Apache Foundation ประกาศฉลองครบรอบ 20 ปีของโครงการ Subversion (svn) ระบบควบคุมเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ที่สร้างโดยบริษัท CollabNet ในปี 2000 ที่มาแทนที่ cvs และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และบริษัทก็ยกโครงการให้ Apache Foundation ดูแลต่อในปี 2009
แม้ว่าช่วงหลัง git จะเข้ามามีบทบาทในโลกโอเพนซอร์สมากขึ้น แต่เมื่อ 20 ปีก่อน svn ถือว่ามีนวัตกรรมอย่างมาก เช่น atomic versioning ที่ซอฟต์แวร์จะไม่ยอม commit หากโครงการเกิด conflict ระหว่างนักพัฒนา นอกจากฟีเจอร์นี้แล้ว svn ยังมีเป้าหมายที่จะแทนที่ cvs อย่างครบถ้วน
Karl Fogel นักพัฒนาคนแรกของ svn แสดงความยินดีกับการครบรอบนี้โดยระบุว่า svn ยังมีการใช้งานในองค์กรจำนวนมากเนื่องจากความเรียบง่ายและความเสถียรของมัน
Snyk บริษัทด้านค้นหาช่องโหว่ของซอร์สโค้ด ออกรายงานสำรวจข้อมูลของนักพัฒนาซอฟต์แวร์สาย Java จำนวนประมาณ 2,000 คน ประจำปี 2020 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ภาษา Kotlin ได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก ถึงแม้นักพัฒนา 86.9% ยังเขียนภาษา Java เป็นหลัก แต่ Kotlin ก็เติบโตจาก 2.4% เมื่อปีก่อนมาเป็น 5.5% และกลายเป็นภาษายอดนิยมอันดับสอง เหนือกว่า Clojure หรือ Scala แล้ว - อ้างอิง
Liu Lei นักวิจัยจาก Institute of Computing Technology สถาบันภายใต้ Chinese Academy of Sciences (CAS) สถาบันวิจัยระดับชาติของจีนประกาศว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาหลักของภาษา Mulan ที่เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่สร้างขึ้นในจีนทั้งหมด แต่หลักจากนักพัฒนาเข้าไปดูโครงการแล้วก็พบว่าโค้ดสร้างมาจากภาษาไพธอนที่มีการใช้งานทั่วโลก
ตัว Liu เขียนจดหมายขอโทษต่อสาธารณะในภายหลัง ระบุว่าห้องวิจัยของเขาสร้างภาษา Mulan ที่เป็นส่วนพื้นฐาน แต่งานที่ซับซ้อนจะรันด้วยไพธอน โดยตัวภาษา Mulan ตั้งใจทำให้ง่ายลงเพื่อให้นักเรียนประถมใช้งานได้ง่าย
ทาง CAS ประกาศพักงาน Liu และจะสอบสวนถึงเหตุการณ์นี้ โดยข้อหาที่ถูกสอบสวนมีตั้งแต่การประพฤติตัวไม่เหมาะสม, หลอกลวง, และแถลงการเท็จ
บริษัทวิจัยตลาดแรงงาน Buring Glass วิเคราะห์ตลาดแรงงานไอทีในสหรัฐฯ ช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าภาษา SQL ยังคงเป็นภาษาอันดับหนึ่งที่นายจ้างต้องการ คิดเป็นจำนวนตำแหน่งงาน 56,272 ตำแหน่ง ตามมาด้วยภาษาจาวา 48,949 ตำแหน่ง, ไพธอน 34,426 ตำแหน่ง, และจาวาคริปต์ 33,619 ตำแหน่ง
ความสามารถด้านซอฟต์แวร์อื่น เช่น ลินุกซ์ 28,562 ตำแหน่ง ออราเคิล 24,218 ตำแหน่ง, และ SQL Server 14,299 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่างานฐานข้อมูลยังคงเป็นความสามารถสำคัญ
TIOBE บริษัทซอฟต์แวร์ที่จัดอันดับความนิยมภาษาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง รายงานถึงความนิยมภาษาโปรแกรมเดือนมกราคมพร้อมรายงานภาษาแห่งปี 2019 เป็นภาษา C จากความนิยมที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.4% นับว่าเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มภาษายอดนิยม ตามมาด้วย C# (+2.1%), Python (+1.4%), และ Swift (+0.6%)
TIOBE ระบุว่าสาเหตุที่ภาษา C ยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นรวดเร็วน่าจะเพราะปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรม IoT ก็เติบโตเร็วด้วยเช่นกัน และการพัฒนาอุปกรณ์เหล่านี้ก็ยังใช้ภาษา C อยู่
โครงการ Python ประกาศออก Python 2.7 เวอร์ชันสุดท้ายของสาย Python 2.x ในเดือนเมษายน 2020 หลังจากนั้นแล้วจะไม่อัพเดต Python 2.x อีกแล้ว แปลว่าไม่มีแพตช์ความปลอดภัยด้วย
Python 2.0 ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2000 นับอายุได้เกือบ 20 ปีพอดี เดิมทีโครงการ Python ตั้งใจหยุดการซัพพอร์ต Python 2 ตั้งแต่ปี 2015 แต่ก็ยืดเวลามาอีกถึง 5 ปีเพื่อให้โอกาสแอพต่างๆ อัพเกรดเป็น Python 3 (ออกครั้งแรกในปี 2008)
ปัจจุบัน Python 2 เวอร์ชันล่าสุดคือ 2.7.17 ที่ออกในเดือนตุลาคม 2019 และเดิมมีแผนหยุดซัพพอร์ต Python 2 ในวันที่ 1 มกราคม 2020 แต่สุดท้ายก็ยืดไปอีก 4 เดือน
Ruby ออกเวอร์ชั่น 2.7.0 เมื่อวันคริสตมาสที่ผ่านมา โดยเพิ่มฟีเจอร์หลัก 4 รายการ ได้แก่
AWS เปิดบริการ Amazon CodeGuru บริการตรวจคุณภาพโค้ดอัตโนมัติช่วยลดช่องโหว่ที่อาจจะหลุดรอดจากระบบเทสหรือการช่วยกันรีวิวโค้ด
บริการแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
ทั้งสองบริการยังรองรับเฉพาะจาวา ค่าบริการตรวจสอบโค้ด 0.75 ดอลลาร์หรือ 23 บาทต่อ 100 บรรทัด ส่วนค่าทำ profiling อยู่ที่ 0.005 ดอลลาร์หรือ 15 สตางค์ต่อชั่วโมง คิดไม่เกิน 36,000 ชั่วโมงต่อเดือน
Cloudflare เปิดตัวไลบรารี LOL HTML ชื่อเต็ม Low Output Latency streaming HTML rewriter/parser with CSS-selector based API หรือ "ตัวอ่านและแก้ไข HTML กำหนดข้อมูลที่แก้ด้วย CSS-selector แบบระยะเวลาหน่วงต่ำ"
LOL HTML เป็นไลบรารีภาษา Rust ที่ทาง Cloudflare สร้างไว้ใช้งานในบริการ Cloudflare Workers ที่รันซอฟต์แวร์แบบ serverless แก้ไข HTML ที่ปลายทางของ CDN ได้เลย
ไมโครซอฟท์ลงประกาศรับสมัครงานในตำแหน่ง Security Software Engineer รับผิดชอบการสร้างเครื่องมือวิจัยและลดผลกระทบช่องโหว่ความปลอดภัยในวินโดวส์และอุปกรณ์ของไมโครซอฟท์ โดยระบุว่าเครื่องมือภายในพัฒนาด้วยภาษา Rust เป็นหลัก ดังนั้นหากใครมีประสบการณ์จะพิจารณาเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ดีภาษา Rust ไม่ได้เป็นเงื่อนไขหลักในการสมัครตำแหน่งนี้ โดนผู้สมัครต้องเขียนโปรแกรมภาษา C/C++ เป็น ระดับประสบการณ์ 3 ปีขึ้นไป, เข้าใจความมั่นคงปลอดภัยของระบบปฎิบัติการ มีประสบการณ์พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบมากกว่า 1 ปี, มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อย่างแข็งแกร่ง
GitHub ออกรายงาน The State of the Octoverse รายงานความเป็นไปของชุมชนนักพัฒนา โดยมีผู้ใช้ใหม่เพิ่มขึ้นในปี 2019 ถึง 10 ล้านคน รวมเป็น 40 ล้านคนแล้ว และมี repository เกิดใหม่ถึง 44 ล้านชุด
รายงานส่วนหนึ่งระบุถึงความนิยมของภาษาโปรแกรมมิ่ง พบว่าปีนี้เป็นปีแรกที่ภาษาไพธอนแซงหน้าภาษาจาวาขึ้นมาเป็นอันดับสองรองจากจาวาสคริปต์ โดยไพธอนแซงหน้า PHP ขึ้นมาเป็นอันดับสามเมื่อปี 2015 โดยความนิยมภาษาในชุมชน GitHub ต่างจากการวัดอื่นพอสมควร เช่น ดัชนี TIOBE ระบุว่าจาวาเป็นอันดับหนึ่งใกล้เคียงกับภาษาซี และนำไพธอนอยู่ห่าง
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2019 ได้มีการเปิดตัว AI เล่นหมากฮอสชื่อ Invincible 2 พัฒนาโดยคุณทศพล ธนะทิพานนท์ ซึ่งตัวโปรแกรมยืนยันแล้วว่า ได้แก้ปัญหาหมากฮอสที่เป็นเกมกระดานยอดนิยมของคนไทย เล่นกันมายาวนานกว่า 80 ปี
ทีมพัฒนา Longdo Map ออกเครื่องมือช่วยสร้างแบบฟอร์มสำหรับกรอกที่อยู่ (Longdo Address Form API) ให้นักพัฒนาเว็บไซด์ใช้ได้ เดิมทีการพัฒนาช่องกรอกที่อยู่ทำได้ยาก ต้องมีฐานข้อมูลจังหวัด อำเภอ ตำบล และยังต้องพัฒนาระบบ การแนะนำคำค้นหาด้วยตัวเองอีกด้วย
คู่มือการใช้ https://api.longdo.com/address-form/
ซึ่ง Longdo Address Form API ได้ออกแบบมา มีจุดเด่น คือ
Guido van Rossum ผู้สร้างภาษา Python ประกาศลาออกจากงานปัจจุบันที่ Dropbox (ย้ายมาจากกูเกิลตั้งแต่ปี 2013) ด้วยเหตุผลว่าต้องการเกษียณอายุแล้ว (ปัจจุบันเขาอายุ 63 ปีแล้ว)
Dropbox ถือเป็นองค์กรที่ใช้ Python เยอะมากแห่งหนึ่ง นับตั้งแต่ Drew Houston ผู้ก่อตั้งบริษัทเริ่มเขียนโค้ดบรรทัดแรกของ Dropbox ด้วยภาษา Python และหลังจากนั้นก็เชิญ Guido มาพูดที่บริษัทอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งชวน Guido ย้ายมาทำงานด้วย
Node.js ออกเวอร์ชัน 13.0 (และออกรุ่นแก้บั๊ก 13.0.1 ตามมาในวันถัดมา) ถือเป็นเวอร์ชันแรกของ Node.js สาย 13.x
ระบบการออกรุ่นของ Node.js ในปัจจุบันคือออกเวอร์ชันใหญ่ทุก 6 เดือน โดยแบ่งเป็นรุ่นเลขคี่ (ไม่เสถียร) และรุ่นเลขคู่ (เสถียร) และมีเงื่อนไขว่าเมื่อออกรุ่นเลขคี่แล้ว จะปรับเวอร์ชันของรุ่นเลขคู่เป็นรุ่นซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ทันที และเลื่อนรุ่น LTS สองรุ่นก่อนหน้าเป็นสถานะ Maintenance
การออก Node.js 13.0 จึงมีผลทำให้ Node.js 12 มีสถานะเป็น LTS (เริ่มนับที่ 12.13.0) และส่งผลให้ Node.js 8 LTS เข้าสถานะ Maintenance
ณ ปัจจุบัน เราจึงมี Node.js ที่เป็น LTS ทั้งหมด 3 รุ่นคือ
รายงานวิจัยพบบั๊กในสคริปต์ไพธอนคำนวณค่าสถิติของสคริปต์ที่มีการแจกจ่ายมาตั้งแต่ปี 2014 และถูกนำไปใช้คำนวณผลวิจัยกว่าร้อยชิ้น แต่บั๊กในสคริปต์อาจจะทำให้ต้องถอนงานวิจัยเหล่านั้นทั้งหมด
สคริปต์ปัญหานี้เป็นสคริปต์สำหรับงานวิจัยหาสารเคมีที่มีผลต่อต้านมะเร็ง พัฒนาโดยทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Philip Williams และถูกพบโดย Yuheng Luo นักศึกษาปริญญาโทเมื่อเขาพยายามทำซ้ำผลวิจัย
บั๊กในสคริปต์เกิดจากการใช้ฟังก์ชั่น glob
เพื่อดึงรายชื่อไฟล์จากโฟลเดอร์ออกมา โดยนักวิจัยไม่ได้ตระหนักว่าฟังก์ชั่นนี้ไม่รับรองว่ารายชื่อไฟล์จะเรียงอย่างไร แม้ว่าในบางระบบไฟล์ผลที่ได้จะเรียงตามตัวอักษรแต่บางระบบไฟล์ก็ให้ผลต่างออกไป
ไมโครซอฟท์เปิดตัวฟอนต์ใหม่ Cascadia Code ที่เป็นฟอนต์แบบ monospace ออกแบบมาสำหรับงานเขียนโค้ดโดยเฉพาะ
Cascadia Code เป็นฟอนต์ที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับแอพ Windows Terminal ตัวใหม่ และแนะนำให้ใช้กับ Visual Studio และ Visual Studio Code ด้วย
ฟีเจอร์หนึ่งที่ Cascadia Code มีคือรองรับ programming ligatures หรือการพิมพ์สัญลักษณ์ 2-3 ตัวติดกัน แล้วผสมกันเป็นสัญลักษณ์ใหม่ เช่น พิมพ์ -> แล้วแปลงเป็นลูกศรให้อัตโนมัติ
Oracle ประกาศออก Java 13 ตามรอบการออกรุ่นทุก 6 เดือน ของใหม่มีด้วยกัน 5 อย่างได้แก่
เมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัท OpenAI ที่ก่อตั้งโดย Elon Musk เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ GPT-2 ที่แสดงความสามารถในการทำความเข้าใจข้อความ และหลังจากนั้นพบว่ามันสามารถเขียนโปรแกรมได้อย่าง "สมจริง"
หลังจากนั้น Jacob Jackson นักพัฒนาที่กำลังพัฒนาโปรแกรม TabNine ที่ช่วยเขียนโปรแกรมแบบ autocomplete อยู่ ก็หันมาพัฒนาโปรแกรมด้วยโมเดล GPT-2 เช่นกัน โดยป้อนเฉพาะไฟล์ซอร์สโค้ดรวม 2 ล้านไฟล์ลงไปใน GPT-2 ได้เป็นโปรแกรม Deep TabNine
ที่งาน Open Source Technology Summit (OSTS) ปีนี้ Josh Triplett วิศวกรอินเทลบรรยายในหัวข้อ "Intel and Rust: the Future of Systems Programming" ระบุถึงศักยภาพของภาษา Rust ที่จะนำมาใช้เขียนโปรแกรมระบบ (system programming) เต็มรูปแบบในอนาคต และหากทำได้ก็มีโอกาสที่จะใช้ภาษา Rust ในระดับเคอร์เนลต่อไป
ภาษา Rust แม้จะมีฟีเจอร์ของภาษายุคใหม่ เช่น การหลีกเลี่ยงการยุ่งเกี่ยวกับ pointer โดยตรงแต่อาศัย smart pointer แทนที่ แต่ขณะเดียวกันภาษาก็ไม่ต้องการ runtime แบบภาษาจาวาหรือ C# และยังไม่มี garbage collector (GC) เหมือนภาษา Go แต่ทุกอย่างวิเคราะห์ที่ช่วงเวลาคอมไพล์เท่านั้น
ภาษา Perl เป็นภาษาสคริปต์แรกๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในหมู่คนใช้ระบบปฎิบัติการตระกูลยูนิกซ์ แม้ภาษาจะมีความยืดหยุ่นจนสร้างความซับซ้อนได้มาก แม้จะมีความพยายามยกเครื่องใหม่มาตั้งแต่ปี 2000 ในชื่อโครงการ Perl 6 แต่ปรากฎว่าภาษาใช้เวลาพัฒนายาวนาน จนกว่าจะออกเวอร์ชั่นแรกได้ก็ล่วงมาจนถึงปี 2015 และจนตอนนี้สองภาษาแม้จะมี syntax พื้นฐานคล้ายกันแต่ก็มีฟีเจอร์ต่างกันมากแล้ว ล่าสุดทีมพัฒนา Perl เริ่มเสนอให้เปลี่ยนชื่อโครงการ
Larry Wall ผู้สร้างภาษา Perl กล่าวในงาน PerlCon ปีนี้ระบุว่าทั้งสองภาษาเป็นเหมือนพี่สาว/น้องสาวที่โตพอแล้วทั้งคู่
Python 3.8 มีกำหนดออกเดือนตุลาคมนี้ โดยตอนนี้อยู่ที่สถานะ beta 2 มีความเปลี่ยนแปลงฟีเจอร์หลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มฟีเจอร์การตั้งค่าตัวแปรใน expression (Assignment Expressions หรือ PEP572 ทำให้สามารถตั้งค่าตัวแปรใน if statement ได้เลย
ภาษา Rust เป็นภาษาโปรแกรมที่เพิ่งสร้างขึ้นมาเมื่อปี 2010 โดยมอซิลล่า ผู้สร้างเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์ ตอนนี้ได้รับความสนใจขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ Joseph Birr-Pixton ทีมงาน Rustls ทดสอบการส่งข้อมูลเข้ารหัส เทียบกับ OpenSSL ไลบรารีเข้ารหัสที่แทบจะเป็นมาตรฐานกลางสำหรับการเข้ารหัสในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แล้วพบว่าสามารถเอาชนะได้แทบทุกการทดสอบ ตั้งแต่ประสิทธิภาพไปจนถึงการใช้หน่วยความจำ
ผลทดสอบ TLS 1.3 TLS_AES_256_GCM_SHA384 นั้น ประสิทธิภาพการส่งข้อมูล Rustls เร็วกว่า OpenSSL อยู่ 13% ขณะที่ฝั่งรับเร็วกว่า 5.8% ขณะที่การใช้หน่วยความจำน้อยกว่า 54%
ดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE ประกาศดัชนีเดือนมิถุนายน โดยมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือภาษา Python แซงหน้าภาษา C++ ขึ้นมาอยู่อันดับสาม และมีค่าดัชนีความนิยม 8.53% สูงสุดเท่าที่ประกาศดัชนีมาตั้งแต่ปี 2001
ภาษา Python ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงหลังจากการใช้พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม deep learning ที่ใช้ Python อย่างหนัก นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ดูแลระบบก็ยังนิยมพัฒนาเครื่องมือง่ายๆ โดยใช้ Python แทน Perl มากขึ้นเรื่อยๆ ตามดัชนี TIOBE ภาษา Python เคยได้รับความนิยมสูงถึงอันดับ 5 ในช่วงปี 2009
กลุ่มภาษา 10 อันดับแรก ได้แก่ Java, C, Python, C++, VB .NET, C#, JavaScript, PHP, SQL, Assembly ตามลำดับ
ที่มา - TIOBE
ปี 2016 กูเกิลประกาศว่า Android ยังไม่มีแผนรองรับภาษาอื่นนอกจาก Java ส่วน ปี 2017 กูเกิลประกาศรองรับภาษา Kotlin โดยมีศักดิ์ฐานะเท่ากับ Java
ปี 2019 กูเกิลประกาศว่าจากนี้ไป แพลตฟอร์ม Android จะเป็น Kotlin-First โดยฟีเจอร์ใหม่ๆ ของชุดเครื่องมือ Android Jetpack จะถูกพัฒนาเป็นภาษา Kotlin ก่อน ส่วนภาษาอื่นๆ จะตามมาช้ากว่า
คำแนะนำของกูเกิลตอนนี้คือ ถ้าจะเริ่มโครงการพัฒนาใหม่ ควรเริ่มเป็น Kotlin ได้แล้ว เพราะเขียนโค้ดง่ายกว่า ทดสอบง่ายกว่า ดูแลรักษาโค้ดง่ายกว่า