังกับบริการด้านการเงิน ทำให้เราน่าจะเห็นการยัดเยียดหรือการนำเสนอบริการเหล่านี้จากเฟซบุ๊กมากขึ้น