การเข้ามาของ iBook เป็นเครื่องมือต่อรองชั้นดีให้กับสำนักพิมพ์ เพราะก่อนหน้านี้ตลาดอีบุ๊กแทบจะถูกครองโดยอเมซอนอย่างเบ็ดเสร็จ แต่ในตอนนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กำลังเข้าเตรียมจะฟ้องแอปเปิลและสำนักพิมพ์ว่าร่วมมือกันขึ้นราคาในตลาด
ก่อนหน้านี้อเมซอนก็มีนโยบายขายหนังสือในราคาไม่เกิน 9.99 ดอลลาร์เท่านั้นเพื่อจูงใจให้คนมาอ่านอีบุ๊ก แต่หลังจากแอปเปิลเปิดตัว iBook แอปเปิลก็เปิดให้สำนักพิมพ์ตั้งราคาหนังสือได้เอง แต่ขณะเดียวกันก็เซ็นสัญญาว่าสำนักพิมพ์จะไม่ขายหนังสือที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าที่ขายใน iBook สัญญาเช่นนี้ทำให้หนังสือที่ขายผ่านแอปเปิลมีราคาถูกที่สุดเสมอ แต่แอปเปิลยืนยันว่าบริษัทไม่ได้พยายามลดการแข่งขันแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการที่แอปเปิลเข้ามาในตลาดนี้เป็นการเพิ่มการแข่งขันให้กับตลาด
แอปเปิลและสำนักพิมพ์มีทางเลือกที่จะตกลงกับกระทรวงยุติธรรมก่อนที่คดีจะไปถึงศาล หากตกลงกันได้สำนักพิมพ์น่าจะถอนข้อตกลงเรื่องราคาไป และเปิดทางให้ผู้ขายอีบุ๊กรายอื่นๆ สามารถทำราคาได้อย่างอิสระ
ตลาดอีบุ๊กมีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2011 นั้นมีมูลค่า 970 ล้านดอลลาร์แล้ว
ที่มา - Wall Street Journal
Comments
หนังสือเป็นเล่มๆ น่าจะบวกต้นทุนค่ากระดาษเข้าไปอีกนะ
ไม่รู้ว่าสัญญานี้ครอบคลุมเฉพาะอีบุ๊คหรือเปล่า
ดูแล้วแอบ evil นิดๆ
สนพ.ก็อยากขายได้มากขึ้น เลยต้องมาขายผ่าน iBook ด้วย แต่โดนเงื่อนไขนี้ค้ำคออยู่ เหมือนจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนะ
ผมยังรักหนังสือเป็นเล่มๆ อยู่ ราคามันแพงกว่า ebook ไม่เท่าไหร่เลย
อะไรหลายๆอย่างที่ ebook ไม่มี แบบหนังสือเล่มๆ
อรไรหลายๆอย่างเช่นกัน ที่หนังสือเล่มๆ ไม่มีใน ebook
กระทรวงยุติธรรม สหรัส ตั้งใจจะหาเงินรึเปล่า ถ้าถอนฟ้องได้แบบนี้
ดีกว่ากระทรวงยุติธรรมไทยล่ะมั้งผมว่า อย่างน้อยก็ยังทำงาน
กระทรวงยุติธรรมก็ทำงานนะครับ ยังเห็นไปเป็นผู้อำนวยการ ศปภ อยู่เลย ไปละ ฟิ้วววว..
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
"การตกลงกับกระทรวงยุติธรรม" ไม่ได้หมายถึงเอาเงินไปให้กระทรวงฯ แล้วเรื่องจบครับ
การตกลงกันหมายถึงข้อตกลงที่แอปเปิลตั้งขึ้นมาใช้กับสำนักพิมพ์จะต้องถูกถอนออกไป เพราะกระทรวงฯ มองว่ามันเป็นการผูกขาดการค้าในรูปแบบนึงครับ
อย่าเอาสิ่งที่เคยรู้มาจากประเทศแถวๆ นี้ไปเปรียบเทียบครับ :D
แล้ว ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วละครับ เจ๊ากันไปเหรอ
หลายๆ เคสที่ผ่านมา เอกชนต้องจ่ายเงินให้ กท.ยุติธรรมสหรัฐ ทั้งนั้น
เพราะว่าเดิมทีสิ่งที่เค้ากำหนดห้ามมันก็ไม่ได้เป็นความผิดในตัวเองอยู่แล้วครับคนจะค้าขายถ้าไม่มีกฏหมายห้ามย่อมทำได้ทุกอย่างอยู่แล้วและข้อกฏหมายในเรื่องนี้มันไม่ใข่อะไรที่ระบุชัดเจนเป็นตัวเลขที่จะคำนวนได้แน่นอน แต่มันมีเรื่องความเหมาะสมหรือลักษณะของการกระทำเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วยทำให้เอกชนอย่างเราๆไม่สามารถรู้ได้เองว่าอะไรที่ข้ามเส้นนั้นไปจนเป็นความผิด
อีกเหตุนึงก็คือคือสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่เหตุผลทางศีลธรรมที่บอกได้โดยคนทั่วไปว่าใครผิดใครถูกแน่นอน แต่มันเป็นเหตุผลทางเทคนิคที่มนุษย์เข้าไปวางแผนขีดเส้นกันเอาเองเพื่อให้สามารถเข้าไปควบคุมดูแลได้อย่างเหมาะสมซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่หลักเกณท์ที่สมบูรณ์แบบมันต้องปรับแก้กันไปให้เหมาะสมแก่ยุคสมัย
เพราะฉะนั้นถ้าเรายังจะให้รับผิดโดยเด็ดขาดกับหลักเกณท์ที่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนและยังอาจมีช่องว่างแบบนี้มันก็จะรุนแรงจนเกินไปครับ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
ไม่เสมอไปครับ ที่จ่ายมักเป็น "ค่าปรับ" (fine) ซึ่งกำหนดไว้ในกฏหมาย ส่วนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจะต้องจ่ายคืนผู้เสียหายโดยตรงครับ
กรณีที่เคยเกิดขึ้นเช่น Sony เคยใส่ Rootkit ในแผ่นซีดีเพลง กระทรวงยุติธรรม (หรือหน่วยงานอื่น ผมไม่แน่ใจนัก) ออกมาฟ้องให้ ค่าปรับก็เสียกันไป ส่วนค่าเสียหายก็ฟ้องร้องหรือตกลงกันนอกศาล เมื่อตกลงได้ก็จ่ายคืนกับลูกค้าทุกคน ต้องตั้งโต๊ะให้ลูกค้าเอาซีดีมาคืนแล้วจ่ายค่าเสียหายกันรายคนจริงๆ
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าตั้งใจจะขายราคาเดียวกันทุกๆ ตลาด (ไม่เกิน 9.99) ก็ไม่น่ามีปัญหานะ แต่ถ้าตั้งใจขายเกิน 9.99 ก็ต้องไม่ขายที่ Amazon อืม ประเด็นมันอยู่ที่นี่นี่เอง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯทำงานว่องไวจริงๆ
ที่จริงน่าจะตรงกันข้ามนะ น่าจะไปฟ้อง amezon มากกว่าที่กำหนดราคาขายไว้ที่ 9.99 usd เท่านั้น
ข้อตกลงที่ว่า
Apple also stipulated that publishers couldn't let rival retailers sell the same book at a lower price
ไม่ได้บอกว่า Apple จะได้ราคาที่ต่ำสุดนะครับ มันอาจจะหมายถึงราคาเท่าๆ กับคู่แข่งก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ต้อง "ไม่แพงไปกว่า"
คำว่า "ต้องไม่แพงไปกว่า" เหมือนๆ กับ "ต้องไม่มีใครถูกกว่า" แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับ "เราต้องได้ราคาต่ำสุด"
แต่เดิมก่อนที่ ibooks จะเข้ามาทำตลาด amezon เป็นเจ้าตลาดเพียงผู้เดียว สามารถกำหนดราคาขายได้โดยเบ็ดเสร็จ อย่างนี้ไม่เรียกว่า evil?
การได้ราคาถูกแพงเป็นการต่อรองทางธุรกิจตามปรกติครับ ถ้า amazon ซื้อเยอะแล้วต่อรองได้ราคาถูกก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนถ้าราคาที่ amazon เสนอให้ไม่น่าพอใจสำนักพิมพ์ก็มีสิทธิ์ไม่ขายหนังสือเล่มนั้นๆ ให้ (ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้ว)
ข้อตกลงแบบแอปเปิลไม่ได้บังคับให้แอปเปิลต้องได้ถูกที่สุด "แต่ห้ามมีใครได้ถูกกว่า"
lewcpe.com, @wasonliw
ห้ามขายถูกกว่าที่ขายกับ Apple แปลว่า "เราต้องได้ราคาต่ำที่สุด" ถูกต้องแล้วครับ
การบอกว่าห้ามมีใครขายราคาถูกกว่าตนเอง
มันทำให้ Apple กลายเป็น Price leader ครับ คือ Apple อยากได้กำไรเยอะ ก็บอกราคาไว้แพงเท่าที่จะทำได้เลย
สนพ.และผู้ขายรายอื่นไม่สามารถทำอะไรต่อได้ เพราะสนพ.ทั้งหลายติดสัญญาว่า "ห้ามราคาถูกกว่าที่ให้ Apple"
มันทำลายสภาพการแข่งขันในตลาดไปครับ
ป.ล. อย่าเพิ่งจับปนกับเรื่อง Amazon ขายอยู่เจ้าเดียวนะครับ อันนั้นมันเป็นเพราะยังไม่มีใครที่กระโดดขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของ Amazon ได้เลยมันเลยดูเหมือน monopoly แต่จริงๆแล้วเมื่อมีคู่แข่ง Amazon ไม่สามารถกำหนดราคาได้เองคนเดียวแล้วครับ ต่างกับกรณีสัญญาที่ Apple บอกให้สนพ.ทำอยู่ครับ
อเมซอนไม่ได้ห้ามขายหนังสือเกินกว่า 9.99 เหรียญนี่ครับ เพียงแต่กรณ๊ทั่วไปคุณจะได้ส่วนแบ่ง 35% เท่านั้นเอง
แต่ถ้าอยากได้ส่วนแบ่ง 70% จะต้องทำตามเงื่อนไข ซึ่งเมื่อก่อนจะมีว่าราคาหนังสือต้องไม่ไม่เกิน 10 เหรียญ