เริ่มรู้กันบ้างแล้วว่าทีม Life Science อดีตทีมวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ที่เคยอยู่ใต้ร่มใบของ Google X ก่อนจะแยกเป็นบริษัทใหม่หลังการก่อตั้ง Alphabet ล่าสุดมีภาพหลุดของอุปกรณ์ที่กำลังพัฒนาอยู่ออกมาแล้ว
ก่อนหน้านี้ทีม Life Science โชว์ผลงานแปลกตามาบ้าง ตั้งแต่คอนแทคเลนส์ที่สามารถวัดระดับของน้ำตาลได้จากน้ำตา และอุปกรณ์อีกชิ้นชื่อเล่นว่า "capicola" ที่วางตัวเป็นอุปกรณ์ตรวจเก็บข้อมูลสุขภาพซึ่งไม่มีข้อมูลออกมามากนัก และเจ้า capicola ที่ว่าก็เพิ่งมีภาพหลุดออกมาวันนี้นี่เอง
Wall Street Journal รายงานแผนภายในของ Alphabet ว่ากำลังจัดการกระบวนการใช้จ่ายภายในเสียใหม่ หนึ่งในนั้นระบุว่าบรรดาบริษัทลูกที่ใช้บริการส่วนกลางของบริษัทจะต้องจ่ายค่าบริการด้วย
การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้มาเกี่ยวเนื่องกับการประกาศปรับโครงสร้างองค์กรโดยมี Alphabet นำทัพเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งครั้งนั้น Larry Page ระบุว่าต้องการให้หน่วยงานในกูเกิลเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้านได้รวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกันบรรดาบริษัทลูกก็ต้องมีรายงานค่าใช้จ่ายที่ตรวจสอบได้ เพื่อไม่ให้มีการใช้เงินบานปลายจนเกินไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรงกับที่ Ruth Porat หัวหน้าฝ่ายการเงินคนปัจจุบันของ Alphabet บอกกับนักลงทุนไปเมื่อเดือนตุลาคมว่าบริษัทจะจัดการการใช้เงินให้ดีขึ้น
Larry Page ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิล ขึ้นเวทีงานสัมมนา Fortune Global Forum ตอบคำถามว่าเขามีวิธีการเลือกจะทำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ของ Alphabet อย่างไร
เขาบอกว่าวิธีตัดสินใจง่ายมาก เกณฑ์การคัดเลือกของเขามีแค่ว่าสิ่งนั้นสำคัญมากแค่ไหน ถ้าส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก เขาจะตัดสินใจทำสิ่งนั้น
เขาเล่าวิธีการมองหาสิ่งที่น่าสนใจ ด้วยการคุยกับพนักงานของบริษัทแล้วถามคำถามเยอะๆ เพื่อหาไอเดียว่าจะทำอะไรดี ตัวอย่างเช่น เขาคุยกับทีมศูนย์ข้อมูลของกูเกิล เพื่อเรียนรู้วิธีการจัดการกระแสไฟฟ้า ทั้งกรอบของเวลาและราคา แล้วดูว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างไร
หลังจากมีข่าวเข้าซื้อบริษัทใหญ่มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี ดูเหมือนปี 2015 นี้กูเกิลจะเริ่มผ่อนเกียร์ลงบ้างแล้ว หลังจากในรายงานประจำไตรมาสที่ยื่นแก่กลต. (Form 10-Q) เผยรายจ่ายเกี่ยวกับการควบรวมบริษัทน้อยที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009
ในรายงานดังกล่าวระบุว่าตลอด 9 เดือนของปี 2015 กูเกิลใช้จ่ายเงินไปกับเข้าซื้อบริษัทรายย่อยโดยไม่เปิดเผยข้อมูลเพียง 250 ล้านเหรียญ และไม่มีชื่อของบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ผิดวิสัยของบริษัทที่มีกระแสเงินสดมากถึงหลัก 72,800 ล้านเหรียญ และเข้าซื้อบริษัทใหญ่มาร่วมทัพอย่างต่อเนื่อง รายล่าสุดคือ Nest เมื่อปี 2014 ที่มูลค่า 2,500 ล้านเหรียญ
ในช่วงที่ผ่านมา เราทราบดีว่า Google นั้นมีปัญหากับทางการจีนอยู่บ่อยครั้ง จนไม่สามารถให้บริการในจีนได้ตามปกติ (ข่าวเก่า) แต่ล่าสุดเมื่อเปลี่ยนโค
Project Loon โครงการกระจายอินเทอร์เน็ตสู่พื้นที่ห่างไกลของ Alphabet ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรคมนาคมในอินโดนิเซีย 3 บริษัท ได้แก่ Telkomsel, XL Axiata และ Indosat
Mike Cassidy หัวหน้า Project Loon และ Sergey Brin ประธานบริษัท Alphabet และผู้บริหารบริษัทโทรคมนาคมในอินโดนิเซีย 3 บริษัทได้จัดงานแถลงข่าวในแคลิฟอร์เนียถึงความร่วมมือ Project Loon ในอินโดนิเซีย โดยก่อนหน้านี้ Project Loon ได้ส่งบอลลูนขึ้นเหนือพื้นที่ 12 ไมล์เพื่อส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตในนิวซีแลนด์มาแล้ว ตามมาด้วยออสเตรเลียและบราซิล โดยอินโดนิเซียถือเป็นประเทศที่ 4 ที่จะได้ส่ง Project Loon โดย Cassidy เผยแผนว่าจะส่งบอลลูนขึ้นไปลอยเหนือประเทศอินโดนิเซียให้ได้ 100 ลูก
Alphabet บริษัทซึ่งตั้งขึ้นมาเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลเมื่อเดือนสิงหาคม รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2015 โดยไตรมาสนี้ข้อมูลทั้งหมดยังเป็นโครงสร้างกูเกิลเดิมอยู่ และจะเปลี่ยนมารายงานข้อมูลตามโครงสร้าง Alphabet ในไตรมาสถัดไป
รายได้รวมอยู่ที่ 18,675 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 5,102 ล้านดอลลาร์ โดยรายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 16,781 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นส่วนนี้ 13% รายได้จาก Paid Clicks เพิ่มขึ้น 23% ส่วน Cost-Per-Click ลดลง 16%
Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิลนั้นมีเว็บที่ชื่อโดเมนว่า ABC.xyz แต่ดูเหมือนทาง Alphabet ก็พยายามหาโดเมนที่เหมาะสมมากกว่าเดิม ซึ่งตอนนี้อาจมีทางเลือกไม่มากนัก เพราะ Alphabet.com ปัจจุบันเป็นของ BMW (ยังมีปัญหากันอยู่) ส่วน ABC.com ก็เป็นของสถานีโทรทัศน์ในอเมริกา อย่างไรก็ตาม Alphabet ยังพยายามหาโดเมนใหม่ต่อไปแม้จะแปลกๆ หน่อย
ต่อเนื่องกับข่าวบริษัท Alphabet โดยทาง Wall Street Journal พบว่าในหน้าเว็บของ Alphabet ได้ระบุมาตรฐานจริยธรรมการปฏิบัติงานขององค์กร (Code of Conduct) เอาไว้ซึ่งแตกต่างไปจากของกูเกิลที่ระบุตั้งแต่บรรทัดแรกอันเป็นประโยคสุดฮิตว่า "Don’t be evil."
Code of Conduct ของ Alphabet นั้นเป็นการใช้คำกว้างๆ เช่น ระบุว่าพนักงานขององค์กร "ควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง" (should do the right thing), ปฏิบัติตามกฎหมาย ซื่อสัตย์ และให้เกียรติผู้อื่น ทั้งนี้ Code of Conduct ของ Alphabet นั้นถือว่ามีผลกับบริษัทในเครือทั้งหมด จึงเป็นสาเหตุที่ต้องใช้ข้อความที่หลวมมากกว่ากูเกิล
Wall Street Journal ให้ข้อมูลวงในว่า Alphabet จะใช้แนวทางการบริหารบริษัทลูกแบบเดียวกับ Nest Labs นั่นคือให้อิสระกับแต่ละบริษัทค่อนข้างมาก
กรณีของ Nest มีสำนักงานแยกต่างหากจากกูเกิล, ใช้อีเมลลงท้ายด้วยโดเมน nest.com, มีกระบวนการคัดคนเข้าเป็นพนักงานของตัวเอง, เช่าใช้คลาวด์ของคู่แข่งอย่าง Amazon และตัดนโยบายเลี้ยงอาหารฟรีแบบเดียวกับกูเกิลออกไป เพื่อรักษาจิตวิญญาณของบริษัทที่ต้องต่อสู้แข่งขัน
บริษัทลูกของ Alphabet จะใช้แนวทางแบบเดียวกัน คือมีกระบวนการจ้างงาน ทำสัญญา ทำการตลาดของตัวเอง เพื่อให้เดินหน้าทำธุรกิจอย่างคล่องตัว ผู้บริหารแต่ละคนจะมีสถานะเป็นซีอีโอของบริษัท (เกือบ) อิสระ แทนการเป็นผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล
กูเกิลหมดสถานะการเป็นบริษัทอิสระ หลังตลาดหลักทรัพย์สหรัฐปิดตลาดเมื่อวานนี้ (2 ตุลาคม 2015) หุ้นของกูเกิลทั้งหมดจะถูกโอนเป็นหุ้นของบริษัท Alphabet แทน
การเปลี่ยนแปลงนี้มีผลในเชิงโครงสร้างบริษัทตามเอกสารเท่านั้น ตัวย่อหุ้นจะยังใช้ GOOG/GOOGL เหมือนเดิม ธุรกิจของกูเกิลยังดำเนินการตามปกติ ส่วนบริษัทใหม่ๆ ภายใต้บริษัทแม่ Alphabet ก็จะเป็นไปตามแผนที่เคยประกาศเอาไว้เมื่อเดือนสิงหาคม
จากนี้ไป กูเกิลจะมีสถานะเป็นบริษัทลูกของ Alphabet อย่างเป็นทางการ โดยมี Sundar Pichai เป็นซีอีโอของกูเกิล และ Larry Page เป็นซีอีโอของ Alphabet
Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิล ออกมาประกาศว่าบริษัทโฮลดิ้ง Alphabet จะมีสมาชิกใหม่คือทีมวิจัยด้าน life science (บางคนแปลว่า "ชีววิทยาศาสตร์") ซึ่งเคยอยู่ในสังกัดของ Google X จะแยกตัวออกมาเป็นบริษัทใหม่
บริษัทแห่งใหม่ยังไม่มีชื่อเรียก แต่จะทำงานวิจัยด้าน life science ในสาขาต่างๆ ทั้งการวิจัยและการทดลองใช้จริงกับการแพทย์ต่อไป โดย Andy Conrad หัวหน้าทีมจะนั่งเก้าอี้ CEO ของบริษัทใหม่แห่งนี้
ผลงานของทีมนี้ที่เคยเป็นข่าวโด่งดังคือ คอนแทคเลนส์อัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจระดับน้ำตาลจากน้ำตาโดยไม่ต้องเจาะเลือด
ที่มา - +Sergey Brin
ภายหลังการเปิดตัว Alphabet ที่มาพร้อมเว็บไซต์เก๋ไก๋ abc.xyz ตอนนี้พบว่าโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย .xyz ถูกแห่จดจองเป็นเจ้าของกันนับพันชื่อแล้ว
สิ่งที่น่าสนใจคือ โดเมนเนมเหล่านั้นหลายตัว เป็นชื่อที่เกี่ยวพันกับ Google อาทิ googlecars.xyz, googlefiber.xyz, googledocs.xyz, alphebetventure.xyz และอีกสารพัด ซึ่งก็คงเดาได้ไม่ยากว่าคนที่จดชื่อพวกนี้ก็คงหวังว่าสักวันจะได้ทำราคาขายโดเมนเนมพวกนี้ต่อไปให้แก่ Google ในวันที่ Google อยากจะได้ขึ้นมา แต่หากเดาผิด ก็ไม่แน่ว่าคนที่ยอมควักเงินจดชื่อโดเมนเนมพวกนี้อาจวางแผนทำเว็บไซต์ล่อลวงหรือเว็บไซต์ปั่นโฆษณาก็เป็นได้
เป็นข่าวใหญ่โตกับการประกาศข่าวตั้งบริษัท Alphabet มาเป็นบริษัทแม่ของ Google จนมีผลให้ราคาหุ้นของ Google ขยับเพิ่ม 5% ในวันเดียว แต่ดูเหมือน BMW จะไม่ชอบใจกับข่าวนี้สักเท่าไหร่ และแว่วว่าเตรียมหาช่องทางฟ้องยักษ์ใหญ่ไอทีฐานละเมิดชื่อทางการค้า เพราะ BMW ได้จดทะเบียนชื่อ "Alphabet" ไว้ก่อนแล้ว
กูเกิลออกแถลงการณ์วันนี้ถึงแผนการปรับโครงสร้างองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารงานในส่วนธุรกิจใหม่ๆ ทั้งหลายมีความคล่องตัวมากขึ้น ที่ผ่านมาส่วนธุรกิจใหม่ของกูเกิลอย่างเช่น Nest, Calico หรือโครงการอย่าง Google X ถูกตั้งคำถามว่าจะสร้างประโยชน์อย่างไรให้กับกูเกิลในฐานะบริษัทแม่ ซึ่งโครงสร้างองค์กรใหม่จะแก้ปัญหาดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้