น่าตกตะลึงทีเดียวกับการที่ยักษ์ใหญ่ในวงการ IDE อย่าง Borland ตัดสินใจบริจาค sourcecode ของ JBuilder ให้กับ Eclipse Project ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำ IDE แบบโอเพ่นซอร์สเช่นเดียวกัน (แต่มีสปอนเซอร์หลักเป็น IBM) ซึ่ง Borland ก็หวังจะลดค่าใช้จ่ายในการทำ R&D ลง แล้วให้กลุ่ม Eclipse Community ช่วยพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆขึ้น
สาเหตที่ Borland ตัดสินใจดังนี้ ก็เพราะยอดขายในช่วงควอเตอร์แรกนั้นตกต่ำอย่างน่าใจหาย โดยทาง Borland จะประกาศแผนโดยละเอียดอีกทีในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่ง Borland ก็จะหันไปหวังรายได้จากกลุ่มลูกค้าองค์กรแทน
หลังจากญี่ปุ่นและเกาหลีแข่งความเร็วเน็ตตามบ้านกันมานาน ตอนนี้ฮ่องกงก็เข้าร่วมการแข่งความเร็วเน็ตอีกคนแล้ว ด้วยการเปิดตัวกิกะบิตอินเทอร์เน็ตในราคา 215 ดอลล่าห์ต่อเดือน โดยยังมีความเร็วอื่นๆ ให้เลือก เช่น 100 เมกกะบิตราคา 34 ดอลล่าห์ต่อเดือน และ 10 เมกกะบิตที่ราคา 16 ดอลล่าห์ต่อเดือน
ข่าวนี้เล่นเอาเหยี่ยวข่าวในเมืองมะกันบ่นกันระนาว เพราะเน็ตในสหรัฐยังแพงกว่านี้อยู่มาก
ต้องจับพวกนี้มาอยู่เมืองไทย......
หลังจากรอกันจนแฟนๆ เอเอ็มดีเหี่ยวกันหมด ไมโครซอฟท์ก็เปิดตัววินโดว์ 64 บิตอย่างเป็นทางการแล้วในงาน WinHEC เมื่อวานนี้ โดยจะเปิดตัวสองรุ่นด้วยกันคือ Windows XP Professional x64 และ Windows Server 2003 x64 โดยยืนยันแล้วว่าราคาจะเท่ากับรุ่นเดียวกันที่ 32 บิตทุกประการ
บิลล์ เกตต์ แสดงความเห็นว่าเทคโนโลยี 64 บิตเป็นเรื่องที่ดีมาก และไมโครซอฟท์ตื่นเต้นมากกับเทคโนโลยีนี้
เอเอ็มดีเป็นเจ้าแรกที่ออกเทคโนโลยี 64 บิตในสถาปัตยกรรม x86-64 ในปี 2003 โดยอินเทลตามมาในภายหลังในชื่อเทคโนโลยี EM64T ที่มีความเข้ากันได้
จีนคิดใหญ่อีกแล้วครับ ระบบปฏิบัติการ Kylin ที่สนับสนุนโดยรัฐบาลเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ อ่านดูแล้วท่าทางจะเน้นไปทาง High Performance Computing โดยจะเทียบเท่ากับใช้งานยูนิกซ์อีกตัว และการันตีว่าโปรแกรมที่รันบนลินุกซ์จะรันบน Kylin ได้
การออกแบบแบ่งเป็น 3 เลเยอร์เหมือนกันเลยครับ ชั้นล่างสุดคือ เคอร์เนลที่เหมือนกับ Mach (เคอร์เนลฐานที่ MacOSX หยิบมาใช้) ถัดมาก็เป็น system service layer เหมือน BSD และสุดท้ายก็คือ Desktop layer เหมือนพวก X-Window เวอร์ชันแรกจะสนับสนุนทั้งสถาปัตยกรรม x86 และ IA-64 (Itanium 2)
ไปเจอบล็อกของคุณ Porrama เพิ่งเปิดมาสองวันเท่านั้นเอง แต่น่าสนใจดีครับ แนวข่าวคล้ายของเว็บนี้แต่ยาวกว่ามาก
ไปดูที่นี่เลยครับ Linux and Opensource
ใน Slashdot มีคนไปเจอมาจากบล็อกของทีมพัฒนา IE ครับ ฟีเจอร์ (หรือเรียกเป็นบั้กที่แก้แล้วดี) คือ การสนับสนุน Alpha Channel ของรูปภาพแบบ PNG และการแก้บั้ก CSS หลายอย่าง ก็เป็นนิมิตหมายอันดีสำหรับนักพัฒนาเว็บทั้งหลายเลย
GNU Compiler Collection หรือ GCC ได้ฤกษ์ออกเวอร์ชัน 4.0 แล้ว โดยเวอร์ชันนี้เน้นการปรับปรุงโค้ดที่คอมไพล์แล้วด้วยวิธีต่างๆ เนื่องจาก GCC ได้รับคำวิจารณ์ว่า เป็นคอมไพเลอร์ที่คลอบคลุมแพลทฟอร์มและภาษาค่อนข้างเยอะ แต่มีประสิทธิภาพไม่ดีนักเทียบกับคอมไพเลอร์ของอินเทล สำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็รอซักพักครับ ดิสโทรทั้งหลายคงทยอยนำมาให้ใช้กัน GCC 4.0 Release Series
ซันเผยฟีเจอร์เพิ่มเติมของ Java 6.0 หรือโค้ดเนมว่า Mustang แล้วครับ อ่านดูแล้วก็มุ่งเน้นไปทางเดสก์ท็อปจริงๆ ทั้งการันตีว่าจาวาจะ'ดูดี'บน Longhorn รวมไปถึงการ Integrate กับเดสก์ท็อปทั้งวินโดว์และ GTK+ ไม่ว่าจะเป็นปลั้กอินของบราวเซอร์ (จะสนับสนุน Firefox) ตัวติดตั้งที่ดูดีขึ้น สุดท้ายที่น่าสนใจก็คือ Anti-Alias บนวินโดว์ด้วย Desktop Java Features in Mustang
หลังจากค่ายชิปต่างๆ เปิดตัวชิปดูอัลคอร์กันชนิดจะเหยียบกันตาย ค่ายเซิร์บเวอร์อย่างเอชพีก็ลงสนามแล้วด้วย HP Proliant DL585 ที่มากับซีพียูถึงสี่ตัว ซึ่งถ้าใช้ดูอัลคอร์ก็เหมือนกับเป็นเซิร์บเวอร์แปดซีพียูเลยทีเดียว
ความจริงแล้วมีผู้ผลิตเซิร์บเวอร์ำจำนวนหนึ่งประกาศใช้ดูอัลคอร์ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่เอชพีดูจะเป็นค่ายหลักค่ายแรกที่เปิดตัว
ค่ายต่อไปอาจจะเป็นซัน....
สวัสดีครับ ก็เพิ่งมีเวลามาปรับปรุงหน้าตาของ Blognone ใหม่หมดให้ดูเป็นเว็บไซท์ข่าวมืออาชีพเสียหน่อย ผมยังถือโอกาสยกเครื่องตัวเอ็นจินของบล็อกที่เราใช้ นั่นคือ Wordpress จาก 1.2 เป็น 1.5 ซึ่งก็ต้องทำการอัพเกรดปลั้กอินต่างๆ ตามไปด้วยใหม่หมด รวมไปถึงได้เพิ่มปลั้กอินสำหรับการต่อสู้กับสแปมของ Wordpress ที่มีเยอะเหลือเกินด้วย ถ้าใครตอบคอมเมนต์ไม่ได้อย่างไรก็ช่วยแจ้งมาด้วยครับ สำหรับไอคอนของแต่ละหมวดหมู่นั้นก็กำลังทยอยทำใหม่ ให้ขนาดใหญ่ขึ้น แล้วก็ถือโอกาสซ่อมไอคอนหลายๆ อันที่ไม่สวยหรือยังไม่มีด้วย ชอบไม่ชอบอย่างไรบอกกันได้
ไลนัส ทอวัลลด์ ได้ออกเครื่องมือหรือทูลตัวใหม่เอาไว้จัดการกับ project Linux ของเขา ชื่อว่า "Git" ซึ่งเดิมทีไลนัสได้ใช้ระบบการจัดการที่ชื่อว่า "BitKeeper"(เป็นของบริษัท BitMover)และได้หยุดใช้ไปเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากเริ่มล้าสมัย เทคนิคที่ใช้ในการ update e-mail ที่ค่อนข้างช้าสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่จะ contribute ไปยัง project การเปลี่ยนมาใช้ Git นั้นจะทำให้โครงการ Linux มีระบบหรือกลไกที่อัติโนมัติในการควบคุมขั้นตอนการ update และ track changes เนื่องจาก Git เป็น opensource software ที่ไลนัสได้แนวคิดที่จะพัฒนา source code management system ที่เหมาะสมกับงานของตัวเองมากกว่า
เรื่องแปลกๆ ที่เราคงได้เห็นกันในปลายปีนี้คือ ซอฟท์แวร์ Virtual Server 2005 ที่กำลังจะวางตลาดนั้นจะรองรับลินุกซ์ด้วย โดยสตีฟ บอลเมอร์ ได้ปะะกาศว่าซอฟท์แวร์ที่จะออกมานี้จะรองรับโอเอสที่ไม่ใช่วินโดว์หลายๆ ตัวรวมถึงลินุกซ์ด้วย
โดยซอฟท์แวรฺ์ Virtual Server นั้นเป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยให้เซอร์เวอร์สามารถรองรับโอเอสหลายๆ ตัวให้ทำงานพร้อมกันได้
ต้องรอดูตัวจริงก่อน....
ที่มา Ballmer backs Linux
เพลย์บอย เจ้าของนิตยสารวาบหวิวชื่อดังประกาศผลิตคอนเทนต์ลงเครื่อง PSP ของโซนี่แล้วในวันนี้ โดยคอนเทนต์ที่มีคือ อัลบั้มภาพสองอัลบัม แต่ละอันมีภาพ 15 ภาพและวีดีโอคลิปยาวสองนาที โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีหากเป็นสมาชิกของเว็บ Cyper Club
ก่อนหน้านี้เพลย์บอยก็เคยออกอัลบัมภาพที่สามารถใช้ได้บนไอพอดมาแล้ว
ยังไม่มีความเห็นจากโซนี่แต่อย่างใดในตอนนี้ แต่พ่อแม่ที่ซื้อ PSP ให้ลูกคงไม่ชอบใจกันเท่าใหร่
ที่มา Playboy offers naughty content for PSP - Softpedia News
หลังจากหามาตรการสารพัดมาจัดการกับ P2P ล่าสุด ค่าย BMG ฟินแลนด์ก็ร่วมมือกับบริษัท Viralg เพื่อใช้เทคโนโลยี Virtual Algorithm ที่จะทำให้ไฟล์ที่ผู้ใช้ P2P ได้ขยะไปแทนที่จะเป็นเพลงหรือหนังที่จะโหลด
บริษัท Viralg นั้นยังไม่เป็นที่รู้จักในตอนนี้ แต่บริษัทก็พยายามจะหาลูกค้าจากบรรดาบริษัทนานาชาติทั้งหลาย
โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าเทคโนโลยีนี้ใช้ช่องความหละหลวมของการป้องกันความผิดเพี้ยนของข้อมูล ในเครือข่าย P2P มาเป็นจุดแทรกข้อมูลเข้าไปในเครือข่าย ซึ่งถ้าทาง P2P พัฒนาการป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลให้ดีขึ้น ก็อาจจะชะงักได้เหมือนกัน
แต่คนโหลดก็อาจจะลำบากขึ้นหน่อย....
ยังจำโน๊ตบุ๊คตัวจิ๋ว (แต่ราคาไม่จิ๋ว) สมัยสามปีก่อนในซีรี่ย์ Libretto จาทางโตชิบาได้ไหมครับ หลังจากปิดสายการผลิตไปสามปี โตชิบาก็ตัดสินใจเปิดสายการผลิตขึ้นมาอีกครั้ง
น้ำหนักในรุ่นนี้ไม่ถึงกิโลดี แต่ที่น่าสนใจคือจอ 7.2 นิ้วที่มันใส่มาเป็น WXGA ครับ นั่นหมายถึงภาพ 1280 x 768 น่าเอามาดูดีวีดีจริงๆ
ราคา 1999 ดอลล่าห์ มีขายแล้ว
ที่มา (มีภาพ) GeekCoffee | Technology News and Reviews
หลังจากโดนอินเทลเปิดตัวออกมาก่อน เอเอ็มดีก็ไล่้แถลงราคาของชิปดูอัลคอร์ออกมาแล้วครับ โดย Opteron 865 ราคา 1,514 ดอลล่าห์ (หกหมื่นกว่า!!!) ส่วนรุ่นใหญ่กว่าคือ Opteron 870 ราคา 2,149 ดอลล่าห์ สุดท้ายคือ Opteron 875 ราคา 2,649 ดอลล่าห์ (แสนกว่า!!!!)
ราคาแพงกว่าอินเทลมา เพราะทั้งหมดเป็นชิปสำหรับตลาดเซิร์บเวอร์ ต่างจากอิลเทลที่ออกดูอัลคอร์รุ่นแรกมาเพื่อเล่นเกมเสียมากว่า
ดูเล่นๆ คงยังไม่มีใครซื้อมาใช้ในบ้าน...
แถลงการออกของ Opera 8 เผอิญผมไม่ได้ใช้ครับ ใครแฟน Opera ก็ติดตามเอาเองละกันนะ
อินเทลเป็นเจ้าแรกที่สามารถส่งซีพียูแบบดูอัลคอร์ออกมาได้ก่อน คือ Pentium Processor Extreme Edition 840 สำหรับเล่นเกมตามชื่อ EE ล่ะครับ และผู้ผลิตพีีซีอย่างเดลล์ก็เปิดให้สั่งแล้วด้วย ในพีซีตระกูล Dimension XPS ราคารวม 2900 เหรียญ (ตัวชิปราคาขายส่งอยู่ที่ 999 เหรียญ) เป้าหมายถัดไปของอินเทลคืิอ Pentium D (ซึ่งมันคือ P4 แบบ Dual)
ฝั่ง AMD มุ่งไปทางเซิร์ฟเวอร์มากกว่า จะเปิดตัว Opteron แบบดูอัลคอร์ในเร็วๆ นี้ สำหรับ Athlon รุ่นที่เป็นดูอัลคอร์จะเปิดตัวประมาณเดือนมิถุนา
อยู่ดีๆ ไมโครซอฟท์ก็ครึ้มอกครึ้มใจเอาวินโดวส์เอ็กซ์พี กลับออกมาโฆษณากันเป็นการใหญ่่ ทำให้หลายๆ คนงงว่ามันเรื่องอะไรถึงได้เอาของที่ออกมาแล้วสามปีกว่ากลับออกมาโฆษณากันอีก โดยข่าวระบุว่าการโฆษณาซ้ำครั้งนี้ใช้เงินเยอะกว่าที่ใช้ตอนเปิดตัววินโดวส์จริงๆ เสียอีก
งานนี้ทำให้เกิดแนวคิดสองเรื่องคือ การที่ไมโครซอฟท์เสื่อมความนิยมลงไป จากแอปเปิลและลินุกซ์ และเรื่องการล่าช้าของ Longhorn ที่น่างสัยว่ามันจะช้าออกไปอีกรึเปล่า.....
ยังหาโหลดมาดูไม่ได้.... ใครเจอแล้วมาบอกที
เปิดตัวกันเป็นทางการแล้วกับชิป WiMax ที่คาดกันว่าจะเป็นยุคต่อไปของการส่งข้อมูล โดยอินเทลได้เปิดตัวชิปเซ็ต Intel PRO/Wireless ที่สร้างบนมาตรฐาน IEEE 802.16-2004 ซึงจะทำให้สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในบริเวณกว้าง
การออกชิปเซ็ตของอินเทลนี่ดูเหมือนจะเป็นการตอกย้ำเป็นอย่างดีว่าเทคโนโลยีความเร็วสูงในยุคต่อไป ดูเหมือนจะเป็น WiMAX อย่างแน่นอน
หวังว่าบ้านเราจะมีให้ใช้ในเร็ววัน.... (แต่อย่างบล๊ิอก P2P นะ)
ข่าวใหญ่รอบสัปดาห์ได้เลย เมื่ิอ Adobe ประกาศแผนเข้าซื้อกิจการของ Macromedia โดยมีมูลค่าประมาณ 3.4พันล้านเหรียญ วิธีการซื้อก็ตามปกติครับ เจ้าของหุ้น Macromedia จะได้หุ้นมูลค่าเท่ากันตามราคาปิดในวันที่ 15 เมษายนไป เรื่องการบริหารนั้นก็จะยังเหมือนเดิม โดยประธานของ Macromedia จะมารับตำแหน่ง president of worldwide field operations ด้วย (ผมไม่รู้จะแปลว่าอะไรน่ะนะ) รายละเอียดอื่นๆ ของบริษัทใหม่จะตามมาทีหลังครับ แต่แน่นอนว่าเราจะได้เห็นการทำงานร่วมกันของโปรแกรมสองค่ายนี้ รวมไปถึงเทคโนโลยีอย่าง PDF และ Flash ด้วย ส่วนรวมกันแล้วจะเกิดการผูกขาดหรือไม่ อันนี้ก็คงต้องติดตามกันต่อไปละครับ
CNET มีข่าวจาก Jim Allchin รองประธานของไมโครซอฟท์ ว่า Longhorn เบต้าแรกมีกำหนดประมาณกลางปีนี้ ส่วนเบต้าที่สองจะตามมาแน่นอน แต่ยังไม่ระบุเวลา ส่วนตัวจริงมีกำหนดออกปลายปี 2006 โดยฟีเจอร์ต่างๆ ก็ตามที่สื่อได้เสนอกันไปเยอะแล้ว ไมโครซอฟท์"แนะนำ"ให้ใช้แรม 512 MB (ไม่ได้บอกว่าขั้นต่ำนะครับ) และซีพียู"ตามท้องตลาด"ในขณะนั้น ส่วนการ์ดจอนั้นแบ่งตามระดับการแสดงผล ซึ่งมี 3 ระดับ คือ Aero Glass (เอ็ฟเฟ็คต์เพียบ), Aero และระดับต่ำสุดที่หน้าตาเทียบเท่ากับ WindowsXP
Firefox 1.0.3 ออกมาแก้ปัญหารูรั่วในระบบหลายอย่าง โดยเฉพาะรูที่เกี่ยวกับ Javascript (รายละเอียด) ส่วน Mozilla 1.7.7 ก็รูแบบเดียวกันครับ รายละเอียดอยู่ที่เดียวกัน เพิ่มเติมว่า 1.7.xเป็นรุ่นสุดท้ายของ Mozilla Suite ภายใต้ชื่อ Mozilla ในอนาคตจะยังพัฒนาต่อไปใต้ชื่ออื่น (ซึ่งได้ข่าวว่าเลือกเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงตรวจสอบลิขสิทธิ์อยู่ ซึ่งเหมือนกับตอนเปลี่ยนจาก Firebird มาเป็น Firefox)
ไอบีเอ็มประกาศหาพนักงานในตำแหน่งใหม่ โดยมีหน้าที่พัฒนาไฟร์ฟ๊อกให้ทำงานร่วมกับระบบมิดเดิลแวร์ของไอบีเอ็มได้ และยังมีการระบุว่าผู้สมัครควรได้รับจากยอมรับจากทางมอซิลล่าว่าเป็นผู้ร่วมพัฒนา อีกทั้งควรมีประสบการณ์กับส่วนแสดงผล Gecko กับเทคโนโลยี XPCOM ที่ทำให้โปรแกรมทำงานได้ในหลายสภาพแวดล้อม
ข่าวนี้ทำให้เชื่อได้เลยว่า โอเพ่นซอร์สเพิ่มโอกาสในการทำงานได้ ที่มา IBM on the hunt for Firefox programmers | CNET News.com
ช่วงหลังมานี้แนวโน้มของ OS จะมุ่งไปทางการค้นหาไฟล์ด้วย metadata (นึกไม่ออกคิดถึง Gmail) แทนโครงสร้างไฟล์แบบเดิมเพราะว่าสมองคนเราเหมาะกับการเชื่อมต่อแบบ context มากกว่า ลองจินตนาการเวลาสอนคนไม่เคยใช้คอมเลยถึงเรื่องไดรว์ ไดเรคทอรี อะไรพวกนี้น่าจะพอนึกออกนะครับ Apple เปิดตัวด้วย Spotlight ใน Tiger ส่วนของฝั่ง Microsoft นั้นชื่อว่า WinFS (ตัดทิ้งไปใน Longhorn แล้ว ต้องรอตัวอัพเดต) ฝั่ง Gnome มีโครงการ Beagle กับ Storage ส่วนฝั่ง KDE ที่เงียบๆ ก็เปิดตัว Trenor ซึ่งเค้าอ้างว่าเป็น Framework ที่ฉลาดว่าทุกๆ ค่ายทีประกาศก่อนหน้า อ่านรายละเอียดแบบละเอียดมากได้ที่