Supabase ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มพัฒนาแอปแบบ PaaS ประกาศโครงการส่วนขยายสำหรับ PostgreSQL เพื่อขยายความสามารถของฐานข้อมูลอีกสองโครงการ คือ Supabase Vault และ pg_jsonschema
Crunchy Data ผู้ให้บริการฐานข้อมูล PostgreSQL บนคลาวด์ เปิดบทเรียน SQL แบบออนไลน์ฟรี ให้ผู้เรียนสามารถฝึกเขียน SQL ได้อย่างอิสระ โดยอาศัยการคอมไพล์ PostgreSQL ทั้งชุดมารันบน WASM ใช้งานได้เหมือนข้อมูลจริง โดยไม่ต้องเปลืองทรัพยากรฝั่งของ Crunchy Data เอง (นอกจากค่าพัฒนาและค่าแบนวิดท์)
ทีมวิจัยความปลอดภัยของ Wiz ผู้ให้บริการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ทดสอบความปลอดภัยของบริการฐานข้อมูลแบบ SQL บนคลาวด์โดยเจาะเฉพาะบริการ PostgreSQL ที่ได้รับความนิยมสูง โดยการออกแบบของ PostgreSQL นั้นไม่ได้คำนึงถึงการใช้งานพร้อมกันหลายองค์กร (multi-tenant) ผู้ให้บริการคลาวด์ต้องหาทางจัดการแยกข้อมูลออกจากกัน พร้อมกับจำกัดสิทธิ์ของลูกค้าไม่ให้เข้ามายุ่งกับระบบเกินความจำเป็น แม้บัญชีของลูกค้าจะมีสิทธิ์ผู้ดูแลฐานข้อมูลเต็มรูปแบบก็ตาม
Google Cloud เปิดตัวบริการใหม่ที่สำคัญในงาน I/O 2022 ปีนี้คือ ฐานข้อมูล AlloyDB ที่เข้ากันได้กับ PostgreSQL 100% (อิงอยู่บน PostgreSQL 14 เวอร์ชันล่าสุด) แต่สถาปัตยกรรมข้างหลังออกแบบใหม่หมด มีความเร็วอ่านเขียนทั่วไปเพิ่มขึ้นจาก PostgreSQL 4 เท่า และถ้าเป็นการคิวรีข้อมูลมาวิเคราะห์จะเร็วขึ้นสูงสุด 100 เท่า
เราสามารถเรียก AlloyDB ว่าเป็นคู่แข่งของ Amazon Aurora ที่ AWS นำ MySQL/PostgreSQL มาปรับแต่งเพิ่มเติม (แต่ฝั่งกูเกิลมีเฉพาะ PostgreSQL) ซึ่งกูเกิลก็ชูว่า AlloyDB เร็วกว่า Aurora PostgreSQL 2 เท่าด้วยเช่นกัน
Timescale ผู้พัฒนาส่วนขยาย PostgreSQL ในชื่อ TimescaleDB สำหรับการเก็บข้อมูลตามเวลา (time-series) เช่น ข้อมูลล็อกหรือเซ็นเซอร์ต่างๆ ได้รับเงินทุน 110 ล้านดอลลาร์ มูลค่าบริษัทเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าช่วงสองปีที่ผ่านามีลูกค้าจ่ายเงินแล้วกว่า 500 องค์กร รายได้เพิ่มขึ้น 20 เท่าตัว
ทาง Timescale ระบุว่านอกจากการพัฒนาสินค้าแล้ว เงินทุนก้อนนี้จะนำไปสร้างทีมเฉพาะสำหรับการพัฒนาตัว PostgreSQL ในโครงการต้นน้ำโดยตรง จากเดิมที่บริษัทจ้างนักพัฒนาโครงการต้นน้ำเป็นพนักงานเต็มเวลาอยู่แล้ว
สำหรับแนวทางการพัฒนาตัว TimescaleDB เองจะเน้นการทำงานร่วมกับคลาวด์เต็มรูปแบบ เช่น การใช้สตอเรจแบบ serverless, การขยายเซิร์ฟเวอร์, รวมไปถึงการปรับปรุง Promscale ที่ใช้เก็บค่าจากแอปพลิเคชั่นต่างๆ
Supabase เปิดตัวโครงการ pg_graphql ส่วนขยายสำหรับ PostgreSQL แบบโอเพนซอร์ส เพื่อรองรับการคิวรีแบบ GraphQL ได้โดยตรง ใช้แรมน้อยกว่าเทคโนโลยี
ซอฟต์แวร์สำหรับให้บริการ GraphQL บนฐานข้อมูลแบบ SQL นั้นมีอยู่หลายตัว หากนับเฉพาะที่รองรับ PostgreSQL และเป็นโครงการโอเพนซอร์สก็มี Graphile และ Hasura ได้รับความนิยมอย่างสูงอยู่แล้ว แต่ทาง Supabase ระบุว่าโครงการเหล่านี้อาศัยส่วนประกอบมากเกินไป ทำให้ใช้หน่วยความจำสูง จึงต้องสร้างโซลูชั่นแบบเบาขึ้นมาทดแทน
เมื่อปีที่แล้ว AWS เปิดตัวโครงการ Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงให้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server สามารถเชื่อมกับฐานข้อมูล PostgreSQL ได้เพื่อประหยัดค่าไลเซนส์ ตอนนี้โครงการก็เข้าสถานะ GA ให้ทุกคนใช้งาน พร้อมกับโครงการโอเพนซอร์สออกมาพร้อมกัน
Babelfish รับผิดชอบการแปลงโปรโตคอล 3 ระดับ ได้แก่
PostgreSQL ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์สออกเวอร์ชั่น 14 โดยมีความเปลี่ยนแปลงด้านประสิทธิภาพภายในหลายอย่าง แต่สำหรับภาษา SQL ที่ใช้คิวรีในเวอร์ชั่นนี้เพิ่มเอาฟีเจอร์ subscripting เข้ามา ทำให้การเขียนคิวรี JSON นั้นเหมือนกับการเขียนจาวาสคริปต์มากขึ้น
PostgreSQL รองรับ JSONB มาตั้งแต่เวอร์ชั่น 9.2 แต่การคิวรีนั้นใช้เครื่องหมาย (operator) เฉพาะทาง ทำให้โปรแกรมเมอร์ค่อนข้างสับสน เช่นการดึงข้อมูลในออปเจกต์นั้นใช้เครื่องหมาย ->>
เช่น '{"a":1,"b":2}'::json->>'b'
การรองรับ subscripting ทำให้ SQL ที่คิวรีเขียนเหมือนกับโค้ดจาวาสคริปต์ที่นิยมใช้งานกัน
Alibaba เปิดโครงการ PolarDB ชุดแพตช์และส่วนขยายสำหรับ PostgreSQL เพื่อให้กลายเป็นระบบฐานข้อมูลแบบกระจายตัว (distributed database) สามารถขยายระบบโดยโดยเพิ่มโหนดเข้าไปในคลัสเตอร์
ตัวโครงการระบุว่า PolarDB รองรับ SQL เท่ากับ PostgreSQL เดิม รวมถึงฟีเจอร์เช่น ACID สำหรับทำ transaction ข้อมูลแต่ละตารางจะถูกแยกออกเป็น shard กระจายไปตามโหนดต่างๆ พร้อมกับสำเนาอีก 2 โหนด ทำให้คลัสเตอร์ขั้นต่ำต้องมี 3 โหนด สามารถมีโหนดขนาดเล็กเพื่อเก็บ write ahead log เท่านั้น โดยไม่ต้องรันคิวรีจริงทำให้มีขนาดเล็กกว่า
AWS เปิดโครงการโอเพนซอร์ส Babelfish for PostgreSQL ตัวแปลงโปรโตคอล ทำให้แอปที่พัฒนาเพื่อเชื่อมต่อกับ Microsoft SQL Server ผ่านทางโปรโตคอล TDS และภาษาคิวรี T-SQL สามารถเชื่อมต่อเข้ากับ PostgreSQL และทำงานต่อไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ Microsoft SQL Server อีกต่อไป
Babelfish รับคำสั่ง SQL บางส่วนที่ SQL Server รองรับ เช่น คำสั่ง SQL ทั่วไป, cursors, catalog views, data types, triggers, stored procedures, และ function หากแอปพลิเคชั่นใช้งานเฉพาะส่วนที่ Babelfish รองรับก็จะสามารถรันแอปต่อไปได้เลย แม้เอนจินฐานข้อมูลด้านหลังจะกลายเป็น PostgreSQL ไปแล้วก็ตาม
Google เปิดตัวระบบ Database Migration Service หรือ DMS สำหรับไมเกรตฐานข้อมูลภาคองค์กรขึ้นสู่ Google Cloud อย่างราบรื่น ลดปัญหาต่าง ๆ รวมถึงใช้เวลาดาวน์ไทม์ที่น้อยที่สุดในขณะไมเกรตระบบ
Google DMS ใช้ระบบทำสำเนาข้อมูลจากต้นทางทั้ง MySQL, PostgreSQL และ SQL Server ไปยังระบบ Cloud SQL โดยก่อนหน้านี้ Google จะให้บริการไมเกรตฐานข้อมูลผ่านพาร์ทเนอร์ (ในขณะที่คู่แข่งอย่าง AWS และ Azure มีมานานแล้ว) แต่เนื่องจากทุกวันนี้มีผู้สนใจย้ายมาคลาวด์มากขึ้น การออก DMS เองจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการไมเกรตระบบ ลดเวลาและขั้นตอนที่ใช้ในการไมเกรตระบบได้มาก
PostgreSQL ออกเวอร์ชั่น 13 หลังจากเวอร์ชั่น 12 เกือบหนึ่งปี ปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพ, ขนาดฐานข้อมูล, และการออปติไมซ์การคิวรีจากระบบสถิติที่ดีขึ้น โดยฟีเจอร์แยกย่อยได้แก่
สำหรับนักพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดคือการรองรับฟังก์ชั่น gen_random_uuid()
โดยไม่ต้องเปิดใช้งานปลั๊กอินใดๆ จากก่อนหน้านี้ต้องใช้ uuid-ossp, มีฟังก์ชั่น datetime()
สำหรับแปลงวันที่ที่อยู่ในฟอร์แมตมาตรฐาน, และการคิวรีรองรับคำสำคัญ WITH TIES
คืนค่าชุดข้อมูลที่เรียงแล้วได้ค่าเท่ากับชุดข้อมูลก่อนหน้า เช่นกรณีต้องการ 10 อันดับแรกที่อันดับที่ 10 และ 11 มีค่าเท่ากันก็จะคืนให้ 11 ชุด
เมื่อประมาณกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ออกอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ให้กับ Azure Data Studio เครื่องมือจัดการฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบใหม่ เพื่อช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้ฐานข้อมูลโดยเฉพาะในส่วนของงานแก้ไขคิวรี่และดึงข้อมูล
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญอย่างแรกคือการรองรับฐานข้อมูล PostgreSQL ผ่านส่วนเสริมที่ได้รับการพัฒนาโดยไมโครซอฟท์เอง โดยจะสามารถใช้งานได้กับทั้ง PostgreSQL ที่ติดตั้งภายในองค์กร (on-premises) และ Azure Database for PostgreSQL บนคลาวด์
ตัวส่วนเสริม PostgreSQL ยังอยู่ในเวอร์ชันพรีวิว แต่ก็สามารถติดตั้งเพื่อทดลองใช้งานได้แล้วจากเมนู Extensions
DigitalOcean ประกาศเปิดบริการฐานข้อมูลของตัวเอง ในชื่อที่เรียกตามบริการเลยคือ Managed Databases โดยรองรับฐานข้อมูล PostgreSQL 10 และ 11 ก่อนจะรองรับ MySQL และ Redis เพิ่มเติมภายในปีนี้
DigitalOcean บอกด้วยว่าจะรับฟังเสียงลูกค้าว่าอยากได้ดาต้าเบสเอนจินตัวไหนเพิ่มเติม ขณะที่บริการ Managed Databases จะไม่คิดค่าบริการแบ็คอัพรายวัน รวมถึงเข้ารหัสแบบ end-to-end ทั้งหมด
ราคาของ Managed Databases ดูได้ท้ายข่าว
ที่มา - DigitalOcean
Cloud SQL บริการฐานข้อมูลบนคลาวด์ของ Google Cloud Platform ประกาศรองรับ PostgreSQL อย่างเป็นทางการ (GA) หลังเปิดทดสอบมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ Cloud SQL รองรับเฉพาะฐานข้อมูลแบบ MySQL เท่านั้น การรองรับ PostgreSQL ด้วยย่อมทำให้รูปแบบการใช้งานหลากหลายมากขึ้น และเจาะตลาดแอพพลิเคชันที่เน้นใช้บน PostgreSQL ด้วย
ข้อดีของการใช้ PostgreSQL บน Cloud SQL คือเรื่องสเกล ที่ขยายได้ถึง 10TB, 40,000 IOPS และแรม 416GB ต่อหนึ่ง instance นอกจากนี้ยังมีเรื่อง high availablity ที่เป็นจุดแข็งของการใช้คลาวด์อยู่แล้ว
ฐานข้อมูล PostgreSQL ออกเวอร์ชัน 10 ซึ่งถือเป็นการขยับเลขเวอร์ชันใหญ่ครั้งแรก นับตั้งแต่ออก PostgreSQL 9.0 ในปี 2010
หมายเหตุ: ที่ผ่านมา PostgreSQL 9.x ถือเป็นรุ่นใหญ่ (major) ทุกรุ่น แต่นับจากนี้ไปจะเปลี่ยนมาใช้เลขเวอร์ชันแบบ x.y โดย x คือรุ่นใหญ่ y คือรุ่นย่อย เหมือนอย่างซอฟต์แวร์ปกติ
ของใหม่ใน PostgreSQL 10.0 มีหลายอย่าง ดังนี้
ในงาน Google Cloud Next 2017 กูเกิลประกาศของใหม่ให้ Google Cloud Platform (GCP) หลายอย่าง ที่น่าสนใจมีดังนี้
Evan Klitzke จาก Uber เขียนบล็อกเล่าถึงสถาปัตยกรรมภายในของ Uber ที่แต่เดิมพัฒนาระบบหลังบ้านด้วย Python และ PostgreSQL ทั้งระบบ แต่ระบบใหม่ๆ กลับหันไปใช้ Schemaless บน MySQL แทน
บริการฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆ Amazon Relational Database Service (ตัวย่อ RDS) เปิดบริการตั้งแต่ปี 2009 โดยเริ่มจาก MySQL จากนั้นก็ขยายมายังฐานข้อมูลตัวอื่นๆ คือ Oracle และ Microsoft SQL Server
วันนี้ Amazon ประกาศรองรับฐานข้อมูลโอเพนซอร์สอีกตัวคือ PostgreSQL แล้ว เบื้องต้นยังมีเฉพาะเวอร์ชัน 9.3.1 แต่ Amazon ก็ประกาศว่าจะรองรับเวอร์ชันใหม่ๆ ในอนาคตด้วย ส่วนฟีเจอร์ด้านฐานข้อมูลบนกลุ่มเมฆก็ไม่ต่างอะไรจากฐานข้อมูลยี่ห้ออื่นๆ มากนัก มีทั้งการแบ็คอัพอัตโนมัติ, การสร้าง instance ของฐานข้อมูลใหม่โคลนจาก instance เดิมตามช่วงเวลาที่ต้องการ, การสร้างฐานข้อมูลข้ามโซนกลุ่มเมฆ, รองรับ VPS เป็นต้น
Greenplum เป็นบริษัทลูกของ EMC ที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลด้าน Data Warehouse/Big Data โดยเฉพาะ บริษัทมีผลิตภัณฑ์หลักในมือ 2 ตัวคือ
ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลที่กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ในสายองค์กรคือ PostgreSQL เนื่องจากองค์กรหลายแห่งพยายามเลี่ยง MySQL ที่ไปผูกชะตาชีวิตกับออราเคิล และตัวเลือกที่เด่นชัดในโลกองค์กรคือ EnterpriseDB ที่นำ PostgreSQL รุ่นโอเพนซอร์สมาปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในองค์กร
หลังจาก PostgreSQL ออกรุ่น 9.1 เมื่อกลางปีที่แล้ว ล่าสุดทางบริษัท EnterpriseDB ก็เพิ่งออกรุ่นเดียวกันสำหรับองค์กรในชื่อ Postgres Plus Advanced Server 9.1 (ใช้เลขเวอร์ชันเท่ากัน)
ฐานข้อมูล PostgreSQL ออกรุ่นใหม่ 9.1 แล้ว
ฟีเจอร์ใหม่ในรุ่นนี้มีด้วยกัน 9 ฟีเจอร์ใหญ่ๆ เนื่องจากรายละเอียดค่อนข้างมาก คนที่ใช้งานหรือสนใจก็อ่านกันแบบเต็มๆ ที่ What's new in PostgreSQL 9.1 และ PostgreSQL 9.1 Press Kit
ฟีเจอร์ทั้ง 9 อย่างได้แก่
หนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลกระทบกระเทือนจากการที่ Oracle ซื้อ Sun Microsystems มากที่สุดคือ Red Hat เพราะว่า Red Hat นั้นขายโซลูชันด้านเซิร์ฟเวอร์ให้องค์กรโดยใช้ส่วนประกอบที่เป็นโอเพนซอร์ส (Apache/MySQL) การที่ Oracle ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของ Red Hat กลายมาเป็นเจ้าของ MySQL ทำให้ Red Hat มีความเสี่ยงสูงถ้าหากจะยึดติดกับ MySQL ต่อไป
ทางออกเลยมาอยู่ที่ PostgreSQL ครับ ตอนนี้มีข่าวว่า Red Hat เข้าไปลงทุนสนับสนุนบริษัท EnterpriseDB ซึ่งเป็นเจ้าของ PostgreSQL Plus ที่พัฒนามาจาก PostgreSQL แต่เป็นซอฟต์แวร์ปิดและจับตลาดลูกค้าทับกับ Oracle โดยตรง มีจุดขายด้านความเข้ากันได้กับข้อมูลเดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Oracle
ไอบีเอ็มควักกระเป๋าลงทุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบริษัทซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลโอเพนซอร์ส EnterpriseDB ที่พัฒนาซอฟต์แวร์จาก PostgreSQL เพื่อเพิ่มความเข้ากันได้กับเบอร์หนึ่งอย่าง Oracle เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าของ Oracle ย้ายมาใช้ซอฟต์แวร์ของ EnterpriseDB ได้ง่ายขึ้น
ไอบีเอ็มเองนั้นเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ฐานข้อมูล DB2 อยู่เช่นกัน
ในแง่ของสินค้า บริษัท EnterpriseDB นั้นวางซอฟต์แวร์ของตนไว้ตรงกลางระหว่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและซอฟต์แวร์ระดับองค์กร โดยนอกจากจะต้องแข่งขันกับ Oracle แล้วอีกด้านหนึ่ง EnterpriseDB ก็ต้องแข่งขันกับ MySQL ด้วยการออกซอฟต์แวร์ช่วยในการย้ายฐานข้อมูล
ผมไม่แน่ใจว่าหลายๆคนจะรู้จัก PostgreSQL กันหรือเปล่าว่ามันคือระบบฐานข้อมูลยอดนิยมที่มีลิขสิทธิ์แบบ open source อีกตัวหนึ่ง ที่มีความสามารถมาก และคิดว่ามีฟีเจอร์พอๆกับ oracle แต่ฟรีแบบ MySQL และแน่นอนมันเขียน PL/SQL ได้และหลายภาษาด้วย
ตอนนี้ PostgreSQL ได้ออกเบต้าแรกของเวอร์ชั่น 8.3 มาแล้้วเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ที่ผ่านมาโดยในเวอร์ชั่นเบต้านี้มีฟีเจอร์ใหม่ๆได้แก่