Mark Shuttleworth ประกาศโค้ดเนมของ Ubuntu เวอร์ชันหน้า 18.04 ที่จะเป็นเวอร์ชันซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ว่า Bionic Beaver หุ่นยนต์บีเวอร์จอมพลัง
ภาพรวมของ Ubuntu 18.04 LTS จะยังเดินหน้าไปในแนวทางเดิม นั่นคือ
Mark Shuttleworth ซีอีโอของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ให้สัมภาษณ์กับ eWeek ว่ามีแผนจะนำบริษัทขายหุ้น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาตัดสินใจยกเลิกระบบเดสก์ท็อป Unity
Shuttleworth บอกว่าการเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ จำเป็นต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใดทำเงินบ้าง ซึ่ง Ubuntu ทำเงินในตลาดเซิร์ฟเวอร์และคลาวด์ มีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน แต่ฝั่งเดสก์ท็อปโดยเฉพาะ Unity กลับไม่ทำเงิน ทางทีมบริหารจึงตัดสินใจหยุดกระบวนการพัฒนา
Ubuntu 17.10 Artful Aardvark ได้ฤกษ์ออกตัวจริง เวอร์ชันนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของ Ubuntu ในรอบหลายปี เพราะเลิกใช้เดสก์ท็อป Unity หันมาใช้ GNOME แทน
Ubuntu 17.10 ใช้ GNOME 3.26.1 ที่รันบนระบบแสดงผล Wayland (แทน Mir), ย้ายปุ่มควบคุมหน้าต่างกลับมาไว้ด้านขวา (ครั้งแรกนับจากปี 2010), เปลี่ยนซอฟต์แวร์หน้าจอล็อกอินจาก LightDM มาเป็น GDM
ที่มา - Ubuntu, Release Notes
Ubuntu เวอร์ชัน 17.10 ที่จะปล่อยเดือนตุลาคมนี้ เตรียมยกเลิกไฟล์ ISO รุ่น 32-bit แล้ว โดย Dimitri John Ledkov จาก Canonical ยืนยันว่า Ubuntu จะเลิกปล่อยไฟล์อิมเมจ ubuntu-desktop-i386.iso จริง โดยเริ่มตั้งแต่เบต้าไปจนถึงตัวจริงของ Ubuntu 17.10
ทั้งนี้ โปรดทำความเข้าใจว่า ที่ Ubuntu จะยกเลิกนั้น เฉพาะไฟล์อิมเมจแบบ 32-bit ปกติเท่านั้น ในขณะที่ตัวเลือกในการติดตั้งแบบอื่นอย่าง minimal install ISO หรือ net install นั้นจะยังคงสามารถติดตั้ง Ubuntu 32-bit ได้เหมือนเดิม และผู้ใช้ที่ใช้ Ubuntu 32-bit อยู่จะยังคงสามารถดาวน์โหลดอัพเดตได้
เคยเป็นประเด็นขัดแย้งอย่างหนักในปี 2010 ตอนที่ Ubuntu ย้ายปุ่มควบคุมหน้าต่างจากมุมขวาบนมาเป็นมุมซ้ายบน เวลาผ่านมาอีก 7 ปี เมื่อ Ubuntu กลับลำ ย้ายจาก Unity มาเป็น GNOME ปุ่มก็จะถูกย้ายกลับมาด้านขวามืออีกครั้ง
ทีมงาน Ubuntu ประชุมกันแล้วได้ข้อตกลงว่า จะรักษาความเป็น GNOME ต้นฉบับให้มากที่สุด โดยจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของ GNOME ให้น้อยที่สุด แปลว่า Ubuntu เวอร์ชันหน้า 17.10 ก็จะใช้การเรียงปุ่มควบคุมด้านขวาเหมือน GNOME ด้วย
สิ่งที่ Ubuntu จะใส่เพิ่มเข้ามามีเพียงแค่ธีม Ambience, ไอคอน และฟอนต์ ส่วนคนที่อยากได้พฤติกรรมแบบ Unity ก็สามารถปรับแต่งได้ผ่านส่วนขยายของ GNOME Shell
จากที่ประกาศไว้ในงาน Build 2017 และแล้วเราก็สามารถดาวน์โหลด Ubuntu ได้จาก Windows Store แล้ว
Ubuntu on Windows ตัวนี้เป็นแค่บางส่วนของ Ubuntu ที่ใช้งานได้เฉพาะคอมมานด์ไลน์บางคำสั่งเท่านั้น ผู้ใช้จำเป็นต้องเปิดฟีเจอร์ Windows Subsystems for Linux ก่อนค่อยดาวน์โหลดได้ การดาวน์โหลดผ่าน Store จำเป็นต้องเป็น Windows 10 Fall Creators Update หรือที่เป็น Insider เลข Build 16215 ขึ้นไป
การดาวน์โหลดดิสโทรผ่าน Store จะทำให้เราสามารถติดตั้งดิสโทรหลายตัวบนวินโดวส์ไปพร้อมๆ กันได้ (ควบคู่ไปกับ SUSE และ Fedora ที่เคยประกาศไว้แล้วแต่ยังไม่ลง Store ในตอนนี้)
System76 ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่พรีโหลด Ubuntu มาให้พร้อมไดรเวอร์อุปกรณ์อย่างครบครัน ได้ประกาศเปิดตัว Pop!_OS เป็นดิสโทร Linux ใหม่ (แต่ System76 เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ” ไม่ได้เรียกว่าดิสโทร) พัฒนาขึ้นบน Ubuntu และใช้ GNOME เป็นเดสก์ท็อปมาตรฐาน
Pop!_OS นี้จะออกมาเน้นการใช้คอมพิวเตอร์ของเหล่าโปรและนักสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง AI, โมเดลสามมิติ, งานด้านวิชาการ หรืองานประดิษฐ์ต่าง ๆ ส่วนติดต่อผู้ใช้ของ Pop จะถูกออกแบบมาให้สามารถปรับแต่งได้อย่างครอบคลุมเพื่อช่วยให้ flow การทำงานราบรื่น
Ubuntu Core ระบบปฏิบัติการรุ่นเล็กของ Ubuntu ซึ่งมีระบบจัดการแพ็กเกจแบบใหม่ Snappy ได้ออกเวอร์ชันใหม่รองรับ Raspberry Pi Compute Module 3 (CM3) แล้ว
CM3 เป็นโมดูลฮาร์ดแวร์แบบบอร์ดเดียว สามารถเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ใดก็ได้โดยใช้ช่องเชื่อมต่อ DDR2 SODIMM ใช้หน่วยประมวลผล BCM2387 ที่ใช้ใน Raspberry Pi 3 มีแรม 1GB หน่วยความจำแบบแฟลช 4GB
Ubuntu เตรียมเปลี่ยนจาก LightDM มาใช้ GDM (GNOME Display Manager) เป็นตัวจัดการแสดงผล (display manager) หลักบน Ubuntu เวอร์ชัน 17.10 และ 18.04 LTS พร้อมกับการเปลี่ยนจาก Unity มาเป็น GNOME
ในตอนแรกนั้น ทีมงานพยายามจะทำให้ GNOME Shell เป็น LightDM Greeter แต่เนื่องจากการแยกโค้ดนั้นไม่ง่าย ซึ่งจากการชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและปริมาณงานที่ต้องทำในการแก้ไข GNOME ให้รองรับ LightDM ทีมงานจึงตัดสินใจเลือกใช้ GDM แทน
ปัจจุบัน ระบบจัดการแสดงผลนี้มีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแสดงผลในหน้าล็อกอิน ดังนั้นหากเปลี่ยน LightDM เป็น GDM จริง เราน่าจะเห็นหน้าจอล็อกอินและหน้าจอล็อกของ Ubuntu เปลี่ยนไปด้วย
นอกจากข่าวช็อควงการอย่าง iTunes ลง Windows Store แล้ว ไมโครซอฟท์ยังประกาศข่าวว่าลินุกซ์ 3 ค่ายดังคือ Ubuntu, SUSE, Fedora ก็ลง Windows Store ด้วย
Windows 10 มีฟีเจอร์ Linux Subsystem ที่ใช้ Ubuntu อยู่แล้ว เพียงแต่ผู้ใช้ต้องติดตั้งโค้ดส่วนนี้เพิ่มเองที่มีขั้นตอนพอสมควร การเพิ่มตัวเลือกให้กดง่ายๆ บน Windows Store จึงช่วยให้ผู้ใช้สะดวกมากขึ้น
ตัว Linux Subsystem สามารถเปลี่ยนจาก Ubuntu เป็นดิสโทรอื่นได้ (เช่น SUSE) ทำให้ไมโครซอฟท์ชักชวน SUSE และ Fedora มาเป็นตัวเลือกอีกสองตัวบน Windows Store ให้ผู้ใช้เลือกดิสโทรที่ต้องการได้เลย
หมายเหตุ: ฟีเจอร์นี้คือเฉพาะตัวแกนของลินุกซ์ที่รันบน Windows Subsystem for Linux นะครับ ไม่ใช่ดิสโทรลินุกซ์ตัวเต็ม
หลัง Ubuntu พับแผนการด้านเดสก์ท็อป-มือถือครั้งใหญ่ ก็เกิดคำถามตามมามากมายว่าอนาคตของ Ubuntu จะเป็นอย่างไรต่อไป ล่าสุด Mark Shuttleworth ซีอีโอจึงให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้
Shuttleworth เล่าว่าโลกคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ขาคือ personal computing, data center/cloud และ edge/IoT ซึ่งตอนนี้ Ubuntu กลายเป็นระบบปฏิบัติการมาตรฐานสำหรับโลก data center/cloud ไปแล้ว และในโลกของ edge/IoT ก็น่าจะมีบทบาทไม่น้อย
ยังตามมาเป็นระลอกหลัง Ubuntu เลิกทำ Unity ล้มแผนการสร้าง GUI แบบข้ามแพลตฟอร์ม
ระบบปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบเข้าเต็มๆ คือ Ubuntu Phone ที่ยังมีสมาร์ทโฟนบางรุ่นใช้งาน (เช่น Meizu Pro 5 Ubuntu Edition) ก็จะถูกยกเลิกไปด้วย
ตอนนี้ Ubuntu Phone ไม่อัพเดตฟีเจอร์ใหม่มานานแล้ว แต่ยังอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยอยู่ แต่ Canonical ก็ออกมาประกาศแล้วว่าจะอัพเดตแพตช์จนถึงเดือนมิถุนายน 2017 เท่านั้น หลังจากนั้นไปแล้ว Ubuntu Phone ก็จะไม่ได้อัพเดตอะไรอีก
ที่มา - OMG Ubuntu
Ubuntu 17.04 ใช้โค้ดเนม Zesty Zapus ซึ่งถือว่าเดินทางมาถึงตัว Z แล้ว สิ่งที่แฟนๆ สงสัยคือ Ubuntu 17.10 รุ่นหน้าจะใช้โค้ดเนมอะไร จะวนกลับมาเป็นตัว A หรือไม่
Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ยังไม่ประกาศข้อมูลนี้ แต่รอบนี้ข้อมูลจากระบบติดตามบั๊กของ Ubuntu โผล่มาให้เห็นแล้วว่าเป็นชื่อ Artful Aardvark
ตัวอาร์ดวาร์ก เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา ที่มาของชื่อมีความหมายว่า "หมูดิน" ในภาษาแอฟริคานส์
จากกรณี Ubuntu เลิกใช้ Unity ก็มีคำถามตามมาถึงระบบแสดงผล (display server) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ร่วมกันคือ Mir
ก่อนหน้านี้ Mark Shuttleworth เคยให้ข้อมูลมารอบหนึ่งแล้วว่า Unity จะหยุดพัฒนาอย่างถาวร ส่วน Mir จะยังอยู่ต่อแต่ย้ายไปจับตลาด IoT แทนเดสก์ท็อป
ล่าสุด Will Cooke ผู้จัดการทีมเดสก์ท็อปของ Ubuntu ยืนยันแล้วว่า Ubuntu จะย้ายไปใช้ Wayland ระบบแสดงผลอีกตัวแทน
โครงการ Ubuntu GNOME ประกาศออกรุ่น 17.04 โดยใช้ GNOME 3.24 รุ่นล่าสุด พร้อมประกาศทิศทางในอนาคตว่าจะไปรวมกับ Ubuntu ตัวหลักแล้ว
ทีมงาน Ubuntu GNOME และ Ubuntu Desktop (Unity) จะถูกรวมเข้าเป็นทีมเดียวกัน ตอนนี้ทางทีม Ubuntu GNOME กำลังวางแผนการทำงานกับทีมฝั่ง Canonical อยู่ว่าจะทำอะไรในช่วงไหน และจะประกาศข่าวต่อไป
ผู้ที่ใช้ Ubuntu 16.04 LTS หรือ Ubuntu GNOME 16.04 LTS จะได้อัพเกรดเป็น Ubuntu 18.04 LTS ทีเดียวเลยในปีหน้า ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการแยกดิสโทรสองสายนั่นเอง
ที่มา - Ubuntu GNOME
Ubuntu 17.04 'Zesty Zapus' ออกตัวจริงแล้ว ดิสโทรเวอร์ชันนี้จะมีอายุซัพพอร์ตนาน 9 เดือนไปจนถึงเดือนมกราคม 2018 ของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่
ปัญหาของบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu ดูจะรุนแรงกว่าที่เห็นในตอนแรก หลังจากประกาศยกเลิกการพัฒนา Unity และข่าวการปลดพนักงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย ล่าสุดถึงกับต้องเปลี่ยนตัวซีอีโอเลยทีเดียว
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Ubuntu และบริษัท Canonical นั่งเป็นซีอีโอของบริษัทมาตั้งแต่ต้น แต่ในปี 2009 เขาประกาศลงจากตำแหน่งซีอีโอ เพื่อมารับงานดูแลผลิตภัณฑ์โดยตรง แล้วดัน Jane Silber ผู้บริหารอีกคนขึ้นมาเป็นซีอีโอแทน
หลังจาก Ubuntu เลิกใช้ Unity เว็บไซต์ The Register ก็รายงานข่าวว่าบริษัท Canonical ผู้พัฒนา Ubuntu เริ่มปลดพนักงานและเปิดโครงการที่ไม่ทำเงิน
ทีมที่ได้รับผลกระทบเข้าเต็มๆ ย่อมเป็นทีม Unity ที่ว่ากันว่าถูกปลดไปครึ่งทีม แต่ฝ่ายอื่นของ Canonical ก็โดนปลดด้วยเช่นกัน แหล่งข่าวของเว็บไซต์ The Register ระบุว่า Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical กำหนดสถานการณ์ด้านการเงินของบริษัทไว้ 3 ระดับ (best/neutral/worst) ถ้าบริษัทสามารถระดมทุนเพิ่มได้ตามเป้า ก็จะปลดพนักงานลง 30% แต่ถ้าสถานการณ์ย่ำแย่ ตัวเลขอาจสูงถึง 60%
จากข่าวช็อควงการ Ubuntu ประกาศเลิกพัฒนาเดสก์ท็อป Unity เปลี่ยนกลับมาใช้ GNOME แทน ก่อให้เกิดคำถามและข้อสงสัยมากมาย ซึ่ง Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ก็ตอบเรื่องนี้ไว้ในโพสต์ Google+ ของเราหลายข้อด้วยกัน ดังนี้
ในที่สุด แผนการสร้าง Unity ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ครอบคลุมทั้งพีซี มือถือ แท็บเล็ต ของ Ubuntu ก็พังทลายลง
Mark Shuttleworth ผู้นำโครงการ Ubuntu ประกาศหยุดพัฒนา Unity 8 ที่ทำกันมานานแต่ไม่เสร็จสักที และในเวอร์ชัน Ubuntu 18.04 LTS จะกลับไปใช้ GNOME เป็นระบบเดสก์ท็อปหลักเหมือนเดิม
เหตุผลคือแผนการสร้าง Ubuntu Phone ล้มเหลว และการพัฒนา Ubuntu เพื่อเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพาแบบหลอมรวม (convergence) ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่างที่คาดไว้
Shuttleworth ยอมรับว่าเขามองเรื่องนี้ผิดพลาดไป สุดท้าย Ubuntu จึงกลับสู่สิ่งที่ตัวเองทำได้ดี คือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคลาวด์และอุปกรณ์ IoT โดยจะหันมาทุ่มเททรัพยากรไปที่สิ่งเหล่านี้แทน
Mark Shuttleworth ผู้ก่อตั้ง Canonical ประกาศหยุดการพัฒนา Unity ซึ่งเป็นเดสก์ท็อปของ Ubuntu ไว้ที่ Unity8 และ Ubuntu desktop จะเริ่มกลับไปใช้งาน GNOME อีกครั้งใน Ubuntu 18.04 LTS
Shuttleworth ให้ความเห็นว่า เขามอง Ubuntu Phone พลาด ในตอนแรกเขามองว่าถ้าผลิตภัณฑ์ที่รวมกันเป็นหนึ่ง (convergence) คืออนาคต การออกซอฟต์แวร์ฟรีจะช่วยทั้งฝั่งชุมชน และด้านอุตสาหกรรม แต่จริง ๆ แล้วพบว่าการออกซอฟต์แวร์ฟรี แทนที่จะเป็นนวัตกรรม กลับเป็นการเพิ่ม fragmentation ให้ตลาด และอุตสาหกรรมไม่สนความเป็นไปได้ แต่จะเลือกสิ่งที่ผู้ใช้รู้จักดี หรือพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเอง ซึ่งเขายอมรับการตัดสินจากตลาดและชุมชนแล้วว่าอะไรควรจะเติบโต อะไรควรจะไป
ที่ผ่านมา Ubuntu จะใช้แพ็กเกจจากโครงการ GNOME ที่เก่ากว่ากัน 1-2 รุ่น เพราะต้องการเวลานำแพ็กเกจจาก GNOME มาปรับแต่งกับระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง
แต่ใน Ubuntu 17.04 ที่จะออกเดือนเมษายนนี้ จะใช้ GNOME 3.24 รุ่นล่าสุดที่จะออกในเดือนมีนาคม
เหตุผลสำคัญของการปรับรุ่นคือ GTK+ ซอฟต์แวร์ widget toolkit ที่เป็นรากฐานของเดสก์ท็อป GNOME และแอพพลิเคชันในโครงการ GNOME ปรับวิธีการออกรุ่นใหม่ จากเดิมที่ออกทุก 6 เดือนตามรอบของ GNOME เปลี่ยนมาออกรุ่นเสถียรที่ใช้งานนาน (long-term stable) ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงช้าลง ทีมงาน Ubuntu จึงลดภาระงานลงได้บางส่วน
คนที่เคยติดตั้งลินุกซ์มา คงทราบดีว่าส่วนใหญ่แล้วเราต้องสร้างพาร์ทิชันของระบบ และพาร์ทิชันสำหรับ swap ใช้เป็นหน่วยความจำสำรอง อย่างไรก็ตาม อีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้คือการใช้ swap file หรือสร้างไฟล์ขนาดใหญ่เพื่อกันที่เป็นหน่วยความจำแทน โดยไม่ต้องสร้างพาร์ทิชันแยก
ล่าสุด Ubuntu ออกมาประกาศแล้วว่าในดิสโทรรุ่นหน้า 17.04 Zesty Zapus จะเปลี่ยนมาใช้ swap file แทนแล้ว โดยไฟล์จะมีขนาดไม่เกิน 2GB หรือ 5% ของพื้นที่ว่างบนดิสก์ (ขึ้นกับค่าไหนต่ำกว่า)
Ubuntu มองว่าแนวทางการสร้าง swap partition ขนาดสองเท่าของแรม แทบไม่มีประโยชน์แล้วในยุคปัจจุบันที่คอมพิวเตอร์มีแรมจำนวนมาก จนสุดท้ายแล้ว swap partition แทบไม่เคยถูกใช้งานเลย
ช่องโหว่ Dirty COW เพิ่งมีรายงานเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการรายงานหลังพบการโจมตีทำให้จำเป็นต้องเร่งแก้ไข การแก้ไขเคอร์เนลทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่วนมากต้องรีบูตจนเสีย uptime ตอนนี้ทาง Canonical ก็ออกมาระบุว่าผู้ใช้ Ubuntu ที่เปิดบริการ Livepatch ได้รับแพตช์โดยไม่ต้องบูตเครื่องหลังแพตช์ออกเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
Canonical Livepatch Service เป็นบริการเฉพาะของ Canonical ที่ต้องสมัครบริการก่อนจึงใช้งานได้ โดยผู้ใช้ทั่วไปสามารถใช้งานได้ 3 เครื่องฟรี (ซื้อเพิ่มเครื่องละ 150 ดอลลาร์ต่อปี) เมื่อสมัครแล้วจะได้ token มาเซ็ตอัพในเครื่อง
โค้ดเนมของ Ubuntu เดินทางมาถึงตัว Z ในรุ่นหน้า 17.04 แต่ก็ไม่ใช่ "Zebra" อย่างที่หลายคนคาดกันมานาน กลายเป็น "Zapus" หนูสายพันธุ์หนึ่งแทน
โค้ดเนมเต็มๆ คือ Zesty Zapus โดยคำว่า Zesty หมายถึงพลังงานเปี่ยมล้น ซึ่ง Mark Shuttleworth แห่งบริษัท Canonical บอกว่าต้องการสะท้อนให้เห็นว่า Ubuntu กำลังเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเข้าสู่โลกของคลาวด์และอุปกรณ์ประเภทใหม่ๆ จำนวนมาก
Shuttleworth ไม่ได้บอกว่าพอมาถึงตัว Z แล้ว รุ่นถัดไปจะวนกลับมายังตัว A ใหม่หรือไม่ครับ