แม้ Google จะเริ่มบีบนักพัฒนาเรื่องการส่งแอป 64-bit ขึ้น Play Store มาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่แอปของตัวเองอย่าง Chrome ที่รองรับ 64-bit บนพีซีมานาน กลับยังคงเป็น 32-bit บนแอนดรอยด์เท่านั้น
ล่าสุด Android Police พบว่า Chrome 85 บนแอนดรอยด์ที่ยังอยู่ในแชนแนล Dev เริ่มรองรับเวอร์ชัน 64-bit แล้ว อย่างไรก็ตาม เวอร์ชัน 64-bit กลับรองรับเฉพาะเครื่องที่รัน Android 10 ขึ้นไปเท่านั้น ซึ่งสัดส่วนถือว่ายังค่อนข้างน้อย
ที่มา - Android Police
แอปเปิลประกาศ Safari เวอร์ชันใหม่ใน macOS 11 Big Sur รองรับส่วนขยายที่เขียนด้วย WebExtensions API ซึ่งหมายถึงส่วนขยายของ Chrome
การที่ Safari รองรับ WebExtensions API ทำให้ส่วนขยายของ Chrome สามารถพอร์ตมาได้แทบจะทันที (ลักษณะเดียวกับที่ Edge หรือ Firefox ทำอยู่ ซึ่ง Firefox เริ่มรองรับในปี 2015) ส่วนการแจกจ่ายสามารถทำผ่าน Mac App Store โดยจะมีหมวด Extension เพิ่มเข้ามาให้ (หมายเหตุ: เป็นคนละตัวกับ Safari App Extensions ที่มีอยู่ก่อนหน้านี้)
กูเกิลปล่อยส่วนขยายใหม่สำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ในชื่อ Link to Text Fragment โดยเป็นส่วนขยายสำหรับสร้างลิงก์ตามร่างมาตรฐาน Text Fragment ที่กำลังเสนอเข้า W3C ทำให้เบราว์เซอร์สามารถลิงก์ไปยังข้อความใดๆ ก็ได้ในหน้าเว็บ โดยตอนนี้เบราว์เซอร์โครมนั้นรองรับฟีเจอร์นี้ในตัว แต่ยังไม่สาารถสร้างลิงก์ได้ด้วยตัวเอง
Text Fragment จะกำหนดลิงก์แบบ anchor แบบใหม่ต่อท้าย URL ของเว็บในรูปแบบ #:~:text=[ข้อความ]
เมื่อเบราว์เซอร์ได้รับลิงก์แบบนี้และรองรับฟีเจอร์ Text Fragment ก็จะเลื่อนไปยังจุดที่มีข้อความพร้อมกับไฮไลต์ข้อความให้ชัดเจนทันที
จากข่าวเก่า Microsoft Edge เริ่มใช้ระบบหน่วยความจำแบบใหม่ Segment Heap ลดการใช้แรมลง 27% ระบบหน่วยความจำแบบ Segment Heap เดิมทีใช้กับแอพที่เขียนแบบ UWP เท่านั้น โดยไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดใช้แอพแบบ Win32 ใช้งานได้ด้วยใน Windows 10 v2004 โดยมี Edge เป็นแอพตัวแรกที่ใช้งาน
การที่ Edge พัฒนาบน Chromium ทำให้เบราว์เซอร์ตระกูลนี้ตามมาใช้ Segment Heap ได้ไม่ยากนัก ที่สำคัญคือไม่ต้องรอกันนาน ไม่ต้องเรียกร้องอะไรให้เหนื่อย เพราะวิศวกร Chrome ประกาศแล้วว่าจะเปลี่ยนมาใช้ Segment Heap ด้วย
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา หนึ่งในทีมพัฒนา Chrome ส่งแพตช์เปลี่ยนโค้ดที่ระบุรายชื่อต้องห้ามจากคำว่า blacklist เป็นคำว่า blocklist สอดรับกับสถานการณ์การประท้วง #Blacklivesmatter ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
เมื่อต้นปี กูเกิลประกาศจะบล็อคข้อความแจ้งเตือนของ Chrome ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ ตอนนี้กูเกิลประกาศแผนดำเนินงานแล้ว ว่าจะเริ่มใน Chrome 84 ที่มีกำหนดออก 14 กรกฎาคม 2020
เว็บไซต์ที่จะถูกบล็อคข้อความแจ้งเตือน จะต้องเข้าข่าย "abusive notifications" ซึ่งแยกเป็น 2 กรณีคือ
ต่อจากข่าว Chrome ยกเลิกบังคับใช้คุกกี้ SameSite ชั่วคราว ป้องกันเว็บพังในช่วง COVID-19 เมื่อเดือนเมษายน
ล่าสุดกูเกิลประกาศแล้วว่า Chrome จะกลับมาบังคับ SameSite Cookie อีกครั้งในวันที่ 14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันออก Chrome 84 รุ่นเสถียร แต่นโยบายจะบังคับใช้กับ Chrome 80 ขึ้นไปด้วย
โครงการ Google Chrome ออกรายงานวิเคราะห์ช่องโหว่ความร้ายแรงสูงถึงความร้ายแรงวิกฤติจำนวน 912 รายการ พบว่าในจำนวนนี้เป็นช่องโหว่หน่วยความจำถึง 70% แบ่งเป็นช่องโหว่ใช้หน่วยความจำหลังคืนค่าให้ระบบ (use-after-free) ถึง 36.1% และช่องโหว่หน่วยความจำอื่นๆ อีก 32.9% ทำให้ทีมงานเตรียมวางโครงการใหญ่เพื่อขจัดปัญหาในระยะยาว
Chrome ที่มีการจดจำบัตรเครดิตผู้ใช้งานเอาไว้ให้ เพื่อความง่ายเวลาต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิต จะใช้การยืนยันตัวตนความเป็นเจ้าของบัตรเครดิตด้วยการให้กรอกเลข CVC 3 หลักข้างหลังบัตร ล่าสุด Chrome รองรับการใช้ Windows Hello เพื่อยืนยันตัวตนแทนการกรอก CVC แล้ว
ฟีเจอร์นี้อาจจะไม่ใช่ฟีเจอร์ใหม่ เพราะมีคนโพสต์ในฟอรัม Google Support ตั้งแต่เดือนมีนาคม ขณะที่ผมลองเช็ค Chrome ของตัวเองก็พบว่ามีฟีเจอร์นี้แล้ว โดยสามารถเข้าไปเปิดได้ที่ Settings > Payment Methods และเลือกเปิด Windows Hello
ที่มา - XDA
กูเกิลออก Chrome 83 โดยข้าม Chrome 82 ตามที่เคยประกาศไว้ (จาก 81 มาเป็น 83 เลย) เวอร์ชันนี้มีของใหม่เป็นจำนวนมาก โดยเน้นที่ฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
หมายเหตุ: ฟีเจอร์หลายตัวจะทยอยเปิดให้ใช้งาน ผมลองอัพเดต Chrome เป็นเวอร์ชัน 83 แล้วก็พบว่ายังไม่ได้ฟีเจอร์เกือบทั้งหมดที่ประกาศไว้
Chrome ประกาศแผนการแบนโฆษณาที่กินทรัพยากรสูง (resource-heavy ads) ที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานเบราว์เซอร์
เงื่อนไขของโฆษณาที่กินทรัพยากรสูง จะต้องเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่ง
Chrome ยกตัวอย่างโฆษณากลุ่มนี้คือ โฆษณาที่แอบฝั่งสคริปต์ขุดคริปโต หรือโฆษณาที่เขียนโปรแกรมมาไม่ดี ไม่ได้ปรับแต่งทรัพยากรให้เหมาะสม เมื่อถึงขีดจำกัดที่ Chrome ตั้งไว้ โฆษณากลุ่มนี้จะถูกบล็อค กลายเป็นช่องว่างๆ ที่เขียนว่า "Ad removed" แทน
Chrome ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชื่อว่า tab groups จัดกลุ่มแท็บโดยสามารถตั้งชื่อและกำหนดสีให้แต่ละกลุ่มได้ หลังจากทดสอบในวงจำกัดมาแล้วหลายเดือน
ระหว่างการทดสอบกูเกิลพบว่าผู้ใช้มักตั้งชื่อกลุ่มตามหัวข้อการใช้งาน, ความรีบด่วนของงาน (ทันที, สัปดาห์นี้, ทำทีหลัง), ตามสถานะงาน (เริ่มแล้ว, กำลังทำ, ติดตามผล) โดยกูเกิลแนะนำว่าสามารถใช้อีโมจิเป็นชื่อกลุ่มก็ได้เหมือนกัน
tab group รองรับ Chrome บนวินโดวส์, แมค, ลินุกซ์, และ Chrome OS โดยตอนนี้เปิดใช้งานในเ Chrome Beta แล้ว และจะเข้าเวอร์ชั่นเสถียรในสัปดาห์หน้า
ที่มา - Google Blog
Chromebook ถือเป็นฮาร์ดแวร์สายกูเกิลที่มีระยะเวลาซัพพอร์ตยาวนานกว่า Android มาก (บางรุ่นคือมีระยะเวลาซัพพอร์ตนานถึง 8 ปี) แต่ไม่ว่าระยะซัพพอร์ตนานแค่ไหน สุดท้ายแล้วก็มีจุดสิ้นสุดอยู่ดี
ดูเหมือนว่ากูเกิลไม่ได้พอใจแค่นั้น เพราะมีคนไปค้นเจอโค้ดของ "LaCrOS" โครงการที่แยกส่วนเว็บเบราว์เซอร์ Chrome ออกจากระบบปฏิบัติการ Chrome OS เพื่อให้สามารถอัพเดตเฉพาะตัว Chrome ต่อไปได้ แม้ว่า Chrome OS จะหมดระยะซัพพอร์ตแล้วก็ตาม
การอัพเดตเอนจิน Chrome ให้ทันสมัย รองรับฟีเจอร์เว็บใหม่ๆ เป็นประเด็นสำคัญไม่น้อย ก่อนหน้านี้ Chromecast ก็เคยมีประเด็นเรื่องการอัพเดตเวอร์ชัน Chrome เช่นกัน
กูเกิลกลับมาปล่อย Chrome 81 ตามที่ประกาศไว้ และเป็นเวอร์ชั่นก่อนข้ามเวอร์ชั่น 82 ไปเดือนพฤษภาคมนี้ โดยมีฟีเจอร์หลัก 3 รายการ ได้แก่
เวอร์ชั่นนี้ Pete LePage เจ้าหน้าที่ Developer Advocate ของ Chrome ยังต้องบรรยายสาธิตฟีเจอร์ใหม่ๆ จากที่บ้านของเขาในนิวยอร์กอีกด้วย
ทีมพัฒนา Chrome เสนอการทดสอบ UI แบบใหม่สำหรับส่วนเสริมของเบราว์เซอร์ (extension) โดยระบุเหตุผลว่าเป็นการแสดงให้ผู้ใช้เห็นชัดเจนขึ้นว่าส่วนเสริมใดเข้าถึงข้อมูลอะไรบ้าง อย่างไรก็ดีหน้าจอที่เสนอมาระบุถึงกระบวนการติดตั้งส่วนเสริมว่าไอคอนที่มุมขวาบนนั้นจะถูกซ่อนทันทีหลังจากติดตั้ง และผู้ใช้ต้องกด pin กลับมาเองอีกครั้งเพื่อแสดงไอคอน
นักพัฒนาที่มาตอบโพสข้อเสนอนี้ไม่พอใจนัก โดยหลายความเห็นระบุว่ากูเกิลผูกเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวผู้ใช้เข้ากับการแสดงไอคอนที่จะทำให้ส่วนเสริมถูกเรียกใช้งานยากขึ้นทั้งๆ ที่ผู้ใช้เป็นติดตั้งเองแต่แรก
โครงการ Chromium ประกาศปรับดีไซน์ของ "ฟอร์ม" บนหน้าเว็บ (ปุ่ม ตัวเลือก แถบเลื่อน ฯลฯ) ที่เดิมสไตล์ต่างกันคนละทิศทาง ให้ดูเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากขึ้น
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างทีม Google Chrome และ Microsoft Edge มาช่วยกันออกแบบ โดยตั้งใจให้ดีไซน์ใหม่เป็นสากลมากขึ้น ใช้ได้กับทุกระบบปฏิบัติการ มีความแบนราบ (flat) ตามสมัยนิยม ลดการไล่สี (gradient) จากโลกยุคก่อนลงมา
Chrome ออกเวอร์ชัน 80 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยจุดสำคัญอย่างหนึ่งคือเตรียมพร้อมบังคับใช้ค่า SameSite สำหรับคุกกี้ และจะทยอยเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้ทีละกลุ่ม
ล่าสุด Chrome ประกาศหยุดบังคับใช้ค่าคุกกี้ SameSite ชั่วคราว โดยทางทีมพัฒนาให้เหตุผลว่าเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพื่อป้องกันเหตุการณ์เว็บไซต์ไม่เสถียร
จากที่กูเกิลประกาศว่า Chrome หยุดออกเวอร์ชันใหม่ชั่วคราว เพราะทีมต้องปรับตารางทำงานจากปัญหาไวรัส
ล่าสุดทีมงาน Chrome กลับมาทำงานตามปกติแล้ว โดยปรับรอบการออกรุ่นใหม่ เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป
กูเกิลประกาศพักการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ของ Chrome และ Chrome OS ชั่วคราว หลังพนักงานในทีมต้องปรับตารางการทำงานกันใหม่จากสถานการณ์ไวรัสระบาด
ปกติแล้ว Chrome/Chrome OS มีรอบการอัพเดตเวอร์ชันใหญ่ทุก 6 สัปดาห์ ตอนนี้กูเกิลจะหยุดพักการอัพเดตตามรอบอย่างไม่มีกำหนด เพื่อควบคุมคุณภาพของ Chrome ให้มีเสถียรภาพสูงสุด แทนการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่อาจควบคุมคุณภาพไม่ได้ ส่วนการอัพเดตย่อยแก้บั๊กและความปลอดภัยจะยังดำเนินไปตามปกติ (แปลว่า Chrome รุ่นเสถียรจะหยุดที่เวอร์ชัน 80 ไปสักพักใหญ่ๆ มีอัพเดตแพตช์ของ Chrome 80 บ้าง)
ที่มา - Chromium
กูเกิลออกอัพเดต Chrome 80.0.3987.122 เป็นการอุดช่องโหว่นอกรอบอัพเดตปกติ ให้กับ Chrome 80 ที่ออกรุ่นเสถียรเมื่อต้นเดือน
ช่องโหว่รอบนี้มี 3 ตัว มีความสำคัญระดับ High โดยช่องโหว่หนึ่งตัว (CVE-2020-6418) ที่เกี่ยวกับหน่วยความจำของเอนจิน V8 พบรายงานการโจมตีผ่านช่องโหว่นี้แล้ว
ผู้ใช้งาน Chrome บนเดสก์ท็อปทุกแพลตฟอร์มควรกดอัพเดตกันทันที
ที่มา - Chrome Releases, ZDNet
Microsoft Edge ตัวใหม่พลัง Chromium สามารถติดตั้งส่วนขยายของ Chrome จาก Chrome Web Store ได้ตรงๆ (โดยเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ก่อนในหน้า Extensions ของ Edge) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของไมโครซอฟท์เพื่อแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของ Edge กับส่วนขยายต่างๆ
ล่าสุดวันนี้ หากเราเข้าหน้าเว็บ Chrome Web Store ด้วย Edge จะเห็นข้อความแจ้งเตือนจากกูเกิล แนะนำให้ใช้ Chrome แทนเพื่อความปลอดภัยของส่วนขยายที่ดีกว่า โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้
เว็บไซต์ ExtremeTech มองว่าการติดตั้งส่วนขยายจาก Chrome Web Store สามารถอัพเดตเวอร์ชันล่าสุดได้เมื่อใช้ Chrome เท่านั้น เพราะการติดตั้งบน Edge จะมองว่าเป็นการทำ sideloading แบบกลายๆ (คือไม่ใช่ช่องทางอย่างเป็นทางการ)
กูเกิลร่วมมือกับ Duo Security บริษัทความปลอดภัยในเครือ Cisco และ Jamila Kaya นักวิจัยด้านความปลอดภัยอิสระ ค้นพบและถอดส่วนขยายของ Chrome ที่ไม่ปลอดภัยออกจาก Chrome Web Store ประมาณ 500 ตัว
Duo Security มีตัวสแกน Chrome ชื่อว่า CXRcavator เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของส่วนขยาย เครื่องมือนี้ตรวจพบว่ามีส่วนขยายประมาณ 70 ตัวที่มีฟังก์ชันเหมือนๆ กัน สร้างมาจากขบวนการอาชญากรรมไซเบอร์ทีมเดียวกัน ใช้เทคนิคคุกกี้แบบเดียวกับโฆษณา (malvertising) หลุดรอดขึ้นไปบน Chrome Web Store ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ 1.7 ล้านราย
หลังจากที่กูเกิลได้เพิ่ม DuckDuckGo เข้ามาเป็นเสิร์ชเอนจินทางเลือกใน Chrome ไปเมื่อปีที่แล้ว มาปีนี้ทางบริษัทก็ได้เริ่มอัพเดตตัวเลือกเสิร์ชเอนจินที่มีใช้งานแบบเงียบๆ อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นคราวของ Ecosia เสิร์ชเอนจินที่มีเป้าหมายในการสร้างรายได้เพื่อจุดประสงค์ที่ต่างจากเจ้าอื่นๆ ซึ่งนั่นก็คือการฟื้นฟูป่าทั่วโลก
โดยกำไรจากการโฆษณาผ่านเสิร์ชเอนจินที่ทาง Ecosia ได้ จะถูกนำไปบริจาคเพื่อสนับสนุนการปลูกต้นไม้ผ่านองค์กรท้องถิ่นที่เป็นพันธมิตรซึ่งทำกิจกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมที่กระจายตัวอยู่ทั่วโลก ปัจจุบัน Ecosia ได้ให้เงินทุนเพื่อสนับสนุนการปลูกต้นไม้ไปแล้วถึง 80 กว่าล้านต้น
Chrome ประกาศแผนการบล็อคไม่ให้ดาวน์โหลดไฟล์ผ่าน HTTP แบบไม่เข้ารหัส โดยจะเริ่มจาก Chrome 82 ที่ออกช่วงเดือนเมษายน 2020
ปัจจุบัน Chrome ยอมให้เราเข้าเว็บที่เป็น HTTPS แล้วดาวน์โหลดบางไฟล์ผ่านโปรโตคอล HTTP (mixed content download) ซึ่งกูเกิลมองว่าไฟล์อาจถูกยัดไส้เป็นมัลแวร์ หรือโดนดักข้อมูลระหว่างทางได้ (เช่น ดาวน์โหลดไฟล์สรุปข้อมูลการเงินจากเว็บไซต์ธนาคาร)
Chrome 82 จะเริ่มแจ้งเตือนผู้ใช้หากดาวน์โหลดไฟล์ .exe ผ่านโปรโตคอล HTTP ที่ไม่ปลอดภัย จากนั้นจะค่อยๆ ยกระดับการแจ้งเตือนไปยังไฟล์ชนิดอื่นๆ เช่น .zip, .pdf, .doc, .png จนถึง Chrome 86 จะบล็อคการดาวน์โหลดไฟล์ทุกประเภทผ่าน HTTP (ดูตารางประกอบ)
Chrome เริ่มบล็อคโฆษณา "ที่น่ารำคาญ" มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 โดยอ้างอิงนิยามของกลุ่ม Coalition for Better Ads ที่กูเกิลร่วมกับเฟซบุ๊กก่อตั้งในปี 2016 เพื่อตอบโต้ซอฟต์แวร์บล็อคโฆษณา
ล่าสุดกลุ่ม Coalition for Better Ads ขยายผลเรื่องโฆษณาที่น่ารำคาญมายังวิดีโอ โดยนิยามโฆษณาวิดีโอที่ผู้ใช้ไม่ชอบ 3 รูปแบบ จากการสำรวจความเห็นของผู้ใช้ 45,000 คนใน 8 ประเทศ