ในช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะได้ยินข่าวอื้อฉาวของ Theranos บริษัทสตาร์ทอัพสายสุขภาพที่ในที่สุดแล้วกลายมาเป็นเรื่องใหญ่ในวงการ แต่ล่าสุด Theranos อาจจะไม่ใช่บริษัทเดียว เมื่อเว็บไซต์ STAT ที่รายงานข่าวเรื่องของสุขภาพ ออกมาเผยแพร่รายงานพิเศษเมื่อต้นเดือนเกี่ยวกับ Verily บริษัทในเครือของ Alphabet (Google เดิม) ที่ทำเรื่องของชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) โดยระบุว่ามีความใกล้เคียงกับกรณีของ Theranos
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า Google Fiber เล็งจะขยายบริการ Google Fiber เป็นแบบบรอดแบรนด์ไร้สาย ล่าสุด Eric Schmidt ประธานบริษัท Alphabet ออกมาให้รายละเอียดแล้วว่าน่าจะเป็นการใช้ Gigabit Wi-Fi
จุดเด่นของ Gigabit Wi-Fi คือใช้มาตรฐาน 802.11ac และปล่อยบนคลื่นความถี่ 5GHz เท่านั้น แต่ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า เพียงแต่จุดอ่อนของการใช้คลื่นความถี่ 5GHz คือความสามารถในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวางค่อนข้างต่ำ ซึ่งคาดว่า Google จะใช้เทคโนโลยีนี้ในการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายไปยังชุมชนหรือหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล เพราะจะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการลากสายไฟเบอร์เข้าไปยังตัวบ้าน
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิลได้จัดการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยได้มีประเด็นเล็กๆ เกิดขึ้นในช่วงหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ซักถามกับผู้บริหาร
ผู้ถือหุ้นที่เรียกตัวเองว่า Linda ได้ลุกขึ้นถามเป็นคนแรก ซึ่งไม่ใช่การตั้งคำถามแต่เรียกร้องว่า เธอคาดหวังว่าการมาประชุมผู้ถือหุ้นกับกูเกิลก็น่าจะได้ของที่ระลึก เช่นหมวกหรือแก้วน้ำบ้าง (เข้าใจว่ามีของแจกทุกปี) แต่ปีนี้พอบริษัทปรับโครงสร้างใหม่เป็น Alphabet กลับไม่มีของที่ระลึกเลย ซึ่งเธอเองก็บอกว่านี่ฟังดูเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับคนอื่น แต่ไม่ใช่กับตัวเธอเอง
ผู้บริหารกูเกิลที่อยู่บนเวที ตอบรับข้อเสนอนี้และบอกว่าจะปรับปรุงในการประชุมปีหน้า แต่เมื่อถึงช่วงท้ายของการประชุม ผู้บริหารอีกคนก็ขึ้นเวทีแจ้งว่า เมื่อได้ยินข้อเสนอนี้เขาก็รีบไปสอบถามร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และเตรียมหมวกหลายร้อยใบมาแจกให้ผู้ถือหุ้นหลังการประชุม
ไม่มีรายละเอียดว่าหมวกที่นำมาจากร้านค้าเป็นหมวกรุ่นใด แต่ถ้าหากเป็นหมวกแก๊ป Android กูเกิลก็จำหน่ายอยู่ที่ราคาใบละ 6.25 ดอลลาร์ครับ
ที่มา: Business Insider
ข่าวช็อควงการเมื่อวานนี้คือ Tony Fadell ลาออกจาก Nest เพื่อรับตำแหน่งที่ปรึกษาของ Alphabet ซึ่งหลายคนมองตรงกันว่า Tony Fadell โดนปลดกลายๆ หลัง Nest ผลงานไม่เข้าเป้า
เว็บไซต์ Ars Technica รวบรวมข้อมูลของ Nest ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง สรุปว่า Nest เคยถูก Alphabet ตั้งเป็นความหวังในการบุกตลาดสมาร์ทโฮม และได้รับเงินทุน "แทบไม่จำกัด" ขยายทีมจาก 280 คนตอนที่ถูกซื้อ จนใหญ่ระดับ 1,200 คนในปัจจุบัน อีกทั้งซื้อกิจการเสริมทัพทั้งกล้องวงจรปิด Dropcam (แพงถึง 555 ล้านดอลลาร์) และ สมาร์ทฮับ Revolv
Tony Fadell ได้ประกาศลาออกจากการเป็นซีอีโอของบริษัท Nest อย่างเป็นทางการ หลังจากเป็นซีอีโอมา 6 ปี โดยเพื่อเตรียมย้ายไปนั่งในตำแหน่งที่ปรึกษาของ Alphabet โดยผู้ที่จะขึ้นตำแหน่งซีอีโอแทนใน Nest คือ Marwan Fawaz ซึ่งอดีตเคยทำงานเป็นผู้บริหารใน Motorola Mobility
การรับตำแหน่งใหม่ใน Alphabet ของ Fadell นี้จะช่วยให้เขาเข้าสู่ผลิตภัณฑ์สาขาอื่นได้ง่ายขึ้น โดย Fadell กล่าวว่าเขาเตรียมคุยกับคนในทีมมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และการย้ายไปเป็นที่ปรึกษาจะทำให้เขามีเวลาและความยืดหยุ่นในทำการผลิตภัณฑ์ในสาขาอื่นๆ และเพื่อสนับสนุนคนที่ทำสิ่งเดียวกับเขาบ้างเหมือนที่ Nest
เว็บไซต์ข่าวไอที Tech Insider รายงานข่าวลือว่า Toyota โดยแผนก Toyota Research Institute กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาขั้นตอนสุดท้ายกับ Google เพื่อเข้าซื้อ Boston Dynamics แผนกทำหุ่นยนต์ของตัวเองที่เข้าซื้อกิจการมาเมื่อปี 2013 (ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของ Alphabets) และเคยมีข่าวลือเมื่อเดือนมีนาคมว่าเตรียมจะขายออกไป
Tech Insider อ้างแหล่งข่าวของตนเองที่ไม่เปิดเผยชื่อ โดยระบุว่าตัวเลขของมูลค่าการเข้าซื้อยังไม่สิ้นสุด แต่อยู่ในขั้นตอนใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว (ink is nearly dry) ซึ่งเมื่อทาง Tech Insider สอบถามไปยัง Google ก็ได้รับการปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงข่าวดังกล่าว
Alphabet รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1/2016 มีรายได้ 20,257 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน และคิดเป็น 23% หากตัดปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยนออกไป สุทธิแล้วมีกำไร 5,248 ล้านดอลลาร์
กลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่กูเกิล (Other Bets) มีรายได้ในไตรมาสที่ผ่านมา 166 ล้านดอลลาร์ และขาดทุนส่วนนี้ 802 ล้านดอลลาร์
ข้อมูลอื่นที่น่าสนใจจากช่วงแถลงผลประกอบการมีดังนี้
หลังจากที่ปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission: EC) ได้เปิดการสอบสวนเรื่องการผูกขาดในตลาดสมาร์ทโฟนที่เป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนเรื่องการผูกขาดของ Google (ข่าวเก่า) ล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีหนังสือแจ้งไปถึง Google และ Alphabet (ในฐานะบริษัทแม่) ว่ามีพฤติกรรมการผูกขาดในตลาดสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของระบบปฏิบัติการ Android
ในแถลงการณ์ของ EC ระบุว่า Google ในฐานะบริษัทที่มีเครื่องมือค้นหาบนอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ มีการบังคับให้ติดตั้งระบบค้นหาของตัวเองลงไปในสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ที่จำหน่ายในยุโรปและใช้ Android โดยบังคับให้เป็นค่ามาตรฐาน ซึ่งทำให้คู่แข่งรายอื่นๆ ทั้งในตลาดเครื่องมือค้นหา (search engine) และสมาร์ทโฟน ไม่สามารถแข่งขันได้อย่างเสรี (ในแถลงการณ์ระบุถึงขั้นมีการใช้เงินเพื่อให้แรงจูงใจในการไม่ติดตั้งระบบค้นหาของเจ้าอื่น) ซึ่งทำให้ทางคณะกรรมาธิการยุโรป ตัดสินใจส่งหนังสือไปหาทั้งสองบริษัท เพื่อแจ้งถึงพฤติกรรมดังกล่าวแล้ว (เรียกว่า "statement of objections" รายละเอียดเชิงลึก อ่านได้จากที่มา)
ขั้นตอนจากนี้ทาง Google และ/หรือ Alphabet จะต้องส่งหนังสือหรือเข้าพบเพื่อให้การกับ EC โดยตามขั้นตอนแล้วจะไม่มีการกำหนดกรอบเวลาเอาไว้ (แปลว่าเรื่องอาจจะลากยาวไปเป็นปีๆ ได้) ก่อนที่ทาง EC จะมีคำตัดสินเพื่อบังคับให้ Google และ Alphabet ทำตาม (คล้ายๆ กรณีของ Microsoft ที่ต้องออก Windows เวอร์ชันพิเศษเมื่อไปจำหน่ายในตลาดยุโรป)
ที่มา - European Commission ผ่าน Business Insider
Federal Election Commission หรือกกต. ของสหรัฐฯ ได้เปิดเผยบัญชีผู้บริจาคสนับสนุนเคมเปญหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปรากฎว่ารายนามผู้บริจาคแบบกลุ่มของ Bernie Sanders ผู้สมัครสายสังคมนิยมของพรรคเดโมแครต พนักงานของ Alphabet ติดอันดับเป็นผู้บริจาคสูงที่สุดด้วยจำนวนในปัจจุบัน (20 เมษายน 2016) ที่ 254,814 เหรียญสหรัฐฯ
ตามมาด้วยพนักงานของ Microsoft, Apple และ Amazon ในอันดับที่ 3 ถึง 5 โดยมีพนักงานของ AT&T, Intel และ Cisco ร่วมบริจาคตามมาเป็นอันดับที่ 10, 11 และ 18 ตามลำดับ
ที่มา - OpenSecre.org via CNET
หลังให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการมาเกือบ 5 ปี Google Fiber บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านใยแก้วนำแสงของ Google ก็กำลังวางแผนขยายการให้บริการอินเทอร์เน็ต ด้วยการเปลี่ยนมาเป็นการให้บริการแบบไร้สาย (wireless) ส่งตรงถึงบ้านแทน
Craig Barratt รองประธานอาวุธโสฝ่าย Access and Energy ของ Google ซึ่งดูแล Google Fiber และโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับระบบโทรคมนาคม เปิดเผยแผนการดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทกำลังพัฒนาและทดลองเทคโนโลยีไร้สายหลายๆ ตัว โดยคาดว่าจะสร้างเป็นแหล่งกระจายสัญญาณไร้สาย (ต้นทางใช้คำว่า wireless tower) บนสายใยแก้วนำแสงที่ติดตั้งตามเมืองต่างๆ ไว้แล้ว
เว็บไซต์ Healthcare IT News รายงานว่า Alphabet บริษัทแม่ของ Google เข้าลงทุนในบริษัท Quartet Health สตาร์ทอัพสายสุขภาพที่เน้นเรื่องของพฤติกรรม (behavioral health) ผ่าน GV (Google Ventures เดิม) บริษัทลูกของตัวเองเป็นจำนวนเงินกว่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ร่วมกับนักลงทุนรายเดิม ในการระดมทุนรอบล่าสุด
Arun Gupta ซีอีโอของ Quartet Health ระบุว่าจะนำเงินทุนที่ได้ครั้งนี้ เข้าไปขยายกิจการและขยายประเทศที่เข้าไปดำเนินการอยู่ รวมถึงเสริมทีมงานด้านต่างๆ ส่วน Krishna Yeshwant ตัวแทนของ GV จะเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดกรรมการบริหารด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้เพิ่งมีข่าวความขัดแย้งภายใน Nest บริษัทลูกของ Alphabet ล่าสุดเว็บไซต์ Re/code ได้คำบรรยายของ Tony Fadell ซีอีโอของ Nest Labs ที่ขึ้นมาชี้แจงในงาน TGIF งานภายในของ Alphabet ที่เปิดให้พนักงานตั้งคำถามผู้บริหารได้ (Alphabet ไม่ยืนยันข้อมูลในเอกสารที่หลุดออกมานี้)
Fadell บอกว่าบทความที่พูดถึงความขัดแย้งใน Nest ไม่สะท้อนสภาพการทำงานที่แท้จริงของบริษัท เขาผิดหวังที่อดีตพนักงานออกมาโจมตี แต่ก็ยอมรับว่ามีปัญหาจริง และพยายามแก้ไขตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ตัวชี้วัดต่างๆ ของ Nest ขึ้นมาเท่าเทียมกับค่าเฉลี่ยของกูเกิลแล้ว เขาหวังว่าในอนาคตจะสามารถแซงหน้าได้
Nest Labs บริษัทฮาร์ดแวร์ IoT ที่เป็นความหวังของเครือ Alphabet กำลังมีปัญหาภายในซะแล้ว
เรื่องเริ่มมาจากเว็บไซต์ The Information รายงานข่าวว่า Nest มีปัญหากับพนักงานของ Dropcam บริษัทกล้องวงจรปิดที่ซื้อมาในปี 2014 (ตอนหลังพัฒนาเป็น Nest Cam) โดย Tony Fadell ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Nest ให้เหตุผลว่าพนักงานของ Dropcam คุณภาพไม่ดีอย่างที่คิดไว้ ทีมมีประสบการณ์น้อยเกินไป
Eric Schmidt ประธานของ Alphabet ไปพูดเปิดงาน Google Cloud Platform โดยพยากรณ์ว่าบริษัทไอทีที่ยิ่งใหญ่และเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (IPO) ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นบริษัทที่พัฒนาบนฐานของเทคโนโลยี machine learning
Schmidt ยังมองว่าเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานทางไอทีในปัจจุบัน เช่น virtualization และ container จะกลายเป็นเรื่องปกติสามัญ และการสร้างบริษัทให้ยิ่งใหญ่แบบ Uber จะต้องใช้ machine learning ผสมผสานกับข้อมูลจากวิธี crowdsourcing
เขาบอกว่าความยิ่งใหญ่ของแพลตฟอร์มข้อมูลลักษณะนี้ จะเทียบเท่ากับโลกของแอพในปัจจุบันเลยทีเดียว
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวลือว่า Alphabet เตรียมขายบริษัทหุ่นยนต์ Boston Dynamics ออกไป ด้วยเหตุผลว่าไม่เห็นโอกาสทำเงินในระยะสั้น ซึ่งขัดกับแผนการของ Alphabet ที่พยายามให้บริษัทในเครือสร้างรายได้ให้ได้สักที
Bloomberg รายงานว่า Boston Dynamics อาจถูกขายให้ Toyota Research Institute (หน่วยงานวิจัยของ Toyota) หรือ Amazon ที่นำหุ่นยนต์ไปใช้ในคลังสินค้า
กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ประกาศตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม (Defense Innovation Advisory Board) เพื่อดึงความรู้จากภาคเอกชน โดยเฉพาะฝั่ง Silicon Valley มาปรับปรุงการทำงานของกระทรวงกลาโหม
ภารกิจของคณะกรรมการชุดนี้คือ "ให้คำปรึกษา" กับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง เน้นไปในเรื่องที่ฝั่ง Silicon Valley เชี่ยวชาญ เช่น การสร้างต้นแบบรวดเร็ว (rapid prototyping), กระบวนการพัฒนาแบบปรับปรุงตลอดเวลา (iterative product development), การวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง, การใช้เทคโนโลยีโมบายล์และคลาวด์ เป็นต้น แต่คณะกรรมการจะไม่ไปเกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการทหารแต่อย่างใด
Boston Dynamics บริษัทผู้พัฒนาหุ่นยนต์ที่ Google ซื้อมาตั้งแต่ปี 2013 ยังคงเดินหน้าปรับปรุงหุ่นยนต์รุ่นใหม่อยู่เรื่อยๆ ล่าสุดหุ่น Atlas ซึ่งเป็นหุ่นยนต์แบบเดิน 2 ขาของ Boston Dynamics ก็ได้รับการปรับปรุงใหม่ให้ทรงตัวได้ดียิ่งขึ้น สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนได้ใกล้เคียงกับการเดินของมนุษย์ยิ่งกว่าเดิม
Google Ideas หน่วยงานคลังสมอง (think tank) ของกูเกิล ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "Jigsaw" และปรับบทบาทใหม่เป็นหน่วยงานที่นำเทคโนโลยีไปแก้ปัญหาเชิงรัฐศาสตร์-ความมั่นคง เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย, แก้ปัญหาเซ็นเซอร์เนื้อหาออนไลน์, ลดผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์ ฯลฯ กูเกิลเรียกหน่วยงานใหม่ว่าเป็นหน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยี (technology incubator)
ผลประกอบการที่ดีของ Alphabet ส่งผลให้หุ้นของบริษัทดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีมูลค่าบริษัท (market capitalization) ที่ประมาณ 560 พันล้านดอลลาร์ แซงหน้าแอปเปิลที่มีมูลค่าปัจจุบัน 535 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกไปแล้ว
เหตุผลส่วนหนึ่งที่ Alphabet แซงหน้าแอปเปิลได้ เป็นเพราะมูลค่าหุ้นแอปเปิลเริ่มตกลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 ด้วย และผลประกอบการไตรมาสล่าสุดก็แสดงให้เห็นสัญญาณว่าแอปเปิลเติบโตช้าลง ในขณะที่ Alphabet ยังเติบโตอย่างดี และขยายไปลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่ "ดูน่าจะมีอนาคต" อีกจำนวนมาก
Alphabet ประกาศผลประกอบการไตรมาส 4/2015 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ประกาศในฐานะบริษัท Alphabet (ก่อนหน้านี้ประกาศในฐานะกูเกิล) ตัวเลขของไตรมาส 4 ถือว่าเยอะเป็นประวัติการณ์ของบริษัทด้วย
กำไรจากการดำเนินงาน 5.3 พันล้านดอลลาร์ (อัตรากำไร 25%) ถ้าคิดกำไรทั้งหมด (net income) อยู่ที่ 4.9 พันล้านดอลลาร์
การเผยผลประกอบการครั้งนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ Alphabet แยกตัวเลขของกิจการอื่นๆ ที่ไม่ใช่กูเกิลให้เห็นกันชัดๆ (บริษัทเรียกธุรกิจใหม่ว่า Other Bets) โดยรวมเป็นตัวเลขตลอดปี 2015
กูเกิล: รายได้ 74.5 พันล้านดอลลาร์ กำไร 23.4 พันล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว)
ปกติแล้วเรามักเห็นซีอีโอของบริษัทไอทีรายใหญ่ ขึ้นเวทีนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ และประชุมเพื่อตอบคำถามผู้ถือหุ้น แต่ Larry Page ซีอีโอของ Alphabet กลับไม่เคยไปประชุมกับผู้ถือหุ้นเลยในช่วงหลัง และต่อให้เป็นเวทีงาน Google I/O ของบริษัทตัวเอง เขาก็ขึ้นเวทีครั้งสุดท้ายในปี 2013 (แม้จะยังไปงานทุกปีแต่ไม่ขึ้นเวทีแล้ว)
ในทางกลับกัน Page กลับไปร่วมงานสัมมนาทางวิชาการด้านหุ่นยนต์, งานประชุมระดมไอเดียแบบ TED, งานวิทยาศาสตร์ Solve for X ของกูเกิล และงาน Sci Foo Camp ที่จัดร่วมกับสำนักพิมพ์ O'Reilly อย่างสม่ำเสมอ แม้เขาไม่ได้ขึ้นพูดในงาน (เขามีปัญหาเรื่องเส้นเสียง) แต่เขาจะเดินคุย ถามคำถาม และนำเสนอไอเดียกับผู้ร่วมงานเป็นปกติ
หนังสือพิมพ์ The New York Times รายงานข่าวของ Google X หรือชื่อใหม่ "X" ที่สอดคล้องกับข้อมูลของเว็บ Re/code ว่าดึงโครงการหุ่นยนต์ทั้งหมดของกูเกิลเข้ามาอยู่ในสังกัด และได้ Hans Peter Brondmo อดีตผู้บริหารโนเกียมาเป็นหัวหน้าหน่วยคนใหม่ แทนตำแหน่งว่างที่เดิมเป็นของ Andy Rubin
โครงการหุ่นยนต์ของ X เกิดจากบริษัทหุ่นยนต์หลายรายที่กูเกิลไล่ซื้อมาในรอบหลายปีนี้ และอยู่ภายใต้การดูแลของ Andy Rubin ที่รวมทุกบริษัทหุ่นยนต์เข้ามาไว้ด้วยกัน แต่หลังจาก Rubin ลาออกจากกูเกิลไปในปี 2014 ทำให้โครงการขาดหัวมานานเป็นปี จนสุดท้าย Alphabet จึงแก้ปัญหาด้วยการย้ายโครงการนี้มาอยู่ใต้การดูแลของ X
เว็บไซต์ Re/code อ้างข้อมูลวงในว่า Alphabet กำลังจัดองค์กร Google X ใหม่ เปลี่ยนชื่อเป็น "X" เพียงอย่างเดียว พร้อมเปิดเผยโลโก้ใหม่เป็นรูปตัว X สีเหลืองด้วยเลย (ข่าวจริงแท้แค่ไหน ทาง Alphabet ยังไม่ยืนยัน)
ภารกิจของ X จะยังเหมือนเดิมคือคิดใหญ่ทำใหญ่ (หรือที่เรียกว่าโครงการ moonshot คือใหญ่ระดับส่งยานขึ้นดวงจันทร์) โดยมีสถานะเป็น "ศูนย์บ่มเพาะ" (incubator) ของเครือ Alphabet ทั้งหมด ถ้าโครงการไหนมีศักยภาพไปต่อได้ในเชิงธุรกิจ มันก็จะเลื่อนชั้นกลายเป็นบริษัทใหม่ในเครือ Alphabet ต่อไป ตัวอย่างบริษัทลูกของ Alphabet ที่เคยเป็นโครงการของ X มาก่อนคือ บริษัทด้าน Life Science ที่ได้ชื่อว่า Verily
Bloomberg Businessweek รายงานว่า Google Auto บริษัทผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาโครงการรถยนต์ไร้คนขับกำลังจะกลายเป็นอีกหนึ่งบริษัทใหม่ภายใต้ร่มเงาของ Alphabet ภายในปีที่จะถึงนี้แล้ว
การกลายเป็นบริษัทของ Google Auto ก็เพื่อผลักให้ตัวโครงการสามารถหารายได้ด้วยตัวเอง ซึ่งคาดว่าจะมาจากการเปิดบริการเรียกรถรับส่ง โดย Bloomberg ระบุว่าบริการนี้จะเริ่มเปิดในพื้นที่จำกัดอย่างเช่น มหาวิทยาลัย เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม และเลี่ยงการขอใบอนุญาตที่จำเป็นต่อการเปิดบริการบนถนนสาธารณะ
หลังจากใช้ชื่อบ้านๆ มาพักใหญ่ วันนี้ Alphabet ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทวิจัยและพัฒนาเกี่ยววิทยาศาสตร์อย่าง Life Science ให้เป็นชื่อที่เรียกง่ายขึ้นอย่าง "Verily" แทน พร้อมกับเปิดตัวเว็บใหม่ Verily.com มาด้วย
Andy Conrad ผู้ซึ่งเผยชื่อใหม่ในระหว่างสัมภาษณ์ระบุว่า Verily นั้นหมายถึงสิ่งที่ "จริงแท้แน่นอน" ซึ่งการดำเนินงานภายใต้ Verily จะครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ โดยจะเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีร่วมกับด้านสุขภาพ เพื่อตรวจหา ป้องกัน และจัดการโรคร้าย