ทีมงาน Android ไปตอบคำถาม AMA (Ask Me Anything) บน Reddit โดยเน้นไปที่ประเด็น Android O มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ฟีเจอร์เด่นของ Android O คือ Project Treble หรือการแยกชั้นของฮาร์ดแวร์ออกมาจากระบบปฏิบัติการ ประโยชน์ของมันคือช่วยลดระยะเวลาการอัพเดตเวอร์ชัน เพราะชั้นฮาร์ดแวร์ยังใช้ของเดิมได้อยู่ เปลี่ยนเฉพาะชั้นของระบบปฏิบัติการ
ล่าสุด บล็อก Android Developers ยังอธิบายข้อดีของ Project Treble ว่านอกจากเรื่องอัพเดตเร็วแล้ว มันยังช่วยให้ Android O ปลอดภัยมากขึ้นด้วย
Remix OS โครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Android สำหรับพีซี ที่เคยเป็นขวัญใจชาว Kickstarter อยู่ช่วงหนึ่ง ประกาศอำลาวงการแล้ว
บริษัท Jide Technology ผู้พัฒนา Remix OS บอกว่าจะเลิกทำตลาดฝั่งคอนซูเมอร์ และหันไปทำตลาดฝั่งองค์กรแทน จึงตัดสินใจหยุดการพัฒนาระบบปฏิบัติการ Remix OS รวมถึงฮาร์ดแวร์พีซีขนาดจิ๋ว Remix IO/IO+ โดยผู้ที่ระดมทุนจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน
กูเกิลออกแอพ Android Samba Client สำหรับเชื่อมต่อเผื่อแชร์ไฟล์ผ่านโพรโทคอล SMB มาแบบเงียบๆ บน Play Store
แอพตัวนี้เป็นการพอร์ต Samba ไคลเอนต์ SMB แบบโอเพนซอร์สจากลินุกซ์มายังแอนดรอยด์โดยตรง ตัวมันเองก็เป็นโอเพนซอร์สและเปิดโค้ดบน GitHub
กูเกิลไม่ได้ประกาศข่าวอะไรถึงแอพตัวนี้ และชื่อนักพัฒนาก็เป็น Marketing @ Google ที่เป็นเหมือนทีมเฉพาะกิจมากกว่า ข้อเสียของแอพตัวนี้คือมันรองรับเฉพาะ SMBv1 เท่านั้น ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่ไม่ปลอดภัย และไมโครซอฟท์ไม่แนะนำให้ใช้งานแล้ว
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ ครั้งนี้เพราะติดวันหยุดของทางอเมริกาเลยช้ากว่าปกติหน่อย รอบนี้กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนกรกฎาคม 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 ก.ค. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 ก.ค. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 ก.ค. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 ก.ค. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 43 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) ถึง 10 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 ก.ค. แก้เพิ่มอีก 96 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง Broadcom, HTC, MediaTek, NVIDIA และ Qualcomm ซึ่งในบรรดา 80 จุดนี้เป็นระดับร้ายแรง 1 จุด จากฝั่ง Broadcom
ค่ายมือถือจีน Meizu เงียบๆ ไปพอสมควรในช่วงหลัง ล่าสุดออกมาประกาศระบบปฏิบัติการ Flyme OS รุ่นใหม่เวอร์ชัน 4.5 ที่พัฒนาอยู่บน Android Nougat
มือถือที่จะได้อัพเกรดเป็น Nouget ได้แก่รุ่น PRO 6 Plus / PRO 6 / PRO 6s / PRO 5 / MX6 / M5 Note5 / M3 Note3 / M3 E / M3 Max
Meizu จะเปิดให้ทดสอบรอมรุ่นเบต้ากันก่อนในวันที่ 10 กรกฎาคมนี้ ส่วนรุ่นเสถียรก็จะตามมาในภายหลัง
คนที่อยู่ในสายงานการพัฒนาแอพ Android น่าจะคุ้นเคยกับ "เอก" สมเกียรติ กิจวงศ์วัฒนะ หรือชื่อในวงการคือ Akexorcist ที่เป็นนักพัฒนาระบบ GDE (Google Developer Expert) ด้าน Android
เขาขึ้นเวทีงานสัมมนาเกี่ยวกับ Android แทบทุกงานในไทย มีบล็อกเกี่ยวกับการพัฒนาบน Android ที่อัพเดตสม่ำเสมอ และล่าสุดเพิ่งไปร่วมงาน Google I/O 2017 ถึงถิ่นกูเกิล บทความนี้เราจึงสัมภาษณ์เขาเพื่อขอทราบมุมมองว่า โลกของนักพัฒนา Android ตอนนี้ไปถึงไหนกันแล้ว
หลังเรือธงล่าสุดอย่าง OnePlus 3 เริ่มได้รับ Nougat ไปบ้างแล้ว ล่าสุด OnePlus ยืนยันด้วยว่า Android O จะอัพเดตให้ทั้ง OnePlus 3 และ OnePlus 3T
ขณะที่รุ่นปีที่แล้วอย่าง OnePlus 2 จะไม่ได้รับอัพเดตแม้กระทั่ง Nougat โดยทางบริษัทให้เหตุผลว่าตอนทำ OnePlus 2 ไม่ได้มีทีมซอฟต์แวร์ดูแลเหมือนรุ่นปัจจุบัน ซึ่งก็คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากการแตกหักกับ Cyanogen และหันมาทำรอมเองด้วย
เพียงสามสัปดาห์หลังกูเกิลออก Android O Developer Preview 2 ที่งาน Google I/O กูเกิลก็ออกรุ่น Preview 3 ตามมาทันที
ความสำคัญของ Android O Preview 3 คือเป็นรุ่นที่ API เสถียรและไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว นักพัฒนาแอพสามารถอ้างอิง O Preview 3 ในการทดสอบแอพได้เลย (API level 26 จะคงที่ไปตลอดจนถึงรุ่นจริง) ขั้นถัดไปคือการแก้บั๊กหรือเพิ่มฟีเจอร์ของตัวระบบปฏิบัติการที่ไม่เกี่ยวกับ API เท่านั้น
กูเกิลบอกว่าจะออก Preview 4 ตามมาอีกตัวในเดือนกรกฎาคม ก่อนจะออก O รุ่นสมบูรณ์ในช่วงท้ายๆ ของฤดูร้อนฝรั่ง (ราวเดือนสิงหาคม)
ซัมซุงนำเว็บเบราว์เซอร์ของตัวเอง (Samsung Internet) ขึ้น Play Store และเปิดให้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รุ่นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยี่ห้อซัมซุง (ตอนนี้ยังได้แค่ Nexus/Pixel) ดาวน์โหลดไปใช้งานได้แล้ว
ฟีเจอร์ของ Samsung Internet มีหลายอย่างที่แตกต่างไปจาก Chrome ที่เราคุ้นเคยกันดี ตัวอย่างเช่น การรองรับ VR บนเว็บเมื่อรับชมด้วย Gear VR
ช่วงหลังซัมซุงนำแอพของตัวเองหลายตัวขึ้น Play Store ให้อัพเดตกันโดยตรง ช่วยให้ซัมซุงสามารถออกแอพได้ถี่ขึ้น โดยไม่ต้องรอรอบการอัพเดตของระบบปฏิบัติการ
พบกันเป็นประจำทุกต้นเดือนครับ กูเกิลออกแพตช์ความปลอดภัย Android ประจำเดือนมิถุนายน 2017 รอบนี้แพตช์มี 2 ชุด ได้แก่ชุด 1 มิ.ย. สำหรับพาร์ทเนอร์ที่ต้องการอุดช่องโหว่ก่อน และชุด 5 มิ.ย. ที่เป็นแพตช์ชุดสมบูรณ์ (แพตช์ตัวนี้จะรวมเอาแพตช์ 1 มิ.ย. มาด้วย)
สำหรับแพตช์ 1 มิ.ย. แก้ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 21 จุด (CVE) เป็นระดับร้ายแรง (critical) 1 จุด ซึ่งเป็นเรื่องของ Mediaserver เจ้าเก่า ส่วนแพตช์ 5 มิ.ย. แก้เพิ่มอีก 80 จุด ส่วนมากแก้ปัญหาช่องโหว่บนไดรเวอร์ของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์อย่าง MediaTek, NVIDIA, Qualcomm และ Synaptics ซึ่งในบรรดา 80 จุดนี้เป็นระดับร้ายแรงถึง 27 จุด ทั้งหมดมาจากฝั่ง Qualcomm
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Pixel/Nexus ที่จะได้รับแพตช์มีดังนี้ครับ
OnePlus เคยสัญญาว่าจะอัพเดต OnePlus 2 เป็น Android 7.0 Nougat ตามหลังจาก OnePlus 3 และ 3T
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นมาเกือบครึ่งปี OnePlus ก็เงียบหายไปเลย ล่าสุดมีผู้ใช้บอร์ด xda รายหนึ่งอีเมลไปคุยกับบริษัท และได้รับคำตอบว่า OnePlus 2 จะไม่ได้อัพเดตเป็น Nougat แล้ว
OnePlus ยังไม่ได้ประกาศข่าวนี้ต่อสาธารณะ และยังไม่มีข่าวของ OnePlus X ที่ออกในปีเดียวกัน (2015) ว่าจะได้อัพเดตเป็น Nougat ด้วยหรือไม่
เมื่อสองปีก่อน กูเกิลเปิดโครงการล่าบั๊กแอนดรอยด์ เพื่อทำให้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ปลอดภัยมากขึ้น เดือนนี้ก็นับว่าครบรอบสองปี ทางกูเกิลจึงมีการสรุปผลการดำเนินการครบรอบสองปี สรุปสิ่งที่น่าสนใจมีดังนี้
ที่น่าสนใจคือมีการระบุรายชื่ออุปกรณ์แอนดรอยด์ที่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยไม่เกินสองเดือนที่ผ่านมา โดยมีรายชื่อดังนี้
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ Android O คือ JobScheduler จำกัดการทำงานของแอพที่รันในแบ็คกราวนด์ เพื่อประหยัดพลังงานให้มากขึ้น ก่อนหน้านี้เราเข้าใจกันว่าฟีเจอร์นี้จะใช้ได้เฉพาะแอพที่ออกแบบมาให้รันบน O เท่านั้น
แต่ในบทสัมภาษณ์ของหัวหน้าทีม Android กับ Ars Technica ก็มีการอธิบายเรื่องนี้เพิ่มเติม กลายเป็นว่าแอพใดๆ ก็ได้ที่รันบน O สามารถถูกจำกัดการรันอยู่ในแบ็คกราวนด์ได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องตั้งค่าเอาเองในหน้า Battery usage
การจำกัดการทำงานของ O ไม่ได้เป็นการห้ามรันแบ็คกราวนด์ 100% แต่ตัว JobScheduler จะคอยจัดการทรัพยากรให้แทน เช่น จำกัดความถี่ของการเข้าถึง location เป็นต้น
ปัญหาอย่างหนึ่งของแอนดรอยด์ คือการใช้เคอร์เนลลินุกซ์ที่เก่ามาก (แอนดรอยด์ใช้ 3.18 ที่ออกในปี 2014 ส่วนเคอร์เนลเวอร์ชันล่าสุดคือ 4.11)
Dave Burke หัวหน้าทีมวิศวกรรมแอนดรอยด์ ตอบคำถามเรื่องนี้ในบทสัมภาษณ์กับ Ars Technica ว่าเคอร์เนล 3.18 เป็นเคอร์เนลที่ซัพพอร์ตระยะยาว (LTS) ซึ่งมันหมดอายุซัพพอร์ตแล้วในเดือนมกราคม 2017
ปัญหาของเรื่องนี้เกิดจากแผนการซัพพอร์ต LTS ของลินุกซ์กับแอนดรอยด์มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ลินุกซ์มีระยะซัพพอร์ต 2 ปี ส่วนแอนดรอยด์มีระยะซัพพอร์ตความปลอดภัย 3 ปี ทางแก้คือทีมแอนดรอยด์กำลังเจรจากับทีมลินุกซ์ให้ระยะการซัพพอร์ตยาวนานขึ้น
เก็บตกข่าวจากงาน Google I/O 2017 ประกาศอีกอันหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับนักพัฒนาสาย Android คือกูเกิลออก "คอมโพเนนต์" พื้นฐานสำหรับสร้างแอพบน Android ในชื่อว่า Architecture Components
กูเกิลบอกว่าการพัฒนาแอพบนสมาร์ทโฟน มีความซับซ้อนกว่าแอพบนเดสก์ท็อป เพราะแอพบนสมาร์ทโฟนมีหลายชิ้นส่วนที่สามารถเรียกได้จากหลายทาง (เช่น ไอคอน หรือ notification) และมีการจัดการ lifecycle ในหน่วยความจำที่ต่างออกไป นักพัฒนามือใหม่จึงอาจประสบปัญหาในการสร้างแอพให้มีประสิทธิภาพ
Architecture Components จึงเข้ามาช่วยสร้าง "โครงหลัก" ของแอพให้ดี ก่อนที่นักพัฒนาจะไปต่อยอดความสามารถให้กับแอพต่อไป หน้าที่หลักของ Architecture Components จะทำ 2 เรื่องคือ
กูเกิลไม่ได้พูดถึง Chrome OS มากนักในคีย์โน้ตของ Google I/O แต่ในห้องย่อยก็มีการประกาศว่าจะออก Chrome OS Emulator ให้นักพัฒนาใช้ทดสอบแอพกันด้วย
เหตุผลของกูเกิลคือแอพ Android สามารถรันบน Chrome OS ได้แล้ว แต่นักพัฒนาอาจไม่มี Chromebook มาทดสอบว่าแอพของตัวเองรันบนจอใหญ่ได้ดีแค่ไหน การมีอีมูเลเตอร์จึงช่วยตรงนี้ได้มาก
กูเกิลยังไม่บอกว่าเราจะเห็น Chrome OS Emulator กันเมื่อไร แต่ก็เปิดหน้าลงทะเบียนรับอัพเดตข่าวสารแล้ว กูเกิลยังแนะนำให้ใช้ Android API Level 24 ขึ้นไป และวางแผนออกแบบแอพให้ปรับขนาดได้ รวมถึงรองรับการป้อนข้อมูลผ่านเมาส์และคีย์บอร์ดด้วย
ในห้องย่อยของงาน Google I/O ทีมงาน Android ประกาศข้อมูลไว้สั้นๆ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้ใช้ Android O จะสามารถอัพเดตไดรเวอร์กราฟิกผ่าน Play Store ได้โดยตรง
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลละเอียดในเรื่องนี้ แต่คาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก Project Treble ที่แยกส่วนของ OS หลักกับส่วนของไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ออกจากกัน
ที่มา - Android Police
กูเกิลเพิ่งประกาศว่าฟีเจอร์ Instant App ใช้แอพได้โดยไม่ต้องติดตั้งลงในเครื่อง เปิดใช้งานสำหรับทุกคนในงาน I/O 2017
แอพอ่านบทความยอดนิยมอย่าง Pocket ก็ตอบรับด้วย Pocket Instant App for Android ตามมาทันที
ปกติแล้วเวลาเพื่อนเราอ่านข่าวด้วย Pocket แล้วแชร์ลิงก์มาให้เราผ่านช่องทางต่างๆ (เช่น โซเชียล) ลิงก์ของบทความนั้นจะเป็น URL ของ Pocket ที่เปิดผ่านเบราว์เซอร์แล้วจะ redirect ไปยังเว็บต้นทางอีกทีหนึ่ง ข้อเสียคืออาจโหลดเว็บช้าไม่ทันใจ
ช่วงนี้เริ่มมีคนที่ทดสอบ Android O Beta แล้วค้นพบฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Android O ที่อาจไม่ได้ประกาศไว้ในงาน Google I/O
ฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจคือ Turn on WiFi Automatically เราสามารถตั้งค่าให้เปิด Wi-Fi อัตโนมัติเมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด (เช่น บ้านตัวเอง) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่รู้จักอยู่แล้วได้ทันที ฟีเจอร์นี้จำเป็นต้องเปิด location ให้ระบบรู้ว่าตอนนั้นเราอยู่ที่ไหนด้วย
ตัวเลือกตั้งค่าฟีเจอร์นี้เพิ่มเข้ามาในรุ่น Preview 1 แต่เพิ่งเริ่มใช้งานได้ใน Preview 2 ที่เพิ่งเปิดให้ทดสอบกัน
ระบบรักษาความปลอดภัยของแอนดรอยด์อาศัยการเซ็นรับรองความถูกต้องของตัวแอปด้วยกุญแจของตัวนักพัฒนา ความลำบากอย่างหนึ่งคือหากนักพัฒนาไม่ได้เชี่ยวชาญพอจนกระทั่งทำกุญแจหายไป จะไม่สามารถอัพเดตแอปเดิมได้และต้องออกแอปใหม่แทน ตอนนี้ Google Play ก็ออกบริการแก้ไขปัญหานี้แล้วชื่อว่า Google Play App Signing
นักพัฒนาที่ต้องการเข้าใช้บริการนี้จะแยกกุญแจรับรองแอปเป็นสองส่วน คือ กุญแจสำหรับอัปโหลด (upload key) และกุญแจสำหรับรับรองแอป (signing key) โดยกุญแจรับรองแอปจะอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเสมอ ส่วนกุญแจอัปโหลดจะอยู่บนเครื่องนักพัฒนาเหมือนเดิม เมื่ออัปโหลดแล้ว Google Play จะตรวจกุญแจอัปโหลดว่ารับรองมาถูกต้องแล้วรับรองตัวแอปใหม่ด้วยกุญแจรับรองแอป
สิ่งหนึ่งที่ไม่มีพูดถึงเลยในงาน Google I/O 2017 คือระบบปฏิบัติการตัวใหม่ Fuchsia เรื่องนี้เลยมีคนยกมือถาม Dave Burke หัวหน้าทีม Android ในเรื่องนี้
คำตอบของเขาคือ Fuchsia เป็นโครงการทดลองที่เพิ่งเริ่มต้น (early stage experimental project) ซึ่งกูเกิลมีโครงการลักษณะนี้มากมาย และโครงการเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปแบบหรือยุบไปรวมกับโครงการอื่นในอนาคต ส่วน Fuchsia นั้นแยกการพัฒนาเป็นอิสระไม่ยุ่งกับ Android
สรุปว่าคำตอบของ Burke คือการไม่ให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับ Fuchsia เพิ่มเติมนั่นเอง
ที่มา - Android Police
จากข่าว กูเกิลเปิดตัว Android Go โครงการปรับแต่ง Android ให้ลื่นขึ้นบนอุปกรณ์ราคาถูก ก็มีความสงสัยเกิดขึ้นว่ามันแตกต่างจาก Android One อย่างไร
เว็บไซต์ 9to5google มีโอกาสสัมภาษณ์ Arpit Midha หัวหน้าทีม Android One ในประเด็นนี้ คำตอบคือ Android One โฟกัสไปที่ฮาร์ดแวร์ โดยกูเกิลกำหนดสเปกของฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างตายตัว และเน้นไปที่การอัพเดตซอฟต์แวร์-อัพเดตแพตช์ความปลอดภัยเป็นหลัก ข้อเสียของแนวทางนี้ส่งผลให้ผู้ผลิตโทรศัพท์ไม่ชอบนัก เพราะเลือกชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์เองไม่ได้มาก ผลคือ Android One ไปไม่ไกลเท่าที่ควร
ข่าวสำคัญของโลกโปรแกรมมิ่งวันนี้คือ Android รองรับภาษา Kotlin อย่างเป็นทางการ และถือเป็นภาษาที่สองถัดจาก Java
หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยินชื่อภาษา Kotlin เป็นครั้งแรก บทความนี้จะพามาแนะนำตัวให้รู้จักกันครับ
กูเกิลเปิดตัว Instant Apps ตั้งแต่งาน I/O 2016 และเริ่มปล่อยใช้งานกับผู้ใช้จริงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา วันนี้กูเกิลก็ประกาศให้นักพัฒนาทุกคนเข้าถึง Instant Apps ได้แล้ว
Instant Apps ต้องแยกแอปเป็นส่วนๆ เพื่อให้ตัวแอปโหลดได้เร็ว กูเกิลระบุว่านักพัฒนาชุดแรกที่ทำงานกับกูเกิลสามารถแก้แอปเป็น Instant Apps ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ โดยนักพัฒนาต้องใช้ Android Studio 3.0 และโหลด Android Instant Apps SDK ตัว Play Console จะมีช่องให้อัพโหลด APK แยกกันระหว่างแอปแบบติดตั้งปกติและ Instant Apps