TikTok แอปแชร์วิดีโอของ Bytedance จากประเทศจีนถูกทางการอินเดียสั่งแบน หลังพบว่าแอปแชร์วิดีโอเซลฟี่นี้มีคอนเทนต์ผิดกฎหมายปรากฏบนแพลตฟอร์ม
กระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศได้ออกคำสั่งให้ทั้ง Apple และ Google ลบแอป TikTok ออกจาก App Store และ Google Play หลังจากที่ทางการสอบสวนพบว่าตัวแอปนั้นมีภาพลามกและคอนเทนต์ผิดกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งคำสั่งนี้มาจากศาล High Court ใน Madras
คำสั่งนี้จะมีผลเฉพาะผู้ดาวน์โหลดแอปรายใหม่เท่านั้น และมีผลเฉพาะ App Store กับ Google Play ถ้าใครดาวน์โหลดนอกสโตร์ก็ไม่ได้รับผลกระทบ และผู้ดาวน์โหลดแอปไปแล้วก็ยังใช้งานได้ตามปกติ แต่ก็ทำให้ TikTok เสียผู้ใช้หน้าใหม่ในอินเดียไปได้ไม่น้อย
จากประเด็น FTC สั่งปรับ TikTok 5.7 ล้านดอลลาร์ ข้อหาไม่เคารพข้อมูลส่วนตัวของเด็ก และเรียกร้องให้ TikTok นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก ล่าสุด TikTok จำกัดห้ามไม่ให้ผู้ใช้ใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี ในการโพสต์คลิป สร้างโปรไฟล์ คอมเมนท์ หรือส่งข้อความใดๆ ได้ แต่ยังสามารถดูคลิปของคนอื่นได้ตามปกติ
การจำกัดดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันนี้ และมีรายงานด้วยว่า ผู้ใช้หลายคนที่อายุต่ำกว่า 13 ปีพบว่าโปรไฟล์ตัวเองหายไปโดยไม่ได้รับการแจ้งเตือนใดๆ
FTC คณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ สั่งปรับ TikTok หรือที่รู้จักกันในสหรัฐฯว่า Musical.ly เป็นจำนวนเงิน 5.7 ล้านดอลลาร์ ด้วยข้อหาว่าบริษัทไม่เคารพข้อมูลความเป็นส่วตัวของเด็ก โดย TikTok ไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 13 ปีโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเท่านั้น แต่ยังทำให้โปรไฟล์ของเด็กๆ ให้เป็นสาธารณะอีกด้วย
FTC ยังเรียกร้องให้ TikTok เคารพกฎกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวของเด็กบนออนไลน์ หรือ COPPA ในอนาคต และให้นำคลิปวิดีโอที่โพสต์โดยเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีออก
กูเกิลและเฟซบุ๊กถูกวิจารณ์มานานเรื่องเนื้อหาละเมิดเด็ก และรูปเด็กถูกละเมิด ซึ่งอัลกอริทึมก็ไม่สามารถคัดกรองและจัดการได้ทั้งหมด ทำให้ต้องใช้คนเข้ามาช่วยคัดกรอง แต่การทำหน้าที่นี้ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตมาก ล่าสุด กูเกิลทำ Content Safety API ให้องค์กรพาร์ทเนอร์และ NGO นำไปคัดกรองรูปเด็กถูกละเมิดโดยใช้พลัง AI ลดการใช้พลังงานคน
กูเกิลระบุว่า ปกติการตรวจจับเนื้อหารุปภาพละเมิดเด็กจะใช้วิธีจับคู่ภาพที่เคยระบุไว้ว่าเป็นภาพผิดกฎหมาย ซึ่ง Content Safety API จะช่วยให้สามารถติดตามผุ้กระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะสามารถบ่งชี้รูปภาพใหม่ที่ไม่เคยมีอยู่ในประวัติหรือยืนยันว่าเป็นภาพละเมิดเด็กมาก่อน
การใช้งานโปรแกรม Photoshop, Illustrator หรือ Lightroom บน Adobe Creative Cloud อาจต้องจ่ายค่าใช้งานเป็นจำนวนเงิน 10 - 83 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่ล่าสุด Adobe ให้ใช้งานในราคาพิเศษ 5 ดอลลาร์ต่อ 1 ในไลเซนส์เท่านั้น เป็นโปรโมชั่นสำหรับเด็ก K-12 หรือตั้งแต่เด็กอนุบาลไปจนถึงระดับเกรด 12 โดยเฉพาะ
ราคานี้จะจำกัดที่ 500 ไลเซนส์ต่อโรงเรียน หรือ 2,500 ไลเซนส์ต่อเขต นั่นหมายความว่า เด็กๆ จะสามารถล็อกอินเข้าระบบในอุปกรณ์ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนเท่านั้น เด็กๆ สามารถทำโปรเจกต์นอกโรงเรียนได้ด้วย โปรโมชั่นนี้เริ่มใช้ได้ต้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม
Adobe ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า Creative Cloud สำหรับ เด็กๆ K-12 สอดคล้องกับกฎหมายตุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กหรือ COPPA และสามารถตั้งค่าได้ด้วยการลงชื่อเพียงครั้งเดียว นักเรียนและครูสามารถใช้รหัสที่มีอยู่ในการเข้าถึง Creative Cloud ได้เลย
การใช้งานโปรแกรม Photoshop, Illustrator หรือ Lightroom บน Adobe Creative Cloud อาจต้องจ่ายค่าใช้งานเป็นจำนวนเงิน 10 - 83 ดอลลาร์ต่อเดือน แต่ล่าสุด Adobe ให้ใช้งานในราคาพิเศษ 5 ดอลลาร์ต่อ 1 ในไลเซนส์เท่านั้น เป็นโปรโมชั่นสำหรับเด็ก K-12 หรือตั้งแต่เด็กอนุบาลไปจนถึงระดับเกรด 12 โดยเฉพาะ
ราคานี้จะจำกัดที่ 500 ไลเซนส์ต่อโรงเรียน หรือ 2,500 ไลเซนส์ต่อเขต นั่นหมายความว่า เด็กๆ จะสามารถล็อกอินเข้าระบบในอุปกรณ์ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนเท่านั้น เด็กๆ สามารถทำโปรเจกต์นอกโรงเรียนได้ด้วย โปรโมชั่นนี้เริ่มใช้ได้ต้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม
Adobe ระบุเพิ่มเติมด้วยว่า Creative Cloud สำหรับ เด็กๆ K-12 สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กหรือ COPPA และสามารถตั้งค่าได้ด้วยการลงชื่อเพียงครั้งเดียว นักเรียนและครูสามารถใช้รหัสที่มีอยู่ในการเข้าถึง Creative Cloud ได้เลย
กลุ่มผู้บริโภค ผู้สนับสนุนสิทธิเด็ก และผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวกว่า 23 กลุ่มได้รวมตัวกันเพื่อยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการด้านการค้าแห่งสหพันธรัฐหรือ FTC ขอให้สอบสวนกรณีที่ YouTube ละเมิดกฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวของเด็กหรือ COPPA ซึ่งจะต้องให้เว็บไซต์สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีต้องขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อนที่จะเก็บข้อมูลเด็ก
วิดีโอเนื้อหาทฤษฎีสมคบคิดบน YouTube เป็นปัญหาใหญ่ระดับหนึ่ง แต่คงไม่ดีแน่ถ้าวิดีโอเหล่านี้ไปปรากฏบน YouTube Kids ด้วย ซึ่งมันเกิดขึ้นแล้ว โดยพบว่ามีวิดีโอของ David Icke ผู้ที่เชื่อว่ามีสัตว์สายพันธุ์ต่างดาวควบคุมโลกอยู่อย่างลับๆ เขายังเชื่อว่ามนุษย์ต่างดาวมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รวมทั้งทฤษฎีที่ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสังหาร จอห์น เอฟ เคเนดี้ คือรัฐบาล
เว็บไซต์ Business Insider เป็นคนแรกที่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ นอกเหนือจากวิดีโอของ Icke แล้ว ยังมีวิดีโอยานอวกาศลงจอดที่ดวงจันทร์ ที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นของปลอม ที่สำคัญ วิดีโอทฤษฎีสมคบคิดต่างๆ ยังปรากฏในแถบเมนูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกันด้วย ซึ่งมันง่ายมากที่เด็กๆ จะกดดู
Business Insider แจ้งไปยัง YouTube แล้ว ซึ่ง YouTube ก็ให้คำมั่นสัญญาว่าจะจัดการปัญหาดังกล่าว
การที่เด็กเล็กมีโอกาสใช้เทคโนโลยีอาจส่งผลดีต่อการเรียนรู้ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลร้ายเช่นกัน ล่าสุดแพทย์เด็กออกมาบอกว่า การให้เด็กเล่นแท็บเล็ตแทนการเล่นของเล่นทั่วไปส่งผลต่อพัฒนาการกล้ามเนื้อที่มือทำให้จับดินสอได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Sally Payne หัวหน้านักบำบัดโรคในเด็กที่มูลนิธิ Hearts of England ในเครือ NHS (หน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ) ระบุว่า การเล่นของเด็กในช่วง 10 ปีนี้เปลี่ยนไป จากที่เด็กได้เล่นของเล่น ต่อบล็อกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ กลายเป็นเด็กเล่นแท็บเล็ต เด็กช่วงวัยเข้าเรียนสมัยนี้มีความแข็งแรงของมือลดลงเมื่อเทียบกับเด็กเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และเพื่อให้เด็กสามารถจับดินสอได้มั่นคง เด็กๆ ต้องควบคุมกล้ามเนื้อนิ้วมือได้ดี เด็กจึงต้องมีโอกาสพัฒนาทักษะนี้
ปลายปี 2017 Facebook เปิดตัว Messenger Kids แอพแชทสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควบคุมการใช้งานได้ และไม่มีโฆษณา ข้อมูลเด็กจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังเกิดเสียงต้านจากองค์กนด้านเด็กว่าแอพพลิเคชั่นทำนองนี้ ไม่ควรมีอยู่ตั้งแต่แรก
CCFC หรือ Campaign for a Commercial-Free Childhood กลุ่มรณรงค์จำกัดการใช้ข้อมูลเด็กในเชิงพาณิชย์ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง Facebook เรียกร้องให้ระงับแอพ Messenger Kids เพราะมีงานวิจัยออกมามากมายว่าการใช้โซเชียลมากมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาจส่งผลอันตรายต่อจิตใจเด็กด้วย ในจดหมายแถลงการณ์มีบริษัทและบุคคลที่ทำงานด้านเด็กร่วมลงชื่อกว่า 100 รายชื่อ เช่น ACLU of Massachusetts, Badass Teachers Association, Inc, Centre for Child Honouring
ยุคสมัยของอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดบล็อกเกอร์ชื่อดังมากมาย และบางครั้งก็เป็นที่รู้จักมากกว่าดาราฮอลลีวูดด้วยซ้ำ จากการสำรวจของเว็บไซต์ Variety สำรวจความคิดเห็นวัยรุ่นอเมริกันในปี 2014 พบว่า คนดังบน YouTube มีอิทธิพลมากกว่าคนดังในกระแสหลักในสายตาวัยรุ่นในสหรัฐฯ
เว็บไซต์ The Atlantic เผยแพร่บทความพูดคุยกับผู้ปกครองของเหล่าบล็อกเกอร์วัยรุ่น ที่โด่งดังจากการทำคลิปสนุกสนานบนโซเชียล ประสบการณ์ใหม่ที่พวกเขาเจอ และปัญหาที่เหล่าผู้ปกครองต้องรับมือ
Facebook เปิดตัว Messenger Kids แอพแชทสำหรับเด็กมาเมื่อปลายปี 2017 แต่ในช่วงแรกยังคงใช้งานได้เฉพาะอุปกรณ์ระบบ iOS เท่านั้น ล่าสุด เปิดให้ใช้บนแอพ Amazon Appstore สำหรับแทบเล็ต Fire แล้ว
Messenger Kids ทำขึ้นเพื่อให้เด็กใช้สื่อสารกับเพื่อนและครอบครัว โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี Facebook ให้เด็ก ผู้ปกครองสามารถใช้บัญชีของตนเองในการยืนยันตัวตนเพื่อใช้งานแอพ Messenger Kids และยังสามารถควบคุมการใช้งานได้ เช่น จัดการรายชื่อเพื่อนๆ ของลูกว่าลูกคุยกับใครได้บ้าง นอกจากนี้ พ่อแม่สามารถใช้ Facebook Messenger เวอร์ชั่นปกติคุยกับลูกที่ใช้ Messenger Kids ได้ด้วย
Messenger Kids จะไม่มีการซื้อภายในแอพ ไม่มีโฆษณา ข้อมูลของเด็กๆ จึงไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการโฆษณาด้วย
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของแอปเปิล 2 ราย คือ Jana และ CalSTRS (California State Teachers’ Retirement System) เรียกร้องให้แอปเปิลศึกษาผลกระทบการใช้สมาร์ทโฟนต่อการพัฒนาเด็ก โดยผู้ถือหุ้นทั้งสองระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กเพื่อดูว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลเสียต่อพัฒนาการจิตใจ อารมณ์ รวมถึงการนอนหลับพักผ่อนของเด็กหรือไม่
ในจดหมายเปิดผนึกผู้ถือหุ้นทั้งสองยังระบุว่า หลังจากทบทวนงานวิจัยแล้วพวกเขาเชื่อว่าบริษัทแอปเปิลอาจต้องจัดหาทรัพยากรหรือซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ปกครองเด็กแน่ใจว่าเด็กๆ กำลังใช้สมาร์ทโฟนในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบผลการศึกษาว่า 94% ของพ่อแม่ชาวอเมริกันพยายามควบคุมจัดการการใช้สมาร์ทโฟนของลูกๆ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีปล่อยให้ผุ้ปกครองต่อสู้ในสงครามนี้เพียงลำพัง
The Verge เผยแพร่บทความวิพากษ์ YouTube โดยระบุว่า YouTube ในปี 2017 มีทั้งเรื่องร้ายและดี เรื่องดีคือ YouTube ยังคงเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฐานผู้ใช้งาน 1.5 พันล้านราย จากการวิเคราะห์ของ Forbes ยังบอกว่าช่อง 10 อันดับแรกของ YouTube มีรายได้รวมกัน 127 ล้านดอลลาร์ มากกว่าปีก่อนหน้า 80% นอกจากนี้ ฐานผู้ใช้ที่เป็นเด็กก็ขยายตัวเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ คอนเทนต์เด็กได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ บนแพลตฟอร์ม
ข้อมูลจาก SocialBlade ที่ติดตามข้อมูลวิดีโอออนไลน์ ระบุว่า 5 ใน 15 ช่อง YouTube ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกเป็นช่องเด็ก ขณะเดียวกัน ฐานผู้ใช้เด็กคือดาบสองคมสำหรับ YouTube เพราะปัญหาใหญ่ของ YouTube ในช่วงนี้คือคอนเทนต์แฝงที่ไม่เป็นมิตรต่อเด็กทั้งที่เจาะกลุ่มผู้ชมเด็ก
รัฐบาลฝรั่งเศสออกกฎระเบียบ ห้ามนักเรียนอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้โทรศัพท์มือถือตลอดเวลาขณะอยู่ในโรงเรียน ซึ่งรวมถึงเวลาพักเบรกด้วย โดยประกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ประธานาธิบดี Emmanuel Macron กล่าวไว้ช่วงหาเสียง
Jean-Michel Blanquer รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศส กล่าวว่าข้อบังคับนี้มีผลตั้งแต่ปีการศึกษาถัดไป กันยายน 2018 โดยบอกว่าระเบียบนี้มีเพื่อให้ผู้ปกครองรับรู้ว่าเด็กและเยาวชน ไม่ควรใช้เวลากับหน้าจอโทรศัพท์มากเกินไป ถึงแม้ยุคสมัยนี้อุปกรณ์เหล่านี้มีความจำเป็น แต่ก็ต้องถูกควบคุม
อย่างไรก็ตามประกาศนี้ไม่ได้ห้ามเด็กใช้โทรศัพท์ หรือนำโทรศัพท์พกติดตัวไปโรงเรียน จึงยังเป็นประเด็นว่าโรงเรียนต้องทำอย่างไรในทางปฏิบัติกันแน่
Facebook เปิดตัวแอพ Messenger Kids ซึ่งเป็นแอพที่จับกลุ่มเด็ก ๆ โดยเฉพาะ เน้นการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ และมีฟีเจอร์ให้ผู้ปกครองสามารถควบคุมบุตรหลานของตัวเองได้ อย่างเช่นการระบุบัญชีที่อนุญาตให้ติดต่อได้ เพื่อให้เด็ก ๆ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย
Messenger Kids ครอบคลุมการใช้งานหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่นวิดีโอคอล, แชท, แต่งรูป ในลักษณะเดียวกับ Messenger ทั่วไป ให้การติดต่อสื่อสารกันภายในครอบครัวทำได้สนุกขึ้น และด้วยการที่ Facebook ได้พูดคุยกับองค์กรอย่าง National PTA และ Blue Star Families เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารออนไลน์ ทางบริษัทจึงทำฟีเจอร์ด้านการควบคุมผ่าน Messenger Kids ให้ผู้ปกครองสามารถใช้งานได้อย่างง่าย ๆ
YouTube ช่วงนี้กำลังเจอปัญหาคอนเทนต์เจาะจงเด็ก แต่มีเนื้อหาไม่เป็นมิตรกับเด็ก จน YouTube ต้องมาออกกฎเข้มงวดขึ้น บน YouTube ยังมีผู้ใช้กลุ่มหนึ่งที่มักคอมเมนท์ไม่สุภาพกับเด็ก รวมถึงอาจมีรสนิยมทางเพศกับเด็กด้วย ล่าสุดแบรนด์ เช่น Mars and Cadbury, Lidl, Deutsche Bank และ Adidas ทยอยถอนโฆษณาออกจาก YouTube และ Google หลังจากเห็นแบนเนอร์ตัวเองปรากฏคู่กับวิดีโอเจ้าปัญหาต่างๆ
YouTube กำลังเจอปัญหาคอนเทนต์ไม่เป็นมิตรกับเด็ก มีงานวิจัยจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ อังกฤษ บราซิลวิเคราะห์วิดีโอ YouTube จากทั้งสามประเทศที่มีคนดูไปแล้วกว่า 3 หมื่น 7 พันล้านครั้ง พวกเขาพบว่ากลุ่มผู้ใช้ที่เป็นเด็กกำลังเผชิญปัญหาไม่สามารถแยกแยะเนื้อหาสำหรับเด็กกับเนื้อหาที่ดูเหมือนเป็นเนื้อหาเด็กแต่ความจริงแล้วไม่เหมาะกับเด็กเลย การศึกษายังพบว่าเด็กที่อายุน้อยกว่าที่ "อนุญาต" ทั่วโลกกำลังเข้าใช้ YouTube จำนวนมากผ่านทางบัญชีของพ่อแม่
ล่าสุด YouTube ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาโดยอธิบายโดยรวมว่าจะใช้กฎเข้มแข็งขึ้น ต้องเป็นผู้ใช้เกินอายุ 18 ปีจึงจะเข้าสู่ระบบของ YouTube ได้, ถอดโฆษณาจากวิดีโอที่ไม่เหมาะสมที่กำหนดเป้าหมายไปที่เด็กและครอบครัว, บล็อกคอมเมนท์ที่ไม่เหมาะสม, จัดทำคู่มือให้ผู้สร้างคอนเทนต์หรือครีเอเตอร์เรื่องเด็กให้ทำเนื้อหาเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของ YouTube, จะจับมือทำงานกับผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาสำหรับเด็กให้มากขึ้น เพราะมีหลายเนื้อหาที่เป็นการ์ตูนแต่จริงๆ แล้วไม่เหมาะกับเด็กโดยสิ้นเชิง
YouTube แบนช่องสำหรับเด็ก Toy Freaks ด้วยถูกวิจารณ์อย่างหนาหูว่าพยายามทำเนื้อหารุนแรงกับเด็กเกินไป แม้จะเป็นสคริปต์ และเด็กที่เป็นนักแสดงเต็มใจก็ตาม
Toy Freaks เป็นวิดีโอช่องเด็กมีผู้นำเสนอหลักๆ คือพ่อและลูกสาว ตัวอย่างเนื้อหาของช่อง Toy Freaks พ่อแกล้งเทถังกบไปในอ่างอาบน้ำที่ลูกสาวกำลังอาบน้ำอยู่ ใช้แมงมุมของจริงแกล้งลูก เป็นต้น ซึ่งพยายามทำเนื้อหาให้ตลกแต่กลายเป็นว่าสร้างความหวาดกลัวให้เด็ก Toy Freaks ยังเป็นช่องใหญ่อันดับที่ 68 ของ YouTube มีคนติดตาม 8.5 ล้านราย
ก่อนหน้านี้ YouTube แบนเนื้อหาเด็กออกไปไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่จะแบนเฉพาะคลิปวิดีโอที่มีปัญหา แต่สำหรับ Toy Freaks คือแบนทั้งช่อง YouTube เองก็ได้รบเสียงวิจารณ์ไม่น้อยเรื่องเนื้อหาที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ชมที่เป็นเด็ก แม้จะระบุว่าเป็นเนื้อหาสำหรับเด็กหรือช่องเด็กแล้วก็ตาม
YouTube เผยว่า ปัจจุบันเด็กๆ มีช่องทางดูคอนเทนต์สำหรับเด็กอยู่แล้วคือ YouTube Kids แต่เด็กย่อมโตขึ้นและได้รับประสบการณ์ดิจิทัลมากขึ้น YouTube จึงเพิ่มฟังก์ชั่นหน้าตาการใช้งานที่โตตามวัยเด็ก โดยเด็กเล็กจะเห็นหน้าโปรไฟล์ที่มีตัวอักษรน้อย ส่วนเด็กโตจะเห็นว่ามีคอนเทนต์มากขึ้นในหน้าหลัก โดยระบบจะอ้างอิงจากปีเกิดของเด็กที่กรอกเข้ามา
Google Assistant เพิ่มความสามารถใหม่ เปิดเกมให้เด็กเล่น พูดคุยโต้ตอบกับเด็ก เล่านิทานให้เด็กฟัง หรือแม้แต่ช่วยเด็กๆ ทำการบ้าน เปิดใช้งานในสหรัฐฯแล้ว โดยผู้ใช้สามารถพูด OK Google ผ่านอุปกรณ์หลากหลาย เช่น Google Home, ลำโพงอัจฉริยะและสมาร์ทโฟนอื่นที่รองรับ Google Assistant เริ่มเปิดใช้งานในสหรัฐฯ
ตัวอย่างคำสั่งคือ "Let’s learn", "Play space trivia", "Talk to Everyday Heroes", "Help me with my homework", "Tell me a story", "Tell me the story of The-Not-So-Scaredy cat", "Play Strangest Day Ever", "Play Jungle Adventure" เป็นต้น
Google เปิดตัว Family Link สร้างบัญชี Google สำหรับอุปกรณ์แอนดรอยด์ให้เด็กเล็ก ผู้ปกครองจับตาดูกิจกรรมออนไลน์ของเด็กได้ รวมทั้งสามารถตั้งค่ากฎพื้นฐานของครอบครัว ตั้งค่าเวลาเข้านอนในอุปกรณ์ของเด็ก ฟีเจอร์นี้ยังเปิดให้ใช้เฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้น
สิ่งที่ฟีเจอร์ Family Link ต้องการคือ ผู้ปกครองมีบัญชี Google บนอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานได้ (อุปกรณ์ Android ที่ใช้ Kit Kat ขึ้นไป และ iPhones ที่ใช้ iOS 9 ขึ้นไป) ส่วนอุปกรณ์ของเด็กต้องเป็น Nougat 7.0 ขึ้นไป หรือ Marshmallow 6.0 (Alcatel Dawn, Alcatel Fierce 4, Alcatel Pixi Unite, LG K3, LG Stylo 2 Plus, LG X Power, Samsung Galaxy Luna, Samsung Galaxy Tab A, Song Xperia X)
ผู้ปกครองสามารถจัดการแอพที่เด็กใช้ได้ เช่นพบว่าเด็กกำลังใช้แอพไม่เหมาะสมก็จัดการบล็อกแอพได้ผ่านอุปกรณ์ของผู้ปกครองเอง สามารถล็อกหน้าจออุปกรณ์ของเด็กได้จากระยะไกลเมื่อเห็นว่าเด็กเล่นนานเกินไป
ทำความรู้จักกับระบบ Amber Alert แจ้งเตือนเมื่อมีเด็กหาย ความพิเศษคือแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้สมาร์ทโฟนพร้อมกันแบบเรียลไทม์ในพื้นที่นั้นๆ ด้วยเสียงแหลมสูง โดยจุดประสงค์ของ Amber Alert คือจะช่วยตามหาเด็กหายเร็วขึ้น ช่วยชีวิตเด็กมากขึ้น และข่าวดีคือ Amber Alert ช่วยตามหาเด็กหายได้ 857 คนแล้ว
Mattel ผู้ผลิตของเล่นยักษ์ใหญ่ของโลกเจ้าของ Barbie เปิดตัวลำโพงอัจฉริยะสำหรับเด็ก (ลักษณะเดียวกับ Echo ของ Amazon) ซึ่งมาพร้อมกับ Aristotle ผู้ช่วยอัจฉริยะ ที่คอยเป็นทั้งเพื่อน ครูและคนดูแลเจ้าตัวน้อย ยามที่ผู้ปกครองไม่ว่าง
ลำโพงอัจฉริยะของ Mattel มาพร้อมกับกล้องซึ่งสามารถถ่ายทอดสดวิดีโอแบบเข้ารหัสไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ปกครองได้ รวมถึงตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งของหรือแม้แต่ของเล่นของ Mattel ที่รองรับ NFC ตัวลำโพงตรวจจับการชนต่างๆ ได้ก็จะแจ้งไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ปกครองทันที
เด็กๆ สมัยนี้ไม่ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อรอดูช่องเก้าการ์ตูน เพราะสามารถค้นหาสื่อบันเทิงการ์ตูนที่ชอบได้จากยูทูบ หลังจากยูทูบเปิดตัวตั้งแต่ปี 2005 คอนเทนต์บนยูทูบก็หลากหลายมากขึ้นตามจำนวน ในยุค UGC (User-Generated Content) ที่ทุกคนสามารถผลิตคอนเทนต์เองได้ ต่างก็พากันทำช่องยูทูบของตัวเอง และช่องที่มีแนวโน้มเติบโตสูงคือ ช่องเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว เด็กๆ ไม่เพียงเป็นฝ่ายรับสาร แต่ยังเป็นฝ่ายส่งสาร เป็นยูทูบเบอร์ที่มีคนติดตามหลายแสนได้ด้วย
ยูทูบเบอร์วัยเด็กสมัยนี้เร่มที่อายุน้อยมาก 5-6 ขวบ ก็มีช่องของตัวเอง มีแฟนคลับของตัวเอง รอยต่อระหว่างโลกจริง กับโลกออนไลน์สำหรับเด็ก Gen Z เจือจางลงทุกที เด็กๆ พูดคุยกับคนในโลกออนไลน์ได้ ทั้งที่มักถูกสอนเสมอว่าอย่าคุยกับคนแปลกหน้า