เป็น FreeBSD 5.x ตัวแรกที่อยู่ในสาย STABLE ครับ สิ่งที่เพิ่มมาจาก 4.x คือเรื่อง SMP หรือประมวลผลแบบหลายโปรเซสเซอร์ที่ดีขึ้นมาก FreeBSD 5.3-RELEASE
เอกสารอธิบายสิทธิบัตรชนิดไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนของไมโครซอฟท์(Microsoft's Royalty Free Protocol License Agreement) ทำโลกป่วน เมื่อมันต่อท้ายด้วยรายชื่อมาตรฐานกว่าร้อยรายการ โดยเป็นชื่อของมาตรฐานที่ถูกใช้ในโลกอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
เอกสารดังกล่าวทำให้เกิดการวิพากวิจารย์อย่างหนักว่านี่คือคำประกาศยึกโลกของไมโครซอฟท์หรืออย่้ีางไร เพราะหากไมโครซอฟท์อ้างสิทธิเหนือมาตรฐานเหล่านั้นได้จริง นั่นหมายถึงมาตรฐานเปิดของอินเทอร์เน็ตก็แทบจะจบลง
แต่ทางไมโครซอฟท์ก็ออกมากล่าวว่านี่เป็นความเข้าใจผิดในการตีความเอกสารของไมโครซอฟท์ และไมโครซอฟท์กำลังพยายามแก้ข้อเข้าใจผิดดังกล่าวอยู่
MPAA หรือสมาคมผู้ผชิตภาพยนต์ในสหรัฐฯ เริ่มเข้ามาจับตามองบิตทอเรนต์ ซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์ที่ในปัจจุบัน เกินแบนวิดท์ของอินเทอร์เน็ตไปถึงหนึ่งในสาม
เนื่องจากบิตทอเนรต์นั้น ไม่มีการแจกไฟล์ภาพยนต์อย่างเป็นทางการ แต่ใช้การแจกไฟล์ขนาดเล็กที่ตามด้วย .torrent ซึ่งจะระบุรายละเอียดของการหาแหล่งไฟล์นั้นๆ ทำให้การแจกไฟล์ทอเรนต์มีโดยทั่วไป ซึ่งทาง MPAA กำลังตรวจสอบทางกฏหมายว่าสามารถเอาผิดกับเว็บเหล่านี้ได้หรือไม่
ความสงสัยในความปลอดภัยเมื่อใช้ไวร์เลสแลนเป็นประเด็นที่ถูกถามกันมาตลอดครับ ตั้งแต่ WEP ที่ถูกเจาะได้ไปเรียบร้อยแล้ว จนวันนี้ WPA ที่จะเป็นมาตรฐานใหม่ก็ทำท่าว่าจะถูกเจาะอีกแล้ว โดยมีซอฟท์แวร์ออกมาแล้วด้วย
แต่การเจาะนี้ก็ทำโดยอาศัยว่าผู้ใช้ไม่ระวังและใช้คำทั่วๆ ไปเป็นรหัสเท่านั้นครับ เพราะใช้ดิกชันนารีในการเจาะ จึงมีคำแนะนำใ้ห้ใช้เลขที่สุ่มขึ้น หรือการตั้งรหัสความยาวเกิน 20 ตัวเพื่อความปลอดภัย
ที่มา Wi-Fi Networking News: WPA Cracking Proof of Concept Available
ไมโครซอฟท์ประกาศแผนการออกไมโครซอฟท์ออฟฟิศสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในชื่อรหัสว่าแมคเจนแลนด์ โดยซอฟท์แวรดังกล่าว จะมีซอฟท์แวร์ที่ช่วยจัดการธุรกรรมต่างๆ สำหรับธุรกิจขนาดเล็กไว้อย่างครบครัน เช่นซอฟท์แวรจัดตารางนัด ซอฟท์แวร์บัญชี
ราคายังไม่แจ้งครับ
ไต้หวันประกาศมาแล้วครับว่าในปี 2005 นี้ไต้หวันจะทำให้ทั้งกรุงไทเปมีไวร์เลสแลนไว้เล่นเน็ต โดยจะเป็นการรวมเอาแอคเซสพอยต์ที่กระจายตามตัวตึกต่างๆ เข้ามาด้วยกัน ทำให้ครอบคลุมประชากรถึงร้อยละเก้าสิบของกรุงไทเป
เมืองที่มีแผนอย่างนี้ก็มีเช่น นิวยอร์ค ซาฟราน กรุงเยลูซาเล็มเป็นต้น
แจกภายใต้ไลเซนส์ Java Research License ซึ่งเค้าว่ากันว่าผ่อนคลายกว่าไลเซนส์เดิม (SCSL) อ่านต่อที่นี่
เผอิญเว็บมาสเตอร์ใช้แมคครับ ลำเอียงอีกนิด ตัวอัพเดตใหม่ของ Panther ออกมาแล้ว OSX 10.3.6 สิ่งที่มาใหม่ก็คือ
เว็บนี้คนเขียนข่าวลำเอียงมากครับ ปกติผมจะไม่เขียนข่าวเวลาซอพต์แวร์ออกตัวเบต้า หรือทดสอบเล็กๆ น้อยๆ เพราะคิดว่าเปลืองที่ แต่สำหรับ Firefox นี่ไม่ได้แน่นอน Firefox 1.0 RC2 ออกมาจนได้ ที่เคยทำนายไว้ว่าจะไม่มี RC2 ก็เป็นอันว่าผิดไป ตัวนี้มีโค้ดเนมว่า Whangamata ส่วนโค้ดเนมอื่นๆ อ่านได้จาก Firefox Roadmap โค้ดเนมของ 1.0 คือ Phoenix ครับผม คิดว่าเป็นชื่อเมืองมากกว่าระลึกถึงชื่อเดิมของ Firefox (เพราะชุดโค้ดเนมนี้เป็นชื่อเมืองในสหรัฐ กับนิวซีแลนด์ บ้านของ
เป็นที่แน่นอนแล้วว่า GNOME ตัวต่อไปจะนับเป็น 2.10 ส่วน 3.0 คิดว่าคงรอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต อย่างที่เคยเขียนไปว่ายังตกลงกันไม่ได้ถึงภาษาระดับสูงกว่า C ที่จะเข้ามามีบทบาทใน GNOME ระหว่าง C# กับ Java ตอนนี้ก็เล่น 2.10 ไปพลางๆ ก่อนละกันครับ 2.9.1 เป็น Development Release ตัวแรกในสาย 2.10 กำหนดออกคือมีนาปีหน้า
สมาคมผู้ประกอบธุรกิจภาพยนต์ของสหรัฐอเมริกา (MPAA) เริ่มไล่ฟ้องผู้ใช้ระบบไฟล์แชร์ริ่ง แชร์หนังแบบเดียวกับที่ธุรกิจเพลงฟ้องกลุ่มผู้โหลดเพลง
โดยการฟ้องครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่สมาคม พบกับความล้มเหลวในการโจมตีซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์ทั้งหลายในชั้นศาล โดยศาลตัดสินให้ซอฟท์แวร์แชร์ไฟล์เหล่านั้นไม่มีความผิด เพราะถือเป็นเพียงเครื่องมีอใช้งานเท่านั้น
ข่าวรายงานว่าการฟ้องครั้งแรกจะมีคดีกว่า 200 คดี โดยจะมาประกาศในภายหลัง
นับจากเริ่มใช้วิธีการนี้ สมาคมผู้ประกอบธุรกิจดนตรีในสหรัฐ (RIAA) ไล่ฟ้องนักโหลดไปแล้วกว่า 6800 คดี
วันที่ 15 นี้แล้วที่ซันจะเปิดตัวโซลาริส 10 โอเอสที่เปี่ยมไปด้วยความสามารถเต็มตัว โดยในเวอร์ชั่นนี้พิเศษที่จะเป็นเวอร์ชั่นโอเพ่นซอร์สด้วย ทำให้ชาวโอเพ่นซอร์สทั้งหลายคงหวังจะได้เห็นโค้ดของสุดยอดระบบปฎิบัติการนี้กันเต็มที
แต่ในตอนนี้ก็มีข่าวยืนยันแล้วว่า การโอเพ่นซอร์สคงไม่ได้ทำง่ายๆ แบบเอาซอร์สขึ้นเว็บเลย เพราะในโซราลิสเอง ก้มีซอร์สของบริษัทอื่นๆ ไม่น้อยทีเดียว ทำให้ขั้นตอนการโอเพ่นซอร์สคงใช้เวลาสักระยะทีเดียว
แต่ Jonathan Schwartz หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของซันก็ออกมาให้ความมั่นใจว่า โซลาริส 10 จะเป็นซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สอย่างแน่นอน
ซอฟท์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ทำให้ .NET ไปได้ทุกที่ออกเวอร์ชั่นใหม่แล้ว
ยักษ์กราฟฟิคอย่าง Adobe เริ่มจะสนใจลินุกซ์ซะแล้วครับ เริ่มแรกคือสมัครเป็นสมาชิกของ OSDL (Open Source Development Labs ซึ่งเป็นองค์กรกลางที่หลายๆ บริษัทเป็นสปอนเซอร์ มีจุดประสงค์เพื่อความเข้ากันได้ของลินุกซ์กับอุปกรณ์ต่างๆ ในท้องตลาด ตอนนี้ลินุส ทอร์วัลด์ ก็เป็นลูกจ้างของที่นี่ ทำงานเคอร์เนลเต็มเวลา) อย่างที่สองคือ Adobe ได้รับสมัครงานสองตำแหน่ง อย่างแรกคือ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาตลาดลินุกซ์ เพื่อ ค้นหาและพิจารณากลยุทธ์ของ Adobe ในตลาดลินุกซ์และโอเพ่นซิร์ส ส่วนตำแหน่งที่สองเป็นผู้จัดการโครงการโอเพ่นซอร์สที่ Adobe จะเป็นสปอนเซอร์ สำหรับเรื่องนี้ โฆษกของ Adobe ออกม
ออกแล้วครับ ความสามารถใหม่ที่เพิ่มเข้ามา คือ Virtual Folder (แบบเดียวกับ Evolution) ซึ่งสามารถสั่งเซฟผลการค้นหาเมลเป็นโฟลเดอร์ต่างหากได้ (ถ้าเคยใช้ iTunes มา จะคล้ายๆ กับ Smart Playlist ล่ะครับ) และแก้บั้กอื่นๆ อีกมาก Thunderbird 0.9
Telabria ผู้ให้บริการสื่อสารในอังกฤษประกาศแผนทดลองให้บริการ WiMax ในย่านตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ
เรื่องนี้นับเป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับบริการ WiMAX เพราะแสดงความชัดเจนที่บริการนี้จะเกิดได้เป็นอย่างดี เพราะ WiMAX นั้้นอาการน่าเป็นห่วงตั้งแต่ Nokia มาลาออกจากการเป็นสมาชิกไป
หวังว่าเมืองไทยคงมีโอกาสได้ใช้ เพราะบรอดแบนด์วางกันช้าเหลือเกิน
บริษัทชาร์ปประกาศความสำเร็จในการร่้วมมือกับ IBM เพื่อพัฒนาสมาร์ทการ์ดที่รัน แพลตฟอร์มจาวา่ได้แล้วในวันนี้ โดยการ์ดดังกล่าวผลิตโดยชาร์ป มีความจุถึง 1 เมกกะไบต์ ส่วนทางไอบีเอ็มเป็นผู้พัฒนาระบบบฏิบัติการณ์
สมาร์ทการ์เข้ามามีบทบาทในตลาดผู้บริโภคอย่างมากในปัจจุบัน เพราะความปลอดภัยที่เหนือกว่าบัตรแม่เหล็กทั่วไป และความจุข้อมูลที่มากกว่า ทำให้หลายบริษัทมองว่าตลาดใหม่นี้มีอนาคตที่น่าสนใจทีเดียว อย่างเช่นประเทศไทยที่กำลังจะใช้สมาร์ทการ์ดเป็นบัตรประชาชนเป็นต้น
ชาร์ปเปิดตัวจอ LCD ขนาดใหญ่ถึุง 45 นิ้ว ซึ่งเป็นขนาดใหญ่ที่สุดที่ผลิตในเลิงการค้าในขณะนี้
จอภาพรุ่น LC-45G1H AQUOS 45V เป็นจอที่มีความละเอียดถึง 1920*1080 โดยจะออกวางตลาดในเดือนธันวาคมนี้ในฮ่องกง พร้อมกันนี้ชาร์ปยังประกาศถึงแผนการผลิตจอขนาดถึง 65 นิ้วในปรหน้าอีกด้วย
ที่มา SHARP
ไมโครซอฟท์เซ็นสัญญากับกระทรวงสาธารณสุขของอังกฤษ ที่จะให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนถึง 9 แสนเครื่อง เป็นเวลาถึงเก้าปี โดยไมโครซอฟท์ระบุว่าการเซ็นสัญญาครั้งนี้จะช่วยประหยัดเงินของรัฐบาลอังกฤษได้ถึง 112 ล้านปอนด์ในปีแรกของสัญญา มูลค่ากว่าห้าร้อยล้านปอนด์
ไมโครซอฟท์มุ่งเน้นโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีค่าใช้จ่ายรวมที่ถูกกว่ามาโดยตลอด งานนี้เรียกว่าไมโครซอฟท์ได้ทั้งเงินได้ทั้งหน้าครับ เพราะได้ลูกค้ารายใหญ่ ทำให้ความน่าเชื่อถือดีขึ้นมาก
จากข่าว Ubuntu Linux ที่เคยเขียนถึงไป ที่ OSNews มีรีวิว Ubuntu Linux 4.10 เดสก์ทอปลินุกซ์ในฝันสำหรับหลายๆ คน ทั้งเป็น Debian Based (อัพแพกเกจผ่าน apt ได้สะดวก) ใช้ซีดีแผ่นเดียว แพกเกจใหม่และเลือกเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ มีบริษัทให้การหนุนหลัง (Canonical) และมีกำหนดการออกทุกหกเดือนเช่นเดียวกับ Fedora แต่บอกไว้นิดนึงว่าด้วยปัญหาด้านสิทธิบัตร Ubuntu ไม่มี Mp3, DVD มาให้ในตัวเหมือนกับ Fedora วิธีแก้ไข อ่านได้จากในรีวิวครับ
ผลการวิจัยของ mi2g ได้ผลว่า MacOSX และยูนิกซ์ตระกูล BSD เหนือกว่าวินโดว์และลินุกซ์ เรื่องแบบนี้ก็พูดกันยากครับ นอกจากตัว OS เองแล้วก็มีปัจจัยอีกหลายอย่าง เช่น ความนิยมในการใช้งาน ฐานผู้ใช้ การสนับสนุน ในตัวข่าวมีรายละเอียดเรื่องตัวเลขค่อนข้างเยอะ อ่านเอาความรู้ละกันครับ จาก MacDailyNews
โดยรวมๆ ลดไปสามเปอร์เซ็นต์ จากเวลาเจ็ดสัปดาห์ ลงมาเหลือ 92.9% สาเหตุก็เกิดจากกระแส Firefox ที่ต่อเนื่อง ทางไมโครซอพท์เองก็ยังไม่ออกมาแสดงความเคลื่อนไหวอะไร อาจเป็นได้ว่าแค่สามเปอร์เซ็นต์ที่เสียไป เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับอย่างอื่น (เช่น Longhorn เลื่อน)
ข่าวจาก eWeek
อาร์ม - ผู้ออกแบบซีพียูสำหรับคอมพิวเตอร์พกพาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตอนนี้ ได้ประกาศร่วมมือกับฟิลิป ในการใช้เทคโนโลยีของบริษัท Handshake Solution ซึ่งเป็นบริษัทลูกของฟิลิป มาออกแบบชิปของอาร์ม
เทคโนโลยีของบริษัท Handshake นั้นคือเทคโนโลยีที่ช่้วยในการออกแบบระบบวงจรรวมดิจิตอล ที่ไม่ใช้สัญญา่ณนาฬิกาในการกำหนดจังหวะการทำงาน (Asynchronous Circuit) ทำให้วงจรลดการใช้พลังงานลง และลดการปล่อยสัญญาณรบกวน
เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกขั้นหนึ่ง เมื่อแผงวงจรที่เราเคยนั่งกัดปรินต์กัน สามารถสร้างได้ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต โดย Epson ใช้หมึกสองประเภท คือ เป็นตัวนำ และเป็นฉนวนกั้นระหว่างชั้น โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้ในการสร้างบอร์ดแบบหลายเลเยอร์ ซึ่งมีขนาดบาง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก Ars Technica: http://arstechnica.com/news.ars/post/20041101-4366.html
หลังจากที่อเมซอนได้เปิดตัวเว็บ a9.com ที่มีไว้ค้นหาหนังสือไปก่อนหน้านี้แล้ว ในตอนนี้ทางอเมซอนก็มาเปิดตัว A9 Toolbar ตามสมัยนิยมแล้วครับ
ทูลบาร์ดังกล่าวมีความสามารถเจ๋งๆ หลายอย่าง เช่นการโน๊ตข้อความต่อเว็บต่างๆ ได้อย่างอิสระ สามารถสร้างบุคมาร์คที่ใช้ได้ทุกที่ทั่วโลก และเก็บประวัติเว็บที่เราเข้าไว้ในเซอร์เวอร์ทำให้ดูจากเครื่องอื่นๆได้