สงครามภายในของโลก WordPress ยังดำเนินต่อไป เริ่มจาก Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress วิจารณ์ WP Engine ว่าเป็นมะเร็งร้าย แล้ว ฝั่งของ WP Engine ตอบโต้ว่าโดนบริษัท Automattic ของ Matt เรียกเงินเป็นมูลค่าหลายสิบล้านดอลลาร์ต่อปี และจะดำเนินการทางกฎหมายกับฝั่ง Matt/WordPress.org
ล่าสุด Matt ออกมาซัดต่อผ่านบล็อกบน WordPress.org ว่าเนื่องจาก WP Engine จะดำเนินการทางกฎหมายกับ WordPress.org ดังนั้น ลูกค้าของ WP Engine ก็ไม่ควรเข้ามาใช้ทรัพยากรฟรีของ WordPress.org ได้อีก เช่น กระดานถามตอบปัญหา ถ้าอยากแก้ปัญหาก็ติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตของ WP Engine กันเอง
WP Engine ตอบโต้ Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress ที่เพิ่งออกมาโจมตี WP Engine ว่าเป็นมะเร็งของโลก WordPress โดยใช้แนวทางส่งหนังสือขอให้หยุดการกระทำ (cease and desist) และให้ Mullenweg ออกมาถอนคำพูดตัวเองเสีย
WP Engine ระบุว่า Mark Davies ซีเอฟโอของ Automattic ขู่ก่อน Mullenweg ขึ้นพูดในงาน WordCamp โดยเรียกร้องให้ WP Engine ต้องจ่ายเงินเข้า Automattic ระดับสิบล้านดอลลาร์ต่อปี โดยระบุว่าเป็นค่าไลเซนส์เครื่องหมายการค้า WordPress
นอกจากการขู่ก่อนวันงาน WordCamp ตัว Mullenweg ยังส่งข้อความมาต่อเนื่องจนถึงหน้าเวที ให้ WP Engine ตกลงจ่ายค่าไลเซนส์
Matt Mullenweg ผู้ก่อตั้ง WordPress ออกมาเปิดศึกกับ WP Engine บริษัทโฮสติ้ง WordPress (ที่เป็นคู่แข่งกับบริษัท Automattic ของเขาเองซึ่งให้บริการ wordpress.com) โดยประกาศชัดเจนว่า "WP Engine is not WordPress"
Matt พูดเรื่องนี้ในงานสัมมนา WordCamp และมาเขียนบล็อกขยายความบน wordpress.org ซ้ำอีก ว่า WP Engine ทำเงินจากค่าโฮสติ้ง WordPress ไปหลายร้อยล้านดอลลาร์ แต่แทบไม่ส่งโค้ดกลับมายัง WordPress เลย อีกทั้งระบบของ WP Engine เป็น WordPress เวอร์ชันปรับแต่งให้มีความสามารถน้อยลงอย่างตั้งใจ เช่น ตัดฟีเจอร์ revision ของบทความทิ้งไป เพื่อลดปริมาณข้อมูลที่ต้องเก็บบนเซิร์ฟเวอร์
Tumblr แพลตฟอร์มบล็อกยุคเว็บ 2.0 ขายกิจการให้ Yahoo! ในปี 2013 จากนั้นก็เปลี่ยนมือเจ้าของมาเป็น Verizon และขายต่อให้ Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com ในปี 2019
เวลาผ่านมา 5 ปี Automattic ปรับเปลี่ยนหลายอย่างใน Tumblr ทั้งฟีเจอร์และโครงสร้างองค์กร ล่าสุดบริษัทประกาศแผนการเปลี่ยนระบบเอนจิน backend เบื้องหลังของ Tumblr มาเป็น WordPress โดยไม่เปลี่ยนแปลงฟีเจอร์และ UI ใดๆ เรียกได้ว่าถ้าไม่ประกาศต่อสาธารณะ จะไม่มีทางทราบได้ว่าเปลี่ยน backend แล้ว
สำหรับคนที่ทำเว็บไซต์ส่วนตัวอยู่แล้วก็ย่อมรู้จักหรือมักคุ้นกับ CMS กันอยู่แล้ว แต่หากสำหรับใครที่ยังไม่มีเว็บไซต์ แล้วอยากจะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาก็ต้องมาทำความรู้จักกับ CMS ให้เข้าใจกันก่อน เพื่อที่จะได้สร้างเว็บไซต์ให้ออกมาปัง ทำเป็นแหล่งรายได้เสริมอีกเส้นทาง หรือจะเก็บไว้เป็นพอร์ตเพื่อไปสมัครงานก็ทำได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วหากใครที่กำลังอยากสร้างเว็บไซต์ของตนเองนั้นก็มาทำความรู้จักกับ CMS หรือชื่อเต็มว่า Content Management System ว่าคืออะไร และมีความสำคัญยังไง เพื่อให้การสร้างเว็บไซต์นั้นประสบผลสำเร็จ
เว็บไซต์ คือสิ่งที่มีไว้สำหรับนำเสนอข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ที่สามารถหาได้บนอินเตอร์เน็ต โดยแต่ละเว็บไซต์นั้นก็มีข้อมูลและเนื้อหาที่แตกต่างกันไป สามารถเลือกเข้าชมได้ตามความต้องการ รวมไปถึงเรื่องราวเฉพาะกลุ่มที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองทุกคนได้อย่างครบถ้วน ซึ่งก็มีผู้คนมากมายที่ต้องการเปิดเว็บไซต์เพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมความสนใจของผู้คนในเรื่องเดียวกัน และเว็บไซต์ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยสร้างรายได้ ยิ่งมีผู้คนเข้ามาชมเว็บมากขึ้น การเติบโตของเว็บก็มีมากยิ่งขึ้น ทำให้มีโฆษณาเข้ามาสร้างรายได้ให้อีกทาง เพราะฉะนั้นใครที่อยากสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มอย่างไร มาดู 5 วิธีสร้างเว็บไซต์ ที่นำมาฝากกัน รับรองว่ามีเว็บไซต์ส่วนตัวอย่างแน่นอน
LiteSpeed Cache ปลั๊กอินยอดนิยมตัวหนึ่งของ WordPress สำหรับเพิ่มความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ ที่มีการติดตั้งมากกว่า 5 ล้านครั้ง ออกอัปเดตเวอร์ชัน 6.4.1 ระบุว่าแก้ไขช่องโหว่ระดับร้ายแรงที่ได้รับรายงาน จึงแนะนำให้ผู้ดูแลที่ลงปลั๊กอินนี้ทำการอัปเดตเวอร์ชันโดยเร็วที่สุด เพราะอาจเกิดการโจมตีช่องโหว่นี้ในวงกว้างได้
ช่องโหว่ดังกล่าวคือ CVE-2024-28000 ที่อาศัยฟีเจอร์จำลองผู้ใช้งานของ LiteSpeed Cache ที่กำหนดค่าแฮชไว้ระดับอ่อน จึงทำให้ผู้โจมตีสามารถสุ่มแฮชผ่านช่องทางนี้ และสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งานระดับแอดมินได้
Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com เปิดตัวเครื่องมือ Write Brief with AI เป็นการนำ AI มาช่วยปรับสำนวนการเขียนบล็อกของเราให้สั้นกระชับมากขึ้น
รูปแบบการใช้งานคือใช้ AI ให้อ่านเนื้อหาที่เราเขียน แล้วให้คะแนน "ความอ่านง่าย" พร้อมแนะนำจุดที่ควรปรับปรุง เช่น การเลือกใช้คำที่ซับซ้อนเกินไป การแต่งประโยคที่ยาวเกินไป หรือการเลือกใช้คำที่ไม่มีความหมายชัดเจน แสดงถึงความไม่มั่นใจของผู้เขียน (เช่น may / could / might / possibly) เราสามารถเลือกประโยคที่ขีดเส้นใต้เพื่อให้ AI ช่วยแนะนำได้ว่าควรแก้อย่างไร
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.6 โค้ดเนม Dorsey ตั้งตามชื่อนักดนตรี Tommy Dorsey ของวง American Big Band
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้มี 2 อย่างที่สำคัญ อย่างแรกคือระบบอัพเดตปลั๊กอินอัตโนมัติ ที่รองรับการ rollback เวอร์ชันเดิมให้หากอัพเดตแล้วพบปัญหา ช่วยอำนวยความสะดวกในการอัพเดตปลั๊กอินแบบสงบสุข
ของใหม่อย่างที่สองเป็นการรองรับชุดสีและฟอนต์หลายๆ แบบในธีมตัวเดียว ช่วยให้เว็บไซต์มีสไตล์สม่ำเสมอมากขึ้น (ภายใต้เว็บเดียวกัน)
ฟีเจอร์เล็กอื่นๆ ได้แก่ ปรับปรุงประสิทธิภาพหลายจุด เทมเพลตในหน้า editor โหลดเร็วขึ้นเฉลี่ย 35%, ปรับปรุงงานด้าน accessibility อีกหลายจุด
ที่มา - WordPress
WordPress ออกอัปเดตย่อยเวอร์ชัน 6.5.2 ซึ่งเป็นการแก้ไขด้านความปลอดภัย ถัดจากเวอร์ชันหลัก 6.5 Regina ที่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยข้ามเลขรุ่น 6.5.1 เนื่องจากมีปัญหาแพ็คเกจ
ในอัปเดต WordPress 6.5.2 นี้ได้แก้ช่องโหว่ XSS ที่สามารถยิงสคริปต์เพื่อโจมตีเว็บไซต์ได้ WordPress จึงแนะนำให้ผู้ใช้งานอัปเดตโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ WordPress มีกำหนดออกอัปเดตเวอร์ชันถัดไป 6.6 ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2024
ที่มา: WordPress
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.5 โค้ดเนม “Regina” มีของใหม่ดังนี้
ที่มา - WordPress
Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com และ Tumblr เปิดเผยว่าบริษัทกำลังเจรจาเพื่อขายคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม ให้กับบริษัทที่พัฒนา AI นำไปใช้เทรนข้อมูล ซึ่งในขณะเดียวกัน Automattic ก็ชี้แจงกระบวนการนี้ต่อผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน
โดยทั้ง WordPress.com และ Tumblr ได้ประกาศแจ้งผู้ใช้งานถึงการปิดการทำงาน เพื่อไม่ให้คอนเทนต์ถูกนำไปเทรน AI มีประเด็นสำคัญคือ โดยค่าเริ่มต้นนั้นแพลตฟอร์มพยายามป้องกันไม่ให้มี AI มาดูดเนื้อหาออกไปอยู่แล้ว ส่วนประเด็นที่ Automattic เจรจาขายเนื้อหาโดยตรงกับบริษัท AI นั้น ผู้ใช้งานสามารถตั้งปิดไม่ให้เนื้อหาที่เป็นสาธารณะถูกนำไปเทรน AI ได้ (opt-out) ซึ่งมีส่วนการตั้งค่านี้ทั้งใน WordPress.com และ Tumblr
WordPress.com เปิดใช้งานฟีเจอร์ ActivityPub ตามปลั๊กอินที่เปิดตัวเวอร์ชัน 1.0 ไปก่อนหน้านี้ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์ที่โฮสต์บน WordPress.com จำนวน 13.3 ล้านราย สามารถใช้โดเมนเว็บไซต์ตัวเองเป็นโปรไฟล์โซเชียลในระบบ fediverse (เช่น Mastodon) ได้ทันที โดยไม่ต้องตั้งเซิร์ฟเวอร์เอง
วิธีการใช้งานต้องไปเปิดใน Settings > Discussion > Fediverse ก่อน ซึ่งเราจะได้บัญชีชื่อ name.wordpress.com@name.wordpress.com มาใช้งาน หากเรามีโดเมนเนมของตัวเอง (custom domain) ก็สามารถนำมาเป็นโพรไฟล์ที่สั้นและจดจำง่ายขึ้นได้
WordPress ประกาศออกปลั๊กอิน ActivityPub 1.0.0 ซึ่งทำให้บล็อกของ WordPress สามารถถูกติดตามได้จากแอปอื่นที่อยู่ใน Fediverse เช่น Mastodon
ก่อนหน้านี้ WordPress ได้ซื้อปลั๊กอิน ActivityPub for WordPress เข้ามา รวมทั้งทีมนักพัฒนา ซึ่งปลั๊กอินนี้ได้รับการปรับปรุงฟีเจอร์หลายอย่าง ทั้งการติดตามแบบทั้งบล็อกจากเดิมต้องเลือก Author ด้วย, เพิ่มบล็อกส่วนให้กดติดตาม, แก้ไขบั๊ก ปรับปรุงความปลอดภัย และรองรับการทำงานร่วมกับ WordPress 6.3
ในตอนนี้ ActivityPub 1.0.0 รองรับเฉพาะเว็บไซต์ที่โฮสต์ WordPress เอง ส่วนบน WordPress.com จะรองรับเร็ว ๆ นี้
WordPress.com ผู้ให้บริการโฮสติ้งบล็อก ประกาศแผนใช้งานแบบใหม่สำหรับคนที่ต้องการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลไว้ยาวนาน โดยไม่ต้องมาคอยต่ออายุเป็นระยะ สามารถส่งต่อให้กับคนในครอบครัวได้ ตลอดจนเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการปกป้องทรัพย์สินออนไลน์ไว้
แผนสมัครใช้งานนี้ชื่อว่า 100-Year Plan ซึ่งให้บริการตามชื่อ นั่นคือ ได้เป็นเจ้าของโดเมนเนมนั้นเป็นระยะเวลา 100 ปี ส่วนบริการอื่นที่ได้มาเช่นกันคือ มีแบ็คอัพเว็บไซต์กระจายไปยังศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ หลายแห่ง, เป็นลูกค้าโฮสติ้งเทียร์บนสุดของ WordPress, ใช้งานทราฟิกได้ไม่จำกัด และซัพพอร์ตตลอด 24/7
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.3 โค้ดเนม Lionel ตั้งชื่อตามนักดนตรีแจ๊ซ Lionel Hampton ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้ได้แก่
All-In-One Security (AIOS) ปลั๊กอินด้านความปลอดภัยของ WordPress ออกอัพเดตเวอร์ชันล่าสุด 5.2.0 ระบุว่าแก้ไขบั๊กสำคัญในเวอร์ชันก่อนหน้า 5.1.9 โดยพบว่ามีการเก็บ log ในฐานข้อมูล เมื่อมีคนล็อกอินเข้าเว็บไซต์ ส่วนของรหัสผ่านเป็น plaintext ซึ่งผู้ใช้งานสิทธิระดับ Admin เท่านั้นที่เข้าถึง log นี้ได้ แต่ถือเป็นความเสี่ยงสูงด้านความปลอดภัย
Log Table ของฐานข้อมูล ที่เก็บรายละเอียดนี้คือ aiowps_audit_log ซึ่งเก็บข้อมูลกิจกรรมการล็อกอิน-ล็อกเอาท์ รวมทั้งการล็อกอินทีไม่สำเร็จ แต่เวอร์ชัน 5.1.9 พบว่าบันทึกข้อมูลรหัสผ่านที่กรอกเข้ามาด้วย
WordPress ประกาศเครื่องมือส่วนเสริมตัวใหม่ Jetpack AI Assistant ที่จะเพิ่มความสามารถให้กับเว็บไซต์ WordPress มากยิ่งขึ้น โดยเปิดให้ใช้งานแล้วทั้งบน WordPress.com และเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือของ Jetpack
Automattic บริษัทแม่ของ WordPress.com อธิบายว่าเครื่องมือ Jetpack AI Assistant นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของตัว Editor ใน WordPress ที่นำ AI มาช่วยทุ่นเวลาในการสร้างสรรค์เนื้อหาตามคำสั่ง เช่น ป้อน prompt ให้เขียนลิสต์สถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องไปในโตเกียว พร้อมเขียนตารางอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ก็จะได้เนื้อหาออกมาตามคำสั่งทันที
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2003 เป็นวันแรกที่ Matt Mullenweg นักพัฒนาผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ WordPress ประกาศปล่อยโค้ดแรกของโครงการ โดยยังไม่มีหมายเลขเวอร์ชั่น นับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ CMS ที่ทุกวันนี้ให้บริการเว็บเกือบครึ่งอินเทอร์เน็ต
WordPress.com บริการโฮสต์เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ของบริษัท Automattic ประกาศหยุดรองรับฟีเจอร์แชร์โพสต์ลง Twitter โดยอัตโนมัติ (Twitter Auto-Sharing) หลังโดนบริษัท Twitter ปิดการเข้าถึง API รุ่นเก่า ตามนโยบาย API เวอร์ชันใหม่ที่คิดเงินแพงกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั้งเว็บที่ฝากโฮสต์ไว้บน WordPress.com และเว็บโฮสต์เองที่ติดตั้งปลั๊กอิน Jetpack Social ของ Automattic ด้วย เริ่มมีผลวันนี้ 1 พฤษภาคม
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.2 โค้ดเนม Dolphy ตามชื่อนักดนตรีแจ๊ส Eric Allan Dolphy Jr. ถือเป็นเวอร์ชันใหญ่ตัวแรกของปี 2023
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือ ตัวแก้ไขธีมและเลย์เอาท์ Site Editor ที่ยกเครื่องใหม่ มีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง เช่น จัดการเมนูในบล็อคได้ดีขึ้น, จัดหมวดหมู่การตั้งค่าของบล็อคให้เป็นระเบียบขึ้น, รองรับการแทรกภาพจากคลังภาพ Openverse ที่ไม่มีปัญหาเรื่องไลเซนส์, ระบบ Style Book จัดการสไตล์ของบล็อคทั้งหมด, Copy & Paste สไตล์ได้, แทรก Custom CSS ได้เองแล้ว
WooCommerce ปลั๊กอินสำหรับสร้างเว็บอีคอมเมิร์ชยอดนิยมบน WordPress ที่มีผู้ใช้กว่า 500,000 เว็บ มีช่องโหว่ร้ายแรงสูง เปิดทางให้คนร้ายสามารถล็อกอินเป็นผู้ดูแลระบบได้โดยไม่ต้องมีบัญชีในระบบมาก่อน
ช่องโหว่อยู่ใน WooCommerce Payments โดยกระทบตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.8.0 เป็นต้นมา ทางฝั่ง Automattic ผู้ให้บริการ WordPress.com และผู้พัฒนา WooCommerce เอง ก็เริ่มบังคับอัพเดตเว็บต่างๆ ที่ติดตั้งปลั๊กอินตัวนี้ ส่วนผู้ใช้ WordPress ที่เปิดระบบอัพเดตไว้ก็ควรเริ่มได้แพตช์มาติดตั้ง
เนื่องจากคนร้ายไม่ต้องมีบัญชีใดๆ ในระบบมาก่อน คาดว่าหลังจากนี้ไม่นาน คนร้ายจะเริ่มโจมตีเว็บเป็นวงกว้าง หากใครพบข้อสงสัยว่าโดนโจมตีแล้วควรเปลี่ยนรหัสผ่าน และกุญแจต่างๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูลทั้งหมด
Matt Mullenweg ซีอีโอ Automattic เจ้าของ WordPress.com และ Tumblr เปิดเผยว่าบริษัทได้ซื้อปลั๊กอิน ActivityPub for WordPress เข้ามาเป็นที่เรียบร้อย พร้อมรับทีมนักพัฒนาปลั๊กอินดังกล่าว มาเป็นส่วนหนึ่งของ Automattic
ActivityPub for WordPress เป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้พัฒนาเว็บบน Wordpress สามารถเผยแพร่เนื้อหาใน Fediverse ผ่านโปรโตคอล ActivityPub ได้ ซึ่งปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่รองรับเช่น Mastodon, Pleroma รวมไปถึง Tumblr ซึ่งก่อนหน้านี้ประกาศจะเพิ่มการรองรับด้วยเช่นกัน
ทีมงาน Performance Lab ของ Wordpress เริ่มปล่อยปลั๊กอินสำหรับการย้ายฐานข้อมูลจาก MySQL ไปยัง SQLite หลังจากเสนอฟีเจอร์นี้ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมาและได้รับเสียงสนับสนุนค่อนข้างมาก
การทดสอบฟีเจอร์นี้ต้องติดตั้งปลั๊กอิน Performance Lab เวอร์ชั่น 1.8 ขึ้นไป และเปิดใช้งาน SQLite จากในเมนูอีกที เมื่อเปิดใช้งาน ตัวปลั๊กอินจะคอนฟิกระบบให้ไปใช้ SQLite โดยอัตโนมัติ แต่ข้อมูลเช่น โพสต่างๆ หรือรายชื่อผู้ใช้จะไม่ถูกย้ายไปด้วย โดยทีมงานระบุว่าหากฟีเจอร์นี้ได้รวมเข้าไปใน Wordpress จริงก็จะเป็นฟีเจอร์ที่ผู้ใช้ต้องเลือกฐานข้อมูลแต่แรก แต่อาจจะมีปลั๊กอินแยกช่วยย้ายข้อมูลอีกทีหนึ่ง
WordPress ออกเวอร์ชัน 6.1 โค้ดเนม Misha ตั้งชื่อตามนักเปียโนชาวรัสเซีย Mikhail “Misha” Alperin ตัวอย่างของใหม่ในเวอร์ชันนี้ได้แก่