Supermicro รายงานผลการตรวจสอบความโปร่งใสในการดำเนินงานโดยคณะกรรมการอิสระ โดยรายงานระบุว่าไม่พบหลักฐานของการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง เป็นไปตามที่รายงานที่เคยออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ Supermicro พบปัญหาเมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีจาก Ernst & Young ได้ขอลาออกจากการเป็นผู้ตรวจสอบ โดยบอกว่าตรวจพบปัญหาความโปร่งใสในการดำเนินงาน ทำให้ Supermicro ไม่สามารถรายงานผลประกอบการที่ตรวจสอบแล้วทันกำหนดเวลาของ SEC ซึ่งบริษัทได้แต่งตั้ง BDO USA เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีใหม่ และขอเลื่อนกำหนดส่งผลประกอบการ เพื่อให้หุ้นบริษัทยังซื้อขายในตลาดแนสแดคได้ต่อไป
Supermicro รายงานว่าบอร์ดได้แต่งตั้งให้ BDO USA มาเป็นบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระของบริษัท แทน Ernst & Young ที่ขอลาออกจากการเป็นผู้ตรวจสอบก่อนหน้านี้โดยมีผลทันที ทั้งนี้ BDO เป็นบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่แห่งหนึ่งที่มีสาขาอยู่ทั่วโลก
นอกจากนี้ Supermicro บอกว่าบริษัทได้ยื่นแผนต่อตลาดหลักทรัพย์แนสแดค เพื่อขอให้ขยายเวลาการส่งรายงานให้เป็นไปตามระเบียบของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหุ้น โดยคาดว่าจะสามารถส่งแบบรายงานประจำปี 10-K สิ้นสุดมิถุนายน 2024 และแบบรายงานผลประกอบการไตรมาส 10-Q สิ้นสุดกันยายน 2024 ได้เร็ว ๆ นี้ เพื่อให้หุ้นของบริษัทยังสามารถซื้อขายได้ต่อไปไม่ถูกเพิกถอน โดยรอการอนุมัติจากตลาดหุ้นแนสแดคต่อไป
Supermicro รายงานผลประกอบการเบื้องต้นของไตรมาสที่ 1 ตามปีการเงินบริษัท 2025 สิ้นสุดเดือนกันยายน ยอดขายอยู่ที่ช่วง 5.9-6.0 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจากตัวเลขที่บริษัทประเมินไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งอยู่ราว 6.0-7.0 พันล้านดอลลาร์ มีกำไรสุทธิแบบ GAAP ประมาณ 0.68-0.70 ดอลลาร์ต่อหุ้น
สาเหตุที่ Supermicro รายงานผลประกอบการเป็นตัวเลขเบื้องต้น เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วผู้ตรวจสอบบัญชีจาก Ernst & Young ได้ขอลาออกจากการเป็นผู้ตรวจสอบ ระบุว่าพบปัญหาความโปร่งใสในการดำเนินงาน ทำให้ Supermicro ไม่สามารถส่งรายงานงบการเงินประจำปีการเงิน 2024 (สิ้นสุดเดือนมิถุนายน) ได้ทันตามกำหนด 29 สิงหาคม จึงส่งผลมาที่งบการเงินของไตรมาสล่าสุดด้วย
Supermicro เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์, ระบบเร่งการประมวลผลจีพียู และสตอเรจเซิร์ฟเวอร์ชุดใหม่ ที่ใช้ซีพียู EPYC ตระกูล 9005 และจีพียู Instinct MI325X ล่าสุดของ AMD
กลุ่มสินค้า H14 ชุดใหม่ ประกอบด้วย Hyper เซิร์ฟเวอร์องค์กรสองซีพียู EPYC 9005 ช่องในหน่วยความจำ 24 สลอต มีทั้งขนาด 1U และ 2U, GrandTwin แพลตฟอร์มประมวลผลแบบ 4 โนด ขนาด 2U สำหรับคลัสเตอร์ที่ต้องการเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และ FlexTwin เซิร์ฟเวอร์ 2U 4 โนด มีซีพียู EPYC 9005 สองตัวต่อโนด สำหรับงาน HPC, EDA หรืองานที่ต้องการเวิร์กโหลดสูง
Supermicro ยังเปิดตัวชุดเร่งการประมวลจีพียูทั้งแบบ 5U, 4U และ 8U เป็นการทำงานร่วมกันทั้ง EPYC 9005 และ Instinct MI325X
Supermicro รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ตามปีการเงินบริษัท 2024 สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ยอดขายรวม 5,308 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 143% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิ 353 ล้านดอลลาร์ ตามบัญชี GAAP
Charles Liang ประธานและซีอีโอ Supermicro กล่าวว่าตลอดปีการเงินที่ผ่านมา มีความต้องการสินค้าสูงจนทำสถิติใหม่โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์โครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับงาน AI บริษัทยังคงตั้งเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีรายใหญ่ที่สุด มีเทคโนโลยีที่เป็นผู้นำ รวมทั้งระบบระบายความร้อนที่ระดับแร็ก และโซลูชันสำหรับการติดตั้งเครื่องในศูนย์ข้อมูล
Supermicro ยังประกาศแผนแตกหุ้น (Stock Split) 1 หุ้นเดิมเป็น 10 หุ้นใหม่ (10-for-1) มีผลในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
Michael Dell ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Dell โพสต์ภาพว่ากำลังผลิตเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้กับ Grok บริการ AI ของ xAI ธุรกิจในเครือ Elon Musk
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นี้เป็นตัวที่ Elon ให้ข่าวเอาไว้ ว่าจะใช้จีพียู NVIDIA H100 เป็นหลักแสนตัว แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าระบบที่ Dell กำลังทำให้มีจำนวนจีพียูกี่ตัวกันแน่
หลังจาก Dell ให้ข่าว ฝั่งของ Elon ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า Dell สร้างเพียงครึ่งหนึ่งของระบบทั้งหมดเท่านั้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นงานของ Supermicro (SMC) ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์รายใหญ่อีกเจ้านั่นเอง
ที่มา - Fast Company
ราคาซื้อขายหุ้นของ NVIDIA เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรับลดลงถึง 10% อยู่ที่ 762 ดอลลาร์ต่อหุ้น เป็นราคาที่ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 มูลค่ากิจการล่าสุดอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์
ไม่มีรายงานข่าวใดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ NVIDIA ซึ่งมีผลต่อราคาหุ้น นักวิเคราะห์จึงคาดว่าเกิดการขายหุ้นทำกำไร หลังจากหุ้นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกระแส AI ปรับเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
ปัจจัยทางอ้อมที่อาจมีผลคือ Super Micro Computer ซึ่งมีเซิร์ฟเวอร์ที่ผลิตโดยใช้จีพียูของ NVIDIA โดยเฉพาะ ราคาหุ้นลดลงวันเดียวถึง 23% หลังจากบริษัทไม่ได้ให้ข้อมูลผลประกอบการเบื้องต้น ซึ่งแตกต่างจากไตรมาสก่อนหน้านี้ที่บริษัทปรับเพิ่มตัวเลขก่อนรายงานผลประกอบการ
ซัมซุงเปิดตัว "กล่องแรม" Memory Module Box ที่สามารถใส่แรมความเร็วสูง HBM3E ได้สูงสุด 2TB ต่อกล่อง แบนด์วิดท์รวม 60 GBps มีความหน่วงต่ำ 596 nanosecond เหมาะสำหรับงานประมวลผลที่ต้องใช้แรมมากๆ เช่น AI, ฐานข้อมูลในหน่วยความจำ (in-memory database) และงานวิเคราะห์ข้อมูล
กล่องแรมของซัมซุงจะเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลหลักของเซิร์ฟเวอร์ผ่านบัสแบบใหม่ Compute Express Link (CXL) ที่อินเทลและกลุ่มบริษัทไอทีจำนวนหนึ่งเริ่มผลักดันมาได้สักระยะ โดยบัส CXL ออกแบบมาเพื่อแข่งกับ NVLink ของ NVIDIA และ CCIX ของฝั่ง AMD
บริษัทความปลอดภัย Eclypsium ออกรายงานช่องโหว่ชิปเซ็ตจัดการเซิร์ฟเวอร์ (baseboard management controller - BMC) ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดปิดเซิร์ฟเวอร์, รีบูต, และอัพเดตเฟิร์มแวร์ได้จากระยะไกล โดย BMC ของเซิร์ฟเวอร์ Supermicro หลายรุ่นมีช่องโหว่ที่เปิดทางให้แฮกเกอร์สามารถยิงข้อมูลจนเหมือนมีอุปกรณ์ USB ไปเสียบอยู่หน้าเครื่องจริงๆ
ช่องโหว่นี้อาศัยฟีเจอร์ Virtual CD-ROM ของ Supermicro ที่มีแอปพลิเคชั่นจาวามาให้ผู้ดูแลระบบ สามารถเมาน์ไฟล์ ISO ไปเหมือนใส่แผ่นซีดีติดตั้งระบบปฎิบัติการอยู่หน้าเครื่อง โดยฟีเจอร์นี้ที่จริงแล้วเป็นฟีเจอร์อุปกรณ์ USB เสมือน ที่หากส่งข้อมูลถูกต้อง เครื่องปลายทางสามารถจำลองอุปกรณ์ USB อะไรก็ได้เหมือนไปเสียบอุปกรณ์ที่เครื่องจริงๆ
จากกรณี รายงานจาก Bloomberg เผยจีนฝังชิปบนเมนบอร์ด Supermicro เปิดทางควบคุมเครื่อง ซึ่งทาง Supermicro ก็ออกมาปฏิเสธ
ล่าสุด Supermicro ยังใช้ผู้ตรวจสอบภายนอกบริษัทมาตรวจสอบเรื่องนี้อีกชั้น (เพื่อความเป็นกลาง) โดยตรวจสอบจากบอร์ดหลายรุ่นและหลายช่องทาง ผลคือไม่พบร่องรอยใดๆ ของการถูกฝังชิป
Supermicro บอกว่ากระบวนการของบริษัทใส่ใจเรื่องความปลอดภัยของซัพพลายเชนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว และมีพนักงานของบริษัทเข้าไปกำกับกระบวนการผลิตของโรงงานตลอดเวลา จึงอยากให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ารายงานของ Bloomberg ไม่เป็นความจริง
หลังจาก Bloomberg นำเสนอรายงานพิเศษที่อ้างว่าทางการจีนอยู่เบื้องหลังการติดตั้งชิปพิเศษที่เปิดทางเข้าควบคุมเครื่องบนเมนบอร์ดของ Supermicro และนำไปสู่ราคาหุ้นของบริษัทที่ร่วงกว่า 40% รวมถึงบริษัทที่มีชื่อในรายงานต่างปฎิเสธ
ล่าสุด เจ้าหน้าที่และนักการเมืองของสหรัฐจำนวนหนึ่งเริ่มให้สัมภาษณ์แสดงความกังวลกับกรณีในรายงานของ Bloomberg แล้ว
จากรายงานของ Bloomberg เรื่องจีนฝังชิปพิเศษบนเมนบอร์ดของ Supermicro ล่าสุด บริษัทที่ถูกพูดถึงในรายงานข่าวนี้ว่าได้รับผลกระทบต่างออกมาแถลงการณ์ปฏิเสธกันทุกรายแล้ว
เริ่มต้นที่ Supermicro โดยกล่าวว่าบริษัทไม่เคยพบชิปดักจับข้อมูลดังกล่าว และไม่เคยมีลูกค้ารายงานกลับมาว่าพบชิปประเภทนี้ รวมทั้งไม่ได้รับการติดต่อจากหน่วยงานรัฐบาลในเรื่องนี้
Supermicro ย้ำว่าความปลอดภัยในทุกขั้นตอนเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญมาก ประเด็นเรื่องการผลิตเมนบอร์ดในจีนนั้นถือเป็นมาตรฐานปกติของอุตสาหกรรม ผู้ผลิตอุปกรณ์รายอื่นก็มีการจ้างโรงงานภายนอกแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่ง Supermicro มีการตรวจสอบและประเมินโรงงานเหล่านี้ตลอด
สำหรับผู้ที่ใส่ใจเรื่องความปลอดภัย คงไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่าการถูกฝังชิปพิเศษที่สามารถตรวจสอบข้อมูลและแก้ไขข้อมูลต่างๆ ในระดับล่าง (low-level) เข้ากับคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่โรงงาน ซึ่งรายงานชิ้นล่าสุดของ Bloomberg ภายใต้หัว Businessweek ระบุว่าทางการจีน ฝังชิปพิเศษที่มีขนาดเล็กมากมากับเมนบอร์ดของ Supermicro หนึ่งในบริษัทผลิตเมนบอร์ดรายสำคัญของโลก และเป็นที่นิยมใช้กันมากในองค์กรขนาดใหญ่และศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่
สำนักข่าว The Information รายงานว่า Apple ปลดอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Supermicro ออกจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง และคืนอุปกรณ์ที่เพิ่งซื้อมาให้กับบริษัท เนื่องจากพบปัญหามัลแวร์ฝังตัวอยู่ในเฟิร์มแวร์ที่ติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์
Apple ตรวจพบปัญหาขณะกำลังพัฒนาระบบของ App Store โดยในรายงานบอกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่จัดการคำสั่งจาก Siri ก็มีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท Supermicro ด้วย ในขณะที่แหล่งข่าวของ Ars Technica เผยว่าปัญหาดังกล่าวเกิดเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานในห้องปฏิบัติการออกแบบเท่านั้น
Supermicro เปิดตัวสตอเรจเซิร์ฟเวอร์สำหรับงานระดับองค์กรและการให้บริการคลาวด์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง โดยใช้ SSD จาก HGST ที่มีให้เลือกสองรุ่น คือ Ultrastar SSD800MH.B และ Ultrastar SSD1600MM
ตัวคอนโทรลเลอร์เป็นเซิร์ฟเวอร์ 2U ใช้ซีพียู E5-2643 แรม 256GB มีพอร์ต SFP+ 10Gbps 2 พอร์ต ซอฟต์แวร์เป็น NexentaStor 4.0 รองรับ NFSv3, NFSv4, CIFS, SMB 2.1, และ iSCSI
ประสิทธิภาพ latency ต่ำกว่า 1ms, รองรับ 200,000 IOPS ที่บล็อค 32KB และทรูพุตรวม 6GB/s
เริ่มต้นที่ 19TB ไปจนถึง 115TB ราคาตั้งอยู่ที่ 2 ดอลลาร์ต่อ GB ไปจนถึง 3.5 ดอลลาร์ต่อ GB
มีรายงานถึงช่องโหว่ของเมนบอร์ด Supermicro ที่มักเป็นเมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์ประกอบ โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์รันบนไบออส IPMI ที่พอร์ต 49152 และวางไฟล์ IPMIdevicedesc.xml ที่เก็บข้อมูลคอนฟิกรวมถึงรหัสผ่านเอาไว้ให้ดาวน์โหลดออกไปได้
ช่องโหว่นี้ทำให้หากแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่ IPMI ทำงานอยู่ได้ก็จะสามารถเข้าควบคุมเครื่องได้ทั้งหมดทันที
ระหว่างนี้ยังไม่มีแพตช์มาจากทาง Supermicro โดยทาง CARISIRT หน่วยแจ้งเตือนปัญหาความปลอดภัยของผู้ให้บริการคลาวด์ CARI ระบุว่าได้ติดต่อกับทาง Supermicro มาแล้วตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว