งานวิจัยชิ้นล่าสุด โดยความร่วมมือของ ศูนย์พัฒนาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU's Center for Developmental Genetics) กับ มหาวิทยาลัย Würzburg ได้ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งกับความเชื่อดั้งเดิม ที่เชื่อกันว่า การรับรู้สีสันและการรับรู้การเคลื่อนไหวของวัตถุ ในระบบการมองเห็นของคนเรา ทำงานสัมพันธ์กัน
นักวิจัยได้ทำการทดสอบความเชื่อดังกล่าว โดยเปรียบเทียบแมลงวันผลไม้ทีมีความบกพร่องในการรับรู้สี กับแมลงวันผลไม้ที่ปกติ แล้วดูความสามารถในการตอบสนองของวัตุที่เคลื่อนไหว ซึ่งจากผลการทดลอง พบว่าแมลงวันทั้งสองชนิด มีความสามารถในการตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวในระดับเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การรับรู้สีสัน ไม่มีผลต่อการตรวจจับการเคลื่อนไหว
อาเธอร์ ซี คลาร์ค (Arthor C. Clarke) นักเขียนชาวอังกฤษชื่อก้องโลกจากหนังสือ 2001: A Space Odyssey ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 90 ปีจากโรคทางเดินหายใจที่ประเทศศรีลังกา เมื่อเวลา 1.30 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น
การปฏิสนธิเทียมหรือที่เรียกกันว่า IVF กำลังจะเป็นวิธีที่ได้ผลในการให้ผู้ที่ต้องการมีลูก แต่ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเองด้วยเหตุผลต่างๆ ณ ตอนนี้มีอุปกรณ์ตัวใหม่มาช่วยให้การปฏิสนธิมีโอกาสที่จะสำเร็จมาขึ้นแล้ว
เจ้าอุปกรณ์ที่ว่ามีชื่อเรียกว่า Silicone womb ซึ่งทดสอบในห้องปฎิบัติการมาแล้วว่าได้ผล ซึ่งวิธีใช้จะแตกต่างจากปัจจุบันซึ่งต้องผสมในหลอดทดลองแล้วบ่มในตู้บ่ม แต่เจ้ามดลูกซิลิโคนนี้จะมีความยาว 2 นิ้ว เป็นทรงกระบอกและมีรูตรงกลางขนาด 40 ไมครอน ผลิตโดยบริษัท Anecova
หลายคนคงเคยได้ยินว่ามีคอมพิวเตอร์ที่มีการคำนวนระดับ Gigaflops มาแล้ว มาปัจจุบันเราได้ไปไกลกว่านั้น เมื่อนักวิจัยได้วางแผนที่จะสร้างเครื่องที่มีขนาด exascale ซึ่งหมายถึงว่าเครื่องจะสามารถประมวลผลข้อมูลได้ หนึ่ง ล้าน ล้าน ล้าน ต่อวินาที ( 1 million trillion) เมื่อเทียบกับเครื่อง BlueGene/L ของ IBM ซึ่งมีระดับการประมวลผลอยู่ที่ 596 teraflops แต่เครื่องที่จะสร้างนี้จะมีความเร็วกว่า 1 ล้านเท่า หรือ 1 exaflop
ณ ตอนนี้ทุกอย่างยังอยู่ในระดับดำเนินการสร้าง การสร้างคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงครั้งนี้หวังว่าจะมาใช้ในการช่วยคำนวนหาทางบำบัดโรคต่าง ๆ ของมนุษย์ในอนาคตนี้
ที่มา - Engadget.com
เมื่อวานนี้ทางคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาตร์มหาวิทยาลัย Harvard ได้ลงมติให้งานวิจัยทั้งหมดของทางคณะต้องเปิดให้คนทั่วไปจากภายนอกเข้าถึงได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ และอนุญาตให้มีการทำสำเนาเพื่อแจกจ่ายโดยใครก็ได้ในโลกนี้ตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีการทำกำไรจากตัวบทความ
ก่อนหน้านี้มีกองทุนสนับสนุนงานวิจัยจำนวนมาก ได้เริ่มใส่ข้อบังคับแบบเดียวกันนี้ให้กับผู้ขอรับทุนไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่การที่ทางคณะฯ มีข้อบังคับนี้จะทำให้นักวิจัยในสังกัดทั้งหมดต้องทำตามข้อบังคับนี้ไม่ว่าจะใช้ทุนจากแหล่งใดก็ตาม
นักวิจัยชาวญี่ปุ่นได้ผ่าตัดปลูกฝังกล้องขนาดเล็กลงบนสมองหนู เพื่อศึกษาว่าความจำเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะนำผลที่ได้มาช่วยในการบำบัดโรคเกี่ยวกับความจำที่เกิดขึ้น
งานวิจัยชิ้นนี้ได้ตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการ Journal of Neuroscience Methods และ Sensors and Actuators โดยทีมงานได้ฝังกล้องขนาดยาว 3 มม. กว้าง 2.3 มม.และ สูง 2.4 มม. โดยทีมงานที่ทำการผ่าตัดมาจากมหาวิทยาลัย Kinki และทีมงานที่ศึกษามาจากมหาวิทยาลัย Nara
กล้องได้ถูกฝังเข้าไปยังสมองส่วน Hippocampus โดยทีมงานจะฉีดสีที่สามารถแสดงผลถึงกิจกรรมสมองควบคู่ไปด้วย และกล้องจะบันทึกสีที่เกิดขึ้นบนสมองถ่ายทอดไปยังจอแสดงผลเป็นสีฟ้า
คงเคยเห็นการใส่วัตถุขนาดนาโนเมตรเพื่อวิเคราะห์โรคมะเร็งในหนูมาแล้ว ตอนนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยนักวิจัยได้พบประสิทธิภาพของวัตถุขนาดนาโนในการระเบิดมะเร็งให้สลายตัว
วิธีการคือใส่วัตถุขนานนาโน 2 ชิ้นมีชื่อว่า nanothermite ทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนและเชื้อเพลิง สามารถสร้างคลื่นจุดระเบิดซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายเซลล์มะเร็งด้วยความเร็ว 1,500 ถึง 2,000 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากมาใช้ในร่างกายสิ่งมีชีวิตแล้ว นักวิจัยกล่าวว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเมื่อทดลองกับเนื้อเยื่อหนูพบอัตราสำเร็จอยู่ที่ 99%
เทคโนโลยีนี้จะพร้อมใช้ได้ในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า
ที่มา - Engadget.com
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Rockefeller ได้ค้นพบโปรตีนที่ทำหน้าที่ให้ stem cell แบ่งตัวและควบคุมการเจริญเติบโตของผม ซึ่งนี้อาจจะเป็นความหวังของคนที่มีผมน้อย
ทีมนักวิจัยค้นพบโปรตีนตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า NFATc1 ซึ่งจะมีการแสดงออกของโปรตีนนี้มากใน stem cell จนถึงเซลล์รากผม โดยโปรตีนนี้จะไปยับยั้งการเจริญของเส้นผมเมื่อแก่ตัวลง จากการทดลองกับหนูโดยให้ยาที่มีชื่อว่า Cyclosporine จะมีผลทำให้หนูมีขนเร็วกว่าหนูปกติมาก ซึ่งเกิดจากยานี้ไปทำให้ภาวะหยุดเจริญของผมหมดลงโดยไปยับยั้งโปรตีนที่กล่าวไปและเข้าสู่กระบวนการงอกของผมต่อไป
ซึ่งจากการค้นพบดังกล่าวสามารถเอาไปใช้สำหรับปลูกผมคนผมบางได้ต่อ
เพิ่งมีการค้นพบพืชสายพันธุ์ใหม่ที่กินหนูเป็นอาหารในบริเวณ Cape York ในประเทศออสเตรเลีย
ในบริเวณ Cape York นั้น มีพืชที่กินสัตว์ขนาดเล็กและแมลงเป็นอาหารมากมาย แต่ล่าสุดได้มีการค้นพบพืชลักษณะเดียวกันนี้ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยมันเติบโตในลักษณะเถาวัลย์
พืชสายพันธุ์ใหม่นี้จะถูกเรียกว่า "Tenax" โดยมันสามารถที่จะกินหนูที่มีขนาดเล็กได้
แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ค้นพบจาก James Cook University ตัดสินใจที่จะไม่เปิดเผยแหล่งที่เขาค้นพบพืชใหม่ชนิดนี้ เนื่องจากว่า Tenax ยังมีจำนวนน้อยมาก แม้ว่าจะเพิ่งถูกค้นพบแต่ก็มีสิทธิหายไปจากโลกนี้ได้
ผมกลัวพืชกินคนแบบมาริโอจัง งั่บ ๆ
หลังจากที่ได้รางวัล X-Price ไปเรียบร้อยแล้วกับ SpaceShipOne (ข่าวเก่า) ทีมงานของเบิร์ท รูแทนผู้อยู่เบื้องหลัง SpaceShipOne และเวอร์จินกาแลคติคซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลัก ก็ได้เปิดตัว SpaceShipTwo แล้วในวันนี้ โดย SpaceShipTwo จะมีขนาดใหญ่กว่า SpaceShipOne มากพอสมควร จากเดินที่รับผู้โดยสารได้แค่สองคนก็เพิ่มเป็นหกคนและผู้โดยสารก็สามารถลุกยืนหรือเคลื่อนไหวไปมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะคงไม่อยากมีใครถูกบังคับให้นั่งอยู่กับที่เฉย ๆ ในสภาพไร้แรงดึงดูดแน่นอน
นักวิจัยชี้การคุยโทรศัพท์มือถือก่อนนอนอาจทำให้คุณนอนไม่หลับ มีอาการปวดหัวและสับสนต่อมาจากคลื่นโทรศัพท์ ซึ่งนั้นอาจทำให้คุณมีอาการไม่สดชื่นยามตื่น
นักวิจัยจากสถาบัน Sweden's Karolinska และมหาวิทยาลัย Wayne State University ในอเมริกา ได้ศึกษากับอาสาสมัครชาย 35 คน หญิง 36 คน ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 45 ปี โดยแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกจะรับคลื่นโทรศัพท์ที่มีความแรงเท่ากับยามใช้โทรศัพท์ อีกกลุ่มจะให้คลื่นหลอก และผลปรากฎว่ากลุ่มที่โดนคลื่นโทรศัพท์จะใช้เวลานานกว่าจะเข้าสู่การหลับขั้นแรก และในการหลับก็มีระยะเวลาสั้นลง
นักวิจัยชาวอเมริกาสามารถกระตุ้นหัวใจจากหนูที่ตายแล้วให้เต้นใหม่อีกครั้งได้ ซึ่งค้นพบนี้จะเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาระบบปลูกถ่ายอวัยวะได้
งานวิจัยนี้ลงในวารสาร Nature Medicine เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยใช้ความสามารถปลูกถ่าย stem cells ลงไปยังโครงร่างเซลล์หัวใจหลักได้ โดยใช้กระบวนการที่มีชื่อว่า decelluarization ซึ่งเป็นการล้างเซลล์ที่ตายแล้วออก เหลือแต่ส่วนที่เป็นโครงร่าง collagen เชื่อมต่อกัน หลังจากนั้นทีมนักวิจัยได้ฉีดสาร gelatin-like scaffold จากหนูที่พึ่งเกิดใหม่ แล้วเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ แล้วรอให้เจริญเติบโต หลังจากนั้น 4 วันจะเกิดเซลล์หัวใจใหม่ก่อตัวเป็นรูปหัวใจ
ถ้ากังวลว่ามีระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดจะสูง แล้วจะเป็นโรคหัวใจ จนไม่กล้ารับประทานอะไรที่มีไขมันแล้วละก็ อ่านข้อมูลวิจัยล่าสุดแล้วอาจเปลี่ยนใจ
นักวิจัยจาก Texas A&M University ซึ่งมี ผศ.ดร. Steven Riechman จากภาควิชา Health และ kinesiology กับ Simon Sheather จากภาควิชาสถิติ ตลอดจนทีมนักวิจัยจาก Johns Hopkins Weight Management Center และ the Northern Ontario School of Medicine ได้ค้นพบว่า การที่มี คอเลสเตอรอลน้อยจะไปลดการเกิดกล้ามเนื้อเวลาออกกำลัง
ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจจะได้เห็นเรือเหาะหรือ Zeppelin หลุดออกนอกจอภาพเกมส์แฟนตาซีหรือภาพยนตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากบริษัทจำนวนหนึ่งเริ่มมีไอเดียที่จะนำพวกมันมาใช้
Popular Mechanics ได้มีดีไซน์เรือเหาะ 4 ชนิดให้ดู โดยหนึ่งในนั้น Aeroscraft ML866 ก็มีหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐช่วยสนับสนุนในเรื่องเงินอยู่ด้วย โดยดีไซน์นี้ได้รวมเอาสิ่งที่ดีที่สุดของเฮลิคอปเตอร์กับ Zeppelin ไว้เข้าด้วยกัน
ท่ามกลางราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ไอเดียที่จะขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ด้วยเรือเหาะก็ไม่เลวเหมือนกันนะ โอวมายไฟนอลแฟนตาซี 6 จะเป็นจริงแล้ว
ทีมนักวิจัยจาก Baylor College of Medicine ได้ทำการทดลองวัคซีนรักษาอาการติดโคเคนในระดับคลินิกแล้ว โดยวัคซีนจะไปช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรู้จักกับสารโคเคน
วัคซีนที่ว่านี้มีกลไกการทำงานคือ นักกวิจัยได้ทำการติดสารโคเคนที่ทำให้หมดฤทธิ์กับโปรตีนของโรคอหิวาห์ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเราไม่สามารถจับกับสารเล็กเช่นสารเคมีได้ เมื่อฉีดสารโคเคนที่เชื่อมต่อกับโปรตีนเข้าไปแล้ว ภูมิคุ้มกันจะจับกับโปรตีนของโรคอหิวาต์และสารโคเคนด้วย ทำให้มีภูมิคุ้มกันต่อสารโคเคนไปโดยปริยาย โดยโคเคนที่ถูกภูมิคุ้มกันจับนั้นจะไม่สามารถเข้าไปสู่สมองได้
ที่มา - /.
จากวารสารวิชาการ the National Academy of Sciences. ที่มีการรายงานว่าคนที่ถูกปลุกให้ตื่นจากหลับลึกจะมีผลกระทบต่อการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้เกิดการต้านทานอินซูลิน เป็นผลทำให้ร่างกายมีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักเพิ่มแและเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานแบบที่ 2
ทีมนักวิจัยได้ทดสอบกับอาสาสมัครชายหญิง 9 คน เพื่อติดตามระบบการเผาผลาญน้ำตาลภายในร่างกาย โดย 2 คืนแรกอาสาสมัครจะนอนแบบปกติเพื่อดูว่าสภาวะหลับปกติร่างกายจะมีสภาพแบบไหน และในอีก 3 คืนต่อมาอาสาสมัครจะถูกปลุกให้ตื่นจากเสียงดังเมื่อเข้าสู่ภาวะการหลับลึก และเมื่อฉีดกลูโคสเข้าสู่ร่างกายในตอนเช้า และติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ก็พบว่า 8 ใน 9 คนจากอาสาสมัครมีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง
คนเรามักมีความเชื่อที่ถูกสอนกันมาเกี่ยวกับสุขภาพซึ่งบางครั้งเป็นความเชื่อที่ผิดๆ ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกันว่า 7 สุดยอดความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์มีอะไรบ้าง
จากวารสารวิชาการ British Medical Journal และ American Journal of Psychology ซึ่งมีผู้วิจัยคือ ผศ.ดร Aaron Carroll หมอทันตกรรมเด็กจากสถาบัน Regenstrief ที่ Indianapolis และ Rachel Vreeman นักวิจัยใน children's health services research ที่ Indiana University School of Medicine ได้จัดอันดับความเชื่อที่ผิดทางการแพทย์ออกมาดังนี้
เซลล์เนื้องอกที่อยู่ในระบบหมุนเวียนโลหิต ซึ่งรู้จักในชื่อของ CTCs และในปัจจุบันเรายังไม่มีการตรวจหาเซลล์ชนิดนี้เพื่อบ่งชี้การเกิดขึ้นของเนื้องอกแบบพิเศษที่เกิดขึ้นในร่างกาย หรือนำมาใช้เพื่อระบุการรักษาเนื้องอก
ดังนั้นทางทีมพัฒนาจากโรงพยายาลทั่วไปของ Massachusetts ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ microchip-based ซึ่งสามารถจำแนก นับจำนวน และวิเคราะห์ CTCs จากตัวอย่างเลือด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการตรวจหา หรือติดตาม และสามารถใช้ในการระบุวิธีการรักษา CTCs นั้นได้
แต่ทางนักวิจัยยังคาดหวังอีกว่าชิปนี้จะช่วยให้เราเข้าใจชีววิทยาของมะเร็งและกลไกการแพร่กระจายตัวของมะเร็ง ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างพัฒนาก่อนลงมาใช้ระดับคลินิก
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Princeton ได้พัฒนาวิธีที่จะวางทรานซิสเตอร์ บนสารคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า graphene ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตจะมาแทนที่ซิลิคอน
คุณสมบัติของ graphene ทำให้แผงวงจรมีความเร็ว 10 เท่าของแผงวงจรปัจจุบัน ทีมนักวิจัย ที่ประกอบด้วย Professor Stephen Chou และ นักศึกษาบัณฑิต Xiaogan Liang ได้เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยการนำ graphene ขนาด 100 μm มารวมกันหลายชิ้นเพื่อสร้างเป็นแผ่นวงจร
ทางทีมงานกล่าวว่าเทคโนโลยีนี่มีประโยช์นต่อการสื่อสารแบบไร้สายได้ โดยใช้พลังงานต่ำ และ ให้สัญญาณส่งที่แรงโดยที่ตัวเองมีขนาดเล็ก ในอนาคตทีมงานจะผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แผงวงจรนี้ทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานจริง
สนามบินแห่งชาติอังกฤษหรือ Heathrow จะเป็นสถานที่แรกที่นำระบบ Personal Rapid Transport (PRT) มาใช้ ระบบที่ว่านี้จะใช้เครือข่ายรถไฟฟ้าขนาดเล็กไร้คนขับที่เรียกว่า Pod สิบแปดคัน ขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารจอดรถกับอาคารผู้โดยสารบนถนนยกระดับเฉพาะ ซึ่งมีระยะห่าง 3.8 กิโลเมตรในเวลา 4 นาที
ตัวรถมีขนาด 4 ที่นั่ง ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งไม่เร็วเท่าไหร่แต่ผู้พัฒนาเคลมว่าใช้เวลารอรถไม่เกิน 18 วินาที และประหยัดพลังงานกว่าการใช้รถบัสโดยสารถึงร้อยละห้าสิบ
ส่วนตัวผมว่าถ้าวิ่งได้เร็วแบบ Minority Report จะน่าสนใจมากเลย
ทีมงานจากมหาวิทยาลัย Gyeongsang นำโดย Kong Il-keun ได้ประกาศความสำเร็จในการทำโคลนนิ่งแมวที่ได้รับการตัดต่อรหัสพันธุกรรมให้สามารถเรืองแสงเมื่อพบกับแสงอัลตราไวโอเล็ตได้ โดยทีมงานหวังว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในการรักษามนุษย์ที่เป็นโรคทางพันธุกรรมได้ในที่สุด หรือใช้ในการโคลนสัตว์ในตระกูลแมวที่กำลังใกล้สูญพันธุ์
ก่อนหน้านี้ในประเทศเกาหลีใต้ นาย Hwang Woo-Suk ได้เคยประกาศความสำเร็จในการโคลน Stem Cell ของมนุษย์ได้ แต่มีการพบว่าเป็นเรื่องหลอกลวงในที่สุด และกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี
แผนการใช้พลังงานสะอาดอย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี 2020 ของสหภาพยุโรปเริ่มเห็นภาพอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโครงการต่างๆ มีการเปิดตัวตามๆ กันมา ล่าสุดทางสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษที่เราเรียกกัน) ก็ได้ออกมาแถลงการถึงแผนการใช้พลังงานลม จากการติดตั้งกังพันปั่นไฟฟ้ารอบเกาะ ด้วยจำนวนที่อาจจะมากถึง 7000 ชุดด้วยกัน
เนื่องจากสหราชอาณาจักรนั้นเป็นเกาะมีน้ำล้อมอยู่แล้ว การสร้างกังหันในทะเลซึ่งมีลมแรงและไม่มีสิ่งกีดขวางจึงทำได้โดยง่าย และมีพื้นที่ค่อนข้างมาก
ในประเด็นด้านความมั่นคงทางพลังงาน ที่กรณีที่ไม่มีลมในช่วงเวลาหนึ่งถึงสองวันซึ่งอาจจะเป็นไปได้ ในการแถลงการถึงแผนการนี้ก็ได้เตรียมการขยายกำลังการผลิตจากด้านอื่นๆ รวมถึงนิวเคลียร์ไว้ควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน
เวลาที่มีเรื่องต้องหาหมอเพื่อผ่าตัดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ เรื่องที่ต้องเกิดขึ้นแน่ๆ คือหมอต้องเย็บแผลของเราหลังการผ่าตัดต่อไป แม้หลังๆ อาจจะมีไหมแบบไม่ต้องตัดออกหลังแผลสมานตัวแล้ว ความรำคาญก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นอาจจะทำให้เราเห็นไหมเย็บแผลน้อยลงเรื่อยๆ ในไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อ ดร. Klaus Rischka นักวิจัยจากห้องวิจัยของสถาบัน Fraunhofer ได้แสดงความก้าวหน้าในการสร้าง กาว สมานแผล
ความพยายามสร้างกาวในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ความยากอยู่ที่การทนทานต่อความชื้นของแผล และความทนทานในการยึดติด ซึ่งได้รับการแก้ไขไปแล้วในงานวิจัยชี้นนี้
รายงานการศึกษา เรื่อง "ปรากฏการเรือนกระจกและมลภาวะทางอากาศของไบโอดีเซลในประเทศออสเตเลีย" โดยสถาบัน CSIRO ประเทศออสเตรเลีย ได้ข้อสรุปที่ว่า การใช้ไบโอดีเซลมีส่วนช่วยลดมลภาวะในอากาศในส่วนของอุตสาหกรรมขนส่ง
จากรายงานฉบับนี้ พบว่าการใช้ไบโอดีเซลบริสุทธิ์ (คือไม่ผสมน้ำมันใดๆเลย) มีส่วนช่วยลดมลภาวะกว่า 87 เปอร์เซ็นต์ และหากใช้ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์ม สามารถช่วยลดมลภาวะ 80 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากมลภาวะที่ลดลง การใช้ไบโอดีเซล ยังมีส่วนช่วยลดฝุ่นละอองในอากาศ ซึ่งช่วยให้สุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นดีขึ้น
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต (Toronto University) ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม (Genome) ของยีสต์ กว่า 70,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาเครื่องมือชนิดใหม่ ในการทำความเข้าใจ และทำนาย สภาพของเซลล์
หัวหน้าทีมวิจัย ซึ่งนำโดย Corey Nislow ได้ประสบความสำเร็จในการทำแผนที่จีโนม แบบ 3 มิติ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาโปรแกรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำได้ว่า เซลล์จะมีพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว จะทำงานได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เมื่อาข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับ ก็เช่น การทำนายการเกิดของโรคได้อย่างแม่นยำ
ที่มา - Physorg