มีความคืบหน้าของภาพยนตร์ Steve Jobs เพิ่มขึ้นแล้ว หลังจากพยายามทาบทามตัว Aaron Sorkin (ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่อง The Social Network) มาเขียนบทภาพยนตร์ของ Steve Jobs ให้ และตัว Sorkin เองก็เพิ่งตอบรับกลับมา ในระหว่างงานแถลงข่าวของ HBO นั้น Sorkin ได้บอกกับนักข่าวรอยเตอร์ว่า สตีฟ วอซเนียก ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิลร่วมกับสตีฟ จ็อบส์ ถูกจ้างมาเพื่อเป็นติวเตอร์สำหรับโครงการนี้แล้ว
Sorkin บอกว่าตัวเขาเองตอนนี้ยังรู้เรื่องราวที่จะต้องเขียนน้อยมาก ซึ่งวอซเนียกจะเข้ามาช่วยให้ข้อมูลทางด้านเทคนิค และแนะนำเกี่ยวกับตัวจ็อบส์
ก่อนหน้านี้มีรายงานออกมาว่า แอซตัน คุทเชอร์ นักแสดงที่ดังจากภาพยนตร์ชุดเรื่อง Two and a Half Men, the That's 70s Show และ MTV Punk'd จะได้รับบทเป็นสตีฟ จ็อบส์ในภาพยนตร์อินดี้เรื่องใหม่ที่จะนำเสนอชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์
ล่าสุด หนังสือพิมพ์ TMZ ได้โพสรูปแอซตัน คุทเชอร์แต่งตัวเหมือนกับสตีฟ จ็อบส์ทั้งตัวมาให้ชมแล้ว เหมือนไม่เหมือนลองเข้าไปดูรูปเพิ่มเติมได้จากที่มาครับ
ที่มา - TMZ
ในปี 1984 นอกจากแอปเปิลจะทำโฆษณาวีรสตรีขว้างค้อนอันโด่งดังแล้ว ยังมีวิดีโออีกตัวหนึ่ง ซึ่งจัดทำให้พนักงานดูเป็นการภายในเท่านั้น เนื่องในโอกาสประชุมฝ่ายขายประจำปีที่ฮาวาย โดยวิดีโอตัวนี้ตั้งชื่อว่า "1944" ล้อเลียนโฆษณาที่ออกอากาศของแอปเปิลนั่นเอง
ภายในวิดีโอเป็นเรื่องราวยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนายพลที่รับบทโดย Mike Murray รองประธานฝ่ายการตลาดในช่วงนั้น ปลุกระดมทหารเพื่อต่อสู้กับศัตรูนั่นคือ IBM ด้วยเครื่องแมคอินทอช ในช่วงท้ายนายพลเข้าไปปรึกษากับประธานาธิบดี ซึ่งรับบทโดยสตีฟ จ็อบส์นั่นเอง
วิดีโอตัวนี้ใช้งบถ่ายทำไป 50,000 เหรียญซึ่งไม่น้อยเลยสำหรับเมื่อ 30 ปีที่แล้ว โดย Craig Elliott อดีตพนักงานของแอปเปิลได้มีชุดก็อปปี้ของวิดีโอนี้และนำมาให้ Network World นำไปเผยแพร่
หนังสือ Insanely Simple: The Obsession That Drives Apple's Success ที่กำลังจะวางจำหน่ายในเดือนนี้ได้เผยข้อมูลอีกอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับสตีฟ จ็อบส์ นั่นก็คือแผนฉลองขาย iMac เครื่องที่หนึ่งล้าน โดยตามที่จ็อบส์ได้จินตนาการไว้นั้น เขาต้องการจัดการแข่งขันลักษณะคล้าย ๆ กับ "วิลลี่ วองก้า" (จากภาพยนตร์เรื่องชาลีย์กับโรงงานผลิตช็อคโกแลต)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ "JOBS" ภาพยนตร์อินดี้ชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ ที่รับบทโดยแอชตัน คุทเชอร์ ได้กำหนดเปิดกล้องในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดย Mark Hulme โปรดิวเซอร์ของหนังเรื่องนี้ได้บอกเหตุผลที่เขาเลือกแอชตัน คุทเชอร์มาแสดง ก็เพราะต้องการนักแสดงในวัยหนุ่ม และคุชเชอร์เองก็มีหน้าตาที่คล้ายสตีฟ จ็อบส์ด้วย
เนื้อหาของหนังจะพูดถึงสตีฟ จ็อบส์ในวัยหนุ่มช่วงปี 1971 ซึ่งเป็นปีที่เพิ่งจะได้พบกับ Steve Wozniak ไปจนถึงปี 2000 คือปีที่จ็อบส์เลิกใช้คำว่า CEO รักษาการ (Interim CEO) มาเป็น CEO เต็มตัวให้กับแอปเปิล โดยคาดว่าหนังจะเสร็จสิ้นทันฉายในช่วงสิ้นปีนี้
หลังจาก Larry Page ได้ออกมาพูดผ่านสื่อวันก่อนว่าเรื่องที่ Steve Jobs ต้องการทำสงครามกับ Android เป็นแค่การแสดงเท่านั้น ล่าสุดทาง Walter Isaacson ผู้เขียนหนังสือชีวประวัติของ Steve Jobs ได้ออกมาโต้แย้งว่าความโกรธของ Steve Jobs นั้นเป็นของจริง
Walter Isaacson ได้กล่าวที่ Royal Institute โดยเล่าถึงที่มาของความโกรธของ Jobs ที่มีต่อ Android ว่าเริ่มจากยุคปี 1980 ที่แนวคิด GUI ของเครื่อง Mac ได้ถูกไมโครซอฟท์ขโมยความคิดไปสร้างระบบปฏิบัติการเลียนแบบ แล้วเอาไลเซนส์ไปเร่ขายให้กับบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จนภายหลังไมโครซอฟท์ก็กลายเป็นเจ้าตลาดพีซีในที่สุด
Larry Page ซีอีโอคนปัจจุบันและผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล ได้ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Businessweek ว่าเรื่องสงครามระหว่างสตีฟ จ็อบส์กับ Android นั้นเป็นเพียงแค่เรื่องที่สร้างไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น และทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้าง "คู่แข่ง" ให้กับบริษัท เพื่อจะได้ชี้นำพนักงานของแอปเปิลในทางที่ต้องการได้
Page เองได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับจ็อบส์ด้วย โดยบอกว่าเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับจ็อบส์ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ใช้เวลามากมายด้วยกัน แต่ก็ได้พบเจอกันบ่อย ๆ แล้วตัวเขาเองเห็นว่าการสร้างคู่แข่ง ไม่ใช่เรื่องสำคัญมากกว่าการให้พนักงานทำให้ดีที่สุดในการพัฒนาโลกของเรา
แม้จะเสียชีวิตไปเกือบครึ่งปีแล้ว แต่เรื่องราวของสตีฟ จ็อบส์ ยังมีให้เราติดตามอย่างไม่รู้จบ ทั้งการได้รับรางวัลเกียรติยศจากเวทีแกรมมีอวอร์ด หรือรายการแฟนพันธุ์แท้ของบ้านเรา รวมทั้งโครงการภาพยนตร์ของค่ายโซนี่พิคเจอร์ส ที่จะมีเนื้อหาตามหนังสือชีวประวัติของจ็อบส์ โดยวอลเทอร์ ไอแซคสันด้วย
Dag Kittlaus หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Siri ไปพูดที่งาน Technori Pitch ในชิคาโก เขาเล่าถึงที่มาของชื่อ Siri ว่าความหมายของคำนี้คือ "สาวงามผู้นำคุณไปสู่ชัยชนะ" ในภาษานอร์เวย์
เขาบอกว่าเคยทำงานกับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Siri ในนอร์เวย์ อยากตั้งชื่อลูกสาวว่า Siri จากนั้นเขาพบว่าโดเมนเนมนี้ยังว่างอยู่ แถมการตั้งชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจเพื่อคอนซูเมอร์ควรจะเป็นชื่อที่สะกดได้ง่าย ทำให้สุดท้ายเขาเลือกชื่อนี้
นอกจากนี้พอเขามีลูกจริงๆ กลับได้ลูกชาย ทำให้ชื่อ Siri กลายเป็นชื่อบริษัทของเขาเพียงอย่างเดียว
เมื่อคืนนี้ Michael Margolis อดีตวิศวกร Apple TV เผยผ่าน Twitter เกี่ยวกับ Apple TV โฉมใหม่ว่า
"มันเป็นความจริงที่น่าตลก การออกแบบใหม่พวกนั้นมันคือสิ่งที่สตีฟ จ็อบส์ โยนทิ้งเมื่อ 5 ปีที่แล้วเพราะเขาไม่ชอบมัน แต่ในตอนนี้ไม่มีใคร "say no" กับการออกแบบแย่ๆ นี้แล้ว"
ในหนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ ได้กล่าวถึงไอเดียของจ็อบส์ในการปฏิรูปวงการทีวี ซึ่งตัวจ็อบส์บอกว่าคิดได้แล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าไอเดียของจ็อบส์คืออะไรกันแน่ (ระหว่างที่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ เราเรียกโครงการนี้กันว่า iTV ไปพลางๆ ก่อน)
ล่าสุดแผนการของจ็อบส์ถูกยืนยันโดย Leslie Moonves ซีอีโอของกลุ่มสื่อ CBS ของสหรัฐอเมริกา โดยเขาบอกเพียงว่าเมื่อประมาณ 1 ปีก่อน สตีฟ จ็อบส์ มาหาเขาและชวนให้ CBS เข้าร่วมโครงการลับของแอปเปิลที่ Moonves อธิบายว่ามันเป็น "subscription content service" แต่สุดท้าย Moonves บอกปัดข้อเสนอของจ็อบส์
รู้ผลกันไปแล้วนะครับ สำหรับการแข่งขันแฟนพันธุ์แท้สตีฟ จ็อบส์ซึ่งน้อยครั้งที่เราจะได้เห็นเรื่องราวไอทีในรายการนี้ และผู้ที่ได้ตำแหน่งสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ก็คือคุณสุนาถหรือ "แมค" เจ้าของธุรกิจหนุ่มที่รักแล
รายการแฟนพันธุ์แท้ได้จัดแข่งขันในหัวข้อ "แฟนพันธุ์แท้สตีฟ จ็อบส์" จากกำหนดการเดิมที่ได้มีการประกาศไว้และหลายเว็บได้รายงานว่าจะออกอากาศในวันที่ 24 ก.พ. ซึ่งตรงกับวันเกิดของสตีฟ จ็อบส์พอดี แต่เนื่องด้วยปัญหาทางเทคนิคบางประการ ทำให้รายการได้ประกาศนำตอนสตีฟ จ็อบส์มาออกอากาศในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. 2555 นี้เลย
รายการแฟนพันธุ์แท้ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งในปี 2555 หลังจากที่ได้งดออกอากาศไปเมื่อปี 2552 โดยในอดีตทางรายการเคยจัดแข่งหัวข้อที่เกี่ยวกับวงการไอทีเพียงไม่กี่ครั้ง คือแฟนพันธุ์แท้โทรศัพท์มือถือ, เว็บไซท์ และวีดีโอเกมส์
งานแจกรางวัลแกรมมี่ ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญของวงการเพลงในสหรัฐอเมริกา (จัดไปเมื่อเช้านี้ตามเวลาไทย) มอบรางวัลเกียรติยศ Grammy Trustees Award ให้กับสตีฟ จ็อบส์ ในฐานะผู้พัฒนาวงการเพลงด้วย iPod และ iTunes (ข่าวเก่า)
FBI ได้เปิดเผยเอกสารในการพิจารณาสตีฟ จ็อบส์เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีในสภาการส่งออกสหรัฐหรือ PEC (President's Export Council) เมื่อสมัยรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยูบุช ในเอกสารดังกล่าว FBI ได้เข้ามาตรวจสอบประวัติและสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ที่รู้จักกับจ็อบส์ในแง่มุมที่อาจจะส่งผลร้ายต่อรัฐบาลได้
จากข้อมูลในเอกสาร ผู้ให้สัมภาษณ์หลายคน (ซึ่งถูกเซ็นเซอร์ชื่อเอาไว้) ได้เปิดเผยแง่มุมที่ไม่ดีนักต่อจ็อบส์ เป็นต้นว่าความก้าวร้าวเอาแต่ใจตัวเอง การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ตามที่ตัวเองหวัง เรื่องราวที่เขาไม่รับว่าตัวเองเป็นพ่อของลิซ่าลูกสาวคนแรก หรือแม้แต่การเคยข้องเกี่ยวกับยาเสพติดในช่วงวัยรุ่น
แม้ว่าสตีฟ จ็อบส์จะเป็นคนที่เปลี่ยนวงการดนตรีให้หันมาขายเพลงทางอินเทอร์เน็ต และวางเครื่องเล่นดนตรีแบบดิจิตอล (ไอพ็อด) แต่จริง ๆ แล้วสตีฟ จ็อบส์ชอบที่จะฟังเพลงจากแผ่นเสียงแบบไวนิล (vinyl) มากกว่าการฟังเพลงผ่านไอพ็อดของเขาเอง
จากการสัมภาษณ์ที่งาน D: Dive into Media นักดนตรีชื่อดัง Neil Young บอกว่าสื่อดิจิตอลนั้นทำให้คุณภาพของดนตรีต่ำลง และเทคโนโลยีทุกวันนี้ไม่ดีพอที่จะให้คุณภาพเสียงเทียบเท่ากับแผ่นเสียง
Young ยังเปิดเผยอีกว่าเขาเคยร่วมกันกับจ็อบส์เพื่อที่จะให้บริการดนตรีคุณภาพสูง (high-fidelity music service) แต่หลังจากเริ่มไปได้ไม่นาน แอปเปิลก็ล้มโครงการทิ้ง
บิล เกตส์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษในหลายประเด็น ทั้งเรื่องงานที่มูลนิธิ หลักการดำเนินชีวิต วิธีการเลี้ยงลูก และไลฟ์สไตล์ส่วนตัว
แต่ส่วนสำคัญในบทสัมภาษณ์คือเรื่องที่เกตส์พูดถึงสตีฟ จ็อบส์ โดยเกตส์บอกว่าทั้งสองคนเป็นทั้งคู่แข่งและเพื่อน ถึงแม้จ็อบส์เคยวิจารณ์เกตส์แรงๆ หลายครั้ง แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ดีขึ้นมากโดยเฉพาะหลังเกตส์ออกจากไมโครซอฟท์
ก่อนจ็อบส์ตายไม่กี่เดือน เกตส์ไปเยี่ยมจ็อบส์ที่บ้าน ทั้งคู่ใช้เวลาหลายชั่วโมงพูดคุยในเรื่องต่างๆ รวมถึงพูดคุยเกี่ยวกับอนาคต และในช่วงที่จ็อบส์ใกล้เสียชีวิต เกตส์เขียนจดหมายไปหาจ็อบส์ โดยเนื้อหาในจดหมายบอกให้จ็อบส์ภูมิใจกับบริษัทที่เขาสร้างขึ้นและสิ่งที่เขาทำ รวมถึงพูดถึงลูกๆ ของจ็อบส์ที่เกตส์รู้จัก
ใครยังจำ Lytro กล้องที่ให้คุณถ่ายรูปไว้ก่อนแล้วค่อยโฟกัสทีหลังได้บ้าง? ล่าสุด 9to5Mac รายงานว่าสตีฟ จ็อบส์เมื่อได้เห็นเทคโนโลยีที่ Lytro ได้นำออกมาโชว์แล้วได้ทำพยายามติดต่อกับซีอีโอของบริษัท นาย Ren Ng ทันที
โดยเมื่อ Ng ทราบว่าสตีฟ จ็อบส์ต้องการติดต่อกับเขา เขาจึงรีบติดต่อกลับจ็อบส์ทันที โดยจ็อบส์ได้ชวนเขาโชว์กล้อง Lytro นี้ที่บ้านของจ็อบส์ โดยหลังจากที่เขานำกล้องดังกล่าวโชว์ให้กับจ็อบส์เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองได้พูดคุยกันเรื่องตัวกล้องและการดีไซน์สินค้า จากนั้น Ng ก็ได้ทำตามที่จ็อบส์ขอไว้ คือส่งอีเมลที่มีสิ่งสามสิ่งที่ Lytro อยากจะร่วมมือกับแอปเปิลมาด้วย
สายการบิน Virgin America หนึ่งในบริษัทเครือ Virgin Group ตั้งชื่อเครื่องบิน Airbus A320 ลำหนึ่งของตัวเองว่า 'Stay Hungry, Stay Foolish' เพื่อเป็นเกียรติแก่สตีฟ จ็อบส์
โฆษกของ Virgin America ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์ CNET ว่าชื่อนี้มาจากการแข่งขันตั้งชื่อเครื่องบินของพนักงานภายในบริษัท ซึ่งบริษัทตัดสินใจใช้ชื่อนี้เพราะเป้าหมายของบริษัทคือ 'reinvent the travel experience' โดยการคิดนอกกรอบ
เครื่องบินลำนี้จะมีข้อความ 'Stay Hungry, Stay Foolish' แปะอยู่ที่จมูกเครื่องด้วย (ดูภาพประกอบ) ก่อนหน้านี้เครือ Virgin เคยมีเครื่องอีกลำชื่อ #nerdbird (ภาพประกอบ)
แฟนๆ แอปเปิลที่สนใจประวัติของบริษัทสักหน่อยคงรู้จักอดีตซีอีโอ John Sculley ซึ่งมีชื่อเสียงจากประโยคที่สตีฟ จ็อบส์ชวนเขามารับตำแหน่งซีอีโอว่า "คุณต้องการขายน้ำหวานไปชั่วชีวิต หรือจะมาเปลี่ยนแปลงโลกกับผม?" และภายหลังเขาก็เป็นคนปลดสตีฟ จ็อบส์ออกจากตำแหน่ง
ล่าสุด John Sculley มาที่ CES เพื่อโปรโมทบริษัทล่าสุด Audax ที่ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีกับการบริการสุขภาพ และให้สัมภาษณ์กับ BBC พูดถึงเรื่องราวในอดีตที่น่าสนใจหลายประการ (น่าจะเป็นการให้สัมภาษณ์ครั้งแรกของ Sculley หลังการเสียชีวิตของจ็อบส์)
หลังจากที่บริษัท in icons ผลิตฟิกเกอร์สตีฟ จ็อบส์ขนาด 12 นิ้วที่เหมือนจริงมากๆ ออกมาได้ไม่นาน ก็โดนแอปเปิลขู่ว่าจะดำเนินการทางกฏหมายเสียแล้วหากว่า in icons ไม่หยุดจำหน่ายฟิกเกอร์สตีฟ จ็อบส์ขนาด 12 นิ้วนี้
แอปเปิลมุ่งโจมตีในจุดที่ฟิกเกอร์ดังกล่าวนี้นั้นมีลักษณะเหมือนสตีฟ จ็อบส์ตัวจริงมาก ซึ่งลักษณะนี้แอปเปิลถือว่าเป็นเจ้าของ โดยแอปเปิลได้ส่งจดหมายเตือนไปยังบริษัท in icons ว่าการจำหน่ายของเล่นใดๆ ที่มีสัญลักษณ์ของบริษัท, มีชื่อบุคคลของบริษัทหรือมีลักษณะเหมือนบุคคลของบริษัทนั้นถือเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายอาญา
Tandy Cheung ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท in icons เคยกล่าวว่าทางบริษัทได้เริ่มการผลิตไปแล้ว แอปเปิลอยากจะทำอะไรก็ทำ
เมื่อปี 2010 เราเห็น ตุ๊กตาสตีฟ จ็อบส์ แบบ SD ของบริษัท M.I.C Gadget ซึ่งภายหลังโดนแอปเปิลสั่งแบนในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อบุคคล
หลังการเสียชีวิตของสตีฟ จ็อบส์ โลกก็มี "อนุสาวรีย์" ของเขาแล้ว โดยอยู่ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี
ผู้ริเริ่มโครงการนี้คือบริษัท GRAPHISOFT ซึ่งเป็นเจ้าของโปรแกรมออกแบบ ArchiCAD โดยสตีฟ จ็อบส์ เคยเห็นซอฟต์แวร์นี้เมื่อปี 1984 และสนับสนุนบริษัทผ่านการมอบคอมพิวเตอร์และเงินสดให้ แถมยังช่วยโปรโมทโปรแกรม ArchiCAD ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายของแอปเปิลอีกด้วย
Gabor Bojar ผู้ก่อตั้งบริษัทเล่าว่าสมัยนั้น GRAPHISOFT เพิ่งตั้งและเป็นเพียงบริษัทเล็กๆ ในประเทศฮังการีที่สมัยนั้นปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ การสนับสนุนของแอปเปิลช่วยให้บริษัทเติบโตมาได้ถึงทุกวันนี้ (ตอนนี้บริษัทอยู่ในตลาดหุ้นฮังการี) เขาจึงต้องการแสดงความขอบคุณนี้ผ่านอนุสาวรีย์สตีฟ จ็อบส์ ที่ตั้งไว้หน้าสำนักงานของบริษัท
สถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกาผู้จัดงานประกาศรางวัลทางดนตรี Grammy Award ได้ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศของการจัดงานครั้งที่ 53 โดยในส่วนของรางวัลเกียรติยศเชิดชูเกียรติ Trustees Award นั้นมีชื่อของสตีฟ จ็อบส์ อดีตซีอีโอและผู้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิลอยู่ด้วย ทางสถาบันกล่าวว่าจ็อบส์เป็นผู้สร้างสรรค์สินค้าและเทคโนโลยี ที่ช่วยเปลี่ยนวิธีการบริโภคเพลง ภาพยนตร์ และหนังสือ โดยให้เครดิตกับการสร้างสรรค์สินค้าอย่าง iPod และร้านขายเพลงออนไลน์ iTunes Store ที่ปฏิวัติการซื้อขายเพลงในอุตสาหกรรมนี้
งานประกาศรางวัล Grammy Award ในส่วนรางวัลเกียรติยศจะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ปีหน้า ส่วนงานประกาศรางวัลหลักที่มีการถ่ายทอดสดจะจัดในวันที่ 12 กุมภาพันธ์
เว็บไซต์ Fortune เปิดเผยว่า คุณ Walter Isaacson ผู้เขียนชีวประวัติของคุณ สตีฟ จ็อบส์ ได้พูดถึงสิ่งที่เขาอยากจะเพิ่มเติมเนื้อหาในหนังชีวประวัติ โดยไอเดียหนึ่งคือการเพิ่มหมายเหตุประกอบ (annotation) และไอเดียหนึ่งคือการเพิ่มบทแทรกที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่คุณจ็อบส์เสียชีวิต
คุณ Isaacson ได้เสร็จสิ้นการเขียนหนังสือชีวประวัติก่อนที่คุณจ็อบส์จะเสียชีวิตในวันที่ 5 ต.ค. และหนังสือก็ได้ถูกวางขายในวันที่ 24 ต.ค. ซึ่งเขาก็ระบุว่าหนังสือฉบับที่วางขายนั้นเป็นต้นร่าง (draft) เวอร์ชันหนึ่งหรือสองเท่านั้น ยังไม่ใช่ต้นร่างฉบับสุดท้าย