วันที่ 14 มกราคม 2020 เป็นวันหมดอายุซัพพอร์ตของทั้ง Windows 7 และ Windows Server 2008/2008 R2 ทางออกที่ไมโครซอฟท์มีให้ลูกค้า Windows Server 2008 คือซื้อ ซื้อบริการความปลอดภัย Extended Security Updates ได้อีก 3 ปี (แต่ราคาจะแพงขึ้นเรื่อยๆ) หรือย้ายขึ้นมาอยู่บนคลาวด์ Azure โดยยังได้แพตช์ฟรีตลอด 3 ปีเช่นกัน
ล่าสุด AWS ออกมาแก้ปัญหานี้ด้วยแนวทางที่ต่างออกไป (เพราะไม่ได้เป็นเจ้าของ Windows เหมือนไมโครซอฟท์) โดย AWS แนะนำให้ย้ายตัวระบบปฏิบัติการจาก Windows Server 2008/2008 R2 มาใช้ระบบปฏิบัติการที่ใหม่ขึ้นอย่าง Windows Server 2016 หรือ 2019 แทน
Google Compute Engine รองรับระบบปฏิบัติการ Windows Server มาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว วันนี้กูเกิลประกาศสถานะ general availability (GA) โดยมีให้เลือกทั้ง Windows Server 2008 R2 และ 2012 R2
กูเกิลเลือกประกาศข่าวนี้ในวันที่ Windows Server 2003 หมดอายุซัพพอร์ต เพื่อกระตุ้นให้องค์กรที่อยากย้ายระบบจาก Windows Server 2003 หันมาอัพเกรดเป็น 2008/2012 ที่รันบน Compute Engine แทน เพื่อจะได้ไม่ต้องลงทุนกับค่าฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ใหม่ และจ่ายเงินแค่เท่าที่ใช้งาน
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ปล่อยแพตช์หมายเลข KB3004394 ผ่านระบบ Windows Update ซึ่งหลังจากที่ปล่อยออกไปก็มีผู้ใช้หลายรายแจ้งว่าแพตช์นี้มีปัญหากับซอฟต์แวร์อื่นๆ ในระบบ รวมถึงไม่สามารถเข้า Windows Update เพื่อติดตั้งแพตช์อื่นๆ ได้ ในเบื้องต้นทางไมโครซอฟท์ได้ถอดแพตช์นี้ออกจาก Windows Update และแนะนำให้ผู้ใช้ที่มีปัญหาลบแพตช์นี้ออกไปก่อน
Google Cloud Platform บริการกลุ่มเมฆของกูเกิล ประกาศรองรับซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ของค่ายไมโครซอฟท์เพิ่มเติม ดังนี้
ไมโครซอฟท์ประกาศยืดอายุขัยของการสนับสนุน Windows Server 2008 (รุ่นแรกที่ไม่ใช่ R2) ไปอีก 18 เดือน จากเดิมที่เตรียมสิ้นอายุขัยในเดือนกรกฎาคม 2013 ก็ขยายเป็นเดือนมกราคม 2015 แทน
การขยายอายุครั้งนี้ทำให้ Windows Server 2008 จะหมดระยะสนับสนุนพร้อมกับ Windows Server 2008 R2 ในเดือนมกราคม 2015 เท่ากัน (แปลว่าหลังจากนั้นก็จงย้ายไปใช้ Windows Server 2012 เสียโดยดี)
ระยะเวลาสนับสนุนในที่นี้คือ mainstream support หรือการสนับสนุนแบบปกติ แถมฟรีมากับตัวระบบปฏิบัติการ แต่ถ้าเลยระยะนี้ไปจะเรียก extended support ซึ่งฟรีเฉพาะแพตช์ด้านความปลอดภัย แต่อย่างอื่นต้องเสียเงินเพิ่มเอง ระยะ extended support ของระบบปฏิบัติการทั้งสองตัวจะสิ้นสุดพร้อมกันในเดือนมกราคม 2020 ครับ
เราได้ยินข่าวของ Windows 7 SP1 และ Windows Server 2008 R2 SP1 มาหลายต่อหลายครั้ง... คงไม่ต้องพูดแล้วว่ามันคืออะไรเพราะล่าสุด Microsoft ได้ปล่อยเวอร์ชั่นเต็มออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยปล่อยให้ดาวน์โหลดใน Microsoft Download ก่อน แล้วจะเอาขึ้น Windows Update ทีหลังครับ โดยไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดนั้น เป็นแบบ iso image มีขนาด 1.9 GB ครับ
เกือบหนึ่งปีครึ่งหลังจากเปิดตัว Windows 7 อย่างเป็นทางการ ในที่สุดไมโครซอฟท์ก็พัฒนา Windows 7 Service Pack 1 เสร็จสมบูรณ์ (รวมถึง Windows Server 2008 R2 SP1 ด้วย)
SP1 ทั้งสองระบบปฏิบัติการถูกส่งให้ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เตรียมพรีโหลดลงเครื่องพีซีแล้ววันนี้ จากนั้นสมาชิก TechNet/MSDN จะสามารถดาวน์โหลดได้ก่อนในวันที่ 16 ก.พ. และเปิดให้คนทั่วไปดาวน์โหลดผ่าน Microsoft Download Center/Windows Update ในวันที่ 22 ก.พ.
Windows 7 SP1 เน้นแก้บั๊กและอุดรูรั่วเป็นหลัก หลายส่วนออกมาให้ใช้ผ่าน Windows Update แล้ว ฟีเจอร์ใหม่จริงๆ มี 2 อย่างคือ RemoteFX และ Dynamic Memory ซึ่งเป็นฟีเจอร์ด้าน virtualization
ไมโครซอฟท์ได้ปล่อย Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 SP1 เบต้าแล้ว ใครสนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ TechNet Evaluation Center ส่วน RTM นั้นคาดว่าไมโครซอฟท์จะปล่อยในช่วงครึ่งปีแรกของปีหน้า
อนึง Windows 7 SP1 ไม่ได้มีฟีเจอร์อะไรใหม่ เน้นแก้ข้อบกพร่องและอัพเดทด้านความปลอดภัยเท่านั้น ส่วน Windows Server 2008 R2 SP1 จะเพิ่มฟีเจอร์แพลตฟอร์มการประมวลผลกราฟิกแบบใหม่ที่มีชื่อว่า RemoteFX และ Hyper-V รุ่นปรับปรุงที่สามารถปรับเปลี่ยนหน่วยความจำหลักเสมือนของ VM ได้โดยอัตโนมัติ (ดูข่าวเก่า)
ในงาน TechEd Conference ครั้งล่าสุด ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะปล่อย Service Pack 1 (SP1) เบต้าของทั้ง Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
ไมโครซอฟท์เปิดเผยด้วยว่า Windows 7 SP1 ไม่ได้มีฟีเจอร์อะไรใหม่ เน้นแก้ข้อบกพร่องและอัพเดทด้านความปลอดภัยเท่านั้น แต่ Windows Server 2008 R2 SP1 จะเพิ่มฟีเจอร์ดังที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้ คือ แพลตฟอร์มการประมวลผลกราฟิกแบบใหม่ที่มีชื่อว่า RemoteFX และ Hyper-V รุ่นปรับปรุงที่สามารถปรับเปลี่ยนหน่วยความจำหลักเสมือนของ VM ได้โดยอัตโนมัติ (ดูข่าวเก่า)
เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามันจะมา แต่นี่เหมือนจะเป็นครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์ "ประกาศ" ข่าวเกี่ยวกับ SP1 ของวินโดวส์ทั้งสองรุ่นอย่างเป็นทางการ
สำหรับ Windows Server 2008 R2 Service Pack 1 (ชื่อยาวไปไหมเนี่ย) นอกจากอุดรูรั่วด้านความปลอดภัยตามธรรมเนียมแล้ว ไมโครซอฟท์จะเพิ่มฟีเจอร์ให้อีกสองอย่าง ได้แก่ Dynamic Memory ซึ่งเป็นฟีเจอร์เสริมในการกระจายหน่วยความจำให้กับ virtual machine บน Hyper-V กับ RemoteFX เสริมความสามารถด้านมัลติมีเดียข้ามเครื่องให้ remote desktop
Windows 7 รุ่น RTM ซึ่งแจกจ่ายไปยังสมาชิก MSDN และ TechNet นั้นมีข้อผิดพลาดร้ายแรงเรื่องหน่วยความจำรั่ว ซึ่งปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อใช้คำสั่ง CHKDSK /R บน non-system drive
ลักษณะของปัญหาดังกล่าวคือเมื่อใช้คำสั่งข้างต้นจะทำให้โพรเซส chkdsk.exe เขมือบหน่วยความจำของระบบไปกว่า 90% ซึ่งอาจจะทำให้ระบบค้างไม่ตอบสนองการใช้งาน
อย่างไรก็ดีปัญหานี้คงไม่เกิดกับผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปที่มิได้ใช้คำสั่งนี้ แต่น่าจะเป็นปัญหากับบรรดาฝ่ายไอทีซะมากกว่า(ข่าวร้ายยิ่งไปกว่านั้นคือ Windows Server 2008 R2 ก็มีปัญหานี้เช่นกัน)
ใช้คำสั่ง CHKDSK /R บน non-system drive
วานนี้ตามเวลาสหรัฐฯ (22 ก.ค.) นอกจากไมโครซอฟท์จะเสร็จสิ้นกระบวนการพัฒนาวินโดวส์ 7 และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 อย่างเป็นทางการแล้ว (ดูข่าวเก่า) ก็ได้เปิดเผยกำหนดการปล่อยวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2008 R2 ผ่าน Windows Server Division WebLog ให้กับลูกค้าแต่ละกลุ่มแล้ว สรุปได้ดังนี้
วานนี้ตามเวลาสหรัฐฯ (22 ก.ค.) ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญของไมโครซอฟท์ เพราะมีถึง 2 เหตุการณ์ด้วยกัน