Federal Aviation Administration
เมื่อวานนี้ระบบแจ้งเตือนการบิน (Notice to Air Missions - NOTAM) ล่มไป และใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะเริ่มกลับมาบินได้อีกครั้ง ทางองค์การบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ก็ระบุสาเหตุที่ระบบล่มว่าเกิดจากฐานข้อมูลเสียหาย โดยไม่มีเหตุให้สงสัยว่าเป็นการโจมตีไซเบอร์
NOTAM เป็นระบบแจ้งเตือนเครื่องบินว่าสนามบินต่างๆ ปิดรันเวย์ใดบ้าง หรือมีสิ่งใดอาจกีดขวางเส้นทางการบินหรือไม่ การที่ระบบนี้ใช้งานไม่ได้จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการบิน ส่งผลให้ FAA ต้องตัดสินใจสั่งห้ามบินทั้งหมด
ทาง FAA ยังคงหาต้นเหตุที่แท้จริงต่อไป และระบุว่าจะวางมาตรการไม่ให้เกิดเหตุล่มแบบนี้อีก
ที่มา - @FAANews
ระบบ NOTAM หรือ Notice to Airmen ของสหรัฐฯ ที่เป็นระบบสำหรับแจ้งเตือนเส้นทางบินว่าอาจจะพบอันตรายต่างๆ เช่น มีเครื่องบินเปลี่ยนเส้นทางไปจากแผนเดิม ระบบล่มไปตั้งแต่ชั่วโมงที่ผ่านมา ทำให้ FAA ต้องสั่งเครื่องบินพลเรือนทั้งหมดห้ามขึ้นบิน ยกเว้นเพียงเครื่องบินทางการทหารและเครื่องบินทางการแพทย์เท่านั้น
ทาง FAA ประกาศผ่านทางระบบ ATCSCC แจ้งเตือนไปยังหอบังคับการบินสั่งให้เครื่องทั้งหมดห้ามขึ้นบิน (Ground Stop All Flights) ประกาศครั้งนี้ให้เวลา 2 ชั่วโมง แต่ระบบ NOTAM ยังไม่สามารถบอกได้ว่าใช้เวลาซ่อมนานเพียงใด
FAA (สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา) ได้อนุมัติให้ Samson Switchblade รถ 3 ล้อบินได้ที่พัฒนาโดยบริษัท Samson ให้เริ่มทดสอบการบินได้แล้ว หลังการพัฒนามานาน 14 ปี
Samson Switchblade เป็นรถ 3 ล้อที่สามารถแปลงร่างเป็นเครื่องบินได้ โดยในตอนใช้งานเป็นรถยนต์นั้น ปีกทั้ง 2 ข้างมันจะถูกพับเก็บไว้ในตัวรถบริเวณใต้ที่นั่ง ในขณะที่ส่วนแพนหางจะถูกพับเก็บไว้ด้านหลังของตัวรถ และการพับเก็บได้ของปีกและแพนหางนี้เองที่เป็นที่มาของชื่อ "Switchblade" ของมันซึ่งแปลว่า "มีดพับ" โดยกระบวนการกางออก/พับเก็บส่วนปีกและแพนหางนี้ใช้เวลาประมาณ 3 นาทีเท่านั้นด้วยการสั่งงานเพียงใช้ปุ่มกดในห้องควบคุม
จากเหตุความกังวลผลกระทบคลื่น 5G ที่อาจกระทบการบิน ขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) ตั้งแต่ปลายปีก่อน ทาง FAA จึงได้จัดทำหน้า 5G and Aviation Safety เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการปรับปรุงมาตราการความปลอดภัยจากประเด็นดัวกล่าว ที่นอกจากข่าวสารและลิงก์เอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมีแสดงตำแหน่งสนามบินในสหรัฐอเมริกาที่มักประสบเหตุทัศนวิสัยต่ำและอยู่ในพื้นที่บริการ 5G จำนวน 87 สนามบิน และรายชื่อรุ่นเครื่องบินที่แสดงสัดส่วนจำนวนสนามบินที่อนุญาตให้ลงจอดจากทั้ง 87 สนามบินดังกล่าว
บริษัท AT&T และ Verizon ยอมเลื่อนการขยายเครือข่าย 5G อีกสองสัปดาห์ จากวันที่ 5 มกราคม 2022 ตามคำขอขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จากที่ก่อนหน้านี้ ยอมเลื่อนมาแล้วหนึ่งเดือน
FAA กังวลว่าคลื่นสัญญาณบริการ 5G ที่ใช้คลื่นความถี่ 3.7-3.98 GHz อาจรบกวนคลื่นย่านความถี่ 4.2-4.4 GHz ที่ใช้ในเครื่องวัดระยะสูงด้วยคลื่นวิทยุของเครื่องบิน (radio altimeter) ซึ่งมีความสำคัญเวลาเครื่องบินลงจอด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทัศนวิสัยต่ำหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
FAA หน่วยงานควบคุมการบินสหรัฐฯ สั่งให้สายการบินหยุดใช้เครื่องบิน Boeing 777 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ Pratt & Whitney 4000-112 จากเหตุเครื่องยนต์ของเที่ยวบิน UA 328 ไฟไหม้ระหว่างบินเมื่อวานนี้ เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม ขณะที่กระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นก็ออกคำสั่งแบบเดียวกัน
ในสหรัฐฯ มีเพียง United Airlines เท่านั้นที่ใช้เครื่องยนต์รุ่นนี้ แต่ยังมีสายการบินในเกาหลีใต้และญี่ปุ่นใช้งานด้วย ทาง Boeing ออกมาสนับสนุนการสอบสวนเพิ่มเติม พร้อมกับระบุว่าตอนนี้มีเครื่อง 777 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ Pratt & Whitney 4000-112 ที่เกิดเหตุนี้จำนวน 128 ลำ ใช้งานแล้ว 69 ลำและยังเก็บอยู่ในโกดัง 59 ลำ
FAA หน่วยงานควบคุมการบินสหรัฐฯ ประกาศแจ้งเตือนสาธารณะว่าการนำโดรนไปติดตั้งอุปกรณ์อันตราย เช่น ปืน, ปืนยิงไฟ, พลุ, ระเบิด, หรือชิ้นส่วนอันตรายอื่นๆ นั้นผิดกฎหมายสหรัฐฯ และมีโทษปรับสูงสุด 25,000 ดอลลาร์ หรือ 755,000 บาท
แม้ในสหรัฐฯ จะมีกฎหมายการครอบครองอาวุธปืนที่ผ่อนปรน รวมถึงปืนยิงไฟ (flamethrower) ที่ The Boring Company ของ Elon Musk เคยทำออกมาขาย แต่การดัดแปลงเครื่องบินทั้งหลายนั้นอยู่ในเขตอำนาจของ FAA
สำหรับหน่วยงานที่จำเป็นต้องดัดแปลงเพื่อใช้งาน เช่น การถ่ายภาพยนตร์, หรืออาชีพที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ยื่นขออนุญาตจาก FAA เป็นกรณีไป
ที่มา - FAA
สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา หรือ FAA ประกาศแจ้งเตือนสายการบินในสหรัฐให้ปฏิบัติตามระเบียบความปลอดภัยปี 2016 ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอิเล็คทรอนิคส์ที่ผ่านการเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยพุ่งเป้าไปที่ MacBook Pro ขนาด 15 นิ้วรุ่นปี 2015-2017 ที่ถูกแอปเปิลเรียกเปลี่ยนแบต
กฎดังกล่าวทำให้สายการบินมีสิทธิห้ามผู้โดยสารนำ MacBook Pro รุ่นดังกล่าวและยังไม่ผ่านการเปลี่ยนแบตขึ้นเครื่อง ไม่ว่าจะถือขึ้นไปบนห้องโดยสารหรือโหลดใต้ท้องเครื่องก็ตาม ยกเว้นจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแบตเตอรี่โดยแอปเปิลแล้ว หรือบรรจุในหีบห่อที่กันไฟ
FAA (สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา) ร่วมมือกับ Kitty Hawk บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาอากาศยาน (เป็นอีกหนึ่งบริษัทของ Larry Page) พัฒนาแอพมือถือชื่อ B4UFLY ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเขตห้ามบินโดรนได้โดยสะดวก
ตัวแอพไม่เพียงแต่จะช่วยยืนยันตำแหน่งของผู้ใช้ว่าอยู่ในจุดห้ามบินโดรนผ่าน หรือห้ามนำโดรนลงจอดเท่านั้น แต่จะมีการอัพเดตพื้นที่ซึ่งมีการประกาศห้ามบินโดรนเป็นการชั่วคราวให้ด้วย นอกจากนี้ตัวแอพยังให้ข้อมูลแนะนำสถานการณ์การจราจรทางอากาศและสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ผู้ใช้ประเมินสภาพการณ์ก่อนการบินโดรนได้อย่างเหมาะสม
FAA เคยเสนอกฎหมายบังคับให้โดรนต้องแสดงหมายเลขเครื่อง เพื่อความง่ายต่อการระบุเจ้าของโดรนทางไกล ล่าสุดวุฒิสมาชิกสหรัฐ 2 รายคือ Edward Markey พรรคเดโมแครตและ John Thune พรรครีพับลิกันออกมากดดัน FAA ให้รีบบังคับใช้กฎนี้เสียที
วุฒิสมาชิกทั้ง 2 ส่งจดหมายไปยังรัฐบาลมนตรีกระทรวงคมนาคม โดยอ้างอิงกฎหมาย Extension, Safety, and Security Act ของ FAA ที่ออกในปี 2016 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ที่บังคับให้ FAA บังคับใช้กฎที่ให้โดรนระบุหมายเลขตัวเครื่องภายใน 2 ปี ซึ่งก็คือภายในเดือนกรกฎาคมปี 2018 ซึ่งตอนนี้ก็เกินกำหนดมานานแล้ว โดยวุฒิสมาชิกให้เหตุผลว่าการระบุเจ้าของโดรนจากทางไกลมีความสำคัญ ทั้งในแง่ความปลอดภัย ความมั่นคงและความเป็นส่วนตัว (จากการที่โดรนรุกล้ำพื้นที่ส่วนบุคคล)
Wing บริษัทพัฒนาโดรนภายใต้เครือ Alphabet ที่แยกออกมาจาก X ได้รับอนุมัติจาก FAA ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการบินของสหรัฐฯ ในการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศในเชิงพาณิชย์แล้ว
การอนุมัติ Wing ให้สามารถขนส่งสินค้าทางอากาศได้นั้น เนื่องมาจากบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับสายการบินอย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งปัจจุบัน FAA ไม่อนุญาตให้โดรนบินออกไปนอกสายตา ส่วนการควบคุมแบบอัตโนมัติปัจจุบันที่ FAA อนุญาตนี้ยังเป็นเพียงการทดสอบเท่านั้น ไม่สามารถเก็บเงินจากการให้บริการได้
ดังนั้นการที่ Wing ได้รับอนุมัติเป็นเหมือนสายการบิน หมายความว่าทางบริษัทได้สร้างมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเพียงพอ ทั้งมีคู่มือความปลอดภัย และมีการฝึกอบรมเป็นประจำ
FAA หน่วยงานกำกับดูแลการบินพลเรือนของสหรัฐฯ ออกร่างรายงานตรวจสอบแพตช์ที่โบอิ้งส่งไปตรวจสอบ และระบุว่าแพตช์นี้พร้อมใช้งาน หลังจากทางโบอิ้งระบุว่าจะปล่อยแพตช์ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยข้อความในรายงานระบุไว้ดังนี้
In March 2019, the FSB conducted an evaluation of the modified Maneuvering Characteristics Augmentation System (MCAS) for training and checking differences determination. The system enhancement is incorporated on all MAX series aircraft. The MCAS system was found to be operationally suitable.
FAA (Federal Aviation Administration) ของสหรัฐออกกฎควบคุมโดรนเพิ่มเติมล่าสุด ที่บังคับให้เจ้าของโดรน ต้องระบุหมายเลขลงทะเบียนโดรนเอาไว้ข้างตัวเครื่อง โดยกำหนดเส้นตายคือ 23 กุมภาพันธ์นี้
FAA ให้เหตุผลว่าการระบุหมายเลขลงทะเบียนโดรนด้านข้างตัวเครื่องก็เพื่อความง่ายต่อเจ้าหน้าที่ความมั่นคง ในการระบุหรือค้นหาเจ้าของโดรน โดยอ้างกรณีของ FBI หรือเจ้าหน้าที่จากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ที่เสี่ยงอาจะเจอกับวัตถุระเบิด กรณีต้องเข้าไปเปิดชิ้นส่วนของโดรนต้องสงสัย เพื่อค้นหาหมายเลขทะเบียน
ที่มา - Bloomberg
หน่วยงานควบคุมการบินกลางของสหรัฐ หรือ FAA (Federal Aviation Administration) ได้ยื่นเอกสารต่อสหประชาชาติ ให้พิจารณาออกกฎห้ามผู้โดยสาร นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโน้ตบุ๊ก ใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางที่จะโหลดใต้ท้องเครื่องบิน
เหตุผลที่ FAA ระบุนั้นมาจากการทดสอบพบว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ที่ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนมีความเสี่ยงที่จะระเบิดจากการได้รับความร้อนสูง เทียบเท่ากับสเปรย์อัดกระป๋อง (ที่ห้ามโหลดอยู่แล้ว) จึงเสนอให้ห้ามโหลดโน้ตบุ๊คด้วยเช่นกันเพื่อความปลอดภัย และแนะนำให้ถือติดตัวไปในห้องโดยสารแทน
เข้าใจว่าคนแถวนี้ถ้าเลือกได้ก็คงไม่โหลดโน้ตบุ๊กอยู่แล้ว
Paul M. Skinner ชายชาว Seattle ถูกศาลตัดสินจำคุก 30 วัน ฐานประมาทและก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น หลังเมื่อปี 2015 นาย Paul ขับโดรนในงาน Pride Parade แล้วชนผู้เสียหาย 2 คน จนหนึ่งในนั้นหมดสติ
กรณีนี้เป็นครั้งแรกที่ศาลเมือง Seattle ตัดสินความผิดจากการขับโดรนในที่สาธารณะ ขณะที่ FAA (Federal Aviation Association) เปิดเผยว่าเฉพาะปีงบประมาณปีที่แล้ว มีรายการการชนของโดรนและเครื่องบินรวมกันกว่า 1,200 ครั้ง เพิ่มจากปีงบประมาณ 2015 ที่มีเพียง 874 ครั้งเท่านั้น รวมถึงมีรายงานที่ไม่ได้รับการยืนยัน ถึงการชนกันระหว่างโดรนและเครื่องบินด้วย
แม้ว่า Galaxy Note 7 จะหยุดขายไปหลายเดือนแล้วก็ตามแต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือประกาศห้ามนำ Note 7 ขึ้นเครื่องบิน จากข้อกำหนดของ FAA (Federal Aviation Administration) ของสหรัฐฯ ส่งผลให้สายการบินทั่วโลก และสนามบินนานาชาติล้วนมีประกาศห้ามนำ Note 7 ขึ้นเครื่อง ตอนนี้ FAA ก็ยกเลิกข้อกำหนดให้ประกาศนี้แล้ว
ประกาศห้ามนำ Note 7 ขึ้นเครื่องบินยังคงมีผลอยู่ แต่สายการบินไม่จำเป็นต้องแจ้งประกาศนี้แก่ผู้โดยสารอีกต่อไป ถ้าชาติอื่นทำตาม เราก็จะเริ่มไม่เห็นป้ายเตือน Note 7 ตามสนามบินและไม่มีการประกาศก่อนขึ้นบินบนเครื่องอีกแล้ว
FAA ให้เหตุผลประกาศนี้ว่าทางซัมซุงประสบความสำเร็จในการเรียกคืนสินค้า โดยเรียกคืนได้แล้วถึง 96% และยังออกอัพเดตเพื่อจำกัดการชาร์จไฟไปแล้ว
เว็บไซต์ Bloomberg รายงานข่าวว่าแอปเปิลเตรียมแผนการให้นักพัฒนาและผู้เชี่ยวชาญด้านการรวบรวมข้อมูล ฟอร์มทีมกันพัฒนาระบบแผนที่ Apple Maps โดยใช้โดรนเป็นเครื่องมือสำคัญ สอดคล้องกับข่าวว่าแอปเปิลได้รับอนุมัติให้ใช้โดรนจากองค์กรควบคุมการบินกลางของสหรัฐฯ (FAA) มาก่อนหน้านี้
Bloomberg ระบุแหล่งข่าวว่าเป็นบุคคลวงใน เขาบอกว่าแอปเปิลต้องการใช้โดรนบินสำรวจสัญลักษณ์บนท้องถนน ติดตามการเปลี่ยนแปลงของถนน และจุดที่มีการก่อสร้าง ข้อมูลที่ได้มาจะส่งให้ทีมแอปเปิลอย่างรวดเร็ว เพื่อนำข้อมูลไปอัพเดตแผนที่ได้ทันที นอกจากนี้ แอปเปิลกำลังพัฒนาแผนที่ภายในอาคารสถานที่ (indoor maps) ด้วย
หลังจากที่เมื่อวานนี้สายการบิน 3 รายหลักของออสเตรเลีย ประกาศห้ามใช้งาน Galaxy Note 7 บนเครื่องบิน ล่าสุด องค์กรควบคุมการบินกลาง (FAA) ของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์สั้นๆ ถึงกรณีของ Galaxy Note 7 โดยใช้แนวทางเดียวกันกับสายการบินทั้งสามของออสเตรเลีย คือแนะนำผู้โดยสารว่า อย่าเปิดใช้งานบนเครื่องบิน รวมถึงการชาร์จด้วยเช่นกัน และที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นมาอีกระดับคือ อย่าเช็คอินเป็นสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่องบิน
แถลงการณ์ดังกล่าวออกมาในลักษณะของข้อแนะนำ โดยระบุกับผู้โดยสารว่าแนะนำอย่างยิ่ง (strongly advises) หลังจากที่เคยออกมายอมรับว่ากำลังหามาตรการรับมืออยู่ ทั้งนี้คงขึ้นกับแนวทางปฏิบัติของสายการบินต่างๆ ที่เหลือ ว่าจะพิจารณาแถลงการณ์ที่เป็นคำแนะนำของทาง FAA นี้เคร่งครัดเพียงใด
ที่มา - FAA
ดูเหมือนว่ากรณีของ Galaxy Note 7 ระเบิด กำลังสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างมากกว่าการยุติจำหน่ายชั่วคราวและการเรียกคืนเครื่อง เมื่อทางองค์กรควบคุมการบินกลาง (FAA) ของสหรัฐฯ ยอมรับกับเว็บไซต์ข่าว Gizmodo ว่ากำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแบน Galaxy Note 7 ห้ามขึ้นเครื่องบินโดยสาร
หลายประเทศในโลกลงนามในสัญญา Outer Space Treaty ควบคุมการส่งยานภาคเอกชนไปยังอวกาศรอบนอกของโลก (ไกลไปกว่าวงโคจรโลก) โดยให้เป็นอำนาจของรัฐบาลแต่ละประเทศ กำกับดูแลยานอวกาศของประเทศตัวเอง
ล่าสุด หน่วยงานการบินของสหรัฐ Federal Aviation Administration หรือ FAA อนุมัติให้บริษัทเอกชน Moon Express สามารถส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้แล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่ภาคเอกชนได้รับสิทธินี้
สำนักการบินแห่งชาติสหรัฐ (FAA) ยื่นฟ้องต่อ Amazon เป็นเงินกว่า 350,000 เหรียญ ฐานที่ Amazon ขนส่งพัสดุอันตรายทางการอากาศ โดยไม่ชี้แจงล่วงหน้าและบรรจุหีบห่อไม่เรียบร้อย จนทำให้เกิดการรั่วไหลและทำให้เจ้าหน้าที่ UPS บาดเจ็บหลายราย
เอกสารของ FAA ระบุว่าพัสดุของ Amazon เป็นของเหลวที่มีคุณสมบัติกัดกร่อน โดยถูกส่งจากรัฐเคนทักกีไปรัฐโคโลราโด้เมื่อเดือนตุลาคม 2014 ก่อนที่ของเหลวนั้นจะรั่วไหลออกมาจากหีบห่อ จนทำให้พนักงาน UPS 9 คนมีอาการแสบร้อนผิวหนัง
FAA ระบุด้วยว่า Amazon มีประวัติละเมิดกฎควบคุมการขนส่งวัสดุอันตรายถึง 24 ครั้ง
ที่มา - Digital Trend
องค์การควบคุมและบริหารการบินของสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration: FAA) ได้เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ทิศทางของอุตสาหกรรมการบินและการคมนาคมทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2016-2036 (วิเคราะห์ล่วงหน้า 20 ปี) โดยระบุว่าภายในปี 2020 จะมีโอกาสได้เห็นยอดของโดรนที่อยู่ในอากาศมากถึง 7 ล้านตัว โดยในจำนวนนี้เป็นโดรนสำหรับมือสมัครเล่นและใช้ในความบันเทิง (recreational) มากถึง 4.3 ล้านตัว
FAA เสนอว่าแนวทางหนึ่งในการรับมือกับปัญหาโดรนที่เพิ่มขึ้นนี้ คือการบังคับให้เจ้าของและผู้ขับโดรน ต้องมาลงทะเบียนกับทาง FAA เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะตามมาในภายหลัง โดยชี้ให้เห็นว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ จะต้องเป็นไปอย่างชัดเจน เพื่อให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์สามารถทำได้แพร่หลายมากขึ้น (เพราะมีข้อกำหนดที่ชัดเจน)
แม้ว่ากระแสการใช้งานโดรนจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลัง แต่ทว่าการใช้งานหลักๆ ยังคงจำกัดอยู่แค่ในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ทีมถ่ายทำภาพยนตร์ หรือเฉพาะทางจัดๆ อย่างงานกู้ภัย นอกนั้นเราก็ไม่ค่อยเห็นการนำโดรนไปใช้ในรูปแบบอื่นมากนัก โดยเฉพาะกับภาคธุรกิจ
เพื่อปลุกกระแส และเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งานโดรนในโลกธุรกิจอย่างจริงจัง สำนักงานการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) เพิ่งประกาศรับรองให้ Aerodrome สตาร์ทอัพสายฝึกสอน และซัพพอร์ตการใช้งานโดรนให้ดำเนินการสร้าง Eldorado Droneport สนามบินสำหรับโดรนเป็นแห่งแรกของสหรัฐฯ ในโบลเดอร์ซิตี รัฐเนวาดา
ทิ้งช่วงไปเกือบสองเดือนนับตั้งแต่ที่สำนักงานการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ประกาศให้ลงทะเบียนโดรนได้ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคมโดยไม่มีค่าธรรมเนียมเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ในงาน CES 2016 ซึ่งทาง FAA ได้ไปจัดบูทลงทะเบียนด้วยก็ได้ออกมาประกาศยอดผู้ลงทะเบียนโดรนว่ามีจำนวนมากกว่า 180,000 รายแล้ว
จำนวน 180,000 รายนี้เพิ่มขึ้นจากเมื่อเดือนธันวาคมที่ประกาศตัวเลขไว้ที่ราว 45,000 รายอยู่มากโข ซึ่ง FAA ระบุว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนโดรนฟรีจนถึงวันที่ 20 มกราคมนี้ หลังจากนั้นจะเก็บค่าธรรมเนียมครั้งละ 5 เหรียญ พร้อมกับเอกสารอื่นๆ ตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ และอีเมล หลังลงทะเบียนแล้วจะใช้งานโดรนได้อย่างปลอดภัยไร้กังวลไปอีก 3 ปี โดยไม่จำกัดจำนวนโดรนที่ครอบครอง
หลังจากมีรายงานว่ากระทรวงขนส่งสหรัฐฯ วางแผนจะออกมาตรการใหม่ให้ผู้ใช้โดรนมาลงทะเบียนกับทางการ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ตอนนี้สำนักงานการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ก็ออกมารับเรื่องพร้อมกับปล่อยเอกสารชุดแรกเกี่ยวกับการลงทะเบียนโดรนมาแล้ว
ในเอกสารยาว 14 หน้า ระบุว่าผู้ใช้ที่อายุมากกว่า 13 ปี และซื้อโดรนน้ำหนักมากกว่า 250 กรัม จะต้องมาลงทะเบียนกับ FAA โดยทางการจะบันทึกชื่อ และที่อยู่ของผู้ลงทะเบียนไว้ กระบวนการทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านออนไลน์ และไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ โดยใบรับรองจะถูกส่งไปยังใช้ผู้ผ่านทางอีเมล ซึ่งจะเป็นตัวเลขเฉพาะสำหรับโดรนเครื่องนั้นๆ