กูเกิลมีหน้าเว็บที่รายงานข้อมูลเปิดเผย เกี่ยวกับปริมาณทราฟิกการเข้าใช้งานผลิตภัณฑ์แบบแยกรายประเทศ ซึ่ง Damian Menscher วิศวกรของกูเกิลก็ได้แสดงข้อมูลน่าสนใจที่เกิดขึ้นในยูเครน ช่วง 2 วันที่ผ่านมา
โดยพบว่า Google Maps มีการใช้งานเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 เวลา 15.00น. และขึ้นไปสูงสุดที่เวลา 19.00น. ส่วนตัวเลขที่ตรงกันข้ามคือ Google Docs และ Google Sheets ที่การใช้งานลดลงเหลือ 1 ใน 3 ในช่วงเวลาเดียวกัน
บริการอื่นของกูเกิลที่พบการใช้งานสูงกว่าปกติคือ Google Groups ที่ตอนนี้เพิ่มไป 4-5 เท่าจากปกติ ส่วนบริการอื่นเช่น เสิร์ช YouTube หรือ Gmail การใช้งานไม่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
Facebook ทำรายงานเนื้อหาที่มีคนดูมากที่สุดในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก “Widely Viewed Content Report” โดยใช้เครื่องมือภายในรวมกับข้อมูล engagement ใน CrowdTangle เพื่อแสดงความโปร่งใสของการแนะนำคอนเทนต์บน News Feed รายงานแรกเป็นของไตรมาสที่ 2/2021 มีจุดที่น่าสนใจดังนี้
Discord ออกรายงานความโปร่งใสประจำครึ่งหลังของปี 2020 โดยเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งปิดบัญชีหรือเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงรายงานคำขอข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับมาตลอดช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ในรายงานของ Discord ระบุว่า ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทางบริษัทมีผู้ใช้แอคทีฟ 140 ล้านคน เพิ่มจาก 100 ล้านคนในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ซึ่งจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้ ทางแพลตฟอร์มก็ได้รับรายงานการฝ่าฝืนนโยบายของชุมชนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง Discord Trust & Safety ได้รับรายงานกว่า 355,633 ครั้งในรอบ 6 เดือนนี้ เพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
Pornhub ออกรายงานความโปร่งใสเป็นครั้งแรก เป็นการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อคอนเทนต์และรายงานที่ได้รับมาตลอดปี 2020 หลังจากที่โดนแฉว่าปล่อยให้มีวิดีโอโป๊เด็กและวิดีโอที่ไม่ได้รับความยินยอมก่อนจนโดนหลายฝ่ายแบน จนทำให้ทางแพลตฟอร์มต้องหาวิธีแก้ไข
ในรายงานระบุว่า Pornhub สั่งลบคอนเทนต์ 653,465 รายการที่ฝ่าฝืนนโยบายของบริษัท โดยคอนเทนต์ที่ฝ่าฝืนกฎมีทั้งคอนเทนต์มีทั้งคอนเทนต์อนาจารเด็กและคอนเทนต์ที่ไม่ได้รับความยินยอม รวมถึงคอนเทนต์ความรุนแรงและการทารุณกรรมสัตว์ด้วย
TikTok ออกรายงานความโปร่งใสเฉพาะครึ่งปีแรกของปี 2019 เผยว่ามีรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ในประเทศใดบ้างที่ยื่นคำร้องเข้ามายัง TikTok เพื่อจะขอเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานและขอให้ลบคอนเทนต์ออก โดยอินเดียมีจำนวนมากที่สุด แต่รายงานดังกล่าวไม่แอป Douyin ซึ่งเป็น TikTok ที่ใช้ในประเทศจีน
ในหมวดการขอเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการสืบสวนคดี หรือการทำผิดกฎหมายท้องถิ่น ประเทศอินเดียมีการขอเข้าถึง 107 ครั้ง ครอบคลุมข้อมูลผู้ใช้งาน 143 บัญชี รองลงมาคือสหรัฐฯ ขอเข้าถึง 79 ครั้ง ครอบคลุมผู้ใช้งาน 255 บัญชี และอันดับ 3 คือ ประเทศญี่ปุ่น มีการขอเข้าถึง 28 ครั้ง ครอบคลุมผู้ใช้งาน 39 บัญชี
Google กำลังผลักดันการใช้งาน HTTPS อยู่เรื่อย ๆ และล่าสุดข้อมูลจาก Transparency Report นั้น Google ก็ได้รายงานว่าทราฟฟิกการใช้งาน HTTPS โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
LINE เปิดรายงานความโปร่งใสปี 2016 ครอบคลุมตั้งแต่กลางปี 2016 จนถึงสิ้นปี ได้รับคำร้องขอข้อมูลจากรัฐบาลทั่วโลก 1,719 รายการ เป็นคำร้องขอจากรัฐบาลไทย 1 รายการแต่ไม่ได้ให้ข้อมูล
รายงานของ LINE จะแยกประเภทของคำร้องขอข้อมูลต่อเมื่อมีการส่งข้อมูลให้เท่านั้น โดยแยกคำร้องเป็นสามประเภท ได้แก่ หมายศาล, คำขอข้อมูลเกี่ยวกับการสอบสวน, คำขอฉุกเฉิน จากนั้นจึงบอกจำนวนบัญชีที่ส่งข้อมูลให้โดยแต่ละคำขออาจจะขอข้อมูลหลายบัญชีพร้อมๆ กันได้
เนื่องจาก LINE ไม่ได้ส่งข้อมูลให้ตามคำขอจากรัฐบาลไทยจึงไม่มีข้อมูลว่าคำขอเป็นประเภทใด และต้องการข้อมูลกี่บัญชี
Airbnb ได้ออกรายงานความโปร่งใสหรือ transparency report เพื่อรายงานการขอข้อมูลผู้ใช้เป็นครั้งแรกของบริษัท โดยในครั้งนี้เป็นรายงานของ 6 เดือนแรกของปี 2016
Christopher Nulty โฆษกของ Airbnb ได้บอกกับ TechCrunch ในเรื่องรายงานนี้ว่า ทางบริษัทกำลังสร้างความโปร่งใสให้กับชุมชนและแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเราให้กับสาธารณะ นี่เป็นก้าวแรกที่สำคัญ ในอนาคต Airbnb จะเพิ่มชนิดข้อมูลที่แบ่งปันให้มากขึ้น
อเมซอนเปิดรายงานความโปร่งใสเป็นครั้งแรก นับเป็นบริษัทไอทีชั้นนำขนาดใหญ่ลำดับท้ายๆ ที่เปิดรายงานนี้ โดยระบุว่าจะเปิดเผยสองครั้งต่อปี
รายงานของอเมซอนไม่ได้แยกรายละเอียดตามบริการ แต่แยกตามประเภทคำขอ ได้แก่ หมายศาล (subpoena) ที่ใช้ขอข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา, หมายค้น (search warrant) เป็นการค้นเนื้อหาหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง, หมายอื่นๆ เช่น หมายศาลสั่งลบข้อมูล, จดหมายความมั่นคง จากหน่วยงานความมั่นคงออกโดยศาล FISA ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขแน่ชัดได้, และคำสั่งจากรัฐบาลอื่นๆ นอกสหรัฐฯ
แม้รายละเอียดไม่เยอะนักแต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ ทางอเมซอนยังยืนยันจุดยืนการอุทธรณ์ต่อหมายศาลที่กว้างเกินไป และจุดยืนที่จะให้ผู้ใช้มีสิทธิปกป้องความปลอดภัยของตัวเอง
เมื่อปีก่อน ศาลยุโรปได้ตัดสินให้กูเกิลพิจารณาลบผลการค้นหาที่ผู้ใช้แจ้งไปตามสิทธิ์ที่จะถูกลืม (right to be forgotten) ตอนนี้ผ่านมาราวหนึ่งปี กูเกิลก็ออกมาแถลงความโปร่งใสของการดำเนินงานในช่วงปีที่ผ่านมาแล้ว
Reddit เปิดรายงานความโปร่งใสประจำปี 2014 ระบุว่ามีการขอข้อมูลผู้ใช้ทั้งหมด 55 ครั้ง มาจากต่างประเทศเพียง 5 ครั้ง โดยรวม Reddit ให้ข้อมูลผู้ใช้ 32 ครั้ง และไม่ให้ข้อมูลตามคำขอที่มาจากต่างประเทศเลย
ทาง Reddit ยังประกาศในรายงานความโปร่งใส ระบุหากได้รับคำขอข้อมูลที่ขาดน้ำหนักทางกฎหมายจะไม่ส่งข้อมูลให้ นอกจากนี้หากไม่ได้ถูกห้ามโดยตรงจากคำสั่งศาล ทาง Reddit จะแจ้งเตือนผู้ใช้ว่ากำลังถูกขอข้อมูล สำหรับบริษัทต่างชาติ คำร้องขอข้อมูลจะต้องขอผ่านคำสั่งศาลสหรัฐฯ เท่านั้น
ข่าวลิขสิทธิ์ภาพเซลฟี่ลิงกลายเป็นประเด็นสำคัญทั่วโลก แต่ที่จริงแล้วเรื่องนี้เป็นข่าวขึ้นมาได้เพราะทาง Wikimedia หน่วยงานผู้ดูแลเว็บไซต์ Wikipedia และเว็บในเครือได้เปิดรายงานความโปร่งใส (transparency report) ออกมาต่อสาธารณะ
รายงานมีหัวข้อสำคัญคือการขอข้อมูลผู้ใช้ ปรากฎว่า Wikipedia มีการข้อข้อมูลผู้ใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับกูเกิลหรือเฟซบุ๊ก และตั้งแต่กลางปี 2012 จนถึงตอนนี้ทาง Wikimedia เคยให้ข้อมูลเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับคดีแพ่งและอาญาเพียง 8 กรณีในสหรัฐฯ เท่านั้น ที่เหลือถูกปฎิเสธทั้งหมด
ที่เป็นประเด็นคือกรณีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากการร้องขอของผู้เกี่ยวข้อง นอกจากกรณีภาพเซลฟี่ของลิงแล้ว ยังมีกรณีอื่นๆ
ไมโครซอฟท์ประกาศมาตรการด้านความปลอดภัยและการเข้ารหัสข้อมูลเพิ่มเติม
กูเกิลมีธรรมเนียมการออกรายงานความโปร่งใสของการให้บริการ (Google Transparency Report เป็นประจำทุกปี และทยอยเพิ่มข้อมูลเซคชั่นใหม่เข้ามาเรื่อยๆ
ล่าสุดกูเกิลเพิ่มข้อมูลหมวด "ความปลอดภัยของอีเมล" โดยเผยสถิติในภาพรวมว่าการส่งอีเมลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเอง (Gmail) ไปยังเซิร์ฟเวอร์อีเมลของผู้ให้บริการรายอื่นๆ นั้นถูกเข้ารหัสมากน้อยแค่ไหน
Facebook ออกรายงาน Global Government Requests Report เปิดเผยสถิติการขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลทั่วโลก สำหรับช่วงครึ่งหลังของปี 2013 (ข่าวของครึ่งแรกปี 2013)
สำหรับข้อมูลของประเทศไทย หน่วยงานรัฐไทยเคยขอข้อมูลจาก Facebook ทั้งหมด 2 ครั้ง, ขอข้อมูลจำนวน 2 บัญชี ซึ่ง Facebook ไม่ได้ให้ข้อมูลตอบกลับตามที่ขอ
สถิตินี้ถือว่าลดลงจากครึ่งแรกของปี 2013 ที่รัฐไทยขอข้อมูล 5 บัญชี และถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (สหรัฐอเมริกาขอ 18,715 บัญชี, Facebook ให้ข้อมูล 81% ของที่ขอมา)
ที่มา - Facebook (Thailand 2013H2)
แนวทางการต่อสู้กับการสอดแนมภาครัฐ ด้วยการออกรายงานความโปร่งใสส่วนมากเราเห็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง เช่น กูเกิล, ยาฮู, ไมโครซอฟท์, หรือเฟซบุ๊ก ตอนนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในสหรัฐฯ คือ Verizon ก็ออกมาเดินตามแนวทางนี้แล้ว
รายงานนี้แยกออกเป็นรายงานในสหรัฐฯ และรายงานการขอข้อมูลจากประเทศอื่นๆ
แนวทางการขอข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้จากรัฐบาลจากเว็บใหญ่ๆ เริ่มกลายเป็นแนวทางมาตรฐาน ตอนนี้ Yahoo! ก็ออกมาเปิดรายงานการขอข้อมูลจากรัฐบาลแล้ว โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นผู้ข้อข้อมูลมากที่สุด 12,444 ครั้ง รวมเป็นผู้ใช้ 40,322 คน รายงานไม่มีตัวเลขของรัฐบาลไทยเพราะ Yahoo! ไม่มีบริษัทลูกอยู่ในประเทศไทย
รายงานของ Yahoo! นั้นระบุแยกการขอข้อมูลเป็นจำนวนครั้ง และปริมาณบัญชีผู้ใช้ที่ถูกขอข้อมูล จากนั้นจึงแยกการตอบกลับของ Yahoo! ว่าไม่ให้เพราะไม่พบข้อมูล หรือไม่ให้เพราะคำขอมีปัญหา (เช่นบัญชีนั้นอยู่นอกอำนาจของหน่วยงานที่ขอข้อมูล) ในกรณีที่ให้ข้อมูล มีทั้งการให้แบบไม่ให้เนื้อหา (non-content data - NCD) และให้ข้อมูลเนื้อหาไปด้วย
Facebook ออกรายงาน Global Government Requests Report เปิดเผยสถิติการขอข้อมูลผู้ใช้จากรัฐบาลทั่วโลก ระหว่างครึ่งแรกของปี 2013
สำหรับกรณีของประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐไทยยื่นขอข้อมูลทั้งหมด 2 ครั้ง นับจำนวนผู้ใช้รวม 5 บัญชี ซึ่งก็ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (สหรัฐอเมริกาขอ 11,000-12,000 ครั้ง รวม 20,000-21,000 บัญชี)
Facebook เปิดเผยเฉพาะสถิติรวมของแต่ละประเทศเท่านั้น ไม่ได้แยกย่อยว่าหน่วยงานที่ขอคือหน่วยงานใด และขอข้อมูลผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
ที่มา - Facebook
กูเกิลเพิ่มรายงานปริมาณมัลแวร์และเว็บฟิชชิ่งเข้าใน Transparency Report หรือรายงานความโปร่งใสของบริษัท
รายงานนี้จะอยู่ในหัวข้อ Safe Browsing แยกออกจาก หัวข้อ Traffic รายงานการเข้าถึงกูเกิลซึ่งอาจจะสะท้อนการบล็อกเว็บของรัฐบาล, Removal Requests รายงานการขอลบข้อมูลออกจากกูเกิล, และ User Data Requests การขอข้อมูลผู้ใช้โดยรัฐบาล
กูเกิลเปิดโครงการ Transparency Report มาแล้วเกือบสามปี (เริ่มต้นปี 2010) พบว่าการขอข้อมูลผู้ใช้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนตอนนี้ครึ่งปีแรกมีรายการขอข้อมูลผู้ใช้แล้ว 20,938 ครั้งเป็นข้อมูลผู้ใช้ 34,614 คนและขอให้ปิดเนื้อหา 17,746 รายการ จากการร้องขอ 1,791 ครั้ง
ข้อมูลส่วนที่น่าสนใจได้แก่ปริมาณการร้องขอเพิ่มขึ้นอย่างมากจากก่อนหน้านี้จำนวนครั้งที่ร้องขออยู่ประมาณ 1,000 ครั้งต่อครึ่งปี และมีความพยายามส่งหมายศาลปลอมไปยังกูเกิลเพื่อให้ลบเนื้อหาออกจากเว็บหลายต่อหลายครั้ง ในส่วนของไทยนั้นมีการร้องขอให้ปิดกั้นวิดีโอบน YouTube 14 รายการ โดยเป็นเนื้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
ประเทศไทยยังคงไม่มีรายงานการร้องขอข้อมูลผู้ใช้จากกูเกิลจนถึงทุกวันนี้
เมื่อเดือนเมษายน กูเกิลได้เปิดตัว Government Requests แผนที่แสดงให้เห็นว่ากูเกิลได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลประเทศไหนบ้าง ในการลบข้อมูลออกจากบริการต่างๆ ของกูเกิล
คราวนี้กูเกิลเพิ่มส่วนที่สองคือ Traffic เปิดเผยทราฟฟิกของกูเกิลที่มาจากประเทศต่างๆ เอาไว้ช่วยดูว่าจู่ๆ มีทราฟฟิกจากประเทศไหนที่หดหายไปบ้าง ซึ่งตีความได้ว่าโดนบล็อคนั่นเอง ตอนนี้สองส่วนรวมกันมีชื่อเรียกใหม่ว่า Transparency Report