สัปดาห์ที่ผ่านมา Citizen Lab รายงานถึงช่องโหว่ที่ใช้เจาะ iPhone ผ่านทาง iMessage ได้โดยเหยื่อไม่ต้องคลิกใดๆ ตอนนี้แอปเปิลก็พบว่าช่องโหว่นี้ที่จริงแล้วเป็นช่องโหว่ heap overflow ของ libwebp ซึ่งกระทบเบราว์เซอร์อื่นๆ ด้วย ตอนนี้ทั้ง Chrome ก็ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่นี้แล้ว ในเวอร์ชั่น 116.0.5845.187 และ 116.0.5845.188
แพตช์เดียวกันถูกส่งเข้า Firefox แล้ว คาดว่าจะออกเป็นเวอร์ชั่น 117.0.1 ภายในเร็วๆ นี้
หลังจากที่ Google เริ่มโครงการ WebP ฟอร์แมตรูปภาพแบบบีบอัดที่เหมาะกับการใช้งานบนเว็บบนเทคโนโลยีบีบอัดวิดีโอ VP8 มาแล้ว 8 ปี ล่าสุด Microsoft Edge ก็รองรับฟอร์แมตนี้อย่างเป็นทางการใน Windows 10 อัพเดตล่าสุด ส่วน Mozilla ก็ประกาศรองรับฟอร์แมตนี้ในปีหน้า
สำหรับ Microsoft Edge ที่รองรับฟอร์แมตนี้อย่างเป็นทางการจะมาพร้อมกับ Windows 10 October 2018 Update ซึ่งเป็นอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดที่ปล่อยออกมาไม่กี่วันนี้ (และเพิ่งจะหยุดปล่อยไปหลังเจอปัญหาลบไฟล์ผู้ใช้)
500px บริการแชร์ภาพถ่ายได้อัพเดตเว็บไซต์ให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ คือ WebP ของ Google, รองรับการแสดงสีภาพแบบ wide-gamut และสามารถค้นหาภาพได้โดยใช้โปรไฟล์สี
แต่เดิม 500px จะทำการแปลงภาพที่ไม่ได้ใช้งานระบบสีอื่นให้เป็นระบบสี sRGB ซึ่งหลังจากที่อัพเดตใหม่รองรับ wide-gamut แล้ว 500px จะสามารถใช้ระบบสีได้ทั้ง sRGB, Display P3, Adobe RGB และ ProPhoto RGB ซึ่ง 500px กล่าวว่าระบบเหล่านี้ยังสามารถลดแบนด์วิดท์ได้ถึง 25% ในขณะที่ยังคงให้ภาพที่ดูสมจริงเหมือนกับสิ่งที่ช่างภาพอยากให้เห็น
ส่วนฟอร์แมต WebP นั้น จะเป็นการลดขนาดของไฟล์ในขณะที่ยังคงคุณภาพของไฟล์ภาพที่ดี โดยปัจจุบันรองรับแล้วใน Google Chrome (ส่วนแอพ 500px บน Android ก็รองรับฟอร์แมตนี้แล้วเช่นกัน)
กูเกิลเริ่มโครงการฟอร์แมตวิดีโอ WebM และรูปภาพ WebP มาได้นานพอสมควรแล้ว ถึงแม้ฟอร์แมตทั้งสองตัวมีจุดเด่นเรื่องขนาดไฟล์หลังการบีบอัด แต่ที่ผ่านมายังมีเฉพาะ Chrome เท่านั้นที่รองรับฟอร์แมตเหล่านี้ ทำให้การใช้งานยังไม่แพร่หลายมากนัก
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นแนวร่วมของ WebP มากขึ้น เช่น Safari ที่เริ่มทดสอบฟีเจอร์นี้แล้ว และเบราว์เซอร์รายล่าสุดที่ทดลองพัฒนาฟีเจอร์ WebP คือ Firefox
สถานของการรองรับ WebP ใน Firefox ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ตอนนี้มีแพตช์ที่พัฒนาให้อ่านไฟล์ภาพ WebP ได้แล้ว แต่ก็ยังต้องรอตรวจสอบคุณภาพแพตช์กันต่อไป (Bugzilla)
Apple ได้เริ่มทดสอบการใช้งานฟอร์แมตรูปภาพทางเลือกของ JPEG ซึ่งพัฒนาโดย Google ชื่อว่า WebP บน Safari เวอร์ชันทดสอบทั้งบน iOS 10 และ macOS Sierra แล้ว ซึ่งไฟล์ WebP จะทำให้ภาพมีขนาดเล็กกว่า JPEG ถึง 25-35 เปอร์เซ็น ทำให้โหลดไวขึ้นและใช้ปริมาณข้อมูลน้อยลง ซึ่งตอนนี้มีเว็บไซต์บางแห่งเริ่มใช้งานแล้ว เช่น Facebook, YouTube
WebP ที่ Apple กำลังทดสอบอยู่นี้จะเป็น WebP เฉพาะภาพนิ่งเท่านั้น ยังไม่ได้ทดสอบภาพเคลื่อนไหวแต่อย่างใด และเนื่องจาก WebP อยู่ใน Safari เวอร์ชันทดสอบ จึงไม่แน่ใจว่า Apple จะตัดออกเมื่อถึงวันเปิดตัวจริง ๆ หรือไม่
เว็บไซต์ GigaOm มีเรื่องราวเบื้องหลังฟอร์แมตรูปภาพ WebP ที่กูเกิลพยายามผลักดัน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
กูเกิลออก Chrome 32 Beta ทั้งบนเดสก์ท็อปและบนแอนดรอยด์ ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาทั้งสองเวอร์ชันคือรองรับฟอร์แมต WebP ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวแล้ว โดยกูเกิลคุยว่าภาพเดียวกัน WebP มีขนาดเล็กกว่า animated GIF ถึง 57% แถมเหนือกว่าที่รองรับความโปร่งใสหรือ alpha channel แบบ 8 บิตด้วย (GIF รองรับเพียง 1 บิต)
การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างใน Chrome 32 คือปิดการทำงานของปลั๊กอินแบบ NPAPI ของเดิม ตามนโยบายของ Chrome ที่เปลี่ยนมาใช้ปลั๊กอินแบบ PPAPI แทน
WebP เป็นฟอร์แมตของไฟล์รูปภาพที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเพื่อใช้แทน JPEG ด้วยเหตุผลว่าขนาดไฟล์เล็กกว่าในคุณภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งจะส่งผลมากต่อต้นทุนค่าเซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับกูเกิล
WebP เป็นฟอร์แมตรูปภาพแบบใหม่ของกูเกิลที่ออกมาใช้แทน JPEG/PNG โดยมีจุดเด่นเรื่องการบีบอัดที่ดีกว่า ส่งผลให้ภาพมีขนาดเล็กลง 30-35% ในกรณีทั่วๆ ไป (รายละเอียดอ่านจาก ข่าวเก่าหมวด WebP)
ผลิตภัณฑ์ของกูเกิลหลายตัวรองรับ WebP อยู่ก่อนแล้ว และล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Chrome Web Store จะเริ่มใช้ WebP ด้วย ช่วยลดปริมาณทราฟฟิกที่ไม่จำเป็นลงได้หลาย TB ต่อวัน (ถ้าคูณด้วยจำนวนการเข้าชมเว็บเพจนี้)
กระบวนการทำงานของ Chrome Web Store คือเช็คก่อนว่าเบราว์เซอร์รองรับ WebP หรือไม่ ถ้าใช่จะส่งภาพแบบ WebP ให้แทนภาพปกติ ซึ่งกูเกิลบอกว่ากระบวนการนี้ทำไม่ยากแต่ได้ประโยชน์มหาศาล ทั้งในแง่ปริมาณทราฟฟิกและความเร็วในการโหลดเพจ
WebP เป็นฟอร์แมตที่กูเกิลออกตามหลัง WebM โดยใช้เทคโนโลยีที่ซื้อมาพร้อมกันจากบริษัท On2 โดยแต่เดิมนั้น WebP รองรับเฉพาะการบีบอัดแบบเสียคุณภาพภาพ (lossy) แต่ตอนนี้ WebP รุ่นใหม่ก็รองรับการบีบอัดแบบไม่เสียคุณภาพภาพ (lossless) พร้อมๆ กับการรองรับข้อมูลความโปร่งใส (transparency) ของภาพแล้ว
กูเกิลแสดงผลการทดสอบว่า WebP สามารถบีบอัดภาพได้เล็กกว่า PNG โดยเฉลี่ย 28.2% และภาพ 99.4% นั้น WebP สามารถบีบอัดได้เล็กกว่า PNG
อีกฟีเจอร์หนึ่งคือความโปร่งใสนั้นทีม WebP โชว์ว่าการเพิ่มข้อมูลความโปร่งใส (ที่เรียกว่า alpha channel) นั้นจะเพิ่มขนาดภาพเพียง 0.24 บิตต่อพิกเซลเมื่อบีบอัดแบบเสียคุณภาพที่ค่า 90 เทียบกับข้อมูลแบบไม่บีบอัดที่เพิ่มขึ้น 8 บิต (จาก RGB เป็น RGBA)
WebP เป็นฟอร์แมตรูปภาพแบบใหม่ที่กูเกิลนำเสนอ มันเป็นฟอร์แมตแบบ lossy ที่มาแข่งกับ JPG โดยใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลจาก WebM (ข่าวเก่า)
แน่นอนว่ากูเกิลพยายามดัน WebP สุดตัว ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าผลิตภัณฑ์ของตัวเองหลายอย่างเริ่มรองรับ WebP แล้ว ได้แก่ Chrome, Gmail, Picasa และกำลังจะตามมาด้วย App Engine กับ Google Instant Previews (พรีวิวหน้าเว็บในผลการค้นหา เก็บภาพหน้าจอเป็น WebP)
ส่วนซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ของกูเกิลก็เริ่มรองรับ WebP มากขึ้น ฝั่งเบราว์เซอร์มี Opera ประกาศตัวแล้ว ฝั่งซอฟต์แวร์เกี่ยวกับรูปภาพมี ImageMagick, Pixelmator และมีคนออกปลั๊กอินสำหรับ Photoshop ด้วยเช่นกัน