Tags:
Node Thumbnail

ประมาณ 5% ของเคสผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (metastatic) เป็นมะเร็งที่ไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ ซึ่งมักจะพบโดยเจอเป็นเซลล์มะเร็งกระจายอยู่ในน้ำในช่องอกหรือช่องท้อง ทำให้การวางแผนรักษาทำได้ยาก การวินิจฉัยจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบลักษณะภาพเซลล์มะเร็งจากกล้องจุลทรรศน์อย่างละเอียด และต้องตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะต้องสงสัยหลายจุดของผู้ป่วยมาเทียบ

Tags:
Node Thumbnail

Richard Stallman หรือ RMS ผู้ก่อตั้งโครงการ GNU และ Free Software Foundation เปิดเผยว่าเขากำลังต่อสู้กับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดโตช้า follicular lymphoma โดยระบุว่าสถานการณ์มะเร็งของเขายังดี และหวังว่าจะอยู่คู่กับวงการ GNU ไปอีกหลายปี

Stallman ปรากฏตัวในงานฉลองโครงการ GNU ครบรอบ 40 ปี ในสภาพที่ไม่คุ้นเคยเพราะผมและหนวดเคราที่เป็นเอกลักษณ์หายไปหมด และเสียงของเขาไม่ดีนักในตอนพูด

ปัจจุบัน Stallman อายุ 70 ปีแล้ว เขาก่อตั้งโครงการ GNU ในปี 1983 และมูลนิธิ Free Software Foundation ในปี 1985 โดยซอฟต์แวร์หลายตัวในโครงการ GNU ถูกใช้งานแพร่หลายในโลกโอเพนซอร์สมาจนถึงปัจจุบัน เช่น glibc, Bash, GCC, Emacs, Grub, GIMP เป็นต้น

Tags:
Node Thumbnail

Reed Jobs บุตรชายวัย 31 ปีของสตีฟ จ็อบส์ ก่อตั้งบริษัทลงทุน venture capital ในชื่อว่า Yosemite และเลือกลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัพด้านการรักษาโรคมะเร็ง

Reed เล่าว่าตอนเขาอายุ 12 ปี พ่อของเขาตรวจพบมะเร็ง ทำให้เขาหันมาสนใจเรื่องการรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่เด็ก ส่วนชื่อบริษัท Yosemite มาจากสถานที่แต่งงานของพ่อกับแม่

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลขายไลเซนส์ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับมะเร็งเต้านมให้กับบริษัท iCAD ที่ขายเทคโนโลยีการตรวจจับมะเร็งโดยเฉพาะ โดยทาง iCAD จะนำเทคโนโลยีนี้ไปทดสอบการใช้งาน แล้วนำความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ของกูเกิลไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของ Breast AI Suite และ ProFound AI Risk ของ iCAD เอง

กูเกิลรายงานการใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อตรวจจับมะเร็งเต้านมมาตั้งแต่ปี 2020 พบว่าช่วยลดความผิดพลาดการตรวจลงได้ แต่ที่ผ่านมาก็กูเกิลก็ยังไม่ได้เดินหน้าที่จะขออนุญาตใช้งานจริง

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ทีมวิจัยจากบริษัท PACT Pharma รายงานถึงผลการทดลองรักษาเนื้องอกมะเร็งด้วย T cell ที่ผ่านการตัตต่อพันธุกรรมด้วยเทคนิค CRISPR-Cas9 ทำให้ T cell สามารถจับโปรตีนมะเร็งของคนไข้แต่ละคนได้อย่างเจาะจง

Tags:
Node Thumbnail

ศาสตราจารย์ Ugur Sahin และ Ozlem Tureci ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท BioNTech ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิดให้กับ Pfizer เผยว่า ขณะนี้กำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่นำ mRNA มาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งอาจจะรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ใหญ่ และเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ได้ และน่าจะนำมาใช้กับผู้ป่วยได้ก่อนปี 2030

Tags:
Node Thumbnail

กูเกิลออกรายงานเรื่องการใช้ AI จากสถาบันวิจัย DeepMind ตรวจจับมะเร็งเต้านมจากแมมโมแกรม พบว่าสามารถลดข้อผิดพลาดได้ดีขึ้น

กูเกิลได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐฯและอังกฤษเพื่อพัฒนาความสามารถ AI ในการตรวจจับมะเร็งเต้านมมาได้กว่า 2 ปีแล้ว

โดยกูเกิลฝึกระบบด้วยการใช้รูปแมมโมแกรมที่ไม่ระบุตัวตนจากผู้หญิงมากกว่า 25,000 คนในสหราชอาณาจักรและอีก 3,000 คนในสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่า AI จะสามารถสังเกตสัญญาณมะเร็งเต้านมได้หรือไม่ ผลคือ ระบบสามารถลดภาวะ false positive ได้ 5.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 1.2% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ นอกจากนี้ระบบยังลดภาวะ false negative ได้ 9.4% ในกลุ่มผู้หญิงจากสหรัฐฯ และ 2.7% ในกลุ่มผู้หญิงจากอังกฤษ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ มีทั้งข้อมูลจริงและปลอม ในแง่การแพทย์มีข้อมูลการดูแลรักษาร่างกายผิดๆ มากมาย คนทั่วไปโดยเฉพาะคนป่วยมักจะเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อหาข้อมูลและมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ป่วยจะเชื่อข้อมูลผิดๆ สถาบันมะเร็ง Macmillan Cancer Support จึงจ้างบุคลากร (ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ) เพื่อทำหน้าที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก้ไขความเชื่อผิดๆ แก่ผู้ป่วยผ่านออนไลน์

Tags:
Node Thumbnail

GE Healthcare ผู้บริการด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ นำเสนอระบบตรวจเต้านมหรือทำแมมโมแกรมแบบใหม่ ให้ผู้เข้ารับการตรวจสอบควบคุมการบีบอัดเต้านมผ่านรีโมทคอนโทรลด้วยตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยไม่พึงประสงค์ ทางคณะแพทย์คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะให้คนทั่วไปที่กลัวการตรวจแมมโมแกรม จะเข้ารับการตรวจมากขึ้น

ตัวรีโมทมีชื่อว่า Dueta คือเทคโนโลยีล่าสุดในระบบตรวจเต้านมหรือ Senographe Pristina ที่ GE เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ทีมแพทย์ระบุว่า ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย จะได้ภาพฉายรังสีที่ดีและง่ายต่อการวินิจฉัย
มีผลสำรวจระบุว่า คนอเมริกันที่มีสิทธิ์เข้ารับการตรวจแมมโมแกรม หนึ่งในสามของคนเหล่านี้ไม่เข้ารับการตรวจ การทำแมมโมแกรมให้ง่ายและสบายต่อผู้เข้ารับการตรวจมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น

Tags:
Node Thumbnail

Verily บริษัททำวิจัยและเทคโนโลยีการแพทย์ในเครือ Alphabet (บริษัทแม่ Google) เตรียมลงทุนในสตาร์ทอัพ Freenome ทำเทคโนโลยีตรวจจับมะเร็ง ทางบริษัทไม่ระบุวงเงินลงทุน แต่จะเสนอห้องแล็บออฟฟิศให้ Freenome ใช้งาน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ของ Verily เลย

Freenome เป็นบริษัททำ machine learning หาสัญญาณทางชีววิทยา ที่เป็นรากของมะเร็งจากชิ้นส่วนดีเอ็นเอในเลือด ด้าน Google เองก็อยู่ระหว่างพัฒนาเทคโนโลยีตรวจหามะเร็งด้วย การลงทุนครั้งนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่า Freenome จะเข้าไปช่วยเสริม Google ให้เทคโนโลยีดังกล่าวมีความคืบหน้าและตรวจจับได้แม่นยำมากขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

GRAIL สตาร์ทอัพด้านการแพทย์จากซานฟรานซิสโก ทำโซลูชั่นตรวจจับมะเร็ง ระดมทุนในซีรี่ส์ B ได้ถึง 900 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าเม็ดเงินระดมทุนเยอะขนาดนี้ มีให้เห็นไม่บ่อยนักสำหรับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2016 นี้เอง

GRAIL รวมกลุ่มโดยวิศวกรคอมพิวเตอร์และแพทย์ ทำเทคโนโลยีตรวจจับมะเร็งโดยเน้นไปที่ระยะเริ่มต้นเพื่อให้ทันต่อการรักษา พัฒนาเทคโนโลยีทดสอบเลือด พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบยีน ศึกษาด้านคลีนิกและวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถตรวจจับมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก

เงินลงทุนที่ได้มารอบนี้ทางบริษัทจะนำไปทำการศึกษาต่อยอดเรื่องการไหลเวียนของเซลล์หรือ Circulating Cell-free Genome Atlas (CCGA) ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น

Tags:
Node Thumbnail

ไอบีเอ็มประกาศความสำเร็จในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ Watson ในการวินิจฉัยโรคลูคิเมียเคสหายากภายในเวลาเพียง 10 นาที เทียบกับกระบวนการการแพทย์ปกติที่ใช้เวลาวินิจฉัยถึง 2 สัปดาห์

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

Samsung Electronics ประกาศข่าวเตรียมจัดตั้งกองทุน 100 พันล้านวอน (ประมาณ 3 พันล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือพนักงานและครอบครัวที่เจ็บป่วยโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคมะเร็งอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำงานในโรงงาน และเพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานผลิตชิปและหน้าจอของ Samsung

ในส่วนการให้ความช่วยเหลือของเงินจากกองทุนนี้จะครอบคลุมทั้งพนักงานของ Samsung เอง และพนักงานของบริษัทคู่สัญญาที่เข้ามาทำงานในโรงงานของ Samsung ส่วนเงินอีกส่วนหนึ่งจะถูกนำไปใช้เพื่องานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ รวมทั้งว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญให้มาช่วยพัฒนาความปลอดภัยในการทำงานในโรงงานของ Samsung

Tags:
Node Thumbnail

จำข่าวเรื่องงานวิจัยสร้างอนุภาคนาโนไหลตามกระแสเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งที่ทีม Google X กำลังทำอยู่ได้ไหม ตอนนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า Google X ลงทุนทำผิวหนังมนุษย์เทียมเพื่อใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคที่ว่านี้ด้วย

เว็บไซต์ The Atlantic ได้มีโอกาสบุกเข้าไปชมสถานที่ทำงานของ Google X และสัมภาษณ์ทีมงานเกี่ยวกับงานวิจัยที่ว่านี้ ทั้งยังมีโอกาสได้พบกับชิ้นส่วนแขนมนุษย์ที่ Google X ทำเทียมขึ้นมาเพื่อเลียนแบบร่างกายและใช้ทดสอบการทำงานของอนุภาคนาโนสุดมหัศจรรย์ซึ่งจะทำงานควบคู่กับกำไลหามะเร็งที่ Google X พัฒนาขึ้นมาควบคู่กัน

Tags:
Node Thumbnail

ทีม Google X เริ่มมีผลงานพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ออกมามากขึ้น ไล่ตั้งแต่การพัฒนารอยสักดิจิทัลและเม็ดยาดิจิทัลที่สานต่องานพัฒนาจากทีมของ Motorola เดิม รวมทั้งการสร้างคอนแทคเลนส์วัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ล่าสุด Google ก็ได้ประกาศเรื่องโครงการใหม่ของทีม Google X ในการสร้างอนุภาคนาโนที่สามารถไหลกระจายตัวไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านทางกระแสเลือดเพื่อทำหน้าที่ตรวจหาเนื้อร้ายที่จะกลายเป็นมะเร็ง

Tags:
Node Thumbnail

วารสารฉบับออนไลน์ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติเยอรมันประจำวันที่ 13 มกราคม 2552 รายงานผลการวิจัยว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็งที่ตา (melanoma) โดยถึงแม้ว่าจะไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างระยะเวลาที่ได้รับคลื่นวิทยุกับความบกพร่องของดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ก็ตาม การศึกษาได้ทำการตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์เคลื่อนกับมะเร็งที่ตา หรือที่เรียกว่า ภาวการณ์สะสมอย่างผิดปกติของเมลานินที่ม่านตา (uveal melanoma)

Tags:
Node Thumbnail

Dr. Zuo-Feng Zhang นักวิจัยจาก University of California ตีพิมพ์ผลการวิจัย เกี่ยวกับ ผลของการบริโภค ผัก ผลไม้ ชา สามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ ลงในวารสารวิชาการ Cancer

เป็นที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด ถึง 90% ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือก ผู้ป่วยมะเร็งปอด 558 คน และผู้ที่ไม่เป็นมะเร็งปอด 837 คน แล้วทำการตรวจสอบประวัติการกินอาหาร ของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม

Tags:
Node Thumbnail

CBS 13/4/51 รายการ 60 Minutes ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ Kanzius Machine ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นโดย John Kanzius นักประดิษฐ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคลื่นวิทยุ ผู้ซึ่งเคยล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ร่วมกับทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Steve Curley แห่ง M.D. Anderson เพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย โดยอาศัยแนวคิด และวิทยาการทางด้าน nanotechnology ร่วมกับการใช้คลื่นวิทยุ

Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

MSNBC: มีรายงานผู้ป่วยที่รับบริจาคอวัยวะได้รับมะเร็งจาก เด็กหนุ่มคนหนึ่งซึ่งแพทย์ลงความเห็นว่าเป็นไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis) ที่มาโรงพยาบาล Stony Brook University Hospital ด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง และคออย่างรุนแรง ตาพร่า และชัก แต่ไม่สามารถตรวจพบเชื้อที่เป็นสาเหตุได้ ซึ่งเสียชีวิตลงในเวลาต่อมาหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

Tags:
Node Thumbnail

คงเคยเห็นการใส่วัตถุขนาดนาโนเมตรเพื่อวิเคราะห์โรคมะเร็งในหนูมาแล้ว ตอนนี้พัฒนาไปอีกขั้น โดยนักวิจัยได้พบประสิทธิภาพของวัตถุขนาดนาโนในการระเบิดมะเร็งให้สลายตัว

วิธีการคือใส่วัตถุขนานนาโน 2 ชิ้นมีชื่อว่า nanothermite ทำหน้าที่เป็นตัวจุดชนวนและเชื้อเพลิง สามารถสร้างคลื่นจุดระเบิดซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมายเซลล์มะเร็งด้วยความเร็ว 1,500 ถึง 2,000 เมตรต่อวินาที ซึ่งหากมาใช้ในร่างกายสิ่งมีชีวิตแล้ว นักวิจัยกล่าวว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และเมื่อทดลองกับเนื้อเยื่อหนูพบอัตราสำเร็จอยู่ที่ 99%

เทคโนโลยีนี้จะพร้อมใช้ได้ในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า

ที่มา - Engadget.com

Tags:
Node Thumbnail

ในเดือนหน้าเป็นต้นไป International Agency for Research ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยขององค์การอนามัยโลก จะประกาศให้การทำงานกะดึกเป็นปัจจัยเสี่ยงในการก่อมะเร็ง จัดอยู่ในหมวดหมู่เดียวกับการใช้สารสเตียรอยด์ และการถูกรังสีอัลตราไวโอเล็ตเป็นเวลานาน

การประกาศนี้เกิดขึ้นหลังจากงานวิจัยแรกในเรื่องนี้ถึง 20 ปี โดย Richard Stevens ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Connecticut Health Center ได้รายงานไว้ตั้งแต่ปี 1987 ถึงความเกี่ยวเนื่องกันของมะเร็งทรวงอกที่เพิ่มขึ้นในช่วงปี 1930 ช่วงเวลาเดียวกับที่การทำงานกะดึกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

Tags:
Node Thumbnail

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งอันดับต้นๆ ที่พบได้ในบรรดาคุณผู้หญิง ซ้ำร้ายการตรวจพบก็เป็นไปได้ยาก แต่มีข้อมูลที่พอทำให้เราอุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง ด้วยคุณภาพของตัวยา และวิธีการรักษาที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยการยื้อชีวิตผู้ป่วยก็ทำได้ยาวนานขึ้นในปัจจุบัน