ปัญหาช่องโหว่ของ Java กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อผู้ใช้เข้าจริงๆ แล้ว โดยบริษัทความปลอดภัยหลายแห่งตรวจพบว่ามีการปลอมอีเมลจากไมโครซอฟท์ (ซึ่งไมโครซอฟท์เพิ่งส่งอีเมลปรับนโยบายการใช้งานออกมาจริงๆ หลายคนแถวนี้คงได้รับ) แต่เปลี่ยนลิงก์เป็นเว็บไซต์ประสงค์ร้ายแทน
ในช่วงนี้ค่อนข้างจะมีการผุดขึ้นมาของกลุ่มแฮ็กเกอร์ใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นผมจึงจะขอแจ้งให้ทราบก่อนว่าผมจะเขียนเฉพาะข่าวที่ผู้อ่านส่วนมากได้รับผลกระทบนะครับ นอกนั้นจะขอยกเว้นครับ
สำหรับข่าวนี้เป็นผลงานของกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า NullCrew เหยื่อของการโจมตีนี้ได้แก่เว็บไซต์หลักของ Sony Mobile ซึ่งได้ถูกเจาะเข้าไปและขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าบางส่วนออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยผู้โจมตีนั้นยังได้อ้างว่านี่เป็นเพียงหนึ่งจากแปดเซิร์ฟเวอร์ของ Sony ที่ถูกแฮ็ก และได้แอบใบ้ด้วยว่าอาจจะอยู่ในช่วงหมายเลขไอพีใกล้ๆ กันก็เป็นได้
หลังจากเมื่อวานที่ผมได้เขียนข่าวออราเคิลออกแพตซ์ด้านความปลอดภัยให้กับจาวาแล้วเป็นเวอร์ชัน 7 อัพเดตที่ 7 บริษัทด้านความปลอดภัย Security Explorations สัญชาติโปแลนด์ก็ได้ประกาศเกี่ยวกับช่องโหว่เพิ่มเติมที่ยังไม่ได้ถูกแก้บนแพตซ์ล่าสุด ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถข้ามผ่านระบบ sandbox ของจาวาแล้วทำการรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้
ข่าวดีก็คือช่องโหว่นี้ยังไม่ได้ใช้เพื่อโจมตีจริงจึงยังไม่ได้รับการเปิดเผยออกสู่สาธารณะ ซึ่งในขณะนี้ทางผู้ค้นพบก็ได้ส่งรายละเอียดช่องโหว่ทั้งหมดให้กับทางออราเคิลเพื่อแก้ไขแล้ว แต่คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยก็ยังเน้นย้ำให้ปิดการใช้งานจาวาเพื่อความปลอดภัยอยู่
หลังจากประเด็นที่ออราเคิลไม่ยอมออกแพตซ์ด้านความปลอดภัยให้กับจาวา ล่าสุดทางออราเคิลได้ยอมปล่อยจาวาเวอร์ชันที่ 7 อัพเดตที่ 7 แล้วเพื่อแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ และยังครอบคลุมไปถึงช่องโหว่อื่นที่ไม่ได้เป็นข่าวจากการโจมตีโดยแฮกเกอร์จีนด้วย
นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Immunity ได้กล่าวเกี่ยวกับช่องโหว่นี้ จากการรันเพื่อทดสอบพบช่องโหว่จากเดิม 2 ช่องโหว่ยังพบว่ามีอีก 2 ช่องโหว่ใหม่ แต่ทั้งหมดนี้ได้รับการแพตซ์ในเวอร์ชันนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อย่าลืมไปอัพเดตเพื่อความปลอดภัยกันนะครับ
กลายเป็นประเด็นบานปลายไปเรื่อยๆ กับกรณีที่บริษัทด้านความปลอดภัยหลายแห่งแนะนำให้เลิกใช้ Java ด้วยปัญหาทางด้านความปลอดภัย จากช่องโหว่ที่ออราเคิลละเลยมากว่าครึ่งปี ตอนนี้แม้แต่ Mozilla ผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ชื่อดังอย่าง Firefox ก็มีท่าทีคล้อยตามแล้ว
โดย Mozilla ออกมาบอกว่าผู้ใช้ที่รันปลั๊กอิน Java 1.7 นั้นมีความเสี่ยงจะถูกโจมตีจากช่องโหว่ดังกล่าว และแนะนำให้ปิดมันซะ พร้อมกับสอนวิธีการปิดมาด้วย
จากที่ก่อนหน้านี้บริษัทความปลอดภัยคอมพิวเตอร์หลายบริษัทออกมาแนะนำให้ผู้ใช้ปิดจาวาหรือถอดมันทิ้งไป บริษัท Security Explorations ก็ออกมาเปิดเผยรายละเอียดของคำแนะนำนี้ว่ามีที่มาจากบั๊กความปลอดภัยมากถึง 31 จุด ที่รายงานไปถึงออราเคิลตั้งแต่เดือนเมษายน และจนตอนนี้ได้รับการแก้ไขไปเพียง 2 จุด
รอบการแพตซ์จาวาของออราเคิล นั้นมีสามรอบต่อปี และรอบต่อไปคือเดือนตุลาคมปีนี้ ทางออราเคิลได้ตอบกลับทาง Security Explorations ว่าจะมีการแก้ไขปัญหา "บางส่วน" ส่วนที่เหลือต้องรอเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
TheNextWeb ได้เขียนรายงานเชิงสรุปว่าหลาย ๆ บริษัทรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์หลายรายได้แนะนำให้ผู้ใช้ปิด Java ทิ้งหรือไม่ก็เลิกใช้มันไปเลยเพื่อความปลอดภัย หลังจากก่อนหน้านี้ที่ไมโครซอฟท์ได้เคยบอกให้ผู้ใช้ของตัวเองอัพเดต Java เป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือไม่ก็ลบมันทิ้งเสีย
คำเตือนทั้งหมดนี้ออกมาหลังจากที่ Oracle ยังไม่ยอมปล่อยอัพเดตเพื่อปิดช่องโหว่ของ Java 7 (เวอร์ชัน 1.7) บนทุกแพลตฟอร์ม ที่เปิดช่องให้การโจมตีประเภท remote access tool (RAT) ติดตั้งตัวเองบนเครื่องลูกข่ายได้ และทุกเบราว์เซอร์ที่มีปลั๊กอินของ Java ก็ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจตกเป็นเป้าของการโจมตีนี้
ต่อเนื่องจากข่าว Dropbox ออกมายอมรับว่าถูกแฮก พร้อมพัฒนาระบบ Two-step verification ในชื่อ Two-factor ที่ต้องการยืนยันตัวจากผู้ใช้มากกว่าแค่การล็อกอินเพียงอย่างเดียว ตอนนี้ระบบที่ว่าเปิดให้ใช้งานได้แล้วครับ
วิธีการเปิดใช้งานระบบดังกล่าว ก่อนอื่นต้องลงตัว client บนเดสก์ท็อปรุ่น beta ตัวใหม่เสียก่อน (ดาวน์โหลดที่นี่) หลังจากนั้นจึงเข้าไปเปิดใช้ได้จากหน้า Settings > Security และเลือกเปิดใช้งาน (เข้าได้จากที่นี่)
วันนี้คุณพูนสุข พูนสุขเจริญ หนึ่งในทีมทนายของคุณอำพล (อากง SMS) ได้โพสเอกสารความเห็นในคดีของคุณอำพล มันเป็นเอกสารที่เตรียมไว้สำหรับการยื่นอุทธรณ์ พร้อมกับเตรียมให้ผู้เชี่ยวชาญจาก Security Research Labs (SR Labs) มาขึ้นศาลเป็นพยานแต่สุดท้ายคุณอำพลตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษแทน
เอกสารฉบับนี้ออกโดยดร. Karsten Nohl หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของบริษัท สำหรับ SR Labs นี้เป็นบริษัทที่นำเสนองานวิจัยเรื่องการปลอมแปลงหมายเลขโทรศัพท์เพื่อส่ง SMS ในยุโรป ที่งาน 29C3 เมื่อปลายปีที่แล้ว
นับตั้งแต่มัลแวร์ Flame หลุดออกมาสู่อินเทอร์เน็ต วงการความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนไปจากที่เคยต้องระวังภัยของแฮกเกอร์รายบุคคลที่มุ่งสร้างความเสียหายแบบไม่เจาะจง และมักใช้ช่องโหว่เพียงหนึ่งหรือสองอย่างเพื่อสร้างไวรัสมาเป็นการต่อสู่กับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่มีการวางแผนรัดกุม มีกระบวนการพัฒนาไวรัสเป็นระบบ โดยตัวล่าสุดคือมัลแวร์ Gauss ที่เชื่อกันว่าพัฒนาโดยทีมที่มีความเกี่ยวข้องกับทีมพัฒนา Flame
บริษัทความปลอดภัย McAfee (ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของอินเทล) ออกซอฟต์แวร์ McAfee Mobile Security เวอร์ชันใหม่บน Android โดยเพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือการป้องกันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ จากกรณีที่แอพต่างๆ แอบส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ของผู้สร้าง
เทคโนโลยีของ McAfee เรียกว่า App Alert จะคอยเช็ค URL ที่แอพติดต่อด้วยกับฐานข้อมูลของ McAfee เพื่อดูว่าเข้าข่ายการแอบส่งข้อมูลกลับโดยไม่ขออนุญาตหรือไม่ ซึ่ง McAfee โฆษณาว่าช่วยให้ผู้ใช้รับทราบว่าข้อมูลของตัวเองยังอยู่ดีหรือเปล่า และระบบแจ้งเตือนของ McAfee นั้นเข้าใจง่ายกว่าการอ่านคำขอสิทธิอนุญาตของ Android ที่มีมากกว่า 120 แบบ (แถมคนส่วนใหญ่ก็ไม่อ่านกัน)
นี่อาจเป็นครั้งแรกของภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องของแฮกเกอร์ซึ่งมีแฮกเกอร์มารับบทเป็นตัวเอกจริงๆ Hackitat เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอุดมการณ์ แรงขับเคลื่อน และเหตุผลของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง
แนวทางการจ่ายเงินรางวัลเพื่อเรียกให้แฮกเกอร์มาช่วยกันหาบั๊กความปลอดภัยของ Chrome เป็นแนวทางที่กูเกิลใช้ในวงกว้างเป็นรายแรกๆ และประสบความสำเร็จอย่างสูง ในงาน Hack In The Box ที่มาเลเซียปีนี้กูเกิลจึงทำแนวเดิมอีกครั้งในการแข่ง Pwnium 2 โดยแบ่งการบุกรุกเป็นสามระดับ คือ บั๊กของ Chrome อย่างเดียวจ่าย 60,000 ดอลลาร์, บั๊กจาก Chrome ประกอบกับบั๊กของวินโดวส์จ่าย 50,000 ดอลลาร์, และบั๊กจากผู้ผลิตรายอื่นเช่น Flash จ่าย 40,000 ดออลาร์ แต่ทั้งหมดในงานจะจ่ายไม่เกินสองล้านดอลลาร์ ซึ่งคงไม่มีปัญหาอะไร เพราะงานเมื่อต้นปีที่ผ่านมา กูเกิลจ่ายไปเพียง 120,000 ดอลลาร์เท่านั้น
Activision Blizzard ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าเว็บไซต์ Battle.net ถูกแฮ็กจริง โดยข้อมูลที่หลุดออกไปมีดังนี้
Blizzard ประเมินว่าข้อมูลที่หลุดไปไม่เพียงพอต่อการเจาะบัญชีของผู้ใช้ แต่ก็แนะนำให้ผู้ใช้ Battle.net เปลี่ยนรหัสผ่านทันที ส่วนข้อมูลบัตรเครดิตไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
รายละเอียดอ่านได้จาก Battle.net
Chrome รวมเอา Flash Player เข้ามาในตัวให้นานแล้ว แต่ที่ผ่านมา Flash ใน Chrome ก็ยังทำงานในฐานะปลั๊กอิน NPAPI ตามปกติ จึงไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยแบบ sandbox ของ Chrome ได้
สืบเนื่องจากเหตุการณ์นักข่าวของ Gizmodo ถูกขโมยบัญชี iCloud ซึ่ง Wired เปิดเผยต่อมาว่าแฮกเกอร์ใช้วิธีการโทรศัพท์เข้าไปที่แผนกบริการหลังการขายของแอปเปิล โดยตอบคำถามพื้นฐานอีกเล็กน้อยก็สามารถขอรับรหัสผ่านใหม่ได้แล้ว ล่าสุดคุณ Natalie Kerris โฆษกของแอปเปิลก็ชี้แจงมาดังนี้ครับ
จากเรื่องนักข่าว Gizmodo ถูกขโมยบัญชี iCloud ซึ่งขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ในการแฮ็กคือ การโทรไปขอเพิ่มหมายเลขบัตรเครดิต (ปลอม) และอีเมลสำรองผ่านทางระบบบริการลูกค้าของ Amazon เพื่อหาเลขรหัสสี่ตัวท้ายของบัตรเครดิตจริง และนำไปใช้รีเซ็ทรหัสผ่านของ iCloud
ทาง Amazon ยังไม่มีการออกมาชี้แจงในเรื่องนี้ แต่ทาง Wired ได้ลองโทรไปทดสอบช่องโหว่นี้และพบว่าไม่สามารถขอเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ได้อีกแล้ว
ถึงจะออกแนววัวหายล้อมคอกไปหน่อย แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ลูกค้าสบายใจขึ้นได้บ้าง
ที่มา - Wired
เว็บ Wired ได้ออกมารายงานขั้นตอนอย่างละเอียดของแฮกเกอร์ที่ขโมยบัญชี iCloud ของนักข่าว Gizmodo แล้วสั่ง remote wipe ข้อมูลทั้งหมดบน iPhone, iPad และ MacBook Air จนเกลี้ยง จากนั้นก็แฮกเข้าไปในอีเมลและทวิตเตอร์ของนักข่าวคนดังกล่าวต่ออีก
เป็นข่าวที่ค่อนข้างใหญ่โตในต่างประเทศครับ เมื่อทวิตเตอร์ของเว็บไซต์ข่าวไอทีชื่อดัง Gizmodo ได้ถูกแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่า Clan Vv3 ยึดครองและทำการทวีตเหยียดสีผิวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ช่วงหลัง Huawei ถูกโจมตีอย่างมากในประเด็นความปลอดภัย นับแต่ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาและไม่ได้แพตซ์อย่างทันท่วงที ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับกองทัพจีน งานนี้ Huawei จึงเลือกเปิดศูนย์ตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อไว้ทำงานร่วมกับ GHHQ (Government Communications Headquarters - หน่วยงานข่าวกรองของอังกฤษ) เพื่อให้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่ Huawei จะขายให้รัฐบาลอังกฤษนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะใช้ในหน่วยงานได้
Huawei มีอิทธิพลในตลาดสูงขึ้นมากในช่วงหลัง โดยรายได้รวมในปี 2011 นั้นในตลาดโทรคมนาคม (ฝั่งผู้ให้บริการ) สูงเป็นอันดับสองเป็นรองเพียง Ericsson เท่านั้น และแนวโน้มก็ชัดเจนว่า Huawei กำลังจะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในไม่ช้า
ขออนุญาตเขียนข่าวนี้รวมกับข่าวช่องโหว่ในตอนแรกด้วยเลยนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Dave Airlie วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่กับ Red Hat ฝ่ายกราฟิก ได้แจ้งช่องโหว่ของไดรเวอร์ NVIDIA บนลินุกซ์ โดยในรายละเอียดบอกว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบช่องโหว่นี้ แต่เขาได้รับช่องโหว่นี้จากบุคคลนิรนามรายนึงซึ่งอ้างว่าได้ส่งช่องโหว่นี้กับให้ทาง NVIDIA แล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ เลย บุคคลนิรนามที่ค้นพบช่องโหว่แสดงความต้องการให้ช่องโหว่นี้ได้รับการแพตซ์โดยเร็ว เขาจึงจำเป็นต้องประกาศช่องโหว่นี้ออกสู่สาธารณะ (mailling list)
กลุ่ม Security Development Lifecycle (SDL) ของไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือชื่อ Attack Surface Analyzer 1.0 หน้าที่ของมันก็ตามชื่อครับ เอาไว้สแกนดูว่าระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นวินโดวส์ของเรามีช่องโหว่อะไรบ้างที่อาจเป็นอันตรายต่อการโจมตีจากข้างนอก
Attack Surface Analyzer ออกแบบมาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือแอดมินระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะทดสอบดูว่า หลังติดตั้งซอฟต์แวร์ตัวใดตัวหนึ่งลงไปบนวินโดวส์แล้ว ระบบมีช่องโหว่อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง ช่วยให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัยทำได้ง่ายขึ้น
Huawei เป็นแบรนด์ที่จีนที่เริ่มบุกตลาดระดับผู้ให้บริการได้มากขึ้นเรื่อยๆ จากการตัดราคาคู่แข่งอย่างหนักในช่วงหลัง แต่ที่งาน DefCon นักวิจัยด้านความปลอดภัย Felix Lindner ก็ขึ้นเวทีชำแหละปัญหาความปลอดภัยของสินค้า Huawei ทีละจุดอย่างมาก
การนำเสนอของ Felix (PDF) ไล่ประเด็นนับแต่กระบวนการจัดการกับปัญหาความปลอดภัย โดยเขาชี้ว่า Huawei ไม่มีการรายงานและคำแนะนำด้านความปลอดภัยออกมาสู่สาธารณะ ไม่มีการอัพเดตตามรายการคำแนะนำความปลอดภัยเหล่านั้น โดยลูกค้าต้องติดต่อเป็นกรณีไปเพื่อขออัพเดตด้านความปลอดภัย
LastPass บริการด้านการจัดการรหัสผ่านเพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใหม่ โดยฟีเจอร์แรกนั้นคือการที่ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าจะยินยอมให้มีการล็อกอินผ่าน Tor หรือไม่ โดยทาง LastPass อ้างว่า Tor นั้นเต็มไปด้วยแฮกเกอร์และการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผู้ใช้งานเองก็ไม่น่าจะมีความจำเป็นอะไรที่จะใช้งานผ่าน Tor ซึ่งฟีเจอร์ถูกตั้งให้ไม่ทำงานเป็นค่าเริ่มต้น แต่หากผู้ใช้งานไม่ได้ล็อกอินนานเกิน 30 วัน ฟีเจอร์นี้ก็จะถูกเปิดใช้งานอัตโนมัติ