ต่อเนื่องจากอุบัติเหตุที่จรวด Falcon 9 ของ SpaceX เกิดระเบิดเมื่อต้นเดือนกันยายน จน SpaceX ถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย ล่าสุด Elon Musk ออกมาเปิดเผยว่า ทีมวิศวกรของ SpaceX พบต้นเหตุของการระเบิดครั้งนี้แล้ว
Musk ไม่ได้ให้รายละเอียดในที่นี้มากนัก ระบุแต่เพียงว่าปัญหาเกิดขึ้นในช่วงเติมเชื้อเพลิง โดยออกซิเจนเหลวถูกความเย็นจัดจนเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง (ออกซิเจนเหลวแข็งตัวที่อุณหภูมิราว -183 องศาเซลเซียส) จนส่งผลเป็นลูกโซ่ให้เกิดการระเบิด
บริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับธุรกิจการบินและอวกาศไม่ได้มีแต่ SpaceX ที่ล่าสุดเปิดตัวโครงการเดินทางไปดาวอังคาร แต่ยังมี Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินและเครื่องยนต์อากาศยาน ที่เคยมีส่วนร่วมในการยานอพอลโล 11 และ Saturn V ไปยังดวงจันทร์ ซึ่งล่าสุดซีอีโอได้ออกมาแสดงทัศนะเรื่องการเดินทางไปดาวอังคารด้วยเช่นกัน
Dennis Muilenburg ซีอีโอของ Boeing มองว่าการเดินทางในอวกาศจะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากยิ่งขึ้นในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า ซึ่งบริษัทก็มีวิสัยทัศน์ที่จะริเริ่มดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการบินในอวกาศ ไปยังเป้าหมายต่างๆ ที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งก็อาจจะเป็นโรงแรมที่โคจรอยู่รอบโลกเป็นต้น
Elon Musk เคยแสดงวิสัยทัศน์และความฝันเกี่ยวกับการเดินทางและตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารอยู่หลายครั้ง ล่าสุดดูเหมือนความพฝันของเขาน่าจะเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้นแล้ว จากการเปิดตัวยานอวกาศภายใต้โครงการ Interplanetary Transport System ที่ตั้งเป้าจะส่งมนุษย์ไปตั้งอาณานิคมบนดาวอังคารให้ได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้า
สืบเนื่องจากกรณีที่จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่ใช้ขนส่งดาวเทียม AMOS-6 เกิดระเบิดที่ฐานปล่อยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ล่าสุด Space Communication Ltd หรือ SpaceCom เจ้าของดาวเทียมดวงดังกล่าว ได้ยื่นหนังสือยังไป SpaceX เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว
ทาง SpaceCom เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือจะเปลี่ยนเป็นการขนส่งดาวเทียมฟรี 1 ครั้ง ซึ่งทาง SpaceX ยังไม่มีการตัดสินใจในเรื่องนี้
โดยเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่ SpaceCom ได้รับมีมูลค่าอยู่ที่ราว 30 ถึง 123 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่หุ้นของ SpaceCom เองก็ตกลง 9% หลังเกิดเรื่องและก่อนตลาดปิด ก่อนจะร่วงลงอีก 34% หลังเปิดตลาดในอาทิตย์นี้
จรวด Falcon 9 ของ SpaceX เกิดระเบิดขึ้นในระหว่างการทดสอบก่อนเตรียมการปล่อยจรวด ด้าน SpaceX รายงานว่าไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว แต่ในด้านความเสียหายทางทรัพย์สินนั้นนอกจากตัวจรวด Falcon 9 ที่เสียหายแล้ว ดาวเทียมที่จรวดได้บรรทุกไว้เตรียมนำขึ้นสู่อวกาศด้วยกันก็ถูกทำลายจากแรงระเบิดนี้ด้วย
เหตุระเบิดนี้เกิดขึ้นที่ฐานปล่อยจรวด Space Launch Complex 40 ณ แหลม Canaveral ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ SpaceX ได้เช่าใช้งานจากกองทัพอากาศของสหรัฐ โดยอุบัติเหตุเกิดขึ้นในช่วงการทดสอบการจุดระเบิดที่มีขึ้นในวันนี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการทดสอบตามปกติก่อนเตรียมการปล่อยจรวดจริงในวันเสาร์ที่กำลังจะมาถึง
SpaceX สามารถนำจรวด Falcon 9 ขั้นแรกลงจอดบนพื้นดินและบนโดรนลอยน้ำได้สำเร็จมาแล้วหลายครั้งแต่ แต่ตอนนี้บริษัทเพิ่งประกาศว่าจะนำจรวดที่ลงจอดสำเร็จกลับมาใช้ใหม่ภายในปลายปีนี้เป็นครั้งแรก
ลูกค้าที่จะใช้จรวดรีนำกลับมาใช้ใหม่ครั้งนี้คือดาวเทียม SES-10 ของบริษัท SES จากลักเซมเบิร์ก โดยจะนำส่งไปยังวงโคจรค้างฟ้าที่ 67 องศาตะวันตก ให้บริการในพื้นที่ละตินอเมริกา ตัวดาวเทียมสร้างโดย Airbus Defence and Space
ยังไม่มีข้อมูลว่าทาง SES จ่ายค่านำส่งดาวเทียมครั้งนี้เท่าใด แต่คาดกันว่าการใช้ดาวเทียมรีไซเคิลจะลดต้นทุนลงได้ 30% จากเดิมค่าใช้งาน Falcon 9 อยู่ที่ 62 ล้านดอลลาร์ต่อครั้ง
ช่วงเช้าวันนี้ เวลา 4:39น. จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ได้พาดาวเทียมไทยคม 8 (Thaicom 8) ปล่อยสู่วงจรสำเร็จเรียบร้อย โดยส่วนของจรวดในขั้นแรกได้กลับลงสู่พื้นโลกสำเร็จอีกเป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์ของ SpaceX
ดาวเทียมไทยคม 8 มีน้ำหนัก 3,100 กิโลกรัม ผลิตโดยบริษัท Orbital ATK โดยส่งขึ้นวงโคจรที่ตำแหน่ง 78.5 องศาตะวันออก ตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 และไทยคม 6 รองรับการออกอากาศและบริการข้อมูลในพื้นที่ เอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแอฟริกา
ที่มา: BusinessWire
SpaceX บริษัทด้านอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์ของ Elon Musk ที่สร้างความฮือฮาเมื่อต้นเดือนที่แล้ว จากการนำจรวด Falcon ร่อนลงจอดบนโดรนลอยน้ำ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยไม่เกิดความผิดพลาดและความเสียหาย ซึ่งภาพและคลิปที่ออกมาก่อนหน้านี้เป็นการถ่ายจากระยะไกลเท่านั้น
แต่ล่าสุด SpaceX ได้ปล่อยคลิปการลงจอดของจรวด Falcon แบบ 360 องศาลงบน YouTube เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ชมความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์นี้แบบติดขอบแล้ว โดยเป็นมุมภาพจากฐานโดรนลอยน้ำครับ
ที่มา - SpaceX
ประกาศผลไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับงานแข่งขันออกแบบ Hyperloop ที่จัดโดย SpaceX โดยตลอดการแข่งขันเป็นระยะเวลาสองวันเต็ม ผู้ชนะรางวัลใหญ่สุดตกเป็นของทีม MIT Hyperloop Team จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์
สำหรับทีม MIT Hyperloop Team ที่ชนะการแข่งขันในครั้งนี้จะได้นำผลงานไปสร้างเพื่อทดลองวิ่งจริงในเส้นทางใกล้สำนักงานใหญ่ของ SpaceX เป็นระยะทาง 1 ไมล์ ร่วมกับอีกสิบทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่จะได้ร่วมทดสอบด้วย
หลังจากเคยเปิดโครงการ SpaceX Hyperloop Pod Competition แข่งขันออกแบบท่อของระบบขนส่งความเร็วสูงผ่าน SpaceX ไปเมื่อกลางปีก่อน ล่าสุด Elon Musk ต้นคิดเทคโนโลยีนี้และซีอีโอ SpaceX ออกมาเผยรายละเอียดเพิ่มเติมที่จะทำกับ Hyperloop แล้ว
ในประกาศล่าสุดจาก SpaceX เมื่อไม่นานมานี้ Elon Musk ระบุว่ามีแผนจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางสำหรับทดสอบ Hyperloop ของตัวเองภายในปี 2016 โดยว่าจ้าง Aecom มาเป็นผู้ก่อสร้างให้ โดยจะออกมาเป็นท่อขนส่ง Hyperloop ระยะทางราว 1 ไมล์ในแถบเมือง Hawthorne รัฐแคลิฟอร์เนีย ใกล้กับตัวสำนักงานของ SpaceX โดยจะนำเอาผลงานออกแบบจากผู้ชนะในงาน Design Weekend (ชื่อจริงของโครงการด้านบน) มาทดสอบพัฒนาจริงด้วย
หลังจากที่ไมโครซอฟท์ประกาศแผนส่งแว่น HoloLens ให้นักบินอวกาศบน ISS ใช้งาน วันนี้เกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ต้องชะลอแผนนี้ออกไปก่อนเนื่องมาจากการระเบิดของจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่ใช้ในการส่ง HoloLens
ใกล้ความจริงไปอีกขั้นสำหรับ Hyperloop แนวคิดขนส่งความเร็วสูงผ่านท่อสุญญากาศ ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2013 วันนี้ SpaceX บริษัทพัฒนาจรวด และกระสวยอวกาศที่เป็นบริษัทของ Elon Musk ต้นแนวคิดออกมาประกาศโครงการแข่งขันออกแบบ Hyperloop ในชื่อ SpaceX Hyperloop Pod Competition
เนื่องด้วยแนวทางของ Elon Musk มุ่งที่จะไม่พัฒนา Hyperloop เอง แต่จะสนับสนุนด้านความช่วยเหลือกับบริษัทที่สนใจมากกว่า โครงการนี้จึงออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา Hyperloop ที่ใช้งานจริงได้ โดยเล็งเป้าไปที่บรรดานักศึกษา หรือทีมวิศวกรอิสระที่จะมาออกแบบส่วนพาหนะของ Hyperloop สำหรับหนึ่งคน ซึ่งทาง SpaceX จะสร้างเส้นทางยาวหนึ่งไมล์สำหรับทดสอบไว้ให้ (แน่นอนว่าไม่ใช้คนจริงๆ ในการทดสอบ)
เดิมทีนั้นภาพถ่ายอวกาศที่มาจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซานั้นถือเป็นผลงานของรัฐ ภาพเหล่านั้นจึงถือเป็นสาธารณสมบัติที่ใครก็ได้สามารถคัดลอกหรือนำไปใช้งานได้อิสระโดยปราศจากเงื่อนไข ทางนาซานั้นก็มีการปล่อยภาพที่จัดทำขึ้นมาอย่างสม่ำเสมอตามช่องทางต่างๆ หน้า Flickr ของนาซา อยู่แล้ว แต่กฎหมายก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผลงานที่ทำร่วมกับบริษัทเอกชนนั้นว่าจะต้องมีสัญญาอนุญาตแบบใด