Microsoft ได้ออกมาประกาศว่ามีระบบป้องกันการลง Windows Vista แบบไม่ได้ Activate ใหม่ โดยที่ถ้าไม่มีการ Activate ภายใน 30 วันนั้น จะมีการจำกัดให้เล่นได้เพียง 1 ชั่วโมง แล้วก็ปิดเครื่องไปเลย หรือให้ Register ผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เท่านั้น
ดูซิว่า cracker จะหาวิธีสู้แบบใหม่ได้หรือไม่
ที่มา - CNET News
รายงานจาก Wired.com ได้บอกว่า Zune เครื่องเล่น MP3 ตัวใหม่ที่ Microsoft เจ้าของได้ออกมาคุยไว้เยอะว่าคราวนี้ปราบ iPod ได้แน่น่าจะแค่สร้างผลกระทบเล็กน้อยให้แก่ iPod
สื่อหลาย ๆ สื่อก็ได้รายงานว่า Zune เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวก็เพราะว่าราคาที่พอ ๆ กัน แถมหน้าจอขนาดใหญ่ 3 นิ้วที่เหมาะกับการดูหนัง Widescreen รวมไปถึงการแชร์เพลงผ่าน Wi-Fi และบริการจาก Zune Marketplace ที่ขายเพลงในราคาเดียวกันกับ iTunes Store ที่ราคา 99 เซนต์และยังมีบริการเพลงรายเดือนเพียงแค่เดือนละ $15 ไม่จำกัดจำนวนเพลงอีกด้วย
สาเหตุที่ Zune ไม่สามารถจะโค่น iPod ได้ก็เพราะ
โครงการ Defective by Design ประกาศให้เมื่อวานที่ผ่านมาเป็นวันต่อต้าน DRM สากล ด้วยการหาแนวร่วมให้กระจายความรู้ว่าการใช้ DRM นั้นมีข้อเสียอย่างไรบ้าง โดยผู้ที่เข้าร่วมจะใส่ชุดกันเชื้อโรคเพื่อเผยแพร่ความรู้นี้ไปทั่วโลก
โครงการ Defective by Design นี้ก่อตั้งโดย Free Software Foundation ที่รู้กันว่าริชาร์ด สตอลแมนนั้นเกลียด DRM อย่างมาก ถึงกับใส่ส่วนที่ทำให้ GPLv3 ไม่เข้ากับการใช้ DRM อย่างเต็มรูปแบบ
เรื่องแปลกๆ เรื่องหนึ่งคือคำขวัญของโครงการนี้ เป็นคำพูดของ Peter Lee ผู้บริหารดิสนีย์ ที่ระบุว่า
"If consumers even know there's a DRM, what it is, and how it works, we've already failed" - Peter Lee.
ทุกวันนี้หลายๆ คนอาจจะริปดีวีดีไว้ดูในเครื่องกันเป็นเรื่องปรกติ ทั้งที่แผ่นดีวีดีนั้นมีมาตรฐานการเข้ารหัสที่ค่อนข้างแน่นหนา เรื่องนี้สำเร็จได้เพราะชาวนอร์เวย์ที่ชื่อว่า Jon Lech Johnasen หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า DVD Jon ในเวลานั้นเขาถูกฟ้องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างหนัก แต่สุดท้ายก็หลุดจากข้อกล่าวหานั้นมาได้
ในตอนนี้ DVD Jon ก็กลับมาอีกครั้ง ด้วยการแกะมาตรฐาน FairPlay ของแอปเปิล แต่ในครั้งนี้เขาไม่ได้แกะมาตรฐานนี้เพื่อที่จะถอดระบบป้องกันการทำสำเนานี้แต่อย่างใด แต่เป็นการแกะมาตรฐานเพื่อขายให้บริษัทที่ต้องการขายบริษัทที่ต้องการให้เพลง หรือภาพยนตร์ของตนสามารถใช้งานบนไอพ็อดได้โดยไม่ต้องผ่านทางแอปเปิลอีกต่อไป
ปัญหาสิทธิบัตรไฟล์ GIF นั้นเป็นปัญหาเรื้อรังกันมานาน เนื้องจากตัวฟอร์แมตและอัลกอลืธึ่มนั้นติดสิทธิบัตรจากทางบริษัท Unisys และ IBM ก่อนหน้านี้ทาง Unisys เคยพยายามเรียกเก็บเงินจากนักพัฒนาโปรแกรมที่ใช้อัลกอลิธึ่มในไฟล์ GIF มาแล้ว แต่สิทธิบัตรของทาง Unisys นั้นก็สิ้นสุดลงเมื่อสองปีก่อน
แต่ด้วยเหตุผลบางประการไอบีเอ็มนั้นได้รับสิทธิบัตรในอัลกอลิธึ่มเดียวกันในภายหลัง แม้ไอบีเอ็มจะไม่มีการแสดงท่าทีว่าจะพยายามเรียกเก็บเงินจากนักพัฒนาเช่น Unisys แต่การมีสิทธิบัตรในฟอร์แมตทำให้โลกฝั่งโอเพนซอร์สจำนวนมากไม่ยอมรับไฟล์ GIF ไป แต่นับจากวันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะเป็นวันสิ้นสุดของการเรียกร้องให้ลดการใช้ไฟล์ GIF อย่างแท้จริง เนื่องจากสิทธิบัตรทั้งหมดจะหมดอายุลง
หลังจากที่เมื่อเช้ากูเกิลก็ประกาศเปิดตัว Google Reader โฉมใหม่ แม้อาจจะไม่สามารถเรียกเป็นเวอร์ชั่น 2.0 ได้ เพราะตัวแรกของกูเกิลนั้นอินเทอร์เฟชแย่มากจนใช้งานจริงแทบไม่ได้ แต่การกลับมาครั้งนี้ อาจจะเป็นการแสดงความสามารถของกูเกิลอีกครั้งในการดึงผู้ใช้จากบริการคู่แข่ง เช่น Bloglines เช่นเดียวกับที่ Gmail ได้ดึงผู้ใช้จาก Yahoo!
เริ่มมีความรู้สึก "ชัง" ตัวเองขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อมีรุ่นพี่คนหนึ่งมาถามว่า "เคยดูหนังเรื่อง คอนแทกยัง" รู้สึกเซงๆทันที่....ความจริงคือว่า ยังไม่ได้ดู นับจากวันที่คอนแทกเริ่มฉายก็ประมาณปี 1997 ตอนนี้ก็ปาเข้าไปปี 2006 ... 10 ปีแล้ว เมื่อ 11 ปีที่แล้ว เรากะลังทำอะไรอยู่นะ...??? (ที่แน่ๆ คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่รู้จักหรอกมั่ง เหอๆๆ เด็กบ้านนอก)
ดูไปแล้วเริ่มเข้าใจว่าสองสตีฟนี่ต่างกันจริงๆ สงสัยต้องไปหา iWoz มาอ่านมั่ง แต่ท่าจะอ่านภาษาอังกฤษดีกว่า เจอ The Google Story กับ iCon เข้าไปแล้ว เซ็งคุณภาพการแปล ลาขาดเลย..
ช่วงนี้ฝนตกทั่วประเทศ รักษาสุขภาพกันด้วยนะ
เคยมีคนถามไปยังโครงการ OCW ของ MIT ว่าทำไมไม่เปิดให้ดาวน์โหลดวีดีโอเยอะๆ เพราะค่อนข้างมีประโยชน์ ทาง MIT ระบุว่าเป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการอัพโหลดวีดีโอขึ้นเว็บนั้นแพงมาก
Berkeley ใช้ Google Video แทนน่าจะลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้เยอะ ส่วนกูเกิลเองนั้นก็คอนเทนต์เจ๋งๆ ไปเพียบ...
เบื่อกับนโยบายของ THNIC จะมีสักกี่หน่วยงานที่ขอจดโดเมนเนมเป็น xx.th อะไรมันจะวุ่นวายขนาดนัก ในเงื่อนไขข้อตกลงที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ก็ไม่ยักจะมีบอกว่า ชื่อโดเมน จะต้องสอดคล้องต้องกันกับ ชื่อหน่วยงาน ผมนะเห็นใจคนทำงาน แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการที่เอานโยบายมาบังคับแบบตัวอักษร ต่อตัวอักษรอย่างงี้
แหะๆ พึ่งเห็นก็วันนี้แหละ ไม่รู้ว่ามีมานานหรือยัง เลยขอลองใช้ซักหน่อย แต่คงไม่ได้ใช้อย่างเป็นทางการหละคร๊าบ (ก็มีบล๊อกส่วนตัวอยู่แล้วนี่นา) แต่ว่ารู้สึกบล๊อกจะเีรียบๆ แฮะ ไม่ค่อยมีอะไร และก็สงสัยจังพอโพสท์แล้วจะไปอยู่ที่ไหนอ่ะ?? *-* รอดูตอน submit ละกัน
คำถามหนึ่งที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถตอบได้ตลอดมา คือข้อสงสัยที่ว่าไลเซนส์แบบโอเพนซอร์สนั้นมีสภาพบังคับใช้จริงเพียงใด เนื่องจากยังไม่เคยมีคดีที่กฏหมายบังคับใช้จริงเลย
แต่จากนี้ไป อย่างน้อยๆ ในประเทศเยอรมนี ไลเซนส์แบบ GPL ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลบังคับใช้จริง เมื่อแฮกเกอร์คนหนึ่งชื่อ Harald Welte ได้ติดตามการละเมิด GPL แล้วพบว่าทางบริษัท D-Link นั้นได้ละเมิดไลเซนส์แบบ GPL เป็นจำนวนหลายรายการ
การละเมิด GPL ของ D-Link นั้นเกิดจากการที่ทาง D-Link นั้นไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นเป็นซอฟต์แวร์ GPL อีกทั้งไม่ได้ให้หนทางเข้าถึงซอร์สโค้ดไว้อย่างชัดเจน
โจทย์คณิตศาสตร์เจ็ดข้อที่มีการตั้งรางวัลให้กับผู้ที่สามารถแก้ปัญหาได้เป็นคนแรก รางวัลทั้งหมดมาจาก Clay Mathematics Institute (CMI) ก่อตั้งโดยนักธุรกิจ London T. Clay และนักคณิตศาสตร์ Arthur Jaffe
โจทย์ทั้ง 7 ข้อที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลต่อวงการคณิตศาสตร์สูงและมีการตั้งรางวัลได้แก่
ข้อที่น่าสนใจที่สุดสำหรับวงการคอมพิวเตอร์อาจจะเป็น P versus NP ที่ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในเจ็ดข้อนี้อีกด้วย
หลังจากพยายามเหนี่ยวนำให้สมาิชิกโพสบทความเป็นครั้งแรกในฟอรั่มก่อนที่จะขึ้ันหน้าแรก ผมพบว่าความพยายามนั้นค่อนข้างจะไม่ได้ผล อาจจะเป็นเพราะความไม่สะดวกอะไรหลายๆ อย่าง
อีกเรื่องหนี่งคือ Blognone ยังมีความเป็นผมกับมาร์คมากจนเกินไป ตรงนี้ยังขัดใจผมตลอดมาเพราะผมเองเชื่อว่า Blognone ควรเติบโตไปในทางที่มีร่วมมือกันเป็นปริมาณสูง ที่ผมเชื่อคือคนที่มาแบ่งปันกันใน Blognone ควรได้ผลตอบแทนในส่วนที่เขาทำตามสมควร ชื่อเสียงทั้งหมดไม่ควรตกมาอยู่กับคนดูแลเว็บเพียงเท่านั้น
โครงการ Blog@Blognone จะเป็นแนวทางใหม่ในการทำระบบ "หลังบ้าน" ของ Blognone ด้วยการเปิดโอกาสให้สมาิชิกจำนวนมาก เขียนเรื่องราวต่างๆ โดยมีกติิกาที่ "หลวม" กว่าหน้าบ้านมากๆ โดยไม่มีการ Moderate แต่อย่างใด
เราอาจจะกำลังได้เห็นการแตกแยกครั้งใหญ่ที่สุดของโลกโอเพนซอร์ส เมื่อกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ได้รวมตัวกันออกเอกสารแสดงจุดยืนของตนกับ GPLv3 ขึ้นมา โดยเอกสารนี้แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน
จุดสำคัญที่ทางกลุ่มนักพัฒนาลินุกซ์ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยนั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใน GPLv3 ทั้งหมด ตั้งแต่เรื่องของ DRM, เงื่อนไขความเข้ากันได้กับไลเซนส์แบบอื่นๆ ไปจนถึงเรื่องของสิทธิบัตร