Tim Bray ผู้ร่วมออกแบบ XML และวิศวกรซอฟต์แวร์ระดับตำนานเขียนบล็อกเล่าประสบการณ์การทำงานใน AWS ช่วงปี 2016 ว่าตอนนั้น Andy Jessy ซีอีโอของ AWS (เลื่อนตำแหน่งเป็นซีอีโอของ Amazon ภายหลัง) คุยกับเขาและเล่าว่าลูกค้าจำนวนมากพยายามถามว่า AWS มีแผนการบล็อคเชนอย่างไรบ้าง และลูกค้าเหล่านี้พยายามบอกกับ Jessy ว่าบล็อคเชนเป็นเทคโนโลยีที่ดีมากแต่ Jessy ไม่เข้าใจ Jessy จึงมอบหมายให้ Bray ไปศึกษาเพิ่มเติม
ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย ASX ประกาศล้มแผนการอัพเกรดระบบเทรดหุ้นมาเป็นบล็อกเชน หลังพยายามเปลี่ยนมา 7 ปี ดีเลย์มา 5 รอบแล้วยังไม่ประสบความสำเร็จ เสียเงินค่าพัฒนาไปแล้วราว 250 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 6 พันล้านบาท)
ตลาด ASX มีระบบจัดการบัญชีหุ้น (clearing & settlement) ของเดิมชื่อ CHESS ใช้งานมานาน 25 ปี เขียนด้วยภาษา COBOL ถึงแม้ว่าระบบมีเสถียรภาพมากระดับ 99.99% แต่ทาง ASX ก็อยากเปลี่ยนมาใช้ระบบ distributed ledger technology (DLT) ที่ทันสมัยขึ้น
Will Wright บิดาผู้ให้กำเนิดเกม Sim City และ The Sims (ลาออกจาก Maxis เมื่อปี 2009) ล่าสุดประกาศทำเกมใหม่ชื่อ VoxVerse ที่ระบุว่าเป็นเกมบนบล็อกเชน
หลัง Wright ลาออกจาก Maxis เขาเงียบหายไปพักใหญ่ๆ ก่อนกลับมาในปี 2018 เปิดตัวสตูดิโออินดี้ชื่อ Gallium Studios (ร่วมกับ Lauren Elliott อดีตเพื่อนร่วมงาน และผู้สร้างเกม Where in the World is Carmen Sandiego) พัฒนาเกมซิมูเลชันบนมือถือชื่อ Proxi ที่จนบัดนี้ก็ยังพัฒนาไม่เสร็จ
Telegram ประกาศสร้างแพลตฟอร์มสำหรับประมูลซื้อขายชื่อบัญชี เพื่อให้ผู้จดชื่อบัญชี @username ที่อาจเป็นชื่อที่มีความต้องการสูง สามารถสร้างรายได้ส่วนนี้อย่างเป็นระบบ
แพลตฟอร์มการประมูลนี้จะทำงานบนเครือข่ายบล็อกเชน TON ที่ Telegram เคยร่วมพัฒนา แต่ปัจจุบันแยกออกมาเป็นหน่วยงานอิสระ โดยมี Pavel Durov ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Telegram ยังให้การสนับสนุน โดยใช้ TON ในการยืนยันความเป็นเจ้าของและบันทึกสัญญาการซื้อขาย
Telegram ยังไม่ได้ให้ข้อมูลวิธีการจ่ายเงิน แต่คาดว่าจะใช้เหรียญ Toncoin (TON) เป็นเป็นเหรียญหลักของบล็อกเชน TON นี้ ทำให้ราคาเหรียญ TON ปรับเพิ่มสูงทันทีหล้งมีประกาศออกมา
Unstoppable Domain ผู้ให้บริการ DNS แบบ NFT ประกาศยกเลิกโดเมน .coin ที่ขายมาตั้งแต่ปี 2021 หลังตรวจสอบแล้วพบว่า .coin นั้นซ้ำกับบริการ Emercoin ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2014 แต่ทาง Unstoppable Domain ระบุว่า Emercoin ไม่ได้ทำตลาดมากนักจึงไม่ทันรู้ว่ามีคนขายโดเมนเดียวกันมาก่อน
บริการโดเมนของกลุ่มคริปโตและ NFT นั้นมักโฆษณาความเป็นเจ้าของที่แท้จริง เพราะเจ้าของโดเมนไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าต่ออายุโดเมนรายเดือน แต่กรณีนี้เมื่อ Unstoppable Domain ประกาศหยุดให้บริการ ลูกค้าทั้งหมดที่ซื้อโดเมนไปก็จะไม่สามารถ resolve ชื่อโดเมนได้อีกต่อไป แต่ทางบริษัทก็ประกาศรับซื้อโดเมนคืนในราคาสามเท่าตัวของราคาแรก
Mastercard ออกเทคโนโลยีชื่อ Crypto Secure ช่วยให้ธนาคารผู้ออกบัตร (issuer) สามารถตรวจสอบธุรกรรมการซื้อคริปโตจากตลาดแลกเปลี่ยน (exchange) ได้ง่ายขึ้น
เบื้องหลังของ Crypto Secure คือการขึ้นบัญชี exchange ทั่วโลกประมาณ 2,400 แห่ง ระบุชื่อและความเสี่ยง (อิงจากสถิติการอนุมัติ/ปฏิเสธธุรกรรม) แสดงเป็นแดชบอร์ดพร้อมระดับสีบอกความเสี่ยง (เช่น แดง = เสี่ยงสูง, เขียว = เสี่ยงต่ำ) ให้ธนาคารผู้ออกบัตรดูประกอบการอนุมัติรายการให้ลูกค้าที่รูดบัตรซื้อคริปโต
Binance อัพเดตความคืบหน้าของเหตุการณ์การแฮ็ก Binance Smart Chain ที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้
บริการเหรียญ BNB ของ Binance มีบล็อกเชนอยู่สองสายเชนคือ BNB Beacon Chain (BEP2) ที่มีเฉพาะเหรียญตัวเอง และ BNB Smart Chain (BEP20 หรือ BSC) ที่เข้ากันได้กับ Ethereum และใช้กับเหรียญอื่นได้ด้วย
บล็อกเชนทั้งสองสายเพิ่งประกาศรวมกันเมื่อต้นปีนี้ โดยใช้ชื่อใหม่ว่า BNB Chain ในทางปฏิบัติแล้ว บล็อกเชนสองสายยังแยกกันทำงาน แต่มี bridge ที่คอยเชื่อมสองเชนเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า BSC Token Hub และนี่คือจุดที่โดนแฮ็ก
แฮกเกอร์แฮก Binance Smart Chain (BSC) Token Hub บริการข้ามเชนระหว่าง BNB Beacon Chain และ Binance Smart Chain เอง ทำให้แฮกเกอร์ได้โทเค็น BNB ไป 2 ล้าน BNB รวมมูลค่าประมาณ 566 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 20,000 ล้านบาท
ทาง Binance หยุดการทำงานของ BSC ทันที ตอนนี้ validator ทั้งหมดไม่มีใครให้บริการยืนยันธุรกรรมแล้วทำให้คนร้ายไม่สามารถโอนเงินไปมาได้ แต่คาดว่ามีโทเค็นบางส่วนถูกโอนข้ามเชนไปก่อนแล้ว มูลค่าประมาณ 70-80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท และทาง Binance กำลังร่วมมือกับเชนต่างๆ เพื่อหยุดการโอนในเชนอื่นๆ อีกที
ที่มา - Bleeping Computer
โครงการบล็อกเชน Ethereum ควบรวมสายเชน 2 สายเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า The Merge เสร็จเรียบร้อย เมื่อราว 14.00 น. ของวันนี้ 15 กันยายน ส่งผลให้ตอนนี้สายเชนของ Ethereum เปลี่ยนมาใช้กระบวนการยืนยันข้อมูลแบบ Proof of Stake แทน Proof of Work แล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คือ การรวมสายเชนทดสอบ Beacon Chain (ที่เปลี่ยนเป็น Proof of Stake ไปก่อนหน้า) และสายเชนหลัก Mainnet เข้าด้วยกัน (ดูภาพประกอบ) ในช่วงเวลาประมาณ 13.45 น. และเสร็จสิ้นตอนประมาณ 14.00 น.
ตอนนี้ Ethereum เปลี่ยนมาเป็นการยืนยันข้อมูลด้วยการค้ำประกันเหรียญ (stake) แทนการคำนวณ (work) ทำให้ใช้พลังงานน้อยลงมาก คาดว่าจะใช้พลังงานลดลง 99.9% เมื่อเทียบกับยุค Proof of Work
Vitalik Buterin ผู้ก่อตั้ง Ethereum ประกาศสถานะของแผนการอัพเกรดบล็อกเชนครั้งใหญ่ The Merge โดยเฟสแรกการอัพเกรดสายเชน Beacon Chain เป็นซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ (Bellatrix Upgrade) เดินหน้าตามแผนที่อัพเดตวันนี้ (6 ก.ย.)
ขั้นถัดไปคือการรวมสายเชนทดสอบ Beacon Chain และสายเชนหลัก Mainnet เข้าด้วยกันเป็นสายเดียว ที่เรียกว่า Paris Upgrade ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน (วันที่แน่ชัดขึ้นกับค่าแฮชรวมในระบบ) เมื่อเสร็จแล้ว Ethereum จะเปลี่ยนวิธีจาก Proof of Work (PoW) มาเป็น Proof of Stake (PoS) อย่างสมบูรณ์
Ethereum ประกาศแผนการอัพเกรดบล็อกเชนเป็น Proof of Stake (PoS) อย่างละเอียดอีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้ประเมินว่าจะอัพเกรด 15 กันยายน ล่าสุดแผนการอัพเกรดแบ่งเป็น 2 เฟสแทน เฟสแรกจะเริ่ม 6 กันยายน ส่วนเฟสที่สองอยู่ราว 10-20 กันยายน
ตอนนี้ Ethereum มีสายโซ่บล็อกเชน 2 สาย คือ สายหลัก (Mainnet) ที่เป็นระบบ Proof of Work (PoW) ของเดิม และสายทดสอบ (Beacon Chain) ที่ตอนนี้เป็น Proof of Stake เรียบร้อยแล้ว เป้าหมายคือการรวมเชน 2 สายเข้าด้วยกันเป็น PoS แทน
ทีมพัฒนาหลัก Ethereum ประกาศแผนการอัพเกรดระบบบล็อกเชนครั้งใหญ่ที่รอกันมานาน ("The Merge") ตั้งเป้าเป็นวันที่ 15 กันยายน 2022 (หากไม่เลื่อนอีก)
Ethereum มีแผนเปลี่ยนระบบการยืนยันธุรกรรมจาก Proof of Work (PoW) ที่กินพลังงานสูงจากการแข่งขันคำนวณ มาเป็น Proof of Stake (PoS) ที่ใช้เหรียญไปค้ำประกันแทน ช่วยให้การทำธุรกรรมเร็วขึ้น ลดการใช้พลังงานลง (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ consensus layer หรือบ้างก็เรียก Ethereum 2.0)
Helium Network เป็นบริษัทด้านบล็อกเชน (หรือบ้างก็เรียก web3) ที่ทำระบบเครือข่ายเราเตอร์ LoRaWAN ผ่านมวลชนจำนวนมาก เพื่อให้บริการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT โดยนำแนวคิดบล็อกเชนและ token ($HNT) เข้ามาจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ลงทุนซื้อเราเตอร์มาให้บริการ
Helium เคยถูกยกย่องว่าเป็นกรณีศึกษาว่า web3 สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในโลกจริงได้จริงๆ นะ (บทความในสื่อใหญ่อย่าง The New York Times ที่พาดหัวว่า Maybe There’s a Use for Crypto After All) แนวคิดของมันคือการสร้างเครือข่าย LoRaWAN โดยผู้ใช้ "ลงทุน" ซื้ออุปกรณ์ hotspot ราคาประมาณ 500 ดอลลาร์มาติดตั้งไว้เฉยๆ เปิดให้ Helium เข้ามาจัดการจากระยะไกล ซึ่ง Helium จะนำไปปล่อยเช่ากับ "ลูกค้าอุตสาหกรรมที่ต้องใช้งาน" และนำรายได้กลับเข้ามา "จ่ายคืน" ผู้ลงทุน โดยกระบวนการคิดค่าตอบแทนใช้ระบบ token เป็นสื่อกลางตามสมัยนิยม
แต่ในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา Helium กลับถูกแฉว่า แทบไม่มีรายได้จากการเช่า LoRaWAN เข้ามาจริงๆ และลูกค้าที่ Helium แปะโลโก้ไว้บนหน้าเว็บ ซึ่งมีแบรนด์ดังๆ อย่าง Lime และ Salesforce ก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่เคยมีความสัมพันธ์กับ Helium แต่อย่างใด
สัปดาห์ก่อน Minecraft ประกาศแบน NFT และการใช้งานบล็อกเชนทั้งในเกมและนอกเกม โดยให้เหตุผลว่าการสร้างโมเดลหรือโลกในเกมแล้วนำมาขายเป็น NFT ปั่นราคา สวนทางกับหลักการของ Minecraft ที่เน้นการแบ่งปัน การเล่นร่วมกันของผู้เล่น
นักพัฒนาเกมชาวบราซิล Mark Venturelli จากสตูดิโออินดี้ Rogue Snail ได้รับเชิญไปพูดในงานสัมมนา Brazil International Games Festival 2022 ในหัวข้อ "อนาคตของการออกแบบเกม" (Future of Game Design) ซึ่งดูเหมือนเป็นการบรรยายธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ
แต่หลังจากเขาแนะนำตัวเองได้ 3 สไลด์ เขาก็ขีดฆ่าคำว่า "Future of Game Design" แล้วเปลี่ยนมาพูดหัวข้อ "Why NFTs are a Nightmare" แทน (รวมถึง Play-to-Earn, Crypto, Blockchain) โดยได้รับเสียงปรบมือจากคนในห้องอย่างล้นหลาม ท่ามกลางสปอนเซอร์ของงานสัมมนาที่เป็นบริษัทสายคริปโตจำนวนมาก
เครือข่ายบล็อกเชน Terra ที่ใช้รันเหรียญ Luna กลับมารันต่ออีกครั้ง หลังปิดระบบชั่วคราวเมื่อคืนนี้ โดยอ้างว่าป้องกันการโจมตีเชน (governance attack) เพราะต้นทุนเหรียญ LUNA ถูกลงมาก
สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างหยุดรันเชนคือ Terra ได้ออกแพตช์ปิดการทำงานของ staking (หรือบางคนเรียก delegations) ซึ่งเป็นฟีเจอร์ของบล็อกเชนประเภท proof of stakes (PoS) ที่เปิดทางให้เจ้าของเหรียญสามารถ "ตั้งตัวแทน" (delegates) ไปร่วมโหวตใน pool ได้ โดยที่เรายังเป็นเจ้าของเหรียญอยู่ แต่ให้สิทธิโหวตกับคนอื่นไปแทน (บทความอธิบายอย่างละเอียด)
เครือข่ายบล็อกเชน Terra ซึ่งใช้โทเค็น LUNA ได้ระงับการทำงานชั่วคราว โดย Terraform Labs ผู้พัฒนาระบบของ Terra ให้เหตุผลว่าเพื่อป้องกันการถูกโจมตี เนื่องจากราคาเหรียญ LUNA ปรับลดลงมาก จนทำให้ต้นทุนการโจมตีเชนทำได้ด้วยต้นทุนที่ถูกลง
ราคาเหรียญ LUNA ล่าสุดอยู่ที่ราว 0.01-0.02 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการ mint เหรียญออกมาจำนวนมากเพื่อพยุงราคาของ stablecoin UST
Terraform บอกว่าเมื่อบล็อกเชนกลับมาให้บริการได้อีกครั้ง จะแจ้งเครือข่าย validator ให้เริ่มกลับมาทำงานต่อทันที
ที่มา: Coindesk
Stijn van Schaik นักเรียนศิลปะในกรุงเฮก ลงขายวิญญาณของเขาเองในรูปแบบงานศิลปะ NFT ชื่อ “Soul of Stinus” หรือ “วิญญาณของ Stinus” ที่เป็นชื่อผู้ใช้ของเขา บนเว็บไซต์ OpenSea
Stijin หรือ Stinus ทำเว็บไซต์อธิบายการขายวิญญาณของเขา พร้อมมีหน้าข้อตกลง “Sale of Soul Agreement” ระบุในสัญญาว่าผู้ซื้อสามารถทำอะไรกับวิญญาณเขาได้บ้าง เช่น สามารถประกาศตัวในสาธารณะได้ว่าเป็นเจ้าของวิญญาณเขา รวมถึงสามารถโอนวิญญาณเขา และบูชายัญวิญญาณเขาให้กับเทพองค์ใดก็ได้
คริปโตเคอเรนซี และสกุลเงินดิจิทัล เริ่มกลายมาเป็นคำศัพท์ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเริ่มกลายเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่มีหลายคนสนใจ เริ่มศึกษาหาความรู้ และอีกหลายคนที่เริ่มลงเงินและลงทุนไปแล้ว ซึ่งการลงทุนผ่านคริปโตเคอเรนซีก็มีหลายแบบ และมีข้อได้เปรียบและความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป แต่ในวันนี้วิธีการลงทุนที่เราจะพูดถึงคือแบบ ICO กับ DESTINY TOKEN โทเคนเปิดตัวของ Kubix ในฐานะ ICO Portal ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
กระทรวงไอซีที วิทยาศาสตร์ และการวางแผนอนาคตแห่งเกาหลีใต้ ออกแถลงการ ระบุเตรียมทุ่มงบประมาณกว่า 223.7 พันล้านวอน (ราว 6 พันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการสร้างอีโคซิสเท็ม Metaverse ระดับชาติชื่อ Expanded Virtual World
กระทรวงไอซีทีเกาหลีใต้ระบุว่าระบบอีโคซิสเท็มนี้ จะเป็นไปเพื่อนสนับสนุนการเติบโตของการพาณิชย์ ด้านคอนเทนต์ดิจิทัล ด้านการพัฒนาเมือง การศึกษา และสื่อต่างๆ โดยเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Digital New Deal’ ชุดนโยบายใหม่ของรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล
Steve Aoki ดีเจ และศิลปินเพลงชื่อดัง พูดในการให้สัมภาษณ์กับ Gala Games ในงานของ Gala Music ในแคลิฟอร์เนีย บอกว่ารายได้ในการเป็นศิลปินของเขา ส่วนใหญ่มาจากงานดีเจกว่า 95% ส่วนรายได้จากค่าลิขสิทธิ์เพลงนั้นคิดเป็นสัดส่วนน้อยมาก อยู่ใน 5% ที่เหลือ พร้อมว่า 10 ปีที่เขาทำงานเพลงมา ออกอัลบั้มมา 6 อัลบั้ม ค่าลิขสิทธิ์ที่ได้ยังไม่เท่ากับการขายงาน NFT ชุดเดียวเมื่อปีที่แล้ว แถมการมีรายได้จาก NFT ยังทำให้เขาจริงจังกับงานดนตรีได้มากขึ้น
Binance Smart Chain ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชน ประกาศรวมสองบริการเชนได้แก่ Binance Chain และ Binance Smart Chain มาอยู่ภายใต้ชื่อรวมกันคือ BNB Chain การเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อรองรับการขยายตัวของโครงการใหม่ ๆ และเพิ่มจำนวน validator จาก 21 เป็น 41 อีกด้วย
ทั้งนี้ Binance Chain ที่เป็นเชน governance จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น BNB Beacon Chain ส่วน Binance Smart Chain จะมีชื่อเรียกใหม่คือ BNB Smart Chain ใช้ตัวย่อ BSC เหมือนเดิม
ปัจจุบันเหรียญ BNB ซึ่งเป็นโทเค็นของเครือข่าย BSC มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 4 ของสกุลเงินคริปโต มูลค่าปัจจุบันอยู่ราว 7 หมื่นล้านดอลลาร์
ที่มา: Coin Telegraph
Jay Freeman นักพัฒนาโครงการ Cydia ที่ใช้เจาะ iOS รายงานช่องโหว่สร้างโทเค็นไม่จำกัดบนเครือข่าย Optimism ที่เป็นเครือข่าย Layer-2 สำหรับการโอน Ethereum อย่างรวดเร็วและประหยัด gas นับเป็นช่องโหว่ที่ร้ายแรงจนกระทั่งทาง Optimism ตัดสินใจจ่ายเงินรางวัล 2 ล้านดอลลาร์ (กับอีก 42 ดอลลาร์)
ช่องโหว่อาศัยคำสั่ง SELFDESTRUCT
ของ EVM ที่ Optimism พัฒนาต่อมาจากโครงการ Ethereum โดยหากเรียกคำสั่งนี้จาก smart contract ตัว EVM จะลบ contract ทิ้ง แต่กลับเหลือมูลค่า token ทิ้งไว้ หากโอนเงินแล้วสั่ง SELFDESTRUCT
ก็จะเหมือนสร้างเงินขึ้นมาเฉยๆ
GuildFi แพลตฟอร์มเกมและ Metaverse Web3 ของไทย ประกาศรับเงินทุนจากกองทุน $1 billion Growth Fund ของ Binance Smart Chain โดยเงินทุนนี้จะมาใช้พัฒนาระบบนิเวศของ Web3, NFT และชุมชนผู้ใช้งาน
Binance Smart Chain กล่าวว่า GuildFi มีจุดเด่นคือแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้งานในการเข้าสู่ Metaverse โดยผ่าน 5 แกนหลักคือ Gaming Center, Guild Zone, NFT Zone, Tools Zone และ Treasury Zone มีผู้ใช้งานกว่า 150,000 ไอดี
กองทุน $1 billion Growth Fund ก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2021 และให้เงินสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับบล็อกเชนไปแล้วหลายร้อยโครงการ และมีแผนลงทุนในอนาคตอีกหลายโครงการ
อินเทลประกาศตั้งฝ่าย Custom Compute Group พัฒนาชิปสำหรับประมวลบล็อคเชนโดยเฉพาะ โดยระบุว่าบล็อคเชนบางประเภทต้องใช้พลังประมวลผลสูง จึงต้องการพัฒนาโซลูชันที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ชิปเร่งประมวลผลบล็อคเชน (blockchain accelerator) ของอินเทลจะเปิดตัวภายในปีนี้ ตอนนี้มีลูกค้าสั่งซื้อแล้ว 3 รายคือ Argo Blockchain, Block (Square เดิม), GRIID Infrastructure