ไมโครซอพท์เตรียมเพิ่มเวลาการสนับสนุน WindowsNT 4 ที่จะหมดในปลายปี 2004 นี้ต่อไป หลังจากสนับสนุนมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว แต่ต่อไปนี้อยากได้แพตช์ต้องจ่ายเงินแล้วล่ะ จาก OSNews
ZDNET ออสเตรเลีย มีบทความสุดโดนใจผมเลยครับ เค้าบอกว่า "อุปสรรคที่สำคัญที่จะสกัด Firefox คือความขี้เกียจเขียนโปรแกรม ไม่ใช่ความขี้เกียจของทีม Firefox หรอกนะ แต่เป็นความขี้เกียจของบริษัทที่จะเขียนเว็บให้ใช้ได้แค่ IE ต่างหาก" ใจความรวมๆ คือ ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเปลี่ยนมาใช้ Firefox ได้ทันที แต่ถ้าใช้ใน Intranet ของบริษัท อาจมีความเสี่ยงสูงที่ใช้ไม่ได้ เพราะในบริษัทไม่สนใจบราวเซอร์อื่นนอกจาก IE เลย ก็เป็นอุทาหรณ์สอนใจเว็บมาสเตอร์ชาวไทยทั้งหลายละกันครับ เขียนเว็บไม่ดี ลูกค้าอาจหายได้นะ (ผมเคยสมัคร eBank ของธนาคารไทยพาน
ผมจั่วหัวเวอร์ๆ ไปงั้นล่ะครับ เรื่องของเรื่องคือสำนักกฎหมาย Groklaw ที่ออกมายืนข้างฝั่งโอเพ่นซอร์สในคดี SCO อ้างสิทธิ์เจ้าของลินุกซ์ตั้งกะปีที่แล้ว เผอิญ Groklaw ไปขุดเจอเอาข้อตกลงระหว่าง Unix Systems Laboratories เจ้าของยูนิกซ์คนก่อน (ปัจจุบันเจ้าคำว่า UNIX คือ SCO แต่ Novell กำลังฟ้องว่าชื่อการค้าคำว่า UNIX ยังเป็นของ Novell อยู่ ประมาณว่า Novell เคยขาย UNIX ให้ SCO น่ะครับ) กับ University of California เมื่อปี 1994 (สิบปีแล้ว) ว่า "U of California สามารถนำโค้ดไปแจกจ่ายต่อได้โดยไม่ต้องคิดเงิน และไม่ต้องมีคำอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก USL" นั่นหมายความว
ซันออกมาประกาศ Common Development and Distribution License (CDDL) ซึ่งน่าจะเป็น license ที่ใช้ในโครงการโอเพ่นซอร์สโซลาริส 10 แล้วครับ ตัว license นี้ปรับปรุงมาจาก MPL 1.1 (Mozilla Public License) ที่ใช้ใน Mozilla และ Firefox ซึ่งนั่นเป็นการยืนยันได้ว่าซอร์สโค้ดของ Solaris จะต้องเปิดเผยและเป็น CDDL ต่อไป การเปลี่ยนแปลงนั้นมีไม่เยอะเท่าไร ตัวเอกสารเองก็สั้นอยู่แล้ว แต่เผอิญว่าผมไม่ใช่นักกฎหมายอ่านไม่ค่อยเข้าใจนัก ถ้าสนใจลองอ่านได้ที่นี่ CDDL ซันเองเตรียมความพร้อมมาดี มีทั้งสรุปการเปลี่ยนแปลง จุดแตกต่างกับ MPL และล่าสุดตอนนี้ CDDL ได้ส่งเข้าไปให้ Open So
จาก OSNews ครับ ใน OSDir ของเครือ Oreilly มีรายการฟีเจอร์ใหม่ของ KDE 3.4 ซึ่งจะเป็น 3.x ตัวสุดท้าย ก่อนเข้าสู่ยุคของ KDE4.0 ที่ใช้ Qt 4 ด้วย (KDE 3 อยู่กับเรามาหลายปีแล้ว) กำหนดออกคือเดือนมีนาคมปีหน้าครับ ดูแล้วก็คล้ายรุ่นเดิม คือไม่มีอะไรยิ่งใหญ่พิสดารเพิ่มเข้ามา แต่ก็เป็นการปรับปรุงส่วนเล็กส่วนน้อยมากมาย เช่น การรวมแพตช์จาก Safari มาใส่ใน Konqueror เพิ่มการสนับสนุน Groupware แบบต่างๆ ใน Kroupware และ
จะมีการออก tool ที่เป็น anti-spam "Make love not spam" เป็นโปรแกรม Screensaver ซึ่งเมื่อไหร่เจ้า screensaver ถูกใช้งาน โดยจะมีการส่งข้อความไปยัง siteที่ทำกิจการโดยการก่อความรำคาญให้กับชาวบ้าน ด้วยวิธีการโฆษณาด้วยการส่ง spam เป็น Application ที่น่าสนใจทีเดียว เป็นการให้บริษัทเหล่านั้นได้ทราบถึงการใช้วิธีนี้เป็นการสร้างความน่ารำคาญและปัญหาให้กับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ อ่านข่าวเพิ่มเติมที่นี่
Shawn Fanning คนคิดค้น Napster บอกว่าจะเปิดบริการ service ที่เป็น file-sharing อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้ชื่อว่า Snocap ซึ่งจะเปิดเป็นบริษัทภายใต้ชื่อดังกล่าวด้วย ถึงแม้ Shawn Fanning ยังไม่ได้เปิดเผยอะไรมากนักเกี่ยวกับ Snocap แต่ P2P service ดังกล่าวมีข่าวประมาณว่าค่ายเทปและศิลปินสามารถลงทะเบียนและสงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลต่างๆ และหลังจากนั้นก็สามารถจัดการกับระบบ online ผ่านการใช้ Snocap's management system ซึ่งจะมีการใช้เทคโนโลยี audio fingerprint
ช่วงนี้เริ่มมีข่าวคราวของ SkyOS เข้าบ้างแล้ว มีการเพิ่มเติม driver สำหรับ SkyOS ประกอบไปด้วย
ข่าวใหญ่แห่งปีครับ เมื่อมีข่าวลือออกมาว่าไอบีเอ็มมีแผนจะขายส่วนธุรกิจพีซีให้กับ เครือบริษัท Leveno ที่เป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ในจีน โดยการขายครั้งนี้น่าจะมีมูลค่ากว่าสองพันล้านดอลล่าห์
ข่าวนี้ยังคงเป็นข่าวลืิอ โดยทางไอบีเอ็มปฏิเสธที่จะแสดงความเห้น และทางกลุ่ม Leveno เองก็ไม่ได้ออกมาให้สัมภาษย์แต่อย่างใด
คำว่า Blog เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตทั้งผมแล้วก็หลายๆท่านที่ชอบใช้งานมันรวมทั้ง mk ที่เขียน blog เป็นชีวิต ^^ และ lew ผมเพิ่งใช้งานมันมาไม่นานนัก ประมาณต้นๆปีนี้(เมษา) ขนาดว่า Microsoft ยอมนิ่งเฉยไม่ได้มีการเปิดให้ใช้บริการ msn spaces ตามที่ mk ได้บอกไว้ ซึ่งคำนี้เริ่มโผล่ในหนังสือพิมพ์ประมาณปี 1999 ซึ่งเราท่านๆก็ทราบว่า Blog มาจาก Web log และช่วงนี้ก็มีการค้นหาคำว่า Blog เป็นจำนวนมาก จีงจะมีการเพิ่มคำว่า "blog" ใน Merriam-Webster's 11th Collegiate Dicti
link จาก Slashdot: บทสัมภาษณ์ รองประธานบริษัท Google พูดถึงแนวความคิดของบริษัท รายละเอียดเกี่ยวกับระบบข้อมูล และอะไรอีกหลายอย่าง และบอกว่าเป็นเรื่องที่คนอยากทำงานกับ Google น่าอ่าน
P.S. เว็บข่าว ZDNet ให้คนอ่านเขียนความเห็นได้แล้ว เพิ่งเริ่มไม่นานหลังจาก Matt Mullenweg ผู้พัฒนาหลัก wordpress ถูก C|Net จ้างไป
ทีมพัฒนา Debian ได้ออกมาแถลงแล้วว่า Debian Sarge ซึ่งจะเป็น Debian Stable Release ตัวถัดไป จะมี GNOME 2.8 แทน 2.6 ครับ เหตุผลคือการร้องขอจากทีมงาน GNOME และคิดว่า 2.8 จะมีเสถียรภาพเพียงพอที่จะใช้ใน Sarge (หมายเหตุ ถ้าใครไม่เคยใช้ Debian เค้าจะแบ่งรุ่นดังนี้ครับ Stable, Testing, Unstable และ Experimental ตัว Stable คือ Debian ตัวจริง ซึ่งเสถียรมากเหมาะไปทำเซิร์ฟเวอร์ แต่ก็เก่ามากเช่นกัน ผมเองใช้ Unstable+Experimental ร่วมกันด้วยซ้ำเพราะอยากเล่นของใหม่ๆ ส่วนโค้ดเนมของ Debian จะใช้ตัวละครใน Toy Story ตอนนี้ตัว Stable ชื่อ Woody ตัว Testing ชื่อ Sarge และ Unstable ชื่อ Sid ครับ)
โดนกูเกิลเปิดบริการตีเอาๆ ก็ทนไม่ไหวเอาเหมือนกันครับ ไมโครซอฟท์จึงได้เวลาเอาคืนแล้วด้วย MSN Space บริการครบวงจรที่ให้ทั้งบล็อก ที่เก็บภาพ ฯลฯ
บิล เกตต์ นั้นให้สัมภาษย์มานานแล้วว่าสนใจในการใช้บล็อก และคิดว่าบล็อกมีคุณค่าในโลกธุรกิจ แต่ทางกูเกิลนั้นมีบริการบล็ิอกมานานแล้ว คือบริการ Blogger
ผมเข้าไปดูเว็บแล้วน่าใช้ดีครับ ติดว่าหน้าจอยังวุ่นวายไปหน่อย
ไม่รู้กูเกิลจะเอาอะไรมาโต้กลับ.... ที่มา Technology News Article | Reuters.com
Thunderbird ออก Release Candidate 1 แล้วครับ ไม่มีฟีเจอร์ใหม่เพราะเป็นรุ่นแก้บั้กอย่างเดียว ถ้าไม่กระตือรือล้นมากก็รอ 1.0 ตัวจริงที่เค้าบอกว่าจะออกภายในสิ้นปีนี้ อีกอันนึงคือ Mozilla Suite 1.7.5 ซึ่งเป็นรุ่นแก้ปัญหา security จะออกมาในประมาณกลางเดือนนี้ ครับ
ไอบีเอ็มรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนชิปเพาเวอร์ของตน รายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมนั้นมีรายการคุ้นหูจำนวนมากทีเดียวครับ เช่น โซนี่ โนเวล เรดแฮท รวมเครเด้นซ์ และซินอปซิส ที่เป็นผู้ผลิตซอฟท์แวรฺด้านการออกแบบชิปหลัก
ชิปเพาเวอร์นั้นหลายคนน่าจะเคยเห็นเพราะมันไปอยู่ในเครื่องบลูจีน ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องดังนั่งเอง
หลังจากเป็นข่าวมานาน Netscape Browser เป็นชื่อที่น่าจะเป็นทางการของเว็บบราวเซอร์ตัวใหม่จาก Netscape มันพัฒนาต่อมาจาก Firefox ตามคาด (เป็น Firefox 0.9.3) แต่ที่เกินคาดคือมี Rendering Engine ของ IE ด้วย!!!
มีรายงานข่าวว่าวันนี้ว่าผู้ให้บริการบิตทอเรนต์หลายแห่งถูกโจมตีแบบ DoS (Denial of Service) เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ไม่สามารถให้บริการได้
เว็บที่ให้ข่าวหลักครั้งนี้คือ Lokitorrent ผู้ให้บริการจับคู่้แลกข้อมูลผ่านทางโปรโตคอลบิตทอเรนต์รายใหญ่
บิตทอรเรนต์เป็นโปรโตคอลแลกไฟล์ขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในระยะหลังนี้ และเป็นเป้าหมายของการฟ้องของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจภาพยนต์ในอเมริกาอีกด้วย
ซันรุกตลาด x86 เต็มที่ด้วยการประกาศสนับสนุนให้ช่องทางจำหน่ายจ่างๆ พยายามขายเครื่องที่ใช้ชิป Opteron ของเอเอ็มดีให้มากขึ้น ด้วยการแถมเครื่องฟรีหนึ่งเครื่อง ทุกๆ 25 เครื่องที่ตัวแทนขายได้
งานนี้น่าสนุก เพราะู้ผชิตพีซีประสิทธิภาพสูงเช่น ไปบีเอ็มและ เอชพี คงหนาวๆ ดีพิลึก แต่คนที่ยิ้มร่าก็เป็นใครไปไม่ได้นอกจากเอเอ็มดี เพราะได้พันธมิตรรายใหม่แบบเปิดเผย
แต่ถ้าลดราคามาชายคนใช้งานตามบ้านด้วยก็คงดี
ที่มา Sun begs partners to sell more Opteron servers | The Register
ไอดีซีรายงานถึงการวิเคราะห์ผลการประกอบการของเอเอ็มดีในไตรมาศสามที่ผ่านมา พบว่าเอเอ็มดีมีการเติบโตที่สูงทีเดียว โดยเหตุผลลักน่าจะมาจาก Athlon64 ที่เอเอ็มดีภูมิใจนักหนานั่นเอง
เอเอ็มดีมีส่วนแบ่งใตตลาดเซิร์บเวอร์อยู่ 8 เปอร์เซนต์ เพิ่มจาก 6.9 เปอร์เซนต์ในไตรมาศที่สอง ส่วนตลาดโน๊ตบุ๊คและ พีซีนั้นอยู่ที่ 9.3 และ 18.4 เปอร์เซนต์ตามลำดับ โดยเพิ่มขึ้นอย่างละน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซนต์
ก้าวช้าๆ แต่มั่นคงดี.....
ไม่กี่เดือนมานี้อินเดียเนื้อหอมจริงๆ ครับ ศูนย์วิชัยหลั่งไหลเข้าไปเปิดกันเพียบ ล่าสุดที่ไมโครซอฟท์ก็ร่วมวงด้วยแล้ว โดยศูนย์วิจัยที่จะเปิดในเมืองบังกะลอนี้ จะวิจัยด้าน ระบบหลายภาษา เทคโนโยยีด้านแผนที่ เครือข่ายเซ็นเซอร์
ข่าวระบุว่าการจ้างคนเพื่อเปิดศูนย์ครั้งนี้จำนานมากเอาทีเดียว
เมืองไทยก็รอกันต่อไป
ที่มา Microsoft Research to open lab in Bangalore | CNET News.com
สำนักข่าว Iniquirer สอบถามไปยัง AMD ถึงท่าทีของ AMD ต่อสถาปัตยกรรม BTX ที่ทางอินเทลเป้นผู้เสนอออกมา
ทางเอเอ็มดีกล่าวว่าไม่มีนโยบายจะผลักดันสถาปัตยกรรมดังกล่าวอย่างใด แต่จะทำตามความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้น
สามยักษ์อย่าง โซนี่ ไอบีเอ็ม และโตชิบา ร่วมกันแถลงรายละเอียดอย่างคร่าวๆ ของชิปที่ถูกจับตามองว่าจะถูกนำไปใช้ใน PS3 แล้วครับ
ชิปเซลเป็ชิปที่ถูกวิจัยขึ้นจากความร่วมมือของทั้งสามบริษัท โดยลงทุนไปถึง 400 ล้านดอลล่าห์ และคาดว่าจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนไม่น้อยที่จะอิงกับสถาปัตยกรรมนี้
บริษัท Tech Source เสนอโครงการต่อโลกโอเพ่นซอร์ส คือโครงการการ์ดกราฟฟิค ที่ให้นักพัฒนาโอเพ่นซอร์สร่วมกันพัฒนาและเข้าถึงประสิทธิภาพของมันได้อย่างเต็มที่
โครงการฮาร์ดแวร์แบบโอเพ่นซอร์สมีมานานแล้ว แต่ยังไม่เข้าสู่รูปแบบของธุรกิจอย่างจริงจังนัก และมักเป็นการพัฒนาในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ฝังตัวมากกว่าจะเป็นอุปกรณ์บนพีซี ตัวอย่างของโครงการฮาร์ดแวร์แบบโอเพ่นซอร์สก็เช่น OpenCores เป็นต้น
โครงการดังกล่าวยังอยู่เพียงขั้นการเสนอโครงการ ผมคาดว่าอย่างน้อยเราก็ต้องรอไปอีกสามถึงสี่ปี จึงได้เห็นการ์ดกราฟฟิคแบบโอเพ่นซอร์สวางขายกัน
จากกระแสความเกลียดชังที่มีมากเหลือเกิน วันนี้ก็โดนจนได้ครับกับเว็บของ SCO บริษัทผู้ออกมาประกาศว่าสินุกซ์เป็นของตน
เว็บที่โดนแฮคนั้นเพิ่มเติมเพียงส่วนเล็กๆ เข้ามาคือการออกแถลงข่าวว่า SCO พบโค้ดในผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ว่าใช้โค้ดของ SCO ด้วยเหมือนกัน นั่นคือ
while (1){ do_something; } และ for (i = 0; i < 16; i++) ล้อเล่นได้เจ็บดีเหมือนกัน
ยังไม่มีแถลงการจาก SCO แต่อย่างใด และในขณะที่ผมเขียนข่าวอยู่ หน้าเว็บดังกล่าวยังไม่ถูกลบ!!!
เข้าไปดูได้ที่นี่