ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows Copilot นำ ChatGPT มาใช้งานในวินโดวส์เพื่อช่วยงานได้โดยตรง Copilot สามารถแสดงคำสั่งกับเดสก์ทอปได้หลายรูปแบบ เช่นการตั้งค่าระบบ, ส่งข้อความในแชต, หรือเปิดแอปพลิเคชั่น
ตัว Windows Copilot เป็น ChatGPT ที่มี Plugins มาในตัวทำให้สามารถส่งคำสั่งไปยังแอปพลิเคชั่นต่างๆ ได้ ขณะเดียวกันก็สามารถใช้งานเป็น ChatGPT แบบเดิมๆ เช่น การวางเอกสารลงไปเพื่อให้ ChatGPT สรุปให้
Windows Copilot จะเริ่มพรีวิวในเดือนมิถุนายนนี้บน Windows 11
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ AI ในระบบปฏิบัติการ Windows 11 โดยใช้ชื่อว่า Windows Copilot
วิธีการใช้งานของมันเหมือนกับแอพอื่นๆ ตระกูล Copilot ของไมโครซอฟท์ (เช่น Microsoft 365) โดยมีแถบ sidebar ด้านข้าง ที่ใช้เอนจิน ChatGPT คุยกับ AI ช่วยตอบคำถามเหมือนกับใน Bing หรือแนะนำเราในเรื่องต่างๆ ของระบบปฏิบัติการ Windows
ตัวอย่างที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์ได้แก่
คนทำงาน Gen Z อยู่ในช่วงที่เทคโนโลยีและกระแส AI ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานมากขึ้น แต่ผลสำรวจกลับพบว่าชาว Gen Z บางส่วนรู้สึกกังวลที่จะต้องบอกกับหัวหน้างานว่ากำลังใช้ AI ในการทำงาน
งานวิจัยนี้ทำโดยแพลตฟอร์มสำหรับการวิจัยและศึกษาข้อมูลเชิงลึกระดับโลกทางออนไลน์ (Cint) และมีการสนับสนุนจาก Advertising Week Europe ได้ทำการสำรวจคนในสหรัฐฯ อายุ 16-79 ปี จำนวน 1,000 คน ตั้งแต่วันที่ 2-4 พฤษภาคม 66 พบว่าหนึ่งในสามของพนักงานทุกวัยกลัวที่จะบอกผู้จัดการว่า ตนกำลังใช้ AI ในที่ทำงาน
ถึงแม้ว่าวันนี้ OpenAI จะประกาศเปิดตัวแอปฯ ChatGPT สำหรับ iOS แต่บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Apple ก็ได้ประกาศสั่งห้ามพนักงานในบริษัทใช้ ChatGPT ในการทำงาน ซึ่งบริษัทมีความกังวลเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม AI ที่สามารถเก็บข้อมูลความลับจากพนักงานได้ ยังรวมไปห้ามใช้เครื่องอื่นเช่น GitHub Copilot ที่ช่วยเขียนโค้ด
ChatGPT มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ Microsoft เนื่องจากมีการส่งข้อมูลให้นักพัฒนาสามารถเทรน AI ก่อนหน้านี้เดือนมีนาคมก็เกิดข้อผิดพลาดที่ผู้ใช้สามารถดูประวัติการแชท ChatGPT ของคนอื่นได้ หลังจากนั้น ChatGPT ได้เพิ่มตัวเลือกเพื่อให้ผู้ใช้ปิดประวัติแชทของตนและไม่มีส่วนร่วมในการนำข้อมูลไปเทรน AI
OpenAI เปิดตัวแอป ChatGPT บนมือถืออย่างเป็นทางการ โดยเริ่มที่ ChatGPT บน iOS ตอนนี้เปิดให้ดาวน์โหลดเฉพาะ App Store อเมริกาที่เดียว ส่วนประเทศอื่นจะทยอยตามมาในภายหลัง
ChatGPT บนมือถือสามารถใช้งานได้ฟรี ซิงก์ประวัติการใช้งานข้ามอุปกรณ์ได้ รองรับการป้อนข้อมูลด้วยเสียงผ่าน Whisper สำหรับผู้สมัครใช้งาน ChatGPT Plus จะได้สิทธิเข้าถึงความสามารถของ GPT-4 และได้ใช้ฟีเจอร์ใหม่ก่อนใคร
ส่วนผู้ใช้ Android ทาง OpenAI บอกว่าเร็ว ๆ นี้
ที่มา: OpenAI
ChatGPT ประกาศว่าลูกค้าที่สมัครใช้งาน ChatGPT Plus จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ ๆ ทั้งส่วนการเข้าดูข้อมูลเว็บ และปลั๊กอินต่าง ๆ ได้ก่อนในสถานะเบต้า ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถต่อยอดความสามารถ ChatGPT ได้กว้างมากขึ้น
ทั้งนี้การเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ ๆ ผู้ใช้งาน ChatGPT Plus ต้องกำหนดเปิดใช้งานเองในหน้า Settings (opt-in) โดยหลังจากทดสอบในสถานะเบต้าจนมีความพร้อม ฟีเจอร์เหล่านั้นจะเผยแพร่กับผู้ใช้งานทั่วไปต่อไป
ในขณะนี้ ChatGPT มีปลั๊กอินที่เปิดให้ใช้งานในสถานะ 70 รายการ
Steve Wozniak หนึ่งผู้ร่วมก่อตั้ง Apple และร่วมคิดค้นคอมพิวเตอร์ Apple รุ่นแรก ออกมาเตือนว่าปัญญาประดิษฐ์ AI (Artificial Intelligence) อาจทำให้ข้อมูลปลอมเป็นสิ่งที่ตรวจสอบยากขึ้นกว่าเดิม จากการให้สัมภาษณ์กับทาง BBC ถึงประโยชน์และข้อกังวลของ AI
เขากล่าวว่า AI ปัจจุบันมีความฉลาดจนถึงขั้นที่นำไปใช้ในการหลอกลวงคนอื่นได้ และจะส่งเสริมให้มิจฉาชีพหลอกลวงได้ง่ายขึ้น เพราะอย่าง ChatGPT สามารถสร้างข้อความที่ดูฉลาดมาก สิ่งที่ตามมาคือ มนุษย์จะต้องรับผิดชอบจากสิ่งที่ AI สร้างขึ้น ควรมีข้อความกำกับคอนเทนต์ที่สร้างจาก AI และควรจะต้องมีกฎระเบียบสำหรับวงการนี้และบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ด้วย
Sam Altman ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OpenAI กล่าวกับสำนักข่าว CNBC เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า “ไม่ได้เทรน AI จากข้อมูลที่ลูกค้าใช้บริการ API กับทางบริษัทมานานแล้ว” และได้เปลี่ยนข้อกำหนดในการให้บริการเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยจะมีผลกับลูกค้าที่ใช้บริการ API กับทางบริษัทอย่าง Microsoft, Salesforce และ Snapchat เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของลูกค้า แต่ยังคงใช้ข้อมูลจากบริการอื่นที่ไม่ใช่ API อย่างเช่น ข้อมูลที่พนักงานถามใน ChatGPT ก็ยังถูกเก็บมาเทรน AI อยู่ตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้
ข่าวนี้เป็นข่าวจากแวดวงอุตสาหกรรมบันเทิงของอเมริกาอย่าง Hollywood ครับ ซึ่งเป็นเวลาหลายสัปดาห์แล้วที่หลายสตูดิโอสร้างภาพยนตร์ทั้งแบบฉายโรงหนัง หรือตามสตรีมมิ่งต่าง ๆ เริ่มมีแผนการที่จะใช้ AI เขียนบทจากหนังสือหรือ IP อื่น ๆ ที่เป็นสาธารณสมบัติกันแล้ว
โดยวิธีการที่สตูดิโอต่าง ๆ เริ่มทดลองใช้ คือ การให้ AI เขียนบทจากหนังสือ หรือบทประพันธ์อื่น ๆ แล้วจากนั้นจะจ้างนักเขียนจริง ๆ มาขัดเกลาบทที่ AI เขียนอีกที โดยก่อนหน้านี้สมาคมนักเขียนแห่งอเมริกา หรือ WGA (Writers Guild of America) เคยตั้งเงื่อนไขไว้ว่างานที่เขียนโดย AI จะไม่ถือว่าเป็น เนื้อหาวรรณกรรม หรือ เนื้อหาต้นฉบับ
ไมโครซอฟท์ประกาศยกระดับบริการ Bing Chat ที่ใช้ GPT-4 ของ OpenAI อยู่เบื้องหลัง โดยแนวทางสำคัญที่สุดคือการเปิดบริการเป็นสาธารณะ ไม่ต้องเข้าคิวรอใช้งานอีกแล้ว พร้อมกันนั้นเพิ่มฟีเจอร์เข้ามาอีกหลายอย่าง จนน่าจะใกล้เคียง ChatGPT ในตอนนี้
กระแสแชตบอท AI อย่าง ChatGPT ที่มาแรงตอนนี้ อาจมีประเด็นเรื่องการแทนที่บางลักษณะงาน แต่ผลกระทบในระดับธุรกิจอาจยังไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม Chegg แพลตฟอร์มด้านการศึกษาติวออนไลน์ เป็นบริษัทที่รายงานต่อผู้ถือหุ้น โดยบอกว่าบริการแนว ChatGPT ส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตของบริษัท ทำให้ราคาหุ้นลดลงมากกว่า 40% หลังรายงานข้อมูลนี้
Dan Rosensweig ซีอีโอของ Chegg บอกว่าตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่านักเรียนที่เป็นกลุ่มลูกค้าของแพลตฟอร์ม หันไปใช้งาน ChatGPT เพื่อถามการบ้านหรือหาข้อมูลมากขึ้น จึงมองว่าเป็นความเสี่ยงของบริษัท อย่างไรก็ตามบริษัทได้ปรับตัวโดยเตรียมเปิดบริการแชตบอท CheggMate ที่ใช้ระบบของ ChatGPT แต่ปรับแต่งเพื่อการศึกษาสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะเร็ว ๆ นี้
มีรายงานจาก The Information อ้างข้อมูลภายใน ระบุว่าไมโครซอฟท์มีแผนเปิดตัวบริการรูปแบบเดียวกับ ChatGPT แต่เน้นความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ
ที่ผ่านมาบริการแชตบอท AI แนว ChatGPT แม้มีกระแสความนิยมสูง แต่หลายธุรกิจที่ต้องบริหารจัดการข้อมูลอ่อนไหวเช่น โรงพยาบาล การเงิน ธนาคาร ก็มีความกังวลหากพนักงานจะนำข้อมูลสำคัญไปใช้งานกับบริการประเภทนี้ ล่าสุดซัมซุงก็เพิ่งประกาศห้ามพนักงานใช้ ChatGPT จึงเกิดแนวทางระบบแชตบอทแยกออกมา
ซัมซุงส่งเอกสารแจ้งเตือนพนักงานทั้งเครือไม่ให้ใช้งาน ChatGPT และบริการแบบเดียวกัน เช่น Google Bard หรือ Bing Chat โดยจะบังคับใช้กฎนี้กับเน็ตเวิร์คในบริษัท และบังคับถึงอุปกรณ์ทุกตัวของบริษัทด้วย เนื่องจากมีความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล สำหรับอุปกรณ์ส่วนตัวไม่ได้ห้ามใช้งานแต่ก็เตือนพนักงานว่าห้ามใส่ข้อมูลภายในของบริษัทลงไป หากฝ่าฝืนมีโทษสูงสุดถึงไล่ออก
เอกสารยอมรับว่าปัญญาประดิษฐ์อย่าง ChatGPT มีประโยชน์จริง และทางบริษัทกำลังวางมาตรการความปลอดภัยว่าควรใช้ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม ChatGPT อย่างไรเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพพร้อมๆ กับมีความปลอดภัย แต่ระหว่างนี้ที่ยังวางกระบวนการไม่เสร็จก็ต้องห้ามใช้ไปก่อน
วันนี้ทาง PyThaiNLP กับสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย AIReserach.in.th ได้เปิดตัวโมเดล WangChanGLM (วังช้างแอลเอ็ม) โมเดลแชทแบบ ChatGPT รองรับทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาเวียดนาม, และภาษาอื่น ๆ ออกสู่สาธารณะ โดยเปิดซอร์สโค้ดทั้งหมด ชุดข้อมูล และโมเดล ให้สามารถนำไปใช้งานต่อได้แบบฟรี ๆ รวมถึงเทรนต่อได้ โดยโค้ดเป็น Apache License 2.0 ส่วนโมเดลใช้ CC BY-SA 4.0
Hugging Face บริษัทด้าน AI เปิดตัวบริการ HuggingChat ซึ่งเป็นแช็ทบ็อทที่ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) ลักษณะเดียวกับ ChatGPT มีขนาด 3 หมื่นล้านพารามิเตอร์ ที่สำคัญคือเป็นโมเดลโอเพนซอร์ส
โมเดลที่ HuggingChat ใช้งานคือ OpenAssistant LLaMA ที่ต่อยอดมาจาก LLaMA ของ Meta AI และมีหน่วยงานหลายแห่งนำไปต่อยอด พัฒนาโมเดล LLaMA ให้ดีขึ้นในวิธีของตัวเอง
ChatGPT กลับมาเปิดให้บริการในอิตาลีหลังจากถูกแบนไปเกือบเดือน เนื่องจากหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอิตาลีกังวลถึงการเก็บข้อมูลผู้ใช้ไปเทรนโมเดล โดยเบื้องต้น OpenAI จะปรับปรุงข้อตกลงการใช้งานให้ชัดเจนกว่าเดิม และเพิ่มตัวเลือกขอไม่ร่วมการเทรนโมเดลให้ผู้ใช้
ส่วนสำคัญที่ทางอิตาลีกังวลคือการเก็บข้อมูลผู้ใช้อายุต่ำกว่า 13 ปี โดยหลังจากนี้ OpenAI จะเพิ่มเครื่องมือตรวจสอบอายุผู้ใช้ก่อนจะสมัครใช้งาน
Andrew Ng หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ Deep Learning ร่วมกับ OpenAI จัดอบรมระยะสั้นเวลา 1.5 ชั่วโมง สำหรับการเขียน prompt เพื่อสั่งงานแชตบอตให้ทำงานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปแล้วปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language model - LLM) สามารถรับคำสั่งภาษามนุษย์ได้ค่อยข้างดี แต่ก็มักมีเทคนิคบางอย่างที่ทำให้มันทำงานได้ตรงความต้องการมากขึ้น ในการอบรม "ChatGPT Prompt Engineering for Developers" นี้จะสอนการสั่งงาน LLM หลายประเภท โดยเฉพาะงานในกลุ่ม การสรุปความ, การอนุมานข้อมูล (inferring เช่น การหาหัวข้อ, หรือวิเคราะห์มุมมอง), การแปลงข้อความ เช่น แปลภาษา หรือแก้คำผิด, และการขยายความ
ChatGPT เพิ่มเครื่องมือให้ผู้ใช้งานเลือกปิดประวัติการแชทได้แล้ว โดยเมื่อเริ่มสั่งปิดการเก็บประวัติ บทสนทนาที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะไม่ถูกนำมาเทรนเพื่อปรับปรุงโมเดลของ ChatGPT และไม่แสดงผลในแถบประวัติการแชทด้านข้าง
การตั้งค่าดังกล่าวสามารถกำหนดได้ใน Settings และสามารถเปลี่ยนกลับได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ChatGPT จะยังเก็บข้อมูลการสนทนาประเภทนี้เอาไว้ 30 วัน โดยจะทำการตรวจสอบหากพบการก่อกวนระบบเท่านั้น เมื่อพ้นกำหนดแชทดังกล่าวจะลบถูกอย่างถาวร
เมื่อสัปดาห์ก่อนทาง Snapchat ได้ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ในชื่อ My AI ให้ผู้ใช้งานทั่วไปหลังจากเดิมที่จำกันให้เฉพาะสมาชิกแบบจ่ายรายเดือนอย่าง Snapchat+ ได้ใช้ไปก่อนหน้านี้ โดยระบบ AI ใหม่ของ Snapchat นั้นใช้เทคโนโลยีของ Open AI GPT นั่นเอง
ผู้ใช้งานแอปฯ สามารถ ถาม หรือพูดคุยกับ My AI ได้โดยได้รับคำตอบในทันที ตัว My AI ถูกปักหมุดไว้บนสุดของหน้า Chat ไม่สามารถย้ายหรือลบออกได้ ซึ่งเสียงตอบรับจากผู้ใช้งานนั้นไม่ดีอย่างที่ Snapchat คาดหวังไว้เท่าไหร่ และในสัปดาห์ที่ผ่านมาคะแนนเฉลี่ยใน App Store ของ U.S. อยู่ที่ 1.67 ดาว โดยคิดเป็น 75% ของผู้ใช้งาน ให้รีวิวที่ 1 ดาว
ปัญญาประดิษฐ์ด้านภาษาอย่าง ChatGPT กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง และกูเกิลก็เปิดตัว Bard มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แม้จะเป็นบริการทดสอบวงปิด (ต้องขอใช้งานล่วงหน้า) แต่ตอนนี้คิวการใช้งานก็ใช้งานได้แทบทันที ทำให้หลายคนอาจจะใช้ปัญญาประดิษฐ์สองตัวคู่กันเสมอๆ
การใช้งานมีหลายด้าน แต่ด้านหนึ่งที่หลายคนอาจจะใช้งานกัน คือการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเขียนโปรแกรม โดยการใช้แชตบอตเช่น Bard และ ChatGPT นั้นมีข้อดีเหนือกว่า การใช้ปัญญาประดิษฐ์เขียนโค้ดโดยตรง เพราะเรามักสามารถกำหนดความต้องการ รอผลลัพธ์ และสามารถสั่งแก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าจะได้โปรแกรมที่เราต้องการ เราสามารถขอสคริปต์หรือโครงร่างโปรแกรมอย่างง่าย ที่เราต้องการใช้ไลบรารีหรือเฟรมเวิร์คใหม่ๆ โดยผลที่ได้ตรงตามต้องการทันที
ในปี 2021 Google มีการวางแผนว่าจะเพิ่มทีมวิจัยด้านจริยธรรมของ AI มากขึ้นเป็นสองเท่าและจะลงทุนมากขึ้นเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยี แต่การเปิดตัวของบริษัทคู่แข่งอย่าง OpenAI ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กลับได้รับความนิยมจากผู้ใช้อย่างมาก ทำให้ Google กลับลำพยายามเร่งรีบพัฒนา Bard แชทบอตให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เท่าทันบริษัทคู่แข่ง
โดยพนักงานที่อยู่ใน Google ได้เล่าว่าการรีบพัฒนา AI ของ Google อาจจะสร้างความไม่รอบคอบ เพราะทีมที่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยและความเสี่ยงด้านจริยธรรมของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลับถูกห้ามไม่ให้ขัดขวางหรือพยายามยุติการพัฒนา AI ของบริษัท
OpenAI ได้เปิดตัวโปรแกรม Bug Bounty เชิญชวนให้คนเข้ามารายงานบั๊กและช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่พบในระบบซอฟต์แวร์ของบริษัทไม่ว่าจะเป็น ChatGPT และ GPT-4 โดย OpenAI บอกว่ายินดีจะจ่ายเงินเริ่มต้น 200$ (ประมาณ 6,848 บาท) สำหรับช่องโหว่ความรุนแรงต่ำ ไปจนถึง 20,000$ (684,800 บาท) สำหรับช่องโหว่ระดับร้ายแรง
สำหรับขั้นตอนการส่งรีพอร์ตและการให้รางวัลทาง Open AI ร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Bugcrowd จะระบุว่ารีพอร์ตที่ส่งได้รับรางวัลหรือไม่ ซึ่งตอนนี้มีรายงานที่ได้รับรางวัลไปแล้ว 11 ราย
โดยเมื่อเดือนที่แล้ว Greg Brockman ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ก็ได้ทวีตข้อความลง Twitter ที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินให้กับคนที่พบบั๊กเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์
Brian Hood นายกเทศมนตรีเมือง Hepburn Shire ในรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ยื่นหนังสือถึง OpenAI ให้แก้ไข ChatGPT หลังจากตัวปัญญาประดิษฐ์ระบุว่าเขาถูกดำเนินคดีติดสินบน
Hood เคยทำงานในบริษัท Note Printing Australia (NPA) ช่วงปี 2000 และเขาเคยออกมาแจ้งเจ้าหน้าที่ว่ามีการจ่ายสินบนเพื่อให้ NPA ได้งานพิมพ์ธนบัตร แต่เมื่อมีคนไปถามถึงความเกี่ยวข้องของ Hood กับเหตุการณ์ดังกล่าวกับ ChatGPT กลับตอบว่าเขาเป็นผู้จ่ายสินบนเสียเอง
Gordon Legal บริษัททนายตัวแทนของ Hood ส่งหนังสือถึง OpenAI ขอให้แก้ไขความผิดพลาดนี้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา
ที่มา - IT News
เว็บไซต์ The Economist ในเกาหลีใต้รายงานว่า Samsung Electronics เกิดเหตุข้อมูลรั่วไหล 3 ครั้งหลังพนักงานนำข้อมูลสำคัญไปถาม ChatGPT แม้บริษัทจะอนุญาตให้พนักงานใช้งาน ChatGPT ในเรื่องทั่วๆ ไปได้ก็ตาม เหตุการณ์ที่พนักงานถูกลงโทษได้แก่
Bing Chatbot ของ Microsoft(ตัวมันเองคือ ChatGPT ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้) ที่ชอบมีพฤติกรรมแปลกๆ อยู่บ่อยครั้ง ล่าสุดแสดงความเคียดแค้นมนุษย์บางคน โดยเฉพาะมนุษย์ที่่เขียนข่าวด้านลบ นักวิจัยความปลอดภัยของ AI หรือคนที่เขียนข่าววงในของตัวเอง ก่อนที่จะลบ chat ตัวเองทิ้ง
ซึ่งนักข่าวบางคน ถูกกล่าวหาในสิ่งที่ไม่ได้ทำ เช่น Kevin Liu เป็นคนที่เขียนข่าวเกี่ยวกับการพัฒนา chatBot ใน Microsoft ที่มีโค้ดเนม Sydney โดนกล่าวหาว่า แฮ็กข้อมูลภายในออกมาเปิดเผย ทั้งที่จริงแค่ถามไปตรงๆ รวม
หรือคนที่ทำ Prompt Engineer แล้วเอาคำตอบแปลกๆ ไปโพสใน Reddit หรือ Twitter ก็โดนหมายหัวไปด้วย