ทีมวิจัยจาก Purdue University ลองสำรวจการใช้ ChatGPT ตอบคำถามด้านโค้ดดิ้ง โดยเทียบคำถามเดียวกันกับที่ถามบน Stack Overflow จำนวน 517 คำถาม แล้วนำคำตอบมาเปรียบเทียบกับคำตอบของมนุษย์ว่าถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วนแค่ไหน อีกทั้งให้อาสาสมัครจำนวนหนึ่งเลือกว่าชอบคำตอบอันไหนมากกว่า
ผลคือคำตอบ 52% ของ ChatGPT ตอบผิด (incorrect) ส่วนอาสาสมัครเลือกคำตอบจาก ChatGPT จำนวน 39.34% เนื่องจากใช้ภาษาดี แสดงเหตุผลดูน่าเชื่อถือ ซึ่ง 77% ของคำตอบเหล่านี้ผิดซะด้วย
OpenAI เริ่มทำ web crawler สำหรับดูดเว็บของตัวเอง แม้ในเว็บจะไม่ได้ระบุว่าจะดูดเว็บไปทำอะไรแต่ก็ระบุว่าข้อมูลที่ดูดไปอาจจะใช้สำหรับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต
ตัว crawler จะใช้ User-Agent ว่า GPTBot
สามารถกำหนดห้ามเข้าส่วนต่างๆ ของเว็บได้ทางไฟล์ robots.txt และทาง OpenAI ยังประกาศหมายเลขไอพีขาออก เพื่อให้เว็บไซต์บล็อคหรือตรวจสอบได้ว่าเป็น crawler ของ OpenAI จริง
ที่ผ่านมา OpenAI ไม่ได้เปิดเผยว่าตัว GPT ตัวหลังๆ ฝึกจากชุดข้อมูลใดบ้าง และแม้ว่าจะมีระบบปลั๊กอินให้ดูดเว็บได้ แต่ก็เป็นการอ่านเนื้อหาในเว็บเข้าไปให้ ChatGPT สรุปมาอีกทีเท่านั้น ไม่ใช่การฝึกโมเดลโดยตรง
ก่อนหน้านี้ OpenAI ได้ซื้อโดเมน AI.com เพื่อนำไปใช้กับอินเทอร์เฟชเว็บของ ChatGPT แต่ตอนนี้ดูเหมือน Elon Musk จะได้โดเมนชื่อนี้ไปแทน เพราะเมื่อพิมพ์คำว่า AI.com จะ redirect ไปที่หน้า x.ai แทน
โดเมนตัวอักษรภาษาอังกฤษสองตัวถือว่าหาซื้อยากและมีราคาสูงมาก โดยเฉพาะคำที่คุ้นเคย ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยมูลค่าการซื้อโดเมน AI.com แต่ Mashable คาดว่า AI.com น่าจะขายได้ในราคาประมาณราคา 3.8 ล้านดอลลาร์ และราคาอาจสูงขึ้นอีกเนื่องจากกระแสของปัญญาประดิษฐ์ที่มาแรง
OpenAI ประกาศว่า ChatGPT เวอร์ชันแอปบน Android ตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานแล้ว ตามที่มีข่าวก่อนหน้านี้ แต่ข่าวร้ายคือยังจำกัดประเทศอยู่ โดยกลุ่มแรกที่จะได้ใช้งานคือ สหรัฐอเมริกา อินเดีย บังกลาเทศ และบราซิล ส่วนประเทศอื่นจะทยอยเปิดให้ใช้งานได้ในภายหลัง
การทยอยอัพเดตแบบบางประเทศนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะตอนที่ ChatGPT ลง iOS ก็เริ่มที่เฉพาะในอเมริกาก่อน แต่ในไทยก็ใช้งานได้หลังจากนั้นไม่ถึง 2 สัปดาห์
ที่มา: The Verge
OpenAI ประกาศแอป ChatGPT เวอร์ชันของผู้ใช้ Android จะเปิดให้ใช้งานได้ในสัปดาห์หน้า แต่ยังไม่ได้ระบุวัน โดยตอนนี้สามารถพรีออเดอร์แอปได้ผ่าน Play Store ตามลิงก์นี้
ChatGPT มีแอปบนมือถือออกมาตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีเฉพาะ iOS ในเวลานั้น OpenAI บอกว่าจะมีเวอร์ชัน Android ตามมาในภายหลัง
อัพเดตนี้ทำให้ ChatGPT มีแอปในมือถือครบแพลตฟอร์มหลัก ซึ่งในบรรดาแชทบอตยอดนิยมตอนนี้ Bing ส่วนแชทบอตมีรองรับอยู่นานแล้ว ขณะที่ Bard ของกูเกิล ไม่มีแอปโดยเฉพาะ แต่เป็นการทำงานเว็บอินเทอร์เฟซ
OpenAI ประกาศเพิ่มเครื่องมือให้ ChatGPT โดยสามารถกำหนดข้อมูลผู้ใช้งานพื้นฐานได้ (Preferences) ทำให้ไม่ต้องอธิบายข้อมูลเหล่านี้ซ้ำในทุกครั้งที่เริ่มบทสนทนาใหม่
ตัวอย่างข้อมูลพื้นฐาน ที่สามารถตั้งค่าไว้ก่อนเลย เช่น เป็นครูสอนระดับชั้นป. 3 เป็นโปรแกรมเมอร์ภาษา Golang ครอบครัวมีสมาชิก 6 คน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ไม่ต้องพิมพ์อธิบายเพิ่ม เมื่อต้องการไอเดียหรือขอข้อมูลบางอย่าง ช่วยลดขั้นตอนและความยาวของ prompt โดยได้ผลลัพธ์ที่ต้องการทันที ในแง่การสร้างปลั๊กอินก็ช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานเพิ่มเข้าไปได้ทันที
Wix ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชุดใหญ่ เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บไซต์ด้วย AI ผ่าน prompt ของ ChatGPT ซึ่ง Wix เรียกว่า AI Text Creator ผู้ใช้งานเพียงป้อนรูปแบบเว็บไซต์ที่ต้องการ Wix จะสร้างเว็บไซต์ให้ตามรูปแบบที่ระบุ การทำงานนี้จะแตกต่างจากเครื่องมือเดิมที่มีเทมเพลตให้เลือก
ในชุด AI นี้ยังมีเครื่องมือย่อยอีกหลายอย่าง เพื่อรองรับการปรับแต่งค่าในรายละเอียดเว็บไซต์ตามต้องการ เช่น ตัวเลือกภาพประกอบ การตกแต่งรูป การตัดต่อวิดีโอ การจัดเลย์เอาท์ ตัวเลือกเทมเพลต ไปจนถึงการช่วยเขียนเนื้อหารายละเอียดข้อมูลธุรกิจ
Wix บอกว่าเครื่องมือ AI ทั้งหมดสำหรับการสร้างเว็บไซต์นี้ จะเปิดให้ใช้งานทั่วไปเร็ว ๆ นี้
Similarweb รายงานจำนวนผู้ใช้งานเว็บ ChatGPT ลดลงเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2023 ที่ผ่านมา โดยปริมาณทราฟฟิกทั่วโลกลดลง 9.7% จากเดือนพฤษภาคม (ในสหรัฐอย่างเดียวลดลง 10.3%), จำนวนผู้ชม unique visitors ทั่วโลกลดลง 5.7%, ระยะเวลาการใช้งานบนเว็บไซต์ลดลง 8.5% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ถึงแม้ตัวเลขผู้ใช้งาน ChatGPT ลดลงจริง แต่ก็ยังมากกว่า Bing พี่น้องร่วมท้องเดียวกัน และเทียบกับ Bard ของกูเกิลหรือคู่แข่งอีกรายคือ Character.AI แล้วยังนำห่างมากๆ (ดูชาร์ทประกอบ)
OpenAI ประกาศว่านักพัฒนาทุกคนที่สมัครใช้งาน API สำเร็จก่อนหน้านี้ สามารถใช้งาน GPT-4 ได้แล้วทุกคน ส่วนการเปิดสมัครใช้งานใหม่คาดว่าจะเปิดภายในเดือนนี้ โดยจะมีการจำกัดอัตราใช้งานขึ้นอยู่กับปริมาณทรัพยากรประมวลผลที่มี (รายละเอียด)
GPT-4 สามารถสร้างข้อมูลตัวหนังสือ โดยรับอินพุทได้ทั้งตัวหนังสือและรูปภาพ ซึ่งเป็นการปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้า GPT-3.5 ที่รองรับเฉพาะอินพุทตัวหนังสือ สามารถทำงานได้ในระดับใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นในด้านวิชาการ
มีรายงานโดยอ้างบทวิเคราะห์จาก Bank of America Securities พูดถึงกระแสของ ChatGPT ที่อาจลดลง ซึ่งข้อมูลจาก Sensor Tower พบว่าจำนวนการดาวน์โหลดแอป ChatGPT ใน iPhone ลดลง 38% ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับตัวเลขเดือนพฤษภาคม ส่วนแอป Bing ซึ่งรองรับการใช้แชตบอทพื้นฐาน ChatGPT เช่นกัน ก็มีตัวเลขการดาวน์โหลดลง 38% ในเดือนมิถุนายน
เมื่อดูส่วนแบ่งตลาดของเสิร์ชเอ็นจิน พบว่าเดือนมิถุนายน Google มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นมาเป็น 92% ส่วน Bing ของไมโครซอฟท์ลดลงเล็กน้อย โดยตอนนี้มีส่วนแบ่งที่ประมาณ 2.8%
Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ ประกาศเตรียมลงทุน 3 พันล้านดอลลาร์ใน Generative AI เพื่อปรับโฉมองค์กรให้ลูกค้า โดยมีการนำ Data & AI ผลักดันการเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม
เหตุผลที่ Accenture เริ่มลงทุนใน AI เนื่องจากกระแสที่มาแรงเช่น ChatGPT ทำเห็นโอกาสความสามารถที่หลากหลายในการนำมาใช้พัฒนาธุรกิจ ซึ่ง Accenture ได้ทำการสำรวจเก็บข้อมูลพบว่า 57% ของผู้บริหาระดับสูงมีแผนจะใช้ ChatGPT เพื่อการเรียนรู้ในปีนี้ และอีก 42% ระบุว่าต้องการลงทุนจำนวนมากใน AI
สัปดาห์ที่ผ่านมา MDN เว็บคลังเอกสารสำหรับนักพัฒนาเว็บ เปิดฟีเจอร์ AI Help สำหรับการถามตอบข้อมูลจากเอกสารในเว็บ และ AI Explain สำหรับอธิบายโค้ด โดยใช้ API จาก OpenAI ในการประมวลผล ตอนนี้เหล่านักพัฒนาก็กำลังโวยว่าฟีเจอร์นี้สร้างความเข้าใจผิด อธิบายเนื้อหาผิดพลาด หรือหากสร้างตัวอย่างได้ก็มักเป็นตัวอย่างง่ายๆ เท่านั้น
นักพัฒนาหลายคนยกตัวอย่าง คำอธิบายของ AI Help ที่ตอบผิด บางฟีเจอร์เป็นฟังก์ชั่นมาตรฐานของ CSS แต่ AI ก็ตอบว่าไม่ใช่มาตรฐาน บางทีก็ตอบตรงข้ามกับเนื้อหาในเอกสารไปเลย
หลายคนอาจจะรู้หรือเคยผ่านหูผ่านตากับคอร์ส CS50 คอร์ส Introduction to Computer Science อันโด่งดังที่เปิดให้เรียนฟรีบนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย Harvard
ล่าสุดทางมหาวิทยาลัยประกาศว่าจะนำ AI มาสอนในปีการศึกษาหน้า โดยจะเรียกว่า CS50 Bot ที่จะเป็นเหมือนอาจารย์ผู้ช่วย มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ ChatGPT เพื่อช่วยตรวจหาบั๊กในโค้ด, ให้ฟีดแบ็คดีไซน์อัลกอริทึม, อธิบาย error หรือตอบคำถาม ในการตอบคำถาม และรีวิวโค้ดต่าง ๆ ภายในวิชาเรียน
ในยุคที่ไมโครซอฟท์พยายามดัน ChatGPT ในบริการต่างๆ แบบสุดตัว (ภายใต้ชื่อแบรนด์ของตัวเองว่า Copilot) ก็มีโปรแกรมเมอร์หัวใสสร้างแอพคลิปหนีบกระดาษ Clippy อันโด่งดัง คืนชีพกลับมาอีกครั้งบนวินโดวส์ แต่คราวนี้ข้างหลังเป็นเอนจินของ ChatGPT ทำให้ตอบคำถามได้ฉลาดกว่ายุคเดิมมาก
แอพสามารถดาวน์โหลดได้จาก Microsoft Store โดยตัวมันเองเป็นโอเพนซอร์สบน GitHub อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้จำเป็นต้องมี API key ของ ChatGPT ของตัวเองเพื่อสิทธิในการพูดคุยกับเซิร์ฟเวอร์ของ ChatGPT ด้วย
ผู้พัฒนาแอพตัวนี้คือ FireCube Studios ซึ่งเป็นนักพัฒนาแอพสายวินโดวส์อยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้ OpenAI ได้ปล่อย ChatGPT แบบแอปสำหรับผู้ใช้งานระบบ iOS เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ได้มีการอัปเดตเพิ่ม Bing ของ Microsoft เข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาร่วมด้วย สำหรับผู้ใช้ที่สมัครบริการ ChatGPT Plus
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา Microsoft ประกาศในงาน Build ว่า Bing จะกลายเป็นเครื่องมือค้นเริ่มต้นสำหรับ ChatGPT ซึ่งการที่นำ Bing เข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือค้นหาจะช่วยให้ผู้ใช้ได้คำตอบที่ตรงและมีข้อมูลอัปเดตมากขึ้น เนื่องจาก ChatGPT มีการเทรนข้อมูลถึงแค่ปี 2021 เท่านั้น
หลังจากการพิจารณาคดี ที่ทนายความ Steven Schwartz ใช้หลักฐานและตัวอย่างคดีปลอมจาก ChatGPT ในคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย ล่าสุด ศาลแขวงแมนแฮตตัน สหรัฐอเมริกา มีคำสั่งให้ Steven Schwartz, Peter LoDuca (ผู้รับช่วงต่อคดีจาก Steven) และ สำนักงานกฎหมายต้นสังกัด Levidow, Levidow & Oberman ถูกปรับ 5,000 ดอลลาร์
ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า Steven จงใจให้ข้อมูลเท็จกับศาลโดยการใช้หลักฐานและคดีปลอมจาก AI ขณะที่สำนักงานกฎหมายของฝั่ง Steven โต้แย้งว่าเป็นความผิดโดยบริสุทธิ์ใจ
บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ Group-IB ออกรายงานเหตุข้อมูลรั่วไหลจากมัลแวร์ขโมยข้อมูล พบว่าช่วงหลังมัลแวร์ที่อาละวาดหนักๆ 3 ตัว คือ Raccoon, Vidar, และ Redline ดึงข้อมูลล็อกอิน ChatGPT ไปได้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามความนิยมในบริการ โดยรวมพบล็อกอิน ChatGPT หลุดกว่าแสนรายการแล้ว
ไม่มีข้อมูลว่ามัลแวร์เหล่านี้มุ่งดึงข้อมูลเว็บ ChatGPT เป็นการเฉพาะ แต่การใช้งาน ChatGPT ในช่วงหลังเกี่ยวกับงานมากขึ้นเรื่อยๆ รายงานนี้ก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าควรดูแลความปลอดภัย ChatGPT ให้ดี และรีเซ็ตรหัสผ่านหากมีเหตุข้อมูลรั่วไหล
การตั้งค่าเริ่มต้นของ ChatGPT จะเก็บประวัติการแชตเป็นค่าเริ่มต้น หากพนักงานใส่ข้อมูลที่เป็นความลับในแชตก็อาจจะทำให้ข้อมูลเหล่านี้หลุดไปยังคนร้ายด้วย
Vercel ผู้พัฒนาเฟรมเวิร์ค Next.js เปิดตัว Vercel AI SDK ชุดพัฒนาสำหรับการสร้างเว็บแบบเดียวกับ ChatGPT ของ OpenAI สามารถใช้งานได้กับ React และ Svelte
ภายใน SDK มีสองส่วนประกอบหลัก ส่วนแรกคือ LLM Adapters เปิดทางให้เชื่อมกับ API ของผู้ให้บริการปัญญาประดิษฐ์เจ้าต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ตอนนี้รองรับ OpenAI, LangChain, Anthropic, และ Hugging Face
ส่วนที่สองคือการสตรีมข้อมูลที่ได้จาก API แบบเดียวกับที่เราใช้ ChatGPT แล้วคำตอบค่อยๆ ตอบขึ้นมา นอกจากค่อยๆ ส่งคำตอบไปยังเว็บแล้ว ยังมี API สำหรับการเซฟคำตอบสุดท้ายในกรณีที่ต้องการเซฟคำตอบลงฐานข้อมูล
ตัว SDK เป็นโอเพนซอร์สแบบ Apache 2.0 ไม่ต้องใช้งานกับ Next.js และในอนาคตจะรองรับ Vue เพิ่มเติม
Mercedes-Benz ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ของ MBUX Voice Assistant ผู้ช่วยสั่งงานในรถด้วยเสียง ให้ใช้ความสามารถของ ChatGPT เพิ่มเข้ามาเพื่อรองรับคำสั่งที่หลากหลายกว่าเดิม
MBUX Voice Assistant เป็นผู้ช่วยในรถที่เรียกใช้ด้วยคำสั่ง “Hey Mercedes” โดยปกติแล้วผู้ช่วยในกลุ่มนี้ก็มักรับคำสั่งได้จำกัดตามที่ออกแบบไว้ แต่การใช้ ChatGPT เข้ามาจะช่วยให้ผู้ใช้ถามคำถามที่ซับซ้อนกว่าเดิม รวมถึงการขอรายละเอียดจุดหมายปลายทาง หรือการถามนอกเรื่องอย่างสูตรอาหาร
ทาง Mercedes-Benz ใช้โมเดลของ OpenAI ผ่านทาง Azure OpenAI Service ส่วนข้อมูลเสียงจะเก็บรักษาโดย Mercedes-Benz เอง
รัฐบาลท้องถิ่นกรุงโตเกียวประกาศจะเริ่มใช้ ChatGPT สำหรับงานเอกสารและงานธุรการภายในสำนักงาน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม
รัฐบาลกรุงโตเกียวจะใช้ ChatGPT สำหรับงานเอกสารต่าง ๆ เช่น การเตรียมเอกสารในรูปแบบถาม-ตอบ รวมถึงจะสอบถามความเห็นข้าราชการของกรุงโตเกียวว่าควรจะนำ Generative AI ไปใช้ทำอะไรต่อไป
Koike ผู้ว่าการกรุงโตเกียวเผยว่า การประเมินข้อดีข้อเสียของเครื่องมือ AI ที่จะนำมาใช้งาน จะช่วยให้การบริหารจัดการภาครัฐดีมากขึ้น ส่วนประเด็นความลับของข้อมูล รัฐบาลท้องถิ่นมีการจัดตั้งทีมงานขึ้นมาทดสอบทั้งประสิทธิภาพ และวางแนวทางการใช้งานเพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล
ทีมนักวิจัยจากเยอรมนี Sophie Jentzsch และ Kristian Kersting ทดลองให้ ChatGPT 3.5 เล่ามุกตลกจำนวน 1,008 ครั้ง พบว่า 90% ของคำตอบเป็นมุกซ้ำเดิม 25 มุก
ทีมวิจัยประเมินว่าเหตุผลที่ ChatGPT ยิงมุกซ้ำๆ มาจากข้อมูลการเทรนโมเดลครั้งแรกสุด และมุกที่ไม่ค่อยตลกนักเป็นเพราะวิธีการเทรนแบบ reinforcement learning through human feedback (RLHF) ที่ให้มนุษย์ให้คะแนนคำตอบว่าดีแค่ไหน ซึ่งมนุษย์ที่ให้คะแนนตอนเทรน มักอิงกับแนวทางคำตอบตามคู่มือที่ได้รับมากกว่าเน้นความสร้างสรรค์
ทีมวิจัยยังบอกว่าจะทดลองแบบเดิมกับ GPT-4 ในอนาคตด้วย
ทีมผู้ดูแลโครงการ WasmEdge รันไทม์ WebAssembly ที่ Docker เลือกใช้งาน เขียนบล็อกเล่าถึงประสบการณ์สร้างบอตด้วย GPT-4 เพื่อมารีวิวแพตช์ที่ส่งเข้ามา เพื่อเร่งความเร็วในการรีวิวให้เร็วขึ้น สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับนักพัฒนาที่ต้องการช่วยส่งโค้ด
ทีมงานยกตัวอย่างแพตช์หนึ่งที่ส่งเข้ามา เป็นฟังก์ชั่น check_prime
ที่ไม่ออปติไมซ์นัก และในแพตช์อื่นๆ GPT-4 ก็สามารถให้คำแนะนำที่มีประโยชน์จริง
ตัวบอตเป็นโค้ดที่เขียนด้วย Rust และคอมไพล์เป็น wasm เพื่อรันบน flows.network ซึ่งใช้ระดับบ free-tier ก็ยังเพียงพอต่อการใช้งาน และให้บอตเฝ้า PR ของโครงการและรีวิวแพตช์ที่ส่งเข้ามา
หลังจากที่ ทนาย Steven Schwartz ถูกลงโทษหลังใช้คดีปลอมจาก ChatGPTมาใช้ในชั้นศาล มาคราวนี้ผู้พิพากษา Brantley Starr ในรัฐเท็กซัสได้กำหนดเกณฑ์ใหม่ด้วย "ใบรับรองว่าด้วย Generative AI" ซึ่งระบุว่า ทนายที่ว่าความในศาลของเขาจะต้องยืนยันว่า “ไม่มีการใช้ Generative AI (เช่น ChatGPT, Harvey.AI หรือ Google Bard) เพื่อสร้างสำนวนในเอกสารที่ใช้ในชั้นศาล ซึ่งรวมถึง "การอ้างคำพูด การอ้างอิง การถอดความยืนยัน และการวิเคราะห์ทางกฎหมาย" หรือหากมีก็จะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องโดยสื่อสิ่งพิมพ์หรือฐานข้อมูลทางกฎหมายแบบดั้งเดิมซึ่งจัดทำโดยมนุษย์เท่านั้น”
ก่อนหน้านี้ ChatGPT ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันที่สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านระบบ iOS และเปิดตัวไป 11 ประเทศทั่วโลก ตอนนี้ถึงตาประเทศไทย ChatGPT ได้เปิดให้ดาวน์โหลดในประเทศไทยแล้วสำหรับผู้ใช้งานผ่านระบบ iOS เท่านั้น แต่ระวังแอปลอกเลียนแบบ เพราะมีค่อนข้างเยอะมาก
สามารถดาวน์โหลด ChatGPT ได้ที่ App Store
เราเห็นกรณีการนำเสนอข้อมูลปลอมจาก ChatGPT อยู่บ่อยครั้ง แต่ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกๆ ถึงผลกระทบจากข้อมูลปลอมจาก ChatGPT ในอาชีพการงาน เมื่อ Steven Schwartz ทนายความสหรัฐ ใช้ข้อมูลคดีปลอมและโควทปลอม เป็นข้อมูลในชั้นศาล
Steven Schwartz ว่าความให้ Roberto Mata ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับสายการบิน Avianca ของโคลอมเบีย จากอาการบาดเจ็บบนเครื่องที่เกิดเมื่อปี 2019 โดยทนายใช้ข้อมูลคดีและคำตัดสินจาก ChatGPT ทั้งหมด 6 คดี รวมถึงโควทและข้อมูลอ้างอิงจากการสืบสวนคดีดังกล่าว เป็นคดีอ้างอิงในชั้นศาล ก่อนที่ผู้พิพากษาจะพบว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นของปลอม