แต่เดิมนั้น ผู้ใช้ Google จะล็อกอินเข้าบัญชีด้วยกุญแจความปลอดภัยจะต้องใช้ Chrome เท่านั้น แต่ล่าสุด Google ได้ประกาศว่าตอนนี้ ผู้ใช้กุญแจความปลอดภัยสามารถล็อกอินผ่าน Firefox และ Edge ได้แล้ว
Google ระบุว่าก่อนหน้านี้หน้าล็อกอินใช้ระบบ U2F กับการล็อกอินด้วยกุญแจความปลอดภัย แต่ตอนนี้ได้เปลี่ยนไปใช้ Web Authentication หรือ WebAuthn ที่ W3C เพิ่งรับเข้าเป็นมาตรฐานเว็บ จึงทำให้ Firefox และ Edge สามารถล็อกอินได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ Google ยังรองรับเฉพาะระบบล็อกอินเท่านั้น แต่การลงทะเบียนกุญแจความปลอดภัยยังคงต้องใช้ Chrome เช่นเดิม (คือต้องลงทะเบียนผ่าน Chrome แต่จะใช้บน Chrome, Edge หรือ Firefox ก็ได้)
Chrome for iOS อาจเป็น Chrome เวอร์ชันที่คนไม่ค่อยนึกถึงสักเท่าไรนัก แต่ก็มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนไม่น้อย (สถิติของ Blognone อยู่ราว 8% ของผู้ใช้ iOS ทั้งหมด)
ด้วยข้อจำกัดของแอปเปิลเอง ทำให้ Chrome for iOS (รวมถึงเบราว์เซอร์อื่นทุกตัว) ไม่สามารถใช้เอนจิน Blink ของตัวเองได้ และต้องใช้เอนจิน WebKit ที่มากับตัวระบบปฏิบัติการแทน
อย่างไรก็ตาม ตัวไบนารี WKWebView ของแอปเปิลกลับไม่ซัพพอร์ตฟีเจอร์ Safari Remote Debugging ทำให้การทดสอบเว็บเพจบน Chrome for iOS ทำได้ยากพอสมควร (สามารถทำได้หากคอมไพล์ Chrome for iOS เองทั้งหมดจากซอร์สโค้ด แต่ก็ยุ่งยากไม่น้อย)
Microsoft ได้เริ่มทดสอบส่วนขยาย Windows Defender Application Guard สำหรับ Chrome และ Firefox เพื่อรักษาความปลอดภัยของพีซีองค์กรแล้ว เพื่อเป็นการขยายการรองรับจากปัจจุบันที่ใช้งานได้เฉพาะเบราว์เซอร์ Microsoft Edge เท่านั้น
ส่วนขยายเบราว์เซอร์ของ Windows Defender แต่เดิมนั้นทำมาเฉพาะ Microsoft Edge ซึ่งจะรักษาความปลอดภัยของพีซีด้วยการเปิดหน้าเว็บที่ไม่ได้ระบุไว้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ไว้ใน virtual container เพื่อป้องกันการโจมตีจากผู้ประสงค์ร้ายเข้าสู่ระบบของบริษัท
เมื่อวาน Chrome เพิ่งจะปล่อยเวอร์ชัน 73 โดยมีฟีเจอร์สำคัญคือรองรับปุ่มควบคุมสื่อบนคีย์บอร์ด แต่มีรายงานว่ารอบนี้ Google ได้เพิ่ม DuckDuckGo เข้าเป็นเสิร์ชเอนจินแบบเงียบ ๆ ให้ผู้ใช้ใน 60 ประเทศ (ยังไม่มีไทย) เพื่อเป็นทางเลือกเสิร์ชเอนจินให้ผู้ใช้อีกรายหนึ่ง
การที่ Google เพิ่ม DuckDuckGo เป็นเสิร์ชเอนจินครั้งนี้ ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าเนื่องจากช่วงหลัง Google โดนเพ่งเล็งในเรื่องการผูกขาดตลาดเสิร์ชเอนจินจากรัฐบาลหลายประเทศ ซึ่งไม่ใช่แค่ DuckDuckGo แต่มี Qwant เสิร์ชเอนจินฝรั่งเศสเข้ามาด้วยเช่นกัน (แต่ก็มีเฉพาะในฝรั่งเศส)
นอกจากจะปล่อยคุณสมบัติรองรับ HTTPS สำหรับ Chrome Lite Pages แล้ว Google ยังประกาศปล่อย Chrome รุ่น 73 ในวันนี้ด้วย ของใหม่ที่ชัดเจนนอกจากการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ คือการรองรับปุ่มสำหรับเล่นและควบคุมสื่อบนแป้นพิมพ์ สำหรับ Windows, macOS และ Chrome OS (ส่วน Linux รอไปก่อน) ทำให้สามารถกดเล่นหรือหยุดชั่วคราวได้จากแป้นพิมพ์ทันที
สำหรับคนที่ใช้ Google Chrome บนโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ หนึ่งในคุณสมบัติที่ถูกแนะนำให้เปิดคือ Data Saver (การประหยัดดาต้า) ทำให้เปิดเว็บได้เร็วขึ้นในสภาวะที่เครือข่ายไม่เสถียรหรือแน่นจนเกินไป เรียกว่า Chrome Lite Pages แต่ที่ผ่านมาคุณสมบัตินี้รองรับเฉพาะเว็บที่อยู่บนโปรโตคอล HTTP เท่านั้น ทำให้เว็บเข้ารหัส (HTTPS) ไม่สามารถใช้ได้
วันนี้ Google ประกาศอย่างเป็นทางการว่า ได้ขยายคุณสมบัติดังกล่าวให้รองรับเว็บไซต์ที่อยู่บนโปรโตคอล HTTPS ด้วย ทางบริษัทระบุว่าข้อมูลที่จะถูกแบ่งปันกับบริษัท มีเฉพาะ URL เท่านั้น ไม่มีข้อมูลอื่นใด นอกจากนั้นแล้วจะเปิดการใช้งานอัตโนมัติเมื่อการเชื่อมต่ออยู่ในกลุ่ม 2G หรือพบว่าหน้าแรกจะใช้เวลาโหลดนานกว่า 5 วินาที (first contentful paint)
ไมโครซอฟท์ประกาศยกเครื่อง Skype for Web ใหม่ทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้ Skype ที่ไม่อยากลงแอปเพิ่มในเดสก์ท็อปก็สามารถมาใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ได้ อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ก็ย้ำกว่า Skype for Web สามารถใช้งานได้เฉพาะบน Edge และ Chrome เท่านั้น
เท่ากับว่าหากคุณใช้เบราว์เซอร์อื่นเป็นหลัก อาทิ Safari, Firefox หรือ Opera ก็จะใช้งาน Skype ผ่านเว็บไม่ได้ โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่าจะไม่ใช่ Edge หรือ Chrome ก็ให้โหลดแอปมาใช้งานแทน
เรื่องนี้น่าจะยืนยันทิศทางว่าไมโครซอฟท์เดินหน้าสนับสนุนเอนจิน Chromium แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งเบราว์เซอร์อื่นที่ว่ามาข้างต้นไม่รองรับนั่นเอง
Google รายงานช่องโหว่ zero-day 2 ตัวบน Chrome และ Windows พร้อมแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รีบอัพเดตทันที
ช่องโหว่แรก (CVE-2019-5786) เกิดใน FileReader API ของ Chrome ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดในการจัดการหน่วยความจำ ทำให้ Chrome เข้าไปอ่านหน่วยความจำในตำแหน่งที่ไม่ใช้งานแล้ว เปิดช่องให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดทางไกลได้ โดย Google ได้อัพเดต Chrome เวอร์ชัน 72.0.3626.121 เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาเพื่ออุดช่องโหว่นี้แล้ว
ส่วนอีกช่องโหว่ที่ทีมความปลอดภัยของ Google ค้นพบเป็นช่องโหว่บนวินโดวส์ที่เป็นการใช้ NULL pointer ผิดพลาดในฟังก์ชั่น NtUserMNDragOver ในบางกรณี นำไปสู่การเพิ่มสิทธิของไดรเวอร์เคอร์เนล win32k.sys ซึ่งอาจทำให้โค้ดที่มุ่งร้ายหลบการตรวจสอบจากแซนด์บ็อกซ์ได้
ทีมงาน Chrome โชว์เทคนิคการเก็บแคชของหน้าเพจแบบใหม่ ที่จะช่วยให้การกดปุ่ม Back/Forward เร็วขึ้นแบบผิดหูผิดตา
ปัจจุบันการกด Back/Forward เป็นการสั่งให้เบราว์เซอร์กลับไปยัง URL เดิม โดยอาจแคชเนื้อหาบางส่วนของเว็บเพจนั้นไว้ (เช่น รูปภาพ) แต่ระบบแคชแบบใหม่ของ Chrome จะแคชทุกอย่าง แม้กระทั่ง JavaScript หรือสถานะของ DOM ทำให้การกด Back/Forward เร็วขึ้นมาก เพราะเหมือนเป็นการหยิบเพจที่เรนเดอร์เสร็จหมดแล้วกลับมาแสดงใหม่บนจอเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ Google ได้เสนออัพเดตสเปค API ใน Chromium เพื่อฆ่าตัวบล็อคโฆษณาจนทำให้เกิดการวิจารณ์ในวงกว้าง
ล่าสุด Google ได้ยอมผ่อนปรนและแก้ไขสเปคบางอย่างแล้ว หลังจากที่กลุ่มนักพัฒนาตัวบล็อคโฆษณาไม่พอใจ โดย Devlin Cronin วิศวกร Chrome ระบุว่าการฆ่าตัวบล็อคโฆษณานี้ไม่ใช่เป้าหมายของการแก้ไขครั้งนี้
ไมโครซอฟท์ออกส่วนเสริมบน Chrome ให้ตัวเบราว์เซอร์รองรับฟีเจอร์ Timeline บน Windows 10 ที่เดิมมีแต่ Microsoft Edge เท่านั้นรองรับ ช่วยให้ประวัติการเข้าเว็บผ่าน Chrome ถูกซิงก์และแสดงในหน้า Timeline บนอุปกรณ์ Windows 10, แอนดรอยด์ที่ใช้ Launcher ของไมโครซอฟท์และ Microsoft Edge บน iOS
ตัวส่วนเสริมชื่อว่า Web Activies ดาวน์โหลดได้แล้วบน Chrome Web Store โดยจะต้องล็อกอินด้วยแอคเคาท์ไมโครซอฟท์บนส่วนเสริมด้วย
ที่มา - The Verge
Google ได้แก้ไขการเรียกใช้งาน FileSystem API ของเว็บเมื่อใช้งานผ่าน Chrome ทำให้ตัวเว็บไม่สามารถรับรู้ได้แล้วว่าผู้ใช้อยู่ใน Incognito Mode หรือไม่
เดิม FileSystem API ที่เอาไว้สำหรับเก็บแคชของเว็บต่างๆ จะไม่สามารถใช้งานได้บน Incognito Mode ทำให้ตัวเว็บรู้ว่าผู้ใช้อยู่ใน Incognito Mode เมื่อไม่สามารถเรียกใช้ FileSystem API ได้ ล่าสุด Google ได้ปรับให้ FileSystem API สามารถเรียกใช้งานเมื่ออยู่ใน Incognito Mode แล้ว
ทั้งนี้ เดิมตัว FileSystem API จะสร้างแซนด์บ็อกซ์ขึ้นมาเพื่อเก็บไฟล์แคชบนสตอเรจในเครื่อง แต่ตอนนี้เมื่อเข้า Incognito Mode ตัว API จะสร้างแซนด์บ็อกซ์บนแรมแทน เพื่อที่เมื่อปิดเบราว์เซอร์ ไฟล์ดังกล่าวจะหายตามไปด้วย
หลังจากปล่อยให้นักพัฒนาภายนอกเพิ่มธีมบน Chrome ผ่าน Chrome Web Store มานาน ล่าสุดทีม Chrome ของ Google ลงมือปล่อยธีมของตัวเองเพิ่มเติมอีก 12 ธีมจากเดิมที่มีอยู่แค่ 3 ธีม
ธีมที่ Chrome ปล่อยออกมามีทั้งหมด 15 ธีมสามารถโหลดได้จาก Chrome Web Store เมื่อกด Add to Chrome แล้ว สามารถเข้าไปเอาธีมออกหรือรีเซ็ตกลับเป็นค่าดีฟอลต์ได้ที่ chrome://settings/appearance
ที่มา - Android Police
จุดยืนในการดีไซน์ UI ของแอป Google ในช่วงหลังคือซัพพอร์ท Dark Mode หรือ Dark Theme ล่าสุดเป็นคิวของ Chrome แล้วโดยมีรายงานว่า Google กำลังทดสอบโหมดนี้อยู่บนทั้ง 3 แพลตฟอร์มคือวินโดวส์, แมคและแอนดรอยด์
ในส่วนของวินโดวส์และแมคนั้น ธีมของ Chrome จะปรับไปตามโหมดที่ผู้ใช้เลือกทั้งบนวินโดวส์และแมค โดยเวอร์ชันที่ทดสอบคือ Chrome 74 บน Canary และธีมสีมืดของ Chrome จะไม่ได้ส่งผลต่อหน้าเว็บ แต่จะเป็นแค่สีของอินเทอร์เฟสบน Chrome เท่านั้น
ขณะที่เวอร์ชันบนมือถือที่กำลังทดสอบคือ Chrome 73 Beta โดยจะทำงานก็ต่อเมื่อ Night Mode (ใน Dev Mode) บน Android Pie ถูกตั้งเป็น Always On ทว่าการแสดงผลสีดำตอนนี้มีเฉพาะหน้าป๊อปอัพเท่านั้น แต่ก็คาดว่าเวอร์ชันจริงจะครอบคลุมอินเทอร์เฟสทั้งหมดเช่นกัน
Google ประกาศพัฒนาฟีเจอร์สำคัญใหม่ใน Chrome 73 คือการรองรับปุ่มสั่งการมัลติมีเดียต่าง ๆ บนคีย์บอร์ดในตัว Chrome โดยฟีเจอร์นี้จะรองรับทั้ง Chrome OS, macOS และ Windows ส่วน Linux จะรองรับในอนาคต
ปุ่มมัลติมีเดียบนคีย์บอร์ดที่ Chrome 71 จะรองรับ ได้แก่ เล่น, หยุดชั่วคราว, แทร็กก่อนหน้า, แทร็กถัดไป, ย้อนกลับ และเดินหน้า ซึ่งการรองรับครั้งนี้เป็นการรองรับในระดับตัวเบราว์เซอร์ของ Chrome ดังนั้นแม้ว่าผู้ใช้จะเปิดหน้าต่าง, ซ่อน, หรือย่อหน้าต่างลงไปก็ใช้งานได้
ถึงแม้เบราว์เซอร์จะพัฒนาแค่ไหนหรืออินเทอร์เน็ตเร็วมากแค่ไหน แต่การโหลดหน้าเว็บช้าก็ยังคงพบเจอได้ตามปกติ ด้วยหลายๆ ปัจจัย จึงมีรายงานว่า Google กำลังพัฒนาโหมด Never Slow เพื่อเป็นอีกช่องทางช่วยให้หน้าเว็บโหลดได้เร็วที่สุด
ด้วยฟีเจอร์ใหม่นี้ จะจำกัดขนาดภาพไม่เกิน 1MB, ภาพรวมไม่เกิน 2MB, ไฟล์ CSS ไม่เกิน 200kB, ฟอนต์ไม่เกิน 100kB, การเชื่อมต่อภายนอกไม่เกิน 10 การเชื่อมต่อ, และระยะเวลารันสคริปต์ไม่เกิน 200ms เท่านั้น
โค้ดทดสอบของโหมดนี้อยู่ในขั้น prototype เพื่อสาธิตการทำงานเท่านั้น และตอนนี้โค้ดยังไม่ถูกรวมเข้ามาในโครงการหลัก อย่างไรก็ดี ตัวแพตช์อยู่ในเว็บรีวิวโค้ด ถ้าใครต้องการทดสอบคงต้องโหลดโค้ดมาคอมไพล์เอง
Google เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยในการใช้งานเว็บ คือ Password Checkup ส่วนขยายบน Chrome สำหรับตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่าน และ Cross Account Protection ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยบัญชี
สำหรับฟีเจอร์ Password Checkup นั้น Google ระบุว่า โดยปกติแล้ว Google จะทำการรีเซ็ทรหัสผ่านบัญชี Google ของผู้ใช้ทันทีหากพบว่ามีโอกาสที่ข้อมูลจะรั่วจากบุคคลที่สาม ซึ่งส่วนนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงการถูกแฮกบัญชีได้ ดังนั้น Google จึงอยากนำแนวคิดนี้มาใช้กับทุกเว็บที่ผู้ใช้ได้ใช้งานอยู่ทุกวัน จึงเกิดส่วนขยาย Password Checkup นี้ขึ้นมา
วิศวกร Google ได้เสนอการอัพเดตสเปค API ของ Chromium ในเอกสาร Manifest v3 โดยมีข้อเสนอที่หาก Google ยอมทำตาม จะเกิดปัญหากับส่วนเสริมบล็อกโฆษณาหลายๆ เจ้า
เอกสารเสนอว่าให้ webRequest API ในเบราเซอร์สามารถอ่าน request ที่ส่งผ่านเบราเซอร์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถบล็อกหรือเปลี่ยนแปลง request ได้เหมือนเดิม ทำให้ส่วนเสริมบล็อคโฆษณาต้องไปพึ่ง declarativeNetRequest API แทนซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ webRequest API แล้ว declarativeNetRequest API จะให้เบราว์เซอร์เป็นผู้แก้ไข request ด้วยตัวเองแทนที่จะปล่อยให้ตัวส่วนเสริมเป็นตัวแก้ไข ช่วยให้ดาวน์โหลดเว็บได้เร็วขึ้น และประสิทธิภาพดีขึ้น และตัวส่วนเสริมเองไม่จำเป็นต้องได้สิทธิ์ในการอ่านข้อมูลบนโดเมนที่กำลังบล็อคโฆษณาอยู่ โดยข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือส่วนเสริมบล็อคโฆษณาจะใส่กฎในการบล็อคหน้าเว็บได้ไม่เกิน 30,000 ข้อเท่านั้น
กูเกิลเปิดฟีเจอร์บล็อคโฆษณาบนเบราว์เซอร์ Chrome ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยยังจำกัดอยู่ในผู้ใช้ในอเมริกาเหนือและยุโรป ตอนนี้ก็ออกมาประกาศกำหนดการปล่อยฟีเจอร์นี้ทั่วโลกในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ หรือเหลือเวลาให้ปรับตัวอีกครึ่งปี
กูเกิลรายงานผลการบล็อคโฆษณาของประเทศที่เปิดใช้งานฟีเจอร์ไปก่อนแล้ว พบว่าสองในสามของเว็บไซต์ที่ถูกรายงานว่าโฆษณาเข้าข่ายนั้นสามารถปรับตัวให้เข้ามาตรฐานได้ภายหลัง และปริมาณโฆษณาที่ถูกบล็อคทั้งหมดต่ำกว่า 1%
เว็บไซต์ที่มีฐานลูกค้านอกสหรัฐฯ และยุโรปหากกังวลว่าเข้าข่ายจะถูกบล็อคโฆษณา ควรตรวจสอบกับเว็บ Ad Experience Report ล่วงหน้า
Google ประกาศว่า Chrome เวอร์ชัน 71 บนเดสก์ท็อปเข้าสู่ Stable Channel แล้ว โดยรอบนี้มีฟีเจอร์สำคัญคือตัวบล็อคโฆษณาที่ปรับปรุงให้บล็อคโฆษณาประเภท Abusive Experience และบริการหลอกให้ใส่เบอร์โทรแล้วหลอกเก็บเงิน SMS ตามที่ประกาศไว้ก่อนหน้านี้
ไมโครซอฟท์พยายามผลักดัน Windows บนสถาปัตยกรรม ARM มาหลายครั้ง นับตั้งแต่ Windows RT มาจนถึง Windows on ARM ในปัจจุบัน แต่ปัญหาที่เจอมาโดยตลอดคือขาดแอพดังๆ หลายตัวที่รองรับสถาปัตยกรรม ARM ทำให้ไม่ดึงดูดให้คนมาใช้งาน
หนึ่งในแอพสำคัญที่ยังไม่รองรับ Windows on ARM คือ Chrome แต่ล่าสุด มีทีท่าว่ากูเกิลร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในเรื่องนี้แล้ว เพราะมีการส่งโค้ดจากวิศวกรของไมโครซอฟท์เข้ามายังโครงการ Chromium ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Windows ARM64 โดยตรง
นอกจากนี้ Qualcomm ในฐานะพาร์ทเนอร์ฮาร์ดแวร์ ARM ของไมโครซอฟท์ ก็เปิดเผยว่าส่งทีมเข้าไปช่วยพอร์ต Chrome ลง Windows 10 on ARM ด้วยเช่นกัน
Pete LePage วิศวกรผู้ให้การสนับสนุนนักพัฒนา (developer advocate) ของกูเกิลออกมาเขียนบล็อกให้ทีม Chrome ถึงเป้าหมายต่อไปของทีมว่าจะยกระดับเว็บให้เท่าเทียมกับเดสก์ทอป ภายใต้โครงการ Fugu
หลายคนคงเคยเจอปัญหาเข้าเว็บไซต์บางแห่ง และถูกหลอกให้กรอกเบอร์มือถือ เพื่อสมัครบริการ SMS เสียเงินโดยไม่รู้ตัว แถมยังไม่สามารถพึ่งพาโอเปอเรเตอร์ให้แก้ปัญหานี้ให้เราได้มากนัก
กูเกิลจะช่วยแก้ปัญหานี้ใน Chrome เวอร์ชัน 71 โดย Chrome จะสแกนว่าหน้าเว็บนั้นๆ มีการให้ข้อมูลเรื่องค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้อย่างชัดเจนหรือไม่ หาก Chrome พิจารณาว่าเว็บไซต์นั้นพยายามหลอกให้ผู้ใช้เสียเงิน ก็จะบล็อคการแสดงผลเว็บนั้น ลักษณะเดียวกับเว็บไซต์ประสงค์ร้ายอื่นๆ
การแจ้งเตือนจะมีผลทั้งบนเดสก์ท็อป บนมือถือ และ Android WebView
ที่มา - Chromium Blog
กูเกิลประกาศว่า Chrome 71 ที่มีกำหนดออกในเดือนธันวาคม 2018 จะบล็อคโฆษณาของเว็บไซต์ที่ถูกขึ้นบัญชีดำว่าเป็นเว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์ไม่ดีแก่ผู้ใช้ (กูเกิลใช้คำว่า abusive experience)
เว็บไซต์ที่เข้าข่าย abusive experience คือพยายามล่อให้ผู้ใช้กดโฆษณาบนเว็บไซต์ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งแบนเนอร์ ป๊อปอัพ วิดีโอ หรือหลอกให้ดาวน์โหลดแอพบนมือถือ ตัวอย่างเทคนิคที่ใช้งาน เช่น ปุ่ม x ปิดโฆษณาที่ไม่ได้ปิดโฆษณาจริงๆ หรือแบนเนอร์ที่หน้าตาเหมือนข้อความแจ้งเตือนของ OS
ก่อนหน้านี้กูเกิลมีมาตรการบล็อคป๊อปอัพและการเปิดหน้าต่างใหม่ แต่พบว่ามาตรการเหล่านี้ไม่เพียงพอ กูเกิลจึงตัดสินใจใช้ยาแรงขึ้น โดยบล็อคโฆษณาทั้งหมดอย่างสมบูรณ์
โครงการ Google Chrome Labs ปล่อยโครงการ Carlo สำหรับเขียนแอปเดสก์ทอปด้วย Node แต่ใช้ Chrome เรนเดอร์หน้าจอแทนที่จะแพ็กเอาตัวเรนเดอร์ไปด้วยแบบ Electron
แม้จะเป็นโครงการทดลอง แต่ที่ผ่านมาเดสก์ทอปแอปที่ใช้เฟรมเวิร์คเช่น Electron มักมีปัญหาอัพเดตตัวเอนจินเรนเดอร์ไม่ทัน บางครั้งทำให้มีปัญหาความปลอดภัย การใช้เอนจินเบราว์เซอร์ในเครื่องก็ช่วยลดความเสี่ยงไปได้
เมื่อเขียนแอปเสร็จแล้ว สามารถแพ็กเป็นไฟล์ executable ไฟล์เดียว เมื่อสั่งรันมันจะหาเบราว์เซอร์ Chrome ในเครื่องและเชื่อมต่อเข้าไปเอง หากไม่มี Chrome ในเครื่องจะขึ้นข้อความผิดพลาดและรันต่อไม่ได้
รองรับ Chrome 70 ขึ้นไป
ที่มา - GitHub: GoogleChromeLabs/carlo