ยุคนี้เราสื่อสารผ่านโทรศัพท์ voice call แบบดั้งเดิมน้อยลงกันเรื่อยๆ จนอาจพูดได้ว่า บริการ data กลายเป็นบริการหลักของบรรดาโอเปอเรเตอร์แทน voice ไปแล้ว
ปัจจุบัน โอเปอเรเตอร์ส่วนใหญ่ยังจำกัดปริมาณการโทรออกเป็นจำนวนนาทีตามแพ็กเกจ หรือมีโทรฟรีให้บ้างแต่ก็เป็นการจำกัดเฉพาะบางช่วงเวลา หรือจำกัดเฉพาะการโทรในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น
ล่าสุด เครือข่าย StarHub ของสิงคโปร์ออกแพ็กเกจใหม่ที่ดันเรื่องนี้ไปจนสุดทาง คือโทรออกได้ไม่จำกัด ตราบเท่าที่เรายังซื้อแพ็กเกจ data จาก StarHub ที่ยังไม่หมดอายุ ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในวงการโอเปอเรเตอร์
ครบกำหนด 1 สัปดาห์ หลังจากไม่มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ กสทช. ต้องขยายเวลารับเอกสารออกไปอีก 1 สัปดาห์ จากที่ก่อนหน้านี้ ทรู และเอไอเอส ประกาศไม่เข้าร่วม ทำให้ดีแทคที่เหลือเพียงรายเดียว และประกาศก่อนหน้านี้ว่าขอเวลาตัดสินใจ ซึ่งวันนี้ก็มาถึงกำหนดวันยื่นคำขอแล้ว
ดีแทคแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า บริษัทฯ จะทำการยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมประมูลและเพื่อขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900MHz ต่อสำนักงาน กสทช. ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2561)
คณะกรรมการบริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค มีมติหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาว่า บริษัทจะเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคมนี้
เนื่องจากวันพรุ่งนี้ (9 ตุลาคม 2561) เป็นวันกำหนดยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz รอบใหม่ ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายเริ่มออกมาแถลงข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมหรือไม่ โดยล่าสุด ทรู คอร์ปอเรชั่น ก็ได้ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วว่า บริษัทจะไม่เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาตคลื่น 900MHz นี้
ทั้งนี้ ทรูไม่ได้ชี้แจงสาเหตุที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล แบบที่เอไอเอสอธิบาย ตอนนี้ก็เหลือดีแทคว่าจะมีข้อสรุปอย่างไรออกมา
กรณีมีผู้ยื่นเข้าร่วมการประมูล 1 ราย หรือไม่มี กสทช. จะขยายระยะเวลาออกไปอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ทำให้กำหนดวันประมูลจะเลื่อนออกไปเป็น 28 ตุลาคม 2561
เอไอเอสได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าตามที่ กสทช. ได้จัดประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ ซึ่งกำหนดการประมูลในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ บริษัทได้ตัดสินใจจะไม่เข้าร่วมการประมูลดังกล่าว
คำอธิบายของเอไอเอสคือ เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมถึงราคาของการประมูลในครั้งนี้ โดยมีการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินและการลงทุน ประกอบกับการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ เมื่อพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลแลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แล้วนั้น จึงตัดสินใจไม่เข้าร่วมการประมูล
AIS ประกาศเปิดใช้งานคลื่นย่าน 1800MHz ชุดใหม่ ที่เพิ่งประมูลได้มาในเดือนสิงหาคม โดยเป็นการใช้งานกับเทคโนโลยี 4G และเปิดพร้อมกันทั่วประเทศ 77 จังหวัด
AIS ระบุว่าคลื่นใหม่จะช่วยให้ลูกค้าใช้งานได้ลื่นขึ้น เร็วขึ้น 15-30% จากเดิม และปัจจุบัน AIS เป็นโอเปอเรเตอร์ที่มีคลื่นมากที่สุดแล้วคือ 120MHz (60MHz x 2) โดยเป็นคลื่นย่าน 1800MHz ความกว้างรวม 20MHz x 2 (รอบก่อน 15MHz รอบนี้ 5MHz)
หลังจากไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดเข้าประมูลคลื่นย่าน 900MHz ที่ กสทช. จัดประมูลเมื่อเดือนสิงหาคม
เมื่อวานนี้ (19 ก.ย.) บอร์ด กสทช. ได้อนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ และประกาศวันที่จัดประมูลคือวันที่ 20 ตุลาคมนี้ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในการประมูลรอบใหม่คือ
เรารู้กันดีว่า "รหัสผ่าน" เป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่มีช่องโหว่มาก และวงการไอทีก็มีความพยายามหาสิ่งอื่นมาทดแทนรหัสผ่านหลายอย่าง เช่น ไบโอเมตริก หรือสมาร์ทการ์ด
ล่าสุด โอเปอเรเตอร์สหรัฐ 4 รายใหญ่คือ AT&T, Verizon, Sprint, T-Mobile ร่วมกันเปิดตัว Project Verify วิธีการยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์มือถือที่เราใช้งานอยู่
แนวคิดของ Verify คือผู้ใช้งานโทรศัพท์แต่ละคนมีข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่แล้ว เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลในซิมการ์ด หมายเลขไอพี รวมถึงพฤติกรรมการใช้งาน ฯลฯ โอเปอเรเตอร์มองเห็นข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้ว และสามารถนำมาแยกแยะว่าผู้ใช้แต่ละคนเป็นคนนั้นจริงๆ หรือไม่
หลัง กสทช. มีมติไม่คุ้มครองเยียวยาคลื่น 850 ทำให้ความหวังเดียวของ dtac อยู่ที่ศาลปกครองกลางเท่านั้น และล่าสุดศาลมีคำตัดสินออกมาแล้วว่า dtac ได้รับสิทธิเข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการตามมติ กสทช ในการประชุมครั้งที่ 13/2561 วันที่ 18 กรกฎาคม เป็นระยะเวลา 3 เดือนถึง 15 ธันวาคม 2561
ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่า คำสั่งคุ้มครองมีความมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการที่ไม่อาจโอนย้ายไปยังคลื่นอื่นหรือผู้บริการอื่นได้ อาทิ ผู้เจ็บป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่ต้องติดต่อสื่อสารหรืออยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร ที่คลื่น 850 ถูกนำไปใช้ในพื้นที่ห่างไกล หาก dtac ไม่สามารถให้บริการได้ ความเสียหายอาจร้ายแรงยากแก่การเยียวยาในภายหลัง
dtac เซ็นสัญญากับกสท โทรคมนาคม เพื่อใช้งานเสาโทรคมนาคมและอุปกรณ์ไปอีก 8 ปี เพื่อใช้เสาสัญญาณจำนวน 8,815 ต้น หลังจากหมดสัญญาสัมปทานในวันพรุ่งนี้
สัญญาแยกออกเป็นสองฉบับ คือ สัญญาใช้เสาโทรคมนาคม ค่าใช้ประมาณ 1,689 ล้านบาทต่อปี จ่ายล่วงหน้า 3,266 ล้านบาท สัญญาอายุ 8 ปี และต่อสัญญาครั้งละ 3 ปีได้ไม่จำกัด ฉบับที่ 2 เป็นสัญญาใช้อุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายจะคาดเดาได้ยากกว่า โดยเบื้องต้นค่าสื่อนำสัญญาณ คิดเป็น 810 ล้านบาทต่อปี อุปกรณ์โทรคมนาคมภายใน 226-790 ล้านบาทต่อปี อุปกรณ์แต่ละตัวมีอายุต่างกันไป มีการใช้งาน 1-3 ปี สัญญารวม 8 ปี ต่อได้ทีละ 1 ปี
จากกรณีที่ประชุม กสทช. เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ผ่านมา มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 ไม่ให้ดีแทคเข้าสู่มาตรการเยียวยาลูกค้าที่ใช้บริการบนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ หลังสัมปทานสิ้นสุด โดยทางเลขาธิการ กสทช. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้แถลงข่าวมติที่ประชุมภายหลังการประชุมทันที ซึ่งมีการอธิบายถึงเหตุผลต่างๆ ของที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่ แต่ไม่ได้กล่าวถึงความเห็นที่แตกต่างแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ กสทช. เสียงข้างน้อย นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน หนึ่งในผู้ลงมติแตกต่างได้จัดทำความเห็นของตนเอง เพื่อให้ทางสำนักงาน กสทช. ใส่ประกอบไว้ในรายการงานประชุมของ กสทช. นัดพิเศษครั้งที่ 5/2561 (วันที่ 12 กันยายน 2561) ต่อไป
Verizon เพิ่งเปิดตัว Verizon 5G Home เน็ตบ้าน 5G ที่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะของตัวเองไปเพียงวันเดียว คู่แข่งรายสำคัญคือ AT&T ก็เปิดฉากโจมตีทันทีว่า "ไม่ใช่ 5G ที่แท้จริง"
Randall Stephenson ซีอีโอของ AT&T ออกมาตั้งคำถามถึงเทคโนโลยีที่ Verizon เลือกใช้งานว่าไม่เป็นมาตรฐาน การอ้างตัวว่าเป็นผู้ให้บริการ 5G รายแรกจึงต้องบอกด้วยว่าไม่ได้ทำตามมาตรฐาน และ AT&T ต่างหากที่จะเป็นผู้ให้บริการ 5G รายแรกที่ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน แถมจะให้บริการกับโทรศัพท์มือถือด้วย ไม่ใช่แค่เน็ตบ้าน
เป้าหมายของ AT&T คือให้บริการ "5G ที่แท้" ช่วงปลายปีนี้ โดยเริ่มจาก 6 เมืองในสหรัฐได้แก่ Dallas, Atlanta, Oklahoma City, Charlotte, Raleigh และเมือง Waco ในรัฐ Texas
นับเป็นช่วงสำคัญของ dtac อีกครั้งเมื่อคลื่นสัมปทานภายในมือย่าน 850 MHz และ 1800 MHz ที่ถืออยู่กำลังจะหมดอายุในวันที่ 15 กันยายนนี้ ถึงแม้ dtac จะเพิ่งประมูลได้คลื่น 1800 MHz ภายใต้ระบบของ กสทช. ไปเมื่อ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 12,511 ล้านบาท แต่หลังวันที่ 15 คลื่น 1800 ในมือจะเหลือความกว้างเพียง 5 MHz จากของเดิมที่มีถึง 25 MHz
dtac ให้บริการบนคลื่น 850 และ 1800 ภายใต้สัมปทานจาก CAT มายาวนานถึง 27 ปี ตอนนี้เหลือผู้ใช้อยู่บนระบบสัมปทานเดิมราว 340,000 รายที่ยังไม่ได้ย้ายมาใช้คลื่นใหม่ที่ได้จากการประมูล (เป็นลูกค้าของบริษัท dtac TriNet) โดยแบ่งเป็นผู้ใช้บนคลื่น 850 จำนวน 90,000 รายและ 1800 จำนวน 250,00 ราย แต่ทาง กสทช. ยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะเยียวยาคลื่นหลังหมดสัมปทานให้กับทาง dtac หรือไม่ จน dtac ต้องฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครอง เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ลูกค้ากว่า 340,000 รายซิมดับ
สถานการณ์ของ dtac จึงค่อนข้างหัวเลี้ยวหัวต่อ เราขอสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดให้อีกครั้ง รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย
สมรภูมิของโอเปอเรเตอร์บ้านเราย้ายมาสู่แพ็กเกจ "เน็ตไม่อั้น ไม่ลดสปีด" มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุด AIS ออกแพ็กเกจใหม่ชื่อเรียกยากหน่อยคือ “NEXT G Buffet Net Unlimited” แต่ใจความสำคัญคือเน็ตไม่อั้นที่ความเร็ว 8Mbps ในราคาเดือนละ 700 บาท
แพ็กเกจนี้ยังประกอบด้วย AIS Super WiFi ไม่อั้น, ใช้งานเครือข่าย Next G หรือ 4G+Wi-Fi ได้ (เฉพาะในพื้นที่ที่รองรับ) และโทรทุกเครือข่าย 200 นาที (โทรฟรีในเครือข่าย AIS เฉพาะบางเวลา)
แพ็กเกจตัวนี้ของ AIS จะใกล้เคียงกับ Go Nolimit ของ dtac แบบ 6Mbps + โทร 300 นาที (899 บาท) และ 10 Mbps + โทร 500 นาที (1299 บาท)
(ความเห็นนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ)
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การประมูลคลื่นความถี่ในเดือนสิงหาคมนี้ มีผู้ยื่นคำขอเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz สองราย และไม่มีผู้สนใจประมูลคลื่น 900 MHz แม้แต่รายเดียว แม้ว่าจะเป็นคลื่นล็อตสุดท้ายของย่านนี้ก็ตาม
ดีแทคได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าจากการที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz ซึ่งมีกำหนดยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลภายในวันนี้ (8 สิงหาคม 2561) ทางดีแทคมีข้อสรุปสำหรับการเข้าร่วมประมูลดังนี้
ไม่นานหลัง Alphabet แยก Loon มาเป็นบริษัทต่างหาก ไม่อยู่ใต้สังกัด X (และใช้ชื่อ Loon เฉยๆ ไม่มีคำว่า Project พร้อมเปลี่ยนโลโก้ด้วย) บริษัท Loon ก็ประกาศให้บริการเชิงพาณิชย์ครั้งแรกในเคนยา
Loon ร่วมมือกับ Telkom Kenya ผู้ให้บริการโทรคมนาคมของเคนยา นำบอลลูนไปใช้กระจายสัญญาณเน็ตในภาคกลางของประเทศ และจะเริ่มให้บริการในปี 2019
Loon ระบุว่าตัวเองเป็นผู้ให้บริการ "โครงสร้างพื้นฐาน" (infrastructure) ที่อยู่บนฟ้า 60,000 ฟุต และสามารถไปในสถานที่ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานบนพื้นดินไปไม่ถึง
ที่มา - Loon
ตั้งแต่การประมูลคลื่น 900 เมื่อปี 2016 สืบเนื่องมาจนถึงการประมูลคลื่น 1800 ปีนี้ ประเด็นที่ถูกพูดถึงที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องราคาคลื่นความที่ถี่ โดยเฉพาะการประมูลปีนี้ที่ กสทช. ตั้งราคาตั้งต้นเท่ากับราคาสุดท้ายของคราวก่อน ซึ่งสูงมากและหากยิ่งประมูล ราคาก็จะสูงขึ้นไปอีกนั้น
ทว่าประเด็นราคาคลื่นความถี่ที่สูงนี้ไม่ได้มีแต่เฉพาะในไทยเท่านั้น เมื่อ GSMA สมาคมที่ดูแลเรื่องการสื่อสาร ได้เปิดเผยรายงานการววิจัยที่พบว่า ราคาคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่แล้วเฉลี่ยสูงเหมือนกัน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้วด้วยซ้ำ
Hokkaido Railway และบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออีก 3 รายของญี่ปุ่นประกาศแผนโครงการติดตั้งเสาสัญญาณมือถือในอุโมงค์ชินคันเซ็นลอดใต้ทะเล เพื่อให้ผู้โดยสารรถไฟชินคันเซ็นสามารถใช้ระบบสื่อสารของโทรศัพท์มือถือได้อย่างไม่ขาดช่วงในระหว่างการเดินทาง
โครงการนี้จะทำการติดตั้งเสาสัญญาณมือถือทุกๆ ระยะ 1 กิโลเมตรตลอดความยาว 53.83 กิโลเมตรของอุโมงค์ Seikan Tunnel โดยมีส่วนหนึ่งลอดใต้ช่องแคบ Tsugaru Strait เป็นระยะทางราว 23.3 กิโลเมตร โดยอยู่ลึกลงไปในชั้นดินใต้ทะเล 100 เมตร ซึ่งเท่ากับ 240 เมตรใต้ระดับน้ำทะเล
ดีแทครีบออกโปรโมชันจูงใจลูกค้าที่ยังใช้มือถือ 2G ให้เปลี่ยนมาเป็น 3G/4G หลังจาก กสทช. เร่งให้ดีแทคย้ายลูกค้า 2G ก่อนคลื่น 850 และ 1800MHz หมดสัมปทาน
ลูกค้าดีแทคที่ใช้มือถือ 2G ในปัจจุบัน สามารถเช็คสิทธิ์กับดีแทคเพื่อรับโปรโมชัน 3G/4G ได้ที่ศูนย์บริการดีแทคทั่วประเทศ หรือสอบถามที่เบอร์ *444
โปรโมชันย้ายคลื่นครั้งนี้ของดีแทค เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้า 2G ได้รับผลกระทบ และสามารถใช้งาน 3G/4G ได้อย่างต่อเนื่องบนคลื่นความถี่ 2100 และ 2300MHz หากคลื่น 850 และ 1800MHz ที่ดีแทคถือครองอยู่ในปัจจุบันหมดสัมปทานลงในเดือนกันยายนนี้
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์ดีแทค, MGROnline
มาตรฐาน 5G ที่ดูแลโดยกลุ่มอุตสาหกรรม 3GPP ประกอบด้วยส่วนย่อยหลายส่วน ส่วนสำคัญอันหนึ่งเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทางคลื่นที่เรียกว่า New Radio (NR) ซึ่งก็แบ่งเป็นสองส่วนย่อยอีก (อย่าเพิ่งงงนะครับ)
เมื่อปลายปีที่แล้ว 3GPP โหวตรับรองสเปก 5G New Radio ส่วนแรกที่เรียกว่า Non-Standalone (NSA) หรือการส่งข้อมูลแบบ 5G บนระบบโครงข่าย 4G LTE เดิม (ข้อมูลวิ่งบน 5G แต่การสื่อสารเพื่อสั่งการระหว่างอุปกรณ์กับเสาใช้โพรโทคอล 4G)
จากกรณีที่ dtac ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz หลังจากนั้นไม่นาน dtac ได้จัดแถลงข่าวเพื่อยืนยันว่าแม้คลื่น 1800MHz หมดสัมปทาน ก็จะไม่กระทบกับลูกค้าแน่นอน
dtac ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีคลื่นความถี่ 2100MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2300MHz ที่ร่วมมือกับ TOT อีกจำนวน 45MHz รวมทั้งหมด 60MHz (หากไม่นับคลื่น 1800MHz) ทำให้ dtac มีคลื่นมากเพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้ดีกว่ารายอื่นๆ แม้คลื่น 1800MHz จะหมดสัมปทานในเดือนกันยายนนี้ ก็มีคลื่น 2300MHz เข้ามาทดแทน
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ
กสทช. กำหนดจัดประมูลคลื่น 1800 MHz ในวันที่ 4 สิงหาคมนี้ โดยเปิดให้ค่ายมือถือยื่นเอกสารในวันที่ 15 มิถุนายน แต่ปรากฏว่า ไม่มีค่ายใดเดินทางมายื่นเอกสารเลย ทั้งที่สำนักงาน กสทช. ยืนยันว่า แต่ละค่ายจำเป็นต้องมีคลื่นมากกว่าที่ถือครองในปัจจุบัน และ GSMA ก็คาดการณ์ว่าหากไม่มีการจัดสรรคลื่นเพิ่ม คุณภาพบริการบรอดแบนด์ผ่านมือถือของไทยจะประสบปัญหาในไม่เกิน 2 ปี
เมื่อมีการวางจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในความต้องการของผู้ซื้อในตลาด แต่กลับไม่มีการซื้อขาย เหตุผลหลักก็น่าจะมาจากการตั้งราคาขายที่ไม่เหมาะสมกับกำลังซื้อ ยิ่งมีการบังคับขายพ่วงว่าต้องซื้อเหมา ไม่ขายแยกชิ้น ผู้ซื้อที่ฉลาดก็จะไม่ผลีผลาม และถ้ายังไม่จวนตัวว่าจำเป็นต้องซื้อตอนนี้ ก็ยิ่งจะรอดูไปก่อน
ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยอีกครั้ง เมื่อโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย ประกาศไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800MHz (คลื่น dtac เดิม) ที่ กสทช. จะจัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคมนี้
True เป็นค่ายแรกที่ออกตัวไม่ร่วมการประมูล จากนั้นตามด้วย dtac และ AIS ที่ประกาศตัวแบบเดียวกันในวันนี้ (15 มิ.ย.)
หลายคนคงมีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น และจากนี้ กสทช. จะทำอย่างไรต่อไป? บทความนี้จะพยายามวิเคราะห์เรื่องนี้ครับ